MBA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด (Campus:หัวหิน) /Leadership


ภาวะผู้นำทุกคนสร้างได้

สวัสดีลูกศิษย์ที่รักทุกคนและชาว Blog

          ต้องขออภัยที่เปิด Blog ช้าไปถึง 2 สัปดาห์ เนื่องจากทั้งตจัวอาจารย์เองและทีมงานผู้ช่วยสอนของอาจารย์ติดภารกิจสำคัญหลายเรื่องในช่วงที่ผ่านมาก็ต้องขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ และต้องขอขอบคุณอาจารย์ยม นาคสุขลูกศิย์ปริญญาเอกของผมที่ไปช่วยสอนที่หัวหินตลอด 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้ผมสบายใจขึ้นที่ลูกศิษย์ในหลักสูตรนี้จะได้เรียนรู้หลักในการเรียนเบื้องต้นร่วมกันซึ่งอาจารย์ยมก็สามารถที่จะถ่ายทอดแนวคิดและวิธีการเรียนการสอนของอาจารย์ให้ทุกคนได้เข้าใจได้อย่างดี

            ถึงแม้ว่าจะเพิ่งเปิด Blog แต่ผมได้ติดตามอ่านข้อมูลที่ลูกศิษย์กันเข้ามาอยู่เสมอ แล้วคงได้พบกันเร็ว ๆ นี้ครับ

                                             จีระ  หงส์ลดารมภ์

คำสำคัญ (Tags): #test
หมายเลขบันทึก: 81898เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2007 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (75)
ยม เรียนรู้เรื่องผู้นำ กับแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อ ศ. 23 ก.พ. 2550 @ 08:59 จาก 58.9.159.160

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ / นักศึกษา MPA/MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด และท่านผู้อ่านทุกท่าน

ผมดีใจที่เห็นนักศึกษาที่เขียน Blog มามีการพัฒนาการที่ดีขึ้น สามารถสรุปประเด็นได้ชัดเจน มากขึ้น

การเรียน ป.โท การเป็นนักบริหาร ในยุคนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจเรื่องภาวะผู้นำ   เพราะภาวะผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการขับเคลื่อนองค์การ สังคม และประเทศชาติ

นักศึกษาทำได้ดีแล้ว ขอให้พัฒนาต่อยอดความรู้เรื่องนี้มากขึ้น 

ในเรื่องการเป็นผู้นำ ผมแชร์ไอเดีย ในเรื่องนี้ว่า  ภาวะผู้นำ มีการเปลี่ยนแปลงตามสภาวะแวดล้อมของโลก จึงควรที่จะศึกษาเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ตามทฤษฎี 3 ต. ของ ศ.ดร.จีระ

ผมได้บูรณาความรู้เกี่ยวกับสมรรถนะของผู้นำ เข้ากับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังปรากฎอยู่ตอนท้ายนี้

ซึ่งผมคิดว่า จะเป็นประโยชน์กับนักศึกษาและท่านผู้สนใจทุกท่าน นำไปพิจารณาต่อยอด ประยุกต์ใช้ครับ 

 

เศรษฐกิจพอเพียง

3 หลักการ2 เงื่อนไข
สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้นำ จากรายงานการสัมมนา ตัวแทนชาติต่าง ๆ ในอาเซียนเรื่อง New Wave Leaders ปี 1996
ความพอประมาณModerationความพอดี พอประมาณ ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ·  มุ่งส่งเสริมให้บริการที่ดี  เพราะเมื่อเศรษฐกิจเติบโต ปัญหาอื่น ๆ อาจตามมา จึงต้องรอบรู้  ·  เป็นนักแก้ไขปัญหา  เพราะเมื่อเศรษฐกิจเติบโต ปัญหาจะตามมามากมาย เช่น ปัญหามลภาวะเป็นพิษ ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร ปัญหาหนี้สิน ปัญหาพื้นฐานการขยายเมือง เป็นต้น  
ความมีเหตุมีผลReasonablenessการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ ·  คำนึงถึงความสำคัญของสภาพแวดล้อม สามารถนำเอาเทคโนโลยี มาใช้กับคน กับที่ดินเกษตรกรรมให้น้อยลงและเกิดประโยชน์สูงสุด คำนึงถึงมลภาวะอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ที่จะมีผลกระทบต่อสังคมประเทศชาติ  ·  สามารถทำสิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับประเทศ   ในขณะเดียวกันก็ต้องมองเห็นความสำคัญของโลก  
ความมีภูมิคุ้มกัน Self-Immureการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล ·  เป็นผู้มีวิสัยทัศน์  สามารถคาดหมายความเปลี่ยนแปลงในอนาคต สามารถเตรียมตนเองและประเทศชาติให้รองรับปัญหาและการเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ ·  เป็นผู้มีความเข้าใจ และมองเห็นแนวโน้มในอนาคตทางด้านเทคโนโลยี 
เงื่อนไข ความรู้ Knowledge ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ  ·  มีความรู้มีการศึกษาดี  และไม่ใช่มีความรู้เรื่องหนึ่งเรื่องใด แต่ต้องเป็นผู้รอบรู้ ·  สามารถเป็นสื่อกลางระหว่างชาติต่าง ๆ   ที่มีประชาชนแตกต่างกัน ·  สามารถสื่อข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ   สามารถสื่อความคิดแผนงานสำหรับอนาคตได้
เงื่อนไข คุณธรรมEthic Virtueความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ·        ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ และที่สำคัญคือซื่อสัตย์ต่อสังคม ประชาชน และประเทศชาติ·        คำพูดกับการกระทำสอดคล้องกัน ·        เป็นผู้มีบารมี ·        เป็นที่นิยมของคนในหน่วยงาน ในองค์การ ในชาติ และในสังคมโลก·        ยอมรับความแตกต่างในศาสนา ในเชื้อชาติ ของคนต่าง ๆ ในสังคม สามารถรวบรวมคนที่ต่างศาสนาและต่างผิวพรรณให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน·        ยอมรับศาสนาอื่น ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ·        ส่งเสริมสนับสนุนความสำคัญของครอบครัว ·        ได้รับความไว้วางใจ 

 

 สวัสดี

ยม

 

ยม เรียนรู้เรื่องผู้นำ กับแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อ ศ. 23 ก.พ. 2550 @ 08:59 จาก 58.9.159.160

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /นักศึกษา MBA/MPA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด หัวหินและที่กรุงเทพฯ

   เมื่อวันศุกร์ที่ 23 และเสาร์ที่ 24 ก.พ. รู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูง ที่ได้รับความกรุณาและความไว้วางใจจาก  ศ.ดร.จีระ ให้ไปดำเนินการปฐมนิเทศแนะนำวิธีการเรียน การสอน และการส่ง Blog ให้กับ น.ศ. MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด หัวหิน  วิชา        ภว. 524 ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร  และยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสรู้จักนักศึกษา MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน  สองวันที่ผ่านมา นักศึกษาส่วนใหญ่ เป็นผู้สนใจการเรียนรู้และตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี  กิจกรรมในวันแรก ได้ปฐมนิเทศให้นักศึกษา ได้ทราบถึงกำหนดการ  แนวทางการเรียนการสอน การส่ง Blog ดังรายละเอียดตอนท้ายนี้ ชื่อหลักสูตร          บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต รหัสวิชา / ชื่อวิชา ภว. 524 ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กรอาจารย์ผู้สอน       ศ. ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และทีม Chira Academy            Email:  [email protected] Office: 02-884-9420-1     วัน / เวลา  ทุกวันศุกร์  เวลา 18.00 21.00 น.   

ครั้งที่

วันที่ หัวเรื่อง
1 วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ (18.00 – 21.00 น.) ปฐมนิเทศแนะนำวิธีการเรียนการสอน และการส่ง Blog ผู้นำกับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดย คุณยม  นาคสุข
2 วันเสาร์ที่ 24กุมภาพันธ์(09.00-17.00 น.) ต่อ ผู้นำกับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ช่วงเช้า)     (ช่วงบ่าย)  ศิลปะการเป็นผู้นำ ยุคใหม่ / การบริหารเชิงกลยุทธ์
3 วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม (18.00 – 21.00 น.)     (ต่อ) ผู้นำกับการบริหารเชิงกลยุทธ์
4 วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม (09.00-17.00 น.) Leadership in the changed world. (Focus on Public Sector)By Mr. Peter Bjorkร่วมแปลสรุปความโดย คุณยม  นาคสุข
5 วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม (18.00 – 21.00 น.) แนะนำ concept 4L’s มอง Macro ไปสู่ Microภาวะผู้นำของหญิง ชาย  ภาวะผู้นำระหว่างตะวันตก ตะวันออกA Model of Effective Leadershipคุณลักษณะของผู้นำยุคโลกาภิวัตน์  บทบาทของผู้นำยุคโลกาภิวัตน์ 3 แนวทาง  โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
7 วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม (18.00 – 21.00 น.) ผู้นำกับการบริหารความขัดแย้ง และการเจรจาต่อรองโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
8 วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม(09.00-17.00 น.) ผู้นำกับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
9 วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม (18.00 – 21.00 น.) วิธีการคิดแบบผู้นำo       เรียนรู้จากบทสัมภาษณ์จีระ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์o       เรียนรู้จากบทสัมภาษณ์จีระ อำนวย วีรวรรณโดย คุณยม  นาคสุข
10 วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม สอบปลายภาค
            การวัดผลการเรียน 
  1. 15% 1st Participation ต้อง ส่งการบ้านทาง Blog สัปดาห์ละครั้ง ภายในวันพุธ ซึ่งจะมี Blog ชื่อ  MBA Stamford/Leadership การบ้านคือ 1. เรียนในแต่ละสัปดาห์ได้เรียนรู้อะไร จับประเด็นอะไร ได้บ้าง และ  2. อาจารย์ผู้สอนจะมอบหมายเพิ่มเติมในระหว่างชั้นเรียน
  2. 15% 2nd Participation ต้อง การเข้าชั้นเรียน และการมีส่วนร่วมในห้องเรียน         
  3. 20% 3rd Participation ต้อง ไปทัศนศึกษานอกสถานที่ และสรุปที่ได้ดูและศึกษามา ซึ่งมีการวัดผล               
  4. 30% 4th Participation ต้อง ทำรายงาน case study โดยการศึกษาโจทย์เกี่ยวกับเรื่อง Leadership
  5. 20% 5th Participation ต้อง สอบปลายภาค                  
 ทีมงานผู้ช่วยสอน
  1. อาจารย์ยม นาคสุข
  2. อาจารย์โลตัส
  3. คุณวราพร ชูภักดี (A)
  4. คุณเอราวรรณ  แก้วเนื้ออ่อน (เอ)
 Reading List หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้หนังสือ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์     Quiet Leadership: Six Steps to Transforming Performance at Work (Hardcover) by David Rockอุปนิสัยที่ 8 : จากประสิทธิผลสู่ความสำเร็จ = The 8th habit : from effectiveness to greatness / Stephen R. Covey ; เรียบเรียงโดย ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ; บรรณาธิการ จิรายุทธ ประเจิดหล้าJack Welch and the 4E’s of Leadership  การเปิด Blog เพื่อส่งรายงาน/การบ้าน
  1. เข้าไปที่ www.google.com
  2. พิมพ์ชื่อ ดร.จีระ
  3. กด Enter
  4. เลือก รายการแรกที่ปรากฏหน้าจอคอมพิวเตอร์  จะพบเว็บของ ศ.ดร.จีระ
  5. http://www.chiraacademy.com/ หรือถ้าเลือกรายการที่สอง คือทุนมนุษย์กับ ดร.จีระ จะพบ http://gotoknow.org/blog/chirakm/77991
  6. แล้วเลือก Blog ที่มีชื่อ ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด
  7. คลิ๊ก เขาไปจะพบ ข้อความของ ศ.ดร.จีระ เขียนทักทาย น.ศ. ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด 
  8. ควรอ่านข้อความดูว่ามีอะไรบ้าง จากนั้น
  9. นำบทความที่เราเขียนไว้ copy มาวางลงใน blog
 การเขียนการบ้านแล้วนำมาวางลงใน Blog 
  1. ศึกษาข้อมูล ประเด็นที่จะเขียน จากการเรียนในห้อง จากเอกสารประกอบการบรรยาย จากหนังสือที่เกี่ยวข้อง  หรือที่อาจารย์ผู้สอนมอบหมาย  ศึกษาเพิ่มเติมให้เข้าใจ ก่อนลงมือเขียน
  2. เขียน ร่างลงในโปรแกรม Microsoft Office ก่อน
  3. เลือกตัวอักษร แบบ Tahoma ขนาด 14 สำหรับตัวหนังสือปกติ ขนาด 20-18-16 สำหรับหัวข้อเรื่อง
  4. สีตัวอักษร สีเข้ม เช่น เลือกสีดำ สีน้ำเงิน
  5. ทำแถบสีที่ต้องการเน้น
  6. เนื้อหาให้ครบถ้วนกระบวนการ เปิดประเด็น ดำเนินเรื่อง สรุปเสนอแนะ
  7. กล่าวทักทาย อาจารย์ เพื่อนนักศึกษา และผู้อ่านทั่วโลก ที่เข้ามาอ่าน
  8. ตรวจสอบหาคำผิด แก้ไข
  9. Copy นำไปวางใน Blog
  10. ตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะ การย่อหน้า ให้เคาะเว้นย่อหน้าเพิ่มใน Blog อีก สองบรรทัด(สองครั้ง ในทุกยอหน้า
  11. ใส่ชื่อในช่องใส่ชื่อ  ใส่ Email และรหัส ตัวเลขที่ปรากฏอยู่ตอนท้าย
  12. กด บันทึก
  13. เปิดอ่าน ตรวจสอบดูอีกครั้งหนึ่ง  
  14. นักศึกษา สามารถเขียนหรือ ทำ Blog ให้ได้บ่อยครั้ง หรือมีเนื้อหาสาระ ตามที่ใจต้องการ 
  15. การเขียน Blog ให้ระลึกถึงผู้อ่านทั่วโลก เสมอ  การเขียน Blog ถือเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นภาพของท่านเอง
  16. ส่ง Blog ตรงเวลา  ส่งก่อนเวลาก็ได้ไม่ผิดกติกา
  ผมได้แนะนำนักศึกษาเพิ่มเติม ว่า การเรียน ป.โท ขอให้ตรงต่อเวลา หลีกเลี่ยงการขาดเรียน

ส่งรายงาน สิ่งที่ได้รับมอบหมายให้ตรงเวลา  สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี ภายใต้หลักการพูด ภาวะผู้นำและ ศีลธรรม อันดีงาม และควรศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

  

สิ่งดังกล่าวข้างต้น คือสิ่งที่ผมได้ปฐมนิเทศไปในช่วงต้นของเวลา ในblog ต่อไปผมจะเขียนมา ผมได้ชี้ประเด็นอะไรให้นักศึกษาได้เรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในชั้นเรียน และมีสิ่งประทับใจอะไรบ้างที่ ม.นานาชาติแสตมป์ฟอร์ด

  

ขอชื่นชมนักศึกษาหลายคนมีส่วนร่วมในการเรียนได้ดี

  

สวัสดี

  

ยม

  

น.ศ.ปริญญาเอก

  

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

  

081-9370144

  [email protected] 
ยม ยม / สรุปสาระ ประเด็น(โดยย่อ) ที่มีการเรียนการสอน ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด MBA เมื่อ อ. 25 ก.พ. 2550 @ 12:33 จาก 58.9.163.142

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /นักศึกษา MBA/MPA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด หัวหินและที่กรุงเทพฯ

 

 

Blog นี้ ผมทำการสรุปประเด็นที่ได้สอนนักศึกษา MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด ที่หัวหิน เม่อวันศุกร์ตอนเย็นและวันเสาร์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับ ภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง สรุปสาระที่มีการเรียนการสอน และแนะนำให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ดังนี้

  1.   โลกปัจจุบันยุคแห่งการเปลี่ยนแปล
  2.  ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร
  3. ความหมาย ผู้นำ ภาวะผู้นำ คุณลักษณะของผู้นำ
  4. กรอบแนวความคิด แนวคิดทฤษฎีฯ
  5. สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่
  6. แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศ
  7. กิจกรรมกลุ่ม
   

I.    โลกปัจจุบันยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง

 

กรอบแนวความคิด

 

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

  

สัตว์ในโลกที่ไม่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของโลก ได้สูญพันธ์ไปแล้ว เช่น ไดโนเสาร์

  

ความต้องการของลูกค้า เปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณและคุณภาพ  ถ้าเราไม่ปรับเปลี่ยน ลูกค้าจะเปลี่ยนไปซื้อรายอื่น

  Bill Gates “Business is going to change more in the next ten years

than it has in the last fifty.”

  

II.           ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร

 

กรอบแนวความคิด

 

ภาวะผู้นำ : เป็นพลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

 

The Energy that Drives Your Organization towards Excellence

 

ภาวะผู้นำ : สมรรถนะหลักของผู้บริหาร คือปัจจัยหนึ่งที่จะนำความสำเร็จมาสู่องค์กร

  (ปัจจัยความสำเร็จอื่น ๆ แนะนำให้ค้นคว้าเพิ่มเติมจาก Internet เช่น ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการปัจจัยภายนอก (PEST framwork)ได้แก่ด้านสถานการณ์การเมืองด้านเศรษฐกิจด้านสังคม ด้านเทคโนโลยีฯปัจจัยภายใน (7's framwork)ได้แก่วิสัยทัศน์ยุทธ์ศาสตร์การจัดการ โครงสร้างการจัดการที่เหมาะสม. ระบบที่เอื้อต่อการทำงาน.คน/ทีมงาน/ผู้บริหาร/ผู้นำทักษะ ประสบการณ์ของทีม

  รูปแบบการทำงาน/รูปแบบการจัดการ ที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์)

 

 

III.        ความหมาย ผู้นำ ภาวะผู้นำ คุณลักษณะของผู้นำ

 

กรอบแนวความคิด

ความหมายผู้นำ (Leader) คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ภาวะผู้นำ Leadership เป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร  ลักษณะผู้นำที่ดีผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน
  • (ทฤษฎี 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์)สามารถนำเสนอความคิดใหม่

1.    ทุนความรู้ 

 

2.    ทุนปัญญา

 

3.    ทุนทางสังคม

 

4.    ทุนทาง IT

 

·        สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้

 

5.    ทุนความเป็นมนุษย์

 

6.    ทุนทางความสุข

 

·        สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้

 

7.    ทุนจริยธรรม คุณธรรม

 

8.    ทุนแห่งความยั่งยืน

  Best Leaders(Susan Annunzio .2006 eLEADERSHIP: 27-32) 
  1. Honesty
  2. Responsiveness
  3. Vigilance = Continued Success
  4. Livingness to learn and relearn 
  5.  Sense of adventure
  6. Vision
  7. Altruism
 

คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร

  1. การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน (Social/National Interest)
  2.  ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล (Meritocracy/Good Governance)
  3. มีความสามารถ (Competence)
  4.  มีความสำนึกรับผิดชอบ (Accountability)
  5.  มีความเป็นกลาง (Neutrality
  6.  การมุ่งสัมฤทธิ์ผล (Result Orientation
  7.  ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)
 

ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี

  1. มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
  2. ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3. ขาดความรับผิดชอบ
  4. การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้
  5. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน
  6.  แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
  7.  ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม
  8. ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ
  9.   ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร ฯลฯ
  n   ภาวะผู้นำ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 

ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ

  1. ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ
  2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม
  3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์
 

1.   ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ

  มีความเชื่อว่า ผู้นำที่มีคุณลักษณะดี จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามศาสตร์ของจีน มีการเก็บข้อมูลลักษณะของผู้นำว่า มีลักษณะสูงใหญ่ คิ้วดก ขนดกดำ สังเกตจากรูปภาพแม่ทัพจีนโบราณ ซุนวู เป็นต้น สัตว์ป่าจ่าฝูง เพศผู้จะมีลักษณะโครงสร้างใหญ่ มีขนสวยสง่างาม เป็นต้น ต่อมาภายหลังมีการพัฒนาการศึกษาลักษณะผู้นำ ว่าเป็นผู้ที่มีลักษณะ ดังนี้(แนะนำให้นักศึกษาอ่านเพิ่มเติมใน Sheet)
  • มีความทะเยอทะยาน (Ambition)
  • มีความอุสาหะพากเพียร (Persistence)
  • มีความกล้าหาญ (Courage)
  • มีความเชื่อถือศรัทธา (Faith)
  • มีความซื่อสัตย์มั่นคง (Integrity)
  • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity)
  • มีความยุติธรรม (Justice)
  • มีจุดมุ่งหมาย (Objectivity)
  • มีความยืดหยุ่น (Flexibility)
  • มีความสามารถในการตัดสินใจ (Decisiveness)
  • มีวินัยในตนเอง (Self-Discipline)
 2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม(แนะนำให้นักศึกษาอ่านเพิ่มเติมใน Sheet)ตารางพฤติกรรมการบริหาร
Robert R. Blake & Jane S. Mouton
  • ผู้นำที่เน้นความสนใจที่คน ไม่ค่อยเน้นที่งาน
  • ผู้นำที่ไม่สนใจทั้งงานและคน
  • ผู้นำที่เอาใจใส่ทั้งคนและงาน
  • ผู้นำที่เน้นความสนใจที่งาน ไม่ค่อยเน้นที่คน
  • ผู้นำที่เดินสายกลาง
 3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์ (แนะนำให้นักศึกษาอ่านเพิ่มเติมใน Sheet)
  • เมื่อสถานการณ์เอื้อต่อการใช้ความเป็นผู้นำ กลุ่มจะตั้งใจทำงานโดยไม่ต้องมีการคะยั้นคะยอมาก
  • บุคคลแต่ละคนจึงควรทำงานในสถานการณ์ที่เหมาะกับแบบภาวะการเป็นผู้นำของเขา
  • ต้องเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เพื่อให้สอดคล้องกับแบบภาวะการเป็นผู้นำของเขาเอง
  • (The Hersey-Blanchard Life Cycle Theory of Leadership)
Leadership concept that hypothesizes that leadership styles should reflect primarily the maturity level of the followers. (Certo, 2003)   IV.         สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่

Leadership Competency Definitions
สมรรถนะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ

1. LEADING CHANGE ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง
  • Continual Learning การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
  • Creativity and Innovation มีความคิดสร้างสรรค์และใช้นวัตกรรม
  • External Awareness ตระหนักถึงผลกระทบจากภายนอก
  • Flexibility ความยืดหยุ่น
  • Resilience ปรับเปลี่ยนได้
  • Service Motivation จูงใจใฝ่บริหาร
  • Strategic Thinking การคิดเชิงกลยุทธ์
  • Vision การมีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกลได้ดี
  2.   LEADING PEOPLE DRIVING ศักยภาพในการเป็นผู้นำ  
  • Conflict Management การบริหารความขัดแย้ง
  • Leveraging Diversity ตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรม
  • Integrity/Honesty ความจงรักภักดี / ความซื่อสัตย์
  • Team Building สร้างทีมงาน
  3.   RESULTS DRIVING การมุ่งผลสัมฤทธิ์  
  • Accountability . ความรับผิดชอบ
  • Customer Service การให้บริการลูกค้า
  • Decisiveness การตัดสินใจ
  • Entrepreneurship ความเป็นผู้ประกอบการ
  • Problem Solving การแก้ไขปัญหา
  • Technical Credibility มีเทคนิคที่เชื่อถือได้
 4.   BUSINESS ACUMENT ความเฉียบคมทางการบริหาร
  • Financial Management การบริหารจัดการด้านการเงิน
  • Human Resources Management การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
  • Technology Management การบริหารจัดการด้านเทคโนโลยี
  • Customer Management การบริหารลูกค้า
 5.    BUILDING COLITIONS  การสร้างความเข้าใจ
  • Influencing/Negotiating การเจรจาต่อรอง
  • Interpersonal Skills ทักษะด้านคน การโน้มน้าว
  • Oral Communication ความสามารถในการสื่อสารด้วยวาจา
  • Partnering ความสามารถในการมีส่วนร่วม
  • Political Savvy ความรอบรู้ด้านการเมือง
  • Written Communication ความสามารถในการสื่อสารด้วยการเขียน
 V.  แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศJeffrey A. Krames. JACK WELCH AND THE 4E’s OF LEADERSHIP; How to Put GE’s Leadership Formula to Work in Your Organization: 2005: 5.
  1. ENERGY Drive/ Embraces/ Change
  2. ENERGIZE Vision / Sparks / Others
  3. EDGE Strong Competitor/ Makes Difficult Decisions
  4. EXECUTION Delivers Results/Consistent / Performer
  พัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำ
  1. คล่องคิด (Mental Agility) ล่วงรู้ปัญหา รู้แจ้ง เผชิญความยุ่งยากได้หลากหลาย อย่างเป็นสุข มีแง่คิด มีปัญญา
  2. คล่องคน (People Agility) รู้เขา รู้เรา เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้อื่น สร้างโอกาส เย็นสงบ สุขุม สง่างามภายใต้แรงกดดันได้
  3. คล่องผล (Result Agility) ทำให้ผู้คนมีพลังทำงานได้สำเร็จ ให้ผลงานได้เกินคาด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อื่น ส่งมอบผลงานที่ยากได้
  4. คล่องเปลี่ยน (Change Agility) ใฝ่รู้ สู้ยิ่งยาก ไม่ย่นระย่อ ชอบทดลอง ปรับเปลี่ยน สนใจที่จะพัฒนาตน สร้างนวตกรรม
   เซอร์วิลสตัน เซอร์ซิล รัฐบุรุษอังกฤษ (Dr. Boonton Dockthaisong)
  1. รักมั่น
  2. กตัญญู
  3. รู้คุณ
  4. ทำบุญสุนทาน
  5. อภิบาลอารมณ์
  6. ไม่กล่าวร้าย ไม่กล่าวหา ไม่เป็นกลุ่มฮายิน่า
  7. อดทน ฟันฝ่า เดินหน้า สร้างอนาคต
   ฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากหลักการทรงงาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
  • ระเบิดจากข้างใน
  • ปลูกจิตสำนึก
  • เน้นให้พึ่งตนเองได้
  • คำนึงถึงภูมิสังคม
  • ทำตามลำดับขั้น
  • ประหยัด เรียบง่าย
    ประโยชน์สูงสุด
  • บริการที่จุดเดียว
  • แก้ปัญหาจากจุดเล็ก
  • ไม่ติดตำรา
  • ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
  • การมีส่วนร่วม
  • รู้ รัก สามัคคี
  • มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่
   

ฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากจริยธรรมของผู้นำในแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 
  1. การบริหารจะต้องเป็นการบริหารเพื่อความมั่นคงของชาติ เพื่อความเจริญของประเทศ และเพื่อความผาสุกของประชาชน การบริหารจะต้องไม่เอาประโยชน์ส่วนตัว ประโยชน์ของญาติพี่น้อง ประโยชน์ของบริวารเข้ามาเกี่ยวข้อง
  2. จะต้องบริหารด้วยความสามัคคี เพราะจะนำไปสู่ความร่วมมือและความเข้มแข็ง ทำให้งานบรรลุผลสำเร็จ
  3. จะต้องบริหารด้วยความซื่อสัตย์สุจริต พระองค์ทรงรับสั่งว่าจะต้องซื่อสัตย์สุจริตทั้งในความคิด การพูด และการกระทำ ผมขอให้ความเห็นส่วนตัว เป็นการขยายความ ผู้บริหารนอกจากจะซื่อสัตย์สุจริตแล้ว ต้องดูแลคนรอบข้างตัวเราให้ซื่อสัตย์สุจริตด้วย ยิ่งไปกว่านั้นผู้บริหารจำต้องเพิ่มเติมคำว่า เสียสละและจงรักภักดีเข้าไปด้วย
  4. จะต้องเป็นการบริหารที่ถูกต้อง คือถูกต้องตามกฎหมาย ตามกฎเกณฑ์ เที่ยงธรรม เที่ยงตรง มีประสิทธิภาพ และให้ประสิทธิผลสูง ความเห็นส่วนตัวของผม เห็นว่าผู้บริหารจะต้องมีมาตรฐานเดียวเสมอหน้ากัน ทั่วถึงกัน ต้องไม่มีหลายมาตรฐาน หรือ ไม่มีมาตรฐานเลย หรือใช้มาตรฐานตามอารมณ์ มาตรฐานตามกิเลส
  5. จะต้องเป็นการบริหารงานที่เป็นเอกภาพ คือการประสานงาน ประสานประโยชน์ ระหว่างหน่วยงาน พระราชดำรินี้ชัดเจนและเข้าใจง่าย แต่โดยข้อเท็จจริง หน่วยงานภาครัฐค่อนข้างละเลยจนเป็นอุปสรรคที่ไม่มีในตำรา บางทีก็กลายเป็นการแข่งขัน หรือกลายเป็นการแก่งแย่งกันเองระหว่างหน่วยงานต่างๆ
  6. ต้องบริหารด้วยความเฉียบอย่างต่อเนื่องอย่าง เช่น พระมหาชนก ผู้บริหารจะต้องไม่กลัวลำบาก กลัวเหนื
ยม (ต่อเนื่องจาก สรุปสาระ ประเด็น(โดยย่อ) ที่มีการเรียนการสอน ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด MBA เมื่อ อ. 25 ก.พ. 2550 @ 12:33 (174713) เมื่อ อ. 25 ก.พ. 2550 @ 12:48 จาก 58.9.163.142

(สรุปการเรียนการสอน ต่อจาก Blogที่แล้ว)

 

ฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากจริยธรรมของผู้นำในแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  1. การบริหารจะต้องเป็นการบริหารเพื่อความมั่นคงของชาติ เพื่อความเจริญของประเทศ และเพื่อความผาสุกของประชาชน การบริหารจะต้องไม่เอาประโยชน์ส่วนตัว ประโยชน์ของญาติพี่น้อง ประโยชน์ของบริวารเข้ามาเกี่ยวข้อง
  2. จะต้องบริหารด้วยความสามัคคี เพราะจะนำไปสู่ความร่วมมือและความเข้มแข็ง ทำให้งานบรรลุผลสำเร็จ
  3. จะต้องบริหารด้วยความซื่อสัตย์สุจริต พระองค์ทรงรับสั่งว่าจะต้องซื่อสัตย์สุจริตทั้งในความคิด การพูด และการกระทำ ผมขอให้ความเห็นส่วนตัว เป็นการขยายความ ผู้บริหารนอกจากจะซื่อสัตย์สุจริตแล้ว ต้องดูแลคนรอบข้างตัวเราให้ซื่อสัตย์สุจริตด้วย ยิ่งไปกว่านั้นผู้บริหารจำต้องเพิ่มเติมคำว่า เสียสละและจงรักภักดีเข้าไปด้วย
  4. จะต้องเป็นการบริหารที่ถูกต้อง คือถูกต้องตามกฎหมาย ตามกฎเกณฑ์ เที่ยงธรรม เที่ยงตรง มีประสิทธิภาพ และให้ประสิทธิผลสูง ความเห็นส่วนตัวของผม เห็นว่าผู้บริหารจะต้องมีมาตรฐานเดียวเสมอหน้ากัน ทั่วถึงกัน ต้องไม่มีหลายมาตรฐาน หรือ ไม่มีมาตรฐานเลย หรือใช้มาตรฐานตามอารมณ์ มาตรฐานตามกิเลส
  5. จะต้องเป็นการบริหารงานที่เป็นเอกภาพ คือการประสานงาน ประสานประโยชน์ ระหว่างหน่วยงาน พระราชดำรินี้ชัดเจนและเข้าใจง่าย แต่โดยข้อเท็จจริง หน่วยงานภาครัฐค่อนข้างละเลยจนเป็นอุปสรรคที่ไม่มีในตำรา บางทีก็กลายเป็นการแข่งขัน หรือกลายเป็นการแก่งแย่งกันเองระหว่างหน่วยงานต่างๆ
  6. ต้องบริหารด้วยความเฉียบอย่างต่อเนื่องอย่าง เช่น พระมหาชนก ผู้บริหารจะต้องไม่กลัวลำบาก กลัวเหนื่อย ดำรงความมุ่งหมายอย่างกล้าหาญ กล้าเผชิญอุปสรรค และ อดทนต่อความยากลำบาก
  7. ผู้บริหารต้องไม่หวาดกลัวต่ออิทธิพลใดๆ และต้องอยู่กันคนละฝ่ายกับความไม่ถูกต้อง
  8. ผู้บริหารจะต้องศึกษาหาความรู้อย่างจริงจัง อย่างลึกซึ้ง อย่างกว้างขวาง ทั้งทางลึกและทางกว้าง
  9. ผู้บริหารจะต้องมีความสำนึกในความรับผิดชอบ และเห็นความสำคัญของงาน ความรับผิดชอบหมายรวมถึงความตั้งใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุตามกฎที่กำหนด พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า การเห็นความสำคัญของงาน ความสำนึกในความรับผิดชอบ และความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ ต้องทำพร้อมและควบคู่กันไป
  10. ผู้บริหารจะต้องรู้จักทรัพยากรอย่างประหยัดและฉลาด มีความถูกต้องเหมาะสม การที่พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานทฤษฎีใหม่ที่ได้ยินจนชินหูว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการชี้แนวทางในการดำรงชีวิตใหม่ให้พวกเราพออยู่พอกิน ทำให้เกิดการสมดุลการดำรงชีพอย่างประหยัดและฉลาด
  11. ผู้บริหารจะต้องมีสติมีปัญหา สามารถพิจารณาปัญหาได้กว้างไกลรอบคอบทุกแง่มุม ส่วนตัวเห็นว่าผู้บริหารจะต้องมีวิสัยทัศน์ ทัน สมัย ทันเหตุการณ์ทั่วโลก โดยเฉพาะในสาขาอาชีพของตน
  12. ผู้บริหารต้องแน่วแน่ที่จะแก้ไขในสิ่งผิด ทุกคนคงได้ยิน ผมเชิญมาจากเพลงพระราชนิพนธ์ เห็นว่าผู้บริหารจะต้องกล้าที่จะรับผิดชอบในสิ่งที่ผิด และมีความแน่วแน่ที่จะแก้ไข การบริหารย่อมผิดพลาดได้ แม้จะรอบคอบ ระมัดระวังแล้ว ดังนั้น การแก้ไขสิ่งที่ผิดจึงไม่ใช่เรื่องน่าละอาย การทำชั่ว ประพฤติชั่วต่างหากที่น่าละอาย
  13. ผู้บริหารจะต้องบริหารแบบปิดทองหลังองค์พระปฏิมา ข้อนี้มาจากเพลงพระราชนิพนธ์เช่นเดียวกัน ผมเดาว่าทรงหมายถึงการไม่โอ้อวดมุ่งแต่ผลงาน ไม่หวังคำชมเชย ภูมิใจแต่ความสำเร็จ
  14. ผู้บริหารทุกระดับที่มีผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บริหารต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
 ฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง กับภาวะผู้นำ
  1. รอบรู้ ใฝ่รู้
  2. คู่คุณธรรม
  3. มีเหตุ มีผล
  4. รู้ตน พอประมาณ
  5. มองการณ์ไกล ใส่ใจภูมิคุ้มกัน
 

(แนะนำให้นักศึกษาอ่านเพิ่มเติมใน Blog ตอนท้ายนี้ เพราะไม่ได้ใส่ไว้ใน Sheet)

 

เศรษฐกิจพอเพียง

3 หลักการ2 เงื่อนไข
สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้นำวิเคราะห์จากกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ความพอประมาณModerationความพอดี พอประมาณ ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ *      พอมีพอกิน รู้จักตน รู้จักประมาณ*      ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหรา*      มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคน*      อยู่ได้ด้วยตนเอง*      พอในความต้องการ*      ด้วยความพอเหมาะพอดี*      ถูกต้อง พอเหมาะพอดี*      ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง*      ค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี*      ทำการทุกอย่าง ด้วยความมีสติ  
ความมีเหตุมีผลReasonablenessการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ *      ความคิดพิจารณาด้วยตนเอง*      ตรงเป้าหมาย ตรงความจริง*      คิด พูด ทำ ถูกต้องตามหลักเหตุผล*      ถูกต้อง และเหมาะสม*      ทำการทุกอย่างด้วยเหตุผล *      ทำด้วยความมีสติ และด้วยความรู้ตัว *      รู้จักสังเกตศึกษา เพื่อให้สามารถทำงานได้เสร็จสมบูรณ์ทุกสิ่ง
ความมีภูมิคุ้มกัน Self-Immureการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล *      มีทางที่จะแก้ปัญหาได้เสมอ*      ผลสำเร็จที่จะเกิดจากงาน เป็นใหญ่ยิ่งกว่าสิ่งอื่น*      ไม่ประมาทปัญญา*      ค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ*      เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับที่สูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับ.*      ควบคุมกายใจและความคิด 
เงื่อนไข ความรู้ Knowledge ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ  *      มีความรู้ ศึกษาให้รู้ ให้ทราบ*      เข้าถึงแก่นแท้ของเรื่องนั้นปัญหา*      เข้าใจปัญหาต่าง ๆ อย่างชัดเจนถูกถ้วน*      มีความรู้*      ความรู้ และความดีของตัว ให้ใส่ลงไปในงาน*      ชำนาญทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ*      ทำการทุกอย่างด้วยความรู้ตัว*      เห็นจุดหมาย เห็นสาระ และประโยชน์ที่แท้ของงานนั้นอย่างแจ่มแจ้ง*      นำวิชาการด้านของตนประสานเข้ากับวิชาการด้านอื่น ๆ ได้โดยสอดคล้อง ถูกต้อง และเหมาะสม . . . 
เงื่อนไข คุณธรรมEthic Virtueความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต *      มีคุณธรรม*      มีการช่วยกัน ร่วมมือร่วมใจกัน*      แก้ปัญหาต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่นฝ่ายอื่นอยู่เป็นปรกติ*      ความสุจริตใจและจริงใจ*      เมตตาอารีและความไม่มีอคติ*      ไม่เสเพล และไม่ปล่อยตนให้เป็นทาษแห่งอบายมุขต่าง ๆ*      ยึดมั่นในจรรยาบรรณในวิชาชีพของตน*      วางตนได้สม่ำเสมออย่างเหมาะสม.*      เป็นกลาง*      วิชาการกับหลักธรรมนี้มีประกอบกันพร้อม *      รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ
 ใน Blog ถัดไป ผมจะเขียนถึงกิจกรรมกลุ่ม ว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง I.    กิจกรรมกลุ่ม ให้นักศึกษาเข้ากลุ่มละประมาณ 6 คน มีกิจกรรมดังนี้กิจกรรมที่ 1 ให้แต่ละท่านส่งรายงานว่า ในการเรียนวิชานี้ได้เรียนรู้อะไร (ทั้งจากการเรียนในชั้นและการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากเอกสารการสอน และจากหนังสือ หรือ Internet) กิจกรรมที่ 2ให้กลุ่มเลือกผู้นำที่ตนเองชื่นชอบ ที่ได้รับการเห็นชอบจากกลุ่มแล้วทำการวิเคราะห์ว่า เขามีภาวะผู้นำอะไรบ้างให้กลุ่มระดมสมองกันว่า นายกรัฐมนตรีคนต่อไปของไทย ควรมีภาวะผู้นำอย่างไรบ้าง กิจกรรมที่ 3ให้กลุ่มเสนอประเด็นปัญหาด้าน ทรัพยากรมนุษย์ที่ตนเองพบแล้วเสวนากันในกลุ่ม เลือกประเด็นปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์มาหนึ่งปัญหา โดยเลือกของใครคนใดคนหนึ่งซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกลุ่ม  ให้ระดมสมองกันเสนอแนวทางแก้ไข และป้องกันปัญหา  แล้ว ส่งตัวแทนออกมาอภิปรายในชั้นเรียนใน Blog ถัดไป ผมจะเขียนถึงกิจกรรมกลุ่ม ว่าตัวแทนแต่ละกลุ่มได้มีกล่าวถึงกิจกรรมได้ที่รับมอบหมายไปอย่างไรบ้าง 

ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นสิ่งที่ผมและนักศึกษาได้มีกิจกรรมร่วมกันในชั้นเรียน

ขอขอบใจเจ้าหน้าที่ ทาง ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด คุณเจน คุณ Nitinan ขอบใจเจ้าหน้าที่ดูแลด้านคอมพิวเตอร์ และอีกหลายคนที่ให้การต้อนรับ เป็นอย่างดี  ขอบใจอาจารย์โลตัส ที่ติดตามไปร่วมสังเกตการณ์  และช่วยอำนวยความสะดวกหลายประการ ขอบใจคุณเอ วราพร ที่คอยอำนวยการ ติดต่อประสานงานให้เรียบร้อยดี

ขอบใจนักศึกษาที่บางท่านมีน้ำใจ นำขนมท้องถิ่นมาให้

ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านโชคดี 

สวัสดีครับ

ยม

  

น.ศ.ปริญญาเอก

  

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

  

081-9370144

นายชูศักดิ์ ลาภส่งผล เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 19:09 จาก 203.113.67.165
สวัสดีท่านอาจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และนักศึกษาปริญญาโททุกท่านจากการที่ได้เรียนในวิชา ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กรก็ทำให้ทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงมากมายในยุคปัจจุบันว่ามีผลต่อผู้นำและภาวะผู้นำซึ่งมีผลต่อการบริหารองค์กรให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างไร ซึ่งเป็นการยากที่จะสรรหาผู้นำที่ดีที่มีคุณลักษณะเหมาะสมเข้ามาสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรได้ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เช่น การเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยีต่าง ๆ ด้านสังคมเป็นต้น เพราะทุกอย่างในโลกนี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและในความหมายของผู้นำก็คือคนที่จะเข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการด้านต่าง ๆ ในองค์กร ไม่่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน ส่วนภาวะผู้นำก็คือ พฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถที่มีความเป็นผู้นำนั่นเอง และผู้นำก็จะต้องมี 1.    วิสัยทัศน์2.    พันธกิจ3.    เป้าหมาย4.    วัตถุประสงค์5.    แผนกลยุทธ์ที่วางไว้6.    และนำแผนที่ได้นั้นไปปฏิบัติและนำมาตรวจสอบเพื่อดูเปรียบเทียบกับแผนที่วางไว้กับที่เกิดขึ้นจริงนั้นเป็นอย่างไร และทำการปรับปรุงแำก้ไขในส่วนทีบกพร่องที่เกิดขึ้นพร้อมกับพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆและลักษณะของคนที่มีภาวะผู้นำจะต้องใช้เครื่องมือในการสร้างและรักษาอำนาจได้ด้วยคือ1.    อำนาจจะเกิดได้ต้องรู้จักการให้ ให้โอกาส ให้ความรู้ ความใกล้ชิด ให้อภัย ให้เงินทอง2.    อำนาจสร้างได้โดยการติ คือเมื่อลกน้องทำไม่ดีแล้วต้องติ หรือทำผิดต้องติ3.    อำนาจที่แสดงตนว่าเป็นผู้รูู้้มากกว่าลูกน้อง ต้องหมั่นเป็นคนที่ใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา4.    อำนาจสร้างไ้ด้ด้วยการอ้างอิง เช่น ถ้าเราไปดูงานความเรียบร้อยในบริษัทพร้อมกับหัวหน้าแต่เห็นว่าบริษัทไม่ได้ทำเรื่อง 5 ส.เลย มีความสกปรกในบริษัท ไม่เรียบร้อย ไม่เป็นระเบียบ เมื่อหัวหน้าไปแล้วเราก็บอกให้มีการจัดทำเกี่ยวกับ 5 ส.นี้เพื่อส่งผลดีให้กับบริษัทเราเมื่อมีใครเข้ามาดูในบริษัทเราโดยอ้างชื่อหัวหน้าว่าเป็นคนสั่งมาอีกทีหนึ่ง5.    อำนาจทางนิติกรรมที่ทำตนเป็นอยู่แล้วในตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน   (ทฤษฎี 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์)สามารถนำเสนอความคิดใหม่1.    ทุนความรู้                 2.    ทุนปัญญา                3.    ทุนทางสังคม               4.    ทุนทาง IT สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้  5.    ทุนความเป็นมนุษย์               6.    ทุนทางความสุข  สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้  7.    ทุนจริยธรรม คุณธรรม               8.    ทุนแห่งความยั่งยืน ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำมีอยู่ 3 ทฤษฎี คือ1.    ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ คือเป็นผู้นำีที่ดีและจะเกิดประสิทธิภาพในองค์กร เช่นมีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม มีความรับผิดชอบ รอบคอบ มีทักษะในการติดต่อสืื่่่่อสาร และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดี2.    ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงาน3.    ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์  สภาวะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ1. LEADING CHANGE ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง ·         Continual Learning การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง·         Creativity and Innovation มีความคิดสร้างสรรค์และใช้นวัตกรรม ·         External Awareness ตระหนักถึงผลกระทบจากภายนอก ·         Flexibility ความยืดหยุ่น ·         Resilience ปรับเปลี่ยนได้ ·         Service Motivation จูงใจใฝ่บริหาร ·         Strategic Thinking การคิดเชิงกลยุทธ์ ·         Vision การมีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกลได้ดี   2.   LEADING PEOPLE DRIVING ศักยภาพในการเป็นผู้นำ   ·         Conflict Management การบริหารความขัดแย้ง ·         Leveraging Diversity ตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรม ·         Integrity/Honesty ความจงรักภักดี / ความซื่อสัตย์ ·         Team Building สร้างทีมงาน   3.   RESULTS DRIVING การมุ่งผลสัมฤทธิ์   ·         Accountability . ความรับผิดชอบ ·         Customer Service การให้บริการลูกค้า ·         Decisiveness การตัดสินใจ ·         Entrepreneurship ความเป็นผู้ประกอบการ ·         Problem Solving การแก้ไขปัญหา ·         Technical Credibility มีเทคนิคที่เชื่อถือได้  4.   BUSINESS ACUMENT ความเฉียบคมทางการบริหาร ·         Financial Management การบริหารจัดการด้านการเงิน·         Human Resources Management การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์·         Technology Management การบริหารจัดการด้านเทคโนโลยี·         Customer Management การบริหารลูกค้า 5.    BUILDING COLITIONS  การสร้างความเข้าใจ ·         Influencing/Negotiating การเจรจาต่อรอง·         Interpersonal Skills ทักษะด้านคน การโน้มน้าว·         Oral Communication ความสามารถในการสื่อสารด้วยวาจา·         Partnering ความสามารถในการมีส่วนร่วม ·         Political Savvy ความรอบรู้ด้านการเมือง·         Written Communication ความสามารถในการสื่อสารด้วยการเขียนBest Leaders
  1. Honesty
  2. Responsiveness
  3. Vigilance = Continued Success
  4. Livingness to learn and relearn 
  5.  Sense of adventure
  6. Vision
  7. Altruism
  คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร
  1. การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน (Social/National Interest)
  2.  ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล (Meritocracy/Good Governance)
  3. มีความสามารถ (Competence)
  4.  มีความสำนึกรับผิดชอบ (Accountability)
  5.  มีความเป็นกลาง (Neutrality) 
  6.  การมุ่งสัมฤทธิ์ผล (Result Orientation) 
  7.  ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)
  ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี
  1. มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
  2. ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3. ขาดความรับผิดชอบ
  4. การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้
  5. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน
  6.  แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
  7.  ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม
  8. ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ
  9.   ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร ฯลฯ
 ฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากหลักการทรงงาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
  • ระเบิดจากข้างใน
  • ปลูกจิตสำนึก
  • เน้นให้พึ่งตนเองได้
  • คำนึงถึงภูมิสังคม
  • ทำตามลำดับขั้น
  • ประหยัด เรียบง่าย
    ประโยชน์สูงสุด
  • บริการที่จุดเดียว
  • แก้ปัญหาจากจุดเล็ก
  • ไม่ติดตำรา
  • ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
  • การมีส่วนร่วม
  • รู้ รัก สามัคคี
  • มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่
การที่จะเป็นผู้นำที่ดีจะต้องเป็นคนที่ใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเพราะความรู้นั้นเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้นตราบที่เรายังมีชีวิต อีกทั่งโลกก็การเปลีี่ียนแปลงอยู่ตลอดเวลาต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของการแข่งขันได้ เพื่อนำพาองค์ให้ไปสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจได้ ซึ่งผู้นำที่ดีก็จะต้องมีลูกน้องที่ดีร่วมกันทำงานเป็นทีม มีเป้าหมายร่วมกันไปในทิศทางเดียวกันอย่างชัดเจนและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กรทีมีอยู่ด้วย และควรเน้นด้าน CEO คือ        Customer  ลูกค้าต้องได้รับความพึงพอใจ        Employee  พนักงานต้องทำงานอย่างมีความสุขในองค์กร

        Organization องค์กรต้องมีผลการดำเนินงานที่ดีมีกำไร หรือจะต้องไม่   เจ๊งนั่นเอง

ต้องคิดนอกกรอบกล้าคิดกล้าทำ กล้าตัดสินใจ มี Positive Thinking มีความสามารถในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เป็น เพราะว่าภาวะผู้นำไม่มีสูตรสำเร็จเฉพาะ

 และที่สำคัญต้องรู้จักการบริหารเวลาให้เป็น เป็นคนที่ตรงต่อเวลาในเรื่องของการทำงานภายในและภายนอกขององค์กร สามารถวัดผลได้ เพื่อให้องค์กรมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ มากยิ่งขึ้น นายชูศักดิ์  ลาภส่งผลน.ศ.ปริญญาโท MBA 6 ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด           
นายบุญยอด มาคล้าย เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 19:14 จาก 125.26.34.181
การบ้าน  สัปดาห์ที่ 1 วิชา ภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงหัวข้อ วันนี้คุณเรียนแล้วได้อะไรบ้าง              สวัสดีครับท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ผมดีใจที่ได้มีโอกาสได้เรียนกับท่าน แม้ว่าท่านจะยังไม่ได้สอนก็ตามแต่ดูจากความเป็นห่วงเป็นใยของอาจารย์ที่มีกับศิษย์แล้วทำให้ผมปลื้มมากเนื่องจากขณะที่ท่านอาจารย์ยมสอนอยู่นั้นอาจารย์ใหญ่(ผมเรียกตามอ.ยมน๊ะครับ)ก็โทรเข้ามาหาอ.ยมแล้วอาจารย์ใหญ่ก็ทักทายลูกศิษย์ทำให้ผมมีความคิดไปถึงการศึกษาของไทยถ้าครูบาอาจารย์ในประเทศไทยเอาใจใส่กับศิษย์แล้วตั้งใจถ่ายทอดวิชาความรู้ที่มีในตำราและนอกตำราให้กับศิษย์ผมว่าการศึกษาของไทยคงจะดีขึ้นกว่านี้แน่นอน ในวิชาภาวะผู้นำผมถือว่าครูบาอาจารย์ก็เป็นผู้นำอีกด้านหนึ่งคือท่านต้องนำความรู้ ความมีพลัง ความมีแรงจูงใจ การใช้ชีวิตในสังคม การทำมาหากิน และที่สำคัญนำเรื่องการมีคุณธรรมและจริยธรรมมาถ่ายทอดให้ศิษย์              สิ่งที่ได้ในการเรียนในวันนี้คือการเป็นผู้นำต้อง  รู้เรื่องคน  ใส่ใจ  สนใจ  เอาใจใส่  และสิ่งที่อ.ยมสอนวันนี้อีกคำพูดหนึ่งที่ชอบคือผู้นำจะต้องมีความรู้ที่ใหม่และสดอยู่เสมอและต้องกล้าคิดนอกกรอบ กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ และกล้ารับผิดชอบสุดท้ายนี้ผมขอให้อาจารย์ใหญ่มีสุขภาพแข็งแรง จะได้อยู่เป็นองค์ความรู้ให้กับสังคมไทยได้อีกนานเท่านานสวัสดีครับ                                                          ด้วยความเคารพ                                                นายบุญยอด  มาคล้าย                                         [email protected]
จำเนียร อำภารักษ์ MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 20:36 จาก 58.9.158.54
จาก จำเนียร อำภารักษ์ เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 18:42 (175946) MBA สแตมฟอร์ด ที่หัวหิน

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์              

ในวันที่  23 และ 24  ก.พ. 2550 เรียนเรื่องภาวะผู้นำ ซึ่งประกอบไปด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติร่วมกันยกตัวอย่าง โดยใช้ความรู้ใหม่ และจากประสบการณ์เดิม ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้  

คำถาม   เรียนเรื่องภาวะผู้นำได้ความรู้อะไรบ้าง จงอธิบาย              

ถ้าเปรียบดังเช่นสงครามนั้น สิ่งทีเป็นของล้ำค่าของกองทัพ คือ แม่ทัพ ดังเช่น ซุนวูได้ยกให้เป็น 1 ของการทำสงคราม เพราะแม่ทัพหรือผู้นำเป็นจุดชี้เป็นชี้ตายของสงคราม เช่นเดียวกับการดำเนินงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีผู้นำที่ดี และมีความเป็นเลิศในภาวะผู้นำ ย่อมได้รับการยอมรับ ทำให้องค์กรมีความมั่นคงและประสบความสำเร็จ             

ผู้นำ (Leader) คือบุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

อ.ยม ยกตัวอย่างผู้นำที่ประสบความสำเร็จ เช่น บิลล์ เกตส์ เจ้าพ่อวงการซอฟต์แวร์ของโลกที่ผันการใช้คอมพิวเตอร์ที่ยุ่งยากพัฒนาสู่ระบบการจัดการเพื่อง่ายต่อการใช้งาน

จากการเป็นผู้นำการใช้เทคโนโลยีแล้วยังเป็นคู่แข่งทุกอุตสาหกรรมในการพัฒนาสื่อ Internet และมัลติมิเดีย              

ความหมายของภาวะผู้นำ              Dubrin ให้ความหมายของภาวะผู้นำว่าเป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

สรุปสั้น ๆ ภาวะผู้นำเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการเป็นผู้นำ

ลักษณะของผู้นำที่ดีโดยทั่ว ๆ ไป

  1. มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล
  2. มีความซื่อสัตย์
  3. มีความรับผิดชอบ
  4. มีบุคลิกภาพดี
  5. มีความสามารถริเริ่มสิ่งใหม่ ๆอยู่เสมอ
  6. ตรงต่อเวลา
  7.  สุขุม รอบคอบ ใจเย็น มีกลยุทธ์ยอดเยี่ยม ซึ่งเรียกว่า คมในฝัก
  8. มีการกระจายอำนาจอย่างทั่วถึง ให้รางวัลขวัญและกำลังใจ แก่ผู้ทำผลงานดี (ซึ่งอยู่ในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์)
  9. มีความรู้เรื่องที่ทำงานอย่างชัดเจน ไม่ใช่รู้แต่ทฤษฎีแต่ต้องปฏิบัติได้
  10. ต้องมีพรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)

ผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน1.       สามารถนำเสนอความคิดใหม่ ๆ

  • ทุนความรู้ เช่น ใฝ่รู้ หาความรู้อยู่เสมอ
  • ทุนปัญญา เช่น มีสติ-       
  • ทุนทางสังคม  เช่น มีมนุษยสัมพันธ์ คิดดี มี Positive Thinking เป็นบวก-       
  • ทุนทาง IT  เช่น ความรู้ทันเทคโนโลยี 

2.       สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้

  • ทุนความเป็นมนุษย์ ได้รับการอบรมสั่งสอน มีจริยธรรมมีคุณธรรม
  • ทุนทางความสุข  ซึ่งเผื่อแผ่คนอื่นได้ 

3.       สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้

  • ทุนจริยธรรม คุณธรรม เช่น พลเอกเปรม  ดิณสูลานนท์
  • ทุนแห่งความยั่งยืน ทำงานไม่เครียด มีเครือข่ายดี

ภาวะผู้นำกับการสร้างอำนาจ

  1. อำนาจจากการให้
  2. สร้างอำนาจโดยการตีเบา ๆ ชมดัง ๆ
  3.  ต้องแสดงเป็นผู้รู้มากกว่าลูกน้อง
  4.  สร้างโดยการอ้างอิง
  5. อำนาจทางนิติกรรม จากตำแหน่งระหว่างคำว่า เจ้านายกับ ผู้นำ ผู้นำมีความยั่งยืนกว่า

 

คุณค่าของผู้นำ

  1. มุ่งประโยชน์ส่วนร่วม
  2.  ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย / ธรรมาภิบาล
  3. มีความสามารถ
  4. มีความสำนึกรับผิดชอบ
  5. มีความเป็นกลาง
  6. การมุ่งผลสำเร็จ
  7.  ความเป็นมืออาชีพ

 

อุปสรรคที่ทำลายล้างผู้นำ

  1. มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว
  2. ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3. ห้อมล้อมด้วยขุนพลอยพยัก
  4.   ขาดความรับผิดชอบ
  5. ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นตัดสินใจแทนได้
  6.  ไม่คิด ไม่สร้างคนแทน
  7.   ข้อมูลในการแต่งตั้ง บุคลากรไม่ชัดเจน
  8.  ขาดความรู้
  9.   ดื้อรัน ทิฐิ หลงตัวเอง ซึ่ง อ.ยม เน้นว่า ข้อ 9 นี้อันตรายมาก

 

ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ

  1.  เกี่ยวกับลักษณะ
  2. ทางด้านพฤติกรร 
  3. ทางด้านสถานการณ์

 

สมรรถนะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ

  1. ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง
  2. ศักยภาพในการเป็นผู้นำ
  3. การมุ่งผลสัมฤทธิ์
  4. ความเฉียบคมทางการบริหาร 
  5. การสร้างความเข้าใจ

 

อ.ยม พูดถึงประเทศญี่ปุ่นใช้ PDCA ในเรื่องภาวะผู้นำ      

  • P     มาจาก     Planning      
  • D     มาจาก     Do      
  • C     มาจาก     Check      
  • A     มาจาก     Action

 

สมรรถนะหลักของผู้นำ (ภาครัฐ) มี 4 กลุ่ม

  1. การบริหารคน
  2. ความรอบรู้ทางการบริหาร
  3. การบริหารอย่างมืออาชีพ
  4. มุ่งผลสัมฤทธิ์แต่ อ.ยม เพิ่มให้อีก 1 กลุ่มคือ ........
  5.  ความรอบรู้ ทางด้านความรู้ใหม่ ๆ (ความรู้สด) 

 

ทฤษฎี  8  K’s  ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อ. ยม แนะนำว่า ผู้นำสมัยใหม่ ต้องมีทุน และทุนที่มีต้องมากพอที่จะนำไปพัฒนาทีมงาน พัฒนาองค์กร ทุนดังกล่าว มี  8 อย่างดังนี้

  1. ทุนแห่งความยั่งยืน      
  2. ทุนทางสังคม      
  3. ทุนทางจริยธรรม      
  4. ทุนแห่งความสุข      
  5. ทุนทาง IT      
  6. ทุนทางปัญญา      
  7. ทุนทางความรู้ ทักษะ Mind set      
  8. ทุนมนุษย์

นอกจากนี้ อ.ยม เน้น ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมี 3 ห่วง 2 เงื่อนไขเป็นโมเดลของความเป็นผู้นำ    ภาวะผู้นำตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ 

  1. ความมีเหตุมีผล 
  2. รู้จักประมาณ
  3. มีวิสัยทัศย์ มีภูมิคุ้มกัน
  4. มีความรอบรู้
  5. มีคุณธรรม    

ในช่วงบ่ายของวันเสาร์ที่ 24 กพ. 50 ได้แบ่งกลุ่ม และส่งตัวแทนกลุ่มออกไปพูดในหัวข้อ

  • ผู้นำที่กลุ่มชื่นชอบ คือใคร มีลักษณะของผู้นำที่ดีอย่างไร
  • นายกรัฐมนตรีคนต่อไปของประเทศไทย ควรมีภาวะผู้นำอย่างไรหลัง

จากนั้น อ.ยม สรุปว่า ถ้านำเอาส่วนที่นักศึกษานำเสนอและวิเคราะห์แล้วเอามาหลอมรวมกัน พฤติกรรมเหล่านั้น ก็จะสามารถสร้างผู้นำที่เข้มแข็งได้  

ข้อเสนอแนะและเพิ่มเติมเมื่อได้ศึกษาวิชาภาวะผู้นำ ทำให้มีความรู้ทางทฤษฎีที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในองค์กรที่ทำงานอยู่ คิดว่าน่าจะเพิ่มคุณสมบัติของผู้นำที่ดี ดังนี้

  1. เชื่อมั่นในการตัดสินใจในของตนเอ
  2. กล้ารับผิดชอบในการตัดสินใจของตนเองเสมอ
  3. เมื่อกล้าคิด กล้าทำ ต้องกล้ารับผิดชอบ 

 

ผู้นำที่ข้าพเจ้าชื่นชอบ คือ คุณธนินท์  เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพราะ

  1. มีวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ เป็นที่ยอมรับของนักธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  2. ให้หุ้นกับพนักงานเมื่อมีตำแหน่งสูงขึ้น
  3. สร้างคนและดึงดูดคนเก่ง ๆ เอาไว้
  4.     ให้อภัย
  5.  ศึกษาความเก่งของผู้ใต้บังคับบัญชา
  6.  เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส
  7.  ช่วยเหลือสังคม
  8.  ผู้นำด้านเทคโนโลยี
  9.  กระจายอำนาจให้บริษัทที่อยู่ในเครือสามารถบริหารจัดการได้โดยอิสระ
  10.  ขายธุรกิจในขณะที่ธุรกิจมีกำไร         

เหตุผลดังกล่าวข้างต้น เป็นแบบอย่างที่ดีของผู้นำในการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน        

ชาญชัย พานิชนันทนกุล MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 20:39 จาก 58.9.158.54

ชาญชัย พานิชนันทนกุล เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 19:30 (175980) MBA ที่หัวหินฯ

 

สวัสดีครับท่านอาจารย์และเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน!         

ภาวะผู้นำเรียนแล้วได้อะไรบ้าง?
ภาวะผู้นำเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ สามารถต่อสู้กับความไม่แน่นอนในธุรกิจของตน  แสวงหา  รักษาพัฒนา กำลังคนให้มีความสามารถอยู่ตลอดเวลา รักษาลูกค้าเก่าได้  และสามารถต่อยอดสร้างลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น  สร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย 
องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้นำเป็นสำคัญ  ผู้นำต้องเป็น
  • ผู้ใฝ่รู้ 
  • มีความคิดสร้างสรรค์ 
  • สามารถคิดนอกกรอบข้ามศาสตร์ทางบวก   
  • มีวิสัยทัศน์กว้างไกล 
  • มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
  • สามารถนำไปวางแผนกลยุทธ์นำไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ  
  • มีการตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องสามารถ
  • สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าได้          

 

คุณค่าของผู้นำ 

  1. ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ 
  2. มีการเรียนรู้ตลอดเวลา 
  3. มองไปที่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก 
  4. ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตยและธรรมาภิบาล 
  5. มีความสามารถรอบด้าน 
  6. มีความสำนึกรับผิดชอบ 
  7. มีความเป็นกลาง  
  8. มีความเป็นมืออาชีพ 
  9. มุ่งสัมฤทธิ์ผล 

 

ผู้นำที่ดีต้องหลีกเลี่ยงเชื้อไวรัสร้าย  เช่น 

  • การมุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง 
  • ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ  ยึดมั่น  มีอัตตาสูง 
  • ห้อมล้อมด้วยขุนพลอยพยัก 
  • ขาดความรับผิดชอบ 
  • ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้ 
  • ไม่คิดสร้างตัวตายตัวแทน 
  • แต่งตั้งคนไม่ดีอยู่ในตำแหน่งสำคัญๆ 
  • แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งปันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง 
  • ขาดความรู้ 
  • ความเป็นธรรม 
  • ขาดสมดุล 
  • ไร้เหตุผล  และ
  • ขาดการพอประมาณ 
  • ดื้อรั้น  ทิฐิ  หลงตัวเอง           

ทฤษฎีภาวการณ์เป็นผู้นำ 

  1. ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ  ผู้นำที่ดีต้องทำงานสำเร็จด้วยดีและเป็นที่พอใจของผู้ใต้บังคับบัญชา  มีความทะเยอทะยาน  พากเพียร  กล้าหาญ  เชื่อถือศรัทธา  ซื่อสัตย์  คิดริเริ่มสร้างสรรค์  ยืดหยุ่น  ยุติธรรม  มีจุดมุ่งหมาย  กล้าตัดสินใจ  มีวินัยในตนเอง  สามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ        

สมรรถนะหลัก 5 ด้านนำไปสู่ภาวะผู้นำ 

1. Leading  Change 

  • มีการเรียนรู้ต่อเนื่อง 
  • มีความคิดสร้างสรรค์รู้จักใช้  Innovation 
  • สร้างคุณค่าให้แก่องค์กร 
  • ตระหนักถึงผลกระทบจากภายนอก 
  • ปรับเปลี่ยนให้เกิดความยืดหยุ่นจูงใจ
  • ให้พนักงานทุกคนมี Service  Mind
  • มีความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์ สอดคล้องกับ Vision ที่วางไว้อย่างดี

2. Leading  People 

  • ผู้นำต้องมีศักยภาพในการบริหารความขัดแย้ง
  • สามารถใช้ประโยชน์จากปัญหาความขัดแย้งให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร 
  • ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมองค์กร 
  • มีความซื่อสัตย์  และ
  • สร้างทีมงานที่ดีนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จResults Driven
  • มุ่งไปสู่ผลลัพธ์เน้นการให้บริการ
  • มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 
  • มีความรู้สึกว่ามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจ 
  • กล้าตัดสินใจ  สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ  โดยใช้เทคนิคที่เชื่อถือได้มีประสิทธิภาพ

3. Business Acumen ความเฉียบคมในการบริหาร

  • ทั้งด้านการเงิน
  • ทรัพยากรมนุษย์
  • เทคโนโลยีและ
  • การบริหารลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ 

4. Building Coalitions การสร้างความเข้าใจ การติดต่อสื่อสาร

  • สามารถโน้มน้าวคนได้ดี
  • เจรจาต่อรองด้วยเทคนิคการสื่อสารที่ดี มีความรอบรู้ด้านการเมือง 
  • มีความสามารถในการมีส่วนร่วม 
  • สร้างโอกาสสู่ความเป็นเลิศขององค์กร 

 

ผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตนเองคือ

  • สามารถนำเสนอความคิดใหม่
  1. ทุนความรู้  หาความรู้เพิ่มตลอดเวลา-         ทุนปัญญา  มีคิดและทำอย่างมีสติ  มองในเชิงสร้างสรรค์-        
  2. ทุนทางสังคม  มีการติดต่อที่ดีกับทุกฝ่าย  สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับทุกองค์กร-          
  3. ทุนทาง IT เน้นเทคโนโลยี
  •  สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้
  1. ทุนความเป็นมนุษย์ ได้รับการอบรมมาดี       
  2. ทุนทางความสุข ทำงานด้วยความร่าเริง แจ่มใส  สามารถเผื่อแผ่คนอื่นได้สามรถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้-        
  3. ทุนจริยธรรม คุณธรรม-        
  4. ทุนแห่งความยั่งยืน 

 

สรุป ผู้นำที่ดีนอกจากต้องเก่งคน เก่งงาน เก่งคิด เก่งเรียน แล้วยังต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบซื่อสัตย์ มีความคิดกว้างไกล มีเทคนิคในการสร้างทีมงานที่ดี จึงนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

นายนิคม อำภารักษ์ MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 20:43 จาก 58.9.158.54

จาก นายนิคม อำภารักษ์ เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 20:30 จาก 125.26.33.142   MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

          หลังจากที่ได้ศึกษาวิชาภาวะผู้นำเมื่อวันที่ 23-24 ก.พ. 50 นั้น ได้รับความรู้ในหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

           องค์กรที่ประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องมีแรงขับเคลื่อนของผู้นำเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจโดยผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดที่จะนำพาองคาพยพทั้ง "คน" และ"องค์กร"นั้น ๆ ดำเนินไปอย่างมั่นคงและก้าวหน้าต่อไป

โจทย์........เรียนวิชาภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลงในองค๋กรได้ความรู้อะไรบ้าง

            ผู้นำและภาวะผู้นำแตกต่างกัน

            ผู้นำ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

            ภาวะผู้นำ คือ  พลังชนิดหนึ่งที่สามารถส่งแรงกระทำอันก่อให้เกิดการขับเคลื่อนกลุ่มคน และนำองค์กรไปสู่การบรรลุเป้าประสงค์

            ยกตัวอย่าง บิลล์ เกตส์ ผู้นำซอฟแวร์ของโลก มีภาวะผู้นำดังนี้

  1. ใฝ่รู้
  2. คิดสร้างสรรค์
  3. คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์
  4. ทุนทางปัญญา
  5. กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ

ปัญหาของผู้นำ 

  1. ตัวปัญหา
  2. สาเหตุ
  3. แนวทางเลือกในการแก้ปัญหา
  4. ลงมือปฏิบัติ (เลือกวิธีที่ดีที่สุด)
  5. ติดตามผลแล้วพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา

              ทุกอย่างในโลกล้วนมีการเปลี่ยนแปลง

  • สัตว์ในโลกที่ไม่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของโลก ได้สูญพันธ์ไปแล้ว เช่น ไดโนเสาร์
  • สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • ความต้องการของลูกค้า เปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณและคุณภาพ ถ้าเราไม่ปรับเปลี่ยน ลูกค้าจะเปลี่ยนไปซื้อรายอื่น

ดังนั้นผู้นำจะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ

          การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้วย "คน"

  1. Leader Ship Style
  2. Strategics
  3. Human Resource

ผู้นำกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

  1. Vision
  2. Mission
  3. Goals
  4. Objtive + Target
  5. Strategic Planning
  6. Action

ต้องผ่านการตรวจและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ความหมายของความสำเร็จในการบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21

  1. สามารถต่อกรกับความไม่แน่นอนในธุรกิจของคน ที่นับวันก็ยากแก่การคาดคะเน เล็งถึงผลได้ การวางแผนระยะยาวต้องทอนให้สั้นลง
  2. แสวงหา รักษา พัฒนากำลังคนให้มีความสามารถอยู่เป็นนิจ
  3. สร้างแนวคิดใหม่ ๆ ของการงานของตนเองอยู่เสมอ นวตกรรมในหน่วยงานของคนในแต่ละไตรมาส
  4. ดำเนินการด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำ ได้ผลดี
  5. แสวงหา รักษาลูกค้าได้ดี
  6. สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียกับกิจการขององค์การ

การสร้างอำนาจ

  1. อำนาจเกิดได้จากการให้เงิน ให้โอกาส ให้ความรัก ให้ความใกล้ชิด
  2. โดยการตีเบา ๆ ชมดัง ๆ ประเทศญี่ปุ่นกฎกติกา การสร้างอำนาจชัดเจน
  3. ปฏิบัติตนเป็นผู้รู้มากกว่าลูกน้อง
  4. สร้างอำนาจจากการอ้างอิง เช่น อ้างหัวหน้าบอก อ้างประกาศ
  5. อำนาจทางนิติกรรม

เจ้านายและผู้นำ มีความแตกต่างกัน ผู้นำมีความยั่งยืนกว่า เพราะ

  1. ผู้นำสร้างปณิธานให้แก่ผู้ตาม
  2. ผู้นำอาศัยเจตจำนงที่เสรี
  3. ผู้นำแผ่ความรัก ปรารถนาดี
  4. ผู้นำ พูดว่า "เรา"
  5. ผู้นำแสดงให้รู้ว่าอะไรที่ผิด และควรทำอย่างไร
  6. ผู้นำรู้ว่าจะทำงานอย่างไร
  7. ผู้นำบริหารความเคารพ ไม่ใช่เจ้านาย

ผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน

1.  สามารถนำเสนอความคิดใหม่

  • ทุนความรู้
  • ทุนปัญญา
  • ทุนทางสังคม

2.  สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้

  • ทุนความเป็นมนุษย์
  • ทุนทางความสุข

3.  สามารถสร้างความสุขให้กับคนอื่นได้

  • ทุนจริยธรรม คุณธรรม
  • ทุนแห่งความยั่งยืน

คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร

  1. การมุ่งประโยชน์ส่วนร่วม ประโยชน์แผ่นดิน
  2. ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย / ธรรมาภิบาล
  3. มีความสามารถ
  4. มีความสำนึกรับผิดชอบ
  5. มีความเป็นกลาง
  6. การมุ่งสัมฤทธิ์ผล
  7. ความเป็นมืออาชีพ

คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหารข้างต้นนำไปใช้วิเคราะห์

Best Leaders

  1. Honesty
  2. Responsiveness
  3. Vigilance = Continued Success
  4. Livingness to learn and relearn
  5. Sense of adventure
  6. vision
  7. Altruism

อ.ยมเน้น เชื้อไวรัสร้าย ทำลายล้างผู้นำและองค์การ ทังภาครัฐและเอกชน

  1. ม่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
  2. ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3. มีแนวโน้มห้อมล้อมด้วยขุนพลอยพยัก
  4. ขาดความรับผิดชอบ
  5. การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้
  6. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน
  7. แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องดำรงตำแหน่งสำคัญแสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งปันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
  8. ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ
  9. ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร

ความหมายของความสำเร็จในการบริหารจัดการ

  1. สามารถต่อกรกับความไม่แน่นอนในธุรกิจของตน ที่นับวันก็ยากต่อการคาดคะเน เล็งถึงผลได้ การวางแผนระยะยาวต้องทอนให้สั้นลง
  2. แสวงหา รักษาพัฒนากำลังคนให้มีความสามารถอยู่เป็นนิจ
  3. สร้างแนวคิดใหม่ๆ ของการงานของตนอยู่เสมอ นวตกรรมในหน่วยงานของคนในแต่ละไตรมาส
  4. ดำเนินการด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำ ได้ผลดี
  5. แสวงหา รักษาลูกค้าได้ดี
  6. สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียกับกิจการขององค์การ

ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ

  1. เกี่ยวกับลักษณะ
  2. ทางด้านพฤติกรรม
  3. ทางด้านสถานการณ์

สมรรถนะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ

  1. ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง
  2.  ศักยภาพในการเป็นผู้นำ
  3. การมุ่งผลสัมฤทธิ์
  4.  ความเฉียบคมทางการบริหาร เช่นความรู้สึกมองการณ์ไกล บริหารเชิงรุก อย่ารอให้ปัญหาเกิด
  5.  การสร้างความเข้าใจ

สมรรถนะหลักของผู้นำแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม

  1. สมรรถนะในการบริหารคน
  2. สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร
  3. สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ
  4. สมรรถนะการบริหารแบบม่งผลสัมฤทธิ์
  5. สมรรถนะในการเรียนรู้ ความรู้ใหม่ ๆ (ความรู้สด)

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มี 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

  1. พอประมาณ
  2. มีเหตุผล
  3. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้

เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม

บรรษัทภิบาลที่ดี

  1. ประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
  2. ความโปร่งใส
  3. ความซื่อสัตย์
  4. ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติตามหน้าที่
  5. ความสามารถในการแข่งขัน

แนวทางสู่การเป็นผ้นำที่ดีแห่งยุค

  1. มีความรอบรู้
  2. มีคุณธรรม
  3. มีเหตุมีผล
  4. รู้จักประมาณ
  5. มีภูมิคุ้มกัน

ข้อสรุปลักษณะการเป็นผู้นำโดยภาพรวมและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  1. ความเข้าใจในบทบาทในหน้าที่ ความรับผิดชอบ เป้าหมาย และลำดับความสำคัญของงานตนเองให้ชัดเจน
  2. การมอบหมายงานอย่างมีประสิทธิผล
  3. จะต้องสามารถหักห้ามใจตนเองไว้ให้ได้ที่จะไม่เข้าไปทำงานแทนลูกน้อง โดยตัวผู้นำเองจะต้องเป็นกระจกเงาในการสะท้อนภาพและชี้นำการทำงานของลูกน้อง
  4. อย่าหลงคิดว่างานทุกอย่างเป็นงานที่สำคัญและจะต้องทำ เพราะงานบางอย่างไม่จำเป็นสำหรับผู้นำที่จะต้องทำ
  5. ผู้นำต้องสามารถพูดคำว่า "ไม่" ในงานที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล

    ผู้นำที่ชื่นชอบ  คือพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์  นายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของประเทศไทยเพราะ

    1. ชอบสันโดษสมถะ
    2. มีความซื่อสัตย์
    3. เวลาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนสามารถโน้มน้าวให้คล้อยตามได้
    4. สุขุมใจเย็น
    5. ตำแหน่งหน้าที่การงานข้าราชการประจำเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด
    6. หลังจากเกษียณได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี

          เพราะคุณความดี ความซื่อสัตย์สุจริตและผลงานราชการจึงได้รับการสนับสนุนและผลักดันเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของประเทศไทยซึ่งเป็นเกียรติและศักดิ์ศรีของชาวจังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากท่านเป็นชาวเพชรบุรี จังหวัดเดียวกับกระผม

นายนิคม อำภารักษ์ MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 21:11 จาก 58.9.158.54
นายนิคม อำภารักษ์ เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 20:30 (176027)

 

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

           หลังจากที่ได้ศึกษาวิชาภาวะผู้นำเมื่อวันที่ 23-24 ก.พ. 50 นั้น ได้รับความรู้ในหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้          
องค์กรที่ประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องมีแรงขับเคลื่อนของผู้นำเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจโดยผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดที่จะนำพาองคาพยพทั้ง "คน" และ"องค์กร"นั้น ๆ ดำเนินไปอย่างมั่นคงและก้าวหน้าต่อไป
โจทย์........เรียนวิชาภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลงในองค๋กรได้ความรู้อะไรบ้าง
ผู้นำและภาวะผู้นำแตกต่างกัน 
           
ผู้นำ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร   
        
ภาวะผู้นำ คือ  พลังชนิดหนึ่งที่สามารถส่งแรงกระทำอันก่อให้เกิดการขับเคลื่อนกลุ่มคน และนำองค์กรไปสู่การบรรลุเป้าประสงค์           
ยกตัวอย่าง บิลล์ เกตส์ ผู้นำซอฟแวร์ของโลก มีภาวะผู้นำดังนี้
  1.  ใฝ่รู้
  2. คิดสร้างสรรค์
  3. คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์ 
  4.  ทุนทางปัญญา
  5. กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ

 

ผู้นำ กับเทคนิดการแก้ไขปัญหา  เมื่อมีปัญหาต้องแก้ไข 

  1. ต้องรู้ว่าอะไรคือตัวปัญหา
  2. สาเหตุ
  3. แนวทางเลือกในการแก้ปัญหา
  4. ลงมือปฏิบัติ (เลือกวิธีที่ดีที่สุด)
  5. ติดตามผลแล้ว
  6. พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา             

 

ทุกอย่างในโลกล้วนมีการเปลี่ยนแปลง

  • สัตว์ในโลกที่ไม่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของโลก ได้สูญพันธ์ไปแล้ว เช่น ไดโนเสาร์
  • สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • ความต้องการของลูกค้า เปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณและคุณภาพ ถ้าเราไม่ปรับเปลี่ยน ลูกค้าจะเปลี่ยนไปซื้อรายอื่น

ดังนั้นผู้นำจะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ         

การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้วย "คน"

  1. Leader Ship Style 
  2.  Strategics 
  3.  Human Resource

ผู้นำกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

  1. Vision 
  2.   Mission 
  3.  Goals
  4. Objtive + Target
  5. Strategic Planning
  6. Action
  7. ต้องผ่านการตรวจและ
  8. ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

 

ความหมายของความสำเร็จในการบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21

  1. สามารถต่อกรกับความไม่แน่นอนในธุรกิจของคน ที่นับวันก็ยากแก่การคาดคะเน เล็งถึงผลได้ การวางแผนระยะยาวต้องทอนให้สั้นลง
  2. แสวงหา รักษา พัฒนากำลังคนให้มีความสามารถอยู่เป็นนิจ
  3.  สร้างแนวคิดใหม่ ๆ ของการงานของตนเองอยู่เสมอ นวตกรรมในหน่วยงานของคนในแต่ละไตรมาส
  4. ดำเนินการด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำ ได้ผลดี
  5. แสวงหา รักษาลูกค้าได้ดี
  6. สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียกับกิจการขององค์การ

ผู้นำต้องรู้จักการสร้างอำนาจ ที่ถูกต้อง

  1. อำนาจเกิดได้จากการให้เงิน ให้โอกาส ให้ความรัก ให้ความใกล้ชิด
  2. โดยการติ ตีเบา ๆ ชมดัง ๆ ประเทศญี่ปุ่นกฎกติกา การสร้างอำนาจชัดเจน
  3. ปฏิบัติตนเป็นผู้รู้มากกว่าลูกน้อง
  4. สร้างอำนาจจากการอ้างอิง เช่น อ้างหัวหน้าบอก อ้างประกาศ
  5. อำนาจทางนิติกรรม

 

เจ้านายและผู้นำ มีความแตกต่างกัน ผู้นำมีความยั่งยืนกว่า เพราะ

  1. ผู้นำสร้างปณิธานให้แก่ผู้ตาม
  2. ผู้นำอาศัยเจตจำนงที่เสรี
  3. ผู้นำแผ่ความรัก ปรารถนาดี
  4. ผู้นำ พูดว่า "เรา"
  5. ผู้นำแสดงให้รู้ว่าอะไรที่ผิด และควรทำอย่างไร
  6. ผู้นำรู้ว่าจะทำงานอย่างไร
  7. ผู้นำบริหารความเคารพ ไม่ใช่เจ้านาย

 

ผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน

1.  สามารถนำเสนอความคิดใหม่

  • ทุนความรู้
  • ทุนปัญญา
  • ทุนทางสังคม
2.  สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้
  • ทุนความเป็นมนุษย์
  • ทุนทางความสุข
3.  สามารถสร้างความสุขให้กับคนอื่นได้
  • ทุนจริยธรรม คุณธรรม
  • ทุนแห่งความยั่งยืน

คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร

  1. การมุ่งประโยชน์ส่วนร่วม ประโยชน์แผ่นดิ
  2. ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย / ธรรมาภิบาล
  3. มีความสามารถ
  4.   มีความสำนึกรับผิดชอบ
  5.    มีความเป็นกลาง
  6.  การมุ่งสัมฤทธิ์ผล
  7. ความเป็นมืออาชีพ

คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหารข้างต้นนำไปใช้วิเคราะห์Best Leaders

  1.  Honesty
  2. Responsiveness
  3. Vigilance = Continued Success
  4. Livingness to learn and relearn
  5.  Sense of adventure
  6.  vision
  7.    Altruism

อ.ยมเน้น เชื้อไวรัสร้าย ทำลายล้างผู้นำและองค์การ ทังภาครัฐและเอกชน

  1. ม่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
  2. ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3.   มีแนวโน้มห้อมล้อมด้วยขุนพลอยพยัก
  4.    ขาดความรับผิดชอบ
  5.   การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้
  6. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน
  7. แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องดำรงตำแหน่งสำคัญแสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งปันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
  8.  ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ
  9.  ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร  

 

ความหมายของความสำเร็จในการบริหารจัดการ

1.    สามารถต่อกรกับความไม่แน่นอนในธุรกิจของตน ที่นับวันก็ยากต่อการคาดคะเน เล็งถึงผลได้ การวางแผนระยะยาวต้องทอนให้สั้นลง

2.    แสวงหา รักษาพัฒนากำลังคนให้มีความสามารถอยู่เป็นนิจ

3.    สร้างแนวคิดใหม่ๆ ของการงานของตนอยู่เสมอ นวตกรรมในหน่วยงานของคนในแต่ละไตรมาส

4.    ดำเนินการด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำ ได้ผลดี

5.    แสวงหา รักษาลูกค้าได้ดี

6.    สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียกับกิจการขององค์การ

 

ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ

1.    เกี่ยวกับลักษณะ

2.    ทางด้านพฤติกรรม

3.    ทางด้านสถานการณ์

 

สมรรถนะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ

1.    ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง

2.     ศักยภาพในการเป็นผู้นำ

3.    การมุ่งผลสัมฤทธิ์

4.     ความเฉียบคมทางการบริหาร เช่นความรู้สึกมองการณ์ไกล บริหารเชิงรุก อย่ารอให้ปัญหาเกิด

5.     การสร้างความเข้าใจ

สมรรถนะหลักของผู้นำแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม

1.    สมรรถนะในการบริหารคน

2.    สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร

3.    สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ

4.    สมรรถนะการบริหารแบบม่งผลสัมฤทธิ์

5.    สมรรถนะในการเรียนรู้ ความรู้ใหม่ ๆ (ความรู้สด)

 

 

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มี 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คนที่เป็นผู้นำที่ดีจึงต้องมี

1.    ความพอประมาณ

2.    มีเหตุผล

3.    มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้

เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม

 

บรรษัทภิบาลที่ดี

1.    ประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

2.    ความโปร่งใส

3.    ความซื่อสัตย์

4.    ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติตามหน้าที่

5.    ความสามารถในการแข่งขัน

 

แนวทางสู่การเป็นผ้นำที่ดีแห่งยุค

1.    มีความรอบรู้

2.    มีคุณธรรม

3.    มีเหตุมีผล

4.    รู้จักประมาณ

5.    มีภูมิคุ้มกัน

 

ข้อสรุปลักษณะการเป็นผู้นำโดยภาพรวมและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1.    ความเข้าใจในบทบาทในหน้าที่ ความรับผิดชอบ เป้าหมาย และลำดับความสำคัญของงานตนเองให้ชัดเจน

2.    การมอบหมายงานอย่างมีประสิทธิผล

3.    จะต้องสามารถหักห้ามใจตนเองไว้ให้ได้ที่จะไม่เข้าไปทำงานแทนลูกน้อง โดยตัวผู้นำเองจะต้องเป็นกระจกเงาในการสะท้อนภาพและชี้นำการทำงานของลูกน้อง

4.    อย่าหลงคิดว่างานทุกอย่างเป็นงานที่สำคัญและจะต้องทำ เพราะงานบางอย่างไม่จำเป็นสำหรับผู้นำที่จะต้องทำ

5.    ผู้นำต้องสามารถพูดคำว่า "ไม่" ในงานที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล

ผู้นำที่ชื่นชอบ  คือพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์  นายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของประเทศไทยเพราะ

1.    ชอบสันโดษสมถะ

2.    มีความซื่อสัตย์

3.    เวลาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนสามารถโน้มน้าวให้คล้อยตามได้

4.    สุขุมใจเย็น

5.    ตำแหน่งหน้าที่การงานข้าราชการประจำเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด

6.    หลังจากเกษียณได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี 

เพราะคุณความดี ความซื่อสัตย์สุจริตและผลงานราชการจึงได้รับการสนับสนุนและผลักดันเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของประเทศไทยซึ่งเป็นเกียรติและศักดิ์ศรีของชาวจังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากท่านเป็นชาวเพชรบุรี จังหวัดเดียวกับกระผม

ยม เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 21:30 จาก 58.9.158.

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ / นักศึกษา MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด (หัวหิน) และท่านผู้อ่านทุกท่าน

นักศึกษา MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด เริ่มส่งข้อมูลมาใน Blog ตามที่ได้แจ้งไว้ ซึ่งมีผู้ส่งมาติดอันดับ TOP 5 คือ

  1. จำเนียร อำภารักษ์ เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 18:42 (175946) 
  2. นายชูศักดิ์ ลาภส่งผล เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 19:09 (175965)
  3. นายบุญยอด มาคล้าย เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 19:14 (175968)
  4. ชาญชัย พานิชนันทนกุล เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 19:30 (175980)
  5. นายนิคม อำภารักษ์ เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 20:30 (17602

 

ผมคิดว่า ควรจะเปิด Blog ใหม่ สำหรับ น.ศ. MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด โดยเฉพาะ ครับ สัปดาห์จะได้แจ้งให้นักศึกษาทราบ

สวัสดีครับ

ยม

นางสาวสุพรรษา อาลี เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 07:24 จาก 203.113.67.165
สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จากการที่ได้เรียนวิชาภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงในสัปดาห์แรก ทำให้ได้รู้เกี่ยวกับการเป็นผู้นำและภาวะผู้นำที่ผู้นำของแต่ละองค์การควรจะมี ซึ่งสรุปเนื้อหาได้ดังนี้ หากพูดถึง ผู้นำเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีส่วนช่วย ให้องค์การประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลว และสามารถแข่งขันกับองค์การอื่นได้หรือไม่ ในโลกปัจจุบันที่ภาวะการแข่งขันนั้นมีสูง หากองค์การมีผู้นำหรือผู้บริหารที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ฯลฯ องค์การก็สามารถที่จะแข่งขันกับผู้อื่นได้ และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ผู้นำ (Leader) คือ บุคคลที่สามารถชักจูงหรือชี้นำบุคคลอื่น ให้ปฏิบัติงานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพและทำให้องค์การประสบความก้าวหน้าและบรรลุผลสำเร็จภาวะผู้นำ (Leadership) คือ พฤติกรรมส่วนตัวของบุคคลคนหนึ่งที่จะชักนำกิจกรรมของกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน เป็นความสามารถที่จะมีอิทธิพลเหนือผู้อื่นในด้านการกระทำ และสามารถจูงใจบุคคลอื่นให้กระทำกิจกรรมที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายขององค์การได้ทุกอย่างในโลกล้วนมีการเปลี่ยนแปลง  จะเห็นได้ว่า-         สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว-         ความต้องการของลูกค้า มีการเปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณและคุณภาพ ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลง ลูกค้าก็จะไปซื้อรายอื่นทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ1.    ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ (Trait Approach)เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นไปยังคุณสมบัติส่วนตัวของผู้นำ เช่น-         มีความทะเยอทะยาน (Ambition)-         มีความอุตสาหะพากเพียร (Persistence)-         มีความกล้าหาญ (Courage)-         มีความเชื่อถือศรัทธา (Faith)-         มีความซื่อสัตย์มั่นคง (Integrity)-         มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity)-         มีความยุติธรรม (Justice)-         มีจุดมุ่งหมาย (Objectivity)-         มีความยืดหยุ่น (Flexibility)-         มีความสามารถในการตัดสินใจ (Decisiveness)-         มีวินัยในตนเอง (Self-Discipline) 2.    ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม (Behavioral Approach)จะมุ่งเน้นในเรื่องเกี่ยวกับผู้นำ และผู้จัดการที่ใช้พฤติกรรมในการทำงาน เช่น การสังเกต การสั่งการ การปฏิบัติการ จะทำให้เกิดการทำงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ 3.    ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์ (Situational Approach)เป็นการวิจัยที่ให้ความสำคัญในเรื่องของปัจจัยที่ทำให้เกิดสถานการณ์ เช่น เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่จะต้องตัดสินใจผู้นำที่ดีจะทำการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและให้ดีที่สุด ผู้นำที่ดีควรมีทุนอยู่ในตนดังนี้1.    ทุนความรู้ คือ ต้องมีการใฝ่หาความรู้ตลอดเวลา2.    ทุนปัญญา คือ ต้องเป็นคนที่มีสติ มีเหตุมีผล มีการคิดอย่างสร้างสรรค์3.    ทุนทางสังคม คือ การมีเครือข่าย มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีการเข้าสังคม เป็นที่ยอมรับของคนอื่น มีการคิดที่ดี เป็นด้านบวก4.    ทุนทาง IT คือ การมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ และติดตามความเคลื่อนไหวของข้อมูลข่าวสารใหม่ๆอยู่เสมอ5.    ทุนความเป็นมนุษย์ คือ ผู้นำที่ดีมักจะได้รับการดูแลสั่งสอนมาดีตั้งแต่เล็ก กินดีอยู่ดี มีชีวิตที่ดี เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์6.    ทุนทางความสุข คือ การเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องมีการสะสมความสุข เพื่อจะได้เผื่อแผ่คนอื่นได้7.    ทุนทางจริยธรรม คุณธรรม คือ ในการเป็นผู้นำที่ดีจะต้องมีความเป็นธรรมในการทำงาน และต้องแฝงด้วยจริยธรรมต่างๆ8.    ทุนแห่งความยั่งยืน จะเกิดขึ้นมาได้ถ้าผู้นำมีทุนทั้งหมดข้างต้น  ผู้นำที่ดีที่สุดควรมีพฤติกรรม ดังต่อไปนี้1.    มีความซื่อสัตย์ 2.    มีความรับผิดชอบ 3.    มีความไม่เห็นแก่ตัว คำนึงถึงผู้อื่น4.    มีวิสัยทัศน์5.    มีไหวพริบ6.    มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง7.    มีความระมัดระวังและรอบคอบคุณค่าของผู้นำ / ผู้บริหาร1.    การมุ่งประโยชน์ส่วนรวมและประโยชน์ของแผ่นดิน2.    ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล3.    มีความสามารถ4.    มีความสำนึกรับผิดชอบ5.    มีความเป็นกลาง6.    การมุ่งสัมฤทธิ์ผล7.    ความเป็นมืออาชีพ ผู้นำต้องสร้างและรักษาอำนาจ1.    อำนาจเกิดได้จากการให้ คือ ให้โอกาส ให้ความรู้ ให้อภัย ให้ความใกล้ชิด2.    อำนาจเกิดได้โดยการติ คือ เมื่อลูกน้องทำไม่ถูกต้องให้สั่งสอนหรือตำหนิ3.    อำนาจในการแสดงตนเป็นผู้รู้มากกว่า4.    อำนาจสร้างได้โดยการอ้างอิง เช่น การอ้างอิงถึงผู้บังคับบัญชาในกรณีที่มีเหตุจำเป็นให้แก้สถานการณ์เฉพาะหน้า 5.    อำนาจทางพฤติกรรม การเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องมีภาวะผู้นำเพราะองค์การจะประสบความสำเร็จได้ ก็จะต้องมีภาวะผู้นำที่ดี ผู้นำนั้นจะต้องมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา เพราะโลกในยุคปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นคนที่คิดดี หรือมี Positive Thinking คือการคิดในด้านบวก     การเป็นผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ ต้องกล้าตัดสินใจ ต้องตัดสันใจได้ทันการณ์ และเมื่อได้ตัดสินใจไปแล้วต้องไม่มีปัญหาตามมา และที่สำคัญผู้นำต้องมีอำนาจ  ต้องสร้างอำนาจและต้องใช้อำนาจให้ถูกต้องอีกด้วย  นางสาวสุพรรษา  อาลี  รหัสประจำตัว  106242002.. ปริญญาโท MBA รุ่นที่ 7มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
กนกลักษณ์ เร้าเลิศฤทธิ์ เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 10:59 จาก 203.113.67.133
นางสาวกนกลักษณ์  เร้าเลิศฤทธิ์ MBA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดหัวหิน เมื่อ อ. 27 ก.พ. 50 @ 10:30   ก่อนได้เรียนเรื่องภาวะผู้นำ (Leadership)ตามความเข้าใจผู้นำคือ เจ้าของกิจการและจะต้องมีทั้งพระเดชพระคุณ และจำต้องมีความรู้ความสามารถในกิจการนั้นอย่างดี  หลังจากเรียนเรื่องภาวะผู้นำ ได้รับความรู้มากมายว่า ผู้นำจะต้องมีการตื่นตัวอยู่เสมอและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอด ไม่ใช่เฉพาะในเรื่องกิจการงานที่เราทำ แต่รวมไปถึงความรู้ใหม่ๆ และการใช้หลักธรรมะเข้ามาช่วยในการเป็นผู้นำ อย่างเช่น ผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน 1.สามารถนำเสนอความคิดใหม่ ซึ่งจะต้องมีทุนความรู้ ทุนปัญญา ทุนทางสังคม ทุนทาง IT  2.สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้ ซึ่งจะต้องมีทุนความเป็นมนุษย์ ทุนทางความสุข 3.สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้ ซึ่งจะต้องมีทุนจริยธรรม คุณธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ตามทฤษฎี 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และผู้นำที่ดีต้องหลีกเลี่ยงเชื้อไวรัสร้าย  เช่น 
  • การมุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง 
  • ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ  ยึดมั่น  มีอัตตาสูง 
  • ห้อมล้อมด้วยขุนพลอยพยัก 
  • ขาดความรับผิดชอบ 
  • ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้ 
  • ไม่คิดสร้างตัวตายตัวแทน 
  • แต่งตั้งคนไม่ดีอยู่ในตำแหน่งสำคัญๆ 
  • แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งปันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง 
  • ขาดความรู้ 
วิวัฒน์ นาวียง เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 12:18 จาก 125.26.34.79
สวัสดีครับ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ เพื่อน ๆ นักศึกษา MBA STAMFORD UNIVERSITY HUAHIN และผู้อ่านทุก ๆ ท่าน ในวันที่ 23 - 24 กุมภาพันธ์ 2550 ได้เรียนเรื่องภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง จากท่าน อ.ยม นาคสุข และท่านได้แนะนำให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และให้คำถามว่า เรียนเรื่องภาวะผู้นำเรียนแล้วได้ความรู้อะไรบ้าง จากการเรียนวิชาภาวะผู้นำได้ความรู้ดังนี้ ปัจจุบันเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง จากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และถ้าใครไม่มีการปรับเปลี่ยนก็จะเปรียบเสมือนไดโนเสาร์ที่ไม่สามารถปรับตัวและดำรงชีวิตมาถึงยุคปัจจุบัน ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร ภาวะผู้นำ : เป็นพลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ The Energy that Drives Your Organization towards Excellence ผู้นำ (Leader) คือบุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ภาวะผู้นำ (Leadership) เป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ผู้นำที่ดีต้อง ผู้นำที่ดีที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน(ทฤษฎี 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์) 1. สามารถนำเสนอความคิดใหม่ ๆ  ทุนความรู้  ทุนปัญญา  ทุนทางสังคม  ทุนทาง IT 2. สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้  ทุนความเป็นมนุษย์  ทุนทางความสุข 3. สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้  ทุนจริยธรรม คุณธรรม  ทุนแห่งความยั่งยืน ภาวะผู้นำกับการสร้างอำนาจ 1. อำนาจจะเกิดได้จากการให้ ให้โอกาส ให้ความรัก ให้อภัย ให้สิ่งของ (การให้ทาน) 2. อำนาจสร้างด้วยการติ เป็นการติแต่ต้องมีเทคนิคในการติ เช่น เวลาเตือนให้เตือนเบาๆ เวลาชมให้ชมดังๆเพื่อคนอื่นจะได้ชื่นชมด้วย 3. อำนาจสร้างได้จากการแสดงเป็นผู้รู้ เป็นการแสดงความสามารถของตนเอง 4. อำนาจสร้างโดยการอ้างอิง อ้างถึงบุคคลที่มีอำนาจกว่าเราเช่นเจ้านาย อย่างไรก็ตามการอ้างถึงควรอ้างถึงในทางที่ดี ควรคำนึงถึงจริยธรรมและคุณธรรม 5. อำนาจทางนิติกรรม Best Leaders (Susan Annunzio .2006 eLEADERSHIP: 27-32) 1. Honesty 2. Responsiveness 3. Vigilance = Continued Success 4. Livingness to learn and relearn 5. Sense of adventure 6. Vision 7. Altruism คุณค่าของผู้นำ 1. การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน 2. ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล 3. มีความสามารถ 4. มีความสำนึกรับผิดชอบ 5. มีความเป็นกลาง 6. การมุ่งผลสำเร็จ 7. ความเป็นมืออาชีพ ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี และเป็นเชื้อไวรัสร้าย ทำลายล้างผู้นำและองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน 1. มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว 2. ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง 3. ห้อมล้อมด้วยขุนพลอยพยัก 4. ขาดความรับผิดชอบ 5. ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นตัดสินใจแทนตนได้ 6. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน 7. แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องดำรงตำเเหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งปันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง 8. ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ 9. ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ 1. ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ 2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม 3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์ Leadership Competeny Definitions สมรรถนะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ 1. ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง 2. ศักยภาพในการเป็นผู้นำ 3. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 4. ความเฉียบคมทางการบริหาร 5. การสร้างความเข้าใจ/การติดต่อสื่อสาร สมรรถนะหลักของผู้นำ (ภาครัฐ) แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม 1. สมรรถนะการบริหารคน 2. สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร 3. สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ 4. สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ และควรเพิ่มอีก 1 กลุ่มคือ 5. สมรรถนะความรอบรู้ ทางด้านความรู้ใหม่ ๆ ทฤษฎี 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 1. ทุนแห่งความยั่งยืน 2. ทุนทางสังคม 3. ทุนทางจริยธรรม 4. ทุนแห่งความสุข 5. ทุนทาง IT 6. ทุนทางปัญญา 7. ทุนทางความรู้ ทักษะ Mind set 8. ทุนมนุษย์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 1. พอประมาณ 2. มีเหตุผล 3. มีภูมคุ้มกันในตัวที่ดี เงื่อนไข 1. เงื่อนไขความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง 2. เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตว์สุจริต บรรษัทภิบาลที่ดี 1. ประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย 2. ความโปร่งใส 3. ความซื่อสัตย์ 4. ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติตามหน้าที่ 5. ความสามารถในการแข่งขัน หลังจากที่ได้ทำงานกลุ่มก็ได้แนวทางในแก้ปัญหาดังนี้ 1. หาตัวปัญหา 2. สาเหตุ 3. แนวทางเลือกในการแก้ไขปัญหา 4. ลงมือปฏิบัติตามแผน ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหานี้ก็ได้ตรงกับ อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) นิโรธ (ความดับทุกข์) และมรรค (คือทางที่จะพ้นทุกข์) ท้ายนี้ผมขอกราบขอบพระคุณท่าน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อ.ยม นาคสุข ที่ได้เสียสละเวลาของท่านเพื่อมาให้ความรู้ให้กับพวกเรา ชาว MBA STAMFORD ผมนายวิวัฒน์ นาเวียง นักศึกษา MBA ID 106342001
Jaruwan Yunprayong MBA 6 ID:106142009 เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 13:53 จาก 203.113.28.4

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

เรียนเรื่องภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง จากท่าน อ.ยม นาคสุข ในวันที่ 23 - 24 กุมภาพันธ์ 2550
ฝิ่นส่งการบ้านเข้าไปใน e mail ของ อ. ยม ไปแล้วค่ะ เพราะตอนแรก หา blog ไม่เจอ....
ฝิ่นโทรแจ้ง อ.ยม แล้วขอความกรุณาท่าน อ.ยม ช่วย copy การบ้านส่งมาใส่ที่ blog นี้ค่ะ
ด้วยความเคารพอย่างสูง
จารุวรรณ ยุ่นประยงค์
MBA 6  : 106142009
Stamford International University Hua Hin
นายณัฐพงศ์ ชุมนุมพันธ์ เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 14:00 จาก 58.147.70.96
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /นักศึกษา MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด หัวหินและผู้อ่านทุกท่าน จาการที่ได้เข้ารับการศึกษาเมื่อวันศุกร์และเสาร์ที่ผ่านมาพอที่จะสรุปใจความสำคัญต่างๆที่ได้เรียนรู้จากท่าน อ.ยม ดังนี้ 1. โลกปัจจุบันยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง2. ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร3. ความหมาย ผู้นำ ภาวะผู้นำ คุณลักษณะของผู้นำ 4. กรอบแนวความคิด แนวคิดทฤษฎีฯ5. สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่6. แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศ7. กิจกรรมกลุ่มแต่ที่ท่าน อ.ยม ได้เน้นเป็นพิเศษได้แก่ · ความแตกต่างระหว่างผู้นำและภาวะผู้นำ· ทฤษฏี 8 k’s (ทฤษฏีต้นไม้) · ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผู้นำคือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มและสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้ (ในที่นี้ผู้นำคือบุคคล)ส่วนภาวะผู้นำคือ เป็นความสารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร (หรือกล่าวง่ายๆว่าภาวะผู้นำคือพฤติกรรม)ทฤษฏีต้นไม้ ผู้นำที่ดีควรมี 3 ลักษณะ(8ทุน) อยู่ในตน v ลักษณะแรก สามารถนำเสนอแนวความคิดใหม่1. ทุนความรู้ ใฝ่รู้หมั่นศึกษาหาความรู้2. ทุนปัญญา มีสติ3. ทุนสังคม มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี คิดบวก4. ทุน IT มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์v ลักษณะที่สอง สามารถสร้างความสุขให้กับตัวเราเองได้5. ทุนมนุษย์ ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีตั้งแต่ในครรภ์มารดา อยู่ดี กินดี6. ทุนความสุข มีความสุขที่เผื่อแผ่คนอื่นได้v ลักษณะสุดท้าย สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้7. ทุนจริยธรรม คุณธรรม มีจริยธรรมและคุณธรรมในจิตใจ8. ทุนแห่งความยั่งยืน มีความมั่นคงและยั่งยืน คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร1. การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน (Social/National Interest)2. ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล (Meritocracy/Good Governance)3. มีความสามารถ (Competence)4. มีความสำนึกรับผิดชอบ (Accountability)5. มีความเป็นกลาง (Neutrality) 6. การมุ่งสัมฤทธิ์ผล (Result Orientation) 7. ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism) ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี1. มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง2. ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง3. ขาดความรับผิดชอบ 4. การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้5. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน6. แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง7. ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม 8. ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ9. ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร ฯลฯทฤษฏีภาวการณ์เป็นผู้นำ1. ทฤษฏีเกี่ยวกับลักษณะ (ยุคโบราณนิยมใช้ แต่ปัจจุบันก็ยังใช้อยู่ เช่น ซีพีก่อนรับคนเข้าทำงานก็ยังมีการดูโหวเฮ้ง)2. ทฤษฏีทางด้านพฤติกรรม กล่าวถึงพฤติกรรมของผู้นำประเภทต่างๆ3. ทฤษฏีทางด้านสถานการณ์ เช่น ประเทศไทยหลังปฏิรูปต้องการ นายกที่มีลักษณะสมานฉันท์ เราจึงได้ท่าน สุรยุทธ์มากเป็นนายก ความหมายของความสำเร็จในการบริหารจัดการ ใน ศตวรรษที่ 211. สามารถต่อกรกับความไม่แน่นอนในธุรกิจตน2. แสงหา รักษา พัฒนากำลังคนให้มีความสามารถอยู่ตลอดเวลา3. สร้างแนวคิดใหม่ๆในการทำงาน4. ดำเนินการด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำได้ผลดี (ผมคิดว่าควรใช้คำว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล น่าจะครอบครุมมากกว่านะครับ5. แสวงหา รักษา ลูกค้าได้ดี6. สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียกับกิจการขององค์กร ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 หลักการ 2 เงื่อนไข ได้แก่1. พอประมาณ2. มีเหตุผล3. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี4. เงื่อนไขความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง5. เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตย์ มีสติปัญญา ขยัน อดทน แบ่งปันจะนำไปสู่ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ที่สมดุลพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคตฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง กับภาวะผู้นำ 1. รอบรู้ ใฝ่รู้2. คู่คุณธรรม3. มีเหตุ มีผล4. รู้ตน พอประมาณ5. มองการณ์ไกล ใส่ใจภูมิคุ้มกัน เศรษฐกิจพอเพียง&ทฤษฏีใหม่ทฤษฏีใหม่ขั้นที่ 1ความพอเพียงระดับบุคคล นำไปสู่ เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานทฤษฏีใหม่ขั้นที่ 2 ความพอเพียงระดับชุมชน/องค์กร นำไปสู่ เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าทฤษฏีใหม่ขั้นที่ 3ความพอเพียงระดับประเทศ นำไปสู่ เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า พัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำ 1. คล่องคิด (Mental Agility) ล่วงรู้ปัญหา รู้แจ้ง เผชิญความยุ่งยากได้หลากหลาย อย่างเป็นสุข มีแง่คิด มีปัญญา2. คล่องคน (People Agility) รู้เขา รู้เรา เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้อื่น สร้างโอกาส เย็นสงบ สุขุม สง่างามภายใต้แรงกดดันได้3. คล่องผล (Result Agility) ทำให้ผู้คนมีพลังทำงานได้สำเร็จ ให้ผลงานได้เกินคาด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อื่น ส่งมอบผลงานที่ยากได้4. คล่องเปลี่ยน (Change Agility) ใฝ่รู้ สู้ยิ่งยาก ไม่ย่นระย่อ ชอบทดลอง ปรับเปลี่ยน สนใจที่จะพัฒนาตน สร้าง นวัตกรรม นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วท่าน อ.ยมได้สอนให้ สังเกตภาวะผู้นำของผู้อื่นโดยการให้สังเกตว่าผู้ที่ออกมาพรีเซ้นต์หน้าชั้นมีพฤติกรรมอย่างไรบ้างและพฤติกรรมข้อใดควรเอาเยี่ยงอย่าง และมีความรู้และคำพูดคมๆให้ขบคิด เช่น บุญ คือ สนใจ ใส่ใจ และเอาใจใส่ และที่สำคัญและลืมไม่ได้คือ ซึ่งเป็นปัญหาในการเขียนข้อสอบของผม ท่าน อ.ยมได้เสนอแนะวิธี การพูด การเขียน Blog หรือข้อสอบ คือ 1.เปิดประเด็น 2.ดำเนินเรื่อง 3.สรุปพร้อมเสนอแนะ ซึ่งกระผมจะพยายามทำให้ได้และข้อให้ท่าน อ.ยม และท่าน ศ.ดร.จีระ ช่วยวิจารณ์ผมในเรื่องนี้ด้วย จักเป็นประคุณอย่างสูงครับ
น.ส.ปภาวี นาสุข ID 106142008 MBA 6 เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 16:17 จาก 203.113.28.

ขอสวัสดี  อาจารย์จีระ และ อาจารย์ยม ที่เคารพค่ะ  จากที่ดิฉันได้เรียนวิชา ภาวะผู้นำ สอนโดย อ.ยม นาคสุข  เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2550 ทำให้ทราบถึงความหมายของคำว่า ผู้นำ และ ภาวะผู้นำ นั่นก็คือ ผู้นำ หมายถึง ตัวบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้  ส่วน ภาวะผู้นำ คือ พฤติกรรม และความคิดของผู้นำที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งผู้นำที่ดีนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ และการเป็นผู้นำที่ดีต้องเป็นบุคคลที่มีลักษณะ และความประพฤติตรงกับทฤษฎีที่ว่าด้วยคุณค่าของผู้นำ, ทฤษฎี 8 K’s  และทฤษฎีภาวการณ์เป็นผู้นำที่ดี เป็นต้น ดังที่อาจารย์ได้อธิบายอย่างละเอียดไปแล้วนั้น และสิ่งหนึ่งที่ อาจารย์ได้เน้นย้ำ และดิฉันก็จำได้ขึ้นใจว่า การจะเป็นผู้นำที่ดี มีคสามสามารถ อีกทั้งสามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้นั้น สิ่งสำคัญคือ ต้องเป็นผู้นำที่มี  Positive Thinking และให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่าทรัพยากรมนุษย์ Human Resource

                สุดท้ายนี้ดิฉันขอขอบพระคุณท่าน อ.ยม เป็นอย่างสูงที่ช่วยให้ความกระจ่างในความหมายของคำว่า ผู้นำ และภาวะผู้นำได้เป็นอย่างดี ซึ่งแต่ก่อนเข้าใจเพียงแค่ว่า การเป็นคนเก่ง และเป็นคนดี ก็เป็นผู้นำที่ดีได้ แต่จากการที่ได้มาเรียน ทำให้รู้เลยว่า ยังมีกลยุทธ์ต่างๆ อีกมากมายที่จะสร้างเสริมภาวะผู้นำ ให้เป็นผู้นำที่ดีได้
ทีมงานผู้ช่วยสอนฯ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สวัสดีค่ะ

ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านอาจารย์จีระให้โอนข้อมูลจาก Blog เดิมมาที่นี่จึงขออนุญาตรวบรวมข้อมูลมาดังต่อไปนี้นะคะ

............................................... 

นางสาววิลาวัลย์ พวงอุบล เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 16:32 จาก 58.9.150.160กรบเรียนท่าน ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมณ์ , ท่านอาจารย์ยม  นาคสุข  และสวัสดี พี่ ๆ ทีมงานที่น่ารักทุกท่าน เมื่อวันอาทิตย์ที่ กุมภาพันธ์ 2550  ที่ผ่านมา  ดิฉันรู้สึกยินดีเป็นอย่ายิ่งที่ได้มีโอกาสฟังการบรรยายขอท่าน Mr. Leigh Scott  ในหัวข้อเรื่อง “Leadership & Coaching”  ซึ่งเป็นหัวข้อที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก  และที่ขาดเสียมิได้คือ อาจารย์ยม  นาคสุข  ที่ช่วยกรุณาถ่ายทอดเป็นภาษาไทยได้อย่างดีเยี่ยม  ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะค่ะ  และดิฉันขอชื่นชมในความตั้งใจจริงของท่านอาจารย์ Mr. Leigh Scott  ที่ท่านได้ทำเอกสารการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  เนื้อหาในวันนั้น  เริ่มด้วยการทำความเข้าใจรูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ  หรือทฤษฎีของ  ซูนวู  ที่ว่า  “รู้เขา  รู้เรา”  เพราะทำให้เรารู้ว่าคนที่เราทำงานด้วยนั้นมีพฤติกรรมเช่นไร  โดยท่านอาจารย์ Mr. Leigh Scott  ให้นักศึกษาทำแบบสอบถาม  I- Speak Your Longuage เพื่อให้นักศึกษารู้จักตัวเองก่อนว่ามีพฤติกรรมเช่นไร  ควรปรับปรุงอะไร  เพราะการทำงานที่มีประสิทธิภาพนั้น  จะต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ฉะนั้นผู้นำต้องเน้นคน  เน้นงาน  และมองการณ์ไกล
 ในช่วงบ่าย  ได้รับเกียรติอย่างสูงจากท่านทูต  ดร. พิทยา  พุกมาน  ได้กรุณาบรรยายเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ  ระหว่างญี่ปุ่นกับอาเจนตินา  ท่านพูดถึงประเทศญี่ปุ่น  ว่าทำไมถึงได้เจริญมากกว่าหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย  ทั้ง ๆ ที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม  อีกทั้งภูมิประเทศก็มีทรัพยากรธรรมชาติน้อย  แต่ญี่ปุ่นมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ  อีกทั้งระบบการบริหารงานก็เข็มแข็งกว่าประเทศไทย  คนญี่ปุ่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอ  ท่านอาจารย์ ดร. พิทยา  ได้สรุปเป็นบัญญัติ  10  ประการ  ดังนี้
1. ความมีวินัย  คนญี่ปุ่นถือเรื่องการตรงต่อเวลามาก
2. ความขยัน  อดทนเป็น
3. Enterpire Sperit  กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ
4. Team Work  คนญี่ปุ่นยึดฉันทามติ จงรักภักดีต่อองค์กร  ทำงานแบบอุทิศ  ทุ่มเท
5. มีนิสัยรักการอ่าน
6. รักความสะอาด  ความบริสุทธิ์
7. มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง
8. มีมารยาททางสังคม  ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของญี่ปุ่น
9. หยิ่งในศักดิ์ศรี
10. พัฒนาตลอดเวลา  ไม่หยุดนิ่ง  และกระตือรือร้น
ในส่วน  ลาตินอเมริการ  นั้นประชาชนส่วนใหญ่เป็นพวกรักสวยรักงาม ใช้ชีวิตหรูหร่า  ฟุ่มเฟือย  ไม่มีวินัยทางการเงิน ฯลฯ  ซึ่งก็ทำให้ได้มุมมองว่าประเทศไทยควรนำแบบอย่างในด้านดี  ของทั้ง 2 ประเทศมาใช้  เพื่อให้เกิดประโยชน์  และพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่ประเทศผู้นำในอนาคต  ต่อไป

   จาก จริยา ลิ้มธรรมรักษ์ เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 22:09 (177366) สวัสดีค่ะศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อ.ยม นาคสุข และผู้อ่านทุกท่าน       ตามที่อาจารย์ยม นาคสุขได้ให้เกียรติมาสอนวิชาภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงในวันที่ 23 -24 กุทภาพันธ์ 2550 ทำให้ดิฉันรู้สึกประทับใจและได้ความรู้เพิ่มมากค่ะ โดยอาจารย์ได้เริ่มสอนในหัวข้อเรื่องดังนี้ 1.  โลกปัจจุบันยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง -คนงานส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา มีความฉลาดขึ้น ดังนั้นกฎระเบียบการทำงานแบบเก่าๆ ไม่สามารถใช้ได้แล้ว -PEST {politic economic social technology} เป็นปัจจัยภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีผลกระทบต่อภาวะผู้นำ -ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงปริมาณและคุณภาพ ถ้าไม่ปรับเปลี่ยน ลูกค้าจะเปลี่ยนแปลงไปซื้อรายอื่น         2. ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร -สามารถต่อกรกับความไม่แน่นอนในธุรกิจของตนที่นับวันยากแก่การคาดคะเน -แสวงหา รักษา พัฒนากำลังคนให้มีความสามารถอยู่เป็นนิจ -สร้างแนวคิดใหม่ๆของการงานของตนอยู่เสมอ -ดำเนินการด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำได้ผลดี -แสวงหา รักษาลูกค้าได้ดี -สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจกรรมขององค์กร -โดยการสร้างความได้เปรียบขององค์กรในการแข่งขันเรื่องคน ถ้าคนในองค์กรนั้นเก่ง และดี องค์กรนั้นจะได้เปรียบ 3.ผู้นำ หมายถึงบุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มและความสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ   ภาวะผู้นำ หมายถึง เป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร        3.1ผู้นำที่ฉลาดควรมีลักษณะดังนี้       -สามารถเสนอแนวความคิดใหม่ คือมีทุนความรู้ ทุนปัญญา ทุนทางสังคม ทุนทางIT         -สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้ คือมีทุนความเป็นมนุษย์  ทุนทางความสุข        -สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้ คือ มีทุนทางจริยธรรมคุณธรรม ทุนแหเงความยั่งยืน        3.2คุณค่าของผู้นำ        -การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม       -ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล       -มีความสามารถ       -มีความสำนึกรับผิดชอบ       -มีความเป็นกลาง       -การมุ่งสัมฤทธิ์ผล       -ความเป็นมืออาชีพ *****ผู้นำที่ดีต้องมีภาวะผู้นำ ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ****** เช่น BILL GATES มีภาวะผู้นำคือใฝ่รู้ คิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์ มีอัฉริยะทางปัญญา กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ        3.3ผู้นำต้องมีการสร้างและรักษาอำนาจ ซึ่งจะเกิดได้จาก        -การให้(ให้โอกาส ให้ความรู้ ให้อภัย) -การติด้วยความเมตตา-การแสดงเป็นผู้รู้มากกว่าลูกน้อง-อำนาจสร้างได้ด้วยการอ้างอิง-อำนาจทางนิติกรรม        4.กรอบแนวความคิด ทฤษฎี               4.1ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ : ลักษณะและทักษะของผู้นำที่ดีจะทำงานสำเร็จด้วยดีและเป็นที่พอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาจะทำให้เกิดประสิทธิภาพ               4.2ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม               4.3ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์        5.สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่                5.1ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง               -การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ตระหนักถึงผลกระทบจากภายนอก ความยืดหยุ่น จูงใจใฝ่บริหาร การคิดเชิงกลยุทธ์  มองการณ์ไกลได้ดี               5.2ศักยภาพในการเป็นผู้นำ              -การบริหารความขัดแย้ง ตระหนักในคุณค่าทางนวัตกรรม ความจงรักภักดี สร้างทีมงาน               5.3มุ่งไปสู่ผลลัพธ์              -ความรับผิดชอบ การให้บริการลูกค้า การตัดสินใจ ความเป็นผู้ประกอบการ การแก้ไขปัญหา มีเทคนิคที่เชื่อถือได้               5.4ความเฉียบคมทางการบริหาร               -มีความรู้ลึก มีวิสัยทัศน์ บริหารเชิงรุกเช่น CEO concept ผู้นำต้องสนใจ customer satisfaction,employee satisfaction,organization result               5.5การสร้างความเข้าใจ/การติดต่อสื่อสาร               -การเจรจาต่อรอง การโน้มน้าวใจ ความสามารถในการสื่อสารด้วยวาจา ความสามารถในการมีส่วนร่วม ความรอบรู้ด้านการเมือง ความสามารถในการสื่อสารด้วยการเขียน        6.แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศ -ภาวะผู้นำตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง (3ห่วง2เงื่อนไข)คือ  3 ห่วงคือผู้นำต้องมีเหตุมีผล มีความพอดีพอประมาณ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  2 เงื่อนไขคือ เงื่อนไขความรู้(รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) เงื่อนไขคุณธรรม(ซื่อสัตย์สุจริต สติปัญญาขยันอดทน แบ่งปัน) สรุปและข้อเสนอแนะ        คนเมื่อมีทุนมนุษย์ที่ (ได้รับการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนมาอย่างดี) จะทำให้สามารถเป็นผู้นำที่ดี และต้องมีภาวะผู้นำคือ มีความคิดดี {positive ting} มีอัตตาต่ำมีทุนทั้ง 8 ประการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้นำที่ความเฉียบคมทางการบริหาร  มุ่งสัมฤทธิ์ผล สร้างความเข้าใจ ภาวะผู้นำในอนาคตควรจะต้องมีทุนแห่งความพอเพียงเพิ่มขึ้นมารวมทั้งในการปกครองภาครัฐและภาคเอกชน คือมีความรอบรู้ มีคุณธรรม มีเหตุมีผล รู้จักประมาณ มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรไปสู่ความสำเร็จ และมีภาวะผู้นำที่ยั่งยืน        **ข้อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีในอนาคตของประเทศไทย ควรจะมีภาวะผู้นำแบบไหน       -ต้องมาจากการเมือง  รอบรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์    ต้องมีความสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก   ต้องศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลาเป็นความรู้ที่สด    มีความเป็นนักวิชาการ รู้แล้วถ่ายทอดได้    มีความเป็น GLOBALIZATION7.ภาพรวมของการจัดการทรัพยากรมนุษย์        การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นศิลปะการจัดการเกี่ยวกับบุคคล ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน เพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน    หน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์คือ 1.สรรหา 2. พัฒนา 3.รักษาไว้ 4.ใช้ประโยชน์  **จักรยานนานไปก็เสื่อม แต่คนถ้าทะนุบำรุง พัฒนา ยิ่งนานยิ่งเก่งกล้า แต่ในทำนองเดียวกัน คนถ้าไม่ดูแลพัฒนาก็เสื่อมหรือเสื่อมเร็วกว่าวัตถุด้วย** การบริหารจัดการองค์กรยุคใหม่ คือ ใช้คนน้อย มืออาชีพ มีมาตรฐานทางคุณธรรม จริยธรรม โปร่งใส พร้อมรับผิด มีการทำข้อตกลงหรือผิดสัญญา จริยา ลิ้มธรรมรักษ์106242001 MBA7 จาก นายราเชนทร์ แดงโรจน์ เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 10:35 (177932) มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด (หัวหิน)  หลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตรหัสวิชา / ชื่อวิชา ภว.524 ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร อาจารย์ผู้สอน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีม Chira Academy   ในการสอนของอาจารย์ยม นาคสุข ในวันศุกร์ ที่ 23 และ เสาร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2550 มีคำถามให้กับนักศึกษาในชั้นเรียนว่า ทั้ง 2 วันที่ผ่านมานั้นเรียนกับอาจารย์แล้วได้อะไร?”  ผมเป็นหนึ่งในนักศึกษาในชั้นเรียนที่อาจารย์ยมสอน เนื้อหาที่อาจารย์สอนจะครอบคลุมเน้นในเรื่องความหมายของผู้นำและภาวะผู้นำทำให้สิ่งที่ผมได้รับคือ
  1. ได้เข้าใจความหมายของผู้นำ และภาวะผู้นำ แยกออกจากกันโดยชัดเจน
  2. ผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร / แนวทางสู่การเป็นผู้นำที่ดีแห่งยุค
  3. สมรรถนะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ
  4. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
  5.  แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ
  6. ความหมายของความสำเร็จในการบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21
  จากความรู้ดังกล่าวข้างต้น ผมสามารถนำกลับมาใช้พิจารณาปรับปรุงตนเองในส่วนที่ขาดหรือยังไม่เคยปฏิบัติหรือปฏิบัติยังไม่ถูกต้องในฐานะส่วนที่จะต้องแสดงบทบาทเป็นผู้นำ   ตลอดจนสามารถนำความรู้ดังกล่าวข้างต้นมาประยุกต์เป็นแผนงานใช้กับองค์กรที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน พร้อมกับนึกถึงสังคมไทย ในแง่มุมของผู้นำประเทศไทยในอดีต, ปัจจุบัน และอนาคตที่อาจจะมีการเลือกตั้งรัฐบาลที่มาจากประชามติของประชาชนชาวไทย ที่คาดว่าจะมีการเลือกตั้งภายในปี 2550 นี้ ว่าผู้นำของประเทศไทยควรจะมีคุณสมบัติและมีภาวะผู้นำอย่างไร    ซึ่งในฐานะที่เราเป็นประชาชนคนไทยที่มีสิทธิออกเสียงคงจะต้องพิจารณาและชี้ชวนให้บุคคลรอบข้างเลือกผู้นำในแนวทางที่อาจารย์ได้สอน หรือมีภาวะผู้นำใกล้เคียงกับทฤษฎี เนื่องจากผู้นำจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมไทยจากสังคมที่เล็กที่สุด คือ ครอบครัว และครอบครัวใหญ่ ก็คือประเทศชาติว่าจะมีทิศทางหรือแนวโน้มดีหรือไม่ดีได้อย่างไร   ราเชนทร์ แดงโรจน์ รหัส 106242005  Jaruwan Yunprayong ( Finn) MBA 6 106142009 เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 11:47 จาก 58.9.156.139ชื่อ: Jaruwan Yunprayong ( Finn) MBA 6 106142009
อีเมล: [email protected]

ชื่อเรื่อง: ได้อะไรจากการเรียน ภาวะการเป็นผู้นำ (Feb 23-24,2007)

เนื้อความ:
 1.    ได้รู้เรียนรู้หลักการเป็นผู้นำที่ดี รายละเอียดตามที่ อาจารย์สอน และสามารถอ่านในหนังสือและชีทประกอบการสอน จึงไม่ได้เขียนนะค๊ะ
เพราะลอกในชีทได้....ฝิ่นว่าอาจารย์ก็รู้อยู่ดีว่าลอกมาจากชีท
1.    ได้เห็นการแสดงออกและความคิด รวมทั้งวิสัยทัศน์ของเพื่อนๆในห้อง
ที่แตกต่างกันไป
2.    ได้เห็นการ present ของเพื่อนๆ ในห้องที่แตกต่างกันและสามารถนำข้อดีของแต่ละคนมาพัฒนาตัวเองได้3.    ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่างกับเพื่อนๆ และอาจารย์ซึ่งแต่ละคนก็มีความคิดเห็นและมุมมองต่างกัน ทำให้เราได้มองเห็นอีกมุมหนึ่งที่คิดไม่ถึง4.    เป็นการวัดความรู้รอบตัวของแต่ละกลุ่มที่ออกมา persent ด้วย เพราะบางเรื่องที่เพื่อนพูดเราก็ไม่เคยรู้ และเรื่องที่เราพูดเพื่อนบางคนก็ไม่เคยรู้เช่นกัน5.    ได้รู้ว่าเพื่อนๆ แต่ละคนมีประสบการณ์แตกต่างกัน เพราะบางคนกล้าที่จะแสดงออกและมีความเป็นผู้นำในตัวเองจากการที่ได้แสดงออกมา และบางคนก็ยังอายและประหม่าในการพูด ซึ่งทำให้เห็นถึงชั่วโมงบินที่ต่างกัน
หมายถึงประสบการณ์ที่ต่างกัน
6.    การที่อาจารย์ comment ในการ present ของแตละคนเป็นข้อดี ทำให้ทุกคนสามารถนำไปปรับปรุงในสิ่งที่บกพร่องได้7.    นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เลย8.    เรียนแล้วอยากเป็นผู้นำที่ดี และเก่งค่ะ9.    อยากให้ถึงวันศุกร์เร็วๆ ค่ะ จะได้เรียนอีก....


------------------------------------------------------------
อีเมลฉบับนี้ส่งมาจาก
203.113.28.4
ขอบคุณ
Jaruwan ณัฐพงศ์ ชุมนุมพันธ์ เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 12:01 จาก 58.147.66.29 สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /นักศึกษา MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด หัวหินและผู้อ่านทุกท่าน จาการที่ได้เข้ารับการศึกษาเมื่อวันศุกร์และเสาร์ที่ผ่านมาพอที่จะสรุปใจความสำคัญต่างๆที่ได้เรียนรู้จากท่าน อ.ยม ดังนี้  1.   โลกปัจจุบันยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง2.   ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร3.   ความหมาย ผู้นำ ภาวะผู้นำ คุณลักษณะของผู้นำ 4.   กรอบแนวความคิด แนวคิดทฤษฎีฯ5.   สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่6.   แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศ7.   กิจกรรมกลุ่มแต่ที่ท่าน อ.ยม ได้เน้นเป็นพิเศษได้แก่ ·       ความแตกต่างระหว่างผู้นำและภาวะผู้นำ·       ทฤษฏี 8 k’s (ทฤษฏีต้นไม้) ·       ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผู้นำคือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มและสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้ (ในที่นี้ผู้นำคือบุคคล)ส่วนภาวะผู้นำคือ เป็นความสารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร (หรือกล่าวง่ายๆว่าภาวะผู้นำคือพฤติกรรม)ทฤษฏีต้นไม้ ผู้นำที่ดีควรมี 3 ลักษณะ(8ทุน) อยู่ในตน v   ลักษณะแรก สามารถนำเสนอแนวความคิดใหม่1.   ทุนความรู้     ใฝ่รู้หมั่นศึกษาหาความรู้2.   ทุนปัญญา     มีสติ3.   ทุนสังคม             มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี คิดบวก4.   ทุน IT         มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์v   ลักษณะที่สอง สามารถสร้างความสุขให้กับตัวเราเองได้5.   ทุนมนุษย์     ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีตั้งแต่ในครรภ์มารดา อยู่ดี กินดี6.   ทุนความสุข   มีความสุขที่เผื่อแผ่คนอื่นได้v   ลักษณะสุดท้าย สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้7.   ทุนจริยธรรม คุณธรรม           มีจริยธรรมและคุณธรรมในจิตใจ8.   ทุนแห่งความยั่งยืน        มีความมั่นคงและยั่งยืน คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร1.   การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน (Social/National Interest)2.    ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล (Meritocracy/Good Governance)3.   มีความสามารถ (Competence)4.    มีความสำนึกรับผิดชอบ (Accountability)5.    มีความเป็นกลาง (Neutrality) 6.    การมุ่งสัมฤทธิ์ผล (Result Orientation) 7.    ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)  ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี1.   มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง2.   ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง3.   ขาดความรับผิดชอบ 4.   การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้5.   ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน6.    แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง7.    ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม 8.   ขาดความสมดุล ข
 

สวัสดีค่ะ

ดิฉันได้รับมอบหมายจากท่านอาจารย์จีระให้โอนข้อมูลจาก Blog เดิมมาที่นี่จึงขออนุญาตรวบรวมข้อมูลมาดังต่อไปนี้นะคะ

............................................... 

นางสาววิลาวัลย์ พวงอุบล เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 16:32 จาก 58.9.150.160กรบเรียนท่าน ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมณ์ , ท่านอาจารย์ยม  นาคสุข  และสวัสดี พี่ ๆ ทีมงานที่น่ารักทุกท่าน เมื่อวันอาทิตย์ที่ กุมภาพันธ์ 2550  ที่ผ่านมา  ดิฉันรู้สึกยินดีเป็นอย่ายิ่งที่ได้มีโอกาสฟังการบรรยายขอท่าน Mr. Leigh Scott  ในหัวข้อเรื่อง “Leadership & Coaching”  ซึ่งเป็นหัวข้อที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก  และที่ขาดเสียมิได้คือ อาจารย์ยม  นาคสุข  ที่ช่วยกรุณาถ่ายทอดเป็นภาษาไทยได้อย่างดีเยี่ยม  ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะค่ะ  และดิฉันขอชื่นชมในความตั้งใจจริงของท่านอาจารย์ Mr. Leigh Scott  ที่ท่านได้ทำเอกสารการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  เนื้อหาในวันนั้น  เริ่มด้วยการทำความเข้าใจรูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ  หรือทฤษฎีของ  ซูนวู  ที่ว่า  “รู้เขา  รู้เรา”  เพราะทำให้เรารู้ว่าคนที่เราทำงานด้วยนั้นมีพฤติกรรมเช่นไร  โดยท่านอาจารย์ Mr. Leigh Scott  ให้นักศึกษาทำแบบสอบถาม  I- Speak Your Longuage เพื่อให้นักศึกษารู้จักตัวเองก่อนว่ามีพฤติกรรมเช่นไร  ควรปรับปรุงอะไร  เพราะการทำงานที่มีประสิทธิภาพนั้น  จะต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ฉะนั้นผู้นำต้องเน้นคน  เน้นงาน  และมองการณ์ไกล
 ในช่วงบ่าย  ได้รับเกียรติอย่างสูงจากท่านทูต  ดร. พิทยา  พุกมาน  ได้กรุณาบรรยายเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ  ระหว่างญี่ปุ่นกับอาเจนตินา  ท่านพูดถึงประเทศญี่ปุ่น  ว่าทำไมถึงได้เจริญมากกว่าหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย  ทั้ง ๆ ที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม  อีกทั้งภูมิประเทศก็มีทรัพยากรธรรมชาติน้อย  แต่ญี่ปุ่นมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ  อีกทั้งระบบการบริหารงานก็เข็มแข็งกว่าประเทศไทย  คนญี่ปุ่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอ  ท่านอาจารย์ ดร. พิทยา  ได้สรุปเป็นบัญญัติ  10  ประการ  ดังนี้
1. ความมีวินัย  คนญี่ปุ่นถือเรื่องการตรงต่อเวลามาก
2. ความขยัน  อดทนเป็น
3. Enterpire Sperit  กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ
4. Team Work  คนญี่ปุ่นยึดฉันทามติ จงรักภักดีต่อองค์กร  ทำงานแบบอุทิศ  ทุ่มเท
5. มีนิสัยรักการอ่าน
6. รักความสะอาด  ความบริสุทธิ์
7. มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง
8. มีมารยาททางสังคม  ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของญี่ปุ่น
9. หยิ่งในศักดิ์ศรี
10. พัฒนาตลอดเวลา  ไม่หยุดนิ่ง  และกระตือรือร้น
ในส่วน  ลาตินอเมริการ  นั้นประชาชนส่วนใหญ่เป็นพวกรักสวยรักงาม ใช้ชีวิตหรูหร่า  ฟุ่มเฟือย  ไม่มีวินัยทางการเงิน ฯลฯ  ซึ่งก็ทำให้ได้มุมมองว่าประเทศไทยควรนำแบบอย่างในด้านดี  ของทั้ง 2 ประเทศมาใช้  เพื่อให้เกิดประโยชน์  และพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่ประเทศผู้นำในอนาคต  ต่อไป

 จาก จริยา ลิ้มธรรมรักษ์ เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 22:09

(177366) สวัสดีค่ะศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อ.ยม นาคสุข และผู้อ่านทุกท่าน       ตามที่อาจารย์ยม นาคสุขได้ให้เกียรติมาสอนวิชาภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงในวันที่ 23 -24 กุทภาพันธ์ 2550 ทำให้ดิฉันรู้สึกประทับใจและได้ความรู้เพิ่มมากค่ะ โดยอาจารย์ได้เริ่มสอนในหัวข้อเรื่องดังนี้ 1.  โลกปัจจุบันยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง -คนงานส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา มีความฉลาดขึ้น ดังนั้นกฎระเบียบการทำงานแบบเก่าๆ ไม่สามารถใช้ได้แล้ว -PEST {politic economic social technology} เป็นปัจจัยภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีผลกระทบต่อภาวะผู้นำ -ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงปริมาณและคุณภาพ ถ้าไม่ปรับเปลี่ยน ลูกค้าจะเปลี่ยนแปลงไปซื้อรายอื่น         2. ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร -สามารถต่อกรกับความไม่แน่นอนในธุรกิจของตนที่นับวันยากแก่การคาดคะเน -แสวงหา รักษา พัฒนากำลังคนให้มีความสามารถอยู่เป็นนิจ -สร้างแนวคิดใหม่ๆของการงานของตนอยู่เสมอ -ดำเนินการด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำได้ผลดี -แสวงหา รักษาลูกค้าได้ดี -สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจกรรมขององค์กร -โดยการสร้างความได้เปรียบขององค์กรในการแข่งขันเรื่องคน ถ้าคนในองค์กรนั้นเก่ง และดี องค์กรนั้นจะได้เปรียบ 3.ผู้นำ หมายถึงบุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มและความสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ   ภาวะผู้นำ หมายถึง เป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร        3.1ผู้นำที่ฉลาดควรมีลักษณะดังนี้       -สามารถเสนอแนวความคิดใหม่ คือมีทุนความรู้ ทุนปัญญา ทุนทางสังคม ทุนทางIT         -สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้ คือมีทุนความเป็นมนุษย์  ทุนทางความสุข        -สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้ คือ มีทุนทางจริยธรรมคุณธรรม ทุนแหเงความยั่งยืน        3.2คุณค่าของผู้นำ        -การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม       -ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล       -มีความสามารถ       -มีความสำนึกรับผิดชอบ       -มีความเป็นกลาง       -การมุ่งสัมฤทธิ์ผล       -ความเป็นมืออาชีพ *****ผู้นำที่ดีต้องมีภาวะผู้นำ ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ****** เช่น BILL GATES มีภาวะผู้นำคือใฝ่รู้ คิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์ มีอัฉริยะทางปัญญา กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ        3.3ผู้นำต้องมีการสร้างและรักษาอำนาจ ซึ่งจะเกิดได้จาก        -การให้(ให้โอกาส ให้ความรู้ ให้อภัย) -การติด้วยความเมตตา-การแสดงเป็นผู้รู้มากกว่าลูกน้อง-อำนาจสร้างได้ด้วยการอ้างอิง-อำนาจทางนิติกรรม        4.กรอบแนวความคิด ทฤษฎี               4.1ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ : ลักษณะและทักษะของผู้นำที่ดีจะทำงานสำเร็จด้วยดีและเป็นที่พอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาจะทำให้เกิดประสิทธิภาพ               4.2ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม               4.3ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์        5.สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่                5.1ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง               -การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ตระหนักถึงผลกระทบจากภายนอก ความยืดหยุ่น จูงใจใฝ่บริหาร การคิดเชิงกลยุทธ์  มองการณ์ไกลได้ดี               5.2ศักยภาพในการเป็นผู้นำ              -การบริหารความขัดแย้ง ตระหนักในคุณค่าทางนวัตกรรม ความจงรักภักดี สร้างทีมงาน               5.3มุ่งไปสู่ผลลัพธ์              -ความรับผิดชอบ การให้บริการลูกค้า การตัดสินใจ ความเป็นผู้ประกอบการ การแก้ไขปัญหา มีเทคนิคที่เชื่อถือได้               5.4ความเฉียบคมทางการบริหาร               -มีความรู้ลึก มีวิสัยทัศน์ บริหารเชิงรุกเช่น CEO concept ผู้นำต้องสนใจ customer satisfaction,employee satisfaction,organization result               5.5การสร้างความเข้าใจ/การติดต่อสื่อสาร               -การเจรจาต่อรอง การโน้มน้าวใจ ความสามารถในการสื่อสารด้วยวาจา ความสามารถในการมีส่วนร่วม ความรอบรู้ด้านการเมือง ความสามารถในการสื่อสารด้วยการเขียน        6.แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศ -ภาวะผู้นำตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง (3ห่วง2เงื่อนไข)คือ  3 ห่วงคือผู้นำต้องมีเหตุมีผล มีความพอดีพอประมาณ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  2 เงื่อนไขคือ เงื่อนไขความรู้(รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) เงื่อนไขคุณธรรม(ซื่อสัตย์สุจริต สติปัญญาขยันอดทน แบ่งปัน) สรุปและข้อเสนอแนะ        คนเมื่อมีทุนมนุษย์ที่ (ได้รับการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนมาอย่างดี) จะทำให้สามารถเป็นผู้นำที่ดี และต้องมีภาวะผู้นำคือ มีความคิดดี {positive ting} มีอัตตาต่ำมีทุนทั้ง 8 ประการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้นำที่ความเฉียบคมทางการบริหาร  มุ่งสัมฤทธิ์ผล สร้างความเข้าใจ ภาวะผู้นำในอนาคตควรจะต้องมีทุนแห่งความพอเพียงเพิ่มขึ้นมารวมทั้งในการปกครองภาครัฐและภาคเอกชน คือมีความรอบรู้ มีคุณธรรม มีเหตุมีผล รู้จักประมาณ มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรไปสู่ความสำเร็จ และมีภาวะผู้นำที่ยั่งยืน        **ข้อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีในอนาคตของประเทศไทย ควรจะมีภาวะผู้นำแบบไหน       -ต้องมาจากการเมือง  รอบรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์    ต้องมีความสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก   ต้องศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลาเป็นความรู้ที่สด    มีความเป็นนักวิชาการ รู้แล้วถ่ายทอดได้    มีความเป็น GLOBALIZATION7.ภาพรวมของการจัดการทรัพยากรมนุษย์        การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นศิลปะการจัดการเกี่ยวกับบุคคล ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน เพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน    หน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์คือ 1.สรรหา 2. พัฒนา 3.รักษาไว้ 4.ใช้ประโยชน์  **จักรยานนานไปก็เสื่อม แต่คนถ้าทะนุบำรุง พัฒนา ยิ่งนานยิ่งเก่งกล้า แต่ในทำนองเดียวกัน คนถ้าไม่ดูแลพัฒนาก็เสื่อมหรือเสื่อมเร็วกว่าวัตถุด้วย** การบริหารจัดการองค์กรยุคใหม่ คือ ใช้คนน้อย มืออาชีพ มีมาตรฐานทางคุณธรรม จริยธรรม โปร่งใส พร้อมรับผิด มีการทำข้อตกลงหรือผิดสัญญา จริยา ลิ้มธรรมรักษ์106242001 MBA7 จาก นายราเชนทร์ แดงโรจน์ เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 10:35 (177932) มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด (หัวหิน)  หลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตรหัสวิชา / ชื่อวิชา ภว.524 ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร อาจารย์ผู้สอน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีม Chira Academy   ในการสอนของอาจารย์ยม นาคสุข ในวันศุกร์ ที่ 23 และ เสาร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2550 มีคำถามให้กับนักศึกษาในชั้นเรียนว่า ทั้ง 2 วันที่ผ่านมานั้นเรียนกับอาจารย์แล้วได้อะไร?”  ผมเป็นหนึ่งในนักศึกษาในชั้นเรียนที่อาจารย์ยมสอน เนื้อหาที่อาจารย์สอนจะครอบคลุมเน้นในเรื่องความหมายของผู้นำและภาวะผู้นำทำให้สิ่งที่ผมได้รับคือ

  1. ได้เข้าใจความหมายของผู้นำ และภาวะผู้นำ แยกออกจากกันโดยชัดเจน
  2. ผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร / แนวทางสู่การเป็นผู้นำที่ดีแห่งยุค
  3. สมรรถนะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ
  4. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
  5.  แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ
  6. ความหมายของความสำเร็จในการบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21
  จากความรู้ดังกล่าวข้างต้น ผมสามารถนำกลับมาใช้พิจารณาปรับปรุงตนเองในส่วนที่ขาดหรือยังไม่เคยปฏิบัติหรือปฏิบัติยังไม่ถูกต้องในฐานะส่วนที่จะต้องแสดงบทบาทเป็นผู้นำ   ตลอดจนสามารถนำความรู้ดังกล่าวข้างต้นมาประยุกต์เป็นแผนงานใช้กับองค์กรที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน พร้อมกับนึกถึงสังคมไทย ในแง่มุมของผู้นำประเทศไทยในอดีต, ปัจจุบัน และอนาคตที่อาจจะมีการเลือกตั้งรัฐบาลที่มาจากประชามติของประชาชนชาวไทย ที่คาดว่าจะมีการเลือกตั้งภายในปี 2550 นี้ ว่าผู้นำของประเทศไทยควรจะมีคุณสมบัติและมีภาวะผู้นำอย่างไร    ซึ่งในฐานะที่เราเป็นประชาชนคนไทยที่มีสิทธิออกเสียงคงจะต้องพิจารณาและชี้ชวนให้บุคคลรอบข้างเลือกผู้นำในแนวทางที่อาจารย์ได้สอน หรือมีภาวะผู้นำใกล้เคียงกับทฤษฎี เนื่องจากผู้นำจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมไทยจากสังคมที่เล็กที่สุด คือ ครอบครัว และครอบครัวใหญ่ ก็คือประเทศชาติว่าจะมีทิศทางหรือแนวโน้มดีหรือไม่ดีได้อย่างไร   ราเชนทร์ แดงโรจน์ รหัส 106242005  Jaruwan Yunprayong ( Finn) MBA 6 106142009 เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 11:47 จาก 58.9.156.139ชื่อ: Jaruwan Yunprayong ( Finn) MBA 6 106142009
อีเมล: [email protected]

ชื่อเรื่อง: ได้อะไรจากการเรียน ภาวะการเป็นผู้นำ (Feb 23-24,2007)

เนื้อความ:
 1.    ได้รู้เรียนรู้หลักการเป็นผู้นำที่ดี รายละเอียดตามที่ อาจารย์สอน และสามารถอ่านในหนังสือและชีทประกอบการสอน จึงไม่ได้เขียนนะค๊ะ
เพราะลอกในชีทได้....ฝิ่นว่าอาจารย์ก็รู้อยู่ดีว่าลอกมาจากชีท
1.    ได้เห็นการแสดงออกและความคิด รวมทั้งวิสัยทัศน์ของเพื่อนๆในห้อง
ที่แตกต่างกันไป
2.    ได้เห็นการ present ของเพื่อนๆ ในห้องที่แตกต่างกันและสามารถนำข้อดีของแต่ละคนมาพัฒนาตัวเองได้3.    ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่างกับเพื่อนๆ และอาจารย์ซึ่งแต่ละคนก็มีความคิดเห็นและมุมมองต่างกัน ทำให้เราได้มองเห็นอีกมุมหนึ่งที่คิดไม่ถึง4.    เป็นการวัดความรู้รอบตัวของแต่ละกลุ่มที่ออกมา persent ด้วย เพราะบางเรื่องที่เพื่อนพูดเราก็ไม่เคยรู้ และเรื่องที่เราพูดเพื่อนบางคนก็ไม่เคยรู้เช่นกัน5.    ได้รู้ว่าเพื่อนๆ แต่ละคนมีประสบการณ์แตกต่างกัน เพราะบางคนกล้าที่จะแสดงออกและมีความเป็นผู้นำในตัวเองจากการที่ได้แสดงออกมา และบางคนก็ยังอายและประหม่าในการพูด ซึ่งทำให้เห็นถึงชั่วโมงบินที่ต่างกัน
หมายถึงประสบการณ์ที่ต่างกัน
6.    การที่อาจารย์ comment ในการ present ของแตละคนเป็นข้อดี ทำให้ทุกคนสามารถนำไปปรับปรุงในสิ่งที่บกพร่องได้7.    นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เลย8.    เรียนแล้วอยากเป็นผู้นำที่ดี และเก่งค่ะ9.    อยากให้ถึงวันศุกร์เร็วๆ ค่ะ จะได้เรียนอีก....

(ต่อ)

ณัฐพงศ์ ชุมนุมพันธ์ เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 12:01 จาก 58.147.66.29 สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /นักศึกษา MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด หัวหินและผู้อ่านทุกท่าน จาการที่ได้เข้ารับการศึกษาเมื่อวันศุกร์และเสาร์ที่ผ่านมาพอที่จะสรุปใจความสำคัญต่างๆที่ได้เรียนรู้จากท่าน อ.ยม ดังนี้  1.   โลกปัจจุบันยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง2.   ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร3.   ความหมาย ผู้นำ ภาวะผู้นำ คุณลักษณะของผู้นำ 4.   กรอบแนวความคิด แนวคิดทฤษฎีฯ5.   สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่6.   แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศ7.   กิจกรรมกลุ่มแต่ที่ท่าน อ.ยม ได้เน้นเป็นพิเศษได้แก่ ·       ความแตกต่างระหว่างผู้นำและภาวะผู้นำ·       ทฤษฏี 8 k’s (ทฤษฏีต้นไม้) ·       ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผู้นำคือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มและสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้ (ในที่นี้ผู้นำคือบุคคล)ส่วนภาวะผู้นำคือ เป็นความสารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร (หรือกล่าวง่ายๆว่าภาวะผู้นำคือพฤติกรรม)ทฤษฏีต้นไม้ ผู้นำที่ดีควรมี 3 ลักษณะ(8ทุน) อยู่ในตน v   ลักษณะแรก สามารถนำเสนอแนวความคิดใหม่1.   ทุนความรู้     ใฝ่รู้หมั่นศึกษาหาความรู้2.   ทุนปัญญา     มีสติ3.   ทุนสังคม             มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี คิดบวก4.   ทุน IT         มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์v   ลักษณะที่สอง สามารถสร้างความสุขให้กับตัวเราเองได้5.   ทุนมนุษย์     ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีตั้งแต่ในครรภ์มารดา อยู่ดี กินดี6.   ทุนความสุข   มีความสุขที่เผื่อแผ่คนอื่นได้v   ลักษณะสุดท้าย สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้7.   ทุนจริยธรรม คุณธรรม           มีจริยธรรมและคุณธรรมในจิตใจ8.   ทุนแห่งความยั่งยืน        มีความมั่นคงและยั่งยืน คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร1.   การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน (Social/National Interest)2.    ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล (Meritocracy/Good Governance)3.   มีความสามารถ (Competence)4.    มีความสำนึกรับผิดชอบ (Accountability)5.    มีความเป็นกลาง (Neutrality) 6.    การมุ่งสัมฤทธิ์ผล (Result Orientation) 7.    ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)  ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี1.   มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง2.   ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง3.   ขาดความรับผิดชอบ 4.   การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้5.   ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน6.    แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง7.    ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม 8.   ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ9.     ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร ฯลฯทฤษฏีภาวการณ์เป็นผู้นำ1.   ทฤษฏีเกี่ยวกับลักษณะ  (ยุคโบราณนิยมใช้ แต่ปัจจุบันก็ยังใช้อยู่ เช่น ซีพีก่อนรับคนเข้าทำงานก็ยังมีการดูโหวเฮ้ง)2.   ทฤษฏีทางด้านพฤติกรรม กล่าวถึงพฤติกรรมของผู้นำประเภทต่างๆ3.   ทฤษฏีทางด้านสถานการณ์ เช่น ประเทศไทยหลังปฏิรูปต้องการ นายกที่มีลักษณะสมานฉันท์  เราจึงได้ท่าน สุรยุทธ์มากเป็นนายก ความหมายของความสำเร็จในการบริหารจัดการ ใน ศตวรรษที่ 211.   สามารถต่อกรกับความไม่แน่นอนในธุรกิจตน2.   แสงหา  รักษา  พัฒนากำลังคนให้มีความสามารถอยู่ตลอดเวลา3.   สร้างแนวคิดใหม่ๆในการทำงาน4.   ดำเนินการด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำได้ผลดี  (ผมคิดว่าควรใช้คำว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล น่าจะครอบครุมมากกว่านะครับ5.   แสวงหา รักษา ลูกค้าได้ดี6.   สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียกับกิจการขององค์กร  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   3  หลักการ 2 เงื่อนไข  ได้แก่1.   พอประมาณ2.   มีเหตุผล3.   มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี4.   เงื่อนไขความรู้  รอบรู้  รอบคอบ  ระมัดระวัง5.   เงื่อนไขคุณธรรม  ซื่อสัตย์  มีสติปัญญา  ขยัน  อดทน  แบ่งปันจะนำไปสู่  เศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  วัฒนธรรม  ที่สมดุลพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคตฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง กับภาวะผู้นำ 1.   รอบรู้ ใฝ่รู้2.   คู่คุณธรรม3.   มีเหตุ มีผล4.   รู้ตน พอประมาณ5.   มองการณ์ไกล ใส่ใจภูมิคุ้มกัน เศรษฐกิจพอเพียง&ทฤษฏีใหม่ทฤษฏีใหม่ขั้นที่ 1ความพอเพียงระดับบุคคล  นำไปสู่  เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานทฤษฏีใหม่ขั้นที่ 2 ความพอเพียงระดับชุมชน/องค์กร  นำไปสู่  เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าทฤษฏีใหม่ขั้นที่ 3ความพอเพียงระดับประเทศ นำไปสู่  เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า พัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำ 1.   คล่องคิด (Mental Agility) ล่วงรู้ปัญหา รู้แจ้ง เผชิญความยุ่งยากได้หลากหลาย อย่างเป็นสุข มีแง่คิด มีปัญญา2.   คล่องคน (People Agility) รู้เขา รู้เรา เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้อื่น สร้างโอกาส เย็นสงบ สุขุม สง่างามภายใต้แรงกดดันได้3.   คล่องผล (Result Agility) ทำให้ผู้คนมีพลังทำงานได้สำเร็จ ให้ผลงานได้เกินคาด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อื่น ส่งมอบผลงานที่ยากได้4.   คล่องเปลี่ยน (Change Agility) ใฝ่รู้ สู้ยิ่งยาก ไม่ย่นระย่อ ชอบทดลอง ปรับเปลี่ยน สนใจที่จะพัฒนาตน สร้าง นวัตกรรม     นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วท่าน อ.ยมได้สอนให้ สังเกตภาวะผู้นำของผู้อื่นโดยการให้สังเกตว่าผู้ที่ออกมาพรีเซ้นต์หน้าชั้นมีพฤติกรรมอย่างไรบ้างและพฤติกรรมข้อใดควรเอาเยี่ยงอย่าง  และมีความรู้และคำพูดคมๆให้ขบคิด  เช่น บุญ คือ  สนใจ  ใส่ใจ  และเอาใจใส่  และที่สำคัญและลืมไม่ได้คือ ซึ่งเป็นปัญหาในการเขียนข้อสอบของผม ท่าน อ.ยมได้เสนอแนะวิธี การพูด  การเขียน Blog หรือข้อสอบ คือ  1.เปิดประเด็น  2.ดำเนินเรื่อง  3.สรุปพร้อมเสนอแนะ  ซึ่งกระผมจะพยายามทำให้ได้และข้อให้ท่าน อ.ยม และท่าน ศ.ดร.จีระ  ช่วยวิจารณ์ผมในเรื่องนี้ด้วย จักเป็นประคุณอย่างสูงครับ   นางสาวปณิธาน เชื้อชาติ MBA 6 ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 12:01 จาก 203.146.63.185 สวัสดี ดร.จีระ และผู้อ่านทุกท่าน จากที่ดิฉันได้เรียนในห้องวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2550 ทำให้ทราบถึงเนื้อหาดังนี้ผู้นำ  คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ภาวะผู้นำ  เป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร  ลักษณะผู้นำที่ดีผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน1.  สามารถนำเสนอความคิดใหม่
  • ทุนความรู้
  • ทุนปัญญา
  • ทุนทางสังคม
2.  สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้
  • ทุนความเป็นมนุษย์
  • ทุนทางความสุข
3.  สามารถสร้างความสุขให้กับคนอื่นได้
  • ทุนจริยธรรม คุณธรรม
  • ทุนแห่งความยั่งยืน
คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร
  1. การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน
  2.  ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล
  3. มีความสามารถ
  4.  มีความสำนึกรับผิดชอบ
  5.  มีความเป็นกลาง
  6.  การมุ่งสัมฤทธิ์ผล
  7.  ความเป็นมืออาชีพ
ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี
  1. มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
  2. ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3. ขาดความรับผิดชอบ
  4. การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้
  5. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน
  6.  แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
  7.  ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม
  8. ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ
  9.   ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร ฯลฯ
ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ
  1. ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ
  2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม
  3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์
พัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำ
  1. คล่องคิด  ล่วงรู้ปัญหา รู้แจ้ง เผชิญความยุ่งยากได้หลากหลาย อย่างเป็นสุข มีแง่คิด มีปัญญา
  2. คล่องคน  รู้เขา รู้เรา เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้อื่น สร้างโอกาส เย็นสงบ สุขุม สง่างามภายใต้แรงกดดันได้
  3. คล่องผล  ทำให้ผู้คนมีพลังทำงานได้สำเร็จ ให้ผลงานได้เกินคาด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อื่น ส่งมอบผลงานที่ยากได้
  4. คล่องเปลี่ยน ใฝ่รู้ สู้ยิ่งยาก ไม่ย่นระย่อ ชอบทดลอง ปรับเปลี่ยน สนใจที่จะพัฒนาตน สร้างนวัตกรรม
สรุป การที่จะเป็นผู้นำที่ดีต้องมีภาวะผู้นำ องค์กรจะสำเร็จได้อยู่ที่ภาวะผู้นำที่มีอัตราต่ำ และต้องมีPositive Thinking  ผู้นำต้องคิดบวกมากกว่าคิดลบ และมองลูกน้องต้องมอง 2 ด้าน จึงจะทำให้องค์กรประสบผลสำเร็จ  นางสาวนภาพร พิพัฒน์ MBA 6 ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 12:06 จาก 203.146.63.185 สวัสดี ดร.จีระ และผู้อ่านทุกท่าน          จากที่ดิฉันได้เรียนในห้องทำให้ทราบถึงคำว่าผู้นำหมายถึง บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มและสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ภาวะผู้นำหมายถึงความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมันและให้การสนับสนุน ผลักดันบุคคล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรทฤษฎีภาวะการณ์เป็นผู้นำแบ่งออกเป็นดังนี้
  1. ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ
  2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม
  3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์
สรุป ผู้นำคือตัวบุคคล ภาวะผู้นำคือพฤติกรรม การเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องมีภาวะผู้นำรวมอยู่ด้วย และสิ่งที่สำคัญคือคุณค่าของผู้นำเอง จึงจะทำให้องค์กรประสบผลสำเร็จถึงเป้าหมายอย่างดีเยี่ยม นางสาวนภาพร  พิพัฒน์  รหัส 106142007  นายเตชะสิทธิ์ หอมฟุ้ง MBA 6 ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 12:25 จาก 203.146.63.185 สวัสดี ดร.จีระ และผู้อ่านทุกท่าน  จากการที่ได้เรียนในวิชา ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ทำให้ผมได้ทราบถึงเนื้อหาดังนี้  ผู้นำ (Leader) คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ  ภาวะผู้นำ Leadership เป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร  ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ1.      ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ 2.      ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม3.      ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์  1.   ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ   มีความเชื่อว่า ผู้นำที่มีคุณลักษณะดี จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามศาสตร์ของจีน มีการเก็บข้อมูลลักษณะของผู้นำว่า มีลักษณะสูงใหญ่ คิ้วดก ขนดกดำ สังเกตจากรูปภาพแม่ทัพจีนโบราณ ซุนวู เป็นต้น สัตว์ป่าจ่าฝูง เพศผู้จะมีลักษณะโครงสร้างใหญ่ มีขนสวยสง่างาม เป็นต้น ต่อมาภายหลังมีการพัฒนาการศึกษาลักษณะผู้นำ ว่าเป็นผู้ที่มีลักษณะ ดังนี้
  • มีความทะเยอทะยาน (Ambition)
  • มีความอุสาหะพากเพียร (Persistence)
  • มีความกล้าหาญ (Courage)
  • มีความเชื่อถือศรัทธา (Faith)
  • มีความซื่อสัตย์มั่นคง (Integrity)
  • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity)
  • มีความยุติธรรม (Justice)
  • มีจุดมุ่งหมาย (Objectivity)
  • มีความยืดหยุ่น (Flexibility)
  • มีความสามารถในการตัดสินใจ (Decisiveness)
  • มีวินัยในตนเอง (Self-Discipline)
 2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม 
  • ผู้นำที่เน้นความสนใจที่คน ไม่ค่อยเน้นที่งาน
  • ผู้นำที่ไม่สนใจทั้งงานและคน
  • ผู้นำที่เอาใจใส่ทั้งคนและงาน
  • ผู้นำที่เน้นความสนใจที่งาน ไม่ค่อยเน้นที่คน
  • ผู้นำที่เดินสายกลาง
 3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์
  • เมื่อสถานการณ์เอื้อต่อการใช้ความเป็นผู้นำ กลุ่มจะตั้งใจทำงานโดยไม่ต้องมีการคะยั้นคะยอมาก
  • บุคคลแต่ละคนจึงควรทำงานในสถานการณ์ที่เหมาะกับแบบภาวะการเป็นผู้นำของเขา
  • ต้องเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เพื่อให้สอดคล้องกับแบบภาวะการเป็นผู้นำของเขาเอง
  • (The Hersey-Blanchard Life Cycle Theory of Leadership) 
 สรุป  การที่จะเป็นผู้นำที่ดีจะต้องเป็นคนที่ใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา คิดแบบสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ  และ ผู้นำคือตัวบุคคล ภาวะผู้นำคือการกระทำ

(ต่อ) 

นายนันทพล เถาลิโป้ เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 14:10 จาก 125.26.35.150สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ / นักศึกษา MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด (หัวหิน) และท่านผู้อ่านทุกท่านการที่เราได้เข้ามาเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยนั้นผมคิดว่าการเรียนในสิ่งที่เราไม่รู้มาก่อนจะทำให้เราได้รับรู้มากขึ้นเพราะเราจะได้มุมมองที่กว้างไกลจากเดิมมากขึ้น  "ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร" ทำให้ผู้บริหารต้องเปลี่ยนมุมมองใหม่ในแนวทางที่ถูกต้องเพื่อการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้นและสามารถแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่นในหัวข้อต่อไปนี้ ความแตกต่างระหว่างผู้นำและภาวะผู้นำผู้นำ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร            ภาวะผู้นำ คือ  พลังชนิดหนึ่งที่สามารถส่งแรงกระทำอันก่อให้เกิดการขับเคลื่อนกลุ่มคน และนำองค์กรไปสู่การบรรลุเป้าหมายและจุดประสงค์            ยกตัวอย่าง บิลล์ เกตส์ ผู้นำซอฟแวร์ของโลก มีภาวะผู้นำดังนี้
  1.  ใฝ่รู้
  2. คิดสร้างสรรค์
  3. คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์ 
  4.  ทุนทางปัญญา
  5. กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ
ผู้นำ กับการแก้ไขปัญหา  เมื่อมีปัญหาต้องแก้ไข 
  • ต้องรู้ว่าอะไรคือตัวปัญหา
  • สาเหตุ
  • แนวทางเลือกในการแก้ปัญหา
  • ลงมือปฏิบัติ (เลือกวิธีที่ดีที่สุด)
  • ติดตามผลแล้ว
  • พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา
หัวข้อที่ผมยกขึ้นมานี้ แสดงให้เห็นและเข้าใจถึง การที่จะเป็นผู้นำและแรงขับดันความรู้สึกของผู้นำหรือสิ่งที่ผู้นำควรมี และรูปแบบการแก้ไขปัญหาแบบผู้นำ อีกหัวข้อหนึ่งที่ทำให้ผมเข้าใจและเห็นภาพคือความแตกต่างระหว่างการเป็นเจ้านายกับการเป็นผู้นำ 1.    ผู้นำสร้างปณิธานให้แก่ผู้ตาม 2.    ผู้นำอาศัยเจตจำนงที่เสรี 3.    ผู้นำแผ่ความรัก ปรารถนาดี 4.    ผู้นำ พูดว่า "เรา" 5.    ผู้นำแสดงให้รู้ว่าอะไรที่ผิด และควรทำอย่างไร 6.    ผู้นำรู้ว่าจะทำงานอย่างไร 7.    ผู้นำบริหารความเคารพ  นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่ผมยกมาเป็นตัวอย่างจากการเรียนเรื่อง"ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร" บทเรียนนี้ได้เปิดมุมมองใหม่ในการเป็นผู้นำและพัฒนาองค์กรซึ่งเราสามารถนำไปใช้ในการบริหารงานได้เป็นอย่างดี    การนำเอากระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่อง"เศรษฐกิจพอเพียง" นำมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานและได้กำหนดการพึ่งตนเองที่เป็นรูปธรรม เป็นกรอบการดำเนินงานอันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งภาคราชการ ภาคธุรกิจเอกชน และองคืกรซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน จึงเห็นสมควรจำเป็นต่อการพัฒนาและกำหนดอนาคตของตัวเราเป็นอย่างยิ่ง สรุป  อย่างไรก็ตาม จำเป็นที่จะต้องมีผู้นำและผู้มีความสามารถในการบริหารจัดการ ตอบสนองความต้องการ ทั้งทางราชการและองค์กร ตลอดจนมีการบูรณาการ การแก้ไขปัญหาและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังต้องมีความสามารถในการพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้การบริการและการจัดการขององค์กร นั้นได้ประสบความสำเร็จของความต้องการ ดังจุดประสงค์ของการเรียนที่เราเรียนอยู่   น.ส. พนาวัลย์ คุ้มสุด นักศึกษาปริญญาโท บริหารธุรกิจ ID 106142010 เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 14:34 จาก 125.25.52.18สรุปองค์ความรู้ในภาพรวม ของ น.ส.พนาวัลย์ คุ้มสุด  จากการศึกษาระดับปริญญาโท  บริหารธุรกิจ    มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด  ดิฉัน  น.ส. พนาวัลย์  คุ้มสุด  นักศึกษาปริญญาโท  บริหารธุรกิจ  ID  106142010         ได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท  บริหารธุรกิจ  ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2549     ถึงปัจจุบัน       รายวิชาต่าง ๆ ที่ได้ศึกษาผ่านไปแล้วรวม  8  วิชา  ได้แก่  1.     กง. 524  การเงินเพื่อการจัดการ*** (FIN 524)2.     กจ. 521  องค์การและการจัดการ (MGN  521)3.     กจ. 530  กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (วิชาเลือก) *** (MGN 530)4.     ศศ. 557  เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ (ECO 557)5.     กต. 548  การบริหารการตลาด (MKT  548)6.     กจ. 562  การบริหารการปฏิบัติการ***(MGN 562)7.     กบ. 543  การวิเคราะห์บัญชีเพื่อผู้บริหาร (ACC 543) *****8.     กจ. 590  กลยุทธ์การจัดการ *** (MGN  590) จากความรู้ทั้งด้านวิชาการและทักษะต่าง ๆ  ที่ได้รับมีความหลากหลายมากถือว่า                เป็นการเติมเต็ม  ให้แก่ตัวดิฉันเอง  ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม  โดยเฉพาะการนำ               องค์ความรู้ต่าง ๆ มาพัฒนาอาชีพที่ดิฉันรับผิดชอบอยู่  ได้แก่  ร้านค้าโทรศัพท์มือถือ , ทำหน้าที่                รองนายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี  ฝ่ายการศึกษา  สรุปเนื้อหาสาระที่ได้รับจากคณาจารย์ , การสัมมนา ,    ค้นคว้าเพิ่มเติม , มีประเด็นสำคัญ  ดังนี้1.  ความรู้ด้านวิชาการรายละเอียดด้านวิชาการมีความหลากหลายมาก โดยเนื้อหาในภาพรวมแบ่งได้ออกเป็น  2  กลุ่ม  คือ1.1  เนื้อหาสาระที่เป็นพื้นฐานในการบริหารจัดการองค์กร ได้แก่  ความรู้ด้านการเงิน , บัญชี , เศรษฐศาสตร์  จากการเรียนรู้ทำให้เข้าใจระบบบริหารต่าง ๆ , การบริหารด้านการเงินที่เหมาะสม  ตลอดจนแนวทางเศรษฐกิจในรูปแบบต่าง ๆ   ทำให้ดิฉันสามารถนำมาเป็นพื้นฐานปรับใช้ประโยชน์ได้1.2 เนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการจัดการองค์กร ในรูปแบบต่างๆ  ,   กลยุทธ์ต่าง ๆ    ที่นำมาใช้ประกอบการดำเนินการ , การวิเคราะห์สถานการณ์ขององค์กรในประเด็นต่าง ๆ , การบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพตลอดจนแนวทางการแก้ปัญหาและการบริหารงานในช่วงวิกฤติจากรายละเอียดของเนื้อหาทั้ง  8  วิชา  ที่ดิฉันได้ศึกษาแล้วมีผลอย่างมาก  ต่อตัวดิฉันและผู้เรียนทุกอื่น ๆ โดยเฉพาะแนวความคิด , การดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ถูกปรับเปลี่ยนอย่างมาก  เช่นแนวทางการบริหารองค์กร  ทั้งภาครัฐและเอกชน  ทำเป็นระบบมากขึ้นตั้งแต่การวางแผนจัดโครงสร้างองค์กร , การจัดตั้งองค์กร , การมอบหมายงาน , การตรวจสอบ- แนวทางการจัดการทางการเงิน  โดยเฉพาะองค์กรธุรกิจเกี่ยวกับการระดมทุน ,                 การลงทุนที่เหมาะสม , กระแสเงินสด , การรักษาสภาพคล่อง , รวมทั้งการบริหารหนี้สินอย่างฉลาดแนวทางการบริหารงานบุคคลในองค์กร  ซึ่งรูปแบบการบริหารงานบุคคลในลักษณะต่าง ๆ เช่น  การได้มา , การรักษาไว้ , การจากไปของบุคลากร  เป็นไปอย่างมีระบบตลอดจน          ทำให้มีจริยธรรมคุณธรรม , เมตตาธรรม มากขึ้นแนวทางการวิเคราะห์สถานะขององค์กรในช่วงเวลาต่าง ๆ ทำได้อย่างเหมาะสม                 ด้วยการทำ SWOT  และการวิเคราะห์จาก Matrix  ต่าง ๆ ทำให้สามารถทราบความเป็นไปขององค์กร ได้อย่างชัดเจน  ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการแก้ไขและพัฒนาต่อไปแนวทางการแก้ไขปัญหายามวิกฤติต่าง ๆ ตามปกติผู้ที่ทำการค้า , พนักงาน ,                      ข้าราชการ  เมื่อพบกับวิกฤติรูปแบบต่าง ๆ ก็มักจะใช้ประสบการณ์ , การปรึกษา , เข้ามาแก้ปัญหา       แต่การใช้หลักวิทยาการมาร่วมด้วย  จะทำให้สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ไปได้อย่างดีและรวดเร็วแนวทางการสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีทั้งคู่แข่งขัน , เพื่อนร่วมอาชีพ , องค์กรที่เกี่ยวข้อง , สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้อย่างมีคุณภาพ  ทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น  ซึ่งจะเป็นผลดี  (Win Win)  ทั้ง 2 ฝ่ายทำให้เกิดความเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมของระบบการเมือง , เศรษฐกิจ , สังคม  โดยรวมมากขึ้น  อันจะเป็นพื้นฐานในการนำไปวิเคราะห์และวางแผนต่อไปแนวทางการปรับองค์กรให้เหมาะสม  ได้แก่  การสร้างความเจริญเติบโต ,              การยกเลิก  , การชะลอ  ให้เป็นไปตามสถานะ การณ์ที่เหมาะสมและเป็นจริงที่สุด2.  ด้านประสบการณ์ , ทักษะต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษาในการเรียนรู้จาก  เนื้อหา  8  รายวิชาที่ผ่านมา  ดิฉันได้มีโอกาสได้รับรู้รายละเอียด  ทางวิชาการจากคณาจารย์ , การแลกเปลี่ยนความรู้  ความเข้าใจกับคณาจารย์ , เพื่อนนักศึกษา ,                     การสัมมนา , การนำเสนอในห้องทำให้พฤติกรรมโดยส่วนตัวของดิฉันพัฒนามากขึ้น  ในหลาย ๆ ด้าน  เช่น2.1  ทำให้กล้าแสดงออกมากขึ้น2.2  ทำให้การตัดสินใจในงานต่าง ๆ ทั้งงานในอาชีพ  และชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างรวดเร็ว , มั่นใจ  มากขึ้น2.3  ทำให้ดิฉันมีจริยธรรม , คุณธรรม , เมตตาธรรมมากขึ้น  โดยเฉพาะกับบุคลากร          ในความดูแลโดยตรงและผู้เกี่ยวข้อง2.4  ทำให้เกิดความกล้าที่จะบริหารธุรกิจของตนเอง  ให้ก้าวไกลในทุก ๆ ด้าน2.5  ทำให้ตนเองยอมรับ  การดำเนินการต่าง ๆ โดยใช้การวางแผนเป็นแม่บทในการจัดการ  และสามารถนำเสนอแผนงานที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมได้อย่างมาก3.  ด้านสังคมในโอกาสนี้ดิฉันได้เข้ามาเป็นนักศึกษา  ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้มีโอกาสพบปะกับคณาจารย์ , เพื่อนนักศึกษา , สถานประกอบการณ์ , ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่สำคัญที่สุด  ที่ทำให้ดิฉันมีสังคมที่กว้างไกลมากขั้น , มีเพื่อนรู้ใจมากขึ้น , ตลอดจนทำให้เข้าใจความเป็นมาของสังคมในด้านต่าง ๆ มากขึ้น4.  แนวทางในอนาคตแม้ว่าดิฉันจะเริ่มเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้และได้ศึกษาตามรายวิชา             บางส่วนของหลักสูตรที่ผ่านมา  ดิฉันเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างมากที่มีโอกาสได้เข้ามารับการเติมเต็ม  ให้แก่ตนเองอันจะเป็นผลโดยตรงต่อการพัฒนาทั้งอาชีพและงานที่รับผิดชอบอื่น ๆ สำหรับแนวทาง               ในอนาคต  ดิฉันคาดว่า4.1  พื้นฐานจาก 8 ราชวิชา ที่ได้ศึกษาแล้วจะเป็นพื้นฐานในการเรียน  ตามรายวิชาสภาวะผู้นำได้ระดับหนึ่ง4.2  จะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในอาชีพที่ดำเนินการอยู่4.3  ต้องการทำหน้าที่ผู้นำสถาบันการศึกษา , องค์การต่าง ๆ หรือการพัฒนาสังคมให้ความรู้ที่ยั่งยืนตลอดไปถึงแม้ว่าดิฉันจะผ่านการศึกษาตามหลักสูตร  เพียงบางส่วนของหลักสูตรก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ล่ำค่าอย่างมาก  สำหรับการศึกษาต่อไป  ตามหลักสูตรจะมีผลอย่างไรก็ตามดิฉันคิดว่า  ทั้งสาระ , ประสบการณ์ที่ได้รับทั้งหมดจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมอย่างมากตลอดไป  พนาวัลย์    คุ้มสุ ID 106142010
น.ส. พนาวัลย์ คุ้มสุด นักศึกษาปริญญาโท บริหารธุรกิจ ID 106142010 เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 15:45 จาก 125.25.52.18              สรุปองค์ความรู้ในภาพรวมของ น.ส.พนาวัลย์ คุ้มสุด  จากการศึกษาระดับปริญญาโท  บริหารธุรกิจ   มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด              ดิฉัน  น.ส. พนาวัลย์  คุ้มสุด  นักศึกษาปริญญาโท  บริหารธุรกิจ  ID  106142010 ได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท  บริหารธุรกิจ ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2549 ถึงปัจจุบัน รายวิชาต่าง ๆ ที่ได้ศึกษาผ่านไปแล้วรวม  8  วิชา ได้แก่ 
  • กง. 524  การเงินเพื่อการจัดการ*** (FIN 524)
  • กจ. 521  องค์การและการจัดการ (MGN  521)
  • กจ. 530  กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (วิชาเลือก) *** (MGN 530)
  • ศศ. 557  เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ (ECO 557)
  • กต. 548  การบริหารการตลาด (MKT  548)
  • กจ. 562  การบริหารการปฏิบัติการ***(MGN 562)
  • กบ. 543  การวิเคราะห์บัญชีเพื่อผู้บริหาร (ACC 543) *****
  • กจ. 590  กลยุทธ์การจัดการ *** (MGN  590)
               จากความรู้ทั้งด้านวิชาการและทักษะต่าง ๆ  ที่ได้รับมีความหลากหลายมากถือว่าเป็นการเติมเต็ม  ให้แก่ตัวดิฉันเอง  ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม  โดยเฉพาะการนำองค์ความรู้ต่าง ๆ มาพัฒนาอาชีพที่ดิฉันรับผิดชอบอยู่ ได้แก่ ร้านค้าโทรศัพท์มือถือ , ทำหน้าที่รองนายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี  ฝ่ายการศึกษา  สรุปเนื้อหาสาระที่ได้รับจากคณาจารย์ , การสัมมนา ,    ค้นคว้าเพิ่มเติม , มีประเด็นสำคัญ  ดังนี้               1.  ความรู้ด้านวิชาการรายละเอียดด้านวิชาการมีความหลากหลายมาก โดยเนื้อหาในภาพรวมแบ่งได้ออกเป็น  2  กลุ่ม  คือ               1.1  เนื้อหาสาระที่เป็นพื้นฐานในการบริหารจัดการองค์กร ได้แก่  ความรู้ด้านการเงิน , บัญชี ,เศรษฐศาสตร์  จากการเรียนรู้ทำให้เข้าใจระบบบริหารต่าง ๆ , การบริหารด้านการเงินที่เหมาะสม  ตลอดจนแนวทางเศรษฐกิจในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้ดิฉันสามารถนำมาเป็นพื้นฐานปรับใช้ประโยชน์ได้                       1.2 เนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการจัดการองค์กร ในรูปแบบต่างๆ  ,   กลยุทธ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประกอบการดำเนินการ , การวิเคราะห์สถานการณ์ขององค์กรในประเด็นต่าง ๆ , การบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพตลอดจนแนวทางการแก้ปัญหาและการบริหารงานในช่วงวิกฤติจากรายละเอียดของเนื้อหาทั้ง  8  วิชา  ที่ดิฉันได้ศึกษาแล้วมีผลอย่างมาก  ต่อตัวดิฉันและผู้เรียนทุกอื่น ๆ โดยเฉพาะแนวความคิด , การดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ถูกปรับเปลี่ยนอย่างมาก  เช่น               -  แนวทางการบริหารองค์กร  ทั้งภาครัฐและเอกชน  ทำเป็นระบบมากขึ้นตั้งแต่การวางแผนจัดโครงสร้างองค์กร , การจัดตั้งองค์กร , การมอบหมายงาน , การตรวจสอบ                       - แนวทางการจัดการทางการเงิน  โดยเฉพาะองค์กรธุรกิจเกี่ยวกับการระดมทุน , การลงทุนที่เหมาะสม , กระแสเงินสด , การรักษาสภาพคล่อง , รวมทั้งการบริหารหนี้สินอย่างฉลาด               -  แนวทางการบริหารงานบุคคลในองค์กร  ซึ่งรูปแบบการบริหารงานบุคคลในลักษณะต่าง ๆ เช่น  การได้มา , การรักษาไว้ , การจากไปของบุคลากร  เป็นไปอย่างมีระบบตลอดจน ทำให้มีจริยธรรมคุณธรรม , เมตตาธรรม มากขึ้น               -  แนวทางการวิเคราะห์สถานะขององค์กรในช่วงเวลาต่าง ๆ ทำได้อย่างเหมาะสมด้วยการทำ SWOT  และการวิเคราะห์จาก Matrix  ต่าง ๆ ทำให้สามารถทราบความเป็นไปขององค์กร ได้อย่างชัดเจน  ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการแก้ไขและพัฒนาต่อไป               -  แนวทางการแก้ไขปัญหายามวิกฤติต่าง ๆ ตามปกติผู้ที่ทำการค้า , พนักงาน , ข้าราชการ  เมื่อพบกับวิกฤติรูปแบบต่าง ๆ ก็มักจะใช้ประสบการณ์ , การปรึกษา , เข้ามาแก้ปัญหา แต่การใช้หลักวิทยาการมาร่วมด้วย  จะทำให้สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ไปได้อย่างดีและรวดเร็ว               -  แนวทางการสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีทั้งคู่แข่งขัน , เพื่อนร่วมอาชีพ , องค์กรที่เกี่ยวข้อง , สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้อย่างมีคุณภาพ  ทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น  ซึ่งจะเป็นผลดี  (Win Win)  ทั้ง 2 ฝ่าย               -  ทำให้เกิดความเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมของระบบการเมือง , เศรษฐกิจ , สังคม  โดยรวมมากขึ้น  อันจะเป็นพื้นฐานในการนำไปวิเคราะห์และวางแผนต่อไป               -  แนวทางการปรับองค์กรให้เหมาะสม  ได้แก่  การสร้างความเจริญเติบโต , การยกเลิก  , การชะลอ  ให้เป็นไปตามสถานะ การณ์ที่เหมาะสมและเป็นจริงที่สุด               2.  ด้านประสบการณ์ , ทักษะต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษา ในการเรียนรู้จาก  เนื้อหา  8  รายวิชาที่ผ่านมา  ดิฉันได้มีโอกาสได้รับรู้รายละเอียด  ทางวิชาการจากคณาจารย์ , การแลกเปลี่ยนความรู้  ความเข้าใจกับคณาจารย์ , เพื่อนนักศึกษาการสัมมนา , การนำเสนอในห้องทำให้พฤติกรรมโดยส่วนตัวของดิฉันพัฒนามากขึ้น  ในหลาย ๆ ด้าน เช่น               2.1  ทำให้กล้าแสดงออกมากขึ้น               2.2  ทำให้การตัดสินใจในงานต่าง ๆ ทั้งงานในอาชีพ  และชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างรวดเร็ว , มั่นใจ  มากขึ้น               2.3  ทำให้ดิฉันมีจริยธรรม , คุณธรรม , เมตตาธรรมมากขึ้น  โดยเฉพาะกับบุคลากรในความดูแลโดยตรงและผู้เกี่ยวข้อง               2.4  ทำให้เกิดความกล้าที่จะบริหารธุรกิจของตนเอง  ให้ก้าวไกลในทุก ๆ ด้าน               2.5  ทำให้ตนเองยอมรับ  การดำเนินการต่าง ๆ โดยใช้การวางแผนเป็นแม่บทในการจัดการ  และสามารถนำเสนอแผนงานที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมได้อย่างมาก               3.  ด้านสังคม ในโอกาสนี้ดิฉันได้เข้ามาเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้มีโอกาสพบปะกับคณาจารย์ , เพื่อนนักศึกษา , สถานประกอบการณ์ , ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่สำคัญที่สุด  ที่ทำให้ดิฉันมีสังคมที่กว้างไกลมากขั้น , มีเพื่อนรู้ใจมากขึ้น , ตลอดจนทำให้เข้าใจความเป็นมาของสังคมในด้านต่าง ๆ มากขึ้น               4.  แนวทางในอนาคต แม้ว่าดิฉันจะเริ่มเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้และได้ศึกษาตามรายวิชาบางส่วนของหลักสูตรที่ผ่านมา  ดิฉันเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างมากที่มีโอกาสได้เข้ามารับการเติมเต็ม  ให้แก่ตนเองอันจะเป็นผลโดยตรงต่อการพัฒนาทั้งอาชีพและงานที่รับผิดชอบอื่น ๆ สำหรับแนวทางในอนาคต  ดิฉันคาดว่า               4.1  พื้นฐานจาก 8 ราชวิชา ที่ได้ศึกษาแล้วจะเป็นพื้นฐานในการเรียน  ตามรายวิชาสภาวะผู้นำได้ระดับหนึ่ง               4.2  จะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในอาชีพที่ดำเนินการอยู่               4.3  ต้องการทำหน้าที่ผู้นำสถาบันการศึกษา , องค์การต่าง ๆ หรือการพัฒนาสังคมให้ความรู้ที่ยั่งยืนตลอดไปถึงแม้ว่าดิฉันจะผ่านการศึกษาตามหลักสูตร  เพียงบางส่วนของหลักสูตรก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่าอย่างมาก  สำหรับการศึกษาต่อไป  ตามหลักสูตรจะมีผลอย่างไรก็ตามดิฉันคิดว่า  ทั้งสาระ , ประสบการณ์ที่ได้รับทั้งหมดจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมอย่างมากตลอดไป  พนาวัลย์    คุ้มสุดID 106142010

(ต่อ)

 

สราวุฒิ ฉายแสง เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 16:43 จาก 124.157.168.247ภาวะผู้นำ จากการฟังการบรรยายในสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้เข้าใจถึงบทบาทที่ผู้นำควรปฏิบัติในระดับหนึ่ง คือการเป็นผู้นำนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความรู้ความสามารถ ที่สามารถถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้ การที่ลูกน้องทำผิดพลาดก็ต้องมีการตำหนิติเตียนตามเหตุผลพร้อมทั้งอธิบายวิธีการแก้ไขให้ทราบด้วยมีการวางแผนงานที่ชัดเจน รอบคอบ เพื่อที่จะทำให้องค์กรไปสู่เป้าหมายได้  ซึ่งต้องใช้ความรู้ ความสามารถ เป็นอย่างมาก เมื่อผู้นำแสดงให้เห็นถึงความสามารถก็จะเป็นที่ยอมรับของคนในหน่วยงานนั้นบางครั้งผู้นำก็ควรจะเป็นผู้ให้ เช่น ความรู้บางครั้งก็ต้องเป็นผู้รับ เช่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม  นางสาวหยาดอรุณ อาสาสำเร็จ เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 18:06 จาก 58.147.113.131สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ/นักศึกษา MBA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดและท่านผู้อ่านทุกท่าน   ดิฉัน  นางสาวหยาดอรุณ  อาสาสำเร็จ นักศึกษาปริญญาโท  บริหารธุรกิจ (หัวหิน)  รหัส 106142012สัปดาห์แรกของการศึกษาวิชาภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กรกับอาจารย์ยม ซึ่งท่านได้มอบหมายการบ้านให้ทำในสัปดาห์แรกจากหัวข้อจากการศึกษาเรื่องภาวะผู้นำของสัปดาห์แรก ได้อะไรกับตัวเราบ้างของ”  ความหมาย        ผู้นำ และภาวะผู้นำมีความแตกต่างกันตรงที่ผู้นำคือบุคคลที่มีอิทธิพลในการชักจูง โน้มน้าวบุคคลอื่นๆให้ปฏิบัติตามเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กรสำหรับภาวะผู้นำคือพฤติกรรมที่ถ่ายทอดออกมา ซึ่งสามารถทำให้บุคคลอื่นยอมรับและได้รับการสนับสนุนจากบุคคลอื่นๆในการดำเนินการใดๆเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ลักษณะที่ดีของผู้นำโดยทั่ว ๆ ไป 1.          มีวิสัยทัศน์2.          มีความสามารถริเริ่มและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆตลอดเวลา 3.          มีความยุติรรม และมีคุณธรรม4.          มีความซื่อสัตย์ 5.          มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และต่อหน้าที่ 6.          มีบุคลิกภาพดี 7.          ตรงต่อเวลา 8.          สุขุม รอบคอบ ใจเย็น 9.          มีการกระจายอำนาจอย่าง10.     ต้องเป็นผู้ที่ใฝ่รู้11.     มีความรู้เรื่องที่ทำงานอย่างชัดเจน 12.     ต้องรู้จักการให้อภัยและการวางเฉย  ผู้นำที่ดีจะต้องมี 7 ข้อที่สำคัญดังนี้1.    การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน2.   ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล (จะต้องมีความโปร่งใส, ซื่อสัตย์, ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของทุกฝ่าย, มีความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ และมีสามารถในการแข่งขัน)3.    มีความสามารถ4.     มีความสำนึกรับผิดชอบ 5.     มีความเป็นกลาง6.     การมุ่งสัมฤทธิ์ผล 7.     ความเป็นมืออาชีพ   ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี1.    มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง2.    ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง3.    ขาดความรับผิดชอบ 4.    การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้5.    ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน6.     แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง7.     ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม 8.    ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ9.      ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร ฯลฯ   ลักษณะผู้นำที่ดีควรมี 3 ลักษณะดังนี้1.    สามารถนำเสนอความคิดใหม่·         ทุนความรู้  ·         ทุนปัญญา ·         ทุนทางสังคม·         ทุนทาง IT 2.       สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้·         ทุนความเป็นมนุษย์·         ทุนทางความสุข 3.        สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้·         ทุนจริยธรรม คุณธรรม·         ทุนแห่งความยั่งยืน การที่จะเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องมีคุณลักษณะตามทฤษฏีภาวะผู้นำซึ่งมี 3 แบบดังนี้1.    ทฤษฎีเกี่ยวกับมีความทะเยอทะยาน (Ambition)·         มีความอุสาหะพากเพียร (Persistence)·         มีความกล้าหาญ (Courage)·         มีความเชื่อถือศรัทธา (Faith)·         มีความซื่อสัตย์มั่นคง (Integrity)·         มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity)·         มีความยุติธรรม (Justice)·         มีจุดมุ่งหมาย (Objectivity)·         มีความยืดหยุ่น (Flexibility)·         มีความสามารถในการตัดสินใจ (Decisiveness)·         มีวินัยในตนเอง (Self-Discipline)2.    ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ มุ่งที่พนักงาน และมุ่งที่ผลผลิต/งาน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มตามตารางพฤติกรรมการบริหาร ของ Robert R. Blake & Jane S. Mouton ดังนี้·         ผู้นำที่เน้นความสนใจที่คน ไม่ค่อยเน้นที่งาน·         ผู้นำที่ไม่สนใจทั้งงานและคน·         ผู้นำที่เอาใจใส่ทั้งคนและงาน·         ผู้นำที่เน้นความสนใจที่งาน ไม่ค่อยเน้นที่คน·         ผู้นำที่เดินสายกลาง3.    ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์  สามารถแบ่งยอยออกได้เป็น 3 ลักษะคือ3.1.   ตัวแบความไม่แน่นอนของเฟรด ฟิดเลอร์·   เมื่อสถานการณ์เอื้อต่อการใช้ความเป็นผู้นำ กลุ่มจะตั้งใจทำงานโดยไม่ต้องมีการคะยั้นคะยอมาก·         บุคคลแต่ละคนจึงควรทำงานในสถานการณ์ที่เหมาะกับแบบภาวการณ์เป็นผู้นำของเขา·         ต้องเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เพื่อให้สอดคล้องกับแบบภาวการณ์เป็นผู้นำของเขาเอง3.2.   ทฤษฏีวิถีทางสู่เป้าหมาย3.3.   ทฤษฏีภาวการณ์เป็นผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์ซี และเบลนชาร์ด  สมรรถนะหลัก 5 ด้าน ในการนำไปสู่ภาวะผู้นำยุคใหม่1. ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆดังนี้·         การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง·         มีความคิดสร้างสรรค์และใช้นวัตกรรม ·         ตระหนักถึงผลกระทบจากภายนอก ·         ความยืดหยุ่น ·         ปรับเปลี่ยนได้·         จูงใจใฝ่บริหาร ·         การคิดเชิงกลยุทธ์ ·         การมีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกลได้ดี    2.   ศักยภาพในการเป็นผู้นำ·         การบริหารความขัดแย้ง ·         ตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรม ·         ความจงรักภักดี / ความซื่อสัตย์ ·         สร้างทีมงาน    3.   การมุ่งผลสัมฤทธิ์·         ความรับผิดชอบ ·         การให้บริการลูกค้า ·         การตัดสินใจ ·         ความเป็นผู้ประกอบการ ·         การแก้ไขปัญหา ·         มีเทคนิคที่เชื่อถือได้   4.   ความเฉียบคมทางการบริหาร ·         การบริหารจัดการด้านการเงิน·         การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์·         การบริหารจัดการด้านเทคโนโลยี·         การบริหารลูกค้า  5.    การสร้างความเข้าใจ ·         การเจรจาต่อรอง·         ทักษะด้านคน การโน้มน้าว·         ความสามารถในการสื่อสารด้วยวาจา·         ความสามารถในการมีส่วนร่วม ·         ความรอบรู้ด้านการเมือง·         ความสามารถในการสื่อสารด้วยการเขียน  ในการเป็นผู้นำที่ดีนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการสร้างและการรักษาอำนาจของตนไว้ เพื่อให้การศรัทธาและบารมีในการทำการใดๆ ซึ่งเทคนิค 5 ข้อทีสำคัญคือ1.     การให้ (โดยการให้ความรู้, โอกาส, ให้อภัย)2.     การติ / สั่งสอน (โดยการติอย่างมีเมตตา และใช้ความประนีประนอม)3.     การแสดงตนว่าเป็นผู้รู้มากกว่าลูกน้อง4.     การอ้างอิงถึงผู้ที่มีความสำคัญและเป็นที่เคารพของบุคคลอื่น5.     นิติกรรม หรือการดำเนินการใดทีแสดงเป็นลายลักษณ์อักษร (ผังการแต่งตังในองค์กร)  การชี้วัดผู้นำที่ดีจะต้องมี CEO ในการดำเนินธุรกิจคือC คือ ความพึงพอใจของลูกค้าE คือ ความพึงพอใจของพนักงานO คือ ผลประกอบการ  ทฤษฎี  8  K’s  ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 1.    ทุนแห่งความยั่งยืน       2.    ทุนทางสังคม       3.    ทุนทางจริยธรรม       4.    ทุนแห่งความสุข       5.    ทุนทาง IT       6.    ทุนทางปัญญา       7.    ทุนทางความรู้ ทักษะ Mind set       8.    ทุนมนุษย์  แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศตามหลักของ JACK WELCH จะต้องมี 4E’s 1.     ENERGY Drive/ Embraces/ Change2.     ENERGIZE Vision / Sparks / Others3.     EDGE Strong Competitor/ Makes Difficult Decisions 4.     EXECUTION Delivers Results/Consistent / Performer  การพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่มีศักยภาพสูง  ซึ่งจะต้องรู้จักเรียนรู้ให้มากขึ้นโดการพัฒนาความตนเองในด้านต่างๆดังนี้1.    คล่องคิด ล่วงรู้ปัญหา รู้แจ้ง เผชิญความยุ่งยากได้หลากหลาย อย่างเป็นสุข มีแง่คิด มีปัญญา2.    คล่องคน รู้เขา รู้เรา เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้อื่น สร้างโอกาส เย็นสงบ สุขุม สง่างามภายใต้แรงกดดันได้3.    คล่องผล ทำให้ผู้คนมีพลังทำงานได้สำเร็จ ให้ผลงานได้เกินคาด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อื่น ส่งมอบผลงานที่ยากได้4.    คล่องเปลี่ยน ใฝ่รู้ สู้ยิ่งยาก ไม่ย่นระย่อ ชอบทดลอง ปรับเปลี่ยน สนใจที่จะพัฒนาตน สร้างนวัตกรรม 3 หลักการ กับ 2 เงื่อนไข ปรัชญาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีดังนี้·        3 หลักการ คือการรู้จักพอประมาณ, การมีเหตุมีผล, และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี·   2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ (จะต้องมีความรอบรู้ รอบคอบ และรู้จักระมัดระวัง) และเงื่อนไขคุณธรรม (จะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต, มีสติ ปัญญา ขยัน และอดทน และรู้จักการแบ่งปัน) การฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มีดังนี้
  • ระเบิดจากข้างใน
  • ปลูกจิตสำนึก
  • เน้นให้พึ่งตนเองได้
  • คำนึงถึงภูมิสังคม
  • ทำตามลำดับขั้น
  • ประหยัด เรียบง่าย
    ประโยชน์สูงสุด
  • บริการที่จุดเดียว
  • แก้ปัญหาจากจุดเล็ก
  • ไม่ติดตำรา
  • ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
  • การมีส่วนร่วม
  • รู้ รัก สามัคคี
  • มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่
        นางสาวหยาดอรุณ อาสาสำเร็จ รหัส 106142012  อ.สุดาภรณ์ (A' Lotus) เมื่อ พฤ. 01 มี.ค. 2550 @ 04:36 จาก 203.155.94.129  สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ/อ.ยม นาคสุข และนักศึกษา MBA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดและท่านผู้อ่านทุกท่าน ขออนุญาตแชร์ไอเดียเพิ่มเติมในส่วนเนื้อหาที่อาจารย์ยมได้สอนเรื่อง ภาวะผู้นำ ซึ่งมีเนื้อหาที่ดีและทันสมัย เป็นเรื่องใหม่และสมารถนำไปสู่การบูรณาการได้เป็นอย่างดี คะ ดิฉันมีความคิดเห็นเพิ่มเติม ดังนี้ในโลกปัจจุบันเป็นสังคมฐานความรู้ (Knowledge - Base Society) ความรู้ ถือ เป็นทรัพยากรหลักในการพัฒนาระดับความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมและเจ้าของความรู้ก็คือ คน(Human) ดังนั้น ภาวะผู้นำควรต้องเป็นบุคคลที่ เป็น Knowledge Worker จะต้องใช้ ความรู้ เป็นหลักในการทำงานปีเตอร์ เอฟ ดรักเกอร์ ปรมาจารย์นักจัดการของโลก กล่าวไว้ในคศ.ที่19 ซึ่งน้าจะยังคงเป็นจริงในคศ.ที่21 และในอนาคตต่อไปได้เสนอปัจจัยหลักที่กำหนด Knowledge Worker productivity 6 ปัจจัย ดังนี้1 What is the task ? งานคืออะไร 2 Autonomy อิสระควบคุมตัวเองได้3 Continuing Innovation นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง4 Continuing learning เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง5 Continnuing teaching สอนอย่างต่อเนื่อง6 Productivity = Quality ผลงานมีคุณภาพ7 Asset มองและปฎิบัติอย่างเป็นสินทรัพย์       6 ปัจจัยดังกล่าวน่าจะเป็นพฤติกรรมหนึ่งของ  ภาวะผู้นำต้องมีและสำคัญที่สุดในตัวผู้นำต้องมี คือ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Continuing Learning)หรือที่เราเรียกว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life - Long Learning) หาความรู้ให้อาหารสมองและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอสวัสดีคะอาจารย์สุดาภรณ์ (A' Lotus) นายเอกราช ดลยสกุล MBA 6 เมื่อ พฤ. 01 มี.ค. 2550 @ 10:29 จาก 203.113.67.167 สวัสดีท่าน อาจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์และนักศึกษาทุกคนเรียนแล้วได้อะไรบ้าง พูดถึงในสังคมยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้หลายองค์กรต้องพบกับความหายนะในปัจจุบันที่เป็นอยู่แต่ในทางตรงกันข้ามการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันก็ยังสร้างโอกาสให้กับองค์กรให้ประสบความสำเร็จมาแล้วในปัจจุบันด้วยเช่นกัน ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่มีผู้นำที่มีภาวะผู้นำที่ดีที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของปัจจุบันได้และสามารถนำพาองค์กรไปสู่การแข่งขันที่เป็นเลิศทางธุรกิจได้ผู้นำ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร            ภาวะผู้นำ คือ  พลังชนิดหนึ่งที่สามารถส่งแรงกระทำอันก่อให้เกิดการขับเคลื่อนกลุ่มคน และนำองค์กรไปสู่การบรรลุเป้าหมายและจุดประสงค์            ยกตัวอย่าง บิลล์ เกตส์ ผู้นำซอฟแวร์ของโลก มีภาวะผู้นำดังนี้
  1.  ใฝ่รู้
  2. คิดสร้างสรรค์
  3. คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์ 
  4.  ทุนทางปัญญา
  5. กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ
 ลักษณะผู้นำที่ดีผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน1.  สามารถนำเสนอความคิดใหม่
  • ทุนความรู้
  • ทุนปัญญา
  • ทุนทางสังคม
2.  สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้
  • ทุนความเป็นมนุษย์
  • ทุนทางความสุข
3.  สามารถสร้

(ต่อ)

 

สราวุฒิ ฉายแสง เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 16:43 จาก 124.157.168.247ภาวะผู้นำ จากการฟังการบรรยายในสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้เข้าใจถึงบทบาทที่ผู้นำควรปฏิบัติในระดับหนึ่ง คือการเป็นผู้นำนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความรู้ความสามารถ ที่สามารถถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้ การที่ลูกน้องทำผิดพลาดก็ต้องมีการตำหนิติเตียนตามเหตุผลพร้อมทั้งอธิบายวิธีการแก้ไขให้ทราบด้วยมีการวางแผนงานที่ชัดเจน รอบคอบ เพื่อที่จะทำให้องค์กรไปสู่เป้าหมายได้  ซึ่งต้องใช้ความรู้ ความสามารถ เป็นอย่างมาก เมื่อผู้นำแสดงให้เห็นถึงความสามารถก็จะเป็นที่ยอมรับของคนในหน่วยงานนั้นบางครั้งผู้นำก็ควรจะเป็นผู้ให้ เช่น ความรู้บางครั้งก็ต้องเป็นผู้รับ เช่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม  นางสาวหยาดอรุณ อาสาสำเร็จ เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 18:06 จาก 58.147.113.131สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ/นักศึกษา MBA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดและท่านผู้อ่านทุกท่าน   ดิฉัน  นางสาวหยาดอรุณ  อาสาสำเร็จ นักศึกษาปริญญาโท  บริหารธุรกิจ (หัวหิน)  รหัส 106142012สัปดาห์แรกของการศึกษาวิชาภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กรกับอาจารย์ยม ซึ่งท่านได้มอบหมายการบ้านให้ทำในสัปดาห์แรกจากหัวข้อจากการศึกษาเรื่องภาวะผู้นำของสัปดาห์แรก ได้อะไรกับตัวเราบ้างของ”  ความหมาย        ผู้นำ และภาวะผู้นำมีความแตกต่างกันตรงที่ผู้นำคือบุคคลที่มีอิทธิพลในการชักจูง โน้มน้าวบุคคลอื่นๆให้ปฏิบัติตามเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กรสำหรับภาวะผู้นำคือพฤติกรรมที่ถ่ายทอดออกมา ซึ่งสามารถทำให้บุคคลอื่นยอมรับและได้รับการสนับสนุนจากบุคคลอื่นๆในการดำเนินการใดๆเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ลักษณะที่ดีของผู้นำโดยทั่ว ๆ ไป 1.          มีวิสัยทัศน์2.          มีความสามารถริเริ่มและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆตลอดเวลา 3.          มีความยุติรรม และมีคุณธรรม4.          มีความซื่อสัตย์ 5.          มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และต่อหน้าที่ 6.          มีบุคลิกภาพดี 7.          ตรงต่อเวลา 8.          สุขุม รอบคอบ ใจเย็น 9.          มีการกระจายอำนาจอย่าง10.     ต้องเป็นผู้ที่ใฝ่รู้11.     มีความรู้เรื่องที่ทำงานอย่างชัดเจน 12.     ต้องรู้จักการให้อภัยและการวางเฉย  ผู้นำที่ดีจะต้องมี 7 ข้อที่สำคัญดังนี้1.    การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน2.   ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล (จะต้องมีความโปร่งใส, ซื่อสัตย์, ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของทุกฝ่าย, มีความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ และมีสามารถในการแข่งขัน)3.    มีความสามารถ4.     มีความสำนึกรับผิดชอบ 5.     มีความเป็นกลาง6.     การมุ่งสัมฤทธิ์ผล 7.     ความเป็นมืออาชีพ   ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี1.    มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง2.    ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง3.    ขาดความรับผิดชอบ 4.    การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้5.    ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน6.     แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง7.     ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม 8.    ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ9.      ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร ฯลฯ   ลักษณะผู้นำที่ดีควรมี 3 ลักษณะดังนี้1.    สามารถนำเสนอความคิดใหม่·         ทุนความรู้  ·         ทุนปัญญา ·         ทุนทางสังคม·         ทุนทาง IT 2.       สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้·         ทุนความเป็นมนุษย์·         ทุนทางความสุข 3.        สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้·         ทุนจริยธรรม คุณธรรม·         ทุนแห่งความยั่งยืน การที่จะเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องมีคุณลักษณะตามทฤษฏีภาวะผู้นำซึ่งมี 3 แบบดังนี้1.    ทฤษฎีเกี่ยวกับมีความทะเยอทะยาน (Ambition)·         มีความอุสาหะพากเพียร (Persistence)·         มีความกล้าหาญ (Courage)·         มีความเชื่อถือศรัทธา (Faith)·         มีความซื่อสัตย์มั่นคง (Integrity)·         มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity)·         มีความยุติธรรม (Justice)·         มีจุดมุ่งหมาย (Objectivity)·         มีความยืดหยุ่น (Flexibility)·         มีความสามารถในการตัดสินใจ (Decisiveness)·         มีวินัยในตนเอง (Self-Discipline)2.    ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ มุ่งที่พนักงาน และมุ่งที่ผลผลิต/งาน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มตามตารางพฤติกรรมการบริหาร ของ Robert R. Blake & Jane S. Mouton ดังนี้·         ผู้นำที่เน้นความสนใจที่คน ไม่ค่อยเน้นที่งาน·         ผู้นำที่ไม่สนใจทั้งงานและคน·         ผู้นำที่เอาใจใส่ทั้งคนและงาน·         ผู้นำที่เน้นความสนใจที่งาน ไม่ค่อยเน้นที่คน·         ผู้นำที่เดินสายกลาง3.    ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์  สามารถแบ่งยอยออกได้เป็น 3 ลักษะคือ3.1.   ตัวแบความไม่แน่นอนของเฟรด ฟิดเลอร์·   เมื่อสถานการณ์เอื้อต่อการใช้ความเป็นผู้นำ กลุ่มจะตั้งใจทำงานโดยไม่ต้องมีการคะยั้นคะยอมาก·         บุคคลแต่ละคนจึงควรทำงานในสถานการณ์ที่เหมาะกับแบบภาวการณ์เป็นผู้นำของเขา·         ต้องเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เพื่อให้สอดคล้องกับแบบภาวการณ์เป็นผู้นำของเขาเอง3.2.   ทฤษฏีวิถีทางสู่เป้าหมาย3.3.   ทฤษฏีภาวการณ์เป็นผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์ซี และเบลนชาร์ด  สมรรถนะหลัก 5 ด้าน ในการนำไปสู่ภาวะผู้นำยุคใหม่1. ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆดังนี้·         การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง·         มีความคิดสร้างสรรค์และใช้นวัตกรรม ·         ตระหนักถึงผลกระทบจากภายนอก ·         ความยืดหยุ่น ·         ปรับเปลี่ยนได้·         จูงใจใฝ่บริหาร ·         การคิดเชิงกลยุทธ์ ·         การมีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกลได้ดี    2.   ศักยภาพในการเป็นผู้นำ·         การบริหารความขัดแย้ง ·         ตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรม ·         ความจงรักภักดี / ความซื่อสัตย์ ·         สร้างทีมงาน    3.   การมุ่งผลสัมฤทธิ์·         ความรับผิดชอบ ·         การให้บริการลูกค้า ·         การตัดสินใจ ·         ความเป็นผู้ประกอบการ ·         การแก้ไขปัญหา ·         มีเทคนิคที่เชื่อถือได้   4.   ความเฉียบคมทางการบริหาร ·         การบริหารจัดการด้านการเงิน·         การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์·         การบริหารจัดการด้านเทคโนโลยี·         การบริหารลูกค้า  5.    การสร้างความเข้าใจ ·         การเจรจาต่อรอง·         ทักษะด้านคน การโน้มน้าว·         ความสามารถในการสื่อสารด้วยวาจา·         ความสามารถในการมีส่วนร่วม ·         ความรอบรู้ด้านการเมือง·         ความสามารถในการสื่อสารด้วยการเขียน  ในการเป็นผู้นำที่ดีนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการสร้างและการรักษาอำนาจของตนไว้ เพื่อให้การศรัทธาและบารมีในการทำการใดๆ ซึ่งเทคนิค 5 ข้อทีสำคัญคือ1.     การให้ (โดยการให้ความรู้, โอกาส, ให้อภัย)2.     การติ / สั่งสอน (โดยการติอย่างมีเมตตา และใช้ความประนีประนอม)3.     การแสดงตนว่าเป็นผู้รู้มากกว่าลูกน้อง4.     การอ้างอิงถึงผู้ที่มีความสำคัญและเป็นที่เคารพของบุคคลอื่น5.     นิติกรรม หรือการดำเนินการใดทีแสดงเป็นลายลักษณ์อักษร (ผังการแต่งตังในองค์กร)  การชี้วัดผู้นำที่ดีจะต้องมี CEO ในการดำเนินธุรกิจคือC คือ ความพึงพอใจของลูกค้าE คือ ความพึงพอใจของพนักงานO คือ ผลประกอบการ  ทฤษฎี  8  K’s  ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 1.    ทุนแห่งความยั่งยืน       2.    ทุนทางสังคม       3.    ทุนทางจริยธรรม       4.    ทุนแห่งความสุข       5.    ทุนทาง IT       6.    ทุนทางปัญญา       7.    ทุนทางความรู้ ทักษะ Mind set       8.    ทุนมนุษย์  แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศตามหลักของ JACK WELCH จะต้องมี 4E’s 1.     ENERGY Drive/ Embraces/ Change2.     ENERGIZE Vision / Sparks / Others3.     EDGE Strong Competitor/ Makes Difficult Decisions 4.     EXECUTION Delivers Results/Consistent / Performer  การพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่มีศักยภาพสูง  ซึ่งจะต้องรู้จักเรียนรู้ให้มากขึ้นโดการพัฒนาความตนเองในด้านต่างๆดังนี้1.    คล่องคิด ล่วงรู้ปัญหา รู้แจ้ง เผชิญความยุ่งยากได้หลากหลาย อย่างเป็นสุข มีแง่คิด มีปัญญา2.    คล่องคน รู้เขา รู้เรา เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้อื่น สร้างโอกาส เย็นสงบ สุขุม สง่างามภายใต้แรงกดดันได้3.    คล่องผล ทำให้ผู้คนมีพลังทำงานได้สำเร็จ ให้ผลงานได้เกินคาด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อื่น ส่งมอบผลงานที่ยากได้4.    คล่องเปลี่ยน ใฝ่รู้ สู้ยิ่งยาก ไม่ย่นระย่อ ชอบทดลอง ปรับเปลี่ยน สนใจที่จะพัฒนาตน สร้างนวัตกรรม 3 หลักการ กับ 2 เงื่อนไข ปรัชญาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีดังนี้·        3 หลักการ คือการรู้จักพอประมาณ, การมีเหตุมีผล, และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี·   2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ (จะต้องมีความรอบรู้ รอบคอบ และรู้จักระมัดระวัง) และเงื่อนไขคุณธรรม (จะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต, มีสติ ปัญญา ขยัน และอดทน และรู้จักการแบ่งปัน) การฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มีดังนี้
  • ระเบิดจากข้างใน
  • ปลูกจิตสำนึก
  • เน้นให้พึ่งตนเองได้
  • คำนึงถึงภูมิสังคม
  • ทำตามลำดับขั้น
  • ประหยัด เรียบง่าย
    ประโยชน์สูงสุด
  • บริการที่จุดเดียว
  • แก้ปัญหาจากจุดเล็ก
  • ไม่ติดตำรา
  • ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
  • การมีส่วนร่วม
  • รู้ รัก สามัคคี
  • มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่
นางสาวหยาดอรุณ อาสาสำเร็จ รหัส 106142012  อ.สุดาภรณ์ (A' Lotus) เมื่อ พฤ. 01 มี.ค. 2550 @ 04:36 จาก 203.155.94.129  สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ/อ.ยม นาคสุข และนักศึกษา MBA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดและท่านผู้อ่านทุกท่าน ขออนุญาตแชร์ไอเดียเพิ่มเติมในส่วนเนื้อหาที่อาจารย์ยมได้สอนเรื่อง ภาวะผู้นำ ซึ่งมีเนื้อหาที่ดีและทันสมัย เป็นเรื่องใหม่และสมารถนำไปสู่การบูรณาการได้เป็นอย่างดี คะ ดิฉันมีความคิดเห็นเพิ่มเติม ดังนี้ในโลกปัจจุบันเป็นสังคมฐานความรู้ (Knowledge - Base Society) ความรู้ ถือ เป็นทรัพยากรหลักในการพัฒนาระดับความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมและเจ้าของความรู้ก็คือ คน(Human) ดังนั้น ภาวะผู้นำควรต้องเป็นบุคคลที่ เป็น Knowledge Worker จะต้องใช้ ความรู้ เป็นหลักในการทำงานปีเตอร์ เอฟ ดรักเกอร์ ปรมาจารย์นักจัดการของโลก กล่าวไว้ในคศ.ที่19 ซึ่งน้าจะยังคงเป็นจริงในคศ.ที่21 และในอนาคตต่อไปได้เสนอปัจจัยหลักที่กำหนด Knowledge Worker productivity 6 ปัจจัย ดังนี้1 What is the task ? งานคืออะไร 2 Autonomy อิสระควบคุมตัวเองได้3 Continuing Innovation นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง4 Continuing learning เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง5 Continnuing teaching สอนอย่างต่อเนื่อง6 Productivity = Quality ผลงานมีคุณภาพ7 Asset มองและปฎิบัติอย่างเป็นสินทรัพย์       6 ปัจจัยดังกล่าวน่าจะเป็นพฤติกรรมหนึ่งของ  ภาวะผู้นำต้องมีและสำคัญที่สุดในตัวผู้นำต้องมี คือ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Continuing Learning)หรือที่เราเรียกว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life - Long Learning) หาความรู้ให้อาหารสมองและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอสวัสดีคะอาจารย์สุดาภรณ์ (A' Lotus) นายเอกราช ดลยสกุล MBA 6 เมื่อ พฤ. 01 มี.ค. 2550 @ 10:29 จาก 203.113.67.167 สวัสดีท่าน อาจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์และนักศึกษาทุกคนเรียนแล้วได้อะไรบ้าง พูดถึงในสังคมยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้หลายองค์กรต้องพบกับความหายนะในปัจจุบันที่เป็นอยู่แต่ในทางตรงกันข้ามการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันก็ยังสร้างโอกาสให้กับองค์กรให้ประสบความสำเร็จมาแล้วในปัจจุบันด้วยเช่นกัน ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่มีผู้นำที่มีภาวะผู้นำที่ดีที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของปัจจุบันได้และสามารถนำพาองค์กรไปสู่การแข่งขันที่เป็นเลิศทางธุรกิจได้ผู้นำ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร            ภาวะผู้นำ คือ  พลังชนิดหนึ่งที่สามารถส่งแรงกระทำอันก่อให้เกิดการขับเคลื่อนกลุ่มคน และนำองค์กรไปสู่การบรรลุเป้าหมายและจุดประสงค์            ยกตัวอย่าง บิลล์ เกตส์ ผู้นำซอฟแวร์ของโลก มีภาวะผู้นำดังนี้
  1.  ใฝ่รู้
  2. คิดสร้างสรรค์
  3. คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์ 
  4.  ทุนทางปัญญา
  5. กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ
 ลักษณะผู้นำที่ดีผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน1.  สามารถนำเสนอความคิดใหม่
  • ทุนความรู้
  • ทุนปัญญา
  • ทุนทางสังคม
2.  สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้
  • ทุนความเป็นมนุษย์
  • ทุนทางความสุข
3.  สามารถสร้าง ความสุขให้กับคนอื่นได้
  • ทุนจริยธรรม คุณธรรม
  • ทุนแห่งความยั่งยืน
คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร
  1. การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน
  2.  ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล
  3. มีความสามารถ
  4.  มีความสำนึกรับผิดชอบ
  5.  มีความเป็นกลาง
  6.  การมุ่งสัมฤทธิ์ผล
  7.  ความเป็นมืออาชีพ
ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี
  1. มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
  2. ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3. ขาดความรับผิดชอบ
  4. การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้
  5. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน
  6.  แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
  7.  ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม
  8. ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ
  9.   ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร ฯลฯ
ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ
  1. ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ
  2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม
  3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์
พัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำ
  1. คล่องคิด  ล่วงรู้ปัญหา รู้แจ้ง เผชิญความยุ่งยากได้หลากหลาย อย่างเป็นสุข มีแง่คิด มีปัญญา
  2. คล่องคน  รู้เขา รู้เรา เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้อื่น สร้างโอกาส เย็นสงบ สุขุม สง่างามภายใต้แรงกดดันได้
  3. คล่องผล  ทำให้ผู้คนมีพลังทำงานได้สำเร็จ ให้ผลงานได้เกินคาด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อื่น ส่งมอบผลงานที่ยากได้
  4. คล่องเปลี่ยน ใฝ่รู้ สู้ยิ่งยาก ไม่ย่นระย่อ ชอบทดลอง ปรับเปลี่ยน สนใจที่จะพัฒนาตน สร้างนวัตกรรม
ผู้นำ กับการแก้ไขปัญหา  เมื่อมีปัญหาต้องแก้ไข 
  • ต้องรู้ว่าอะไรคือตัวปัญหา
  • สาเหตุ
  • แนวทางเลือกในการแก้ปัญหา
  • ลงมือปฏิบัติ (เลือกวิธีที่ดีที่สุด)
  • ติดตามผลแล้ว
  • พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา
หัวข้อที่ผมยกขึ้นมานี้ แสดงให้เห็นและเข้าใจถึง การที่จะเป็นผู้นำและแรงขับดันความรู้สึกของผู้นำหรือสิ่งที่ผู้นำควรมี และรูปแบบการแก้ไขปัญหาแบบผู้นำ อีกหัวข้อหนึ่งที่ทำให้ผมเข้าใจและเห็นภาพคือความแตกต่างระหว่างการเป็นเจ้านายกับการเป็นผู้นำ 1.    ผู้นำสร้างปณิธานให้แก่ผู้ตาม 2.    ผู้นำอาศัยเจตจำนงที่เสรี 3.    ผู้นำแผ่ความรัก ปรารถนาดี 4.    ผู้นำ พูดว่า "เรา" 5.    ผู้นำแสดงให้รู้ว่าอะไรที่ผิด และควรทำอย่างไร 6.    ผู้นำรู้ว่าจะทำงานอย่างไร 7.    ผู้นำบริหารความเคารพ การที่องค์กรมีผู้นำที่ดีและสามารถอยู่รอดได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ว่าจะเป็นผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดหรือฉลาดที่สุดแต่เป็นผู้ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดและสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสร้างศรัทธาให้กับบุคคลอื่นได้ให้เกิดความเชื่อถือศรัทธาในต้วของผู้นำเองด้วยนายเอกราช  ดลยสกุลมหาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด MBA 6
นางจำเนียร อำภารักษ์ ID 106142002 รุ่น 6 เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 17:33 จาก 222.123.114.154 เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน                 เมื่อวันที่  2 - 3 มีนาคม  2550 ศึกษาภาวะผู้นำจาก อ.ยม ได้รับความรู้และการปฏิบัติฝึกให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริง พร้อมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพูดบุคลิกภาพ และอื่น ๆ               วันที่  2  มีนาคม  2550 อ.ยม สอนเรื่อง ทศพิธราชธรรม               ทศพิธ  แปลว่า  10  อย่าง               ราชธรรม  แปลว่า  ธรรมสำหรับพระราชา               ทศพิธราชธรรม  เป็นธรรมของนักปกครอง 10 ประการ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับใดก็ตาม ควรยึดมั่นในทศพิธราชธรรม                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขด้วยทศพิธราชธรรม  ดังพระปฐมบรมราชโองการ เมื่อครั้งเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อวันที่  5  พฤษภาคม 2493 ความว่า                "เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม  เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"                ทศพิธราชธรรม  10  ประการ ได้แก่1.    ทาน คือ  การให้2.    ศีล  ผู้นำต้องตั้งอยู่ในศีลธรรม 3.    จาคะ  คือ  การบริจาค เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น4.    อาชวะ ผู้นำต้องมีความซื่อตรงต่อตนเอง ต่อหน้าที่ ต่อผู้ร่วมงาน5.    มัทวะ  คือ ความสุภาพ อ่อนโยน6.    ตปะ  การแผดเผาความโลภ  ดังคำกล่าวว่า รู้จักพอไม่ก่อทุกข์7.    อักโกธะ  คือ ความไม่โกรธ  ระงับอารมณ์8.    อวิหิงสา คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น9.    ขันติ คือ ความอดทน10.   อวิโรธนะ  คือ ความไม่คลาดจากธรรม ปกครองแบบธรรมาธิปไตยช่วงเช้าของวันที่  3  มีนาคม  2550   การบริหารองค์กร สาเหตุของความเสี่ยง1.    การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง2.    สมาชิกในองค์กรสำคัญตนผิด คิดว่าองค์กรยิ่งใหญ่ สามารถการันตีอนาคตได้3.    ไม่ไยดีในนวัตกรรมใหม่ ๆ 4.    ขาดการวางแผนระยะยาว ขาดวิสัยทัศน์ ขาดงบประมาณ ขาดคน  ขาดลูกค้า5.    การไม่ให้ความสำคัญทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะคนที่มีคุณค่าในองค์กร การสุญเสียคนที่มีคุณค่า ยิ่งกว่าเสียเงินมากมาย อ.ยม ยกตัวอย่าง ผู้บริหารบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ที่ประสบความสำเร็จใช้ทฤษฎี "กางร่ม"ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง1.    การตื่นตัวขององค์กร2.    การตั้งทีมเจ้าภาพ3.    ให้ทีมกำหนดวิสัยทัศน์ , กลยุทธ์ Action Plan4.    ทีมเจ้าภาพ เข้าใจกลยุทธ์ , สอนได้ , สื่อได้ , โน้มน้าวได้5.    ให้ทุกคนมีส่วนร่วม ร่วมมือในการที่จะเปลี่ยนแปลง พัฒนา นวัตกรรมขึ้นมา6.    รวบรวมผลลัพธ์จากการกระทำ มาสรุปผล และประเมินผล7.    การสร้างชัยชนะในระยะสั้น8.    การกำหนดแนวปฏิบัติใหม่เป็นรูปธรรมมากขึ้น9.    พัฒนาอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้า , ขององค์กร และของพนักงาน แนวทางนำไปประยุกต์ใช้ใน "ธุรกิจบริการ"1.    รวดเร็ว2.    ลูกค้าสะดวกสบาย3.    เชื่อถือได้4.    ปฏิบัติเสมอภาค5.    สร้างความไว้วางใจได้6.    การดูแลเอาใจใส่อ.ยม พูดถึง คุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งดิฉันได้สรุปคำ 2 คำ นี้แล้ว ตามความคิดของตนเองว่าแตกต่างกันดังนี้คุณธรรม คือ  แนวหลักในการปฏิบัติ ซึ่งปรากฎในทุก ๆ ศาสนา แต่สำหรับศาสนาพุทธ คุณธรรมใช้หลักธรรม อริยสัจ 4 และอิทธิบาท 4 แล้วนำเอาหลักธรรมที่กล่าวนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของแต่ละบุคคลจริยธรรม  คือ  พฤติกรรมที่ถูกต้องดีงาม ดังนั้นคนที่มีจริยธรรมดี ต้องมีคุณธรรมทีดีมาก่อนอ.ยมให้แบ่งกล่มทำงานส่ง แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 7 คน โดยให้ไปสรุปเนื้อหาภาคภาษาอังกฤษ เป็นภาษาไทยประมาณ 1 หน้ากระดาษ A4 ในช่วงบ่ายของวันที่  3 มีนาคม 2550 อ.ยม            ให้ทำงานกลุ่ม ในหัวข้อ1.    ในความเห็นของกลุ่ม จริยธรรมของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ดมีอะไรบ้าง2.    ในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำ จริยธรรมของผู้นำที่พึ่งมีต่อองค์กร ต่อทีมงาม ต่อสังคม และต่อประเทศชาติ เป็นอย่างไรใช้กลุ่มเดิมที่แบ่งในช่วงเช้า ระดมความคิดประมาณ 30 นาที ส่งตัวแทนพูด       หลังจากนั้น อ.ยม ฝึกความเป็นผู้นำให้นักศึกษาทุกคนได้แสดงออก โดยให้นักศึกษาพูดถึงหัวข้อ" ในชีวิตท่าน ณ วันนี้ มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ท่านประสบผลความสำเร็จและมีจริยธรรมประจำใจอะไร"         เมื่อทุกคนนำเสนอความคิดเห็น อ.ยมกล่าวสรุปและข้อเสนอแนะที่ต้องปรับปรุง         อ.ยม  แนะนำให้จำโมเดลที่เป็นรูปต้นไม้         เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง          ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในหลวงทรงมีพระราชดำริ ให้คนไทยมีความสุขอย่างยั่งยืนแนวทางการดำเนินชีวิต เป็นกรอบแนวความคิด เพื่อความยั่งยืนตั้งอย่บนหลักการและเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันรองรับความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องมีความรู้คู่คุณธรรม        สุดท้ายนี้ ดิฉันได้ยกเอาคำกลอน ของ ศ.อำไพ  สุจริตกุล ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของผู้นำ                 ความรู้  คู่  คุณธรรม  "      เมื่อความรู้     ยอดเยี่ยม    สูงเทียมเมฆแต่คุณธรรม         ต่ำเฉก       ยอดหญ้านั่นอาจเสกสร้าง       มิจฉา         สารพันด้วยจิตอัน          ไร้อาย        ในโลกา     แม้นคุณธรรม  สูงเยื่ยม      ถึงเทียมเมฆแต่ความรู้           ต่ำเฉก      เพียงยอดหญ้าย่อมเป็นเหยื่อ      ทรชน        จนอุราด้วยปัญญา         อ่อนด้อย    น่าน้อยใจ      หากความรู้    สูงล้ำ        คุณธรรมเลิศแสนประเสริฐ      กอปรกิจ      วินิจฉัยจะพัฒนา         ประชาราษฎร์   ทั้งชาติไทยต้องฝึกให้        ความรู้           คู่คุณธรรม   
นายนิคม อำภารักษ์ ID 106142006 รุ่น 6 เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 17:53 จาก 222.123.114.154       สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ  และ อ.ยม       จากการเรียนในวันที่  2-3 มี.ค. 2550  อ. ได้พูดถึงจริยธรรมของการเป็นผู้นำจริยธรรม มาจาก จริย + ธรรม คือ ความประพฤติที่ควรปฏิบัติในหมู่คณะจริยธรรม จึงเป็นหลักเกณฑ์หรือกฎที่สังคมใช้ในการตัดสินว่า การกระทำใด เป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ควรปฏิบัติและการกระทำใดที่ไม่ควรปฏิบัติทั้งต่อตัวเองและผู้อื่นประโยชน์ของจริยธรรม·       อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข·       สำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ·       พัฒนาชีวิตให้สำเร็จตามเป้าหมาย·       สามารถแก้ปัญหาชีวิตและความทุกข์ให้หมดไปได้·       เป็นเครื่องยึดเหนี่ยมและป้องกันการเบียดเบียนในทางส่วนตัวของสังคม·       พัฒนาคุณภาพชีวิตจริยธรรมของผู้นำรัฐ + เอกชน ตามแนวความคิดของ พลเอกเปรม  ·       ซื่อสัตย์·       ปฏิบัติตามกฎระเบียบ·       บริหารการจัดการด้วยความเป็นธรรม·       บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ·       บริหารให้เกิดความมั่นใจ มั่งคง โดยใช้หลักพุทธศาสนา·       ปลูกฝังค่านิยมให้ถูกต้อง·       เป็นคุณงามความดี ความรัก ความเมตตาจริยธรรมของผู้นำ ต่อองค์กร ·       มุ่งทำงานทุ่มเทการทำงานเพื่อความก้าวหน้าขององค์กร·       ศึกษาใฝ่เรียนใฝ่รู้อยู่เสมอ เพื่อนำความรู้มาพัฒนาองค์กร·       ซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อองค์กร·       มีความเป็นธรรม มีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนร่วมงาน·       มีความคิดริเริ่ม สิ่งใหม่ ๆ เพื่อสร้างให้องค์กรก้าวหน้าจริยธรรมของผู้นำต่อสังคม·       ดูแลเอาใจใส่กิจการขององค์กรไม่ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม·       ให้ความร่วมมือกับชุมชนและสังคม·       ละเว้นการประกอบธุรกิจที่ทำให้สังคม·       เคารพสิทธิของผู้อื่นLeadership Strategies for  change(ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง)2 ทฤษฎีในการเปลี่ยนแปลง1.    Top  down  เบื้องบนสั่งการ (ส่วนใหญ่เป็นองค์กรในระบบราชการ)2.    Bottom  up (เปลี่ยนแปลงจากระดับล่าง) ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมบทบาทของผู้นำต่อการเปลี่ยนแปลง (Leadership Strategies for  change) ·       ให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมสามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ร่วมงาน·       มีความอดทนอดกลั้น ·       กำหนดเป้าหมายชัดเจนว่าเปลี่ยนแปลงอะไร ·       ผุ้นำที่เก่งต้องบริหารการขัดแย้งได้ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงขององค์กร·       ประชาสัมพันธ์ให้คนในองค์กรทราบ ตั้งคณะกรรมการกำหนดกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการคิด·       ให้ทุกส่วนขององค์กรมีส่วนร่วม ร่วมมือในการที่จะเปลี่ยนแปลงพัฒนา·       รวบรวมผลลัพธ์กับการกระทำ , รวบรวมข้อมูลสรุปผลประเมินผล·       นำผลสำเร็จมาดำเนินงาน·       กำหนดแนะปฏิบัติใหม่ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID:105342002 MBA STAMFORD INTERNATIONAL UNIVERSITY

 นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID:105342002 เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 00:56 (182777)

สวัสดีครับท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม  นาคสุขและเพื่อนๆนักศึกษาม.นานาชาติสแตมฟอร์ดทุกท่าน       

 

จากการศึกษาวิชาภาวะผู้นำในวันที่2และ3มีนาคมที่ผ่านมาท่านอ.ยมได้ให้ความรู้ในเรื่อง Change-Leadership และ จริยธรรม ยุทธศาสตร์พัฒนาภาวะผู้นำ       

  1. ประโยชน์ของภาวะผู้นำ (ระดมความคิดเห็น)       
  2. ยุทธศาสตร์การพํฒนาภาวะผู้นำ            
  3. จริยธรรม ความหมายและกรอบแนวคิด

ประเด็นที่มีการเสวนากัน สรุปได้ดังนี้ครับ

1. ภาวะผู้นำมีประโยชน์อย่างไร?

จากความเห็นของข้าพเจ้าภาวะผู้นำมีประโยชน์ในด้านต่างๆดังนี้

-ต่อตนเอง  

  1. มีโอกาสรู้จักคนได้มากขึ้น               
  2. มีความอดทนมากขึ้น               
  3. ทำให้มีคุณธรรม จริยธรรม               
  4. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ตนเองดีขึ้น

-ต่อครอบครัว      

  1. มีความซื่อสัตย์                      
  2. สร้างกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว                       
  3. เปิดโอกาสให้คนในครอบคร้วแสดงความคิดเห็น

-ต่อสังคม   

  1. สร้างจิตสำนึกให้รักชุมชน               
  2. รับผิดชอบต่อสังคม           

-ต่อองค์กร  

  1. นำองค์กรสู่ความสำเร็จ              
  2. สร้างความเชื่อมั่นให้องค์กร               
  3. พนักงานมีขวัญกำลังใจดี 

แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำ   เทคนิค 10 ประการฝึกตนให้เป็นผู้นำ

แบบญี่ปุ่น

  1. ฝึกเป็นคนมีมีวินัย เช่น ตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท
  2.  มีมารยาททางสังคม  ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของญี่ปุ่น
  3. ฝึกเป็นคนขยัน  อดทนเป็น
  4. nterprise Spirit  กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ
  5. Team Work  คนญี่ปุ่นยึดฉันทามติ จงรักภักดีต่อองค์กร  ทำงานแบบอุทิศ  ทุ่มเท
  6. มีนิสัยรักการอ่าน
  7.  รักความสะอาด  ความบริสุทธิ์
  8.  มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง
  9. รักในศักดิ์ศรี ชาตินิยม
  10. พัฒนาตลอดเวลา  ไม่หยุดนิ่ง  และกระตือรือร้น      

หลักธรรมที่ใช้ยึดถือในการควบคุม การใช้อำนาจของผู้นำ  

  1.  หิริ  ได้แก่ความละอายใจ  ละอายต่อการกระทำชั่ว
  2. โอตตัปปะ  ความเกรงกลัวต่อบาป  ความชั่ว
  3. ขันติ  ความอดทน อดกลั้นที่จะไม่กระทำสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย
  4. โสรัจจะ  ความสงบเสงี่ยม  รักษาอากัปกิริยาให้เหมาะสม 

พัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม

  1. ทานัง คือ การให้ ซึ่งได้แก่ อามิสทาน(การให้สิ่งของ) ธรรมทาน(การให้ความรุ้) และ อภัยทาน
  2. ศีล คือการมีความประพฤติดีงาม สำรวมกาย วาจาใจ ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน 
     
  3. บริจาคะ (การบริจาค) การเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
  4. อาชชวะ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน ซื่อตรงต่อคำพูด ซื่อตรงต่อวิชาชีพ
  5. มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ซึ่งถ้าเป็นยุคนี้ต้องเรียกว่ามีความใจกว้างในการรับฟัง ไม่ดื้อ ไม่รั่น ไม่บ้า หรือมัวเมาในอำนาจ                            
  6. ตปะ ได้แก่ ความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว พยายามลดกิเลสของตน ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีอำนาจ ที่จะมีโอกาสจะเห็นผลประโยชน์รูปแบบต่างๆวิ่งผ่านหน้า ตปะ จะเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้ง ไม่ให้คนดี เสียคน
     
  7. อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท หรือจงเกลียดจงชังคนใดคนหนึ่งหรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักปกครองคนใด ครองธรรมมะข้อนี้ไม่ได้ ก้อาจจะนำไปสุ่การสร้างความอยุติธรรมในการตัดสินใจ
     
  8. อวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน, ลูกน้องของตน ,หน่วยงาน และครอบครัวตนเอง เพราะการเบียดเบียนนำไปสุ่การเอาเปรียบ การเอาเปรียบบ่อยๆ ก็ทำให้เสียนิสัยและนำไปสุ่ พฤติกรรมคอร์รัปชั่น
     
  9. ขันติ ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นความโลภ ต่อแรงกดดันต่างๆ
     
  10. อวิโรธนะ ความโปร่งใส วิโรธนะ การทำงาน อย่าให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย นั่นคือการทำงานอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา 

ฝึกตนเป็นคนมีภาวะผู้นำ
กำจัด รักษา พัฒนา ป้องกัน

  1. เพียรกำจัด (ลด ละ เลิก) สิ่งที่ไม่ดี ข้อบกพร่องหรืออกุศล ให้หมดไป                     
  2. เพียรรักษา (รักษา) สิ่งที่ดี คุณภาพดีๆ มาตรฐานงานดีๆ วินัย หรือกฎข้อบังคับ ความรู้ ภูมิปัญญา ของตน ขององค์กร ให้คงอยู่ ยั่งยืนนาน                                                                  
  3. เพียรระวัง (ป้องกัน) มิให้สิ่งที่ไม่ดี เข้าครอบงำ มีข้อบกพร่อง ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยเน้นที่การดับที่เหตุรากเหง้า
  4. เพียรเจริญ (พัฒนาปรับปรุง) สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ทำอยู่ให้เจริญขึ้น หรือดีขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายขั้นสูง 

Yom, 2005, 6 . สำหรับฝึกภาวะผู้นำ 

  • ท.ที่ 1 ท่าที  มีท่าทีที่ดี
  • ท.ที่ 2 ท้าทาย ทำงานที่ยากกว่า คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่
  • ท.ที่ 3 ทน ต้องอดทน
  • ท.ที่ 4 เที่ยงธรรม
  • ท.ที่ 5  ทำ
  • ท.ที่ 6 ทบทวน หมั่นทบทวน 

4 E’s Leadership

  1. Energy  ฝึกตนให้เป็นคนมีพลังเหนือชั้น ฝึกจิตใต้สำนึก
  2. Energize ฝึกตนให้เป็นคนที่สามารถกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพ    ทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง(ทฤษฎีกางร่ม)
  3. Edge ฝึกตนให้กล้าตัดสินใจ ให้ถูกจังหวะ
  4. Execution  ฝึกตนให้เป็นผู้ที่ต้องทำให้เสร็จและสำเร็จวัดผลได้ 

6 C’s Leadership

  1. Conversations ติดต่อ ปราศรัย สร้างสัมพันธ์ดี
  2. Communicating ฝึกสื่อสาร สื่อสารให้เป็น  
  3.  Culture  มีวัฒนธรรม เข้าได้ทุกระดั
  4. Creating change  สร้าง/บริหารการเปลี่ยนแปลง 
  5. Creating team  สร้าง/บริหารที
  6. Charisma  เก่ง กล้า สามารถ     

 

เรื่องจริยธรรม ที่ได้รับการเรียนการสอน จาก อ.ยม สรุปได้ดังนี้ 

จริยธรรม =จริยะ +  ธรรมะ =  (คำกริยา) ความประพฤติ  กริยาที่ควรปฏิบัติ 

ธรรมะ  หรือ ธรรม   แปลได้หลายอย่างธรรมะ  แปลว่า  หน้าที่  กฎ  หลักเกณฑ์ธรรมะ  แปลว่า  ธรรมชาติ  ธรรมดา  สิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ความแตกต่างระหว่าง ศีลธรรม จริยธรรม จรรณยาบรรณ 

ตารางเปรียบความแตกต่างระหว่างศีลธรรม จริยธรรม และจรรณยาบรรณ

ลักษณะความแตกต่าง ศีลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ
รากฐานที่มา ศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม กลุ่มวิชาชีพกำหนดขึ้น
การบังคับใช้ ใช้เฉพาะคนในศาสนา ไม่บังคับใช้ขึ้นกับจิตสำนึก คุมความประพฤติเฉพาะกลุ่มในวิชาชีพเดียวกันเท่านั้น
ลักษณะการประพฤติปฎิบัติ หลักคำสอนทางศาสนา เป็นเรื่องของจิตใจที่ดีงามกระทำออกมาถูกต้อง เป็นกติกาที่กลุ่มบุคคลยึดเป็นแนวทางปฎิบัติ
ประโยชน์ ผู้ประพฤติธรรมย่อมเป็นสุข สังคมสงบสุข ต่อผู้ประกอบอาชีพผู้ใช้บริการสังคมและประเทศ

 

ภาพรวม ประโยชน์ของ จริยธรรม

ประโยชน์ต่อมนุษยชาติ

  • ช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
  • สำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติพัฒนาชีวิตให้สำเร็จตามเป้าหมาย
  • สามารถแก้ปัญหาชีวิตและความทุกข์ให้หมดไปได้มีเครื่องยึดเหนี่ยว และ
  • ป้องกันการเบียดเบียนกันในทางส่วนตัวและ
  • สังคมพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นชีวิตที่สมบูรณ์ 

จริยธรรม มีประโยชน์อย่างไรต่อองค์กร? 

  • Quality worker : คนมีคุณภาพ
  • Quality Organization : องค์การมีคุณภาพ
  • Quality Service/Product : สินค้า บริการ มีคุณภาพEmployee
  • Retention : เก็บรักษาบุคลากรไว้ได
  • Customer Satisfaction : สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้
  • Orientation Trust : สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์การ
  • Market Orientation : ทำตลาดได้Profitability : สร้างผลกำไรได้
  • Team Building : สร้างทีมงานOrganization result: ผลประกอบการดีขึ้น

 

ประเด็นต่อมาที่ได้จาก อ.ยม คือเรื่อง ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงในที่นี้คือการพัฒนา ผู้นำต้องพร้อมรับปัญหา และความเจ็บปวดที่อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลง

ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง เทคนิคขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้

  1. ต้องทำให้คนในองค์กรตื่นตัวทั่วทั้งองค์กร
  2. ตั้งทีมเจ้าภาพ
  3. .ตั้งแผนเพื่อทำการชี้วัดแผนกลยุทธ์
  4. สื่อวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ ให้เข้าใจและสามารถโน้มน้าวเชิญชวนได้
  5. ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสร้างInnovationใหม่ๆ
  6. รวบรวมผลลัพธ์จากการทำมาประเมินผลดูว่าเป็นอย่างไรบ้าง
  7. สร้างชัยชนะระยะสั้น
  8. กำหนดแผนระยะสั้นลึกลงไปเป็นวัฒนธรรมองค์กร
  9. .พัฒนาอย่างต่อเนื่องสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า     

ประเด็นต่อมา ที่เสวนากัน คือกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง มี 2 กลยุทธ์ คือ

(2 Strategies for Changes) 

  1. Top Down (Programmatic)“Teaching & Application of Existing Knowledge" รวดเร็ว ประหยัด  แต่พนักงานระดับล่างไม่มีส่วนร่วม  มีการต่อต้าน 
  2. Bottom-Up (Learning)“Stepwise Creation of Meaning & Understanding" พนักงานระดับล่างต้องมีส่วนร่วม ทำให้รู้สึกเป็นเจ้าของ  ความสำเร็จระยะยาว   แต่ต้องใช้เวลามากในการทำความเข้าใจ LEADERSHIP FOR CHANGE (ความเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง)

 

ผู้นำที่มีภาวะผู้นำที่ดีต้องมีความสามารถในการบริหารความขัดแย้งได้

  •  Partnership (มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน)
  • Endurability (มีความอดทน อดกลั้น)
  • Management by objectives (MBO)(บริหารโดยวัตถุประสงค์)
  •  Acting as driving force (ลงมือปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อน)
  • Conflict solving (คลี่คลายข้อโต้แย้ง IMPLEMENTATION SKILLS (ทักษะในการดำเนินการ)
  •  Sustainability (มีความคงเส้นคงวา)
  •  Applying appropriate change methods (เลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง)
  • Reinforcing and correcting feedback loops (แก้ไขผลสะท้อนที่ได้รับกลับมา และทำให้เกิดผล)
  • Developing shared mental models      (วางรูปแบบความรู้สึกร่วมกันในสภาวะทางใจ)    
  • THE ROLE OF THE LEADER WHEN IMPLEMENTING CHANGE
    (บทบาทของผู้นำเมื่อปฏิบัติให้เกิดการเปลี่ยนแปลง)
  • The leader represents the company and the change – However needs to listen to the staff (ผู้นำ คือ ตัวแทนขององค์กร และการเปลี่ยนแปลง แต่ควรต้องฟังความคิดเห็นของพนักงานด้วย)
  • The leader tends to overestimate how to inform the staff (ผู้นำอาจมองข้ามความสำคัญในการชี้แจงให้พนักงานทราบ)
  • The leader must create good communication channels (ผู้นำควรสร้างช่องทางการสื่อสารที่ดี)

ผู้นำคือ Brand ขององค์กร  จึงควรพัฒนาตนเองให้ดีและมีคุณธรรม  

กิจกรรมบางส่วนในห้องเรียน อาจารย์ให้แต่ละคนออกมาพูด เพื่อฝึกภาวะผู้นำ ดังนี้

ถาม…..ในชีวิตของท่านมีอะไรที่ประสบความสำเร็จด้านใดบ้าง  มีภาวะผู้นำอะไรบ้าง  มีจริยธรรมประจำใจอะไรบ้าง

  • ด้านการศึกษา               

-จบการศึกษาระดับม.ปลายที่ ร..เทพศิรินทร์               

-จบปริญญาตรีที่ ม.หอการค้าไทยด้านธุรกิจ   

ประสบความสำเร็จในด้านยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์   สูงสุดในจ.ประจวบคีรีขันธ์-ได้รับรางวัลโชว์รูมยามาฮ่าสแควร์ยอดเยี่ยม  คะแนนเต็ม    100%  8 เดือนติดต่อกัน

-ได้รับเกียรติให้เป็นศูนย์บริการยามาฮ่าระดับ 5ดาว  โดยเป็นศูนย์บริการดีเด่น 3 ปี ด้านสังคม  

-ทำโครงการ Matching Grant สโมสรโรตารีปราณบุรีโครงการเครื่องมือแพทย์เพื่อชุมชนให้แก่ร..ปราณบุรี และสถานีอนามัย 7แห่งในเขตอ.ปราณบุรี               

-ส่งน..แลกเปลี่ยนไป U.S.A. ภาวะผู้นำ

-มีวิสัยทัศน์และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วทันเวลา 

จริยธรรมประจำใจ: คือ เป็นผู้นำ ต้องมีคุณธรรม "คุณธรรมค้ำจุนโลก"

นายบุญยอด มาคล้าย MBA STAMFORD INTERNATIONAL UNIVERSITY

นายบุญยอด มาคล้าย เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 11:36 (182028)  

สวัสดีครับท่าน ศ.ดร.จีระ ท่าน อ.ยมและเพื่อนนักศึกษาทุกท่านครับ  

 

เป็นสัปดาห์ที่สองแล้วที่ผมได้เรียนภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ได้รู้คือได้รู้ถึงแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำว่าในฐานะที่เราเป็นผู้นำเราควรพัฒนาตัวเราหรือตัวผู้นำเพื่อนำพาองค์กรที่เราบริหารอยู่ให้ไปในทิศทางใดถึงจะนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศและพร้อมที่จะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงผันแปรต่างๆที่จะเกิดขึ้นต่อไปภายหน้า 

 

โดยท่าน อ.ยมได้ให้แนวทางในการเป็นผู้นำที่ดีจะต้องมีสิ่งต่อไปนี้คือผู้นำจะต้องเป็นผู้รอบรู้มีความรู้ที่ใหม่และสดเสมอผู้นำจะต้องเป็นคนที่มีเหตุมีผลผู้นำจะต้องรู้จักประมาณตนเองหรือเป็นอยู่อย่างพอประมาณผู้นำจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองและองค์กรและสุดท้ายผู้นำจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม          ในสิ่งที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นลักษณะหรือเป็นภาพกว้างๆของผู้นำที่ดีท่าน  

 

อ.ยมได้สอนลงลึกไปถึงการป้องกันองค์กรล่มสลาย  สอนถึงว่าถ้าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงจะมีเทคนิคในการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อคนเหล่านี้คือ

-ลูกค้า

-พนักงาน

-เจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วน 

 

โดยถ้าจะต้องเปลี่ยนแปลงจริงๆนั้นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงสิ่งเป็นสำคัญ 3 อย่างต่อไปนี้คือ

  1. -ความพึงพอใจของลูกค้า
  2. -ความพึงพอใจของพนักงาน
  3. -ผลประกอบการ 

ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแล้วไม่กระทบสามอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้นนับว่าประสบผลสำเร็จไปขั้นหนึ่งที่บอกว่าขั้นหนึ่งนั้นเพราะการเป็นผู้นำนั้นจะต้องตื่นตัวตลอดเวลาไหนจะต้องมาเจอกับปัญหาความขัดแย้งในองค์กร 

 

ผู้นำจะต้องเข้าไปแก้ปัญหาให้ความขัดแย้งนั้นหมดไปและเป็นไปตามความพึงพอใจของทุกฝ่ายและยังมีปัญหาอีกหลาย ๆ อย่างให้ต้องแก้ไขตลอดเวลาจะอย่างไรก็แล้วแต่ ใครในฐานะที่สวมบทบาทผู้นำ   การบริหารใดๆไม่มีสูตรสำเร็จที่จะวางหลักการบริหารครั้งเดียวแล้วใช้ได้ไปตลอดจะต้องวางแผน ปรับปรุง แก้ไขตลอดเวลาเพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์กรและต้องแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจเพื่อความเติบโตขององค์กร  

 

ในส่วนของยุทธศาสตร์กับการเปลี่ยนแปลง 2 แนวทางคือ แนวทางแรกTOP DOWN กับ BOTTOM UP จะไม่ขอพูดถึง 

 

และอีกเรื่องหนึ่งคือการบริหารโดยนำหลักทศพิศราชธรรม มีอะไรบ้างผมได้คัดลอกทางอินเตอร์เน็ทมาฝากเพื่อนๆก็อ่านกันเอาเองน๊ะครับเพราะมีประโยชน์มาก 

 

ท้ายนี้ก็ขอฝากขอบพระคุณท่านอาจารย์ยมที่ตั้งใจถ่ายทอดวิชาทั้งในและนอกเวลาและขอบคุณในความตั้งใจดีมา ณ ที่นี้ด้วย 

ขอบคุณครับ  

 

ทศพิศราชธรรม  

ขอเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในปีมหามงคลฉลองครบรอบ 60 ปี แห่งการครองราชย์  

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 นับเนื่องมาจนปัจจุบัน พระองค์ได้ทรงดำรงมั่นใน ทศพิธราชธรรมหลักธรรมแห่งพระมหากษัตริย์ โดยมีพระปฐมบรมราชโองการที่ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” 

 

ทศพิธราชธรรม เป็นคุณธรรมหลักของพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งได้ปฏิบัติสืบทอดต่อเนื่องยาวนานมาแต่โบราณกาล ในการปกครองบ้านเมืองให้มีความร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งประกอบด้วย

  1. ทาน คือการให้ เป็นการช่วยผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออันเนื่องมาจากความขัดข้องแร้นแค้น ด้วยการสละทรัพย์ สิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ด้อยและอ่อนแอกว่าบนผืนดินแผ่นฟ้าเดียวกัน
  2.  ศีล คือการรักษาความสุจริต มีความประพฤติดีงาม ละเว้นจากสิ่งไม่ดีทั้งหลาย สำรวมกาย และวจีกรรม และประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เกิดความสงบงามอยู่เสมอ
  3. บริจาคะ คือการสละสิ่งที่มีประโยชน์น้อย เพื่อสิ่งที่มีประโยชน์มาก ดั่งการแบ่งปันทรัพย์สินนอกกาย ให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ อันเป็นการเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม
  4. อาชชวะ คือความประพฤติซื่อตรง มีความจริงใจด้วยการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่การงานตลอดจนสังคมชนหมู่มาก
  5. มัททวะ คือความอ่อนโยน สุภาพ ทั้งกาย วาจา ใจ ในทุกสภาวการณ์ มีสัมมาคารวะอ่อนน้อม ไม่แสดงความแข็งกระด้าง และไม่แสดงการยกตนเหนือคนอื่น
  6. ตบะ คือความเพียร กล้าทำในสิ่งที่ควรทำ ไม่เกียจคร้าน ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างสม่ำเสมอ ไม่บกพร่อง มีจิตใจหนักแน่น ไม่อ่อนแอและไม่ย่อท้อโดยง่าย
  7. อักโกธะ คือความไม่โกรธ มีจิตที่ประกอบด้วยเมตตา และปรารถนาดีเป็นที่ตั้ง รู้จักให้อภัย ข่มใจให้เย็นอยู่เป็นนิจ
  8.  อวิหิงสา คือการไม่ทำอะไรที่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนทั้งทางตรงและทางอ้อม มีจิตประกอบด้วยกรุณาและช่วยเหลืออยู่เสมอ พร้อมให้เกียรติผู้อยู่แวดล้อม
  9. ขันติ คือการมีความอดทนอดกลั้น รู้จักอดทนต่อความตรากตรำต่าง ๆ สามารถเผชิญต่อความยากลำบากได้อย่างเข้มแข็ง ไม่หวาดหวั่นและท้อแท้ต่อสิ่งใด ๆ
  10. อวิโรธนะ คือการวางตนให้หนักแน่น ตั้งมั่นในธรรม ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหว รอบคอบ ยึดถือความเที่ยงธรรมและความยุติธรรมเป็นหลัก 

ของฝากจากบุญยอด  มาคล้าย ครับ 

 

4 มีนาคม 2550  02.50 น.106242011

MBA 7

นางจำเนียร อำภารักษ์ MBA STAMFORD INTERNATIONAL UNIVERSITTY เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 10:44 (183020)
นางจำเนียร อำภารักษ์ ID 106142002 รุ่น 6 เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 17:25 (182328)  

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน     

            เมื่อวันที่  2 - 3 มีนาคม  2550 ศึกษาภาวะผู้นำจาก อ.ยม ได้รับความรู้และการปฏิบัติฝึกให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริง พร้อมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพูดบุคลิกภาพ และอื่น ๆ                

วันที่  2  มีนาคม  2550 อ.ยม สอนเรื่องแนวทางการฝึกตนให้มีภาวะผู้นำ สูงขึ้น ด้วยการปฏิบัติตามหลักทศพิธราชธรรม             

ทศพิธ  แปลว่า  10  อย่าง              

ราชธรรม  แปลว่า  ธรรมสำหรับพระราชา               ทศพิธราชธรรม  เป็นธรรมของนักปกครอง 10 ประการ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับใดก็ตาม ควรยึดมั่นในทศพิธราชธรรม                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขด้วยทศพิธราชธรรม  ดังพระปฐมบรมราชโองการ เมื่อครั้งเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อวันที่  5  พฤษภาคม 2493 ความว่า  "เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม  เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"                 ทศพิธราชธรรม  10  ประการ ได้แก่
  1. ทาน คือ  การให้
  2.  ศีล  ผู้นำต้องตั้งอยู่ในศีลธรรม
  3. จาคะ  คือ  การบริจาค เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น
  4. อาชวะ ผู้นำต้องมีความซื่อตรงต่อตนเอง ต่อหน้าที่ ต่อผู้ร่วมงาน
  5.  มัทวะ  คือ ความสุภาพ อ่อนโยน
  6.  ตปะ  การแผดเผาความโลภ  ดังคำกล่าวว่า รู้จักพอไม่ก่อทุกข์
  7.  อักโกธะ  คือ ความไม่โกรธ  ระงับอารมณ์
  8.  อวิหิงสา คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
  9.  ขันติ คือ ความอดทน
  10. อวิโรธนะ  คือ ความไม่คลาดจากธรรม ปกครองแบบธรรมาธิปไตย
 ช่วงเช้าของวันที่  3  มีนาคม  2550   การบริหารองค์กร สาเหตุของความล้มสลายขององค์กร ได้แก่
  1.  การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
  2.  สมาชิกในองค์กรสำคัญตนผิด คิดว่าองค์กรยิ่งใหญ่ สามารถการันตีอนาคตได้
  3. ไม่ไยดีในนวัตกรรมใหม่ ๆ
  4.  ขาดการวางแผนระยะยาว ขาดวิสัยทัศน์ ขาดงบประมาณ ขาดคน  ขาดลูกค้า
  5. การไม่ให้ความสำคัญทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะคนที่มีคุณค่าในองค์กร การสุญเสียคนที่มีคุณค่า ยิ่งกว่าเสียเงินมากมาย
 อ.ยม ยกตัวอย่าง ผู้บริหารบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ที่ประสบความสำเร็จใช้ทฤษฎี "กางร่ม" ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง
  1. การตื่นตัวขององค์กร
  2. การตั้งทีมเจ้าภาพ
  3. ให้ทีมกำหนดวิสัยทัศน์ , กลยุทธ์ Action Plan
  4. ทีมเจ้าภาพ เข้าใจกลยุทธ์ , สอนได้ , สื่อได้ , โน้มน้าวได้
  5. ให้ทุกคนมีส่วนร่วม ร่วมมือในการที่จะเปลี่ยนแปลง พัฒนา นวัตกรรมขึ้นมา
  6. รวบรวมผลลัพธ์จากการกระทำ มาสรุปผล และประเมินผล
  7. การสร้างชัยชนะในระยะสั้น
  8. การกำหนดแนวปฏิบัติใหม่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
  9. พัฒนาอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้า , ขององค์กร และของพนักงาน
 แนวทางนำไปประยุกต์ใช้ใน "ธุรกิจบริการ ให้มีมูลค่าเพิ่มยิ่งขึ้น"
  1. รวดเร็ว
  2. ลูกค้าสะดวกสบาย
  3. เชื่อถือได้
  4. ปฏิบัติเสมอภาค
  5. สร้างความไว้วางใจได้
  6. การดูแลเอาใจใส่
 อ.ยม พูดถึง คุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งดิฉันได้สรุปคำ 2 คำ นี้แล้ว ตามความคิดของตนเองว่าแตกต่างกันดังนี้
  • คุณธรรม คือ  แนวหลักในการปฏิบัติ ซึ่งปรากฎในทุก ๆ ศาสนา แต่สำหรับศาสนาพุทธ คุณธรรมใช้หลักธรรม อริยสัจ 4 และอิทธิบาท 4 แล้วนำเอาหลักธรรมที่กล่าวนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล
  • จริยธรรม  คือ  พฤติกรรมที่ถูกต้องดีงาม ดังนั้นคนที่มีจริยธรรมดี ต้องมีคุณธรรมทีดีมาก่อนอ.ยมให้แบ่งกล่มทำงานส่ง แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 7 คน โดยให้ไปสรุปเนื้อหาภาคภาษาอังกฤษ เป็นภาษาไทยประมาณ 1 หน้ากระดาษ A4
 

ในช่วงบ่ายของวันที่  3 มีนาคม 2550 อ.ยม   ให้ทำงานกลุ่ม ในหัวข้อ

 

1.    ในความเห็นของกลุ่ม จริยธรรมของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ดมีอะไรบ้าง

 

2.    ในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำ จริยธรรมของผู้นำที่พึ่งมีต่อองค์กร ต่อทีมงาม ต่อสังคม และต่อประเทศชาติ เป็นอย่างไรใช้กลุ่มเดิมที่แบ่งในช่วงเช้า ระดมความคิดประมาณ 30 นาที ส่งตัวแทนพูด   

     

หลังจากนั้น อ.ยม ฝึกความเป็นผู้นำให้นักศึกษาทุกคนได้แสดงออก โดยให้นักศึกษาพูดถึงหัวข้อ" ในชีวิตท่าน ณ วันนี้ มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ท่านประสบผลความสำเร็จและมีจริยธรรมประจำใจอะไร"         เมื่อทุกคนนำเสนอความคิดเห็น อ.ยมกล่าวสรุปและข้อเสนอแนะที่ต้องปรับปรุง

         

อ.ยม  แนะนำให้จำและทำความเข้าใจโมเดลที่เป็นรูปต้นไม้        

เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง          ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในหลวงทรงมีพระราชดำริ ให้คนไทยมีความสุขอย่างยั่งยืนแนวทางการดำเนินชีวิต เป็นกรอบแนวความคิด เพื่อความยั่งยืนตั้งอย่บนหลักการและเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันรองรับความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องมีความรู้คู่คุณธรรม         

สุดท้ายนี้ ดิฉันได้ยกเอาคำกลอน ของ ศ.อำไพ  สุจริตกุล ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของผู้นำ 

                

 ความรู้  คู่  คุณธรรม  "  

  

เมื่อความรู้         ยอดเยี่ยม        สูงเทียมเมฆ

 

แต่คุณธรรม              ต่ำเฉก             ยอดหญ้านั่น

 

อาจเสกสร้าง           มิจฉา               สารพัน

 

ด้วยจิตอัน                 ไร้อาย             ในโลกา

 

     แม้นคุณธรรม       สูงเยื่ยม            ถึงเทียมเมฆ

 

แต่ความรู้                  ต่ำเฉก              เพียงยอดหญ้า

 

ย่อมเป็นเหยื่อ            ทรชน               จนอุรา

 

ด้วยปัญญา                อ่อนด้อย           น่าน้อยใจ

 

      หากความรู้           สูงล้ำ                คุณธรรมเลิศ

 

แสนประเสริฐ              กอปรกิจ           วินิจฉัย

 

จะพัฒนา                    ประชาราษฎร์   ทั้งชาติไทย

 

ต้องฝึกให้                   ความรู้              คุ่คุณธรรม

นายราเชนทร์ แดงโรจน์ MBA STAMFORD INTERNATIONAL UNIVERSITY
 

นายราเชนทร์ แดงโรจน์ เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 10:41 (183017)

 
มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด (หัวหิน)

รหัสวิชา/ชื่อวิชา ภว.524 ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

อาจารย์ผู้สอน ศ.ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์ และทีม Chira Academy

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ/อาจารย์ยม/นักศึกษา MBA มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด หัวหิน เพื่อน ๆ ร่วมวิชาเรียนในหัวข้อดังกล่าวทุกท่าน

สัปดาห์ที่ผ่านมาในวันศุกร์ที่ 2 และเสาร์ ที่ 3 มีนาคม 2550 ผมและนักศึกษาร่วมชั้นในการเรียนวิชา "ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร" ได้รับฟังการสอนและบรรยายจากอาจารย์ยม นาคสุข เป็นสัปดาห์ที่ 2 ของพวกเรา และท่านอาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาส่งรายงานลง Blog ในเรื่อง "เรียนกับอาจารย์แล้วได้อะไร" ทั้งนี้ผมคาดว่าวิธีการสอนและให้นำเสนอทบทวนการเรียนผ่าน Blog เพื่อให้ท่านอาจารย์ประเมินนักศึกษาว่า มีความเข้าใจในเนื้อหา และจะนำไปประยุกต์ปรับปรุงกับตนเองและองค์กรได้อย่างไร วิธีการที่คิดหรือการวางแผนถูกต้องหรือไม่ ในส่วนของผมคงจับประเด็นในการเรียนครั้งนี้ ได้ 2 ประเด็น กล่าวคือ

    1. ในส่วนของกิจกรรม
    2. ในส่วนของลำดับการบรรยายของอาจารย์

 

ในส่วนของกิจกรรม แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

1. ให้นักศึกษาแต่ละท่านในชั้นเรียน ได้กรอกและเรียงลำดับแบบสอบถามความสำคัญของคุณลักษณะผู้นำ หรือ ภาวะผู้นำซึ่งมีให้เรียงถึง 50 ข้อ และให้ประเมินตนเองว่า ในแต่ละหัวข้อ นักศึกษามีจุดดี และจุดที่จะต้องแก้ไขอย่างไร และให้หัวข้อใดมีความสำคัญกว่ากัน เรียงลำดับจาก 1-50 ตามแบบสอบถามที่อาจารย์ได้จัดทำขึ้น

- สิ่งที่ผมได้รับจากการประเมินตนเอง คือ ในชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานในองค์กร บางครั้งผมจะมองสิ่งรอบ ๆ ตัว มากกกว่ามองตนเอง เมื่อได้รับแบบสอบถามครั้งนี้ทำให้กลับมานึกถึงจุดบกพร่องของตนเองที่จะต้องแก้ไขในฐานะผู้นำ พร้อม ๆ ไปกับสิ่งหรือบุคคลรอบ ๆ ตัวเอง และบางหัวข้อใน 50 ข้อ ทำให้ผมมีข้อคิดว่า บางข้อผมยังไม่ได้ทำ และบางอย่างยังทำไม่ได้ดี ดังนั้นถ้ามผมพยายามจะเป็นผู้นำที่ดี ผมควรจะต้องรีบปรับปรุงตนเองมากขึ้นนั่นเอง

2. ให้นักศึกษาแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ โดยให้แสดงความคิดเห็นร่วมกันในกลุ่มของตน และให้ตัวแทนของกลุ่มมานำเสนอข้อสรุปให้กับนักศึกษาทั้งชั้นเรียนได้รับทราบความคิดเห็นของกลุ่ม โดยกิจกรรมนี้มีคำถามจากอาจารย์ยมให้กับนักศึกษา 2 ข้อ

ก. จริยธรรมของนักศึกษา MBA ของมหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด หัวหิน ในชั้นเรียนของผม ควรจะเป็นอย่างไร

ข. จริยธรรมของผู้นำต่อองค์กร ควรจะเป็นอย่างไร

- สิ่งที่ผมได้รับจากการแสดงความคิดเห็นของกลุ่มตนเอง และได้ฟังเพื่อน ๆ ร่วมชั้นเรียนแต่ละกลุ่มอธิบายและตอบคำถามของโจทย์ที่อาจารย์ให้มา เป็นประโยชน์ต่อตัวผมเอง เพราะการทำงานเป็นกลุ่ม ย่อมจะต้องมีความคิดหลากหลาย ดังนั้น การเป็นผู้นำที่ดี ควรจะต้องผู้ฟังที่ดีด้วย และการทำงานเป็นทีมจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับเพื่อน ๆ ร่วมกลุ่มตลอดจนเพื่อนักศึกษาร่วมชั้นทุกท่านด้วย จึงจะสรุปเป็นจริยธรรมโดยรวมได้ นอกจากนี้ความคิดเห็นตลอดจนการนำเสนอของนักศึกษาผู้แทนแต่ละกลุ่มเป็นไปอย่างมีคุณภาพ โดยมีอาจารย์คอยแนะนำและเสริมให้สมบูรณ์ในทุก ๆ หัวข้อที่ยังขาดหรือไม่สมบูรณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ผมจดจำหรือนำมาเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับตัวของผมเอง และในส่วนองค์กรที่ผมปฏิบัติงานได้

3. ให้นักศึกษาแต่ละท่านทุกคนได้ฝึกแสดงภาวะผู้นำในชั้นเรียน โดยมีหัวข้อจากอาจารย์ให้กล่าวถึง ความภูมิใจหรือความสำเร็จของตนเองที่ได้กระทำมาให้เพื่อนนักศึกษาในชั้นเรียนได้รับทราบ

- สิ่งที่ผมได้รับคือ

Know Who คือ ได้รู้จักเพื่อน ๆ ในชั้นมากขึ้นในแง่ของประสบการณ์และความสำเร็จที่แต่ละท่านได้กระทำ ซึ่งทุกท่านมีประวัติที่น่าสนใจ และเป็นความภูมิใจที่ได้เห็นเพื่อน ๆ เล่าถึงประวัติตนเองอย่างเปิดเผย และการเป็นเพื่อนกัน ก็จะเอื้อประโยชน์ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในอนาคต ให้กับตนเองหรือร่วมกันตลอดจนทำประโยชน์ร่วมกันให้กับสังคมได้เป็นอย่างดี

Know How คือ ได้เห็นหรือรู้ว่าการที่จะทำอะไรให้เกิดความสำเร็จนั้น จะต้องมีวิธีการที่หลากหลาย แต่ในแง่ที่เพื่อน ๆ มาเล่าให้ฟัง ผมสามารถจดจำไปประยุกต์กับตนเองได้ดีขึ้น เช่น บางท่านมีความพยายามและความอดทนมุ่งมั่นต่อเป้าหมายของตนเอง จนประสบความสำเร็จท่ามกลางอุปสรรคและความยากลำบาก เป็นบทเรียนที่เกิดขึ้นจริงโดยบางครั้งไม่มีอยู่ในตำราให้ผมได้เรียนรู้ และผมคิดว่าในโลกปัจจุบัน สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กรจะเกิดขึ้นได้ ก็คือ ตัวเผมเอง ต้องรู้ทั้ง Know Who และ Know How

ในส่วนของลำดับการบรรยายของอาจารย์ยม ประกอบไปด้วยหัวข้อใหญ่ดังนี้

    • ประโยชน์ของภาวะผู้นำ
    • ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาวะผู้นำ
    • จริยธรรม ความหมาย และกรอบแนวคิด

 

- สิ่งที่ผมได้รับ คือ หัวข้อที่กล่าวถึงข้างต้น แม้จะเป็นหัวข้อสั้น ๆ แต่อาจารย์ได้นำมาขยายความให้ผมได้มีความรู้หลากหลายทฤษฎี ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎี 6n - 6c’s – 5D’s – 4E’s – 4k’s – 6L’s – 5M’s -2R’s – 4S’s – 5T’s Leadership ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการมาประยุกต์ใช้กับตนเองและองค์กร นอกจากนั้นอาจารย์ยังได้ขยายความถึงเทคนิคในการเป็นผู้นำที่ดี โดยยึดถึงหัวข้อธรรมะบางส่วนของพุทธศาสนา ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ ตลอดจนความหมายของทศพิธราชธรรม ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นที่เคารพของชาวไทยทุกคน ที่มีพระจริยวัตรสูงส่งเป็นที่ยอมรับของสากลโลก ผมในฐานะนักศึกษาในชั้นเรียน คงจะต้องกราบขอบคุณท่านอาจารย์ยมอีกครั้ง ที่ทำให้ผมได้มีวิสัยทัศน์ ตลอดจนได้นำความรู้ที่ท่านต้องการเผยแพร่และสั่งสอน มาเป็นประโยชน์กับตนเองและพัฒนาตนเองได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณครับ

ราเชนทร์ แดงโรจน์

รหัส 106242005

นายนิคม อำภารักษ์ ID 106142006 MBA STAMFORD INTERNATIONAL UNIVERSITY
นายนิคม อำภารักษ์ ID 106142006 รุ่น 6 เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 17:53 (182349)
 

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ  และ อ.ยม  

 

     จากการเรียนในวันที่  2-3 มี.ค. 2550  อ. ได้พูดถึงจริยธรรมของการเป็นผู้นำจริยธรรม มาจาก จริย + ธรรม คือ ความประพฤติที่ควรปฏิบัติในหมู่คณะจริยธรรม จึงเป็นหลักเกณฑ์หรือกฎที่สังคมใช้ในการตัดสินว่า การกระทำใด เป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ควรปฏิบัติและการกระทำใดที่ไม่ควรปฏิบัติทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น ประโยชน์ของจริยธรรม
  1. อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
  2. สำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
  3. พัฒนาชีวิตให้สำเร็จตามเป้าหมาย
  4. สามารถแก้ปัญหาชีวิตและความทุกข์ให้หมดไปได้
  5. เป็นเครื่องยึดเหนี่ยมและป้องกันการเบียดเบียนในทางส่วนตัวของสังคม
  6. พัฒนาคุณภาพชีวิต
จริยธรรมของผู้นำรัฐ + เอกชน ตามแนวความคิดของ พลเอกเปรม 
  1. ซื่อสัตย์
  2. ปฏิบัติตามกฎระเบียบ
  3. บริหารการจัดการด้วยความเป็นธรรม
  4. บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
  5. บริหารให้เกิดความมั่นใจ มั่งคง โดยใช้หลักพุทธศาสนา
  6. ปลูกฝังค่านิยมให้ถูกต้อง
  7. เป็นคุณงามความดี ความรัก ความเมตตา
 จริยธรรมของผู้นำ ต่อองค์กร
  1. มุ่งทำงานทุ่มเทการทำงานเพื่อความก้าวหน้าขององค์กร
  2. ศึกษาใฝ่เรียนใฝ่รู้อยู่เสมอ เพื่อนำความรู้มาพัฒนาองค์กร
  3. ซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อองค์กร
  4. มีความเป็นธรรม มีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนร่วมงาน
  5. มีความคิดริเริ่ม สิ่งใหม่ ๆ เพื่อสร้างให้องค์กรก้าวหน้า
จริยธรรมของผู้นำต่อสังคม
  1. ดูแลเอาใจใส่กิจการขององค์กรไม่ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
  2. ให้ความร่วมมือกับชุมชนและสังคม
  3. ละเว้นการประกอบธุรกิจที่ทำให้สังคม
  4. เคารพสิทธิของผู้อื่น
 Leadership Strategies for  change(ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง)2 ทฤษฎีในการเปลี่ยนแปลง
  1. Top  down  เบื้องบนสั่งการ (ส่วนใหญ่เป็นองค์กรในระบบราชการ)
  2. Bottom  up (เปลี่ยนแปลงจากระดับล่าง) ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม
 บทบาทของผู้นำต่อการเปลี่ยนแปลง (Leadership Strategies for  change)
  1. ให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม
  2. สามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ร่วมงาน
  3. มีความอดทนอดกลั้น
  4. กำหนดเป้าหมายชัดเจนว่าเปลี่ยนแปลงอะไร
  5. ผุ้นำที่เก่งต้องบริหารการขัดแย้งได้
 ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงขององค์กร·      
  1. ประชาสัมพันธ์ให้คนในองค์กรทราบ
  2. ตั้งคณะกรรมการกำหนดกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการคิด
  3. ให้ทุกส่วนขององค์กรมีส่วนร่วม
  4. ร่วมมือในการที่จะเปลี่ยนแปลงพัฒนา
  5. รวบรวมผลลัพธ์กับการกระทำ , รวบรวมข้อมูลสรุปผลประเมินผล
  6. นำผลสำเร็จมาดำเนินงาน
  7. กำหนดแนะปฏิบัติใหม่ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
นายณัฐพง์ ชุมนุมพันธื
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ/อาจารย์ยม/นักศึกษา MBA มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด หัวหิน ผู้อ่านที่น่ารักทุกท่านครับ สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่สองของผมที่ได้เรียนวิชา "ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร" ซึ่งก็เช่นเคยท่าน อ.ยม ได้ให้การบ้านว่า  "เรียนกับอาจารย์แล้วได้อะไร" ผมต้องยอมรับว่าสัปดาห์นี้ผมได้พลาดอะไรดีๆไปหลายอย่างเนื่องจากต้องไปสอบเลื่อนตำแหน่งและติดราชการเป็นเหตุให้ต้องมาสายทั้งสองวัน สิ่งที่ได้รับในสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ ·        ความหมายของจริยธรรมและแนวความคิด การนำจริยธรรมไปใช้ในองค์การต่างๆตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงระดับประเทศ·        ได้รู้ว่า ทศพิธราชธรรม นั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง·        กิจกรรมที่ทำในชั้นเรียน(อันนี้สำคัญมากครับ)  ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้จักเพื่อนในชั้นมากขึ้นได้เห็นภาวะผู้นำของหลายๆท่านซึ่งสามารถเป็นแบบอย่างให้กับตัวเราได้  ได้เห็นข้อบกพร่องของตัวเองและทำให้ผมได้หันมามองตัวเองครับ สัปดาห์นี้ผมอาจจะเขียนสั้นนะครับแต่ที่ผมได้รับจริงๆคือได้รู้จักตนเองมาขึ้น ซึ่งผมถือว่ามีค่ามากที่สุด   ก็ต้องขอบคุณวิธีการเรียนการสอนของท่าน ดร.จีระ และท่าน อ.ยม ทำให้ผมสามารถทบทวนบทเรียนจาก Blog ที่เพื่อนๆได้เขียนมา ขอบคุณครับที่ทำให้ผมได้ฝึกคิดและประเด็นที่สำคัญที่สุด ทำให้ผมได้เริ่มเข้าใจตนเองมาขึ้นหันมามองตนเองมากขึ้น ว่าเราขาดอะไรและมีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุง    

 

นายณัฐพง์ ชุมนุมพันธ์
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ/อาจารย์ยม/นักศึกษา MBA มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด หัวหิน ผู้อ่านที่น่ารักทุกท่านครับ สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่สองของผมที่ได้เรียนวิชา "ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร" ซึ่งก็เช่นเคยท่าน อ.ยม ได้ให้การบ้านว่า  "เรียนกับอาจารย์แล้วได้อะไร" ผมต้องยอมรับว่าสัปดาห์นี้ผมได้พลาดอะไรดีๆไปหลายอย่างเนื่องจากต้องไปสอบเลื่อนตำแหน่งและติดราชการเป็นเหตุให้ต้องมาสายทั้งสองวัน สิ่งที่ได้รับในสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ 
  • ความหมายของจริยธรรมและแนวความคิด การนำจริยธรรมไปใช้ในองค์การต่างๆตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงระดับประเทศ
  • ได้รู้ว่า ทศพิธราชธรรม นั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง
  • กิจกรรมที่ทำในชั้นเรียน(อันนี้สำคัญมากครับ)  ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้จักเพื่อนในชั้นมากขึ้นได้เห็นภาวะผู้นำของหลายๆท่านซึ่งสามารถเป็นแบบอย่างให้กับตัวเราได้  ได้เห็นข้อบกพร่องของตัวเองและทำให้ผมได้หันมามองตัวเองครับ
 

สัปดาห์นี้ผมอาจจะเขียนสั้นนะครับแต่ที่ผมได้รับจริงๆคือได้รู้จักตนเองมาขึ้น ซึ่งผมถือว่ามีค่ามากที่สุด   ก็ต้องขอบคุณวิธีการเรียนการสอนของท่าน ดร.จีระ และท่าน อ.ยม ทำให้ผมสามารถทบทวนบทเรียนจาก Blog ที่เพื่อนๆได้เขียนมา ขอบคุณครับที่ทำให้ผมได้ฝึกคิดและประเด็นที่สำคัญที่สุด ทำให้ผมได้เริ่มเข้าใจตนเองมาขึ้นหันมามองตนเองมากขึ้น ว่าเราขาดอะไรและมีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุง    

ขอทดสอบ Font ขนาด 12 นะครับ เพราะขนาด 16 ของผมมันติดกันเป็นพรืดเลยครับ

พนาวัลย์ คุ้มสุด นศ. ม.นานาชาติแสตมป์ฟอร์ด หัวหิน

พนาวัลย์ คุ้มสุด เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 02:14 (182822) ID: 106142010

 

จากการศึกษาสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ทราบว่าดิฉันได้ทำการบ้านของสัปดาห์ก่อนไม่ตรงประเด็น และการที่ไม่ได้จัดสรรเวลามาอ่านงานของเพื่อน ๆ  ใน Blog ทำให้พลาดโอกาสที่จะได้แก้ไขเพิ่มเติมในการบ้านของตน

สำหรับการเรียนในสัปดาห์นี้ดิฉันได้ยอมรับกับตัวเองว่าพอมีเวลาให้กับงาน ได้อ่านการบ้านของเพื่อนทุกคนทำให้ได้เห็นพัฒนาการของเพื่อนบางคน ทำให้ตนเองได้ค้นพบวิธีการและยอมรับในวิธีการนำเสนอของอาจารย์ใหญ่ และอาจารย์ยมว่าเป็นกุศโลบายในการสอนที่ทำให้พวกเราต้องทบทวน และส่งงานทาง Blog ก็เพื่อให้โอกาสพวกเราได้มี ทุนทาง IT ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนที่ผู้นำที่มีสภาวะผู้นำควรจะมี

ความรู้ทางวิชาการที่ได้ในสัปดาห์นี้พอสรุปโดยสังเขปดังนี้

  1. การพัฒนาภาวะผู้นำ
  2. จริยธรรมของการเป็นผู้นำ
  3. ภาวะผู้นำมีประโยชน์อย่างไร และจะพัฒนาให้ดี และคงอยู่ได้อย่างไร

แนวทางในการพัฒนาผู้นำ

  1. การพัฒนาแบบญี่ป่น 10 ประการ
  2. การพัฒนาแนวพุทธศาสนา สัปปุริสธรรม
  3. การพัฒนาผู้นำตามทศพิศราชธรรม
  4. การพัฒนาผู้นำตามแนวคิด Yom 2006
  5. การพัฒนาผู้นำตามแนวคิด Bennis
  6. การพัฒนาผู้นำตามแนวคิดตะวันตก ที่ประกอบด้วย 6C's, 5D's, 4E's, 4K's, 6L's, 5M's, 2R's, 4S's, 5T's

ความหมายของ จริยธรรม (Ethics)

     "ความประพฤติ กริยา ที่ควรปฏิบัติ"  หรือ

     "การกระทำที่ควรประพฤติในหมู่คณะ"

ได้ทราบถึงความแตกต่างระว่าง "ศีลธรรม" "จริยธรรม" และ"จรรยาบรรณ"

ประโยชน์ของการมีจริยธรรม

  1. อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
  2. สำนึกในหน้าที่ ความรับผิดชอบ
  3. พัฒนาชีวิตให้สำเร็จตามเป้าหมาย
  4. แก้ปัญหาชีวิต และขจัดความทุกข์
  5. เครื่องยึดเหนี่ว และป้องกันการเห็นแก่ตัว
  6. พัฒนาคุณภาพชีวิตให้สมบรูณ์  
  7. สร้างสันติภาพ

จริยธรรมของผู้นำ

  1. มุ่งมั่นทำงานเพื่อความก้าวหน้าขององค์กร
  2. มีเมตตากรุณา ยึดหลักพรหมวิหารสี่ และหลักธรรมทางศาสนา
  3. ประพฤติตนเป็นตัวอย่างดที่ดี
  4. ตั้งมั่นอยูในความยุติธรรม เสมอภาค
  5. มั่นศึกษาหาความรู้ ทันสมัยเสมอ
  6. ไม่ใช้วิธีการ หรืออิทธิพลแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง
  7. รักษาความลับของผู้ใต้บังคับบัญชา
  8. รับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ปัดความรับผิดชอบ
  9. อดทน เยือกเย็นต่อคำพูดขัดแย้ง
  10. เอาใจใส่ทุกข์ สุข ผู้ใต้บังคับบัญชา
  11. ระมัดระวังคำพูด ไม่ดุด่าต่อหน้าผู้อื่น
  12. เว้นอบายมุข ที่สังคมรังเกียจ
  13. สุภาพ อ่อนโยนต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
  14. ต้องมีความซื่อสัตย์
  15. ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตน และผู้อื่น

ผู้กำหนดจริยธรรมคือ พนักงาน หัวหน้างาน ผู้บริหาร หน่วยงาน องค์กร โดยเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม จะทำให้จริยธรรมนั้นมีการยอมรับมากขึ้น เป็นประโยชน์มากขึ้น

จากกิจกรรมที่อาจารย์มอบในห้อง โดยให้ทำเป็นกลุ่ม ทำให้ทุกคนได้ทราบถึง

  1. จริยธรรมของนศ. รุ่น 6 และ 7
  2. จริยธรรมขององค์กร
  3. จริยธรรมของทีมงาน
  4. จริยธรรมของชุมชน
  5. จริยธรรมของสังคม
  6. จริยธรรมของประเทศชาติ

สิ่งที่สำคัญที่ดิฉันได้จากการเรียนในสัปดาห์นี้ คือ วิชาการที่อาจารย์มอบให้ทำให้ดิฉันพอจะประเมินตนได้คร่าว ๆ ว่าอยู่ในภาวะใด และจะต้องพัฒนาต่อไปอย่างไร และทำให้มีความพร้อมที่จะเปิดใจกว้างเพื่อรับรู้วิชาการที่จะได้รับจากอาจารย์ใหญ่ในชั่วโมงต่อไปได้เป็นอย่างดี

ดิฉันมั่นใจว่า ความรู้ที่ได้รับจากวิชานี้ จะทำให้ดิฉันค้นพบเส้นทางที่จะพัฒนาตนไปส่การเป็นผู้นำที่มีสภาวะการเป็นผู้นำที่ดีต่อไปในอนาคต ทั้งภาคกิจการส่วนตัว และภาคผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อนำชุมชนไปสู่การพัฒนาทั้งรูปธรรม นามธรรม โดยมีจริยธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว

                    ด้วยความเคารพอย่างสูง

          น.ส. พนาวัลย์ คุ้มสุด ID: 106142010

นายชูศักดิ์ ลาภส่งผล MBA STAMFORD International University
นายชูศักดิ์ ลาภส่งผล เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 18:59 (183472)
 
สวัสดีครับ ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อ.ยม และนักศึกษาทุกท่าน 
จากการที่ได้เรียนภาวะผู้นำแล้วได้อะไรบ้างภาวะผู้นำนอกจากจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถหลายด้านแล้วสิ่งที่สำคัญคือเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรมที่มีอยู่ในตัวของผู้นำเอง ต้องมีการพัฒนาตัวเองอยู่สม่ำเสมอ ผู้นำต้องมีคุณค่าและควรมีทศพิศราชธรรม
เนื้้อหาที่สอนทำให้ทราบเกี่ยวกับ 
·        ทราบถึงศีลธรรม จริยธรรม จรรณยาบรรณแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน 
·        ผู้นำที่ดีควรมีการเปลี่ยนแปลงในองค์ได้อย่างได้ 
·        เทคนิควิธี และการพัฒนาภาวะผู้นำ 
·        จริธรรมของผู้นำที่พึงมีต่อการเป็นผู้นำ 
·        ทศพิศราชธรรมของผู้นำที่ดี 
·        ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้นำในศตวรรษที่ 21 การอยู่ร่วมกันหรือศีลธรรมถือเป็นหัวใจของการพัฒนาทุกชนิด 
              
ศีลธรรม (การอยู่ร่วมกัน) 
·        เศรษฐกิจ
·        การเมืองการปกครอง
·        วัฒนธรรม
·        สังคม
·        สิ่งแวดล้อม
·        การศึกษา
·        ครอบครัว
·        ชุมชน 

ผู้นำที่ดีนอกจากจะเป็นบุคคลที่รอบรู้ ยังต้องมีการปรับตัวและสามารถเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรได้โดยที่ไม่ทำให้เกิดความขัดแย้ง และผู้นำควรจะต้องมีคุณธรรม จริยธรรมในการพัฒนาบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกผ่ายสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างปรองดองกัน ทั้งในด้านของความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

 

นายชูศักดิ์  ลาภส่งผล

นักศึกษา MBA 6

ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด
เสาวนีย์ ทวีเผ่า MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน

มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ดนานาชาติ   อ.หัวหิน 

สวัสดีคะ ท่านอาจารย์ยม และเพื่อนๆ  MBA ทุกท่าน 

ากการเรียน เมื่อวันศุกร์ และเสาร์ที่ผ่านมา ได้ทราบถึงประโยชน์ของภาวะผู้นำนั้นมีต่อใครบ้าง  ดังนี้

-          ต่อตัวผู้นำเอง

-          ต่อทีมงาน

-          ต่อองค์กร  คือสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จ และทำให้เกิดความเชื่อมั่นในองค์กร

-          ต่อประเทศชาติ

-          ต่อลูกค้าทำให้เกิดความเชื่อถือ  และได้เราได้รุ้ว่าจุดเด่นของภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่นเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับคนไทยมีความต่างกันมากญี่ปุ่นมีจริยธรรมสูง ซื่อสัตย์  รักชาติ  เคารพในกฎระเบียบของประเทศตนเองมากซึ่งผิดกับคนไทย  เพราะนั้นคนไทยที่มีจริยธรรมต้องนำหลักทศพิราชธรรมมาใช้ควบคู่กันไปจึงจะมีจริยธรรมของภาวะผู้นำและการเป็นภาวะผู้นำต้องมีหลักในการปฎิบัติ ของ  6  ท.  มาใช้ให้ได้      - ท่าทีที่ดี  เช่นคิดดี   พูดดี   ทำดี    - ท้าทาย  กล้าที่จะทำ  กล้าที่จะคิด     -  ทน   ต้องอดทน     - เที่ยงธรรม  ทำอะไรจะต้องเป็นกลางเสมอ     - ทำ  จะต้องให้ได้     - ทบทวนสาเหตุของความเสื่อมที่เกิดขึ้นในองค์กรเกิดขึ้นได้ ด้วยสาเหตุ-          การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง-          สมาชิกในองค์กรสำคัญตนผิด-          ความไม่ใยดีต่อองค์กร  หรือไม่รักองค์กร-          ขาดการวางแผนระยะยาว-          การไม่ให้ความสำคัญต่อทรัพยากรณ์มนุษย์และอาจารย์ให้แสดงความคิดเห็นในห้องเรียนว่า   จริยธรรมของนักศึกษา MBA6  และMBA 7 เป็นอย่างไร  ซึ่งได้ฟังแนวความคิดแต่ละกลุ่มส่วนมากสรุปได้ว่าจริยธรรมของนักศึกษาคือ  ต้องให้เกียรติสถานศึกษา ซื่อสัตย์ต่อสังคม  และส่วนรวมจริยะรรมต่อองค์กรเป็นอย่างไรบ้าง ก็ต้องแยกออกเป็นประเด็น  ก็คือ -ด้าน องค์กร-ด้านสังคม   ช่วยเหลือสังคม-ด้านสิ่งแวดล้อม   ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมมีระบบบำบัดน้ำเสีย ถ้าเป็นประเภทโรงงานอุตสาหกรรม-ด้านประเทศชาติ  ไม่เอาเปรียบในเรื่องภาษีรัฐบาลเอาความรุ้ที่ได้เรียนมาใช้ในทางที่ผิดต่อประเทศชาติ และสุดท้ายอาจารย์ก็ให้แต่ละคนมาแสดงความคิดเห็นหรือเล่าถึงการประสบความสำเร็จในชีวิตคืออะไร   และมีจริยธรรมประจำตัวอะไร    ซึ่งได้ว่าฟังแต่ละคนที่ได้เล่าถึงการประสบความสำเร็จในชีวิตของแต่ละคนอย่างเปิดเผยแตกต่างกันไปทั้งต่อสู้  ดิ้นรน  มีความพยายาม  อดทน และกำหนดเป้าหมายและการวางแผนดำเนินชีวิต  ก็แสดงให้เห็นว่าทุกคนต่างมีภาวะผู้นำในการดำเนินชีวิตควบคู่กับจริยธรรมประจำตัวซึ่งนำไปสู่เส้นทางที่ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ 

เสาวนีย์    ทวีเผ่ารหัสนักศึกษา  106242006

Jaruwan Yunprayong MBA 6 ID:106142009 เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 13:09 (184299)

 

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ยม และเพื่อนๆนักศึกษาทุกท่าน  

 

 เมื่อวันที่  2 - 3 มีนาคม  2550 ศึกษาภาวะผู้นำจาก ได้อะไรจากการเรียนบ้าง

อาทิตย์นี้ทางมหาวิทยาลัยพิมพ์ ชีท ประกอบการสอนให้นักศึกษาไม่ทันจึง ต้องจดบันทึกเองจาก อ.ยม ในการบรรยาย ซึ่งก็ได้เนื้อหา ความรู้และสนุกกับการเรียนเหมือนเดิมค่ะ

  

1. “การให้ที่ดีที่สุด ประเสริฐที่สุดคือการให้อะไร คำตอบคือ การให้ปัญญา จะนำไปสู่ความคิดทั้งปวง

  

2. ไม่น่าเชื่อว่าต้นไม้ของ อ.ยม แค่ต้นเดียว จะสามารถสร้างคนให้เป็นผู้นำที่ดีได้ ดูเหมือนง่าย ๆ นะคะ แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถปฏิบัติตามหลักต่างๆ ในต้นไม้ของ อ.ยมได้ครบทุกข้อ??

  อ.ยม เน้นเสมอเรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง กับ 3 ห่วง 2 เงื่อนไขที่เข้าใจง่าย และมีความหมายดีค่ะ ซึ่งประกอบด้วย
  1. เงื่อนไขความรู้ : รอบรู้, รอบคอบและระมัดระวัง
  2. เงื่อนไขคุณธรรม: ซื่อสัตย์สุจริต, สติ ปัญญา, ขยัน อดทน, แบ่งปัน
 ส่วน 3 ห่วงนั้น ประกอบด้วย
  1. พอประมาณ,
  2. มีเหตุผลและ
  3. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี นำไปสู่ เศรษฐกิจ, สังคม, สิ่งแวดล้อม, วัฒนธรรม, สมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง
 3.   ฝิ่นชอบประโยคหนึ่งที่ อ.ยม ยกมาจาก อ.คุณหญิงเต็มศิริ บุณยสิงห์ คือ ก่อนนอนให้ทบทวนว่าวันนี้ได้ทำ ข้อผิด พลาดอะไรไปบ้าง แล้วพรุ่งนี้จะต้องไม่ทำผิดพลาดอีกในเรื่องเดิมตอนนี้กลับมานอนคิดทุกคืนเลยค่ะ 4.  ได้แลกเปลี่ยน ประวัติส่วนตัวบางส่วนของเพื่อนๆ ในห้อง (ชอบมากเลยค่ะ!) แต่ให้เวลาคนละ 5 นาทีเอง ทำให้ได้ทราบถึงความพยายามและความอดทน บวกกับปัจจัยหลายๆอย่าง ที่ทำให้พี่ๆ และเพื่อนๆ บางคนที่ผ่านอุปสรรคอะไรมากมายหลายอย่างในชีวิต จนก้าวมาถึงวันนี้ได้ ฝ่าฟันกันมามากมาย จนประสบ    ความสำเร็จ น่าทึ่งมากๆ  และ สำหรับเพื่อนๆ และน้องๆ บางคนเช่นกันที่ เพิ่งเริ่มก้าวเดิน เพื่ออนาคต และยังมีอุปสรรคข้างหน้าที่ยังไปไม่ถึง และ สามารถนำข้อแนะนำ หรือตัวอย่างจากพี่ๆ ที่ผ่านประสบการณ์มาแล้วไปประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต 5.  มีจริยธรรมประจำใจจากหลายคนที่ชอบมากๆๆ เช่น จะรู้ว่าโลกนี้มันกว้างใหญ่ ต่อเมื่อเราออกเดินทางอันนี้เกิดขึ้นกับตัวเองเลยค่ะจะรู้ความหมายของ ฟ้าหลังฝน ก็ต่อเมื่อเราผ่านพ้นมันมาได้แล้วจะรู้ว่าในหนังสือมีอะไร เมื่อเราเปิดอ่านที่สำคัญคือ ความกตัญญู เพราะความสำเร็จที่ทำให้ บุบพการีมีความสุขและตื้นตัน ก็ถือว้าเป็นความกตัญญูอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของตัวฝิ่นเอง 6.  อ.ยมให้ แชร์ idea เกี่ยวกับภาวะผู้นำในฝ่ายต่างๆ
  • จริยธรรมของภาวะผู้นำของนักศึกษา
  • จริยธรรมของภาวะผู้นำของสังคม
  • จริยธรรมของภาวะผู้นำของทีมงาน หรือ องค์กร
  • จริยธรรมของภาวะผู้นำของประเทศ
 7.  อ.ยมให้ทุกคนประเมินตัวเองในการมีภาวะผู้นำ 50 หัวข้อ และให้เรียงความสำคัญจาก 1 – 50 ซึ่งเชื่อว่า ทุ คนเรียงไม่เหมือนกันแน่นอน ตามวิสัยทัศน์และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน แล้ว อ.ยมจะมาแจ้งให้ทราบอาทิตย์หน้าค่ะ 8.    เรียนเรื่องคุณค่าของผู้นำ 7 ข้อ
  1. มุ่งประโยชน์ส่วนรวม, ประโยชน์แผ่นดิน
  2. ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย, ธรรมมาภิบาล
  3. มีความสามารถ
  4. มีความสำนึกรับผิดชอบ
  5. มีความเป็นกลาง
  6. การมุ่งสัมฤทธิผล
  7. ความเป็นมืออาชีพ
 9  เรียนเรื่องภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น 10 ข้อ
  1. มีวินัย, ตรงต่อเวลา กติกา มารยาท
  2. มีมารยาททางสังคม ซึ่งเป็นจุดเด่นของคนญี่ปุ่นข้อนี้ฝิ่นจำได้ติดตาในข่าวช่อง 7 เมื่อภูเขาไฟระเบิดที่ โกฮามา หลายปีมาแล้วตั้งแต่อยู่ ม. ปลายแล้วมีคนเสียชีวิตมากมาย ทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหาย ประมาณค่าไม่ได้ และทางรัฐบาลของญี่ปุ่นก็มาแจกของ ซึ่งน่าประทับใจอย่างมาก คนเหล่านั้นที่ประสบเคราะห์ร้าย ยืนเรียนแถวตอน 1 คนเพื่อรับสิ่งของที่ทางรัฐบาลเอามาบริจาคช่วยเหลืออย่างเป็นระเบียบ ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนเลยจริงๆ ค่ะ ยอมรับว่าพวกเค้าได้รับการปลูกฝังมาอย่างดี และสุดยอดมาก
  3. ขยันและอดทน
  4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใช้ระบบ QC ในการคิด Innovation
  5. มีความจงรักภัคดีต่อองค์กร ทำงานอย่างทุ่มเทเป็น Team work
  6. มีนิสัยการรักอ่าน (ข้อนี้ตัวฝิ่นเองต้องปรับปรุงอย่างมากเลยค่ะ)
  7. รักสะอาด ความบริสุทธิ์ และยังหมายความว่า คนที่ไม่มีคุณภาพ คือคนที่สกปรก อีกด้วย
  8. มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง
  9. รักศักดิศรี และมีความเป็นชาตินิยม
  10. มีการพัฒนาตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่งและมีความกระตือรือร้นสูง
 10.  เรียนเรื่องทศพิษราชธรรม 10 ข้อ (กำจัด, รักษา, พัฒนาและป้องกัน)
  1. ทานัง อามิสทาน, ธรรมทานและอภัยทาน
  2. ศีล  ประพฤติดี ทั้ง กาย วาจาและใจ
  3. บริจาคะ  การบริจาค เป็นการเสียสละความสุขส่วนตัว
  4. อาชชวะ  ความซื่อสัตย์สุจริต
  5. มัททวะ   ความอ่อนโยน (ไม่อ่อนแอ) มีอัธยาศัยดี
  6. ตปะ  ความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้าน
  7. อักโกธะ ความไม่โกรธ ไม่ผูกพยาบาท
  8. อวิสังหา  ความไม่เบียดเบียน
  9. ขันติ มีความอดทน อดกลั้น ต่อแรงกดดันต่างๆ รวมทั้งความโลภ
  10. อวิโรชนะ ความโปร่งใส วิโรชนะ การทำงานอย่าให้เคลือบแคลงสงสัย
 11 เรียนเรื่องการฝึกตนให้เป็นผู้นำ ด้วย 6 ท. ง่าย ๆ ของอ.ยม
  1. ท่าที  มีท่าทีที่ดี
  2. ท้าทาย ทำงานที่ยากกว่าเดิมและคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
  3. ทน
  4. เที่ยงธรรม
  5. ทำ
  6. ทบทวน        
 

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า อาทิตย์หน้าจะได้มีโอกาสเรียนกับ อาจารย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ นะคะ

 

ทั้งนี้ฝิ่นขอออกตัวนิดหนึ่งและขอเป็นการขออนุญาตจากท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ ในวันเสาร์ที่ 10 มีนาคม ที่ฝิ่นสามารถไปเรียนหนังสือได้ตอนช่วยบ่าย เนื่องจาก คณะ สสร. มาร่างรัฐธรรมนูญที่ โรงแรม Springfield Village Golf and Spa ที่ฝิ่นทำงานอยู่ จึงสามารถไปเรียนได้หลังจากที่ คณะท่านได้ check out จากโรงแรมไปแล้วค่ะ 

  

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง

 

  จารุวรรณ ยุ่นประยงค์
น.ส.ปภาวี นาคสุข ID 106142008 MBA 6

น.ส.ปภาวี นาคสุข ID 106142008 MBA 6 เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 13:14 (184311)

 

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์, อ.ยม และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน 

  เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (2-3 มี.ค.2550) ดิฉันได้ความรู้เพิ่มเติมมากมายเกี่ยวกับจริยธรรมของการเป็นผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำจากการสอนโดย อ.ยม ซึ่งสามารถสรุปได้เป็นเนื้อหาสำคัญ แนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาภาวะผู้นำ มีด้วยกันหลายแนวทาง คือ
  • แบบญี่ปุ่น 10 ประการ,
  • ตามแนวพุทธศาสตร์สัปปุริสธรรม 7,
  • ตามแนวทศพิศราชธรรม,
  • ตามแนวคิด Bennis 1989 และ
  • ตามแนวคิดของ อ.ยม ที่ใช้ ทฤษฎี 6 ท. (ท่าที, ท้าทาย, ทน, เที่ยงธรรม, ทำ, ทบทวน) ดิฉันขออนุญาตเพิ่มของอาจารย์ยม อีก 1 ท. นะคะ คือ ทัน ซึ่งทันในที่นี้ คือ ทันต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงทันต่อเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา เหตุผลที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเพราะปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อสังคมปัจจุบันอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์
 

สำหรับในเรื่องของจริยธรรมนั้น ผู้นำควรมีต่อองค์กร, สังคม, ผู้ร่วมงาน และประเทศชาติ ซึ่งก่อนที่จะมุ่งประเด็นไปที่ส่วนต่างๆ ก่อนอื่นผู้นำต้องมีจริยธรรมประจำใจของตนเองเสียก่อน เพื่อใช้เป็นหลักยึดถือในการประพฤติปฏิบัติ และเพื่อให้การบริหารงานเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์ประกอบภายนอกต่างๆ 

  

ปภาวี  นาคสุข

 

ID 106142008
กนกลักษณ์ เร้าเลิศฤทธิ์ MBA Stamford International University

กนกลักษณ์ เร้าเลิศฤทธิ์ เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 13:48 (184346)

 

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน  

ดิฉัน นางสาวกนกลักษณ์ เร้าเลิศฤทธิ์ ID:106342003 MBA  ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน จากการเรียนในวันที่ 2-3 มีนาคม 2550  ที่ผ่านมา อ.ได้สอนบรรยาย ในหัวข้อหลักๆ คือ

  1. ประโยชน์ของภาวะผู้นำ
  2. ยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาภาวะผู้นำ
  3. จริยะธรรม 
 ประโยชน์ของภาวะผู้นำ
  •  ต่อตนเอง ทำให้เรามีความรับผิดชอบ
  • ต่อองค์กร นำองค์กรสู่ความสำเร็จง่ายขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กร
  • ต่อสังคมและประเทศชาติ สร้างจิตสำนึกในการรักสังคมและประเทศชาติ 
 *ถ้าภาวะผู้นำดีทำให้พนักงานมีขวัญและกำลังใจที่ดี และมีคนที่มีคุณภาพ  แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น
  1. ฝึกเป็นคนมีมีวินัย เช่น ตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท
  2. มีมารยาททางสังคม  ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของญี่ปุ่น
  3. ฝึกเป็นคนขยัน  อดทนเป็น
  4. Interprise Spirit  กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ
  5. Team Work  คนญี่ปุ่นยึดฉันทามติ จงรักภักดีต่อองค์กร  ทำงานแบบอุทิศ  ทุ่มเท
  6. มีนิสัยรักการอ่าน
  7. รักความสะอาด  ความบริสุทธิ์
  8. มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง
  9. รักในศักดิ์ศรี ชาตินิยม
  10. พัฒนาตลอดเวลา  ไม่หยุดนิ่ง  และกระตือรือร้น  
 พัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม
  1. ทานัง คือ การให้ ซึ่งได้แก่ อามิสทาน(การให้สิ่งของ) ธรรมทาน(การให้ความรุ้) และ อภัยทาน
  2. ศีล คือการมีความประพฤติดีงาม สำรวมกาย วาจาใจ ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน 
  3. บริจาคะ (การบริจาค) การเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
  4. อาชชวะ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน ซื่อตรงต่อคำพูด ซื่อตรงต่อวิชาชีพ
  5. มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ซึ่งถ้าเป็นยุคนี้ต้องเรียกว่ามีความใจกว้างในการรับฟัง ไม่ดื้อ ไม่รั่น ไม่บ้า หรือมัวเมาในอำนาจ                            
  6. ตปะ ได้แก่ ความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว พยายามลดกิเลสของตน ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีอำนาจ ที่จะมีโอกาสจะเห็นผลประโยชน์รูปแบบต่างๆวิ่งผ่านหน้า ตปะ จะเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้ง ไม่ให้คนดี เสียคน
  7. อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท หรือจงเกลียดจงชังคนใดคนหนึ่งหรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักปกครองคนใด ครองธรรมมะข้อนี้ไม่ได้ ก้อาจจะนำไปสุ่การสร้างความอยุติธรรมในการตัดสินใจ
  8. อวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน, ลูกน้องของตน ,หน่วยงาน และครอบครัวตนเอง เพราะการเบียดเบียนนำไปสุ่การเอาเปรียบ การเอาเปรียบบ่อยๆ ก็ทำให้เสียนิสัยและนำไปสุ่ พฤติกรรมคอร์รัปชั่
  9. ขันติ ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นความโลภ ต่อแรงกดดันต่างๆ
  10. อวิโรธนะ ความโปร่งใส วิโรธนะ การทำงาน อย่าให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย นั่นคือการทำงานอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา 
 ฝึกตนเป็นคนมีภาวะผู้นำ
กำจัด รักษา พัฒนา ป้องกัน
  1.   เพียรกำจัด (ลด ละ เลิก) สิ่งที่ไม่ดี ข้อบกพร่องหรืออกุศล ให้หมดไป                     
  2.   เพียรรักษา (รักษา) สิ่งที่ดี คุณภาพดีๆ มาตรฐานงานดีๆ วินัย หรือกฎข้อบังคับ ความรู้ ภูมิปัญญา ของตน ขององค์กร ให้คงอยู่ ยั่งยืนนาน                                                                  
  3. เพียรระวัง (ป้องกัน) มิให้สิ่งที่ไม่ดี เข้าครอบงำ มีข้อบกพร่อง ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยเน้นที่การดับที่เหตุรากเหง้า 4.    เพียรเจริญ (พัฒนาปรับปรุง) สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ทำอยู่ให้เจริญขึ้น หรือดีขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายขั้นสูง 
 Yom, 2005, 6 . สำหรับฝึกภาวะผู้นำ 
  • ท.ที่ 1 ท่าที  มีท่าทีที่ดี
  • ท.ที่ 2 ท้าทาย ทำงานที่ยากกว่า คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่
  • ท.ที่ 3 ทน ต้องอดทน
  • ท.ที่ 4 เที่ยงธรรม
  • ท.ที่ทำ
  • ท.ที่ 6 ทบทวน หมั่นทบทวน 
4 E’s Leadership
  1. Energy  ฝึกตนให้เป็นคนมีพลังเหนือชั้น ฝึกจิตใต้สำนึก
  2. Energize ฝึกตนให้เป็นคนที่สามารถกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพ    ทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง(ทฤษฎีกางร่ม)
  3. Edge ฝึกตนให้กล้าตัดสินใจ ให้ถูกจังหวะ
  4. Execution  ฝึกตนให้เป็นผู้ที่ต้องทำให้เสร็จและสำเร็จวัดผลได้ 
 6 C’s Leadership
  1. Conversations ติดต่อ ปราศรัย สร้างสัมพันธ์ดี
  2. Communicating ฝึกสื่อสาร สื่อสารให้เป็น  
  3. Culture  มีวัฒนธรรม เข้าได้ทุกระดั
  4. Creating change  สร้าง/บริหารการเปลี่ยนแปลง 
  5.  Creating team  สร้าง/บริหารที
  6. Charisma  เก่ง กล้า สามารถ  
 4 K’s Leadership   
  1. Knowing your competitors รู้คู่แข่ง คู่แข่งทางการค้า
  2. Knowing your customer รู้ลูกค้า ลูกค้าในอนาคตและปัจจุบัน และมีการวางแผน
  3. Knowing your people รู้ทีมงาน ทีมงานในอนาคตเป็นอย่างไรจุดอ่อนจุดแข็ง
  4. Knowing your yourself รู้ตัวเอง รู้จักตัวเอง เช่นการศึกษา วางแผนการพัฒนาตนเอง 
 6 L’s leadership
  1. Learning to love youeself รักตัวเอง ใส่ใจ ออกกำลังกาย สนใจเรื่องอนาคต
  2. Learning to love business รักธุระกิจ ทำอย่างไรให้ลูกน้องรักธุรกิจ
  3. Learning to love team รักทีม ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
  4. Learning to love customer รักลูกค้า
  5. Learning to love suppliers รักผู้ที่เกี่ยวข้อง ดูแลทุกคน
  6. Learning to relax โดยการหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา              
 5 M’s leadership
  1. Mission วิสัยทัศน์ ภารกิจที่ชัดเจน
  2. Meeting-learn-chair-develop ประชุมเรียนรู้แชร์ และพัฒนา
  3. Measurement การวัดความพึงพอใจของลูกค้า พนักงาน
  4. Memory จำได้ว่าข้อมูลที่แล้วมาเป็นอย่างไร โดยอาจจะมีตัวชี้วัด เช่นการบันทึก
  5. Mastering time เวลา 
 4 S’s Leadership
  1. Strategy เขียนกลยุทธ์เป็น
  2. Setting goals ต้องตั้งเป้าหมายเป็น
  3. Sleep well หาทางที่มันดี
  4. Selecting the right people เลือกคนที่ถูกต้อง 
 5 T’s Leadership
  1. Taking responsibility รู้จักมีความรับผิดชอบเอาใจใส่
  2. Teaching responsibility ต้องสอนถึงโทษและดี
  3. Take care of HR,Employee การดูแลพนักงานและทรัพยากรมนุษย์
  4. Take care of customer satisfaction ทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น5.
  5. Take care of Organization การดูแลองค์กรก็จะดีขึ้นผลประมาณการก็จะดีตามขึ้นไป 
 สาเหตุของความล้มสลายขององค์กร ได้แก่
  1.  การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
  2. สมาชิกในองค์กรสำคัญตนผิด
  3. ไม่ไยดีในนวัตกรรมใหม่ ๆ
  4. ขาดการวางแผนระยะยาว
  5. การไม่ให้ความสำคัญทรัพยากรมนุษย์ (การสูญเสียคนที่มีคุณค่า ยิ่งกว่าเสียเงินมากมาย)
 กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง มี 2 กลยุทธ์ คือ (2 Strategies for Changes) 
  1. Top Down (Programmatic)“Teaching & Application of Existing Knowledge" เบื้องบนสั่งลงมา คนเกี่ยวข้องไม่กี่คน ข้อดี รวดเร็ว ประหยัด  แต่พนักงานระดับล่างไม่มีส่วนร่วม  มีการต่อต้าน 
  2. Bottom-Up (Learning)“Stepwise Creation of Meaning & Understanding" พนักงานระดับล่างต้องมีส่วนร่วม ทำให้รู้สึกเป็นเจ้าของ  ความสำเร็จระยะยาว   แต่ต้องใช้เวลามากในการทำความเข้าใจ LEADERSHIP FOR CHANGE (ความเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง)
 จริยธรรม =จริยะ +  ธรรมะ =  (คำกริยา) ความประพฤติ  กริยาที่ควรปฏิบัติ   จริยธรรม มีประโยชน์อย่างไร? 
  • Quality worker : คนมีคุณภาพ
  • Quality Organization : องค์การมีคุณภาพ
  • Quality Product : สินค้า บริการ มีคุณภาพEmployee
  • Employee Retention เก็บรักษาบุคลากรไว้ได้
  • Customer Satisfaction : สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้
  • Orientation Trust : สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์การ
  • Market Orientation : ทำตลาดได้
  • Profitability : สร้างผลกำไรได้
  • Team Building : สร้างทีมงาน
  • Organization result: ผลประกอบการดีขึ้น
 จริยธรรมของผู้นำพึงมีต่อสังคม
  1. ละเว้นการประกอบธุรกิจทำให้สังคมเสื่อมนำความเดือนร้อนมาสู่สังคมทำลายวัฒนธรรมที่ดีงาม
  2. พึงดูแลเอาใจใส่กิจการของตนไม่ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
  3. พึงเคารพให้สิทธิทางปัญญาของผู้อื่น
  4. พึงให้ความร่วมมือกับชุมนุมชนและสังคม 
 จริยธรรมของผู้นำที่พึงมีต่อพนักงาน/ทีมงาน
  1. พึงให้ค่าจ้าง ค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถให้รางวัลเมื่อมีกำไรมากขึ้น
  2. พึงเอาใจใส่สวัสดิการ จัดหาเครื่องป้องกันอันตราย อันเกิดจากการทำงาน
  3. พึงพัฒนาให้ความรู้เพื่อเพิ่มความชำนาญ
  4. พึงยุติธรรมต่อพนักงานทุกคน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
  5. พึงศึกษานิสัยใจคอของพนักงานแต่ละคน
  6. พึงเคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน
  7. พึงเชื่อถือไว้วางใจในงานที่มอบหมาย
  8. พึงให้คำแนะนำปรึกษาช่วยเหลือ
  9. พึงสนับสนุนให้พนักงานประพฤติตนดี ห้ามปรามถ้าพบว่าพนักงานทำไม่ดี 
 จริยธรรมของผู้นำที่พึงมีต่อลูกค้า
  1. พึงขายสินค้าบริการในราคายุติธรรม
  2. พึงขายสินค้าบริการที่มีคุณภาพตามที่แจ้งแก่ลูกค้า ในราคาที่ตกลงกัน
  3. พึงดูแลลูกค้าทุกคนเท่าเทียมกัน ใส่ใจในข้อร้องเรียนของลูกค้า
  4. พึงงดเว้นการสร้างเงื่อนไขให้ลูกค้าต้องทำตามเงื่อนไขเพื่อต่อรอง
  5. พึงปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี 
 จริยธรรมของผู้นำที่พึงมีต่อเพื่อนร่วมงาน
  1. พึงมีความจริงใจ
  2. พึงหลีกเลี่ยงการนินทาเพื่อน
  3. อย่าซัดทอดความผิดให้เพื่อน
  4. พึงยกย่องชมเชยเพื่อนในสิ่งที่สมควร
  5. พึงให้ความร่วมมือในกิจการของเพื่อนด้วยความเต็มใจ
  6. พึงรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน
  7. พึงหลีกเลี่ยงการทำตัวเหนือเพื่อน 
 จริยธรรมของผู้นำที่พึงมีต่อคู่แข่งขัน
  1. พึงละเว้นการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายป้ายสี การขายตัดราคา การแย่งลูกค้าและข้อมูลของคู่แข่งมาโดยมิชอบ
  2. พึงให้ความร่วมมือในการแข่งขัน เพื่อสร้างสภาวะการตลาดที่ดี และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้เกิด ประโยชน์สูงสุดร่วมกันป้องกันดูและทรัพย์สินต่างๆ สรุป ดิฉันคิดว่าจะสามารถนำแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองในหน้าที่การงาน พร้อมทั้งฝึกให้ตนเองมีจริยธรรม
นริศรา ทรัพย์ชโลธร
สวัสดีค่ะ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข และเพื่อน ๆ นักศึกษาทุกท่าน จากที่ได้ศึกษากับอาจารย์ยม นาคสุข ในวิชาภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง ในวันที่ 2-3  มีนาคมที่ผ่านมา ทำให้รู้ถึงความสำคัญของการเป็นผู้นำที่ดีว่าจะต้องมีภาวะความพร้อมทางคุณสมบัติหลาย ๆ ประการ เพื่อที่จะได้นำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว และแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำที่อาจารย์ได้สอนนั้นมีอยู่หลายแนวทางที่น่าสนใจ คือ         1. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น 10 ประการ2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวคิด Yom, 2006    ทฤษฎี 6 ท.         3. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามทศพิธราชธรรม         4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวคิด Bennis, 1989 เบนนิส        5. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวและสัปปุริสธรรม 7  ซึ่งทุกแนวทางได้ให้ความสำคัญกับการมีภาวะผู้นำที่ครบถ้วนแต่สิ่งที่คิดว่าสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งในการเป็นผู้นำที่ดีคือจะต้องมีจริยธรรมและคุณธรรม  ซึ่งหลักจริยธรรมตามแนวพุทธศาสตร์  สามารถปฎิบัติได้ตามพรหมวิหาร 4 และสัปปุริสธรรม 7 ธรรมของสัตบุรุษ หรืออาจปฎิบัติตามแนวทางทศพิธราชธรรม 10 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งธรรมมะ 10 ข้อนี้ครอบคลุมได้ทุกเรื่อง อีกทั้งผู้นำที่ดีจะต้องสามารถแก้ไขปัญหาและรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในทุกเวลาและสถานการณ์อีกด้วย ผู้นำที่ดีควรจะมีการบริหารอารมณ์ที่ดี มีความเป็นกันเอง มีความยุติธรรมและมีใจเป็นกลาง ยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร มีความซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ และมีการทำงานที่โปร่งใส สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนในครั้งนี้คือ  ผู้นำเป็นตัวแทนขององค์กรดังนั้นภาวะผู้นำที่ครบถ้วนมีความสำคัญต่อองค์กรเป็นอย่างมากเพื่อนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ  ขอบคุณค่ะนริศรา  ทรัพย์ชโลธรMBA7 มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด 

สวัสดีค่ะ  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์/อาจารย์ ยม/เพื่อนๆ นักศึกษา MBA มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด หัวหิน และ เพื่อน ๆ นักศึกษา MBA 6,7 ทุกท่าน

          จากสัปดาห์ที่ผ่านมา ในวันศุกร์ที่ 2 และวันเสาร์ที่ 3 มีนาคม 2550  ของวิชาภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง  ทำให้เข้าใจถึงบทบาทที่ผู้ที่เป็นผู้นำพึงมี และพึงปฏิบัติ เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ ซึ่งความสำเร็จในที่นี้ ไม่ใช่สำเร็จเพียงด้านยอดขาย สถานะทางการเงิน เท่านั้นแต่นั่นยังต้องรวมถึง ภาพพจน์ที่ดี และทรัพยากรบุคคลที่อยู่ในองค์กร ด้วย และอาจารย์ ยม ยังได้ให้แนวทางที่ใช้ในการพัฒนาภาวะผู้นำ โดยมีแนวทาง คือ

          1.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักทศพิธราชธรรม

          2.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น 10 ประการ

          3.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวคิด YOM, 2006 ทฤษฎี 6 ท.

          4.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวคิด Bennis, 1989 เบนนิส

          5.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7

          ทั้งนี้ยังได้ ให้คำนิยาม คำว่า พอเพียง ซึ่งอาจารย์ ยม ได้ให้ความหมาย คำว่า พอเพียงในความคิดของอาจารย์ว่าคือ การดำเนินชีวิตทางสายกลางเพื่อ ความยั่งยืน และต้องอยู่บนหลักการและเหตุผล อย่างพอประมาณ และมีแผนรองรับในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องมีความรู้คู่คุณธรรม

          อีกทั้งผู้นำควรมีแผนรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตไว้ เพื่อให้องค์กรได้รับความเสียหายน้อยที่สุด  การจะเป็นผู้นำที่ดีไม่ใช่แต่บริหารจัดการ ให้บรรลุถึงเป้าหมายเพียงแต่ให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุดเพียงอย่างเดียว ผู้นำควรมีจริยธรรมซึ่งสามารถนำมาใช้ให้สอดคล้องได้กับสภาวะการณ์ต่าง ๆ ได้ เพื่อให้เกิดความสงบสุขของทุกคนในองค์กร

          ในสัปดาห์นี้ อาจารย์ ยม ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้นำที่มีต่อ เพื่อนนักศึกษา MBA 6,7 ,ต่อทีมงาน,ต่อองค์กร,ต่อสังคม และประเทศชาติ แม้ว่านักศึกษาทุกท่านจะต่างหน้าที่การงาน,ต่างองค์กร,ต่างอายุ และต่างประสบการณ์ แต่ว่าแต่ละท่านก็มีความคิดเห็นหลัก ๆ เป็นไปในทางเดียวกัน คือ ต้องการผู้นำเป็นคนดี, ไม่เห็นแก่ตัว, ให้โอกาสกับทุกคนเท่าเทียมกัน ให้อภัย เพื่อให้เกิดปัญญาคิดทำในสิ่งที่ถูกต้อง, ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น และที่สำคัญที่สุดคือทุกท่านต้องการให้สังคม และประเทศชาติมีความสงบสุข

ศรีสุดา วรรณสมบูรณ์ ID 106342002

สวัสดีค่ะ  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์/อาจารย์ ยม/เพื่อนๆ นักศึกษา MBA มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด หัวหิน และ เพื่อน ๆ นักศึกษา MBA 6,7 ทุกท่าน

          จากสัปดาห์ที่ผ่านมา ในวันศุกร์ที่ 2 และวันเสาร์ที่ 3 มีนาคม 2550  ของวิชาภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง  ทำให้เข้าใจถึงบทบาทที่ผู้ที่เป็นผู้นำพึงมี และพึงปฏิบัติ เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ ซึ่งความสำเร็จในที่นี้ ไม่ใช่สำเร็จเพียงด้านยอดขาย สถานะทางการเงิน เท่านั้นแต่นั่นยังต้องรวมถึง ภาพพจน์ที่ดี และทรัพยากรบุคคลที่อยู่ในองค์กร ด้วย และอาจารย์ ยม ยังได้ให้แนวทางที่ใช้ในการพัฒนาภาวะผู้นำ โดยมีแนวทาง คือ

          1.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักทศพิธราชธรรม

          2.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น 10 ประการ

          3.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวคิด YOM, 2006 ทฤษฎี 6 ท.

          4.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวคิด Bennis, 1989 เบนนิส

          5.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7

          ทั้งนี้ยังได้ ให้คำนิยาม คำว่า พอเพียง ซึ่งอาจารย์ ยม ได้ให้ความหมาย คำว่า พอเพียงในความคิดของอาจารย์ว่าคือ การดำเนินชีวิตทางสายกลางเพื่อ ความยั่งยืน และต้องอยู่บนหลักการและเหตุผล อย่างพอประมาณ และมีแผนรองรับในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องมีความรู้คู่คุณธรรม

          อีกทั้งผู้นำควรมีแผนรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตไว้ เพื่อให้องค์กรได้รับความเสียหายน้อยที่สุด  การจะเป็นผู้นำที่ดีไม่ใช่แต่บริหารจัดการ ให้บรรลุถึงเป้าหมายเพียงแต่ให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุดเพียงอย่างเดียว ผู้นำควรมีจริยธรรมซึ่งสามารถนำมาใช้ให้สอดคล้องได้กับสภาวะการณ์ต่าง ๆ ได้ เพื่อให้เกิดความสงบสุขของทุกคนในองค์กร

          ในสัปดาห์นี้ อาจารย์ ยม ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้นำที่มีต่อ เพื่อนนักศึกษา MBA 6,7 ,ต่อทีมงาน,ต่อองค์กร,ต่อสังคม และประเทศชาติ แม้ว่านักศึกษาทุกท่านจะต่างหน้าที่การงาน,ต่างองค์กร,ต่างอายุ และต่างประสบการณ์ แต่ว่าแต่ละท่านก็มีความคิดเห็นหลัก ๆ เป็นไปในทางเดียวกัน คือ ต้องการผู้นำเป็นคนดี, ไม่เห็นแก่ตัว, ให้โอกาสกับทุกคนเท่าเทียมกัน ให้อภัย เพื่อให้เกิดปัญญาคิดทำในสิ่งที่ถูกต้อง, ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น และที่สำคัญที่สุดคือทุกท่านต้องการให้สังคม และประเทศชาติมีความสงบสุข

จริยา ลิ้มธรรมรักษ์ 106242001 MBA 7

 จาก

จริยา ลิ้มธรรมรักษ์ เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 23:44 (184997)

 

สวัสดีค่ะศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม และผู้อ่านทุกท่าน

 

จากการที่อาจารย์ยมได้ให้เกียรติมาสอนสัปดาหที่ 2 ในวันที่2-3 มีนาคม 2550  ในเนื้อหาดังนี้

 

1.ภาวะผู้นำมีประโยชน์อย่งไร

 

2.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ

 

3.จริยธรรมของการเป็นผู้นำ

 

1.จากความคิดเห็นของดิฉันภาวะผู้นำมีประโยชน์ในด้านต่างๆดังนี้

 

-ต่อตัวผู้นำเอง

 

       ช่วยให้ผู้นำมีความรับผิดชอบมากขึ้น

 

       ฝึกให้มีคุณธรรม จริยธรรม

 

       ฝึกให้กล้าคิด กล้าตัดสินใจ

 

 

-ต่อองค์กร

 

       สามารถนำองค์กรไปสู่ความ

สำเร็จ ตรงเป้าหมาย

 

       สร้างความเชื่อมั่นให้กับ

องค์กร

      

-ต่อประเทศชาติ ทำให้คนมีคุณภาพ มีความเชื่อ ศรัทธาปลูกจิตสำนึกให้คนรักและพัฒนาประเทศ ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า

 

***ภาวะผู้นำเปรียบเสมือน brand ที่จะสะท้อนตัวผู้นำเอง****

      

2.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำให้มีคุณค่าตามหลักทศพิธราชธรรม

 

ราชธรรม ๑๐ ประการ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญมาโดยสม่ำเสมอ ได้แก่ ทาน ศีล บริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความอดทน และความเที่ยงธรรม ราชธรรม ๑๐ ประการนี้เรียกว่า ทศพิธราชธรรม

 

สรุปและข้อเสนอแนะ

 

การเป็นผู้นำนั้นไม่ยาก แต่จะเป็นผู้นำที่มีคุณค่านั้นทำอย่างไร ดิฉันคิดว่าผู้นำที่ดีนั้น ควรจะพิจารณาหลักทศพิราชธรรม นำมาเป็นข้อคิดและปฏิบัติอย่างเหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม

      

3.จริยธรรมของการเป็นผู้นำ

 

สาเหตุของความเสื่อมขององค์กร

 

1.การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

 

2.สมาชิกในองค์กรสำคัญตนผิด

 

3.ความไม่ไยดีต่อ INNOVATION

 

4.ขาดการวางแผนระยะยาว ขาดวิสัยทัศน์

 

5.การไม่ได้ให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์

 

(การเสียคนที่มีคุณค่า ยิ่งกว่าเสียเงินทองมากมาย)

 

 

เทคนิคขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลง

 

1.ทำให้เกิดการตื่นตัวในองค์กร สร้าง

ความเร้าใจทั้งเชิงบวกเชิงลบ

 

2.ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เช่น คณะ

กรรมการระบบ ISO

 

3.ต้องให้คณะกรรมการกำหนดวิสัยทัศน์

ทำ action plan

 

4.จะต้องสื่อวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ ให้เข้าใจ

สื่อได้

 

5.ให้ทุกส่วนมีส่วนร่วมและร่วมมือในการ

เปลี่ยนแปลง พัฒนา สร้าง

INNOVATION ขึ้นมา

 

6.ทำการประเมินผล

 

7.เอาผลสำเร็จบางประการมาประกาศชัย

ชนะระยะสั้น

 

8.นำส่วนที่มีปัญหาบางจุดและผลสำเร็จ

ระยะสั้นมากำหนดแนวปฏิบัติใหม่9.ทำ

การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (CONTINUE

IMPROVMENT)

 

 

จริยธรรม คือ ความประพฤติ

หรือการกระทำที่ควรปฏิบัติ

 

 

ประโยชน์ของจริยธรรมช่วยให้

มนุษย์

 

1.ช่วยจัดระเบียบสังคม

 

2.อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

 

3.พัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นชีวิตที่

สมบูรณ์

 

4.พัฒนาชีวิตให้สำเร็จตามเป้าหมาย

 

5.สร้างสันติภาพ

 

6.สามารถแก้ปัญหาชีวิตและความทุกข์

ให้หมดไปได้

 

 

จริยธรรมของผู้นำทั้งภาครัฐ

และภาคเอกชน

 

1.ต้องมีความซื่อสัตย์

 

2.ปฏิบัติตามกฎระเบียบ

 

3.บริหารจัดการเรื่องของประสิทธิภาพ

และจริยธรรมให้ไปด้วยกันได้

 

4.บริหารจัดการด้วยความเป็นธรรม

 

5.บริหารให้เกิดความมั่นใจและมั่นคง

 

6.ปลูดฝังค่านิยมให้กับทีมงาน

 

 

ดิฉันได้เป็นตัวแทนของกลุ่มได้

นำเสนอเรื่องจริยธรรมของนักศึกษา MBA มีดังนี้

 

1.ต่อสถาบัน

 

-ให้ความเชื่อมั่นในตัวสถาบัน

 

-ให้เกียรติสถานที่

 

2.นักศึกษา

 

-ไม่แข่งขันกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

 

-มีการแชร์ประสบการณ์ แลกเปลี่ยน

ความคิดเห็น

 

3.ต่อองค์กร

 

-นำความรู้ที่ได้มาใช้ประโยชน์กับองค์กร

 

4.ต่อสังคม

 

-เมื่อมีความรู้แล้ว จะไม่นำความรู้มา

เบียดเบียนสังคม

 

-มีการนำความรู้เผยแพร่ให้กับสังคม เช่น

การสอนหนังสือ

 

 

จริยธรรมของผู้นำในองค์กร

 

CEO CONCEPT ได้แก่

 

-CUSTOMER SATISFACTION การ

บริการที่ดีประทับใจและการผลิตสินค้าที่

มีคุณภาพ

 

 -EMPLOYEE SATISFACTION  

สวัสดิการที่ดี(ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดิน

ทาง ค่าประกันภัย ประกันสังคม ) และมี

career path (ให้โอกาส ให้ความก้าว

หน้า ซึ่งช่วยสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน)

 

-ORGANIZATION RESULT แบ่งปันให้

กับสังคม เช่นจ่ายภาษีอย่างถูกต้องตาม

กฎหมาย , คำนึงถึงความปลอดภัยต่อ

สังคม

 

 

สรุปและข้อเสนอแนะ

 

       ผู้นำควรมีภาวะผู้นำที่มีจริยธรรมที่เหมาะสม สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลง ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง(ความรอบรู้ มีเหตุมีผล มีคุณธรรม มีภูมิคุ้มกัน พอดีพอประมาณ) ทั้งนี้การพัฒนาจริยธรรมจะเป็นการสร้างสมดุลย์ในระหว่างความคิดและการกระทำให้อยู่ในทางสายกลาง ไม่มากหรือน้อยเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง สังคมเกิดความยั่งยืน สงบสุข 

 

จริยา ลิ้มธรรมรักษ์

106242001 MBA 7

นางสาวสุพรรษา อาลี ID 106242002 MBA 7

  นางสาวสุพรรษา อาลี ID 106242002 MBA 7 เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 23:50 (185009)

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   .ยม นาคสุข ที่เคารพ  และเพื่อนๆนักศึกษา MBA ทุกท่าน

     จากการที่ได้เรียนวิชาภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงในสัปดาห์ที่2 (วันที่2-3มีนาคม) ทำให้ได้รู้เกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำ  จริยธรรมของการเป็นผู้นำ และกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงองค์การสำหรับผู้นำ  ซึ่งสามารถสรุปเนื้อหาได้ดังนี้

     ในทุกองค์การนั้นจะต้องมีผู้นำเป็นผู้บริหารงานและคอยขับเคลื่อนให้พนักงานทำงานได้บรรลุเป้าหมายขององค์การ  ทำให้ผู้นำอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาที่มีมากมายอยู่เป็นประจำ  ดังนั้นผู้นำจึงต้องมีการพัฒนาตนให้มีภาวะผู้นำมากยิ่งขึ้น ด้วยวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำดังต่อไปนี้

เทคนิค 10 ประการ ในการฝึกตนให้เป็นผู้นำที่เข้มแข็ง (แบบชาติญี่ปุ่น)

1.    ฝึกเป็นคนมีระเบียบวินัย เช่น การตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท2.    มีมารยาททางสังคม3.    ต้องขยัน และ มีความอดทน4.    กล้าที่จะริเริ่มสิ่งใหม่ๆ5.    มีความจงรักภักดีต่อองค์กร  ทำงานให้องค์กรแบบอุทิศและทุ่มเท6.    มีนิสัยรักการอ่าน7.    รักความสะอาด8.    มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง9.    รักในศักดิ์ศรี และ ชาตินิยม

10.พัฒนาอยู่ตลอดเวลา  ไม่หยุดนิ่ง และมีความกระตือรือร้น

การพัฒนาผู้นำตามหลักทศพิศราชธรรม

1.    การให้ ได้แก่ ให้สิ่งของ  ให้ความรู้  ให้ทาน2.    ศีล  คือ  การมีความประพฤติที่ดีงาม ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี3.    การบริจาค คือ การสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม4.    การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต คือ มีความจริงใจ5.    ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี คือ ต้องใจกว้างและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น6.    การบำเพ็ญความเพียร เพื่อจำกัดความเกียจคร้าน 7.    การไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท 8.    การไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้องของตน และหน่วยงาน9.    การมีความอดทนอดกลั้น ความโลภ และแรงกดดันต่างๆ

10. ความโปร่งใส ในการทำงาน และมีความตรงไปตรงมา

                การที่จะเป็นผู้นำที่ดีและมีคุณค่าได้นั้นผู้นำทุกคนจะต้องมีจริยธรรมของการเป็นผู้นำ เพราะการมีจริยธรรมนั้นจะเป็นประโยชน์มากที่จะช่วยทำให้คนในองค์การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข  

 

จริยธรรม  หมายถึง  พฤติกรรมที่ควรทำ        ในการกำหนดจริยธรรมนั้น ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วม ได้แก่ -         พนักงาน-         หัวหน้างาน-         ผู้บริหาร-         หน่วยงาน-         องค์การ

 

ผู้นำควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้1.    จริยธรรมของผู้นำ ต่อสังคม-         ไม่ประกอบธุรกิจที่นำความเดือดร้อนมาสู่สังคม-         คอยดูแลกิจการของตนไม่ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม-         พึงเคารพในสิทธิทางปัญญาของผู้อื่น-         พึงให้ความร่วมมือกับชุมนุมและสังคม2.    จริยธรรมของผู้นำ ที่มีต่อพนักงานและทีมงาน-         ให้ค่าจ้าง ค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ-         เอาใจใส่ในสวัสดิการ-         พัฒนาให้ความรู้เพื่อเพิ่มความชำนาญ-         มีความยุติธรรมต่อพนักงานทุกคน-         ควรศึกษานิสัยใจคอของพนักงาน-         เคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน-         ให้คำแนะนำและคำปรึกษาเมื่อลูกน้องมีปัญหา3.    จริยธรรมของผู้นำ ที่พึงมีต่อลูกค้า-         ขายสินค้าและบริการในราคายุติธรรม-         ขายสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตามที่แจ้งลูกค้าไว้-         ดูแลและใส่ใจลูกค้าสม่ำเสมอ-         มีอัธยาศัยดีกับลูกค้า4.     จริยธรรมของผู้นำ ที่พึงมีต่อเพื่อน ร่วมงาน-         มีความจริงใจ-         ให้ความร่วมมือ-         รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน-         ไม่นินทาเพื่อนร่วมงาน

    -   ไม่ทำตัวเหนือกว่าผู้อื่น

 

เมื่อองค์การได้ดำเนินกิจการได้ระยะหนึ่งแล้ว ผู้นำควรที่จะมีการเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อให้องค์การมีการพัฒนาเพราะจะทำให้องค์การมีผลกำไรมากขึ้น แต่ในการที่จะเปลี่ยนแปลงองค์การนั้น อาจจะได้รับการต่อต้านจากพนักงาน ดังนั้นผู้นำควรใช้ความสามารถและการมีภาวะผู้นำมาแก้ไขปัญหาเหล่านั้นที่จะเกิดขึ้น

 

ขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงองค์กร1.    มีการชี้แจงล่วงหน้าเพื่อให้พนักงานมีการตื่นตัว และต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้คนในองค์การทราบ โดยมีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ2.    มีการจัดตั้งทีมเจ้าภาพที่จะทำการเปลี่ยนแปลงองค์การขึ้นมา3.    ให้ทีมเจ้าภาพกำหนดวิสัยทัศน์4.    ทีมเจ้าภาพที่จะทำการเปลี่ยนแปลง ต้องเข้าใจในกลยุทธ์และสามารถโน้มน้าวใจได้5.    ให้ทุกส่วนในองค์การมีส่วนร่วมและร่วมมือในการที่จะเปลี่ยนแปลง พัฒนา และสร้าง Innovation ใหม่ๆ6.    รวบรวมข้อมูลมาสรุปและประเมินผลออกมาดูว่าเป็นอย่างไร7.    นำผลสำเร็จที่ประเมินออกมาได้มาสร้างชัยชนะในระยะสั้น8.    มีการกำหนดแนวปฏิบัติใหม่ ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ให้เป็นวัฒนธรรมขององค์การ

9.    ทำการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้า พนักงาน ทีมงาน และผลประกอบการขององค์การ

 

กลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อการพัฒนา มี 2 แนวทาง ดังนี้

1.    Top Down (Programmatic)ลักษณะ : เป็นกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงที่สั่งลงมาจากด้านบนของแผนภูมิองค์การ กลยุทธ์นี้จะมีผู้เกี่ยวข้องอยู่ไม่กี่คน เนื่องจากมีทรัพยากร และ งบประมาณจำกัด และใช้ได้ในระยะสั้น

ข้อดี      :  รวดเร็ว  ประหยัด  ไม่เสียเวลามาก

ข้อเสีย   : มีผู้เกี่ยวข้องอยู่ไม่กี่คน ทำให้เกิดกระแสการต่อต้านมาก

2.    Bottom - Up (Learning)ลักษณะ : เป็นกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงที่ให้ระดับล่างมีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิดสู่เบื้องบน กลยุทธ์นี้จะมีผู้เกี่ยวข้องอยู่มาก

ข้อดี      :  คนระดับล่างมีส่วนร่วม ทำให้คนเหล่านั้นรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ ทำให้ลดการต่อต้าน และจะทำให้เกิดความสำเร็จในระยะยาว

ข้อเสีย       : เสียเวลามาก

 

    ในการที่จะเป็นผู้นำที่ดีและมีคุณค่านั้น ผู้นำต้องพัฒนาตนให้มีภาวะผู้นำมากยิ่งขึ้น โดยอาจจะใช้หลักการฝึกตนให้เป็นผู้นำของประเทศญี่ปุ่น หรืออาจใช้หลักทศพิศราชธรรมของไทย หรือหลักอื่นๆก็ได้

    ผู้นำต้องมีการเปลี่ยนแปลงโดยการพัฒนาองค์การให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยใช้ความรู้ ใช้เหตุผล และการมีคุณธรรม ถึงจะทำให้องค์การมีความสุขสำเร็จและมีความยั่งยืน

    และที่สำคัญที่สุดที่ผู้นำทุกคนจะต้องมีนั้นก็คือ จริยธรรม เพราะถึงแม้ว่าผู้นำคนนั้นจะเก่งและมีความสามารถเพียงใด แต่ถ้าไม่ยึดหลักจริยธรรมในการบริหารแล้วก็ไม่สามารถเป็นผู้นำที่ดีได้

 

นางสาวสุพรรษา  อาลี

ID  106242002   MBA 7

. นานาชาติแสตมฟอร์ด หัวหิน

นายประเสริฐ ชัยยะศิริสุวรรณ MBA 7
 จาก
นายประเสริฐ ชัยยะศิริสุวรรณ MBA 7 เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 00:14 (185033)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  .ยม นาคสุข   และเพื่อนๆนักศึกษา MBA ทุกท่าน

จากการที่ได้เรียนวิชาภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงในวันที่2-3 มีนาคม สามารถสรุปเนื้อหาได้ดังนี้

การพัฒนาผู้นำ ตามหลักทศพิศราชธรรม

1.    การให้ ได้แก่ ให้สิ่งของ  ให้ความรู้  ให้ทาน

2.    ศีล  คือ  การมีความประพฤติที่ดีงาม ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี

3.    การบริจาค คือ การสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

4.    การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต คือ มีความจริงใจ

5.    ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี คือ ต้องใจกว้างและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

6.    การบำเพ็ญความเพียร เพื่อจำกัดความเกียจคร้าน

7.    การไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท

8.    การไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้องของตน และหน่วยงาน

9.    การมีความอดทนอดกลั้น ความโลภ และแรงกดดันต่างๆ

10.           ความโปร่งใส ในการทำงาน และมีความตรงไปตรงมา 

 
จริยธรรมขององค์กร
 
- รับฟังความคิดเห็นของพนักงานในองค์กร
- มีความจริงใจต่อเพื่อนร่วมงาน
- มีความเสมอภาคกับพนักงานทุกระดับ
- ให้โอกาสและให้อภัยแก่ผู้ร่วมงานในองค์กร
- มีความเคารพต่อกฎระเบียบในองค์กร
- ให้ความเคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน
จริยธรรมต่อทีมงาน
- มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน
- มีความยุติธรรม
- ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน ด้วยความจริงใจ
- ให้ความเป็นกันเอง
- มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
- ให้เกียรติและยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน
- ให้คำปรึกษาและช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
จริยธรรมต่อสังคม
 
- มีคุณธรรม
- มีความสามัคคี
- ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น
- ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีในสังคม
- ช่วยเหลือสังคม เมื่อมีโอกาส
- มุ่งประโยชน์ถือส่วนรวม
- มีความเมตตากรุณา
- ให้ความร่วมมือกับชุมชนและสังคม
- ดูแลองค์กรไม่ให้สร้างความเดือดร้อนกับสังคม

ขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงองค์กร

1.    มีการชี้แจงล่วงหน้าเพื่อให้พนักงานมีการตื่นตัว และต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้คนในองค์การทราบ โดยมีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ

2.    มีการจัดตั้งทีมเจ้าภาพที่จะทำการเปลี่ยนแปลงองค์การขึ้นมา

3.    ให้ทีมเจ้าภาพกำหนดวิสัยทัศน์

4.    ทีมเจ้าภาพที่จะทำการเปลี่ยนแปลง ต้องเข้าใจในกลยุทธ์และสามารถโน้มน้าวใจได้

5.    ให้ทุกส่วนในองค์การมีส่วนร่วมและร่วมมือในการที่จะเปลี่ยนแปลง พัฒนา และสร้าง Innovation ใหม่ๆ

6.    รวบรวมข้อมูลมาสรุปและประเมินผลออกมาดูว่าเป็นอย่างไร

7.    นำผลสำเร็จที่ประเมินออกมาได้มาสร้างชัยชนะในระยะสั้น

8.    มีการกำหนดแนวปฏิบัติใหม่ ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ให้เป็นวัฒนธรรมขององค์การทำการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้า พนักงาน ทีมงาน และผลประกอบการขององค์การ

นายประเสริฐ  ชัยยะศิริสุวรรณ

รหัส 106242007  MBA 7

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

นางสาวปณิธาน เชื้อชาติ ID 106142013 MBA 6
 
นางสาวปณิธาน เชื้อชาติ ID 106142013 MBA 6
 เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 12:25 (185393)
เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม นาคสุข และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน!!!    
จากการเรียนในวันที่ 2-3 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา ทำให้ได้ทราบเนื้อหาดังนี้ 
1.ประโยชน์ของภาวะผู้นำ 
2.ยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาภาวะผู้นำ 
3.จริยะธรรม 
 ประโยชน์ของภาวะผู้นำ          ต่อตนเอง ทำให้เรามีความรับผิดชอบ ต่อองค์กร นำองค์กรสู่ความสำเร็จง่ายขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กร ต่อสังคมและประเทศชาติ สร้างจิตสำนึกในการรักสังคมและประเทศชาติ   
แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น 
1.    ฝึกเป็นคนมีมีวินัย เช่น ตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท  
2.     มีมารยาททางสังคม  ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของญี่ปุ่น
3.    ฝึกเป็นคนขยัน  อดทนเป็น  
4.    nterprise Spirit  กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ  
5.    Team Work  คนญี่ปุ่นยึดฉันทามติ จงรักภักดีต่อองค์กร  ทำงานแบบอุทิศ  ทุ่มเท 
6.    มีนิสัยรักการอ่าน  
7.     รักความสะอาด  ความบริสุทธิ์  
8.     มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง  
9.    รักในศักดิ์ศรี ชาตินิยม  
10.พัฒนาตลอดเวลา  ไม่หยุดนิ่ง  และกระตือรือร้น   
พัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม 
1.    ทานัง คือ การให้ ซึ่งได้แก่ อามิสทาน(การให้สิ่งของ) ธรรมทาน(การให้ความรุ้) และ อภัยทาน 
2.    ศีล คือการมีความประพฤติดีงาม สำรวมกาย วาจาใจ ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน 
3.    บริจาคะ (การบริจาค) การเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง  
4.    อาชชวะ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน ซื่อตรงต่อคำพูด ซื่อตรงต่อวิชาชีพ  
5.    มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ซึ่งถ้าเป็นยุคนี้ต้องเรียกว่ามีความใจกว้างในการรับฟัง ไม่ดื้อ ไม่รั่น ไม่บ้า หรือมัวเมาในอำนาจ                              6.    ตปะ ได้แก่ ความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว พยายามลดกิเลสของตน ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีอำนาจ ที่จะมีโอกาสจะเห็นผลประโยชน์รูปแบบต่างๆวิ่งผ่านหน้า ตปะ จะเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้ง ไม่ให้คนดี เสียคน
7.
    อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท หรือจงเกลียดจงชังคนใดคนหนึ่งหรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักปกครองคนใด ครองธรรมมะข้อนี้ไม่ได้ ก้อาจจะนำไปสุ่การสร้างความอยุติธรรมในการตัดสินใจ
 
8.    อวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน, ลูกน้องของตน ,หน่วยงาน และครอบครัวตนเอง เพราะการเบียดเบียนนำไปสุ่การเอาเปรียบ การเอาเปรียบบ่อยๆ ก็ทำให้เสียนิสัยและนำไปสุ่ พฤติกรรมคอร์รัปชั่น
 
9.    ขันติ ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นความโลภ ต่อแรงกดดันต่างๆ
 
10.  อวิโรธนะ ความโปร่งใส วิโรธนะ การทำงาน อย่าให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย นั่นคือการทำงานอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา  
ฝึกตนเป็นคนมีภาวะผู้นำ

 1.    เพียรกำจัด (ลด ละ เลิก) สิ่งที่ไม่ดี ข้อบกพร่องหรืออกุศล ให้หมดไป                       
2.    เพียรรักษา (รักษา) สิ่งที่ดี คุณภาพดีๆ มาตรฐานงานดีๆ วินัย หรือกฎข้อบังคับ ความรู้ ภูมิปัญญา ของตน ขององค์กร ให้คงอยู่ ยั่งยืนนาน                                                                    3.    เพียรระวัง (ป้องกัน) มิให้สิ่งที่ไม่ดี เข้าครอบงำ มีข้อบกพร่อง ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยเน้นที่การดับที่เหตุรากเหง้า  
4.    เพียรเจริญ (พัฒนาปรับปรุง) สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ทำอยู่ให้เจริญขึ้น หรือดีขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายขั้นสูง
 6 . สำหรับฝึกภาวะผู้นำ   
  • ท.ที่ 1 ท่าที  มีท่าทีที่ดี
  • ท.ที่ 2 ท้าทาย ทำงานที่ยากกว่า คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่
  • ท.ที่ 3 ทน ต้องอดทน
  • ท.ที่ 4 เที่ยงธรรม
  • ท.ที่ทำ
  • ท.ที่ 6 ทบทวน หมั่นทบทวน 

 4 E’s Leadership 

1.    Energy  ฝึกตนให้เป็นคนมีพลังเหนือชั้น ฝึกจิตใต้สำนึก  

2.    Energize ฝึกตนให้เป็นคนที่สามารถกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพ    ทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง(ทฤษฎีกางร่ม)  

3.    Edge ฝึกตนให้กล้าตัดสินใจ ให้ถูกจังหวะ  

4.    Execution  ฝึกตนให้เป็นผู้ที่ต้องทำให้เสร็จและสำเร็จวัดผลได้  

6 C’s Leadership 

1.    Conversations ติดต่อ ปราศรัย สร้างสัมพันธ์ดี  

2.    Communicating ฝึกสื่อสาร สื่อสารให้เป็น    

3.    Culture  มีวัฒนธรรม เข้าได้ทุกระดับ 

4.    Creating change  สร้าง/บริหารการเปลี่ยนแปลง 

5.    Creating team  สร้าง/บริหารที  

6.    Charisma  เก่ง กล้า สามารถ  

 

 4 K’s Leadership    

1.Knowing your competitors รู้คู่แข่ง คู่แข่งทางการค้า 

2.Knowing your customer รู้ลูกค้า ลูกค้าในอนาคตและปัจจุบัน และมีการวางแผน  

3.Knowing your people รู้ทีมงาน ทีมงานในอนาคตเป็นอย่างไรจุดอ่อนจุดแข็ง 

4.Knowing your yourself รู้ตัวเอง รู้จักตัวเอง เช่นการศึกษา วางแผนการพัฒนาตนเอง  

6 L’s leadership 

1.Learning to love youeself รักตัวเอง ใส่ใจ ออกกำลังกาย สนใจเรื่องอนาคต 

2.Learning to love business รักธุระกิจ ทำอย่างไรให้ลูกน้องรักธุรกิจ 

3.Learning to love team รักทีม ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม 

4.Learning to love customer รักลูกค้า 

5.Learning to love suppliers รักผู้ที่เกี่ยวข้อง ดูแลทุกคน 

6.Learning to relax โดยการหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา              

 

 5 M’s leadership 

1.Mission วิสัยทัศน์ ภารกิจที่ชัดเจน 

2.Meeting-learn-chair-develop ประชุมเรียนรู้แชร์ และพัฒนา 

3.Measurement การวัดความพึงพอใจของลูกค้า พนักงาน 

4.Memory จำได้ว่าข้อมูลที่แล้วมาเป็นอย่างไร โดยอาจจะมีตัวชี้วัด เช่นการบันทึก 

5.Mastering time เวลา  

4 S’s Leadership 

1.Strategy เขียนกลยุทธ์เป็น 

2.Setting goals ต้องตั้งเป้าหมายเป็น 

3.Sleep well หาทางที่มันดี 

4.Selecting the right people เลือกคนที่ถูกต้อง  

5 T’s Leadership 

1.Taking responsibility รู้จักมีความรับผิดชอบเอาใจใส่ 

2.teachimg responsibility ต้องสอนถึงโทษและดี 

3.Take care of HR,Employee การดูแลพนักงานและทรัพยากรมนุษย์ 

4.Take care of customer satisfaction ทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น 

5.Take care of Organization การดูแลองค์กรก็จะดีขึ้นผลประมาณการก็จะดีตามขึ้นไป  

กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง มี 2 กลยุทธ์ คือ (2 Strategies for Changes)  

1.    Top Down (Programmatic)“Teaching & Application of Existing Knowledge" เบื้องบนสั่งลงมา คนเกี่ยวข้องไม่กี่คน ข้อดี รวดเร็ว ประหยัด  แต่พนักงานระดับล่างไม่มีส่วนร่วม  มีการต่อต้าน   

2.    Bottom-Up (Learning)“Stepwise Creation of Meaning & Understanding" พนักงานระดับล่างต้องมีส่วนร่วม ทำให้รู้สึกเป็นเจ้าของ  ความสำเร็จระยะยาว   แต่ต้องใช้เวลามากในการทำความเข้าใจ LEADERSHIP FOR CHANGE (ความเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง)จริยธรรม =จริยะ +  ธรรมะ =  (คำกริยา) ความประพฤติ  กริยาที่ควรปฏิบัติ  

จริยธรรม มีประโยชน์อย่างไร?   

  • Quality worker : คนมีคุณภาพ
 
  • Quality Organization : องค์การมีคุณภาพ
  • Quality Product : สินค้า บริการ มีคุณภาพEmployee
  • Employee Retention เก็บรักษาบุคลากรไว้ได้
  • Customer Satisfaction : สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้
  • Orientation Trust : สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์การ
  • Market Orientation : ทำตลาดได้
  • Profitability : สร้างผลกำไรได้
  • Team Building : สร้างทีมงาน
  • Organization result: ผลประกอบการดีขึ้น

  

จริยธรรมต่อสังคม 

1.ละเว้นการประกอบธุรกิจทำให้สังคมเสื่อมนำความเดือนร้อนมาสู่สังคมทำลายวัฒนธรรมที่ดีงาม 

2.พึงดูแลเอาใจใส่กิจการของตนไม่ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม 

3.พึงเคารพให้สิทธิทางปัญญาของผู้อื่น 

4.พึงให้ความร่วมมือกับชุมนุมชนและสังคม 

 จริยธรรมต่อพนักงาน/ทีมงาน 

1.พึงให้ค่าจ้าง ค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถให้รางวัลเมื่อมีกำไรมากขึ้น 

2.พึงเอาใจใส่สวัสดิการ จัดหาเครื่องป้องกันอันตราย อันเกิดจากการทำงาน 

3.พึงพัฒนาให้ความรู้เพื่อเพิ่มความชำนาญ 

4.พึงยุติธรรมต่อพนักงานทุกคน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง 

5.พึงศึกษานิสัยใจคอของพนักงานแต่ละคน 

6.พึงเคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน 

7.พึงเชื่อถือไว้วางใจในงานที่มอบหมาย 

8.พึงให้คำแนะนำปรึกษาช่วยเหลือ 

9.พึงสนับสนุนให้พนักงานประพฤติตนดี ห้ามปรามถ้าพบว่าพนักงานทำไม่ดี 

 จริยธรรมต่อลูกค้า 

1.พึงขายสินค้าบริการในราคายุติธรรม 

2.พึงขายสินค้าบริการที่มีคุณภาพตามที่แจ้งแก่ลูกค้า ในราคาที่ตกลงกัน 

3.พึงดูแลลูกค้าทุกคนเท่าเทียมกัน ใส่ใจในข้อร้องเรียนของลูกค้า 

4.พึงงดเว้นการสร้างเงื่อนไขให้ลูกค้าต้องทำตามเงื่อนไขเพื่อต่อรอง 

5.พึงปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี  

จริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน 

1.พึงมีความจริงใจ 

2.พึงหลีกเลี่ยงการนินทาเพื่อน

3.อย่าซัดทอดความผิดให้เพื่อน 

4.พึงยกย่องชมเชยเพื่อนในสิ่งที่สมควร 

5.พึงให้ความร่วมมือในกิจการของเพื่อนด้วยความเต็มใจ 

6.พึงรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน 

7.พึงหลีกเลี่ยงการทำตัวเหนือเพื่อน  

จริยธรรมต่อคู่แข่งขัน 

1.พึงละเว้นการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายป้ายสี การขายตัดราคา การแย่งลูกค้าและข้อมูลของคู่แข่งมาโดยมิชอบ 

2.พึงให้ความร่วมมือในการแข่งขัน เพื่อสร้างสภาวะการตลาดที่ดี และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้เกิด ประโยชน์สูงสุดร่วมกันป้องกันดูและทรัพย์สินต่างๆ  

สรุป  ดิฉันมั่นใจว่าสิ่งที่ดิฉันได้เรียนในสัปดาห์นี้ จะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาไปสู่การเป็นภาวะผู้นำที่ดีในอนาคตได้ โดยมีจริยธรรมในการดำเนินชีวิตควบคู่ไปด้วย 

นางสาวปณิธาน  เชื้อชาติ  ID : 106142013

นาย สราวุฒิ ฉายแสง MBA STAMFORD INTERNATIONAL UNIVERSITY

จากนาย สราวุฒิ ฉายแสง เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 13:03 (185413)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   อ.ยม นาคสุขและเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน           

จากที่ อ.ยมบรรยายถึงเรื่องการฝึกตนให้เป็นผู้นำของญี่ปุ่นดังนี้           

1.ฝึกเป็นคนมีวินัย           

2.มีมารยาททางสังคม           

3.ฝึกเป็นคนขยัน           

4.มีความคิดริเริ่ม           

5.จงรักพักดีต่อองค์กร           

6.มีนิสัยรักการอ่าน           

 7.รักความสะอาด           

8.มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง           

9.รักในศักดิ์ศรี           

10.พัฒนาตลอดเวลานี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆเพราะทุกคนรู้จักหน้าที่ของตัวเองว่า ควรทำอะไรและไม่ควรทำอะไร           

กล่าวถึง การพัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม ดังนี้           

1.การให้           

2.ศีล           

 3.การบริจาค           

4.การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต           

5.ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี           

6.การบำเพ็ญความเพียร           

 7.การไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท           

8.การไม่เบียดเบียน           

 9.การมีความอดทน อดกลั้น           

10.ความโปร่งใสในการทำงาน

เมื่อเชื่อมโยงหลักการของทั้งสองประเทศแล้วก็ทำให้ทราบว่าการเป็นผู้นำนั้นต้องเป็นคนดี และเก่ง โดยการเป็นคนดีนั้นต้องมีความเคารพต่อกฎกติกาของสังคม ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เพราะถ้าเก่งแต่ไม่ดีก็จะทำให้องค์กรเสียหาย โกงกิน ส่วนการเป็นคนเก่งนั้น ก็หมายถึง การที่เป็นผู้ใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ที่จะพัฒนาองค์กรให้ดียิ่งขึ้น

  นาย สราวุฒิ ฉายแสงรหัส 106142011มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด(หัวหิน)

นายเอกราช ดลยสกุล ID: 106142015

นายเอกราช ดลยสกุล MBA 6 เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 15:07 (185543)

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม นาคสุข และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน!!!  

  พัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม 

ทานัง คือ การให้ ซึ่งได้แก่ อามิสทาน(การให้สิ่งของ) ธรรมทาน(การให้ความรุ้) และ อภัยทาน ศีล คือการมีความประพฤติดีงาม สำรวมกาย วาจาใจ ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน 

บริจาคะ (การบริจาค) การเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง  

อาชชวะ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน ซื่อตรงต่อคำพูด ซื่อตรงต่อวิชาชีพ  

มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ซึ่งถ้าเป็นยุคนี้ต้องเรียกว่ามีความใจกว้างในการรับฟัง ไม่ดื้อ ไม่รั่น ไม่บ้า หรือมัวเมาในอำนาจ                              

ตปะ ได้แก่ ความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว พยายามลดกิเลสของตน ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีอำนาจ ที่จะมีโอกาสจะเห็นผลประโยชน์รูปแบบต่างๆวิ่งผ่านหน้า ตปะ จะเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้ง ไม่ให้คนดี เสียคน

อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท หรือจงเกลียดจงชังคนใดคนหนึ่งหรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักปกครองคนใด ครองธรรมมะข้อนี้ไม่ได้ ก้อาจจะนำไปสุ่การสร้างความอยุติธรรมในการตัดสินใจ

อวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน, ลูกน้องของตน ,หน่วยงาน และครอบครัวตนเอง เพราะการเบียดเบียนนำไปสุ่การเอาเปรียบ การเอาเปรียบบ่อยๆ ก็ทำให้เสียนิสัยและนำไปสุ่ พฤติกรรมคอร์รัปชั่น

ขันติ ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นความโลภ ต่อแรงกดดันต่างๆ
 

อวิโรธนะ ความโปร่งใส วิโรธนะ การทำงาน อย่าให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย นั่นคือการทำงานอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา 

 

 ฝึกตนเป็นคนมีภาวะผู้นำ

 เพียรกำจัด (ลด ละ เลิก) สิ่งที่ไม่ดี ข้อบกพร่องหรืออกุศล ให้หมดไป                       

เพียรรักษา (รักษา) สิ่งที่ดี คุณภาพดีๆ มาตรฐานงานดีๆ วินัย หรือกฎข้อบังคับ ความรู้ ภูมิปัญญา ของตน ขององค์กร ให้คงอยู่ ยั่งยืนนาน                                                                    เพียรระวัง (ป้องกัน) มิให้สิ่งที่ไม่ดี เข้าครอบงำ มีข้อบกพร่อง ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยเน้นที่การดับที่เหตุรากเหง้า  

เพียรเจริญ (พัฒนาปรับปรุง) สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ทำอยู่ให้เจริญขึ้น หรือดีขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายขั้นสูง

 

 จริยธรรมต่อพนักงาน/ทีมงาน 1.พึงให้ค่าจ้าง ค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถให้รางวัลเมื่อมีกำไรมากขึ้น 2.พึงเอาใจใส่สวัสดิการ จัดหาเครื่องป้องกันอันตราย อันเกิดจากการทำงาน 3.พึงพัฒนาให้ความรู้เพื่อเพิ่มความชำนาญ 4.พึงยุติธรรมต่อพนักงานทุกคน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง 5.พึงศึกษานิสัยใจคอของพนักงานแต่ละคน 6.พึงเคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน 7.พึงเชื่อถือไว้วางใจในงานที่มอบหมาย 8.พึงให้คำแนะนำปรึกษาช่วยเหลือ 9.พึงสนับสนุนให้พนักงานประพฤติตนดี ห้ามปรามถ้าพบว่าพนักงานทำไม่ดี  

จริยธรรมต่อลูกค้า 1.พึงขายสินค้าบริการในราคายุติธรรม 2.พึงขายสินค้าบริการที่มีคุณภาพตามที่แจ้งแก่ลูกค้า ในราคาที่ตกลงกัน 3.พึงดูแลลูกค้าทุกคนเท่าเทียมกัน ใส่ใจในข้อร้องเรียนของลูกค้า 4.พึงงดเว้นการสร้างเงื่อนไขให้ลูกค้าต้องทำตามเงื่อนไขเพื่อต่อรอง 5.พึงปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี  

จริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน 1.พึงมีความจริงใจ 2.พึงหลีกเลี่ยงการนินทาเพื่อน 3.อย่าซัดทอดความผิดให้เพื่อน 4.พึงยกย่องชมเชยเพื่อนในสิ่งที่สมควร 5.พึงให้ความร่วมมือในกิจการของเพื่อนด้วยความเต็มใจ 6.พึงรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน 7.พึงหลีกเลี่ยงการทำตัวเหนือเพื่อน  

จริยธรรมต่อคู่แข่งขัน 1.พึงละเว้นการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายป้ายสี การขายตัดราคา การแย่งลูกค้าและข้อมูลของคู่แข่งมาโดยมิชอบ 

2.พึงให้ความร่วมมือในการแข่งขัน เพื่อสร้างสภาวะการตลาดที่ดี และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้เกิด ประโยชน์สูงสุดร่วมกันป้องกันดูและทรัพย์สิ

 

 

สรุป การจะสามารถเป็นภาวะผู้นำที่ดีได้ ต้องมีจริยธรรมด้วย 

 

นายเอกราช ดลยสกุล  ID: 106142015

ผมนายวิวัฒน์ นาเวียง ID:106342001 MBA 7 ม.นานาชาติ แสตมฟอร์ด หัวหิน

 

วิวัฒน์ นาเวียง เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 15:53 (185570)

 

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อ.ยม และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน

ผมนายวิวัฒน์ นาเวียง ID:106342001 MBA 7 ม.นานาชาติ แสตมฟอร์ด หัวหิน หลังจากที่ได้เรียนในวันที่ 2-3 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา อ.ยม ได้บรรยาย และได้ทำกิจกรรมร่วมกันดังนี้

1.ภาวะผู้นำมีประโยชน์อย่างไร

    • ทำให้มีบุคลิกภาพ ท่าทางที่ดี
    • ทำให้มีความรับผิดชอบ
    • สามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
    • สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับทีมงาน
    • นำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญและยั่งยืน
    • สร้างจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมและรักประเทศชาติ

2.แนวทางการพัฒนาผู้นำ

-แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น

1. ฝึกคนมีวินัยเช่นตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท

2. มีมารยาททางสังคม ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของชาวญี่ปุ่น

3. ฝึกเป็นคนขยัน อดทนเป็น

4. Enterprise Spirit กล้าริเริ่มส่งใหม่ๆ

5. Team Work คนญี่ปุ่นยึดฉันทามติ จงรักภัคดีต่อองค์กร ทำงานแบบอุทิศ ทุ่มเท

6. มีนิสัยรักการอ่าน

7. รักความสะอาด ความบริสุทธิ์

8. มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง

9. รักในศักดิ์ศรี ชาตินิยม

10. พัฒนาตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง และกระตือลือล้น

-แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม

    1. ทานัง คือ การให้ ซึ่งได้แก่ อามิสทาน(การให้สิ่งของ) ธรรมทาน(การให้ความรุ้) และ อภัยทาน ให้ปัญญา
    2. ศีล คือการมีความประพฤติดีงาม สำรวมกาย วาจาใจ ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน
    3. บริจาคะ (การบริจาค) การเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
    4. อาชชวะ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน ซื่อตรงต่อคำพูด ซื่อตรงต่อวิชาชีพ
    5. มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ซึ่งถ้าเป็นยุคนี้ต้องเรียกว่ามีความใจกว้างในการรับฟัง ไม่ดื้อ ไม่รั้น ไม่บ้า หรือมัวเมาในอำนาจ
    6. ตปะ ได้แก่ ความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว พยายามลดกิเลสของตน ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีอำนาจ ที่จะมีโอกาสจะเห็นผลประโยชน์รูปแบบต่างๆวิ่งผ่านหน้า ตปะ จะเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้ง ไม่ให้คนดี เสียคน
    7. อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท หรือจงเกลียดจงชังคนใดคนหนึ่งหรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักปกครองคนใด ครองธรรมมะข้อนี้ไม่ได้ ก้อาจจะนำไปสุ่การสร้างความอยุติธรรมในการตัดสินใจ
    8. อวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน, ลูกน้องของตน ,หน่วยงาน และครอบครัวตนเอง เพราะการเบียดเบียนนำไปสุ่การเอาเปรียบ การเอาเปรียบบ่อยๆ ก็ทำให้เสียนิสัยและนำไปสุ่ พฤติกรรมคอร์รัปชั่น
    9. ขันติ ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นความโลภ ต่อแรงกดดันต่างๆ
    10. อวิโรธนะ ความโปร่งใส วิโรธนะ การทำงาน อย่าให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย นั่นคือการทำงานอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา

      สัปปุริสธรรม 7
      1. ธัมมัญญุตา (รู้จักเหตุ) , 2. อัตถัญญุตา (รู้จักผล) 3.อัตตัญญุตา (รู้จักตน) 4. มัตตัญญุตา (รู้จักประมาณ), 5. กาลัญญุตา (รู้จักกาล), 6. ปริสัญญุตา (รู้จักชุมชน), 7.ปุคคลัญญุตา (เข้าใจความแตกต่างบุคคล)

ราชสังคหะ ๔
๑.สัสสเมธะ ฉลาดบำรุงธัญญาหาร
๒.ปุริสเมธะ ฉลาดบำรุงข้าราชการ
๓.สัมมาปาสะ ผูกประสานปวงประชา
๔.วาชไปยะ มีวาทะดูดดื่มใจ

กำจัด รักษา พัฒนา ป้องกัน

    1. เพียรกำจัด (ลด ละ เลิก) สิ่งที่ไม่ดี ข้อบกพร่องหรืออกุศล ให้หมดไป
    2. เพียรรักษา (รักษา) สิ่งที่ดี คุณภาพดีๆ มาตรฐานงานดีๆ วินัย หรือกฎข้อบังคับ ความรู้ ภูมิปัญญา ของตน ขององค์กร ให้คงอยู่ ยั่งยืนนาน
    3. เพียรระวัง (ป้องกัน) มิให้สิ่งที่ไม่ดี เข้าครอบงำ มีข้อบกพร่อง ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยเน้นที่การดับที่เหตุรากเหง้า
    4. เพียรเจริญ (พัฒนาปรับปรุง) สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ทำอยู่ให้เจริญขึ้น หรือดีขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายขั้นสูง

Yom, 2005, 6 ท. สำหรับฝึกภาวะผู้นำ

    • ท.ที่ 1 ท่าที มีท่าทีที่ดี
    • ท.ที่ 2 ท้าทาย ทำงานที่ยากกว่า คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่
    • ท.ที่ 3 ทน ต้องอดทน
    • ท.ที่ 4 เที่ยงธรรม
    • ท.ที่ 5 ทำ
    • ท.ที่ 6 ทบทวน หมั่นทบทวน

4 E’s Leadership

    1. Energy ฝึกตนให้เป็นคนมีพลังเหนือชั้น ฝึกจิตใต้สำนึก
    2. Energize ฝึกตนให้เป็นคนที่สามารถกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพ ทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง(ทฤษฎีกางร่ม)
    3. Edge ฝึกตนให้กล้าตัดสินใจ ให้ถูกจังหวะ
    4. Execution ฝึกตนให้เป็นผู้ที่ต้องทำให้เสร็จและสำเร็จวัดผลได้

6 C’s Leadership

    1. Conversations ติดต่อ ปราศรัย สร้างสัมพันธ์ดี
    2. Communicating ฝึกสื่อสาร สื่อสารให้เป็น
    3. Culture มีวัฒนธรรม เข้าได้ทุกระดับ
    4. Creating change สร้าง/บริหารการเปลี่ยนแปลง
    5. Creating team สร้าง/บริหารที
    6. Charisma เก่ง กล้า สามารถ

 

4 K’s Leadership

1.Knowing your competitors รู้คู่แข่ง คู่แข่งทางการค้า2.Knowing your customer รู้ลูกค้า ลูกค้าในอนาคตและปัจจุบัน และมีการวางแผน

3.Knowing your people รู้ทีมงาน ทีมงานในอนาคตเป็นอย่างไรจุดอ่อนจุดแข็ง

4.Knowing your yourself รู้ตัวเอง รู้จักตัวเอง เช่นการศึกษา วางแผนการพัฒนาตนเอง

6 L’s leadership

1.Learning to love youeself รักตัวเอง ใส่ใจ ออกกำลังกาย สนใจเรื่องอนาคต

2.Learning to love business รักธุระกิจ ทำอย่างไรให้ลูกน้องรักธุรกิจ

3.Learning to love team รักทีม ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม4.Learning to love customer รักลูกค้า

5.Learning to love suppliers รักผู้ที่เกี่ยวข้อง ดูแลทุกคน6.Learning to relax โดยการหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา

5 M’s leadership

1.Mission วิสัยทัศน์ ภาระกิจที่ชัดเจน

2.Meeting-learn-chair-develop ประชุมเรียนรู้แชร์ และพัฒนา

3.Measurement การวัดความพึงพอใจของลูกค้า พนักงาน4.Memory จำได้ว่าข้อมูลที่แล้วมาเป็นอย่างไร โดยอาจจะมีตัวชี้วัด เช่นการบันทึก5.Mastering time เวลา

4 S’s Leadership

1.Strategy เขียนกลยุทธ์เป็น

2.Setting goals ต้องตั้งเป้าหมายเป็น

3.Sleep well หาทางที่มันดี

4.Selecting the right people เลือกคนที่ถูกต้อง

5 T’s Leadership1.Taking responsibility รู้จักมีความรับผิดชอบเอาใจใส่2.teachimg responsibility ต้องสอนถึงโทษและดี3.Take care of HR,Employee การดูแลพนักงานและทรัพยากรมนุษย์4.Take care of customer satisfaction ทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น5.Take care of Organization การดูแลองค์กรก็จะดีขึ้นผลประมาณการก็จะดีตามขึ้นไป

สาเหตุของความล้มสลายขององค์กร ได้แก่
    1. การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
    2. สมาชิกในองค์กรสำคัญตนผิด
    3. ไม่ไยดีในนวัตกรรมใหม่ ๆ
    4. ขาดการวางแผนระยะยาว
    5. การไม่ให้ความสำคัญทรัพยากรมนุษย์ (การสูญเสียคนที่มีคุณค่า ยิ่งกว่าเสียเงินมากมาย)

      กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง มี 2 กลยุทธ์ คือ (2 Strategies for Changes)

      1. Top Down (Programmatic)“Teaching & Application of Existing Knowledge" เบื้องบนสั่งลงมา คนเกี่ยวข้องไม่กี่คน ข้อดี รวดเร็ว ประหยัด แต่พนักงานระดับล่างไม่มีส่วนร่วม มีการต่อต้าน
      2. Bottom-Up (Learning)“Stepwise Creation of Meaning & Understanding" พนักงานระดับล่างต้องมีส่วนร่วม ทำให้รู้สึกเป็นเจ้าของ ความสำเร็จระยะยาว แต่ต้องใช้เวลามากในการทำความเข้าใจ LEADERSHIP FOR CHANGE (ความเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง)จริยธรรม =จริยะ + ธรรมะ = (คำกริยา) ความประพฤติ กริยาที่ควรปฏิบัติ

จริยธรรม มีประโยชน์อย่างไร?

จริยธรรมเป็นกฏเกณฑ์ที่สังคมสร้างขึ้นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทำให้เกิดจิตสำนึกในหน้าที่ความรับผิดของตนเอง เป็นการกระทำหรือพฤติกรรมที่ถูกต้องและดีงามในสังคมนั้นๆ

จริยธรรมทำให้เกิด

  • Quality worker : คนมีคุณภาพ
  • Quality Organization : องค์การมีคุณภาพ
  • Quality Product : สินค้า บริการ มีคุณภาพEmployee
  • Employee Retention เก็บรักษาบุคลากรไว้ได้
  • Customer Satisfaction : สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้
  • Orientation Trust : สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์การ
  • Market Orientation : ทำตลาดได้
  • Profitability : สร้างผลกำไรได้
  • Team Building : สร้างทีมงาน
  • Organization result: ผลประกอบการดีขึ้น

 

 

 

 

จริยธรรมของผู้นำในความเห็นของผมดังนี้

  1. เป็นผู้เห็นการไกล
  2. คล่องเเคล่วว่องไว ในความคิด ทันเหตุการณ์
  3. ส่งเสริมสนับสนุนคนดีและความสามัคคี
  4. ดำเนินตามทางสายกลาง ไม่ลำเอียง (อคติ4)รู้จักพอประมาณ
  5. รู้จักฟัง หยั่งเสียง รู้ถึงความต้องการ
  6. ชอบความสะอาด ไม่กินของสกปก
  7. รู้จักทำหน้าที่ ที่เหมาะสม
  8. มีความละอายในการทำผิด(หิริโอตัปปะ)
  9. ไม่ปล่อยปะละเลยหน้าที่ ให้การทำงาน ควรทำให้แล้วเสร็จ
  10. รู้จักที่ต่ำที่สูง

สรุป ผู้นำที่สมบูรณ์แบบคือผู้นำทีเปี่ยมด้วยความรู้ ความสามารถและมีคุณธรรมจริยธรรม ผู้นำที่ได้รับการยอมรับนับถือ มีอำนาจบารมีได้ เพราะความมีคุณธรรมจริยธรรม เป็นที่เลื่องลือทำให้การดำเนินงานขององค์กรได้รับการยอมรับ เชื่อถือ เพราะผู้นำมีคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ ใช้หลักความมี
จริยธรรมตามหลักธรรมาภิบาล หรือหลักบรรษัทภิบาลในการบริหารงานถือเป็นคุณธรรมอันสำคัญอย่างยิ่งของผู้นำ

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ / อ.ยม  นาคสุข / เพื่อน ๆ / และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

                ต้องยอมรับค่ะว่าในการเรียนวิชาภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กรสัปดาห์ที่ 2 นี้  ดิฉันเสียเปรียบเพื่อน ๆ ท่านอื่นเป็นอย่างยิ่ง  เพราะได้เรียนใน class วันศุกร์เท่านั้น  เนื่องจากป่วย  แต่ดิฉันก็จะพยายามศึกษาจากเอกสารที่ทางมหาวิทยาลัยแจกให้และจากเพื่อน ๆ ค่ะ

                 ในสัปดาห์นี้ที่ได้มาเป็นเนื้อ ๆ ก็คือ การเป็นผู้นำแบบญี่ปุ่น  ดิฉันประทับใจการเป็นผู้นำแบบญี่ปุ่นตรงที่คนญี่ปุ่น-          รักษาเวลา-          เคร่งครัดในกฎระเบียบ-          มีความเป็นชาตินิยมสูง-          มีความเป็นทีม

-          และชอบคิดค้นวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ

 

สุกัญญา  เพ็ญสุข

MBA ม.นานาชาแสตมฟอร์ด (หัวหิน)
นายเตชสิทธิ์ หอมฟุ้ง
เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม นาคสุข และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาMBA ทุกท่าน!!!             หลังจากที่ได้ศึกษาวิชาภาวะผู้นำเมื่อวันที่ 23-24 ก.พ. 50 นั้น จะได้ความรู้และความเข้าใจดังนี้ ภาวะผู้นำ (Leadership)       หากพูดถึง"ผู้นำ" เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีส่วนช่วย ให้องค์การประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลว และสามารถแข่งขันกับองค์การอื่นได้หรือไม่ ่ในโลกปัจจุบันที่ภาวะการแข่งขันนั้นสูงหากเราเปรียบองค์การเหมือนกับเรือลำหนึ่งการที่เรือจะแล่นสู่ฝั่งได้อย่างปลอดภัยหรือไม่นั้น มีองค์ประกอบหลายประการทั้ง ความสามารถของลูกเรือสภาพทะเลฯลฯแต่องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดคือกัปตันหรือผู้นำในเรือลำนั้นหากกัปตันไม่มีความรู้ ความสามารถที่เพียงพอ โอกาสที่เรือจะเข้าสู่ฝั่งได้อย่าง ปลอดภัยก็จะมีน้อยแต่หากกัปตันมีความรู้ความสามารถมีประสบการณ์ความชำนาญที่ดีแล้วโอกาสที่เรือจะเข้าสู่ฝั่งได้อย่างปลอดภัยก็จะมีสูง เช่นเดียวกับองค์การหากมีผู้นำหรือ ผู้บริหารที่มี ีความรู้ สามารถ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ฯลฯ องค์การก็สามารถที่จะแข่งขันกับผู้อื่นได้ และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้       ในอดีตลักษณะผู้นำที่ดีและเข้มแข็งนั้น จะมองเพียงในด้านกายภาพ บุคลิกภาพ ความรู้ความสามารถ ความมั่งคั่ง และบารมี เท่านั้น แต่สำหรับในปัจจุบันที่เกิดการ เปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา ผู้นำที่ดีและเข้มแข็งยังต้องมีวิสัยทัศน์ท ี่กว้าง ไกล มีการติดต่อสื่อสารในองค์การที่ดี ฯลฯ เพื่อที่จะนำองค์การไปสู่ความสำเร็จตาม ที่เป้า หมายได้ตั้งไว้ ขณะเดียวกันก็ต้องทำให้สมาชิกในองค์การเกิดความพึงพอใจ ในงานที่เขา ทำด้วย ลักษณะของผู้นำได้มีผู้ศึกษาถึงลักษณะผู้นำไปในหลายแนวทาง ทั้งในด้านคุณลักษณะ บทบาท หน้าที่ ฯลฯ แต่ในความเป็นจริงนั้นเราสามารถที่จะแบ่งผู้นำออกเป็น 2 ลักษณะคือ1.ผู้นำแบบเป็นทางการ (Formal Leaders) หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน เพราะว่าผู้บังคับบัญชานั้นคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้า
หรือให้มีอำนาจ หน้าที่ในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎระเบียบขององค์การ
2. ผู้นำแบบไม่เป็นทางการ (Informal Leaders) คือผู้นำที่ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา เพราะไม่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าในองค์การ แต่สมาชิกในหน่วยให้การยอมรับ และยกย่องให้เป็นผู้นำ เพราะเขามีคุณสมบัติบางประการที่หน่วยงานหรือสมาชิกในองค์การ ต้องการ ให้การยอมรับ หรือให้ความไว้วางใจ เช่น ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ มนุษย์สัมพันธ์ เป็นต้นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของผู้นำไม่ว่าจะเป็นแบบทางการ หรือ ไม่เป็นทางการ ก็คือ จะต้องมีลูกน้อง มีเงื่อนไขในการปกครองต่างๆเช่นกฏระเบียบ ข้อบังคับ การให้คุณ ให้โทษ ฯลฯ นอกจากนี้ผู้นำยังมีเรื่องของ วิสัยทัศน์ ความซื่อสัตย์ การจัดความสำคัญก่อนหลัง ความสามารถในการสร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงทางบวก ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการสื่อสารที่ดี และมีวินัยความเปลี่ยนแปลงของภาวะผู้นำ  ในสภาวะที่มีการแข่งขันสูง ภาวะผู้นำถือเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยผลักดัน ให้องค์การประสบความสำเร็จ ดังนั้นภาวะผู้นำจึงต้องได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง จากเดิมที่ผู้นำมีหน้าที่ในการวางแผนและบริหารเพื่อให้องค์การประสบความสำเร็จตามวัตถุ
ประสงค์ที่ได้ตั้งไว้เท่านั้น แต่สำหรับในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร สภาพ แวดล้อม (Environment)มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ดังนั้น นอกจากความสามารถ ในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ผู้นำยังต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล โดยอาศัย เทคโนโลย ีทางด้านข้อมูลข่าวสารต่างๆเป็นเครื่องมือในการที่จะรวบรวมข้อมูลต่างๆทั้งด้าน ความเคลื่อนไหวของคู่แข่งขัน ความต้องการของลูกค้า ปัญหาอื่นๆที่มีผลต่อธุรกิจหรือ องค์การ ฯลฯ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนและดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิผลที่เรียกว่า "Integrated leadership" กล่าวคือ เป็นการใช้ข้อมูลข่าวสารต่างๆที่ได้รับจากทั้งในองค์การ และนอกองค์การเพื่อใช้ในการวางแผนและดำเนินการภายใต้กรอบทางด้านคุณภาพและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก โดยเน้นไปที่กระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษา ความได้เปรียบและ รักษาความเป็นผู้นำในตลาดไว้ โดยพิจารณาจากสิ่งสำคัญ 2 ประการคือ
1.ภาวะผู้นำ ที่จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจ ทีมงานในองค์การ การสื่อสารในองค์การให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการสร้างภาวะผู้นำ นั้นต้องอาศัย ความตั้งใจ ความพยายาม รวมถึงประสบการณ์ของตัวผู้นำเอง2.การใช้ระบบการรวบรวมข้อมูลสำคัญๆต่างๆทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ , ข้อมูลข่าวสารความรู้ต่างๆ ที่เรียกว่า Control panel เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนา องค์การอย่าง ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วนี้ ทำให้เกิดปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อองค์การ อย่างมากมายทั้งในด้านเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ระยะเวลาในการผลิตสินค้าที่สั้นลง ความรู้และ ความต้องการของลูกค้าเพิ่มมากขึ้น การที่โลกเข้าสู่ยุคGlobalization ทำให้การติดต่อสื่อสาร เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และเข้าถึงคนได้ทั่วโลกเช่น Internet และอื่นๆอีกมาก ทำให้บทบาท ของผู้นำในอดีต หรือบุคคลเพียงคนเดียวไม่สามารถรับผิดชอบได้ ในยุคนี้จึงเน้น การพัฒนา ภาวะ ผู้นำควบคู่ไปกับการทำงานเป็นทีมเป็นสำคัญ และในขณะเดียวกัน การติดต่อสื่อสารภาย ในองค์การก็ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะการที่จะสื่อสารในเรื่องของภารกิจ วิสัยทัศน์ และค่านิยมต่างๆขององค์การไปสู่พนักงานที่อยู่ในองค์การ เนื่องจากหากพนักงาน เหล่านั้น มีความเข้าใจและมีความรู้ไปในทิศทางเดียวกันประสิทธิภาพขององค์การก็จะเพิ่มมากขึ้นและ
เป็นการช่วยลดปัญหาต่างๆในองค์การได้เป็นอย่างดี และผู้นำยังต้องพยายามจูงใจ พนักงานให้ เขาเกิดความกระตือรือล้นในการทำงาน โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น ให้มีส่วนร่วมในทีม มีส่วน ร่วมในความสำเร็จที่สำคัญ มีการแบ่งผลกำไร(Profit Sharing)อย่างเป็นธรรม ให้การยอมรับ ในตัวพนักงาน เป็นต้น ซึ่งจะส่งผล ให้เกิดความเข้าใจและแนวคิดในวัตถุประสงค ์ของ องค์การในตัวพนักงานตรงกัน และนำไปสู่ความสำเร็จขององค์การในที่สุด นอกจากนี้การ ที่ภาวะผู้นำจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องเกิดจากสภาพแวดล้อมในองค์การมีส่วนช่วยสนับสนุน ดังนั้นผู้นำที่ต้องการพัฒนาภาวะผู้นำของตนเองจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องต่อไปนี้
-ผู้นำควรจะวางตัวให้เสมอต้นเสมอปลาย ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป-ต้องสื่อสารความสำคัญของวิสัยทัศน์ให้แก่พนักงานทุกคน-ให้ความเคารพทุกคนในองค์การอย่างเท่าเทียมกันในฐานะที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน-ให้ความสำคัญและเปิดกว้างต่อความคิดของผู้อื่น-ต้องโปร่งใส-พยายามทำให้คนในองค์การยอมรับ-ช่วยผลักดันและแก้ไขเพื่อให้พนักงานประสบความสำเร็จในงานของเขา-กระจายอำนาจแก่พนักงานให้เหมาะสมกับความรับผิดชอบของเขาซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้นำในองค์การและในขณะเดียวกันก็เป็น
การช่วยผลักดันให้องค์การพัฒนาประสิทธิภาพด้วย เนื่องจากพนักงานรวมถึงทุกคนที่อยู่ใน องค์การจะให้การยอมรับในตัวผู้นำและเต็มใจที่จะทำงานให้กับองค์การที่เขาอยู่อย่างเต็มที่
และเต็มความสามารถ และทำให้ผู้นำได้ทราบถึงความเป็นไปภายในองค์การ ทราบถึงความคิด และปัญหาของผู้ที่อยู่ภายในองค์การ ฯลฯ เพื่อที่จะได้กำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินการ และการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง
ในยุคนี้นอกจากภาวะผู้นำมีความสำคัญแล้ว Control panel ก็มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจาก Control panel เป็นที่รวมข้อมูล ความรู้ รวมทั้งเป็นเครื่องมือสำคัญต่อกลยุทธ์ และเทคนิคในการดำเนินการของธุรกิจ และเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารที่ทำให้ ทุกคนที่ปฏิบัติงานเฉพาะของตนสามารถเชื่อมโยงระหว่างกันได้ทั้งองค์การ ระบบของ Control panel อาจมีในส่วนของการวางแผน การรวมศูนย์ การใช้งานประจำวัน การทำงาน เป็นทีม ระบบข้อมูลข่าวสารฯลฯ ซึ่งการวางแผนงาน การวางแผนกลยุทธ ์ในอนาคตนั้น จะอาศัย ระบบ Control panel มากขึ้น และจะเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง หรือเป็น Ongoing function คือการปรับเปลี่ยนให้ถูกต้องอยู่ตลอดเวลา โดย Control panel จะสร้าง ความเป็นหนึ่งเดียว เปรียบเสมือนสิ่งที่เป็นสื่อกลางขององค์การและเป็นที่รวบรวม และ วิเคราะห ์ข้อมูลต่างๆเพื่อการตัดสินใจขององค์การ การกระจายทรัพยากรต่างๆเป็นต้น และในระบบControl panel จะมีการรับข้อมูลจากหน่วยที่เรียกว่า Sensors ในรูปแบบต่างๆ โดย Sensors เหล่านี้จะตั้งอยู่ในจุดหรือหน่วยที่สำคัญในกระบวนการ หรือในองค์การเพื่อ ให้ผู้ บริหารสามารถเรียกข้อมูลผลการดำเนินการขององค์การในแต่ละส่วนได้อย่างรวดเร็ว เพื่อ
ใช ้ในการประมวลผล กำหนดกลยุทธ์ หรือ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ได้ทันเวลาเพื่อลดความ เสียหาย ให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
 นายเตชสิทธิ์     หอมฟุ้งMBA 6มหาวิทยาลัยนานาชาติสแตมป์ฟอร์ด      
นางสาวหยาดอรุณ อาสาสำเร็จ
สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   .ยม นาคสุข ที่เคารพ  และเพื่อนๆนักศึกษา MBA ทุกท่านอย่างไรก็ตามต้องขอโทษจริงๆค่ะที่ส่งงานล่าช้ากว่าท่านอื่นๆ  การพัฒนาผู้นำตามหลักทศพิศราชธรรม1.    การให้ ได้แก่ ให้สิ่งของ ให้ความรู้  ให้ทาน2.    ศีล  คือ  การมีความประพฤติที่ดีงาม ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี3.    การบริจาค คือ การสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม4.    การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต คือ มีความจริงใจ5.    ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี คือ ต้องใจกว้างและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น6.    การบำเพ็ญความเพียร เพื่อจำกัดความเกียจคร้าน 7.    การไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท 8.    การไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้องของตน และ        หน่วยงาน9.    การมีความอดทนอดกลั้น ความโลภ และแรงกดดันต่างๆ 10.    ความโปร่งใส ในการทำงาน และมีความตรงไปตรงมา  จริยธรรม  หมายถึง  พฤติกรรมที่ควรทำ ซึ่งทุกๆคนในองค์กรได้แก่         พนักงาน        หัวหน้างาน         ผู้บริหาร         ผู้นำควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้ จริยธรรมขององค์กรØ     รับฟังความคิดเห็นของพนักงานในองค์กร Ø     มีความจริงใจต่อเพื่อนร่วมงาน Ø     มีความเสมอภาคกับพนักงานทุกระดับ Ø     ให้โอกาสและให้อภัยแก่ผู้ร่วมงานในองค์กร Ø     มีความเคารพต่อกฎระเบียบในองค์กร Ø     ให้ความเคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน จริยธรรมต่อทีมงานØ     มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน Ø     มีความยุติธรรม Ø     ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน ด้วยความจริงใจ Ø     ให้ความเป็นกันเอง Ø     มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ Ø     ให้เกียรติและยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน Ø     ให้คำปรึกษาและช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จริยธรรมต่อสังคม  Ø     มีคุณธรรม Ø     มีความสามัคคี Ø     ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น Ø     ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีในสังคม Ø     ช่วยเหลือสังคม เมื่อมีโอกาส Ø     มุ่งประโยชน์ถือส่วนรวม Ø     มีความเมตตากรุณา Ø     ให้ความร่วมมือกับชุมชนและสังคม Ø     ดูแลองค์กรไม่ให้สร้างความเดือดร้อนกับสังคม จริยธรรมต่อคู่แข่งขัน Ø     พึงละเว้นการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายป้ายสี การขายตัดราคา การแย่งลูกค้าและข้อมูลของคู่แข่งมาโดยมิชอบØ     พึงให้ความร่วมมือในการแข่งขัน เพื่อสร้างสภาวะการตลาดที่ดี และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้เกิด ประโยชน์สูงสุดร่วมกันป้องกันดูและทรัพย์สินต่างๆ   การฝึกตนเป็นคนที่มีภาวะผู้นำต้องรู้จัก 1.ลด ละ เลิกสิ่งของและเรื่องที่ไม่ดี ที่เป็นอกุศลหรืออบายมุขทั้งหมด 2. ต้องหมั่นรักษาความดี หรือกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ  รวมถึงความรู้ ภูมิปัญญา ให้คงอยู่3. ต้องรู้จักป้องกัน ไม่ให้สิ่งที่ไม่ดีเข้าครอบงำ หากมีข้อบกพร่อง ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยเน้นที่การดับที่เหตุ4.ต้องรู้จักพัฒนาปรับปรุงสิ่งที่ดีๆ ที่ทำให้เจริญขึ้น หรือดีขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายขั้นสูง    กลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อการพัฒนา มี 2 แนวทาง ดังนี้1.    Top Down (Programmatic) เป็นกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงที่สั่งลงมาจากด้านบนของแผนภูมิองค์การ กลยุทธ์นี้จะมีผู้เกี่ยวข้องอยู่ไม่กี่คน เนื่องจากมีทรัพยากร และ งบประมาณจำกัด และใช้ได้ในระยะสั้น2.    Bottom-Up (Learning) เป็นกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงที่ให้ระดับล่างมีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิดสู่เบื้องบน กลยุทธ์นี้จะมีผู้เกี่ยวข้องอยู่มาก นางสาวหยาดอรุณ  อาสาสำเร็จ  ID 106142012 MBA#6
ยม รายงานการส่งบทความ สัปดาห์ที่สอง ของนักศึกษา MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด สัปดาห์ที่สอง

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ / นักศึกษา MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด หัวหิน และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

จากการรวบรวมข้อมูล จาก blog MPA MBA และภาวะผู้นำ  สรุปได้ว่า สัปดาห์นี้ ขณะนี้ มีนักศึกษา ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแห่งการเรียนรู้ใน Blog นี้ เรียงตามลำดับ ได้ดังนี้ 

  1. นายบุญยอด มาคล้าย เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 11:36 (182028)
  2. นางจำเนียร อำภารักษ์ ID 106142002 รุ่น 6 เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 17:25 (182328)  
  3. นายนิคม อำภารักษ์ ID 106142006 รุ่น 6 เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 17:53 (182349)
  4. นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID:105342002 เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 00:56 (182777)
  5. พนาวัลย์ คุ้มสุด เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 02:14 (182822) ID: 106142010
  6. นายราเชนทร์ แดงโรจน์ เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 10:41 (183017)
  7. นายณัฐพง์ ชุมนุมพันธื เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 13:19 (183177)
  8. นายชูศักดิ์ ลาภส่งผล เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 18:59 (183472)
  9. เสาวนีย์ ทวีเผ่า เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 23:33 (183723)
  10. Jaruwan Yunprayong MBA 6 ID:106142009 เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 13:09 (184299)
  11. น.ส.ปภาวี นาคสุข ID 106142008 MBA 6 เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 13:14 (184311)
  12. กนกลักษณ์ เร้าเลิศฤทธิ์ เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 13:48 (184346)
  13. นริศรา ทรัพย์ชโลธร เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 23:09 (184948)
  14. จริยา ลิ้มธรรมรักษ์ เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 23:44 (184997)
  15. นางสาวสุพรรษา อาลี ID 106242002 MBA 7 เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 23:50 (185009)
  16. นายประเสริฐ ชัยยะศิริสุวรรณ MBA 7 เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 00:14 (185033)
  17. ศรีสุดา วรรณสมบูรณ์ ID 106342002 เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 01:12 (185104)
  18. นางสาวปณิธาน เชื้อชาติ ID 106142013 MBA 6 เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 12:25 (185393)
  19. นาย สราวุฒิ ฉายแสง เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 13:03 (185413)
  20. นายเอกราช ดลยสกุล MBA 6 เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 15:07 (185543)
  21. วิวัฒน์ นาเวียง เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 15:53 (185570)
  22. นายเตชสิทธิ์ หอมฟุ้ง เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 23:50 (186007)
  23. นางสาวสุพรรษา อาลี ID 106242002 MBA 7 เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 23:50 (185009)
  24. นางสาวหยาดอรุณ อาสาสำเร็จ เมื่อ พฤ. 08 มี.ค. 2550 @ 08:02 (186168)

 ขอชื่นชม นักศึกษาที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจเขียนแชร์ไอเดีย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแห่งการเรียนรู้ ทั้ง 24 ท่าน  

อย่างไรก็ตามขอชื่นชมมากเป็นพิเศษ สำหรับนักศึกษาที่ส่งเข้ามาติดอันดับ Top Ten ได้แก่

 
  1. นายบุญยอด มาคล้าย เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 11:36 (182028)
  2. นางจำเนียร อำภารักษ์ ID 106142002 รุ่น 6 เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 17:25 (182328)  
  3. นายนิคม อำภารักษ์ ID 106142006 รุ่น 6 เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 17:53 (182349)
  4. นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID:105342002 เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 00:56 (182777)
  5. พนาวัลย์ คุ้มสุด เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 02:14 (182822) ID: 106142010
  6. นายราเชนทร์ แดงโรจน์ เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 10:41 (183017)
  7. นายณัฐพง์ ชุมนุมพันธื เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 13:19 (183177)
  8. นายชูศักดิ์ ลาภส่งผล เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 18:59 (183472)
  9. เสาวนีย์ ทวีเผ่า เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 23:33 (183723)
  10. Jaruwan Yunprayong MBA 6 ID:106142009 เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 13:09 (184299)
 ผู้นำยุคใหม่ นอกจากเก่ง ดีแล้ว ต้องรวดเร็วด้วย จึงจะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้ การเขียนแชร์ไอเดียของนักศึกษาโดยรวมมีการพัฒนาการที่ดี  ทั้งปริมาณ คุณภาพ และความรวดเร็ว  นักศึกษาที่เขียนได้ดี ดูได้จากแนวทางการเขียน ได้แก่
  1. ต้องมีครบ 3 ขั้นตอน คือ เปิดประเด็น ดำเนินเรื่อง และสรุป
  2. อย่างน้อยต้องแชร์ไอเดียตรงประเด็น ให้ครอบคลุม  สาระที่ได้มีการเรียนการสอน อยู่ในขั้นตอนดำเนินเรื่อง
  3. ที่ดีไปกว่านั้นคือสามารถกลั่นกรองความรู้บูรณาการประสบการณ์ และความรู้เดิม นำมาต่อยอดได้  ซึ่งมักจะอยู่ในขั้นตอนสรุป เสนอแนะ
  4. ต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นพยายาม ไม่เขียนสั้นจน เกินไป คือแทบไม่ได้สาระอะไร ตามที่ระบุไว้ใน ข้อ 2 3 ข้างต้น

นักศึกษาที่ส่งมา ติดอันดับ Top Ten ส่วนใหญ่ทำได้ดี และถ้าศึกษาแนวการเขียนทั้ง 4 ประการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ หลายท่านคงจะทราบว่า แนวการเขียนของท่านเป็นอย่างไร   นักศึกษาที่ทำได้ดี จะเปรียบเวลาเขียนสอบในทุกวิชา

ส่วนนักศึกษาที่ส่งมาช้าสุด และเขียนมาสั้นที่สุด ขอให้ทบทวนน๊ะครับ  ท.ทบทวนดูว่าเราจะพัฒนาอย่างไรให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ในยุคโลกาภิวัฒน์ ความดี ความเก่ง ความรอบรู้ ความรวดเร็ว และคุณธรรมฯ เป็นสิ่งที่เราต้องลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ 

สัปดาห์นี้ ศุกร์และเสาร์ที่จะถึงนี้จะมีการเรียนการสอน โดยอาจารย์ใหญ่ของเรา ศ.ดร.จีระ แน่นอน ในสัปดาห์นี้ ผมอาจจะไม่ได้ไปร่วมกิจกรรมด้วย เนื่องจากติดสัมมนาในกรุงเทพฯ ในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการปริญญาเอก

การเขียนบทความแชร์ความรู้ ของพวกเรา ขอให้ย้ายมาเขียนใน Blog MBA  นี้ช่วยบอกต่อไปยังเพื่อน ๆ ด้วย

ส่วนเนื้อหา  ใน Blog เกี่ยวกับผู้นำ ที่ผมตั้งขึ้นรองรับความเห็นของพวกเรานี้จะยังคงมีข้อความเกี่ยวกับผู้นำ ต่อเนื่อง ตลอดไป อย่างน้อย สัปดาห์ละครั้ง

ผมจะเขียน บทความแชร์ไอเดีย เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเกี่ยวกับผู้นำ ภาวะผู้นำ ในโครงการปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ต่อไป

สองสัปดาห์ที่ผ่านมา นักศึกษาส่วนใหญ่ทำได้ดีอยู่แล้ว คือ ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น รู้จักสร้างความสัมพันธ์ รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมชั้นเรียน และส่งบทความมาตามเวลา ขอให้ดำรงรักษาและพัฒนาไว้ให้ดี 

ท้ายนี้อย่าลืม ว่ามีงานแปลบทความ ที่แต่ละกลุ่มจะต้องส่งมาร่วมแชร์กัน น๊ะครับ

 

ขอความสวัสดีจงมีแด่นักศึกษาและท่านผู้อ่าน


อาจารย์ยม

081-9370144

[email protected]

http://gotoknow.org/blog/yom-nark11/80586

สวัสดีค่ะ ศ.ดร. จีระ อ. ยม เพื่อนนักศึกษา MBA รุ่น 6, 7 และผู้อ่านที่รักทุกท่าน

          ดิฉันได้เข้ามาอ่านงานของเพื่อนในBlog แล้วรู้สึกประทับใจ และอดชื่นชมกับการเรียน การสอนของท่านอาจารย์ และนักศึกษามิได้ เพราะต้องยอมรับว่าวิธีการนี้ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการเรียนรู้อย่างยิ่งจริง ๆ จากที่คิดว่าเราแค่เป็นผู้บริหาร มีเลขาไว้ทำงาน จะพิมพ์อะไรก็สั่งการไป อยากได้ข้อมูลอะไรก็สั่งการไป บางครั้งยังไม่มีเวลามาตรวจสอบ จึงทำให้งานที่ได้ ไม่ได้ดั่งใจ หรือผิดพลาดไปไม่อาจแก้ไขก็มี

          วันนี้หลังจากได้เข้ามาทำเอง พิมพ์เองตรวจเองทำให้รู้ว่าที่เราเคยคิดว่าไม่มีเวลานั้นบางครั้งมันเป็นข้ออ้างของตัวเราเองด้วยซ้ำไป ลองจัดสรรเวลาดูจริง ๆ เราเองก็สามารถทำได้แล้วทำให้เรารู้สึกภาคภูมิใจในผลการกระทำของเราแล้วทำให้มีความสุขและมีพลังขึ้นมาด้วยซ้ำไป

          สรุปข้อคิดเห็น : ดิฉันคิดว่าการเรียนการสอนของวิชาภาวะผู้นำ ตามแนวของ อ.ยม และอ.ใหญ่ ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นกับตัวดิฉัน และเชื่อว่าก็ได้เกิดขึ้นกับเพื่อน ๆ หลาย ๆ คนด้วยเช่นกัน และคงจะเป็นแนวทางที่เราสามารถนำไปใช้กับชีวิตการงานของแต่ละคนได้เป็นอย่างดีต่อไปในอนาคต

          พรุ่งนี้วันศุกร์คงได้มีโอกาสได้พบกับท่านอาจารย์ใหญ่ และคงได้รับฟังเรื่องราวของ ITV ซึ่งเป็นเรื่องที่พวกเราทุก ๆ คนตั้งตาคอยได้รับคำชี้แนะเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา วิเคราะห์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเราต่อไปในอนาคตนะคะ

                   ด้วยความเคารพอย่างสูง

       พนาวัลย์  คุ้มสุด นศ.MBA ID 106142010

      มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด หัวหิน

นางสาวศิรดา มากมี ID 106242004 MBA 7

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   .ยม นาคสุข และเพื่อนๆนักศึกษา MBA ทุกท่าน

จากการที่ได้เรียนวิชาภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงในสัปดาห์ที่2 ทำให้ได้รู้เกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำ  จริยธรรมของการเป็นผู้นำ และกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงองค์การสำหรับผู้นำ  ซึ่งสามารถสรุปเนื้อหาได้ดังนี้

การพัฒนาผู้นำ ตามหลักทศพิศราชธรรม

1.    การให้ ได้แก่ ให้สิ่งของ  ให้ความรู้  ให้ทาน2.    ศีล  คือ  การมีความประพฤติที่ดีงาม ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี3.    การบริจาค คือ การสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม4.    การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต คือ มีความจริงใจ5.    ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี คือ ต้องใจกว้างและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น6.    การบำเพ็ญความเพียร เพื่อจำกัดความเกียจคร้าน 7.    การไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท 8.    การไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้องของตน และหน่วยงาน9.    การมีความอดทนอดกลั้น ความโลภ และแรงกดดันต่างๆ10.           ความโปร่งใส ในการทำงาน และมีความตรงไปตรงมาจริยธรรม  หมายถึง  พฤติกรรมที่ควรทำ

ในการกำหนดจริยธรรมนั้น ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วม

และระหว่างที่เรียนนั้น ท่านอาจารย์ยมได้ให้ทำงานกลุ่ม เกี่ยวกับเรื่องจริยธรรมของผู้นำในด้านต่างๆ สามารถสรุปเนื้อหาได้ดังนี้

จริยธรรมของนักศึกษาปริญญาโท รุ่น 6 และ 7
  • ตรงต่อเวลา
  • มีส่วนร่วมในการเรียนรู้
  • มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
  • มีความรับผิดชอบ
  • มีเป้าหมายในการเรียน
  • มีความซื่อสัตย์ (ในการทำข้อสอบ
  • รู้รักสามัคคี
  • ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
  • แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
  • การแต่งกายสุภาพ
 
จริยธรรมขององค์กร
  • รับฟังความคิดเห็นของพนักงานในองค์กร
  • มีความจริงใจต่อเพื่อนร่วมงาน
  • มีความเสมอภาคกับพนักงานทุกระดับ
  • ให้โอกาสและให้อภัยแก่ผู้ร่วมงานในองค์กร
  • มีความเคารพต่อกฎระเบียบในองค์กร
  • ให้ความเคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน
 
จริยธรรมต่อทีมงาน
  • มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน
  • มีความยุติธรรม
  • ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน ด้วยความจริงใจ
  • ให้ความเป็นกันเอง
  • มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
  • ให้เกียรติและยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน
  • ให้คำปรึกษาและช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
 
จริยธรรมต่อสังคม
 
  • มีคุณธรรม
  • มีความสามัคคี
  • ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น
  • ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีในสังคม
  • ช่วยเหลือสังคม เมื่อมีโอกาส
  • มุ่งประโยชน์ถือส่วนรวม
  • มีความเมตตากรุณา
  • ให้ความร่วมมือกับชุมชนและสังคม
  • ดูแลองค์กรไม่ให้สร้างความเดือดร้อนกับสังคม
 
จริยธรรมต่อประเทศชาติ
 
  • ตั้งอยู่บนความพอเพียง
  • ซื่อสัตย์
  • ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
  • เสียสละเพื่อส่วนรวม
  • สามัคคี ปรองดอง เพื่อความสงบสุขของชาติ
ผู้นำทุกคนต้องมีจริยธรรมในการบริหารงานเพราะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
   เมื่อองค์การได้ดำเนินกิจการได้ระยะหนึ่งแล้ว ผู้นำควรที่จะมีการเปลี่ยนแปลงองค์
การเพื่อให้องค์การมีการพัฒนาเพราะจะทำให้องค์การมีผลกำไรมากขึ้น แต่ในการที่จะเปลี่ยนแปลงองค์การนั้น อาจจะได้รับการต่อต้านจากพนักงาน ดังนั้นผู้นำควรใช้ความสามารถและการมีภาวะผู้นำมาแก้ไขปัญหาเหล่านั้นที่จะเกิดขึ้น
กลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อการพัฒนา มี 2 แนวทาง ดังนี้
  
1.    Top Down (Programmatic)
      เป็นกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงที่สั่งลงมาจากด้านบนของแผนภูมิองค์การ กลยุทธ์นี้จะมีผู้เกี่ยวข้องอยู่ไม่กี่คน เนื่องจากมีทรัพยากร และ งบประมาณจำกัด และใช้ได้ในระยะสั้น รวดเร็ว  ประหยัด  ไม่เสียเวลามาก แต่มีข้อเสียคือ มีผู้เกี่ยวข้องอยู่ไม่กี่คน ทำให้เกิดกระแสการต่อต้านมาก 
2.    Bottom - Up (Learning)
     เป็นกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงที่ให้ระดับล่างมีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิดสู่เบื้องบน กลยุทธ์นี้จะมีผู้เกี่ยวข้องอยู่มาก จะมีคนระดับล่างมีส่วนร่วม ทำให้คนเหล่านั้นรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ ทำให้ลดการต่อต้าน และจะทำให้เกิดความสำเร็จในระยะยาว แต่มีข้อเสียคือเสียเวลามาก
นางสาวศิรดา มากมี 
ID 106242004
MBA 7

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ อ.ยม และท่านผู้อ่านทุกท่าน

จากการเรียนในวันที่ 2,3 มีนาคม ที่ผ่านมา ให้ทราบถึงปรโยชน์ของภาวะผู้นำ ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาวะผู้นำ และจริยธรรม

ประโยชน์ของภาวะผู้นำต่อตนเอง

  1. กล้าแสดงออก
  2. รู้จักคิดอย่างมีแบบแผน
  3. มีสติ

ประโยชน์ของผู้นำต่อสังคม

  1. ไม่ทำให้สังคมเสื่อม
  2. เอาใจใส่ต่อภาวะแวดล้อม
  3. เคารพสิทธิทางปัญญาของผู้อื่น
  4. ให้ความร่วมมือต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์ของผู้นำต่อองค์กร

  1. เพื่อให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์
  2. พัฒนาองค์กร

ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้นำ

  1. เทคนิคการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธศาสตร์ ประกอบด้วย "ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตา"
  2. เทคนิคพัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม ประกอบด้วย การให้ ศีล การบริจาค การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความอ่อนโยน การบำเพ็ญเพียร การไม่ถือโกรธ ไม่เบียดเบียน ความอดทน และ ความโปร่งใส
  3. เทคนิค 10 ประการฝึกตนให้เป็นผู้นำที่เข้มแข็งแบบชาติญี่ปุ่น

การฝึกตนเป็นคนที่มีภาวะผู้นำนั้นต้อง กำจัด รักษา พัฒนา และป้องกัน

จริยธรรม  คือ จริยะ + ธรรมะ หมายถึง การกระทำที่ควรปฏิบัติ องค์การท่ดีจะมีจริยธรรมที่ชัดเจน ประโยชน์ของจริยธรรม ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข รับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น พัฒนาให้ชีวิตสำเร็จตามเป้าหมาย มีเครื่องยึดเหนี่ยว และสร้างสันติภาพ

เนื่องจากปัจจุบันองค์กรต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงนี้มี 2 ทฤษฎีด้วยกัน คือ

  1. Top Down คือ การเปลี่ยนแปลงจากบนสู่ล่าง ผู้มีอำนาจจะสั่งการเพื่อให้พนักงานทำตาม การใช้ทฤษฎีนี้ใช้ได้ดีในระยะสั้นเท่านั้น ข้อดีคือ ประหยัด รวดเร็ว
  2. Bottomup คือ  ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง การใช้วิธีนี้จะได้ผลในระยะยาว และให้คุณภาพงาน และความสุขของพนักงานสูงกว่าแบบ Top Down

สรุป :  นอกจากผู้นำจะต้องมีภาวะผู้นำแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีจริยธรรม เพื่อความสงบสุขเรียบร้อยของสังคม และประเทศชาติ

เรียนอาจารย์ยม ดิฉันส่งงานเมื่อวันจันทร์ที่ 5 เวลา 17.30 น. แต่เพื่อน ๆ บอกว่าไม่มีงานของดิฉันบน Blog ดิฉันจึงต้องส่งมาใหม่ในวันนี้ค่ะต้องกราบขอโทษอาจารย์ด้วยค่ะ

น.ส. นภาพร พิพัฒน์  ID: 106142007

 

 

เรียน ศ.ดร.จีระ/อ. ยม นักศึกษา MBA รุ่น 6, 7 ม.นานาชาติแสตมป์ฟร์อด หัวหิน และท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน

ดิฉัน น.ส. พนาวัลย์ คุ้มสุด นักศึกษา MBAรุ่น 6 ID: 106142010 ขอส่งงานที่ท่านศ.ดร.จีระ ได้มอบหมายให้ โดยให้พวกเราสรุปจุดอ่อน จุดแข็งของตัวเองอย่างละ 3 ข้อบน Blog  ซึ่งดิฉันขอยกตัวอย่าง ในจุดอ่อน และแข็งของตนมาดังต่อไปนี้

จุดแข็ง

  1. ใฝ่รู้
  2. ตรงไปตรงมา
  3. มีเป้าหมาย

จุดอ่อน

  1. สมาธิสั้น
  2. ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง
  3. ความคล่องตัวทาง IT

SWOT

  1. ใฝ่รู้ ถือเป็นโอกาสเพราะทุนอย่างหนึ่งที่ผู้นำควรจะต้องมีคือทุนทางปัญญา
  2. ตรงไปตรงมา เป็นได้ทั้งโอกาสและอุปสรรค ถ้าในแง่ของโอกาสก็ใช้จุดแข็งนี้ให้เป็นประโยชน์ทางด้านให้ความสุขกับผู้อื่นได้ คือ ความมีจริยธรรมและคุณธรรม ถ้าเป็นอุปสรรคก็พยายามหลีกเลี่ยง หรือป้องกันได้ และพัฒนาไปในทางทีดี
  3. มีเป้าหมายถือเป็นโอกาสเพราะผู้นำควรกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนได้ กำหนดวิสัยทัศน์ได้

จุดอ่อนทั้ง 3 ข้อถือเป็นอุปสรรค ต้องได้รับการปรับปรุงพัฒนาแก้ไขดังนี้

  1. สมาธิสั้น ต้องหมั่นทำสมาธิอันนี้ทำได้เพราะชอบไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
  2. ภาษาอังกฤษเรียนเพิ่มเติมได้ โดยจัดสรรเวลาให้อาจารย์มาสอนแบบตัวต่อตัว
  3. ความคล่องตัวทาง IT พัฒนาได้โดยใช้งานให้บ่อยขึ้น หาคู่มือประกอบการใช้งานมาไว้ข้าง ๆ ตัว เข้าไปค้นหาข้อมูลใน Net ให้บ่อยขึ้น ความชำนาญคงเกิดขึ้นเองในภายหลังประเด็น :

สรุปประเด็น: การที่ได้ค้นพบจุดอ่อน จุดแข็งในตัวของเราทำให้เราได้สร้างโอกาสให้แก่ตัวเองในอันที่จะนำความรู้ที่ได้จากการเรียนในวิชาภาวะผู้นำมาใช้ในการพัฒนาตนให้เกิดภาวะการเป็นผู้นำขององค์กรที่เราทำงานอยู่ได้ และทำให้เกิดศักยภาพในการดำรงค์ชีวิตมากขึ้น มีมุมมองที่กว้างขึ้น มีความเป็น Professional มากขึ้น กล้าคิด การตัดสินใจ และกล้าเผชิญปัญหา และเข้าไปแก้ไขปัญหาได้มากขึ้น  มีความพร้อมในการที่จะนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นมืออาชีพ และสุดท้ายสามารถสร้าง Value ต่อตนเอง และต่อองค์กรได้อีกด้วย

                  ด้วยความเคารพอย่างสูง

           น.ส. พนาวัลย์ คุ้มสุด ID: 106142010

นางจำเนียร อำภารักษ์ ID 106142002 รุ่น 6

เรียน  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  อ.ยม และสวัสดีนักศึกษาทุกท่าน

       จากการเรียนเรื่องภาวะผู้นำในวันที่  9-10  มีนาคม 2550 ซึ่งผู้สอน คือ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ได้รับความรู้หลากหลาย สนุกมาก อาจารย์สอนโดยใช้นักศึกษาเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ฝึกให้รู้จักคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นและวิเคราะห์เป็น โดยใช้ทฤษฎีทางด้านภาวะผู้นำประกอบการเรียน

คำถามที่  1  อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ได้อะไรบ้าง เกี่ยวช้องกับภาวะผู้นำอย่างไร

       อาจารย์ค่ะดิฉันอ่านหนังสือเล่มนี้อย่างน้อย 2 รอบ ได้ข้อคิดและแนวปฏิบัติมากมาย ผู้บริหารยุคใหม่ทั้งองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนนักศึกษาและบุคคลทั่วไป สมควรจะนำไปเป็นเยื่ยงอย่าง

      คำว่า "พันธูแท้"  คือไม่หยุด มี 2 ชนิด คือ พันธุ์แท้ที่พัฒนากับพันธุ์แท้ที่ไม่พัฒนา แต่ถ้าเป็นของแท้จะต้องอยู่คงทนมีความคิดริเริ่มใหม่ ๆ อยู่เสมอ ซึ่งอาจารย์จีระวิเคราะห์พันธุ์แท้ว่า ต้องทำ 3 เรื่อง คือ ต้องทำให้สำเร็จ , ต้องมีบารมี และต้องยั่งยืน

       คุณพารณเป็นหนึ่งของผู้นำพันธุ์แท้ มีภาวะผู้นำที่ทำให้ทุกคนยอมรับและปฏิบัติตาม โดยการศึกษาจากผ้ที่เคยเกี่ยวข้องกับคุณพารณต่างก็สรุปลักษณะการเป็นผู้นำของคุณพารณดังนี้

  1. ท่านให้ความสำคัญกับเรื่อง คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร เครือซีเมนต์ไทยเป็น Brand name ที่ทำให้สังคมรู้จักคุณพารณ อิศรเสนาฯ สิ่งที่ท่านแสดงออกนั้น ท่านไม่เคยกล่าวชม ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยคำหวานแต่จะแสดงอาการชื่นชม แสดงความกระตือรือร้นที่ได้เห็นผลงานของลูกน้อง และชมต่อหน้า
  2. ท่านมีวิสัยทัศน์ก้าวไกล
  3. ท่านจะทำอะไรต้องมี "ความเชื่อ"มาก่อน
  4. จากการที่ท่านมาจากครอบครัวขุนนาง ทำอะไรต้องเป็นระบบ และประกอบกับจิตใจดี จึงกระตุ้นให้คนในองค์กรให้ความรัก ทุ่มเท ต่อองค์กรอย่างเต็มที่
  5. ท่านเป็นต้นแบบที่ดี เก่ง 4 ได้แก่ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และเก่งเรียน ดี 4 ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม
  6. ท่านมีการประเมินว่าพนักงาน ขาดตรงไหน ถ้าเป็นคนนอกดูความเก่งก่อน คุณพารณเป็นนักสร้างคนเก่งที่ดี ความสัมพันธ์ของพนักงาน เป็นแบบพี่ -  น้อง พนักงานจะควบคุมกันเอง พยายามสร้างองค์กรให้มีบรรยากาศของครอบครัว
  7. ท่านเชื่อในคุณค่าของคน เชื่อว่าทุกคนเป็นทรัพย์สินที่มีค่า คนเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด ไม่มีการปลดคนออกอันเนื่องมาจากเหตุผลทางธุรกิจ
  8. ส่งเสริมการฝึกอบรมให้กับพนักงานเป็นแผนประจำปี พนักงานได้รับความรู้ให้ทุนไปเรียนต่อ พัฒนาพนักงานทุกระดับและต่อเนื่อง ดูแลพนักงานอย่างดีให้ผลตอบแทนหลังเกษียณ
  9. รับประทานอาหารกลางวันกับพนักงาน
  10. มีนุษยสัมพันธ์ มีความผูกพัน มีแรงจูงใจทั้งพนักงาน และผู้แทนจำหน่าย ตลอดจนบุคคลทั่วไป
  11. การทำงานเป็นทีม ท่านมี EQ สูง การเลื่อนตำแหน่งต้องโปร่งใส
  12. การนำเอา "5 ส" ของญี่ปุ่นมาใช้
  13. บุคลิกที่เด่น ท่านฟังมาก คิดอะไรดีจะนำมาปฏิบัติ ทำอะไรท่านจะทำให้จบและถ่อมตน
  14. ให้ความสำคัญกับลูกค้า ซัพพลายเออร์  และคนที่ทำธุรกิจร่วมกัน สร้างเครือข่าย

        ได้ทราบแนวทางการปฏิบัติของคุณพารณโดยละเอียด เป็นผู้นำที่ดี มีภาวะผู้นำมากมาย ดังกล่าวมาแล้ว และสิ่งสำคัญที่สุด  ท่านเน้นเรื่อง "คน" เป็นสำคัญ

         สำหรับอาจารย์จีระ เป็นบุคคลที่น่านับถือ เป็นต้นแบบที่ดี ท่านเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ ศึกษาค้นคว้า ยากที่จะหาคนมาเปรียบได้ในประเทศไทย

         ถึงแม้ว่าท่านจะจบปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ แต่ท่านมีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาคน ซึ่งในสมัยนั้น ท่านเป็นนักวิชาการ คนแรกที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับคน ผลงานของท่านมีมากมาย ซึ่งสอดคล้องกับภาวะผู้นำทั้งสิ้น ผู้นำที่ดี ถ้าได้นำเอาสิ่งที่ท่านพูด ส่งที่ท่านได้ทำให้แก่องค์กรต่าง ๆ ไปเป็นต้นแบบกิจการก็จะเจริญก้าวหน้า ได้สรุปภาวะผู้นำของท่านไว้ดังนี้

  1. เป็นผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลั้ยธรรมศาสตร์ ด้วยวัยอันน้อยนิด เป็นผู้วางพื้นฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทย
  2. ได้รับมอบหมายจาก ILO  ทำวิจัยเกี่ยวกับแรงงานสัมพันธ์และการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากร
  3. มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสุขกับการทำงาน ปล่อยวางจากการท้าทายจากสังคมรอบข้างไม่ชื่นชมกับความเก่งของตนเองถึงแม้อายุยังน้อย
  4. มาจากพื้นฐานครอบครัวที่ดี และเริ่มต้นรับราชการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทต่อสังคม ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย สถาบันทรัพยากรมนุษย์จึงเกิดขึ้น ได้เข้าไปแสดงศักยภาพในการสัมมนาระดับนานาชาติ นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศไทย
  5. ส่งที่อ.จีระ  ภูมิใจมากได้รับเลือกเป็นประธานสภาที่ปรึกษา เพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ด้วยวัยเพียง 44 ปี ผลักดันให้คนยอมรับทรัพยากรมนุษย์ เพื่อประโยชน์แก่สังคม และมีโอกาสทำงานด้านนโยบายของรัฐบาล และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  6. อ.จีระ มีเครือข่ายตั้งแต่วัยเยาว์ มีบุคลิกการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีเครือข่ายสัมพันธ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สไตล์ของอ.จีระ เป็นคนที่คนอื่นสั่งไม่ได้ เอาจริงเอาจัง มาจากตระกูลดี พฤติกรรมจึงงดงาม รักอิสรภาพมาก มีความสามารถในระดับสากล ถ่ายทอดเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
  7. อ.จีระ เน้นความสำคัญของคน มีจุดยืนของตัวเองใช้อุปสรรคที่ผ่านมาเป็นโอกาส เน้นความสำเร็จของงาน
  8. มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล บนความเปลี่ยนแปลงจากกระแสโลกาภิวัตน์ หนังสือของอ.จีระเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ ทางด้านวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ ส่งไปตาม Asia Books และบางเล่มก็ถูกแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นเป็นคนเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และดักการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ ด้านธุรกิจยกระดับความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ ให้เป็นส่วนหนึ่งยุทธศาสตร์ของธูรกิจ เปลี่ยนจากความเชื่อเดิม ๆ มาเป็นเห็นคนเป็นปัจจัยสำคัญทางธุรกิจ องค์กรที่อยู่รอด คือองค์กรที่ดูแลเรื่องคน
  9. สนใจเรื่องการประเมินผล มีความคิดริเริ่มในสิ่งแปลกใหม่ทันต่อเหตุการณ์ ที่เห็นได้ชัด คือทฤษฎี 3 วงกลม อ.จีระมี Brandเรื่องทรัพยากรมนุษย์ ทางด้านวิชาการ เป็นนักวิชาการที่ติดดิน การเตรียมการสอน จะต้องทำการวิจัยก่อน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่รังเกียจผู้ด้อยโอกาส เป็นคนใจกว้าง เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นเต็มที่
  10. การพัฒนาคนไม่ใช่แค่ลงทุน แต่ต้องทำให้ครบวงจร คือจะทำอย่างไร จะดึงเอาการลงทุนเพิ่มศักยภาพได้เต็มที่ เป็นผ้ใหญ่ที่ใจดี มีเมตตา พร้อมที่จะให้อภัย มีความสุขเกี่ยวกับการให้
  11. ถึงแม้อาจารย์จะมีความรู้ระดับปริญญาเอก และการสะสมความรู้ประสบการณ์อาจารย์ได้พบกับ GURU  เก่ง ๆ ในโลกมากมาย เพื่อแชร์แนวคิด

           จะเห็นได้ว่าอาจารย์จีระ  เน้นความสำคัญของคน ซึ่งนับว่ามีภาวะผู้นำ เพราะทุกคนยอมรับและปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเต็มใจ สามารถุดึงดูดคนในกลุ่มขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่ผู้นำต้องการ

คำถามข้อที่  2  คุณพารณและอาจารย์จีระ มีภาวะผู้นำแตกต่างกัน หรือเหมือนกันอย่างไร

ส่วนที่เหมือนกัน

  1. มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล
  2. มีเป้าหมายเดียวกันให้ความสำคัญเรื่องคน
  3. เป็นผู้นำพันธุ์แท้
  4. มาจากครอบครัวที่อบอุ่น
  5. เป็นต้นแบบของทรัพยากรมนุษย์ของเมืองไทย
  6. มี Brand เรื่องทรัพยกรมนุษย์
  7. มีการประเมินผล

ส่วนที่แตกต่างกัน

  1. อาจารย์จีระมีพื้นฐานทางด้านการศึกษาจบปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ แต่คุณพารณจบทางด้านวิศวกรรมศาสตร์
  2. อาจารย์จีระมีวัยวุฒิน้อย คุณพารณมีวัยวุฒิมาก
  3. อาจารย์จีระเป็นนักวิชาการ คุณพารณเป็นนักบริหารองค์กรเอกชน
  4. อาจารย์จีระส่วนใหญ่ทำงานให้กับภาครัฐ คุณพารณทำงานให้กับภาคเอกชน

คำถามข้อที่  3  ให้หาจุดแข็งและจุดอ่อนมาคนละ 3 เรื่อง

ดิฉันมีจุดแข็งและจุดอ่อนดังต่อไปนี้

จุดแข็ง 

  1. จะทำอะไรต้องทำให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพ
  2. ตัดสินใจเร็วไม่ลังเล
  3. เป็นผู้ที่เสียสละ เวลา ทุนทรัพย์ ไม่คิดเล็กคิดน้อย ขอให้งานเสร็จตรงต่อเวลา

จุดอ่อน

  1. ขาดความมั่นใจ จิตใจอ่อนไหวง่าย ชอบวิตกกังวล
  2. ใจร้อน ไม่สุขุม รอบคอบเท่าที่ควร
  3. ไม่มีความสามารถในเรื่องของการกระจายอำนาจในองค์กรที่ทำอยู่ เนื่องมาจากความเกรงใจ

          สำหรับโจทย์ข้อที่  4  เลือกผู้นำ 1 คน ที่ชื่นชอบจะนำส่งใน Blog ต่อไป

 

                                     ขอบพระคุณค่ะ

                              นางจำเนียร  อำภารักษ์

 

      

 

 

 

 

นายนิคม อำภารักษ์ ID 106142006 รุ่น 6

เรียน  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  อ.ยม และสวัสดีนักศึกษาทุกท่าน

         ในการเรียนวันศุกร์ , เสาร์ ที่ผ่านมา ท่านอาจารย์ได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับผู้นำ ผู้นำต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ   จากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

     คุณพารณ  จบการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ไฟฟ้า ทำงานบริษัทปูนซีเมนต์ไทย

     ท่านได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรมนุษย์ ให้การศึกษาการบริการจัดการ และพัฒนาคนให้มีความสามารถสู้ได้ในโลกซึ่งเป็นแนวคิดของท่าน

      เครือซีเมนต์ไทยถือเป็นบริษัทเต็งหนึ่งในการพัฒนาบุคลากรท่านให้ปูนซีเมนต์ไทย กลายเป็นบริษัทคนไทยที่ปฏิบัติการด้านการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ ควบคู่กับการพัฒนาคนอย่างจริงจัง

  •  งานทุกอย่างต้องมีคุณภาพ (Quality)
  • ส่งสินค้าให้ลูกค้าทันตามกำหนด (Delivery) ราคาเป็นธรรม

ปัจจัยความสำเร็จของปูนซีเมนต์ไทย

  • ความจงรักภักดีและความมีวินัยของคนในองค์กร
  • คุณพารณ (กรรมการผู้จัดการใหญ่) เป็นผู้ควบคุมแผนการปฏิบัติการด้วยตนเอง
  • ให้ความสำคัญเรื่องคน เน้นคนผูกพันกับบริษัท
  • ความมีส่วนร่วมของพนักงานให้เกิดความผูกพันเสมือนครอบครัวเดียวกัน

คุณพารณ 

  • อ่อนน้อมถ่อมตน (ไม่ยึดติดกับคำยกย่องสรรเสริญ)
  • รู้ทันเทคโนโลยีใหม่ ๆ
  • เกิดในครอบครัวคนไทยโบราณขนาดใหญ่ อยู่กับคนหมู่มาก มีระเบียบวินัย มีคุณธรรมสูง

คุณพารณ กับงานและบุคลากร

  • แสดงความชื่นชมและกระตือรือร้นในสิ่งที่ลูกน้องทำ
  • มอบงานให้ตรงกับความสามารถของลูกน้อง
  • อดทนสูง ไม่ชอบคำสรรเสริญเยิ่นยอ
  • เอาใจใส่ฝึกอบรมพนักงาน ,ส่งเสริมพนักงานพัฒนาตนเอง
  • เยี่ยมเยียนถามไถ่ รับฟังความคิดเห็นของพนักงาน
  • สร้างแรงจูงใจ สร้างคนให้มีความสามารถในการเรียนรู้ ประเมินคุณภาพตามความสามารถ

ศ.ดร.จีระ  จบการศึกษาปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์

  • ท่านมีครอบครัวอบอุ่น (ทุนมนุษย์)
  • เป็นนักกีฬา แสวงหาการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
  • ศึกษาความรู้ใหม่ ๆ ตลอดเวลา (อ่านหนังสือพิมพ์ ค้นคว้าอินเตอร์เน็ต)
  • มีเครือข่ายตั้งแต่วัยเยาว์
  • ทำงานหลากหลายรูปแบบจึงต้องพัฒนาหาความรู้อยู่เสมอ
  • ได้ไปศึกษาที่ประเทศนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่สอนให้คิดนอกกรอบ เมื่อท่านได้ทำงานที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นนักวิชาการที่ก่อตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  • กล้าทำงาน
  • ผลักดันให้สังคมยอมรับทรัพยากรมนุษย์
  • มีกฎหมายประกันสังคม
  • ก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
  • การทำงานที่ดีคือการทำงานที่เอาความสามารถของคนแต่ละคนมารวมกัน
  • มีทุนแห่งความสุข และสมดุล (Happiness Capital)
  • เรียนรู้อยู่ตลอดเวลามองตัวเองน้อยลง มองคนอื่นมากขึ้น

             ท่านเป็นนักวิชาการที่ติดดิน มีงานค้นคว้าวิจัยอย่างลึกซึ้งถึงแก่น เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ เป็นนักวิชาการที่มีความเชื่อมั่นสูง ท่านมักกล่าวว่า "ผู้นำที่ดีคือ Coach ที่ดีเข้าใจจุดอ่อน , จุดแข็ง ของลูกน้อง"

            อาจารย์จีระและคุณพารณมีส่วนที่เหมือนกัน

  1. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
  2. พัฒนาตนเองใฝ่เรียนใฝ่รู้อยู่เสมอ
  3. มีเป้าหมายในการทำงานที่แน่นอน
  4. ให้ความสำคัญเรื่อง "คน" เป็นอันดับแรก
  5. สร้างความผูกพันต่อเพื่อนร่วมงาน

         ข้อแตกต่างระหว่างอาจารย์จีระและคุณพารณ

  1. คุณพารณทำงานบริษัทเอกชนส่วนอาจารย์จีระเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  2. วัยวุฒิแตกต่างกัน
  3. คุณพารณจบวิศวกรรมศาสตร์ไฟฟ้า ส่วนอาจารย์จีระจบด้านเศรษฐศาสตร์

จุดแข็งและจุดอ่อนของกระผมมีดังต่อไปนี้

จุดแข็ง

  • มีความมั่นใจในตนเอง
  • ทำงานต้องสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
  • กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ
  • มีวินัย ตรงต่อเวลา ขยัน อดทน

จุดอ่อน

  • พูดน้อย
  • ขาดความกระตือรือร้นในตนเอง
  • ประหม่า ทำงานช้า ไม่ทันต่อเหตุการณ์

 

     ผู้นำที่ชื่นชอบ  พลเอกสุรยุทธ์  จุลานนท์ 

     ประวัติ  พลเอกสุรยุทธ์  จุลานนท์  เกิด 28  ส.ค.  2486 บิดาชื่อ พ.ท.พโยม  มารดา  นางอัมโภช  มีพี่น้อง ดังนี้  1.  อัมพร  2.  นภาลัย 3.  สุรยุทธ์  4.  นภาวดี 

      บ้านเดิมของมารดา นางอัมโภช อยู่บ้านเลขที่  21  ถ.ประชาราษฎร์  1  ซอย 10  เขตบางซื่อ  แต่พื้นเพจริง ๆ เป็นคนท่าราบ อ.เมือง  จังหวัดเพชรบุรี บิดามารดาแยกทางกัน เมื่อ พลเอกสุรยุทธ์  อายุเพียง 4 ขวบ  (พ.ศ.  2490) ในบั้นปลายชีวิตบิดา (พ.ท.พโยม) เป็นกบฎต้องหนีลี้ภัยการเมืองที่ประเทศจีน

    การศึกษา

  •  อนุบาล (เตรียมประถม) ที่โรงเรียนเซนต์ฟรังค์ซีสซาเวียร์  ( พ.ศ. 2490)
  • ป.1 โรงเรียนเซนต์คาเบรียลจนจบ ม.3 (พ.ศ. 2497)
  • เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบ (พ.ศ.2500)
  • จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • เข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร เมื่อปี พ.ศ. 2501
  • เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่  1  (รุ่นแรก)
  • จบเตรียมทหาร (2503) เข้าเรียนนายร้อย จปร. 2504
  • จบนายร้อย จปร. ปี 2508  (รุ่นที่  12) เลือกเหล่าทหารราบ
  • ติดยศร้อยตรี มกราคม  2508
  • เข้าพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตรจากพระบาทสมเด็จพระจฃเจ้าอยู่หัวเมื่อ ก.พ. 2508 ในยุคจอมพลถนอม  กิตติขจร (ผบสส.)  พลเอกประภาส จารุเสถียร (ผบทบ.) พลตรีสำราญ  แพทยกุล (ผบ.รร.จปร.)
  • ประจำที่ศูนย์ฝึกทหารใหม่ ค่ายธนะรัชต์ ปราณบุรี
  • เรียนหลักสูตรผู้บังคับหมวดสอบได้ที่  3 
  • ไปประจำกรมผสมที่ 31  จังหวัดลพบุรี
  • ร่วมสมรภูมิรบช่วงสงครามเวียดนามในฐานะที่เป็นทหารรบพิเศษ ทหารพลร่วม จนได้รับเหรียญพิทักษ์เสรีชนชั้น 1 จาก จอมพลประภาส จารุเสถียร (ผบ.ทบ.)

ชีวิตสมรส

        แต่งงานครั้งแรกเมื่อครั้งที่  รับราชการอยู่หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษจังหวัดลพบุรี

       มีบุตร 1 คน คือร้อยตรีนนท์  จุลานนท์  แต่ต้องแยกทางกัน

       เข้าเรียน โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่  52 เมื่อเรียนจบสอบได้อันดับที่  1  ของรุ่น จนได้รับคัดเลือกไปเรียนที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สหรัฐอเมริกา

       แต่งงานครั้งที่  2  พ.อ.หญิง คุณหญิงจิตรวดี  มีบุตร 2 คน คือ สันต์  จุลานนท์  ,  จุล  จุลานนท์

     ในปี  2525  เป็นผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่  1  กองพลรบพิเศษที่  1  ติดยศพลตรีในตำแหน่งนายทหารคนสนิทนายกรัฐมนตรี ปี 2529 

  • ประจำสำนักงานปลัดกลาโหม
  • ประจำกองบัญชาการกองทัพบก
  • เมษายน 2532  เป็น ผบ.พล.รพศ.1 ติดยศพลโทในตำแหน่ง ผบ.นสศ. เมษายน 2535
  • 2537  แม่ทัพภาค 2
  • 2540  ตำแหน่งพลเอกที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก
  • 2541  ผบ.ทบ. (สมัยชวน  หลีกภัยเป็นนายกฯ)
  • 2545 ผบ.สส. (2  ส.ค. 2545)
  • 2546  เกษียณอายุราชการ

       14  พฤศจิกายน  2546  พลเอกสุรยุทธ์  จุลานนท์ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี

        1  ตุลาคม  2549  ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่  24  แห่งประเทศไทย

          เมื่อได้ศึกษาประวัติของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ แล้วสามารถนำมาวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับทฤษฎีภาวะผู้นำ 8 k's  ดังนี้

  1. ทุนมนุษย์  ได้รับการอบรมสั่งสอนมาจากครอบครัวนายทหารและมีคุณแม่ที่มีพื้นฐานมาจากครอบครัวนายทหารเช่นกัน
  2. ทุนทางความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ท่านได้รับการศึกษาจนจบที่โรงเรียนนายร้อย จปร. หล่อหลอมให้เป็นคนอยู่ในกฎระเบียบวินัย ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่นตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความถูกต้อง ไม่ยึดติดกับตำแหน่งดำเนินชีวิตอย่างสมถะ และปล่อยวาง
  3. ทุนทางปัญญา  ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนชั้นนำของประเทศไทย จบโรงเรียนนายร้อย จปร. ที่มีกรอบระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด
  4. ทุนทาง IT ท่านมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษดีเยี่ยม จนได้รับคัดเลือกไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สหรัฐอเมริกา
  5. ทุนแห่งความสุข  ท่านเป็นผู้ที่มีความสุภาพ ใจเย็น อ่อนน้อมถ่อมตน มีเหตุมีผล สุขุม รอบคอบ
  6. ทุนทางจริยธรรม  เนื่องจากท่านได้รับการอบรมจากครอบครัว ทำให้เป็นผู้มีจริยธรรม และคุณธรรมสูง มีความซื่อสัตย์สุจริต
  7. ทุนทางสังคม  เป็นแกนนำนักเรียนในต่างแดน เป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่างในด้านคุณธรรมและจริยธรรมทีดีของสังคม
  8. ทุนแห่งความยั่งยืน ท่านได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี และเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 แห่งประเทศไทย

             ขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูง

                        นายนิคม  อำภารักษ์

 

 

 

 

นางจำเนียร อำภารักษ์ ID 106142002 รุ่น 6

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงษ์ลดารมภ์  ที่เคารพ

     ต่อจาก Blog ที่แล้ว

ประวัติผู้นำที่ชื่นชอบ

           ประวัติคุณธนินท์  เจียรวนนท์  เกิดเมื่อ เมษายน 2482 เดิมชื่อ ก๊กมิ้น แซ่เจี่ย เป็นบุตรของนายเอ๊กซอ  แซ่เจี่ย กับนางกิมกี่  แซ่ตั้ง  มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 9 คน และพี่น้องต่างมารดาอีก 3 คน เป็นบุตรชายคนสุดท้าย สถานที่เกิด 299/301 ถ.ทรงสวัสดิ์ เขตสัมพันธวงศ์  กรุงเทพฯ สมรสกับคุณหญิงทวี   เจียรวนนท์ มีบุตรและธิดา 5 คน

  1. วรรณี  รอสส์
  2. ณรงต์  เจียรวนนท์ 
  3. สุภกิต  เจียรวนนท์
  4. ศุภชัย  เจียรวนนท์
  5. ทิพาภรณ์  วีระเมธีกุล

การศึกษา

  • พ.ศ.  2492  โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
  • พ.ศ. 2494  ซัวเถา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน
  • พ.ศ.2499 สถาบันศึกษาฮ่องกง
  • พ.ศ. 2532 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่  1

        ขอกล่าวถึงประวัติของบิดา นายเจี่ย เอ๊กซอ ชาวจีนได้มาตั้งรกรากในเมืองไทยในปี พ.ศ. 2464 เมื่อายุ 27 ปี มาพักอยู่ที่ถนนทรงสวัสดิ์ สัมพันธวงศ์ บางรัก กรุงเทพฯ สนใจในเรื่องเกษตรกรรม   นายเจี่ย เอ๊กซอ เปิดร้าน "เจี๊ยไต๋" เพื่อจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักที่มีคุณภาพ ที่นำมาจากเมืองจีน มาขายให้แก่ลูกค้าชาวจีนอพบพ และชาวไทยที่นิยมปลูกพืชเมล็ดพันธุ์ผักของเขามีคุณภาพเป็นหนึ่งไม่เป็นรองใคร นายเจี่ย เอ๊กซอ มีภรรยา 2 คน คือนางกิมกี่  แซ่ตั้ง และนางกานดา ประภากมล นายเจี่ย  เอ๊กซอ นอกจากจะมีความเก่งฉกาจด้านพืชผีกแล้ว ยังมีความสามารถในการผสมพันธุ์สัตว์ปีก  ซึ่งเป็นพรสวรรค์มาแต่กำเนิด

       คุณธนินท์  เจียรวนนท์  เป็นบุตรคนสุดท้องของนายเอ๊กซอ  แซ่เจี่ย  กับนางกิมกี่  แซ่ตั้ง ต่อมาบุตรต่างมารดาได้เปลี่ยนนามสกุลเป็น เจียรวนนท์

      กิจการของเจี่ยไต๋ รุดหน้าไปด้วยดี ได้ขยายกิจการไปในที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

       ต่อมาพี่น้องตระกูลเจียรวนนท์  ได้ร่วมกันเปิดร้านขายอาหารสัตว์ และยารักษาโรคเป็นของตนเอง แยกออกมาจากร้านเจี่ยไต๋ โดยตั้งชื่อว่า ร้าน"เจริญโภคภัณฑ์" ในปี พ.ศ. 2496

         ร้านเจริญโภคภัณฑ์  หรือ ซี.พี. ใช้รูปดอกบัวบานเป็นโลโก้และยกฐานะขึ้นเป็นบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เพื่อรองรับธุรกิจที่ขยายตัวไปต่างประเทศ คุณธนินท์  เจียรวนนท์ ได้เริ่มเข้ามาช่วยงานอย่างเต็มตัวในพ.ศ. 2506 หลังจากไปเป็นลูกจ้างของบริษัทสามัคคีค้าสัตว์ เมื่อคุณธนินท์  เจียรวนนท์ กลับเข้ามาช่วยงานที่บริษัท ได้รับการเรียนรู้ในระบบงาน ผู้ค้าสัตว๋ปีกและไข่ จึงมีประสบการณ์ และเป็นโอกาสทองที่บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เบนเข็มเข้าสู่ ธุรกิจฟาร์มไก่ ภายใต้การดูแลของคุณธนินท์  เจียรวนนท์

  การทำงานในฐานะผู้นำของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซี.พี

         ดิฉันได้ใช้ทฤษฎี 8 k's ทฤษฎีทุนในทรัพยากรมนุษย์มาวิเคราะห์ ภาวะผู้นำของคุณธนินท์  เจียรวนนท์ ดังนี้

          

  1. ทุนมนุษย์  ท่านเกิดมาในครอบครัวที่ได้รับการสั่งสอนมาดีครอบครัวใหญ่ แต่ละคนรู้จักหน้าที่มีความชอบจะเป็นนักบุกเบิกพัฒนาทางด้านธุรกิจโดยเลียนแบบบิดา
  2. ทุนทางความรู้ ทักษะ ทัศนคติ จากการที่คุณธนินท์  ได้คลุกคลีแวดวงธุรกิจมาจากบิดาแต่สิ่งที่คุณธนินท์ เห็นว่าสิ่งสำคัญก็คือความรู้และยินดีที่จะเป็นนักเรียนของอาจารย์เก่งๆ เสมอมา เป็นระยะยาว ท่านชอบแสวงหาคนเก่ง และจะไปเยี่ยมคนเก่งของโลกเช่นบิลล์เกตส์ ผลสำเร็จของ ซี.พี. เกิดจากสายสัมพันธ์ด้วยกลยุทธ์การผลิตการบริหาร และการตลาด เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส หรือใช้ความล้มเหลวให้เป็นครูสู่ความสำเร็จ
  3. ทุนทางปัญญา  ถึงแม้ว่าคุณธนินท์ ไม่ได้จบปริญญาตรี แต่ท่านก็แสวงหาองค์ความรู้ใหม่กับนักบริหารชั้นนำ เปิดโลกทัศน์ ในการคิดที่จะต้องอาศัยอิงกับข้อมูลจริง การสรรหาคนเก่งเข้าสู่องค์กร ต้องรู้จริงและทันเกมแห่งธุรกิจ ที่ผลิกผันอยู่ตลอดเวลา  
  4. ทุนทาง IT ปัจจัยที่สำคัญที่นำพาเครือซี.พี. สู่ความสำเร็จเพระนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ เครือ ซี.พี. ยึดวิสัยทัศน์ ที่ว่า " ผลิตให้เร็ว ผลิตให้มาก ผลิตให้มีคุณภาพดี และผลิตให้ประหยัดต้นทุนและเวลา" ผู้นำด้านเทคโนโลยีที่เห็นได้ชัดอยู่ในขณะนี้ คือ 7-eleven บนชั้นที่คุณธนินท์ ใช้เป็นห้องทำงานและกองบัญชาการใหญ่ของ ซี.พี.นั้นมีจอทีวีขนาดใหญ่ หลาย 10 จอ ที่เปิดรับข่าวสารจากทั่วโลก 24 ชั่วโมง ไม่เคยปิดแม้แต่นาทีเดียว
  5. ทุนแห่งความสุข  ความสำเร็จของซี.พี.ไม่เพียงแต่นำความภาคภูมิใจมาสู่ตระกูลเจียรวนนท์ เท่านั้น หากแต่คนไทยทั้งมวลต่างก็ภูมิใจที่บริษัทแรกของคนไทย สามารถไปยืนผงาดอยู่ในวงการธุรกิจของจีน อีกอย่างหนึ่งคุณธนินท์พูดว่า "มนุษย์ถ้าเรายกย่องเขา เขาก็ยอมแพ้ มีอะไรเขาก็จะให้หมด ภาพลักษณ์ที่ดี ท่านทำให้พนักงานในองค์กรเชื่อมั่นว่า เครือซี.พี. เป็นองค์กรที่จะฝากอนาคตไว้ได้
  6. ทุนทางจริยธรรม  ทุกครั้งที่เครือ ซี.พี.ไปลงุทุนในต่างประเเทศ จะต้องนำธงไตรรงค์ไปปักอยู่หน้าสำนักงานและโรงงาน คุณธนินท์ให้ข้อคิดว่า ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง ความเก่งเป็นอันดับสอง ต้องยอมรับความผิดเป็นและพร้อมแก้ไข การมีวินัยในการเงินไม่เคยมีประวัติเสียทางด้านการเงิน เมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤตการณ์ทางการเงิน ในปี 2540 เครือ ซี.พี. ได้ขายห้างโลตัส ให้กับ เทสโก้ เพื่อปลดเปลื้องหนี้สิน
  7. ทุนทางสังคม  คุณธนินท์ ทำธุรกิจไม่เคยเอาเปรียบใคร มอบสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ให้กับลูกค้าและมีความรับผิดชอบในการชำระภาษีให้กับรัฐเพื่อพัฒนาประเทศ
  8. ทุนแห่งความยั่งยืน สร้างคนและดึงดูดคนเก่ง ๆ เอาไว้ เขาตั้งบริษัทหลายบริษัทในธุรกิจ เขามีความคิดว่า แม้บริษัทใดล้มเหลว ก็จะมีบริษัทอื่นมาพยุงไว้ จะต้องรักษาเขาให้อยู่กับเราให้นานที่สุด ที่เห็นได้ชัดส่งเสริมให้พนักงานใน 7- eleven ได้รับการศึกษาในระดับปริญญาตรี และท่านให้แต่ละบริษัทในเครือ ผู้บริหารสามารถกู้เงินจากธนาคารมาดำเนินงานเอง สรุปก็คือว่า ในกลุ่มธุรกิจของ ซี.พี. มีอิสระ และอำนาจการตัดสินใจ การบริหารจัดการไม่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน จับผู้บริหารมาทำงานแข่งขันกัน เพื่อจะเลือกว่าใครคือบุคคลที่เก่งที่สุด

สรุป  ความเป็นเลิศในด้านภาวะผู้นำที่เด่นชัด ของคุณธนินท์  เจียรวนนท์ คือการดำเนินธุรกิจใหม่ ๆ จนประสบความสำเร็จ โดยที่คู่แข่งยากที่จะตามทัน คุณธนินท์  กล่าวว่า คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ที่ล้ำค่า เป็นหัวใจของทุกองค์กร

                                                  ขอบพระคุณค่ะ

                                            นางจำเนียร  อำภารักษ์

จริยา ลิ้มธรรมรักษ์

 

 

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ  อาจารย์ยมและนักศึกษา MBA มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด หัวหิน   

 

ตามท่านอาจารย์ให้นักศึกษาจัดส่งรายงานลง Blog ใน 3 ห้วข้อเรื่อง คือ1.  ให้สรุปการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ของ ท่านอาจารย์ และ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ว่า  นักศึกษาได้อะไรจากหนังสือเล่มดังกล่าว  

 

2.  ให้สรุปว่า ในการเรียนทั้ง 2 วัน กับท่านอาจารย์ ได้อะไรจากการเรียนนั้นพร้อมให้พิจารณาถึงตนเองทั้งในด้านจุดแข็งและจุดอ่อนเปรียบเทียบ 3 ข้อ เสนออาจารย์ 

3.  ให้นักศึกษาเลือกผู้นำที่นักศึกษาชอบเป็นพิเศษ  และเสนอประวัติพร้อมกับวิเคราะห์ภาวะผู้นำของผู้นำที่ตนเองชื่นชอบรายงานลง Blog จากทั้งสามหัวข้อดังกล่าว  

 

 

ดิฉันจึงขอสรุปดังต่อไปนี้

1.     สิ่งที่ได้รับจากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้คือ 

 

1.ทราบถึงประวัติของทั้งสองท่านซึ่งมีอายุห่างกันประมาณ 20 ปีมีทิศทางการเดินชีวิตที่แตกต่างกัน  แต่มีเป้าหมายเดียวกัน คือการมุ่งมั่นในเรื่องคน(เน้นเรื่องการวัดผล และความยั่งยืนระยะยาว)

 

**คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร**

 

 

2.ทั้งสองท่านเป็นผู้ที่ใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเหมือนกัน

 

 

3.ได้ทราบถึงทฤษฎี 4L’s ที่แตกต่างกันของทั้งสองท่าน แต่บนเป้าหมายเดียวกัน

 
4L’s 4L’s
VILLAGE THAT LEARN LEARNING METHODOLOGY
SCHOOL THAT LEARN LEARNING ENVIRONMENT
INDUSTRY THAT LEARN LEARNING OPPORTUNITY
NATION THAT LEARN LEARNING COMMUNITY
 

       

4.ได้รับทราบประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในกลุ่มบริษัทในเครือปูนซิเมนต์ไทยจากคุณพารณ

 5.ได้ทราบถึงปรัชญาชีวิตที่น่าสนใจของอาจารย์ที่ว่าเกิดมาเพื่อที่จะเรียนรู้ และเรียนรู้อย่างสนุก พร้อมกับนำความรู้มาใช้เพื่อสร้างสรรค์  

 

จากที่ดิฉันได้อ่านหนังสือ ได้แนวคิดจากทั้งสองท่านุ่งเน้นให้ผู้อ่านตระหนักถึงทรัพยากรมนุษย์ว่าเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร โดยต้องเริ่มจากตัวเองที่ทำให้เป็นคนที่มีคุณค่า การพยายามให้เป็นคนดี มีคุณธรรม เพื่อนำไปพัฒนาองค์กรและประเทศชาติ และดิฉันคิดว่าหนังสือเล่มนี้มีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่ใฝ่รู้สามารถนำไปใช้ประกอบการศึกษาหรือนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์    2.     ได้อะไรจากการเรียน 

        ดิฉันต้องขอโทษท่านอาจารย์ที่ไม่สามารถมาเข้าชั้นเรียนในวันที่9-10มีนาคมได้ เนื่องจากติดภารกิจอยู่ที่กรุงเทพค่ะ หลังจากนั้นดิฉันได้ติดตามเนื้อหาที่อาจารย์สอนจากเพื่อนในห้องเรียน  สำหรับข้อพิจารณาถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง  มีดังต่อไปนี้

 
จุดแข็ง จุดอ่อน
1. ใฝ่เรียนรู้  1. อารมณ์ร้อน
2. ขยัน อดทนและพยายามทำให้ดีที่สุด 2. ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
3. มีการวางแผนงานและทำงานอย่างเป็นระบบ 3. จิตใจอ่อนไหวง่าย
  

3.  ผู้นำที่ผมชื่นชมเป็นพิเศษ  คือ ผศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต
 
           ประวัติ อาจารย์เป็นหัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกำลังดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับด้านการจัดการนวัตกรรมทางเทคโนโลยี อีกทั้งยังเป็นสถาปนิกหนุ่มจาก UNIVERSITY OF WASHINGTON และ MASSACHUSETTS INSTITUTE OF TECHNOLOGY และดีไซนเนอร์ไดเร็คเตอร์ของเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ osisu ที่มีความโดเด่นเรียบเท่และเน้นในการนำวัสดุจากไม้และเศษกระดาษนำกลับมาใช้ใหม่ เพียงเพื่อจะหวังลดปริมาณขยะจากเศษไม้ แต่ผลที่ได้ในวันนี้คือความสำเร็จของนวัตกรรมเฟอร์นิเจอร์เพื่อสิ่งแวดล้อมทั้งไอเดียการออกแบบที่สวยงาน  ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีเศษวัสดุเหลือใช้จาการก่อสร้างอาคารสูงถึงปีละ 60 ล้านตัน  Osisu เป็นแบรนด์เดียวในโลกที่นำเศษไม้ที่เหลือใช้จากไม้อัดไม้สัก  เศษเหล็กจาการก่อสร้างอาคาร มาดัดแปลงประกอบขึ้นเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ที่มีความทนทานยผ่านขั้นตอนการผลิตที่ปราศจากสารเคมี

 

 

จุดเด่นของภาวะผู้นำคือ

 

1.  มีนวัตกรรมโดยการทำกรีนเฟอร์นิเจอร์ เพียงเพื่อยืดอายุของเศษไม้เหลือใช้ให้ยาวนานได้อีกหลายสิบปี ดีกว่าทิ้งไว้เพียงเป็นกองขยะที่ไร้ประโยชน์

 

2.  อาจารย์มีความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ โดยการนำสิ่งที่เหลือใช้มาออกแบบแล้วผ่านขั้นตอนการผลิตอย่างประณีตโดยได้รับรางวัลจากประเทศฝรั่งเศส และกรมส่งเสริมการส่งออก

 

3. เป็นต้นแบบมุ่งมั่นให้มีความยั่งยืนทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ โดยสร้างผลงานการออกแบบเพื่อตอบคำถามที่ไม่ใช่ของตัวเองเท่านั้น แต่อาจเป็นแนวคิดให้ใครหลายคน ที่จะทำอะไรเพื่อสิ่งแวดล้อมบ้าง

 

4. มุ่งหวังแต่ประโยชน์ส่วนรวมมาก่อนมุ่งหวังผลกำไร (มีคุณธรรม ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค) 

จากที่ดิฉันได้ยกตัวอย่างผศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต เนื่องดิฉันสนใจในการตกแต่งบ้าน ได้มีโอกาสได้พบเจออาจารย์แล้วเห็นความมุ่งมานะพยายามทำสิ่งที่ไร้ประโยชน์กลับมามีคุณค่าอีกครั้ง ซึ่งทำให้ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม  ให้แนวคิดกับหลายคนในการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปัจจุบันโลกของเรามีปัญหา global warming ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษยชาติน่าที่จะมีส่วนร่วมในการคำนึงถึง  และอยากจะนำมาเสนอกับท่านผู้อ่านอีกมุมมองทางด้านดีไซนเนอร์ ที่มีภาวะผู้นำที่น่าจะเป็นประโยชน์สถาปนิกหรือดีไซนเนอร์ และผู้บริโภค

จริยา ลิ้มธรรมรักษ์

106242001 mba7

นายณัฐพงศ์ ขุมนุมพันธ์

เรียน       ศ.ดร.จีระ/เพื่อนๆ MBA แสตมฟอร์ด หัวหิน และผู้อ่านทุกท่านครับ

เมื่อ ดร.จีระให้หาผู้นำที่มีภาวะผู้นำที่ชื่นชอบมา 1 ท่าน  ผมนึกอยู่นานเพราะมีหลายท่านที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคุณพารณ  คุณเจริญ  หรือแม้แต่ เจ็งกิสข่าน   แต่นึกไปนึกมาผมไม่อาจเห็นท่านเหล่านี้ทำงานได้จากการทำงานจริงนอกจากผลงานและข้อมูลที่ได้รับจากหนังสือหรือ Internet ทำให้ผมได้คิดถึงคนๆนึงที่ผมได้เห็นการทำงานของเขาในบางส่วน  ได้ลุ้นไปกับเขาว่างานของเขาจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ได้เห็นอารมณ์เมื่อเค้าดีใจหรือเมื่อผิดหวังเป็นบุคคลที่ยอมรับความพ่ายแพ้แล้วลุกขึ้นสู้ใหม่  มีน้ำใจนักกีฬา ให้โอกาสคนและสร้างคนมามากมาย ได้รับเครื่องราชย์ ชั้นสูงสุดของพลเมืองฝรั่งเศส  และสามารถพูดได้ถึง 5 ภาษา  บุคคลท่านนี้ก็คือ อาร์แซน  เวนเกอร์ครับ (ต่อไปผมจะเรียกสั้นๆว่าเวนเกอร์) เรามาดูประวัติคร่าวๆของเวนเกอร์กันก่อนดีกว่าครับ

Arsène Wenger Factfile
Name Arsène Wenger
Position Manager
Born October 22nd, 1949
  Strasbourg, France
Previous clubs as player Mutzig, Mulhouse, Strasbourg
Joined Arsenal 28 September 1996
Clubs as manager/coach Strasbourg (youth section) Cannes (assistant) Nancy AS Monaco Grampus Eight Nagoya (Japan)
Honours (Monaco): French League championship 1988; French Cup winners 1991; French 'Manager of the Year' 1988
Honours (Grampus Eight): Japan's 'Manager of the Year' 1995, Emperor's Cup winner 1996, Japanese Super Cup winner 1996
Honours (Arsenal): League championship 1998, 2002, 2004. F.A. Cup winners 1998, 2002, 2003, 2005. Voted 'Manager of the Year' 1998, 2002, 2004.
 

อาร์แซน เวนเกอร์

 

เวนเกอร์  ถือเป็นผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสรอาร์เซนอล เขาพาทีมปืนใหญ่คว้าแชมป์หลัก 7 ครั้ง (แชมป์ลีก 3 ครั้ง และแชมป์เอฟเอ คัพ 4 ครั้ง รวมไปถึงการคว้าแชมป์คอมมูนิตี้ ชิลด์อีก 4 ครั้ง) เขาเป็นผู้จัดการทีมอาร์เซนอลเพียงคนเดียวที่พาทีมคว้าแชมป์เอฟเอ คัพ ได้มากกว่า 1 ครั้ง พาทีมเป็นดับเบิ้ลแชมป์คว้าทั้งแชมป์ลีกและแชมป์เอฟเอ คัพได้ 2 ครั้ง (ในปี 1998 และ 2002) ซึ่งเป็นผู้จัดการทีมคนแรกที่ทำได้ในสโมสรแห่งนี้

 

ในฤดูกาล 2003/04 เขาเป็นผู้จัดการทีมคนแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลอังกฤษที่พาทีมแข่งขันเกมลีกจนจบ 38 นัดโดยไม่แพ้ทีมใดเลย

 

เมื่อฤดูกาลที่ผ่านมาเข้ากลายเป็นผู้จัดการทีมอาร์เซนอลคนแรกที่พาทีมผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศฟุตบอลยูฟ่า แชมป์เปี้ยนส์ ลีก ได้สำเร็จ ซึ่งหนทางสู่รอบชิงฯนั้นทีมก็ได้สร้างสถิติใหม่ให้กับฟุตบอลถ้วยยักษ์ของยุโรปด้วยการไม่เสียประตูติดต่อกัน 10 นัด

 

ในปี 2003 เขาได้รับเครื่องราชย์ฯชั้น OBE ต่อจากก่อนหน้านั้นที่เขาได้รับ Legion d'Honneur ซึ่งเป็นเกียรติยศสูงสุดของพลเมืองฝรั่งเศส ซึ่งเขาได้รับในปี 2002

 

ในเดือนตุลาคมปี 2004 เขาได้รับรางวัล Freedom of Islington และได้รับเกียรติบัตร 2 ใบ หนึ่งคือเกียรติบัตรทางด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสตราสบูร์ก และอีกฉบับคือ honoury DSc จากมหาวิทยาลัย เฮิร์ทฟอร์ดเชียร์ เขาสามารถพูดได้ถึง 5 ภาษาและใช้มันเป็นเครื่องมือในการพูดคุยกับนักเตะในห้องแต่งตัวที่สนามเอมิเรตส์ สเตเดี้ยม

ถ้าเราเรียบเทียบเกม “ฟุตบอล”คือ “ธุรกิจ” เวนเกอร์ได้กระทำหลายๆอย่างในหลักการบริหารธุรกิจคือ การกำหนด Vision Mission SWOT ของทีม

·         Vision    การตั้งเป้าหมาย (ฤดูการณ์นี้จะได้แชมป์อะไรบ้าง)

·         Mission                การหาหนทางที่จะไปสู่เป้าหมาย        จะจัดทีมอย่างไรให้ได้รับชัยชนะ

·          SWOT   ตัวเองมีจุดแข็งจุดอ่อนอะไรบ้าง โอกาสหรืออุปสรรคของทีม เล่นในบ้านหรือนอกบ้าน

และ เวนเกอร์ สามารถที่จะบริหารทีมได้ดี แม้บางครั้งทีมจะไม่มีเงินในการซื้อนักเตะใหม่  เวนเกอร์ได้ชื่อว่าเป็นผู้ซื้อนักเตะมาใช้ในราคาถูกและปั้นนักเตะจนมีชื่อและสามารถขายได้ในราคาแพง

เมื่อเราลองนำทฤษฎีต่างมาวิเคระห์ภาวะผู้นำในตัวของ เวนเกอร์

1.       ทฤษฎี Leadership roles by Stephen Covey

                                I.            Path finding        หาช่องทางไปสู่ความสำเร็จ                 จะเห็นได้ว่า เวนเกอร์ได้ตั้งเป้าหมายในการทำงานทุกครั้งทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

                              II.            Aligning                                กระตุ้นให้คนในองค์กรไปในทิศทางเดียวกัน      เรื่องนี้เวนเกอร์ผ่านสบายเนื่องจากจะเห็นได้ว่าเป้าหมายของทุกคนในทีมอาร์เซน่อลคือความสำเร็จของทีมหรือแชมป์เปี้ยน

                            III.            Empowering      มีการกระจายอำนาจ  เวนเกอร์ได้มีการกระจายอำนาจของเขาไปสู่ผู้ช่วยโค๊ช หัวหน้าทีม หรือแม้แต่ตัวนักเตะทุกคน  เมื่อสั่งการไปแล้วก็จะปล่อยให้นักเตะได้แสดงความสามารถของตัวเองออกมาแม้ลูกทีมจะผิดพลาดก็ไม่เคยแสดงอาการหรือว่าลูกทีมในที่สาธารณะมีแต่ใช้ทฤษฎีกางร่มออกมาปกป้องลูกทีมว่าทำดีที่สุดแล้ว

                            IV.            Role Modal         เป็นตัวอย่างที่ดี  ไม่เคยมีปัญหากับใครทั้งเจ้าของทีมและลูกทีมหรือมีข่าวเสียหาย

2.       ทฤษฎี Leadership roles ของ ศ.ดร.จีระ

                                I.            Crisis Management         แก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา  ในการแข่งขันบางครั้งทีมต้องตกเป็นรอง  เวนเกอร์ก็สามารถนำทีมกลับไปสู่ชัยชนะได้

                              II.            Anticipate change            รู้ว่าอะไรจะเกิดแล้วหาทางแก้ไข  เมื่อจะลงแข่งกับทีมใด เวนเกอร์ได้ศึกษาทีมนั้น  รู้เขารู้เรา และได้จัดทีมให้พร้อมก่อนลงสนาม

                            III.            Motivate other to Excellent        กระตุ้นให้ผู้อื่นไปสู่ความเป็นเลิศ  เวนเกอร์ได้พัฒณาความสามารถของลูกทีมอยู่ตลอดเวลาและได้ชื่อว่าเป็นเจ้าพ่อในการปั้นเด็กใหม่เข้าสู่วงการลูกหนังคนนึง

                            IV.            Rhythm & Speed              มีจังหวะที่เหมาะสม  ในการแข่งขันการเปลี่ยนตัวผู้เล่นถ้าทำอย่างมีจังหวะก็ก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันได้ และ เวนเกอร์ก็ทำในจุดนี้ได้ดี

                              V.            Edge      คม  เวนเกอร์ได้ศึกษากลยุทธ์ใหม่ๆเพื่อนำมาปรับปรุงทีมให้ทุกคนในทีมฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอรวมทั้งตัวเค้าเองก็ได้ฝึกซ้อมในการจัดทีมในสถานะการณ์ต่างๆ ทำให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆก็สามารถจัดการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ดังมีดที่คมก็สามารถที่จะตัดอะไรขาดได้ในครั้งเดียว

                            VI.            Team Work         เวนเกอร์ สามารถสร้างให้ทีม อร์เซน่อลเป็นทีมฟุตบอลที่มีทีมเวอร์คดีที่สุดทีมหนึ่ง

3.       ทฤษฎี 4 E’s

                                I.            Energy       มีพลังชอบงานที่ทำ  กีฬาฟุตบอลเป็นสิ่งที่ เวนเกอร์ชอบและเค้าก็ได้มาทำในสิ่งที่ตัวเองรัก

                              II.            Energize    เวนเกอร์ได้สร้างแรงจูงใจให้กับคนรอบข้าง  ทำให้ทุกคนในทีมมีเป้าหมายเดียวกันได้                           

                            III.            Edge           ตัดสินใจเด็ดขาด คม ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น

                            IV.            Execution  เกมการปข่งขันต้องมีแพ้มีฃนะเมื่อแพ้แล้ว เวนเกอร์ไม่เคยท้อแท้กลับพยามดึงลูกทีมเค้าสู่เกมหรือแม้แต่ฤดูกาลนี้ เค้าอาจจะพลาดเป้าหมายทุกแชมป์แต่ฤดูกาลหน้าเต้าจะต้องกลับมาสู้อีกครั้ง

จะเห็นได้ว่า  เวนเกอร์เป็นบุคคลมีภาวะผู้นำที่ดีคนนึง  ซึ่งเราสามารถเห็นการทำงานของเค้าได้ตลอดเวลาฤดูกาลนี้แม้เค้าจะพลาดแชมป์ แต่ก็ได้สร้างเด็กใหม่ขึ้นมาประดับวงการลูกหนังหลายคน ในฤดูกาลหน้า อาร์เซน่อลจะเป็นทีมที่น่ากลัวทีมนึง เนื่องจากเด็กใหม่เหล่านี้ได้มีประสบการณ์ในเกมใหญ่ๆและสำคัญๆมาแล้ว ถ้าเป็นเชิงธุรกิจ ฤดูกาลนี้เป็นช่วงปรับเปลี่ยนองค์กร เนื่องจากเวนเกอร์กล้าที่จะเปลี่ยนและได้มองเห็นอนาคตว่าทีมหลักชุดใหญ่ใกล้จะหมดสภาพเนื่องจากมีอายุมากขึ้น  และตัวเค้าก็พร้อมที่จะรับแรงกดดันจากหลายคนที่ผิดหวัง

ข้อเสนอแนะ

                บางครั้งการมีปากเสียงกับผู้จัดการทีมอื่น  อาจจะเพื่อกระตุ้นลูกทีมหรือข่มขวัญคู่ต่อสู้  อาจจะทำให้คนอื่นมองไม่ดีได้

สำหรับการบ้านข้ออื่นๆผมจะทยอยส่งเรื่อยๆครับ

นายณัฐพงศ์ ขุมนุมพันธ์

ค่อครับ 

วิเคราะห์ตนเอง  จุดแข็งและจุดอ่อนอย่างละ 3 ข้อ

จุดแข็ง

  1. คิดในแง่บวกตลอดเวลา  มองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ
  2. ใจเย็น
  3. มีความมุ่งมั่น ถ้าคิดจะทำสิ่งใดแล้วจะต้องทำให้สำเร็จ

จุดอ่อน

  1. การพูดในที่สาธารณะและการเรียบเรียงคำพูดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย (ข้อนี้ปัญหาใหญ่ของผมเลยครับ)
  2. ภาษาอังกฤษไม่ดีพอ
  3. ขาดความเด็ดขาด
นายณัฐพงศ์ ขุมนุมพันธ์

ขอต่ออีกครั้งครับ 

สิ่งที่ได้รับจากการอ่านหนังสือ "ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้"  ความเหมือนและความต่างของ คุณพารณและ ศ.ดร.จีระสิ่งที่ได้รับ

1.       ความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

2.       วิธีการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง คุณพารณและ ศ.ดร.จีระ

ความเหมือน

1.       ให้ความสำคัญในเรื่องของทรัพยากรมนุษย์เหมือนกัน

2.       มีวิสัยทัศน์กว้างไกลทั้ง 2 ท่าน

3.       การใฝ่รู้

4.       มีความคิดสร้างสรรค์

5.       เกิดมาในครอบครัวที่พร้อมด้วยกันทั้ง 2 ท่าน (ทุนมนุษย์)

ความต่าง

1.       วัยวุฒิ

2.       การศึกษา

3.       หน้าที่การงาน

ภาวะผู้นำในตัว คุณพารณ ที่สำคัญ

1.       ความเมตตา

2.       มีวิสัยทัศน์

3.       ใฝ่รู้

ภาวะผู้นำในตัว ศ.ดร.จีระ ที่สำคัญ

1.       มีความมั่นใจในตัวเอง

2.       มีวิสัยทัศน์

3.       ใฝ่รู้

ทั้ง 2 ท่านยังมีภาวะผู้นำที่ดีน่าเป็นแบบอย่างด้านอื่นๆอีกหลายด้านแต่ที่ผมยกตัวอย่างข้างต้น คือภาวะผู้นำที่ผมคิดว่าเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของท่านทั้งสองครับ

 

นายณัฐพงศ์ ขุมนุมพันธ์

เรียน ศ.ดร.จีระ สวัสดีเพื่อนๆ MBA และผูอ่านทุกท่านครับ  ผมลองสรุป ทฤษฎีภาวะผู้นำ แล้วนำมาเป็น ทฤษฎีใหม่ดังนี้นะครับ ผมลองแชร์ดู ถ้าใครคิดว่าขาดตกบกพร่องตรงส่วนไหนก็ช่วยๆกันเติมได้นะครับผมขออนุญาตใช้ชื่อผมก่อนหลังจากได้ได้ข่วยกันแก้ไขก็เปลี่ยนชื่อเป็นของส่วนรวมได้เลยครับ

ภาวะผู้นำ ทฤษฎี calexcom

  1. มี Vision Mission และกลยุทธ์ (ที่เป็นไปได้) มองเป้าหมายสุดท้ายให้ออก
  2. มีคุณธรรมและจริยธรรม
  3. มีความรู้ที่ใหม่อยู่เสมอ รู้ลึก รู้กว้าง
  4. มีมนุษยสัมพันธ์
  5. สนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชา
  6. ถ่ายทอดความคิดของตัวเราให้บุคคลอื่นได้  (ข้อนี้รวมไปถึงการนำพาทีมไปสู่เป้าหมายเดียวกันได้)

ขอขอบคุณ ศ.ดร.จีระที่ทำ Blog ไว้ให้ผมได้แสดงความคิดเห็น

นายชูศักดิ์ ลาภส่งผล
สวัสดีครับ ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อ.ยม และนักศึกษาทุกท่าน  จากการที่ได้เรียนในวันศุกร์และวันเสา์ร์ที่ผ่านมาก็ได้มีมุมมองความคิดแบบใหม่ที่ต่างจากเดิมสำหรับผู้นำที่ดีนอกจากจะเก่ง มีความสามารถหลายด้านแล้วยังคงจะต้องปรับตัวสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเพื่อสร้างความเป็นเลิศของตัวผู้นำเองแล้วยังคงมีผลต่อการนำไปพัฒนาลูกน้อง คนในองค์กรหรือเป็นแบบอย่างที่ดีของคนอื่นได้ ซึ่งก็จะต้องมีการปรับตัวตามจุดแข็งจุดอ่อนของแต่ละคนด้วย และสำหรับจุดแข็งจุดอ่อนสำหรับตัวของผมก็มีดังนี้ครับ จุดแข็ง ·        ทำงานสิ่งใดทำด้วยตั้งใจ·        มีความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใหม่ ๆ ตลอด·        ทุกอย่างที่ทำคือต้องคิดก่อนทำเสมอ  จุดอ่อน ·        ขาดความมั่นใจในตัวเอง·        มีความอ่อนไหวง่ายต่อการเปลี่ยนแปลง·        ขาดความกระตือรือร้นในตัวเอง อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้แล้วได้อะไรบ้าง และ คุณพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา เหมือนหรือต่างกันอย่างไรกับ ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์บ้าง ทราบถึงว่ามนุษย์หรือคนมีความสำคัญมากในการที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้หรือไม่ก็คือคนนั่นเองซึ่งเป็นทรััพยากรที่มีค่าสำหรับองค์กรมากที่สุด และสิ่งที่ควรนำไปเป็นแบบอย่างของผู้นำทางด้านทรัพยากรมนุษย์ของบุคคลทั้งสอง คุณพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา กับ ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์มีอะไรที่คล้าย ๆ กัน แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือ บุคคลทั้งสองมีเป้าหมายเดียวกันคือ ให้ความสำัคัญที่มุ่งการพัฒนาคน ที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ คุณพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา ·        มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ในการมองอนาคต ·        มุ่งเน้นการพัฒนาคนตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาจนถึงวันที่ปลดเกษียณอายุ ·        มีความตั้งใจในการที่จะพัฒนาคนให้มีความสามารถ  ·        สนับสนุนให้โอกาสทางการศึกษาให้แก่พนักงานทุกคนในองค์กร ·        มีการนำ 5 ส. ของญี่ปุ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในองค์กร ·        ให้ความสำคัญกับคนทุกคนทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่ได้ติดต่อด้วย ·        มีมนุษยสัมพันธ์กับพนักงานทุกคนปลูกฝังให้ทุกคนรักและทำงานกันเหมือนพี่น้อง เหมือนครอบครับเดียวกัน ·        เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งเก่งคน เก่งงาน เก่งเรียนรู้ เก่งคิดแล้วยังมีคุณธรรม จริยธรรม ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ·        มีความสามารถทางด้านวิชาการซึ่งเป็นนักวิชาการเต็มตัว ·        เป็นผู้รู้จักใฝ่ศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา ·        ทำงานมุ่งเน้นด้านการพัฒนาคนเป็นหลัก มุ่งผลสำฤทธิ์ของงาน ·        กล้าคิดนอกกรอบในสิ่งใหม่ ๆ ทำแล้วต้องเกิดประโยชน์ได้จริง  ·        มีมุมมองวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ในการมองอนาคต ·        มีการแชร์ความรู้กับทุกคนถือเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และนำมาใช้ ·        มีความตั้งใจในการทำงาน มีความเสียสละต่อส่วนรวม ความแตกต่างระหว่างคุณพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา กับท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ·        คุณพารณจบการศึกษาด้านวิศวกรรมไฟฟ้า แต่ท่าน ศ.ดร.จีระจบการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ ·        คุณพารณทำงานให้กับองค์กรธุรกิจของเอกชน ส่วนท่าน ศ.ดร.จีระทำงานทางด้านวิชาการของรัฐบาล ซึ่งเป็นนักวิชาการเต็มตัว ·        คุณพารณศึกษาและทำงานทางด้านทรัพยากรมนุษย์ด้านคนมาประมาณ 50 ปี ส่วนท่าน ศ.ดร.จีระ ทำงานทางด้านทรัพยากรมนุษย์มาประมาณ 30 ปี ซึ่งอายุของบุคคลทั้งสองก็ต่างกัน  ผู้นำที่ชื่นชอบคือ จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม  ประวัติ
      • ชื่อเดิม แปลก ขีดตะสังคะ
      • เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2440
        ณ บ้านแพ ปากคลองบางเขน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
      • เป็นบุตรของนายขีด กับนางสำอาง ขีดตะสังคะ
      • สมรสกับท่านผู้หญิงละเอียด (พันธุ์กระวี)
      • ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจวาย ณ บ้านพักที่ตำบลซากามิโอโน ซานกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2507 รวมอายุได้ 67 ปี
 การศึกษา
      • โรงเรียนกลาโหมอุทิศ วัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี
      • โรงเรียนนายร้อยทหารบก
      • โรงเรียนเสนาธิการ
      • โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศฝรั่งเศส
 ประวัติการทำงาน ·        พ.ศ.2462 ประจำกรมทหารบกปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ ·        พ.ศ.2466 ประจำกรมยุทธศาสตร์ทหารบก ·        พ.ศ.2475 รองผู้บังคับการทหารปืนใหญ่ ·        พ.ศ.2476 รองผู้บัญชาการทหารบก และรองผู้บังคับการมณฑลทหารราบที่ 1 ·        พ.ศ.2483 ผู้บัญชาการทหารบก ·        พ.ศ.2483 ผู้บัญชาการหารสูงสุดและแม่ทัพบก ·        พ.ศ.2490 ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย  บทบาททางการเมือง ·        พ.ศ. 2476 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภท 2 ·        พ.ศ. 2477 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ·        พ.ศ. 2481 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ·        พ.ศ. 2482 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ·        พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกในประเทศไทย จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไทย และในที่สุดได้ทำสัญญาพันธมิตรทางการทหารและเศรษฐกิจกับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผลให้ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เสร็จสิ้นลง จอมพลแปลก พิบูลสงคราม จึงต้องตกเป็นผู้ต้องหาอาชญากรสงคราม และถูกจับกุมขังเป็นเวลาหลายเดือน·        พ.ศ. 2485 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ·        พ.ศ .2491 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 3 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ·        พ.ศ. 2492 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ·        พ.ศ. 2494 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 5 ·        พ.ศ. 2494 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 6 ·        พ.ศ. 2495 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 7 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ·        พ.ศ. 2497 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ·        พ.ศ. 2498 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ·        พ.ศ. 2500 นายกรัฐมนตรีสมัยที่ 8  ผลงานที่สำคัญ ·        นโยบายสร้างชาติและการปลูกฝังความรู้สึกชาตินิยมให้แก่ประชาชนอย่างมากมาย เช่น การเปลี่ยนชื่อประเทศสยามมาเป็นประเทศไทย การเรียกร้องดินแดนทางด้านอินโดจีนคืนจากฝรั่งเศส การปลูกฝังความนิยมไทย และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยบางอย่าง เช่น การให้สตรีเลิกนุ่งโจงกระเบนแล้วหันมาสวมกระโปรงแทนการให้ประชาชนเลิกกินหมากพลู การตั้งชื่อผู้ชายให้มีลักษณะเข้มแข็ง ผู้หญิงให้แสดงถึงความอ่อนหวาน  ·        การส่งเสริมการศึกษาวิชาการแก่ประชาชน โดยเฉพาะได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเฉพาะวิชา เช่น มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ (มหิดล) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น

ท่านจอมพล ป.พิบูลย์สงครามเป็นผู้นำที่ดี มีความซื่อสัตย์อดทน มีการตัดสินใจที่เฉียบคมโดยไม่เกรงกลัวต่ออำนาจใด ๆ มีความซื่อสัตย์ยุุติธรรมสูง รู้จักการเสียสละ มีความเข้มแข็งในการปกป้องรักษาประเทศชาติ ปลุกระดมปลูกฝังความรู้สึกถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทยในการรักชาติบ้านเมือง ส่งเสริมด้านการศึกษาของประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำที่ควรเอาเป็นแบบอย่างทที่มีภาวะผู้นำซึ่งการที่จะเป็นผู้นำจะต้องเริ่มมองดูที่ตัวเราเองเป็นสำคัญยิ่งว่าตนเองมีจุดเ่ด่น จุดด้อยอย่างไรแล้วหันกลับมาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้น แต่ผู้นำที่ดีก็จะต้องสร้างความเลื่อมใสศรัทธาให้เกิดกับบุคคลทุก ๆ คน เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประเทศชาติ

นายชูศักดิ์  ลาภส่งผล

นักศึกษา ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดหัวหิน

MBA 6  

 

กนกลักษณ์ เร้าเลิศฤทธิ์
เรียน ศ.ดร.จีระ อ.ยม และนักศึกษา MBA ดิฉัน นางสาวกนกลักษณ์ เร้าเลิศฤทธิ์ ID: 106342003  ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด        จากการเรียนในวันที่ 9 10  มีนาคม  ที่ผ่านมาก ตามที่ ศ.ดร.จีระ ให้หาจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเองอย่างละ 3 ข้อ ซึงดิฉันมีดังต่อไปนี้       จุดแข็ง1.    มั่นใจในตัวเอง2.    ชอบศึกษาหาความรู้3.    เข้ากับคนอื่นได้ดีจุดอ่อน1.ใจร้อน2.เอาแต่ใจ3.จิตใจอ่อนไหว
นายวิวัฒน์ นาเวียง

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ หงส์ดารมห์ และสวัสดีผู้อ่านทุกๆท่าน จากเมื่อวันที่ 9-10 มีนาคม 2550 อาจารย์ได้กรุณามาให้ความรู้และร่วมทานมื้อค่ำที่ร้านชาวเลกับนักศึกษา MBA แสตมฟอร์ดหัวหิน ผมดีใจมากที่ได้มีโอกาศได้ศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำ กับผู้นำแนวหน้าตัวจริงเสียงจริงตอนแรกก็รู้สึกกลัว กลัวเวลาที่ท่านถามแล้วตอบไม่ถูก ไม่ตรงประเด็น เพราะผมยังด้อยประสบการณ์ แต่พอท่านได้แนะนำ ทฤษฎี 4 L’ กลับทำให้รู้เรื่องการเรียนการศึกษา เป็นเรื่องที่สนุก ตื่นเต้น ชวนติดตาม กับอาจารย์ เพราะเทคนิคการสอนของท่านจะทำให้บุคคลที่เรียนหรือตัวผู้สอนก็ตามเกิด แนวคิดใหม่ๆอยู่เสมอ จากการที่ได้อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ทำให้ทราบถึงปรัชญาแนวความคิดตลอดจนกลยุทธ์เละเทคนิคการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของท่านทั้งสองและเป็นประโยชน์ต่อผู้นำ โดยท่านทั้งสองได้เห็นถึงคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์มีค่ามากที่สุดในองค์กร รวมถึงความจำเป็นในการพัฒนาคน เพื่อให้เข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่ารวดเร็ว ตลอดจนแนวคิดในเรื่องการเพิ่มผลผลิตขององค์กรและอีกสิ่งหนึ่งนั้นก็คือท่านทั้งสองได้แสดงถึงความรักชาติ รักแผ่นดิน ความมุ่งมั่นที่จะสร้างคนไทย สังคมไทยไปสู่จักวาลการเรียนรู้เพื่อให้คนไทยสามารถแข่งกับนานาชาติได้ และต้องพัฒนาด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิตไม่ใช่ถูกสอนให้รู้เป็นนกขุนทอง การลงทุนที่เพิ่มมูลค่าให้ทรัพยากรมนุษย์ก็คือการพัฒนาคนให้มีความรู้ อย่างเดียวกันถ้าจะพัฒนาประเทศก็ต้องพัฒนาคนในประเทศให้มีความรู้ และศีลธรรม จริยธรรมควบคู่กันไป หนังสือเล่มนี้ได้ให้แนวคิดและปรัชญามากมาย รวมทั้งแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมทำให้เข้าใจง่ายยิ้งขึ้นและชี้ให้เห็นเหตุและผลของแนวคิด สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและองค์กรได้ กล่าวคือต้องหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆ

ความเหมือนและแตกต่างกันของคุณพารณ กับ ศ.ดร.จีระ

เรื่องทั้งสองท่านซึ่งมีจุดเริ่มต้น เส้นทาง ไม่เหมือนกัน แต่มีเป้าหมายเหมือนกัน คนหนึ่งเป็นนักวิชาการอีกคนหนึ่งเป็นนักปฏิบัติ ในความเหมือนกันและแตกต่างกันของคุณพารณ กับ ศ.ดร.จีระ แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคุณพารณ เน้นจากการจัดการภายในองค์กร เช่น ในบริษัท ปูนซีเมนต์ ในชุมชน ในโรงเรียน ในประเทศ และเน้นที่ผู้บริหารต้องเป็นคนที่มี Education mind และคนในองค์กรนั้นต้องมีศักยภาพ จะทำให้องค์กร ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประสบความสำเร็จได้ สำหรับท่าน ศ.ดร.จีระ เน้นการผลักดันในระดับเวทีนานาชาติ ระดับโลก แต่เมื่อนำแนวคิดทั้งสองท่านมาพิจารณาร่วมกันจะเห็นได้ว่า ทั้งสองท่านได้ร่วมมือกันสร้างสรรค์ประเทศได้อย่างสอดคล้องลงตัวพอดี หากจะมองว่าคุณพารณ เป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระดับในเชิงลึก คือ ระดับรากหญ้า ได้แก่กลุ่มชุมชนที่กระจายอยู่ และในเชิงกว้างคือ เป็นการพัฒนาระดับองค์กร ไปสู่ระดับประเทศ และไปสู่ระดับโลก ศ.ดร.จีระท่านเป็นผู้ต่อยอดระดับประเทศ หรือหากจะมองว่าทั้งสองท่านได้ช่วยกันเร่งรัด เสริมสร้างพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในรูปแบบไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้ คนของประเทศมีศักยภาพสูง พร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าในยุค Globalization อย่างเท่าเทียมกัน สำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติมในแนวคิด 4L’s ของทั้งสองท่านเป็นแนวคิดที่เมื่อรวมกันแล้ว คือแนวทางที่นำไปสู่การเป็น Global Citizen ดังนั้นจึงควรที่นำแนวคิดนี้ไปปรับใช้ในทุกเวทีของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ในการสำรวจตัวเองว่ามีจุดเด่นและจุดอ่อนอย่างไรนั้นตัวของข้าพเจ้าเองมีดังนี้

จุดแข็ง – เป็นผู้ใฝ่รู้ตลอดเวลา รู้เหตุรู้ผล รู้จักตัวเอง มีคุณธรรม

    • มีความตั้งใจ อดทน กล้าคิดกล้าตัดสินใจ
    • มีมนุษยสัมพันธุ์ที่ดี สามารถปรับตัวเข้าผู้อื่นได้ง่าย

จุดอ่อน - มีความอ่อนไหวทางอารมย์

    • ไว้ใจคนอื่น เชื่อคนง่าย
    • ขาดทักษะในการพูด

จากจุดแข็งที่ตัวของผมเองมีนั้น ทำให้ลูกชาวนาที่ยากจนอย่างผมประสบความสำเร็จมาจนถึงวันนี้ก็เป็นเพราะความมานะตั้งใจทำในสิ่งที่ตนเองฝันใว้มาจนถึงกว่าครึ่งทาง และผมจะพยายามลบจุดอ่อนจากตัวผมออกไปโดยการฝึก อดทน ส่งเสริมพัฒนาจุดแข็งที่มีอยู่ให้คงอยู่กับผมตลอดไปซึ่งเป็นหนทางแห่งความสำเร็จฯ

การศึกษาประวัติศาสตร์ของเราซึ่งบรรพบุรุษของเรามีผู้นำที่มีความสามารถหลายๆท่าน และได้ทิ้งมรดกให้เราก็คือภูมิปัญญาหรือเรียกว่าภูมิปัญญาชาวบ้านที่สามารถนำมาบูรณาการใช้ในชีวิตประจำวันในยุคปัจจุบันได้

ผมจึงเลือก ย่าโม หรือ ท้าวสุรนารี มาศึกษาในเรื่องภาวะผู้นำ ท่านเป็นวีรสตรีที่มีความกล้าหาญ

เริ่มจากประวัติของท่าน

นามเดิมว่า "โม" (แปลว่าใหญ่) เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด บ้านอยู่หน้าวัดกลางนคร (วัดพระนารายณ์มหาราช) ทางทิศใต้ ในเมืองนครราชสีมา เกิดเมื่อปีเกาะ พ.ศ.๒๓๑๔ เป็นลูกหญิงของ นายกิ่ม นางบุญมา (สมัยนั้น) ยังไม่มีนามสกุล) มีพี่สาวคนหนึ่งชื่อ แป้น ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชาย คนหนึ่ง ไม่ปรากฎชื่อ (ภายหลัง ได้เป็นเจ้าเมืองพนมซร๊อก ต่อมามีการอพยพชาวเมืองพนมซร๊อก มาอยู่ ริมคูเมืองนครราชสีมาด้านใต้ จึงเอาชื่อเมือง พนมซร๊อก มาตั้งชื่อบ้านพนมศรก ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น บ้านสก อยู่หลังสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ จนทุกวันนี้)

พ.ศ.๒๓๓๙ นางสาวโม อายุ ๒๕ ปี ได้แต่งงานสมรสกับนายทองคำ พนักงานกรมการเมืองนครราชสีมา ต่อนายทองคำ ได้เลื่อนเป็นพระภักดีสุริยเดช รองปลัดเมือง นางโม ก็ได้เป็นคุณนายโม ต่อมา พระภักดี สุริยเดช ได้เลื่อนเป็นพระยา สุริยเดช ปลัดเมืองนครราชสีมา คุณนายโมก็ได้เป็นคุณหญิงโม ชาวเมืองเรียก เป็นสามัญว่า "คุณหญิงโม" และ "พระยาปลัดทองคำ" ท่านเป็นหมันไม่มีทายาทสืบสายโลหิต แต่ชาวเมือง ทั้งหลายก็เรียกว่าแม่ มีผู้มาฝากตัวเป็นลูก หลายอยู่มาก ซึ่งเป็นกำลังและอำนาจส่งเสริมคุณหญิงโมให้ทำการ ใดๆ ได้สำเร็จเสมอ คุณหญิงโมมักจะพาลูกหลาน ไปทำบุญที่วัดสระแก้วเป็นประจำ

คุณหญิงโม มีสติปัญญาหลักแหลม เล่นหมากรุกเก่ง มีความชำนาญในการขี่ช้าง ขี่ม้า ม้าตัวโปรดสีดำ

วีรกรรม ของท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรสตรีของไทย คือ การนำชาวนครราชสีมาต่อสู้ ขับไล่ทหารเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ ไปเสียจากการครอบครองเมืองนครราชสีมา จนได้รับพระราชทานบำเหน็จความชอบจาก ร.๓ ให้สถาปนาเป็น "ท้าวสุรนารี" เมื่อ ๓๐ ตุลาคม ๒๓๗๐ อายุ ๕๖ ปี

ในปี พ.ศ.2369 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุวงศ์บุตรเจ้าศิริบุญสาร ผู้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุต ล้านช้างและเวียงจันทร์ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยต้องการเป็นเอกราช จึงเป็นกบฏยกทัพจะมาตีกรุงเทพฯ เจ้าอนุวงศ์ใช้อุบายหลอกลวงเจ้าเมืองตามรายทาง โดยปลอม ท้องตราพระราชสีห์ ว่า ไทยขอให้เจ้าอนุวงศ์ยกทัพมาช่วยรบกับอังกฤษ ซึ่งยกทัพเรือจะมาตีกรุงเทพๆ จึงไม่มีผู้ใดขัดขวาง
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2369 เจ้าอนุวงศ์ยกทัพมาถึงเมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านและ มีความอุดมสมบูรณ์ ในขณะที่เจ้าพระยามหานครราชสีมา ไม่อยู่ และพระยาปลัดเมืองนครราชสีมาไปราชการเมืองขุขันธ์ กองทัพเจ้าอนุวงศ์มาถึง จึงเข้ายึดเมือง ยึดทรัพย์สินและให้เพี้ยรามพิชัย หรือพระยารามพิชัย กวาดต้อนชาวเมืองไปเป็นเชลยศึก เดินทางกลับไปเวียงจันทร์ก่อน ส่วนเจ้าอนุวงศ์เดินทัพต่อไปยังสระบุรีเพื่อเข้ากรุงเทพๆ
ในบรรดาเชลยศึกมีคุณหญิงโมรวมอยู่ด้วย คุณหญิงโม เป็นหญิงที่ฉลาดหลักแหลมรู้ทันว่า เจ้าอนุวงศ์หลอกลวง คุณหญิงโมออกอุบายให้ทหารเวียงจันทร์ ตายใจ โดยวางแผนดังนี้ ให้หญิงไทยที่ถูกต้อนเป็นเชลยยั่วยวน หน่วงเหนี่ยวทหารให้เดินทัพช้าลง วางแผนให้พวกผู้หญิง หลอกขอมีด จอบ เสียม มาใช้ซ่อมเกวียนและทำอาหาร แท้จริงแล้วกลับนำมีด จอบ เสียมนั้นมาลอบตัดไม้เป็นอาวุธแอบซ่อนไว้ นี้เป็นกลอุบายที่ในยามขับขันที่ต้องตกเป็นเชลยศึกแต่สามมารถรวมชาวบ้านและปลุกระดมในการกอบกู้เอกราชป้องกันประเทศชาติแสดงถึงความรักชาติ
-วีรกรรมของคุณหญิงโมนั้นเป็นที่คนไทยรุ่นหลังทราบดีว่า ท่านได้เป็นหัวหน้ารวบรวมครอบครัวชายหญิงชาวนครราชสีมา (ที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย) เข้าต่อสู้ฆ่าฟันทหารลาวล้มตายเป็นอันมาก ณ ทุ่งสำริด แขวงเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๓๖๙ ที่ช่วยให้ฝ่ายไทยสามารถกอบกู้เมืองนครราชสีมากลับคืนมาได้ในที่สุด วีรกรรมอันห้าวหาญของคุณหญิงโม เมื่อทราบไปถึง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาท่านขึ้นเป็น ท้าวสุรนารี และได้รับ พระราชทานเครื่องยศ ดังนี้ถาดทองคำใส่เครื่องเชี่ยนหมาก ๑ ใบ จอกหมากทองคำ ๑ คู่ ตลับทองคำ ๓ ใบเถา เต้าปูนทองคำ ๑ ใบ คนโทและขันน้ำทองคำอย่างละ ๑ ใบ อนุสาวรีย์ของท่านประดิษฐานอยู่ที่หน้าประตูชุมพล ตั้งแต่วันที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ และได้บูรณะใหม่ให้งามสง่ายิ่งขึ้นเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๐
-เหตุการณ์ที่สมควรจะบันทึกไว้ในปี พุทธศักราช ๒๕๒๔ คือเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ทรงวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ท่ามกลางพสกนิกร ที่เข้าเฝ้าถวายความจงรักภักดีอย่างเนื่องแน่น ในโอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานบรมราโชวาทมีความตอนหนึ่งว่า
....ท้าวสุรนารีเป็นผู้ที่เสียสละเพื่อให้ประเทศชาติได้อยู่รอดปลอดภัย ควรที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน บ้านเมืองทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ต้องหวงแหน การหวงแหน คือ ต้องสามัคคี รู้จักหน้าที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ชาวนครราชสีมา ได้แสดงพลังต้องการ ความเรียบร้อยความสงบเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ชาติกลับปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าสถานการณ์รอบตัวเราและรอบโลก จะผันผวนและ ล่อแหลมมาก แต่ถ้าทุกคนเข้มแข็ง สามัคคี กล้าหาญ และเอื้อเฟื้อต่อกันชาติก็จะมั่นคง....

วิเคราะห์ภาวะผู้นำของท้าวสุรนารี

  1. มีความเมตตา ถึงท่านจะไม่มีบุตรแต่ก็มีหลายคนที่มาขอเป็นบุตรท่านนั้นแสดงถึงความเมตตาที่ท่านมี
  2. สามารถสร้างความสัมพันธ์ สร้างความสามัคคี
  3. มีความสามารถในด้านต่างๆ เช่นการเล่นหมากรุกเก่ง มีความชำนานในการขี่ช้าง ขี่ม้า
  4. เป็นผู้ที่มีความฉลาด รู้จักคิดวิเคราะห์เป็น รู้จักวางแผน
  5. เป็นที่รักของชาวเมืองนครราชสีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
  6. เป็นผู้ที่มีความเสียสละ
  7. เป็นผู้ที่มีความอดทน
  8. มีความกล้าหาญ
  9. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรด เกล้าฯ สถาปนาท่านขึ้นเป็น ท้าวสุรนารี
  10. รัก หวงแหนประเทศชาติ

 

อ้างอิงประวัติท้าวสุรนารีจาก http://www.moc.go.th/opscenter/nm/Province/Yamo1.htm#Yamo_legend

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ หงส์ดารมห์ และสวัสดีผู้อ่านทุกๆท่าน จากเมื่อวันที่ 9-10 มีนาคม 2550 อาจารย์ได้กรุณามาให้ความรู้และร่วมทานมื้อค่ำที่ร้านชาวเลกับนักศึกษา MBA แสตมฟอร์ดหัวหิน ผมดีใจมากที่ได้มีโอกาศได้ศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำ กับผู้นำแนวหน้าตัวจริงเสียงจริงตอนแรกก็รู้สึกกลัว กลัวเวลาที่ท่านถามแล้วตอบไม่ถูก ไม่ตรงประเด็น เพราะผมยังด้อยประสบการณ์ แต่พอท่านได้แนะนำ ทฤษฎี 4 L’ กลับทำให้รู้เรื่องการเรียนการศึกษา เป็นเรื่องที่สนุก ตื่นเต้น ชวนติดตาม กับอาจารย์ เพราะเทคนิคการสอนของท่านจะทำให้บุคคลที่เรียนหรือตัวผู้สอนก็ตามเกิด แนวคิดใหม่ๆอยู่เสมอ จากการที่ได้อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ทำให้ทราบถึงปรัชญาแนวความคิดตลอดจนกลยุทธ์เละเทคนิคการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของท่านทั้งสองและเป็นประโยชน์ต่อผู้นำ โดยท่านทั้งสองได้เห็นถึงคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์มีค่ามากที่สุดในองค์กร รวมถึงความจำเป็นในการพัฒนาคน เพื่อให้เข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่ารวดเร็ว ตลอดจนแนวคิดในเรื่องการเพิ่มผลผลิตขององค์กรและอีกสิ่งหนึ่งนั้นก็คือท่านทั้งสองได้แสดงถึงความรักชาติ รักแผ่นดิน ความมุ่งมั่นที่จะสร้างคนไทย สังคมไทยไปสู่จักวาลการเรียนรู้เพื่อให้คนไทยสามารถแข่งกับนานาชาติได้ และต้องพัฒนาด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิตไม่ใช่ถูกสอนให้รู้เป็นนกขุนทอง การลงทุนที่เพิ่มมูลค่าให้ทรัพยากรมนุษย์ก็คือการพัฒนาคนให้มีความรู้ อย่างเดียวกันถ้าจะพัฒนาประเทศก็ต้องพัฒนาคนในประเทศให้มีความรู้ และศีลธรรม จริยธรรมควบคู่กันไป หนังสือเล่มนี้ได้ให้แนวคิดและปรัชญามากมาย รวมทั้งแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมทำให้เข้าใจง่ายยิ้งขึ้นและชี้ให้เห็นเหตุและผลของแนวคิด สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและองค์กรได้ กล่าวคือต้องหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆ

ความเหมือนและแตกต่างกันของคุณพารณ กับ ศ.ดร.จีระ

เรื่องทั้งสองท่านซึ่งมีจุดเริ่มต้น เส้นทาง ไม่เหมือนกัน แต่มีเป้าหมายเหมือนกัน คนหนึ่งเป็นนักวิชาการอีกคนหนึ่งเป็นนักปฏิบัติ ในความเหมือนกันและแตกต่างกันของคุณพารณ กับ ศ.ดร.จีระ แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคุณพารณ เน้นจากการจัดการภายในองค์กร เช่น ในบริษัท ปูนซีเมนต์ ในชุมชน ในโรงเรียน ในประเทศ และเน้นที่ผู้บริหารต้องเป็นคนที่มี Education mind และคนในองค์กรนั้นต้องมีศักยภาพ จะทำให้องค์กร ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ประสบความสำเร็จได้ สำหรับท่าน ศ.ดร.จีระ เน้นการผลักดันในระดับเวทีนานาชาติ ระดับโลก แต่เมื่อนำแนวคิดทั้งสองท่านมาพิจารณาร่วมกันจะเห็นได้ว่า ทั้งสองท่านได้ร่วมมือกันสร้างสรรค์ประเทศได้อย่างสอดคล้องลงตัวพอดี หากจะมองว่าคุณพารณ เป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระดับในเชิงลึก คือ ระดับรากหญ้า ได้แก่กลุ่มชุมชนที่กระจายอยู่ และในเชิงกว้างคือ เป็นการพัฒนาระดับองค์กร ไปสู่ระดับประเทศ และไปสู่ระดับโลก ศ.ดร.จีระท่านเป็นผู้ต่อยอดระดับประเทศ หรือหากจะมองว่าทั้งสองท่านได้ช่วยกันเร่งรัด เสริมสร้างพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในรูปแบบไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้ คนของประเทศมีศักยภาพสูง พร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าในยุค Globalization อย่างเท่าเทียมกัน สำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติมในแนวคิด 4L’s ของทั้งสองท่านเป็นแนวคิดที่เมื่อรวมกันแล้ว คือแนวทางที่นำไปสู่การเป็น Global Citizen ดังนั้นจึงควรที่นำแนวคิดนี้ไปปรับใช้ในทุกเวทีของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ในการสำรวจตัวเองว่ามีจุดเด่นและจุดอ่อนอย่างไรนั้นตัวของข้าพเจ้าเองมีดังนี้

จุดแข็ง     - เป็นผู้ใฝ่รู้ตลอดเวลา รู้เหตุรู้ผล รู้จักตัวเอง มีคุณธรรม

    • มีความตั้งใจ อดทน กล้าคิดกล้าตัดสินใจ
    • มีมนุษยสัมพันธุ์ที่ดี สามารถปรับตัวเข้าผู้อื่นได้ง่าย

จุดอ่อน - มีความอ่อนไหวทางอารมย์

    • ไว้ใจคนอื่น เชื่อคนง่าย
    • ขาดทักษะในการพูด

จากจุดแข็งที่ตัวของผมเองมีนั้น ทำให้ลูกชาวนาที่ยากจนอย่างผมประสบความสำเร็จมาจนถึงวันนี้ก็เป็นเพราะความมานะตั้งใจทำในสิ่งที่ตนเองฝันใว้มาจนถึงกว่าครึ่งทาง และผมจะพยายามลบจุดอ่อนจากตัวผมออกไปโดยการฝึก อดทน ส่งเสริมพัฒนาจุดแข็งที่มีอยู่ให้คงอยู่กับผมตลอดไปซึ่งเป็นหนทางแห่งความสำเร็จฯ

การศึกษาประวัติศาสตร์ของเราซึ่งบรรพบุรุษของเรามีผู้นำที่มีความสามารถหลายๆท่าน และได้ทิ้งมรดกให้เราก็คือภูมิปัญญาหรือเรียกว่าภูมิปัญญาชาวบ้านที่สามารถนำมาบูรณาการใช้ในชีวิตประจำวันในยุคปัจจุบันได้

ผมจึงเลือก ย่าโม หรือ ท้าวสุรนารี มาศึกษาในเรื่องภาวะผู้นำ ท่านเป็นวีรสตรีที่มีความกล้าหาญ

เริ่มจากประวัติของท่าน

นามเดิมว่า "โม" (แปลว่าใหญ่) เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด บ้านอยู่หน้าวัดกลางนคร (วัดพระนารายณ์มหาราช) ทางทิศใต้ ในเมืองนครราชสีมา เกิดเมื่อปีเกาะ พ.ศ.๒๓๑๔ เป็นลูกหญิงของ นายกิ่ม นางบุญมา (สมัยนั้น) ยังไม่มีนามสกุล) มีพี่สาวคนหนึ่งชื่อ แป้น ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชาย คนหนึ่ง ไม่ปรากฎชื่อ (ภายหลัง ได้เป็นเจ้าเมืองพนมซร๊อก ต่อมามีการอพยพชาวเมืองพนมซร๊อก มาอยู่ ริมคูเมืองนครราชสีมาด้านใต้ จึงเอาชื่อเมือง พนมซร๊อก มาตั้งชื่อบ้านพนมศรก ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น บ้านสก อยู่หลังสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ จนทุกวันนี้)

พ.ศ.๒๓๓๙ นางสาวโม อายุ ๒๕ ปี ได้แต่งงานสมรสกับนายทองคำ พนักงานกรมการเมืองนครราชสีมา ต่อนายทองคำ ได้เลื่อนเป็นพระภักดีสุริยเดช รองปลัดเมือง นางโม ก็ได้เป็นคุณนายโม ต่อมา พระภักดี สุริยเดช ได้เลื่อนเป็นพระยา สุริยเดช ปลัดเมืองนครราชสีมา คุณนายโมก็ได้เป็นคุณหญิงโม ชาวเมืองเรียก เป็นสามัญว่า "คุณหญิงโม" และ "พระยาปลัดทองคำ" ท่านเป็นหมันไม่มีทายาทสืบสายโลหิต แต่ชาวเมือง ทั้งหลายก็เรียกว่าแม่ มีผู้มาฝากตัวเป็นลูก หลายอยู่มาก ซึ่งเป็นกำลังและอำนาจส่งเสริมคุณหญิงโมให้ทำการ ใดๆ ได้สำเร็จเสมอ คุณหญิงโมมักจะพาลูกหลาน ไปทำบุญที่วัดสระแก้วเป็นประจำ

คุณหญิงโม มีสติปัญญาหลักแหลม เล่นหมากรุกเก่ง มีความชำนาญในการขี่ช้าง ขี่ม้า ม้าตัวโปรดสีดำ

วีรกรรม ของท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรสตรีของไทย คือ การนำชาวนครราชสีมาต่อสู้ ขับไล่ทหารเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ ไปเสียจากการครอบครองเมืองนครราชสีมา จนได้รับพระราชทานบำเหน็จความชอบจาก ร.๓ ให้สถาปนาเป็น "ท้าวสุรนารี" เมื่อ ๓๐ ตุลาคม ๒๓๗๐ อายุ ๕๖ ปี

ในปี พ.ศ.2369 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุวงศ์บุตรเจ้าศิริบุญสาร ผู้ครองกรุงศรีสัตนาคนหุต ล้านช้างและเวียงจันทร์ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยต้องการเป็นเอกราช จึงเป็นกบฏยกทัพจะมาตีกรุงเทพฯ เจ้าอนุวงศ์ใช้อุบายหลอกลวงเจ้าเมืองตามรายทาง โดยปลอม ท้องตราพระราชสีห์ ว่า ไทยขอให้เจ้าอนุวงศ์ยกทัพมาช่วยรบกับอังกฤษ ซึ่งยกทัพเรือจะมาตีกรุงเทพๆ จึงไม่มีผู้ใดขัดขวาง
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2369 เจ้าอนุวงศ์ยกทัพมาถึงเมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านและ มีความอุดมสมบูรณ์ ในขณะที่เจ้าพระยามหานครราชสีมา ไม่อยู่ และพระยาปลัดเมืองนครราชสีมาไปราชการเมืองขุขันธ์ กองทัพเจ้าอนุวงศ์มาถึง จึงเข้ายึดเมือง ยึดทรัพย์สินและให้เพี้ยรามพิชัย หรือพระยารามพิชัย กวาดต้อนชาวเมืองไปเป็นเชลยศึก เดินทางกลับไปเวียงจันทร์ก่อน ส่วนเจ้าอนุวงศ์เดินทัพต่อไปยังสระบุรีเพื่อเข้ากรุงเทพๆ
ในบรรดาเชลยศึกมีคุณหญิงโมรวมอยู่ด้วย คุณหญิงโม เป็นหญิงที่ฉลาดหลักแหลมรู้ทันว่า เจ้าอนุวงศ์หลอกลวง คุณหญิงโมออกอุบายให้ทหารเวียงจันทร์ ตายใจ โดยวางแผนดังนี้ ให้หญิงไทยที่ถูกต้อนเป็นเชลยยั่วยวน หน่วงเหนี่ยวทหารให้เดินทัพช้าลง วางแผนให้พวกผู้หญิง หลอกขอมีด จอบ เสียม มาใช้ซ่อมเกวียนและทำอาหาร แท้จริงแล้วกลับนำมีด จอบ เสียมนั้นมาลอบตัดไม้เป็นอาวุธแอบซ่อนไว้ นี้เป็นกลอุบายที่ในยามขับขันที่ต้องตกเป็นเชลยศึกแต่สามมารถรวมชาวบ้านและปลุกระดมในการกอบกู้เอกราชป้องกันประเทศชาติแสดงถึงความรักชาติ
-วีรกรรมของคุณหญิงโมนั้นเป็นที่คนไทยรุ่นหลังทราบดีว่า ท่านได้เป็นหัวหน้ารวบรวมครอบครัวชายหญิงชาวนครราชสีมา (ที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย) เข้าต่อสู้ฆ่าฟันทหารลาวล้มตายเป็นอันมาก ณ ทุ่งสำริด แขวงเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๓๖๙ ที่ช่วยให้ฝ่ายไทยสามารถกอบกู้เมืองนครราชสีมากลับคืนมาได้ในที่สุด วีรกรรมอันห้าวหาญของคุณหญิงโม เมื่อทราบไปถึง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาท่านขึ้นเป็น ท้าวสุรนารี และได้รับ พระราชทานเครื่องยศ ดังนี้ถาดทองคำใส่เครื่องเชี่ยนหมาก ๑ ใบ จอกหมากทองคำ ๑ คู่ ตลับทองคำ ๓ ใบเถา เต้าปูนทองคำ ๑ ใบ คนโทและขันน้ำทองคำอย่างละ ๑ ใบ อนุสาวรีย์ของท่านประดิษฐานอยู่ที่หน้าประตูชุมพล ตั้งแต่วันที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ และได้บูรณะใหม่ให้งามสง่ายิ่งขึ้นเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๐
-เหตุการณ์ที่สมควรจะบันทึกไว้ในปี พุทธศักราช ๒๕๒๔ คือเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ทรงวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ท่ามกลางพสกนิกร ที่เข้าเฝ้าถวายความจงรักภักดีอย่างเนื่องแน่น ในโอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานบรมราโชวาทมีความตอนหนึ่งว่า
....ท้าวสุรนารีเป็นผู้ที่เสียสละเพื่อให้ประเทศชาติได้อยู่รอดปลอดภัย ควรที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน บ้านเมืองทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ต้องหวงแหน การหวงแหน คือ ต้องสามัคคี รู้จักหน้าที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ชาวนครราชสีมา ได้แสดงพลังต้องการ ความเรียบร้อยความสงบเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ชาติกลับปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าสถานการณ์รอบตัวเราและรอบโลก จะผันผวนและ ล่อแหลมมาก แต่ถ้าทุกคนเข้มแข็ง สามัคคี กล้าหาญ และเอื้อเฟื้อต่อกันชาติก็จะมั่นคง....

วิเคราะห์ภาวะผู้นำของท้าวสุรนารี

  1. มีความเมตตา ถึงท่านจะไม่มีบุตรแต่ก็มีหลายคนที่มาขอเป็นบุตรท่านนั้นแสดงถึงความเมตตาที่ท่านมี
  2. สามารถสร้างความสัมพันธ์ สร้างความสามัคคี
  3. มีความสามารถในด้านต่างๆ เช่นการเล่นหมากรุกเก่ง มีความชำนานในการขี่ช้าง ขี่ม้า
  4. เป็นผู้ที่มีความฉลาด รู้จักคิดวิเคราะห์เป็น รู้จักวางแผน
  5. เป็นที่รักของชาวเมืองนครราชสีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
  6. เป็นผู้ที่มีความเสียสละ
  7. เป็นผู้ที่มีความอดทน
  8. มีความกล้าหาญ
  9. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรด เกล้าฯ สถาปนาท่านขึ้นเป็น ท้าวสุรนารี
  10. รัก หวงแหนประเทศชาติ

 

อ้างอิงประวัติท้าวสุรนารีจาก http://www.moc.go.th/opscenter/nm/Province/Yamo1.htm#Yamo_legend

กนกลักษณ์ เร้าเลิศฤทธิ์
เรียน ศ.ดร.จีระ อ.ยม และนักศึกษา MBA เรียน ท่านอ.จีระ อ.ยม เพื่อนนักศึกษาดิฉัน นางสาวกนกลักษณ์ เร้าเลิศฤทธิ์ ID: 106342003  ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด จากการที่ได้อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้สรุปได้ว่าอ่านแล้วได้อย่างไรบ้างทำให้ทราบถึงปรัชญาแนวความคิดตลอดจนกลยุทธ์เละเทคนิคการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของท่านทั้งสองและเป็นประโยชน์ต่อผู้นำ จากที่ท่านได้บอกว่าคนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กรการจะเป็นผู้นำจะต้องเปิดประตูตลอดเวลาเพื่อให้ลูกน้องได้พบปะปรึกษาหารือทุกคนถือเสมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกันจนกลายเป็นวัฒนธรรมที่สร้างแต่บรรยากาศความร่มเย็นให้องค์กรคุณพารณ กับ อ.จีระมีส่วนเหมืองหรือแตกต่างกันอย่างไรในสิ่งที่เหมือนกันของท่านทั้งสองคนคือ ศึกษาใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา มีเป้าหมายการทำงานที่แน่นอน มีวิสัยทัศน์ และให้ความสำคัญเรื่อง คนสิ่งที่แตกต่างกันคือ ทางด้านวัยวุฒิ ส่วนทางด้านการศึกษา คุณพารณจะจบทางด้านวิศวกรรม ส่วนอ.จีระจบทางด้านเศรษฐศาสตร์ แต่ท่านทั้งสองก็มีเป้าหมายเดียวกันมีอะไรที่เรานำไปใช้ได้เมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้สิ่งที่เรานำไปใช้ได้ในการอ่านหนังสือเล่มนี้ คือ การเป็นต้นแบบที่ดี ของอ.จีระ และคุณพารณ ที่ท่านทั้งองเป็นคนที่ใฝ่เรียนใฝ่รู้อยู่ตลอด และให้ความสำคัญกับ คน ซึ่งต้องเริ่มจากตัวเองก่อน และเราก็สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและหน้าที่การงานได้ เราก็จะอยู่ในสังคมได้ดี พระราชประวัติสมเด็จพระนเรวรมหาราชสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ สมภพเมื่อวันพฤหัสบดี ปีเถาะ พ.ศ. ๒๐๙๘ ณ พระราชวังจันทน์
จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และ พระวิสุทธิกษัตริย์ ทรงมีพระพี่นางทรงพระนามว่า พระสุพรรณกัลยาณี และพระอนุชาทรงพระนามว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ หรือพระองค์ขาว ขณะทรงพระเยาว์ สมเด็จพระชนกทรงพระยศเป็นเจ้าขัณฑสีมา ครองเมืองพิษณุโลก มีอำนาจบังคับหัวเมืองฝ่ายเหนือ
พ.ศ. ๒๑๐๓ พระเจ้ากรุงหงสาวดีบุเรงนองยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ และทรงขอพระองค์ ดำ ซึ่งมีพระชนมายุ ๙ ชันษา ไปเป็นองค์ประกัน ณ กรุงหงสาวดี พ.ศ. ๒๑๑๒ ปีมะโรง ทรงตามเสด็จมากับ กองทัพหลวงของพระเจ้ากรุงหงสาวดีบุเรงนองมาตีกรุงศรีอยุธยา ศึกครั้งนี้ไทยพ่ายแพ้พม่ายับเยิน พม่าได้ สถาปนาพระมหาธรรมราชาขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองกรุงศรีอยุธยา ในฐานะเมืองประเทศราช สมเด็จพระมหา ธรรมราชาจึงขอ "พระองค์ดำ" พระราชโอรสให้กลับมาช่วยเหลืองานภารกิจของบ้านเมืองในฐานะอุปราช พระเกียรติคุณพ.ศ. ๒๑๑๓ เสด็จออกร่วมรบกับทหารโดยขับไล่กองทัพเขมรได้สำเร็จ
พ.ศ. ๒๑๑๔ ได้รับสถาปนาให้ปกครองเมืองพิษณุโลก เมื่อพระชนมายุ ๑๖ พรรษา
พ.ศ. ๒๑๑๗ เสด็จไปรบที่เวียงจันทน์ เผอิญทรงประชวรเป็นไข้ทรพิษจึงเสด็จกลับ
พ.ศ. ๒๑๒๑ ทรงทำสงครามขับไล่พระยาจีนจันตุออกไปจากกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. ๒๑๒๗ ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง และกวาดต้อนคนไทยกลับพระนคร
พ.ศ. ๒๑๒๗-๒๑๓๐ พม่ายกกองทัพมาตีไทยถึง ๔ ครั้ง แต่ถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป
พ.ศ. ๒๑๓๓ ทรงเสด็จครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา
พ.ศ. ๒๑๓๕ ทรงทำสงครามยุทธหัตถี และมังกะยอชะวา สิ้นพระชนม์
พ.ศ. ๒๑๓๖ ทรงยกกองทัพไปตีเขมรและจับพระยาละแวกทำพิธีปฐมกรรม
พ.ศ. ๒๑๓๘ และ พ.ศ. ๒๑๔๑ ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงหงสาวดี ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒
พ.ศ. ๒๑๔๘ ทรงกรีฑาทัพไปตีกรุงหงสาวดี เมื่อไปถึงเมืองหางหรือเมืองห้างหลวง ทรงพระประชวร เป็นหัวระลอกขึ้นที่พระพักตร์
เสด็จสวรรคต ณ ทุ่งแก้ว เมืองห้างหลวง ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง พระชนมายุ ๕๐ พรรษา ครองราชย์สมบัติได้ ๑๕ ปี
 จากการวิเคราะห์มีภาวะผู้นำ1.     เป็นผู้ที่มีความเสียสละ 2.     เป็นผู้ที่มีความอดทน 3.     มีความกล้าหาญแต่เหนือสิ่งอื่นได้นั้นคือความรักชาติของพระองค์
นางจำเนียร อำภารักษ์ ID 106142002 รุ่น 6
เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน    จากการได้เรียนเรื่องภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลงในองค์กรในวันอาทิตย์  ที่  18 มีนาคม 2550      อ.จีระ  แจกเอกสารที่เป็นบทความให้ทุกคนอ่านและแสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งวิเคราะห์ตามความคิดเห็นของตนเอง และอาจารย์ได้เสริมในส่วนที่วิเคราะห์ไม่ถูกต้อง อาจารย์เน้นทฤษฎี 4 L’s      Learning Methodology       เข้าใจวิธีการเรียนรู้     Learning  Environment      สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้      Learning  Opportunities     สร้างโอกาสในการเรียนรู้     Learning  Communities     สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้     นอกจากนี้แล้วยังเน้นว่าทฤษฎี 8 K’s , 5 K’s และทฤษฎี 2 R’s ทฤษฎี 3 วงกลม ต้องศึกษาให้ดี จะต้องนำทฤษฎีภาวะผู้นำไป Apply ให้ได้ ให้เก่ง 2-3  เรื่องก็พอ การเขียนวิเคราะห์ปัญหาให้ได้ จับประเด็นให้ได้ คิดอะไรให้เป็นระบบมากขึ้นØ    อาจารย์ตั้งคำถามว่า ทฤษฎี 5 K’s และ 8K’s ชอบอะไรมากที่สุดให้ยกตัวอย่างประกอบ Ø    ความรู้สึก และความจริง อะไรดีกว่ากัน ใน 5 K’s คนบางคนมีสิ่งหนึ่งแต่ขาดสิ่งอื่นก็ได้Ø    ความนิ่ง ความสุข เกิดขึ้นจากมีชีวิตที่เกิดจากการสมดุลØ    ทฤษฎี 3  วงกลม มีความสำคัญกับภาวะผู้นำ เปรียบเสมือนว่าContext  บ้านที่  1  เป็นบ้านที่น่าอยู่ องค์กรคล่องตัว ผู้นำจึงจะเกิดขึ้น องค์กรที่ดีต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นประชาธิปไตยให้รับรู้ข่าวสารทั่ว ๆ กัน Competencies  บ้านหลังที่  2  สมรรถนะในอนาคต1.    ความรู้เฉพาะทาง 2.    ความรู้เชิงบริหาร3.    ความรู้เชิงผู้นำ4.    ความรู้เชิงผู้ประกอบการ5.    รู้อะไรที่กว้าง ๆ Motivation  บ้านหลังที่   3  เก่งไม่เก่งอยู่ที่แรงจูงใจ มีมรดกทิ้งไว้ในโลก คนเราต้องภูมิใจมีคุณค่าต่อสังคม รักประชาธิปไตย    รักสิ่งแวดล้อม รอบนอกของ 3  วงกลม คือ วิสัยทัศน์ , เป้าหมายของธุรกิจ      จากนั้น อาจารย์ถามว่าทำไมองค์กรไม่ประสบผลสำเร็จในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ให้ปรึกษาในกลุ่มใช้เวลา 5 นาที ส่งตัวแทนนำเสนอ ซึ่งกลุ่มดิฉันให้นำเสนอว่า 1.    วิสัยทัศน์ นำองค์กรปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน2.    จริยธรรม และคุณธรรม ให้คิดถึงประเทศไทยก่อนที่จะนึกถึงใคร3.    อย่ารู้คนเดียว เก่งคนเดียว ต้องฝึกให้คนอื่นเก่งด้วย4.    อาจารย์ได้เสริมว่า ผู้นำจะต้องมีความเชื่อ เรื่องทรัพยากรมนุษย์ว่า เป็นทรัพย์สินต้องมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรก่อน คนไทยต้องมีปรัชญามองอนาคต มองไกล การขับเคลื่อนให้องค์กรเกิดความเป็นเลิศก็มีปัจจัยหลาย ๆ อย่าง  อ.ยมได้เสริมว่า ประชาชนทุกคนในโลก จะต้องมาช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมโลก ปัญหาโลกร้อน น้ำทะเลสูงขึ้น คนไทยไม่ค่อยทำวิจัย ผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนอาจารย์ให้ดูเทป ผู้นำหญิงและชายต่างกันอย่างไร โดยอาจารย์จีระเป็นผู้ดำเนินรายการ มีผู้ร่วมรายการคือ ดร.กัลยา โสภณพานิช  และ ผศ.มาลี ทั้งสองท่าน ก็ได้แสดงความคิดเห็นว่าผู้หญิงและผู้ชายแตกต่างกันอย่างไร จำแนกได้ดังนี้ชาย1.       นำตัวเองได้2.       ตัดสินใจได้รวดเร็ว3.       ใช้เวลากับการพักผ่อนและงานอดิเรกมากกว่าผู้หญิง4.       เปอร์เซ็นต์ของผู้นำชายมากกว่าหญิง หญิง1.       นำตัวเองได้2.       ยืดหยุ่นได้3.       วิสัยทัศน์ เป้าหมายชัดเจน4.       จริยธรรม คุณธรรม เอื้ออาทร เกื้อกูล5.       ลูกน้องสบายใจมีความยุติธรรม6.       มีคอรัปชั่นลดลง 7.       ดูแลเงินทองของครอบครัวได้8.       ผู้หญิงต้องตั้งท้องดูแลลูก9.       ถ้าผู้หญิงไปทำงานต่างประเทศจะส่งเงินมาให้ทางบ้านมากกว่าผู้ชาย10.  ถ้าผู้หญิงเข้ามาเป็นนักการเมือง จะออกกฎหมายที่ผู้ชายไม่เคยคิดมาก่อน 11.  ผู้นำสตรี ไม่ถูกยอมรับ12.  ผูกขาดอำนาจ13.  ความสำเร็จของผู้ชายมีผู้หญิงผลักดันอยู่เบื้องหลัง14.  สามารถบริหารเวลาได้15.  แสดงบทบาทได้ไม่เต็มที่เมื่อนำความแตกต่างของชายและหญิง มาวิเคราะห์ได้ประเด็นดังนี้1.       ผู้ชายมีความมั่นใจในตนเองสูง และมีการตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาด ส่วนผู้หญิงการตัดสินใจต้องใช้เวลา ต้องมีความรอบคอบ การแสดงความคิดเห็นบางอย่างไม่ถูกยอมรับเท่าที่ควร เนื่องจากค่านิยมของคนในอดีตที่ไม่ยอมรับบทบาทของผู้หญิง 2.       ผู้ชายไม่ยอมรับความคิดเห็นของผู้หญิง ทำให้ผู้หญิงไม่กล้าแสดงออกได้อย่างเต็มที่ องค์กรทั้งภาครัฐและ เอกชนส่วนใหญ่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้เป็นผู้นำ     จากการอ่านหนังสือ ภาคภาษาอังกฤษ Chapter 3 ซึ่งกลุ่มของเราได้ช่วยกันแปลเป็นภาษาไทยเสร็จตั้งแต่วันพฤหัสบดี ที่ 15 มี.ค. 2550 และสรุปเพื่อนำเสนอ ซึ่งไปเกี่ยวข้องกับ A Model of Effective Leadership จากเอกสารหน้า 27 และอาจารย์ได้ยกตัวอย่างเพิ่มเติม     จากการได้ศึกษาจากเทป การสนทนาระหว่าง ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และ ศ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ สรุปได้ว่า ทั้งสองท่าน มีทฤษฎี 8 k’s เหมือนกัน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ มีความรู้กว้าง ส่วน ศ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์  มีความรู้ลึก  
นางสาวกนกลักษณ์ เร้าเลิศฤทธิ์
เรียน อ.จีระ อ.ยม และเพื่อนๆ ทุกท่าน ดิฉัน นางสาวกนกลักษณ์  เร้าเลิศฤทธิ์ นักศึกษา MBA รุ่น 8  ID: 106342003จากการเรียนเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 18 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา ท่านอ.จีระ ได้แจกบทความและให้นักศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับบทความนั้น และ อ.จีระได้สรุปเกี่ยวกับทฤษฎี 3 วงกลม วงกลมที่ 1 Context เปรียบเสมือนบ้านที่น่าอยู่ไม่รกรุงรัง องค์กรที่คล่องตัว หรือเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้วงกลมที่ 2 Competencies สมรรถนะในองค์กรควรจะมี1.    ความรู้เฉพาะทาง2.    ความรู้เชิงบริหาร3.    ความรู้เชิงผู้นำ4.    ความรู้เชิงผู้ประกอบการ5.    มองภาพกว้างรู้อะไรแบบกว้างๆวงกลมที่ 3 เก่งไม่เก่งอยู่ที่แรงจูงใจหรือการชมเชย การให้รางวัลในตอนบ่าย ท่านอ.จีระ ได้ให้นักศึกษาดูเทปวีดีโอ การสนทนากันระหว่าง ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมย์ กับ ศ.ดร.ปุระชัย  เปี่ยมสมบูรณ์ และให้เปรียบเทียบว่า ทั้ง 2 ท่านมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรสรุปออกมาได้ว่า ท่านทั้ง 2 มีความเหมือนกันตรงที่มีความใฝ่รู้ และชอบอ่านชอบที่จะศึกษาแต่ความต่างของท่านทั้ง 2 คือ ท่านอ.จีระจะมีทฤษฎีเป็นของตนเอง แต่ ศ.ดร.ปุระชัย ท่านอ่านตำราและเอาข้อคิดจากการอ่านมาปรับตัวเองและมาถ่ายทองให้ผู้อื่น
นายนันทพล เถาลิโป้ รุ่น 7

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อ.ยม ที่เคารพ และสวัสดีเพื่อน ๆ ที่รักทุกท่าน

     เมื่อวันที่  18  มีนาคม  2550  ได้ศึกษาเรื่องภาวะผู้นำ

    อาจารย์จีระ เปิดประเด็น แจกเอกสารที่ท่านเขียนลงในหนังสือพิมพ์แนวหน้าให้ทุกคนอ่านและวิเคราะห์ ซึ่งเพื่อนนักศึกษาแต่ละคน ได้แสดงความคิดเห็น และให้ข้อคิดบางอย่าง เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในหัวหิน หลังจากนั้น อ.ยมได้เสริมต่อเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน

      อาจารย์จีระ ได้ทบทวนเรื่องภาวะผู้นำ โดยเฉพาะทฤษฎีต่าง ๆ เช่น ทฤษฎี 8 K's และทฤษฎี 3 วงกลม ซึ่งจะต้องนำไปใช้ในองค์กร เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มในกับองค์กร

     ทฤษฎี 3 วงกลม

  1. Context  โครงสร้างขององค์กร เช่น ผู้นำมีวิสัยทัศน์ มีขั้นตอนการบริหารที่คล่องตัว  มอบอำนาจให้กับพนักงาน
  2. Competencies  สมรรถนะขององค์กร เช่น ผู้นำมีทักษะ มีความรู้ มีทัศนคติและเจตคติที่ดีกับงานที่ทำ
  3. Motivation  เช่นการสร้างแรงจูงใจกับพนักงาน ทำงานเป็นทีม มีเครือข่าย มีคุณค่าต่อสังคม รักสิ่งแวดล้อม รักประชาธิปไตย

 

        ในช่วงบ่าย กระผมได้ขออนุญาตไปพักผ่อนเพราะไม่สบาย แต่ได้ฟังจากเทปของรุ่นพี่ ในเรื่องความแตกต่างของผู้นำชายและหญิง ได้สรุปตามความคิดเห็นของกระผม

         ในอดีตผู้ชายได้รับการยอมรับจากสังคมมากกว่าผู้หญิง อันเนื่องมาจากคำพูดที่กล่าวไว้ว่า ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง แต่ในปัจจุบันสังคมเริ่มเปลี่ยนแปลง ผู้หญิงมีบทบาททางสังคมมากขึ้น สังเกตจากนายกเทศมนตรี กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายก อบต. บางแห่งก็เป็นผู้หญิง กระผมคิดว่าปัจจัยที่จะทำให้ผู้ชายหรือผู้หญิง จะเป็นผู้นำนั้น ขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำของแต่ละบุคคล ดังนั้นแนวโน้มในปัจจุบันและอนาคต ผู้ชายและผู้หญิง มีสิทธิที่จะเป็นผู้นำได้เท่าเทียมกัน

      ความแตกต่างระหว่าง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กับ ศ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ อาจารย์ทั้งสองท่าน แทบจะไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย ทั้งสองท่าน มีภาวะผู้นำที่ตรงกับทฤษฎี 8 K's เหมือนกัน สมควรที่นักศึกษาและบุคคลทั่วไป ควรนำไปเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต

                                       ด้วยความเคารพอย่างสูง

                                         นายนันทพล  เถาลิโป้ รุ่น 7

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ หงส์ดารมห์ และสวัสดีผู้อ่านทุกๆท่าน จากเมื่อวันที่ 9-10 มีนาคม 2550 อาจารย์ได้กรุณามาให้ความรู้และร่วมทานมื้อค่ำที่ร้านชาวเลกับนักศึกษา MBA แสตมฟอร์ดหัวหิน ตามที่ ศ.ดร.จีระ ให้หาจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเองอย่างละ 3 ข้อ ซึงกระผมมีดังต่อไปนี้ จุดแข็ง 1.มีความคิดสร้างสรรค์ 2.ชอบศึกษาหาความรู้ 3.เข้ากับคนอื่นได้ดี จุดอ่อน 1.ใจร้อน 2.ขี้เกียจ 3.จิตใจอ่อนไหว จากการที่ได้อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ทำให้ทราบถึงปรัชญาแนวความคิดตลอดจนกลยุทธ์เละเทคนิคการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของท่านทั้งสองและเป็นประโยชน์ต่อผู้นำ โดยท่านทั้งสองได้เห็นถึงคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์มีค่ามากที่สุดในองค์กร รวมถึงความจำเป็นในการพัฒนาคน เพื่อให้เข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่ารวดเร็ว ความเหมือนและแตกต่างกันของคุณพารณ กับ ศ.ดร.จีระ ทั้งสองท่านซึ่งมีจุดเริ่มต้น เส้นทาง ไม่เหมือนกัน แต่มีเป้าหมายเหมือนกัน คนหนึ่งเป็นนักวิชาการอีกคนหนึ่งเป็นนักปฏิบัติ คุณพารณจบการศึกษาด้านวิศวกรรมไฟฟ้า แต่ท่าน ศ.ดร.จีระจบการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ คุณพารณทำงานให้กับองค์กรธุรกิจของเอกชน ส่วนท่าน ศ.ดร.จีระเป็นนักวิชาการเต็มตัว คุณพารณศึกษาและทำงานทางด้านทรัพยากรมนุษย์ด้านคนมาประมาณ 50 ปี ส่วนท่าน ศ.ดร.จีระ ทำงานทางด้านทรัพยากรมนุษย์มาประมาณ 30 ปี ซึ่งอายุของบุคคลทั้งสองก็ต่างกัน. ผู้นำที่ชื่นชอบคือ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประวัติ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) • เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2489 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-ม.6 • โรงเรียนวัดพระศรีมหาธาตุ และมาศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 6 • โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 17 เหล่าทหารราบ • หลักสูตรส่งทางอากาศและหลักสูตรจู่โจม โรงเรียนศูนย์การทหารราบ • หลักสูตรชั้นนายร้อยทหารราบ หลักสูตรสงครามทุ่นระเบิด โรงเรียนศูนย์การทหารช่าง • หลักสูตรผู้บังคับหมวดช่างโยธาและกระสุน โรงเรียนศูนย์การทหารราบ • หลักสูตรภาษาอังกฤษ โรงเรียนยุทธศึกษาทหารบก • หลักสูตรลาดตระเวนระยะไกล โรงเรียนศูนย์การทหารราบ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก • หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 57 และได้ศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (การทหาร) โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 42 เริ่มรับราชการครั้งแรกใน • ตำแหน่งผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบ ศูนย์การทหารราบ • ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กองพลอาสาสมัครเสือดำ • รองผู้บังคับกองร้อยลาดตระเวนระยะไกลที่ 9 กาญจนบุรี นายทหารคนสนิทแม่ทัพภาคที่ 4 (พล.ท.ปิ่น ธรรมศรี ในขณะนั้น) ผู้บังคับกองพันรบพิเศษที่ 2 กรมรบพิเศษที่ 1 รองผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 • ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 รองผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1 • ผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษที่ 1 รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาสงครามพิเศษ • ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาสงครามพิเศษ และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.สนธิ เป็นนายทหารนักรบมือ 1 ของหน่วยรบพิเศษ ที่ผ่านการรบมาอย่างโชกโชน เริ่มตั้งแต่การปราบปราม ผกค.ด้านกุยบุรี และ จ.ปราจีนบุรี รวมถึงการออกไปรบที่ประเทศเวียดนามและกัมพูชา

เรียน ศ.ดร. จีระ ท่านอาจารย์ยม เพื่อนนักศึกษา MBA รุ่น 6&7 และท่านผู้อ่านที่รัก

ดิฉันได้ติดค้างการบ้านในหัวข้อ "ผู้นำในใจ" ที่ยังไม่ได้ส่ง เนื่องจากหน้าที่ในตำแหน่งบริหารของเทศบาลที่ตนเองได้รับผิดชอบในการจัดงานนิทรรศการ "มหกรรมวิชาการเทิดพระเกรียติเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา" ซึ่งเป็นงานที่สังกัดของดิฉันต้องเป็นเจ้าภาพจัดให้กับภาคโดยมีเทศบาลเข้าร่วมกิจกรรมถึง 39 เทศบาล จึงทำให้ดิฉันไม่สามารถส่งงานได้ตามเวลาที่กำหนด จึงต้องกราบขออภัยท่านอาจารย์ทั้ง 2 เป็นอย่างสูง ณ. โอกาสนี้

          ผู้นำที่ดิฉันเลือกคือ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ที่ได้มาสอนวิชา "ภาวะผู้นำ" ให้กับ MBA รุ่น 6, 7 & 8 ที่ดิฉันได้ศึกษาอยู่ในขณะนี้ที่ ม.นานาชาติแสมป์ฟอร์ด หัวหิน ขณะนี้

          ประวัติของท่าน ดิฉันได้นำเสนอไปแล้วใน Blog ก่อนหน้า วันนี้ดิฉันจะขอ ใช้วิชาความรู้ที่ได้จากการเรียนมาสรุป และแชร์ให้กับทุกท่านได้ทราบบนพื้นฐานความรู้และความเข้าใจ และประสพการณ์ ที่ได้พบ ได้รู้จักกับท่านในห้องเรียนหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาดังนี้

          ท่านจบการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ในหลักสูตรระดับปริญญาตรี และปริญญาเอก ปัจจุบันดูจากประวัติการทำงานแล้วท่านได้ทำงานส่วนใหญ่เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ ถ้าดูจากสัดส่วนแล้ว แม้กระทั่งที่ท่านได้มาสอนให้กับพวกเราก็ยังเป็นงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ดี ซึ่งในกรณีนี้ดิฉันมีความคิดเห็นว่าท่านได้เป็นผู้นำที่มีความสามารถด้านการพัฒนา และถ่ายทอด เพื่อให้พวกเรารู้จักในการพัฒนาตนไปสู่การเป็นผู้นำที่ดี ไม่ว่าจะเป็นผู้นำในองค์เอกชน หรือเป็นชุมชนที่เราปฎิบัติหน้าที่อยู่ ตลอดเวลาที่ผ่านมาดิฉันยอมรับในการที่ท่านได้ใช้ ทฤษฎี 4 L's ซึ่งท่านได้นำมาใช้กับพวกเราในห้อง  มันเป็นความแตกต่างของการศึกษาที่ดิฉันได้เคยสัมผัสมา โดยท่านได้สร้างบรรยากาศการเรียนรู้แบบใหม่ เหมือนกับทำให้ห้องเรียนเป็นห้องประชุม และเปิดโอกาสให้พวกเรารู้สึกมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนตลอดเวลา ทุกคนมีโอกาสได้แสดงความรู้ ความสามารถของตน สามารถแชร์ Idea ที่ตนมีหลังจากได้รับรู้ในทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำต่าง ๆ ที่ท่านได้ถ่ายทอด  ที่สำคัญที่ดิฉันสัมผัสได้คือ ท่านมีทุนความสุข ซึ่งเป็นหนึ่งทุนที่ผู้นำควรมี ท่านมีความสุขกับการให้ความรู้แก่พวกเรา และท่านรู้สึกตื่นเต้นในบางครั้งที่ได้พัฒนาการทางสมองของนักศึกษา เมื่อมีการแชร์ Idea จนบางครั้งมันทำให้ท่านก็เกิด Idea โป๊ะเช๊ะ ต่อยอดออกมาเป็น นวัตกรรมใหม่ ๆ แชร์ให้เราฟัง เช่น ศักยภาพของหัวหินที่เราสามารถที่จะสร้างอะไรดี ๆ ขึ้นได้อีกมากมายที่เดียว เช่น สร้างศูนย์แห่งการเรียนรู้ ค้นคว้าวิจัย ที่สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

          สิ่งสุดท้ายที่ดิฉันชื่นชมที่สุดก็คือ ท่านเป็นผู้นำที่สามารถสร้างทายาทสืบทอดเจตนารมย์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ๆ อย่างอาจารย์ยม ที่ดิฉันขอจดจำในสิ่งที่ท่านได้มอบให้กับเรา ไม่ว่าจะเป็นการสอนให้เราเข้าใจ และสร้างให้พวกเราเพิ่มทุนในตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นทุนทางจริยธรรม คุณธรรม และแบบอย่างการเป็นผู้นำตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในทฤษฎีทศพิศราชธรรม และเศรษฐกิจพอเพียง หรือแม้กระทั่ง เพิ่มทุน IT ให้กับพวกเราได้เรียนรู้ด้วยวิธีที่ทำให้พวกเราต้องส่งการบ้านบน Blog  ทำให้พวกเราต้องเปิดเป็น ทำงานเป็นบน IT  และนอกจากนั้นแล้วท่านอาจารย์ยมยังเฝ้าติดตามผลงาน ชี้แนะแก้ไขให้กับพวกเราอย่างต่อเนื่องไม่หยุด สังเกตได้จากเราจะเห็นท่านเช็คงานของเราบน Blog แนะนำเราตลอด ทำให้พวกเรารู้สึก และสัมผัสได้ถึงความเอาใจใส่ตลอดเวลาจากอาจารย์

          ดิฉันเชื่อมั่นอย่างยิ่งในตัวท่านศ.ดร.จีระ ว่าท่านมีภาวะการเป็นผู้นำที่น่าชื่มชมอย่างยิ่งที่ท่านสามารถสร้างทายาทที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างท่านอาจารย์ยม และเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าสิ่งที่ท่านอาจารย์ยมถ่ายทอดให้พวกเราเป็นการชี้ทาง และเพิ่มคุณค่าในการเป็นผู้นำให้แก่พวกเราเหมือนกับตัวอย่างที่เราได้เห็นความเป็นผู้นำในตัวท่าน ศ.ดร.จีระ

          สรุป : ดิฉันได้วางเป้าหมายชีวิตเมื่อดิฉันเรียนในหลักสูตรประมาณวิชาที่ 4 ว่าอยากจะนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดต่อให้กับคนรุ่นหลังเมื่อมีโอกาสในรูปของการบรรยายพิเศษในสถานศึกษาของชุมชนของตนเองในอนาคต และมีความกระตือรือร้นที่อยากจะศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น และอาจจะสอนในสถานศึกษาในชุมชนของตนเป็นงานเสริมต่อไปในอนาคตเมื่อจัดสรรเวลาที่จะไม่กระทบต่ออาชีพ และหน้าที่การงานได้ โดยจะขอยืนอยู่บนแนวทฤษฎี 4 L's และใช้ทุนแห่งวิชาความรู้ ทุนใฝ่รู้เข้ามาช่วยในการพัฒนาตนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความพร้อมและความมีประสิทธภาพต่อไปในอนาคต

          ข้อเสนอแนะ : แรกทีเดียวดิฉันอยากทำเรื่องของเจ้าชายจิ๊กมี่ เพราะดิฉันเคารพและศรัทธาท่านมาก ๆ เพราะท่านมีทุนแห่งความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นที่ประทับใจของทุกผู้คนที่ได้เห็นได้ใกล้ชิดจนมีกระแสแห่งความนิยมเมื่อคราวที่ท่านเยือนเมืองไทยครั้งนั้น  ดิฉันเชื่อว่าทุนในข้อนี้ท่าน ศ.ดร. จีระ ท่านก็มี แต่ถ้าท่านนำมาวางให้โดดเด่น ดิฉันเชื่อว่าคงเป็นที่ประทับใจของทุกผู้ ทุกคนที่ได้พบท่านทีเดียว

 

ด้วยความเคารพอย่างสูง  น.ส. พนาวัลย์  คุ้มสุด นักศึกษา MBA มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด หัวหิน  ID : 106242010

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท