คุยเฟื่องเรื่อง เกลือ


ในสมัยโบราณ นักรบโรมันได้รับค่าตอบแทนเป็นเกลือ ภาษาละตินเรียกค่าตอบแทนนี้ว่า salarium ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า salary (เงินเดือน) นั่นเอง

 

“บ้านของพี่ทำนา ทำนา ปลูกข้าวทุกเมื่อ … น้องก็ทำนาเกลือ แลกเกลือนั้นซื้อข้าวกิน

บ้านของพี่อยู่ที่กาฬสินธุ์ … ส่วนตัวยุพินอยู่สมุทรสาคร …”

  <p>เพื่อนๆ ชาว GotoKnow คงนึกว่าวันนี้ผมเป็นอะไรไปแล้ว กินยาลืมเขย่าขวดหรือเปล่า ที่เกิดครึ้มอกครึ้มใจฮัมเพลงลูกทุ่งยอดฮิตตลอดกาล “หนุ่มนาข้าว สาวนาเกลือ”</p><blockquote><p>ใช่แล้วครับ จะชวนมาทำความรู้จักกับ เกลือ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันดีในมุมมองต่างๆ ให้หลากหลายขึ้นไปอีก….ดีไหมครับ</p></blockquote><p>ในภาษาไทยของเรานั้น มีสำนวนที่อ้างถึงเกลืออยู่ไม่น้อย เช่น “อืดเป็นเรือเกลือ” ก็หมายความความ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้ช้ามาก เพราะเรือบรรทุกเกลือนั้นทั้งใหญ่ทั้งหนัก หรือ หากใครที่โดนว่าว่า “เค็มเหมือนเกลือ” ก็หมายความว่า ขี้เหนียวสุด ๆ ซึ่งเดี๋ยวนี้บางครั้งก็พลิกแพลงไปพูดว่า อีตานี่ “เกลือยังเรียกพี่” คือ เค็มยิ่งกว่าเกลือเสียอีก (เอ่อ…แต่ “เกลือเรียกพี่” นี่อาจจะดีกว่า “เต่าเรียกแม่” นะ)                </p><blockquote><p>ส่วนภาษิตดี ๆ เกี่ยวกับเกลือก็มี เช่น "จงรักษาความดี ดุจดังเฉาก๊วยรักษาความดำ" …เอ้ย!...ดุจเกลือรักษาความเค็ม ต่างหาก</p></blockquote><p>ในสมัยโบราณ นักรบโรมันได้รับค่าตอบแทนเป็นเกลือครับ ภาษาละตินเรียกค่าตอบแทนนี้ว่า salarium ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า salary ซึ่งก็คือ เงินเดือน หรือ เงินค่าตอบแทน ในปัจจุบันนั่นเอง เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ใครที่เป็น “มนุษย์เงินเดือน” (แบบเดียวกับผม) แล้วคิดว่า “เกลือ” ไม่สำคัญ มีบ้างไหมครับ?                </p><blockquote><p>ในทางเคมี คำว่า เกลือ มีความหมายค่อนข้างกว้าง คือหมายถึง ผลผลิตที่ได้จากปฏิกิริยาระหว่างกรดกับด่าง อย่างที่เด็กนักเรียนของเราชอบท่องกันง่าย ๆ ว่า กรด + ด่าง = เกลือ + น้ำ นั่นล่ะครับ                </p></blockquote><p>แต่สำหรับคนทั่วไป คำว่า เกลือ นั้นคือ เกลือแกง ซึ่งใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเหยาะปรุงเพิ่มรสชาติอาหาร หรือ การถนอมอาหาร</p><blockquote>

ในศตวรรษที่ 19 นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นเป็นครั้งแรกว่า เกลือแกง นั้นประกอบด้วยธาตุ 2 ชนิด ได้แก่ โซเดียม (sodium) และ คลอรีน (chlorine) เรียกให้เก๋ว่า โซเดียมคลอไรด์ (sodium chloride) ซึ่งมีชื่อย่อ ๆ คือ NaCl

</blockquote><p>โซเดียมนั้นโดยตัวมันเองเป็นโลหะสีเงิน ติดไฟได้ง่าย มีสัญลักษณ์คือ Na ส่วนคลอรีนตามปกติจะอยู่ในรูปของแก๊ส และเป็นแก๊สที่เป็นพิษอีกด้วย ธาตุคลอรีนมีสัญลักษณ์คือ Cl</p><blockquote><p>โซเดียมที่อยู่ในเกลือนี่สำคัญมากนะครับ นอกจากช่วยควบคุมสมดุลของของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้ปกติแล้ว ยังช่วยการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อของคุณ (รวมทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ) แถมยังเกี่ยวข้องกับการดูดซึมสารอาหารบางอย่างในไตและลำไส้เล็กอีกด้วย                </p></blockquote><p>อาจจะมีค้นข้องใจว่า สารที่ดูเหมือนมีอันตราย 2 อย่าง คือ โซเดียม (ติดไฟได้) และ คลอรีน (เป็นพิษ) ทำไมเวลามาอยู่ด้วยกันแล้วกลับกลายเป็นสารที่มีประโยชน์ไปได้? หรือ โซเดียมในสภาพโลหะ จะติดไฟได้ แต่พอมาอยู่ในร่างกาย กลับมีประโยชน์หลายอย่าง (ถ้ามีปริมาณพอเหมาะ)                </p><blockquote><p>ผู้รู้ท่านเปรียบเทียบไว้ว่า นี่ก็เหมือนกับการที่ผู้ชายบางคนซึ่งอยู่ในวงเพื่อนฝูงแล้วประกาศก้องดุจ “เสือคำราม” ว่า ไม่เกลียมัว เอ้ย! ไม่กลัวเมีย แต่เวลากลับถึงบ้าน กลับกลายเป็น “แมวเชื่อง” อยู่ในโอวาทของภรรยาเป็นอย่างดี                </p></blockquote><p align="center">นั่นคือ ไม่ว่าจะเป็นคน หรืออะตอม ก็สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ถ้าสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนไปนั่นเองครับ                </p><p>พอพูดถึง โซเดียมคลอไรด์ ทำให้นึกได้ว่า เมื่อราว 10 กว่าปีก่อน มีรายการเกมโชว์ยอดฮิตของช่อง 9 อยู่รายการหนึ่ง ชื่อ แม่บ้านสมองไว (บางคนไปแผลงเป็น แม่บ้านสมองไหล ซึ่งฟังแล้วหวาดเสียวมาก)</p><blockquote><p>ในรายการนี้ ถ้าจำไม่ผิดมีคุณนันทวัน เมฆใหญ่ เป็นผู้ดำเนินรายการร่วมกับคุณเทิ่ง สติเฟื่อง รายการนี้จะเชิญคุณแม่บ้านมาร่วมสนุกโดยการแข่งขันกันตอบคำถามต่าง ๆ ที่ทางผู้จัดรายการได้ตระเตรียมไว้                </p></blockquote><p align="center">มีอยู่ครั้งหนึ่งที่มีคำถามทางวิทยาศาสตร์ว่า </p><p align="center">“โซเดียมคลอไรด์ คือ สารอะไร?”                </p><p align="center">คุณแม่บ้านต่างก็พยายามเดากันไปหลายอย่าง ก็ไม่ถูกสักที </p><p>จนกระทั่ง คุณเทิ่ง สติเฟื่อง พิธีกรของรายการเห็นว่าไม่ได้การ ก็เลยบอกใบ้ให้นิดหนึ่งว่า </p><p align="center">“โซเดียมคลอไรด์มีลักษณะเป็นผงสีขาว </p><p align="center">ซึ่งคุณแม่บ้านเหยาะใส่ไข่ให้กับคุณพ่อบ้านตอนเช้า”                </p><blockquote><p>ทันใดนั้นผู้แข่งขันท่านหนึ่ง ก็ตอบขึ้นมาอย่างมั่นใจทันทีว่า               </p></blockquote><blockquote> <p align="center"> “อ๋อ! แป้ง ค่ะ!”              </p> <p align="center"></p> </blockquote><p><hr> </p> <p>ประวัติของบทความ</p><p>              ตีพิมพ์ครั้งแรกในคอลัมน์ Know How & Know Why หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  และรวมเล่มในหนังสือ Know How & Know Why : วิทยาศาสตร์ในข่าวและเรื่องราวรอบตัว </p>

คำสำคัญ (Tags): #เกลือ nacl
หมายเลขบันทึก: 80019เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2007 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ฮ่าๆ อาจารย์ สาระน่ารู้มากๆๆๆ ค่ะ โดยเฉพาะแม่บ้านสมองไหล จริงๆ ด้วย

55555 แอบขำอีกแล้วนะครับ แฝงมุขให้ฮาจริงๆๆ

โลหะโซเดียม จะติดไฟเมื่อโดนน้ำครับ ถึงขั้นระเบิดเลยทีเดียว

สวัสดีครับ คุณ Trip Maker & คุณนักลงทุนเงินน้อย 

  • รายการแม่บ้านสมองไหล เอ้ย! สมองไว นี่นะจะกลับมาอีกนะครับ สาระดีจริงๆ
  • ช่วงนี้เห็นคุณนักลงทุนเงินน้อยไฟแรง โพสต์เรื่องสนุกๆ ไว้เยอะแยะ ดีจังครับ :-)

 

 

ขอบพระคุณอาจารย์ที่ติดตามอ่านนะครับ เรื่องของอารย์ก็น่าสนใมมากทีเดียว ผมติดตามอ่านเกือบทุก Blog เลยครับ

อิอิ ดีนะที่ผมไม่ได้เป็นคนตอบคำถาม

เมื่อรู้แล้วก็อย่าเผลอเอาโซเดียมคลอไรด์ไป 'เหยาะใส่ไข่' ตอนเช้าๆ เชียวนะครับ :-P

บ้านของSom-Oอยู่ที่กาฬสินธุ์...

กูขอcopyข้อมูลหน่อยนะสัด555555555555+

 

---------------------------------------------------------

      ฝูงชนกำเนิดคล้าย    คลึงกัน

ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ    แผกบ้าง

ความรู้อาจเรียนทัน         กันหมด

เว้นแต่ชั่วดีกระด้าง          ห่อนแก้ ฤาไหว

                                             รัชกาลที่ 5

----------------------------------------------------------

 

จอร์จ เฟรเดอริค เออร์เนส อัลเบิร์ต

จอร์จ เฟรเดอริค เออร์เนส อัลเบิร์ต เรากลับมาแย้ว

ขออนุญาติแชร์นะคะ^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท