การเรียนรู้แบบใจถึงใจ


การบริหารการเรียนรู้ในระบบการศึกษา โดยภาพรวมมักสร้างจุดหมายเพียงหนึ่งเดียวให้ผู้เรียน ผ่านเครื่องมือการประเมินผลฉบับเดียวกัน ไม่ว่าเด็กๆเหล่านั้นจะอยู่อย่างไร สูง ต่ำ คำ ขาว ปากแหว่ง จมูกบาน โดยมีครูเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ดีตลอดกาล ชนิดขอเพียงส่งเสียงมา
หลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนา  กล่าวถึงเส้นทางแห่งความสำเร็จในการเรียนรู้หรือทำงานใดๆว่าต้องมีปัจจัยหลายประการ  แต่หัวใจสำคัญคือ  อิทธิบาท 4   ที่มีสาระสำคัญ   ได้แก่ 


1. ฉันทะ   คือ   ความรักในสิ่งที่ทำหรือสิ่งที่เรียน    จะก่อเกิด     ความเต็มใจทำ   

2. วิริยะ     คือ   ความเพียรหรือความกล้า     จะก่อเกิด    ความแข็งใจทำ 

3. จิตตะ    คือ   ความเอาใจใส่     จะก่อเกิด   ความตั้งใจทำ 

4. วิมังสา   คือ   ความพินิจพิเคราะห์หรือเรียนรู้ด้วยปัญญา    จะก่อเกิด ความเข้าใจทำ                         


ในการบริหารการเรียนรู้แบบใจถึงใจ
  ทุกคนที่เกี่ยวข้องควรเริ่มต้นฐานคิดสู่การกำหนดจุดหมายในการเรียนรู้  เรื่องนี้หากคิดลึกๆนานๆจะพบว่ามีความสำคัญมาก  ด้วยธรรมชาติคนย่อมมีจุดหมายในการเรียนรู้    เวลาหนึ่ง ผ่านกิจกรรมหนึ่ง แตกต่างกัน ถึงแม้จะเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเดียวกัน ก็ตาม                                 


การบริหารการเรียนรู้ในระบบการศึกษา
  โดยภาพรวมมักสร้างจุดหมายเพียงหนึ่งเดียวให้ผู้เรียน   ผ่านเครื่องมือการประเมินผลฉบับเดียวกัน  ไม่ว่าเด็กๆเหล่านั้นจะอยู่อย่างไร  สูง  ต่ำ   คำ   ขาว  ปากแหว่ง   จมูกบาน   โดยมีครูเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ดีตลอดกาล  ชนิดขอเพียงส่งเสียงมา 
                              


จุดหมายการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษากับจุดหมายการเรียนรู้ในตัวคนแต่ละคน
  ย่อมมีทั้งจุดเหมือนและจุดต่าง   สำคัญที่สุดคือครูที่เป็นสื่อกลางในการจัดกระบวนการ  เปิดประตูใจให้รับจุดหมายการเรียนรู้ในตัวเด็กๆเพียงใด   ครูทราบหรือไม่ว่าเด็กๆในความดูแลของตนเอง  เรียนคณิตศาสตร์เพื่ออะไร  บางคนเรียนเพื่อรู้   บางคนเรียนเพื่อรู้และเอาไปใช้จริงที่บ้าน  และมีบางคนที่ไม่อยากเรียน  
                           


ดังนั้นหากครูและทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของเด็กๆ
  จะเข้าใจจุดหมายการเรียนรู้ในตัวเด็กๆเพื่อประโยชน์ต่อการเสริมสร้างการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ  พวกเราจะมีวิธีการอย่างไร   ทำอย่างไร ครูและเด็กๆจะเรียนรู้ร่วมกันด้วย ความเต็มใจ   ความแข็งใจ   ความตั้งใจ   และความเข้าใจ 
                            

ข้อเสนอจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียน เห็นว่า  การเรียนรู้แบบใจถึงใจ ต้องใช้ความมีอิทธิบาท 
4   จากคนหลายคน ไม่ว่าครู   นักเรียน    ชุมชน   และคนอื่นๆ   ซึ่งการมีกระบวนเชื่อมโยงชุดความรู้ในระบบโรงเรียนกับชุดความรู้ในท้องถิ่น    น่าจะช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปแบบใจถึงใจ ได้อีกแนวทางหนึ่ง                                 


การดำเนินงานของโรงเรียนและชุมชนบ้านเม็กดำ
  พวกเราเต็มใจ   แข็งใจ   ตั้งใจ    เข้าใจ  ซึ่งผลแห่งการเรียนรู้ร่วมกันในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา   ทุกท่านสามารถเรียนรู้ร่วมกับเราได้ในเวทีนี้    ครับผม
  
หมายเลขบันทึก: 81895เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2007 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • สวัสดีครับ
  • มาสนับสนุนกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้แบบ "ใจถึงใจ"  นะครับ

 

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์

เห็นด้วยกับการเรียนด้วย อิทธิบาท 4 ที่ต้องปลูกฝังตั้งแต่ยังเด็กค่ะ มาแก้ตอนปลายมักไม่สำเร็จ

มาทักทายครับ ผอ เป็นอย่างไรบ้างครับผม
เรื่องอิทธิบาท 4 ผมกำลังจะเอาไปสอน เด็กม.3อยู่พอดีเลยครับ

ใช่ค่ะ   หนิงก็กำลังทำงานด้วยหลัก อิทธิบาท 4 อยู่ค่ะ  อันนี้ได้รับคำชี้แนะจากอาจารย์ดร.วรภัทร  ที่ท่านมามมส. ในวันที่ 24 มค 50 อ่ะค่ะ

จากใจถึงใจนี่ผมยังล้วงลูกไม่ถึง

จะพยายามตามดูครับ เพื่อจะได้ใช้บ้างครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์เม็กดำ 1

            แหมอาจารย์นี่ปรัชญาสูงน่ะค่ะ คนเราถ้ารักจะตั้งใจ และสนใจในสิ่งที่ทำ เมื่อสนใจก็เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความสำเร็จ

           ใจ(รัก และตั้งใจทำ) ----> ใจ (เข้าใจ เข้าถึง เกิดปัญญาและนำไปสู่การปฏิบัติ)

            ถ้าผิดอาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยนะค่ะ

  • ทุกความคิดเห็นยอดเยี่ยมมากครับ
  • ผมเห็นด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท