KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 265. KM ไข้หวัดนก


          วันที่ ๖ ก.พ. ๕๐ ผมได้รับเอกสารเรื่อง "บทบาทของวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนกชนิดรุนแรงสายพันธุ์ H5N1"     จัดทำโดยงานจัดการความรู้  โปรแกรมวิจัยโรคติดเชื้ออุบัติใหม่  ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.)     www.biotec.or.th/eidp    

         คณะผู้เขียนและจัดทำเอกสารวิชาการนี้ระบุว่า    ได้ "รวบรวมความรู้และประสบการณ์ของบุคคลและองค์กร     ทั้งจากที่เป็นความรู้ฝังลึกในตัวคน (Tacit Knowledge)  และความรู้ประจักษ์ (Explicit Knowledge)     แล้วนำมาสังเคราะห์เป็นความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป"  
 
         ผมพลิกๆ ดู พบว่าเอกสารนี้สังเคราะห์มาจากผลการประชุม ๕ ครั้ง     คือประชุมผู้เชี่ยวชาญ ๓ ครั้ง     ตามด้วยการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาต่างๆ     ตามด้วยการประชุมผู้ประเมิน    และการประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกลุ่มผู้บริหารระดับสูง

         จึงนับว่าวิธีการ "จัดการความรู้" ที่ใช้ในการจัดทำเอกสารนี้     เป็นการจัดการความรู้อีกรูปแบบหนึ่ง     อาจเรียกว่า การจัดการความรู้ฉบับนักวิชาการ      ผมมองว่าเป็นการจัดการความรู้แบบ supply push    คือจัดการความรู้สำหรับให้ผู้อื่นเอาไปใช้

         ผมเคยเขียนบันทึกเรื่อง KM ไข้หวัดนก แบบ demand pull ไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/thaikm/1456, http://gotoknow.org/blog/thaikm/1463, http://gotoknow.org/blog/thaikm/1550, http://gotoknow.org/blog/thaikm/1712, http://gotoknow.org/blog/thaikm/70007

วิจารณ์ พานิช
๖ ก.พ. ๕๐

หมายเลขบันทึก: 79864เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2007 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท