ประสบการณ์ KM กับงานส่งเสริมการเกษตร (1) : ทวี มาสขาว จังหวัดนครพนม


KM เป็นเรื่องของผู้ปฎิบัติงาน ให้เกียรติผลงานของผู้ปฎิบัติ

                เมื่อวันที่ 28 ก.พ.50 ในเวทีสัมมนาแนวทางปฎิบัติงานส่งเสริมการเกษตร ปี 50 ที่ โรงแรมหลุยส์ แทรเวอร์น หลักสี่ กรุงเทพฯ                

                 ในช่วงบ่าย หลังจากได้รับฟังการบรรยายพิเศษเรื่อง หลุมดำ KM จาก อ.ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด แล้ว  ก็มาถึงช่วงของการเสวนาเรื่อง ประสบการณ์การนำ KM ไปใช้ในงานส่งเสริมการเกษตร โดยมีผู้ร่วมเสวนา จำนวน 3  ท่าน   ได้แก่ คุณทวี มาสขาว จากจังหวัดนครพนม คุณสายัณห์ ปิกวงศ์ จากจังหวัดกำแพงเพชร และคุณชาญวิทย์ สมศักดิ์ จากจังหวัดนครศรีธรรมราช  ดำเนินการเสวนาโดย คุณอุษา ทองแจ้ง จากส่วนกลางค่ะ

                 เริ่มเสวนาโดย คุณอ้อย (อุษา ทองแจ้ง) ได้เกริ่นนำถึงจุดเด่นของผู้ร่วมเสวนาทั้ง  3 ท่าน ว่า.....

                 - คุณทวี มาสขาว  จากจังหวัดนครพนม  มีจุดเด่น ในการนำ KM ไปใช้กับเจ้าหน้าที่    ผลักดันให้มีการใช้ KM เป็นเครื่องมือในการทำงานส่งเสริมการเกษตร จนได้ผลงานเป็นรูปธรรม เช่น แตงโมศรีสงคราม

                 - คุณสายัณห์ ปิกวงศ์ จากจังหวัดกำแพงเพชร มีจุดเด่น ในการใช้ KM  เนียนไปกับเนื้องานในทุกมิติ  เป็น KM Inside ใน DW  แปลงโฉม DW ให้มีผลในการสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                 - คุณชาญวิทย์ สมศักดิ์ จากจังหวัดนครศรีธรรมราช  มีจุดเด่น เป็นนักปฎิบัติตัวจริงที่นำ KM ไปใช้กับเกษตรกร ผลักดันเกษตรกร เข้าสู่ KM โดยไม่รู้ตัว ทำตลอด ทำทุกเรื่อง ทุกโอกาส

                    

                     คุณทวี มาสขาว กับประสบการณ์ KM นครพนม

                    

          คุณทวี มาสขาว   เล่าว่า.......

  • KM นับว่ามาถูกโอกาส ถูกเวลา  เมื่อฟัง อ.ประพนธ์ แล้ว คงจะเข้าใจเรื่อง KM  ว่า KM เป็นเรื่องของผู้ปฎิบัติงาน  ให้เกียรติผลงานของผู้ปฎิบัติ
  • ในภาวการณ์ปัจจุบัน นักส่งเสริมฯ มีประสบการณ์สูง  อายุก็สูงด้วย แต่ ซี ยั่งยืน
  • เมื่อ 5-6 ปีย้อนหลัง ชาวภูธร  เกษตรตำบล ลังเล ถ้าส่วนกลางพูดอะไร เขาจะฟังก่อน จริงไม๊
  • ยุคนี้ เป็นยุคที่เริ่มกลับมา ยุคนี้เบิกค่ารักษาพยาบาล แทนเบี้ยเลี้ยง เป็นยุคที่ผู้บริหาร กับผู้ปฎิบัติ อายุใกล้เคียงกัน
  • จากการที่ทำ KM เป็นการดึงสถานการณ์คนทำงานกลับคืนมาได้
  • การทำ KM เป็นการนำความรู้ที่มีในองค์กรมาพัฒนางาน  เดิมที่ผ่านมาสิ่งที่คุ้นเคย คือ ทำอะไรจบ ก็จบไป แต่ KM ไม่มีวันจบ หมุนไปเรื่อยๆ
  • ที่ทำมา 3 ปี สรุปสั้นๆ คือ ทำ KM กับบุคลากร และผลที่ออกมากับระดับเกษตรกร
  • ตัวเจ้าหน้าที่ ในระบบส่งเสริมการเกษตร ผมได้มีโอกาสไปพูดที่โรงแรมเอเชีย  ผมเล่าว่า เรามีเวที DW  ที่เอาเจ้าหน้าที่ มาคุยกันทุกเดือน  คนฟังจากหน่วยงานอื่นเขาทึ่งมาก เขาบอกว่า วัฒนธรรมของกรมส่งเสริมการเกษตร เข้มแข็งมาก
  • นครพนม เริ่มทำ KM เมื่อปี 48  ตอนแรกๆ พะวักพะวนมากว่า คืออะไร มีการทำตามรูปแบบ มีการจัดทำสมรรถนะหลัก จัดทำตารางธารปัญญาต่างๆ
  • สิ้นปี 48  ขึ้นปี 49  เริ่มปรับกระบวนการส่งเสริมการเกษตร โดยเติม KM เข้าไป  CKO เกษตรจังหวัด จะพูด KM ทุกครั้งที่มีโอกาส 
  • ปี 49 เริ่มปรับบทบทเกษตรอำเภอ   ตัวเกษตรอำเภอ เป็นประธาน DM ของสำนักงานเกษตรอำเภอ  เดิมรูปแบบในเวที DM คือ การที่เกษตรอำเภอรับเรื่องสั่งการจากจังหวัด ไปสั่งๆๆๆ เกษตรตำบล  ถ้าเกษตรตำบลจะพูดบ้าง จะโดนห้ามว่าอย่าพูดมาก ให้ไปทำ  ปรับ CKO ให้เป็นตัวอย่าง  เกษตรจังหวัด จะฟังเกษตรอำเภอ ให้มั่นใจก่อน แล้วจึงตัดสินใจ  ปรับเกษตรอำเภอ ให้ลดบทบาทคุณอำนาจลง เปิดโอกาสให้ เกษตรตำบล ที่ทำดีๆ มาเล่าให้คนอื่นฟัง  เช่น เกษตรตำบลคนหนึ่ง ทำได้ดี อีกคนหนึ่งทำไม่ดี ก็เอามาคุยกัน
  • การประชุม DM  ปรับเวที เป็นการทบทวนบทเรียน  AAR  มีการ ลปรร.ของที่ดี  การจัดการความรู้ เป็นการจัดการงานที่มีอยู่
  • สถานการณ์ ปี 49 มีการประเมินว่า ยังมีเกษตรอำเภอ อำเภอไหนบ้าง ที่ยังปรับบทบาทได้น้อย ก็จะเข้าไปช่วย  เกษตรตำบล เดิมรับแต่คำสั่ง สถานการณ์ไม่ดี  เปลี่ยนมาเป็นสิ่งไหนที่ทำได้ดี ให้โอกาสมานำเสนอ คนอื่นก็รับ เกิดการแลกเปลี่ยน
  • KM  เราขยายวงไปสู่ในเวทีประชุมคณะกรรมการศูนย์ฯ   จากการใช้ KM  ในการประชุม  สิ่งที่เกิดขึ้นในปี 49  ได้พบคนเก่งในแต่ละเรื่อง  เช่น คนเก่งเรื่องวิสาหกิจชุมชน 
  • KM เป็นเรื่องการเรียนลัด เอาเทคนิคที่ดีมาต่อยอด แต่เดิมที่ผ่านมา กรมฯเรา หาปัญหา และสาเหตุของปัญหามาตลอด 20 ปี  แต่ตอนนี้เปลี่ยนมาเป็นเอาคนที่สำเร็จ มาต่อยอดได้เลย
  • KM ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เอาของดีๆ ที่ทำมาต่อยอด มาเชิดชู  มีบรรยากาศที่ดีในที่ทำงาน มีการนำเรื่อง IT เข้าสู่ระบบส่งเสริมการเกษตร
  • คนเราถ้ามรใจให้กัน ก็สำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง การสร้างความรู้ความเข้าใจให้เห็นด้วยเป็นเรื่องสำคัญ  สามารถใช้รูปแบบได้หลากหลาย ถ้าเกษตรอำเภอ ไม่ปรับบทบาท เจ้าหน้าที่ไม่เปิดใจ ก็ทำได้ยาก เมื่อเริ่มเปิดใจ ทุกคนจะแบ่งปันกัน ไม่เป็นอุปสรรค ใช้เวทีสร้างความเข้าใจเป็นหลัก
  • ใจ........ยอมรับ.......ศรัทธา........เปลี่ยนแปลง.......เรียนรู้

          สุดท้าย คุณอ้อย  สรุปว่า 

  • คุณทวี นำแนวคิด KM ไปใช้ปรับระบบการทำงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่
  • พยายามปรับบทบาท CKO  เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ  โดยสิ่งแรกที่ต้องปรับคือ Command & Control   คือ อำนาจ ลดลง

          ยังมีต่อตอนหน้า.....เรื่องเล่าของ คุณสายัณห์ แห่งกำแพงเพชรค่ะ.. 

หมายเลขบันทึก: 82301เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2007 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท