บันทึกนี้บางรายละเอียดได้นำเสนอไว้ในบล็อกของ ดร.แสวงด้วยแล้วครับ และได้คุยประเด็นต้นไม้กับท่านอาจารย์แฮนดี้ทาง skype อีก เลยคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ จึงขอรวบรวมมามองย้อนใหม่อีกรอบครับ โดนจะขอมองแง่คิดเพื่อมองย้อนกลับมายังตัวเราจากการมองและเรียนรู้ต้นไม้รวมถึงพืชทุกชนิดที่อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน
ต้นไม้เดินไม่ได้เหมือนคนหรือสัตว์เมื่อเกิดขึ้นที่ใดก็ต้องอาศัยและเรียนรู้อยู่ที่ตรงนั้นตลอดไป เรียนรู้สิ่งแวดล้อมเพื่อเอามาปรับปรุงพฤติกรรมของตัวเองโดยยังคงคุณสมบัติเด่นของตัวเองเอาไว้ได้แล้วถ่ายทอดสู่รุ่นลูกหลาน
ได้ถูกปลูกหรืองอกเองขึ้นตรงไหนก็ต้องอยู่ตรงนั้น แล้วใช้ชีวิตตรงนั้นเพื่อเจริญงอกงามเท่าที่ทำได้และให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมีระบบราก ระบบท่อลำเลียงและระบบสร้างอาหารแล้วระบบเจือจุนสิ่งแวดล้อม
ต้นไม้ต่างจากสัตว์เพราะไม่สามารถวิ่งหนีภัยธรรมชาติ การโค่นทำลาย หรือไฟป่าและอื่นๆ ได้ ต้องสร้างวิธีการป้องกันภัยให้กับตัวเอง
หากต้นไม้นั้นต้องงอกขึ้นในหน้าหนาวหรือในภูมิประเทศที่มีหลายฤดูกาล เค้าจะต้องปรับตัวเพื่อให้ชีวิตของเค้าอยู่ได้ทุกฤดูกาลอย่างฤดูหนาวก็ต้องจำศีลไม่มีการสังเคราะห์แสง ต้องมีการเก็บอาหารไว้ในลำต้นหรือส่วนอื่นของร่างกาย ก่อนจะสลัดใบทิ้งต้องตรึงไนโตรเจนหรือส่วนประกอบอื่นที่เป็นประโยชน์เก็บไว้ในลำต้นก่อนสละใบทิ้ง
มีระบบแบคอัพในการประกันชีวิตของตัวเองคือหากมีคนมาทำลาย หากไม่ทำลายจนถอนรากถอนโคนก็จะไม่ตายในทันที่ซึ่งต่างจากสัตว์หรือคนที่โดนยิงทีเดียวตายเลยในทันทีหรืออีกไม่นาน แต่ระบบการทนต่อสภาพของต้นไม้นั้นน่านับถือยิ่งนัก
ต้นไม้เป็นเสมือนห้องครัวหรือคนครัวของโลกใบนี้ โดยมีแหล่งพลังงานจากดวงอาทิตย์เป็นแหล่งเชื้อเพลิงในการหุงต้มอาหารหลักประกอบกับน้ำที่รากหาได้และอากาศที่หายใจเข้าไปในการสร้างน้ำตาลมาหล่อเลี้ยงชาวโลก
คนส่วนหนึ่งบอกว่า ต้นไม้ไม่สามารถนิพพานได้แต่นั่นไม่น่าจะใช่ประเด็น แต่หากเราศึกษาต้นไม้แล้วผมว่าต้นไม้นี่ก็ไม่ธรรมดาไปกว่ามนุษย์เรา เพราะหากไม่มีต้นไม้คนก็จะไม่มีเช่นกัน เพราะคนสร้างอาหารเองไม่ได้
ต้นไม้จะเปรียบเสมือนเครืองสูบน้ำจากดินสู่ขึ้นชั้นบรรยากาศในยามที่ไม่มีแสงแดดและมีแสงแดด โดยเฉพาะในช่วงน้ำท่วมต้นไม้จะช่วยได้เยอะมากๆ เพราะว่า 99%ของการดูดน้ำเข้าสู่รากเป็นการส่งขึ้นไปยังชั้นบรรยากาศ ส่วนที่เหลืออีก 1% เอาไว้สำหรับการสังเคราะห์แสง ลองคิดดูครับ เวลาพี่น้องอีสานน้ำท่วมแล้วไม่มีต้นไม้ น้ำจะไปไหนได้หากไหลลงไปยังที่ต่ำและไหลลงดินไม่ได้เพราะมันอิ่มตัวแล้ว
ต้นไม้จะดึงเมฆให้ลงมาอยู่ต่ำๆ หากไม่มีต้นไม้หรือป่าไม้ เมฆจะลอยมาแล้วลอยไปแล้วก็อยู่สูงมากๆจากพื้นดิน (เพราะว่ามีป่าก็มีความชุ่มชื้นอุณภูมิร้อนไม่ลอยเพื่อยกเมฆให้สูงขึ้นนั่นเอง สังเกตุได้ตามเมืองใหญ่ครับหรือแถบโรงงานอุตสาหกรรมครับ) ถามว่าฟ้าฝนจะตกลงมาให้ชุ่มฉ่ำในหัวใจหรือครับ ดังที่ไปเที่ยวน้ำตกแล้วเดินขึ้นไปยังชั้นบนสุดของน้ำตก จะเห็นน้ำไหลออกจากรากต้นไม้แล้วก็จะพบว่าฝนตกด้วยเมฆก็จะอยู่ใกล้ๆ ตัวเราฝนตกตลอดเวลา
ต้นไม้จะครบวงจรในตัวเอง คือผลิตเองใช้เองที่เหลือคืนให้สิ่งแวดล้อม เช่น จะหายใจโดยหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปแล้วคายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเหมือนคน คาร์บอนไดออกไซด์ก็เอาไปใช้ในการสังเคราะห์แสงอีก สังเคราะห์แสงก็ได้ออกซิเจนออกมาอีก
หน้าร้อน คนร้อนได้ ต้นไม้ร้อนก็ร้อนได้เช่นกัน คนร้อนวิ่งไปอาบน้ำตากแอร์เย็นๆ หรือกระโดดในน้ำตก หรือไปทะเล ดีจังแต่ต้นไม้ไปไหนไม่ได้ต้องทำไงครับ ต้นไม้ก็ต้องดูดน้ำเข้าไปแล้วคายน้ำออกทางปากใบเพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย หากมีน้ำไม่พอหล่ะต้องทำไงครับ ต้องไปสร้างโปรตีนในตัวเพื่อเอาไปลดอุณหภูมิ โหคิดได้ไงเนี่ยครับ
การขยายพันธุ์ก็มีหลายแบบขึ้นกับชนิดแบบทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศที่น่าสนใจคือ ลูกๆจะอยู่ใกล้ๆ แม่โดยจะเริ่มขยายพันธุ์ ขยายวงแผ่ไปเรื่อยๆ จนครอบครองพื้นที่ จะเห็นว่าพื้นที่ป่าส่วนใหญ่เกิดจากการขยายพันธุ์ของเค้าเองไม่มีใครไปปลูกไว้ แล้วอยู่ร่วมกันได้ในสังคมต้นไม้ ในผืนป่า ให้ความชุ่มชื้นแก่กัน
หากท่ออาหารโดนตัดขาดแต่ท่อน้ำไม่ถูกทำลาย กรณีคนไปปอกเปลือก(ท่ออาหาร)เพื่อเอาท่ออาหารออกก็จะสร้างท่ออาหารใหม่จนเชื่อมต่อกัน (เห็นได้จากการกรีดยางเป็นการตัดท่ออาหาร คนได้น้ำยาง ก็จะสร้างท่ออาหารใหม่เพื่อกลับสู่สภาพเดิมให้ได้มากที่สุด)
ต้นไม้ไม่มีสมองชัดเจนเหมือนคนหรือสัตว์ แต่คิดได้และแก้ปัญหาได้ และมีการชะลอการตาย (เช่นขุนช้างฉี่รดต้นโพธิ์ทุกวันจนต้นโพธิ์ตาย อิๆ เอใช้ฉี่รดหรือว่าใช้น้ำร้อนรดหนอ ยิ้มๆ)
ไม่มีตาแต่รู้ว่าแสงมาจากทางไหน (มีระบบฮอร์โมนที่หนีแสงที่ปลายยอดชื่ออ๊อกซิน) ไม่มีตาแต่รู้ว่าหลักยึดอยู่ตรงไหน (กรณีถั่วฝักยาว ยอดจะมีวิธีการในการพันหลักยึด ลองสังเกตดูครับ)
เพิ่มปุ๋ยให้กับตัวเองตอนใบแก่ร่วงโรยทับถมกลายเป็นปุ๋ยต่อไปได้ นอกจากจะดูดอาหารขึ้นไปอย่างเดียวแล้วก็คืนสู่กลับธรรมชาติเพื่อให้ใช้ได้ต่อได้ครบวงจร
หากระบบรากเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายจะไม่แย่งอาหารกัน
ต้นไม้สร้างชุมชนของสัตว์และสิ่งมีชีวิตให้เกิดการเกื้อกูลกัน เช่นการกินผลไม้ของนก ช่วยในการขยายพันธุ์ไม้ด้วยตอนนกบินไปถ่ายไว้ที่ไกลๆ
คุณสมบัติของต้นไม้ ยากเกินจะบรรยายได้หมดในช่วงชีวิตนี้ แล้วคุณละครับ
คิดว่ามีประโยชน์ไรบ้าง
ถึงเวลายังครับที่เราจะมาร่วมปลูกต้นไม้กัน
คงไม่ต้องขนาดหวังถึงปลูกต้นไม้ใช้หนี้นะครับ เพราะหากปลูกไว้ใช้หนี้ คนก็จะสร้างหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้วทำลายต้นไม้อีกเช่นกัน
มาร่วมรณรงค์ปลูกต้นไม้กันเถอะครับ ช่วยแบ่งเบา ดต.วิชัย และคุณลุงสงัดนะครับ
ข้อเห็นเพิ่มเติม จากบทความ อาจารย์ไม่มีคุณภาพ ของพี่กมล์วัลย์ ครับ
จริงๆ ต้นไม้ก็มีหลายๆ แบบนะครับ ผมชอบที่นายแหลม...น้องแหลมก็แล้วกัน อรหันต์ชาวนา พูดไว้โดนใจผมมากๆ เลยครับ เค้าแบ่งต้นไม้ออกเป็นประเภทครับ เค้าบอกว่า
ต้นไม้ บางต้นพวกนี้นิพพานหรือตรัสรู้แล้ว หรือว่าได้รับปริญญา อะไรทำนองนี้นะครับ ประมาณว่า หากกินได้ เลี้ยงตัวเองได้ แม้ว่าจะอยู่กับที่ก็ตาม ไม่ว่าจะเอาไปปลูกทิ้งไว้ตรงไหน หรืองอกตรงไหนมันจะโตของมันเองตามธรรมชาติได้
บางประเภทต้องให้ก่อนในเบื้องต้น แล้วก็คอยดูแลจนอยู่ได้แล้วจากนั้น เค้าจะจัดการตัวเองได้
บางประเภทเค้าบอกว่าต้องดูแลเอาใจใส่ตลอดเวลา ไม่รู้จักโตเสียที พวกนี้ต้องคอยดูและให้อาหารให้น้ำตลอด ถึงจะได้ผลดีครับ
พี่เคยเห็นต้นไม้แบบที่เค้าเรียกว่า บ้าใบ ไหมครับ คือมีสารอาหารพวก ไนโตรเจนมากเกินไป ซึ่งตัวนี้มันจะมีผลต่อการบำรุงพืชในเรื่องการสร้าง กิ่งก้านสาขา นะครับ จะเห็นว่างอกงามดีมากครับ แต่ไม่มีผล คือไม่ออกดอกออกผลที่ควรเป็น นี่คือการเสพจากทรัพยากรที่มีอย่างไม่เพียงพอของต้นไม้
แต่ทั้งนั้นและทั้งนั้นครับ...ต้นไม้เคลื่อนที่ไม่ได้ มีข้อจำกัด ทำได้แค่เลื้อยไปปกคลุมเพื่อหาสารอาหารให้ตัวเองอยู่รอดเช่นกันครับ ตามสภาพที่เป็นอยู่ แต่มีข้อดีคือตัวต้นไม้เองเดินไม่ได้ แต่สร้างอาหารให้ตัวเองได้ ด้วยการสังเคราะห์แสง
แต่ คนเราเดินได้ แต่สังเคราะห์แสงไม่ได้ สร้างอาหารให้ตัวเองไม่ได้ เลยต้องไปเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตอื่นมาให้ตัวเองได้กินไงครับ นี่คือความสมดุลครับ
ระหว่างคนกับต้นไม้ เดินได้ไม่ได้ กับสร้างอาหารเองไม่ได้และได้ ตามลำดับครับ จะเห็นว่าธรรมชาตินั้น สร้างสิ่งเหล่านี้ไว้แล้วอย่างลึกซึ้งมากๆ เลยครับ พี่ลองจินตนาการดูซิครับ หากคนสังเคราะห์แสงได้ แล้วเดินได้ด้วย จะเป็นอย่างไรหนอ...เพียงพอ หรือว่าไม่พอ...อยู่ที่ตรงไหน
ทุกสิ่งมีชีวิตเกิดมาพร้อมกับความเห็นแก่ตัวทุกๆ อย่างครับ เพียงแต่เราจะควบคุมให้สมดุลได้อย่างไร อยู่ตรงนั้นเป็นสำคัญ หากการให้ และรับ ไม่สมดุล ระบบจะเกิดปัญหาทันที
สังเกตดูนะครับ ว่าระบบใดที่ให้อย่างเดียว ไม่นานก็หมด ระบบใดที่รับอย่างเดียวไม่นานก็ตาย
ระบบใดที่ดีอยู่แล้ว และดีต่อไป มันจะยังอยู่ได้ต่อไปเสมอ....
วันหนึ่ง ผมอยากจะทราบว่า โรงเรียน มหาวิทยาลัยที่ตั้งๆ กันขึ้นมา อาจจะไม่มีประโยชน์เลยก็ได้ครับ หากการให้และรับไม่สมดุล จะมีระบบใหม่ที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความสมดุลออกมาแทน ระบบเก่าที่เสื่อม ผมเชื่ออย่างนั้นครับ
วันหนึ่งการศึกษาแบบอัธยาศัยอาจจะรุ่งเรื่องกว่าการศึกษาในระบบก็ได้
หรือการศึกษาแบบนอกระบบจะเป็นตัวสำคัญกว่าในระบบก็ได้ครับ
คนเราต้องได้รับบทเรียนเท่านั้นครับ โดยเฉพาะการได้รับบทเรียนจากประสบการณ์ตัวเองเป็นสำคัญถึงจะเชื่อและตระหนักครับ ผมเชื่อว่าวันหนึ่งเราจะได้รับประสบการณ์หนักๆ เหล่านั้นร่วมกันครับ ไม่ช้าก็เร็ว แล้วจากวันนั้นที่เรามีโอกาสนี้ เราจะเข้าใจธรรมชาติ อยู่กับธรรมชาติ เห็นอกเห็นใจกันมากขึ้นครับ
ขอบคุณมากๆ นะครับ และมีความสุขในการทำงานนะครับ