เอาความรู้ปฏิบัติในการป้องกันไข้หวัดนกมาแลกเปลี่ยนกัน


เอาความรู้ปฏิบัติในการป้องกันไข้หวัดนกมาแลกเปลี่ยนกัน


          หัวใจคือ “ความรู้ปฏิบัติ”  ที่เราเน้นในตลาดนัดความรู้ไข้หวัดนก   เมื่อวันที่ 18 – 19 ก.ค.48   ที่โรงแรมเอส ดี อเวนิว  กรุงเทพฯ


          ความรู้ปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้หวัดนก   เป็นความรู้ที่มีอยู่ใน “ผู้ปฏิบัติ” 2 กลุ่ม   คือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก (ไก่  เป็ด  ห่าน  นกกระทา) กับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่คือ   เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข


          สาระความรู้ในการเลี้ยงสัตว์ปีกไม่ให้เป็นโรคไข้หวัดนกของเกษตรกรมีมากจริง ๆ   ผมได้นำบันทึกจากคณะผู้จัดการประชุมมาลงให้อ่านกันแล้วเมื่อวาน (link)


          การประชุมครั้งนี้ร่วมกันจัด 3 ฝ่ายคือ ศช. (ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ),  มสช. (มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ)   และ สคส.    โดยที่ สคส. จัดวิทยากรอำนวยความสะดวกต่อกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้คือ   คุณธวัช  หมัดเต๊ะ  เป็นวิทยากรหลัก   คุณสุภาภรณ์  ธาตรีโรจน์ เป็นวิทยากรผู้ช่วย   ในสายตาของผม   ตลาดนัดความรู้ครั้งนี้น่าจะก่อผลดีต่อสังคมไทยอย่างน้อย 3 ประการคือ
1.      เกิดการยอมรับ   ว่าความรู้สำหรับป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกมาจาก 2 ทางคือ (1) ความรู้ปฏิบัติของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกและเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ – สาธารณสุขในพื้นที่           (2) ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์สากล   ประเทศไทยจะต้องรู้จักใช้ความรู้ทั้ง 2 สายให้เสริมพลังกัน (synergy) เพื่อบรรลุเป้าหมายการควบคุมและป้องกันโรคไข้หวัดนก
2.      หน่วยจัดการความรู้เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกของ ศช.   ดำเนินการส่งเสริม KM ระดับพื้นที่   ระหว่างเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่   ทั้งที่เป็น KM ภายในพื้นที่เองและที่เป็น KM ระหว่างพื้นที่
ศช. น่าจะจัดกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติในการเลี้ยงสัตว์ปีก   ทั้งโดยวิธี F2F และ
B2B
          F2F น่าจะจัดเป็นรายภาค   ภาคละ 1 – 2 ครั้ง/ปี   และเป็นระดับประเทศ 1 – 2 ครั้ง/ปี
          B2B ควรมีกลไกการจัดการ   จัด incentive เช่นรางวัลแก่ผู้แลกเปลี่ยนความรู้ผ่านบล็อก
ยอดเยี่ยมประจำเดือนและประจำปี
3.      มีการวิจัยต่อยอดความรู้จากความรู้ที่สร้างขึ้นจากการปฏิบัติของชาวบ้าน 2 วงจร
                  - วงจรป้อนกลับให้ชาวบ้านใช้
                  - วงจรตีพิมพ์/เผยแพร่ระดับนานาชาติ


          โดยที่มีการจัดการระบบของ 2 วงจรนี้แตกต่างกัน   ผมหวังว่า ศช. จะเป็นองค์กรขับเคลื่อนเรื่องนี้

 

                      

                                             บรรยากาศการประชุม

 

                                                                                      วิจารณ์  พานิช
                                                                                        19 ก.ค.48
                                                                                    โรงแรมเอส ดี อเวนิว

หมายเลขบันทึก: 1456เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2005 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท