เมื่อความคิดติดปีก ทีมงานต้องใช้ใจเดิน


หากมีแนวคิดที่เป็นเลิศ แต่ใจไม่เป็นใจ ทุกอย่างก็น่าจะจบลงแบบไม่น่าดู แนวคิด วิธีทำ ไม่มีสูตรสำเร็จ เพียงแต่ใครจะนำไปปรับใช้ได้เหมาะกับสถานการณ์ได้ดีกว่ากันเท่านั้น จึงขอทิ้งท้าย ไว้แลกเปลี่ยนกับทุกท่านว่า จริงหรือไม่ เมื่อความคิดติดปีก ทีมงานต้องใช้ใจเดิน
                                       ผลพวงจากการที่ได้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่สถาบันการเรียนรู้และนวัตกรรมการติดตั้งกระเบื้องเซรามิค    บริษัท เซรามิคอุตสาหกรรมไทย  จำกัด  ซึ่งตั้งอยู่ที่  อำเภอหนองแค  จังหวัดสระบุรี     โดยโจทย์สำคัญที่เราคิดร่วมกันคือการเรียนรู้ที่มีงานอาชีพเป็นฐานสำหรับเด็กๆแล้วน่าจะมีกระบวนการเรียนรู้อย่างไร    ในช่วงระหว่างวันที่  26 -   28   กุมภาพันธ์    2550   ทำให้เห็นภาพที่ประทับใจในการบริหารจัดการทรัพยากรของภาคเอกชน   ซึ่งกล่าวได้ว่ามีความแตกต่างจากภาคราชการมากพอสมควร   แตกต่างที่แนวคิด   แตกต่างที่การปฏิบัติ                          
เมื่อเห็นภาพแตกต่างที่สร้างความประทับใจ จึงมีคำถามต่อไปสำหรับตนเองว่า ในฐานะหัวหน้าหน่วยงานภาคราชการ ที่แม้จะเป็นเพียงหน่วยเล็กๆก็ตาม เราจะสานต่อสิ่งประทับใจนั้นได้อย่างไร  ซึ่งในเบื้องต้นเห็นว่า การเรียนรู้ร่วมกับทีมงาน สร้างความเข้าใจ  สร้างทางเดินร่วมกัน  เป็นจุดเริ่มที่สำคัญ   
                        

การบริหารจัดการตัวเอง
ดูเหมือนจะเป็นสิ่งสำคัญในลำดับต้นๆของการบริหารจัดการในภาคเอกชน  ทุกคนแสดงความเป็นเจ้าขององค์กร ผ่านการจัดการเวลา การจัดการความรู้  การจัดการทักษะของตนเอง ภายใต้การเรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อนร่วมงาน อย่างมีประสิทธิภาพ   
                      

การประชุมที่เน้นสาระงาน   สร้างความต่างให้เห็นเมื่อเทียบกับการประชุมที่มากด้วยพิธีการของภาคราชการ  สาระงานที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ อธิบายได้ ดูเหมือนต่างแม่ไม้มวยภาคราชการ อย่างเห็นได้ชัด
                       

ในประเด็นนี้ หากใช้คำว่า  ใจ   เพื่ออธิบายกระบวนการขับเคลื่อนงาน น่าจะอธิบายได้ว่า การแสดงความเป็นเจ้าของ นำไปสู่การเอื้ออาทร เกิดอาการรู้ร้อนรู้หนาวในข่าวคราวของหน่วยงาน  บริหารจัดการตัวเองให้ดูดีก่อนที่จะร่วมเรียนรู้กับคนอื่นๆอย่างมีความสุข  ดังนั้น  ใจ   จึงเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาทุกเรื่อง                          

หากมีแนวคิดที่เป็นเลิศ  แต่ใจไม่เป็นใจ
ทุกอย่างก็น่าจะจบลงแบบไม่น่าดู  แนวคิด  วิธีทำ ไม่มีสูตรสำเร็จ เพียงแต่ใครจะนำไปปรับใช้ได้เหมาะกับสถานการณ์ได้ดีกว่ากันเท่านั้น  จึงขอทิ้งท้าย ไว้แลกเปลี่ยนกับทุกท่านว่า จริงหรือไม่    เมื่อความคิดติดปีก  ทีมงานต้องใช้ใจเดิน         
หมายเลขบันทึก: 81769เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2007 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • การใช้ใจขับเคลื่อนนี้สำคัญครับ
  • คุณหมอประเวศ วะสี ตอบจดหมายมาแล้วครับ
  • พรุ่งนี้จะเอาให้ดูครับผม

การศึกษาติดหล่ม กับวัฒนธรรมในสำนักการศึกษา

  • ที่ไม่ดูต้าม้าตาเรือ ว่าเด็ก สังคม โลก เข้าไปถึงไหนแล้ว ยังงมโข่งกับกฎระเบียบโง่ๆที่ไม่ยอมแก้ อนุรัษณ์ความล้าช้าอย่างเหนียว
  • ยกเอามาเป็นข้อต่อรอง
  • ข้ออ้างที่จะไม่ยอมเปลี่ยนแปลงอะไร
  • ภาคเอกชนเขาจึงทิ้งห่างระบบการพัฒนาไปจนไม่เห็นไฟแดง

เปิดห้องเรียนสู่โลกกว้าง

  • มันก็ฟังกันตาปริบๆไปยังงั้นแหละ พวกนักการศึกษารุ่นสังคโลก
  • ถ้ามีปัญหา หรืออวดเก่ง ทำไมไม่เอาผลการประเมินของ สมศ. มาพิจารณา ว่าสิ่งที่ไม่เขยื้อน ไม่ทำตามที่เขาแนะนำมันเป็นอย่างไร
  • การที่เม็กดำนำเด็กออกไปเรียนรู้
  • นี่แหละจุดแข็งของการศึกษา

เรียนกับครูใจแคบ อยู่ในห้องแคบๆ มันจะปฏิรูปตรงไหนจ๊ะ ผอ.ขี้ตืด!!!  

ปูนซีเมนต์เขาคอมเม็นท์มาว่า

"ไก่ดำผลิตไข่ไก่ เม็กดำผลิตคนเลี้ยงไก่ไข่"

ช่วยเขียนKey word สวยๆติดไว้หน่อยก็ดี

เพราะนี้คือ การประเมินภายนอกที่เที่ยงตรงกว่า สมศ.อีก

  • ขอความช่วยเหลือหน่อยครับ
  • เผื่อได้ครูจากเยอรมัน
  • ที่นี่ครับ
  • สำคัญที่ใจ  เริ่มที่ใจ และต้องใช้ใจขับเคลื่อน
  • ขณะเดียวกันการรวมใจของบุคลากรให้ตระหนักถึงความเป็นเจ้าขององค์กร ก็ถือเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญเหมือนกัน...
  • แต่ผมว่าระบบราชการไทยมีหลายอย่างที่ควรปรับเปลี่ยน  โดยเฉพาะวัฒนธรรมการประชุมที่ติดยึดรูปแบบจนเกินไป และมองข้ามแนวคิดที่ควรสังเคราะห์ให้เกิดขึ้นในที่ประชุม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท