เรื่องเล่าจากเกษตรกรในตลาดนัดความรู้ไข้หวัดนก (๒)


ในเรื่องเล่ามี "ขุมความรู้" เล็กๆ มากมาย
เรื่องเล่าจากเกษตรกรในตลาดนัดความรู้ไข้หวัดนก (๒)
           เมื่อวันที่ ๑๙ กค. ได้เอาเรื่องเล่าจากการประชุมกลุ่มเกษตรกรกลุ่มที่ ๑ มาลงไว้แล้ว    วันนี้จะเป็นของกลุ่มที่ ๑

คุณอำนวย   คุณสุรเดช เดชคุ้มวงศ์

คุณลิขิต     คุณทิพยวรรณ     ธนไพศาล

                    คุณอำพรรณ ไชยบุญชู

คุณสุรเดช

จุดมุ่งหมายหลักของเราคือเราจะนำประสบการณ์อย่างที่อาจารย์ว่า มาวันนี้เราจะเอาประสบการณ์ของจริงมาเล่าสู่กันฟัง ไม่มีการเติมแต่ง ไม่มีการระบายสี เอาของจริงมาว่ากันเลย โจทย์ของเราคือว่าที่เราเลี้ยงไม่ว่าจะเป็นไก่ เป็ด นกกระทา โจทย์ของเราก็คือว่าที่เราเลี้ยงให้รอดปลอดภัย พาเขารอดมาได้ จะตายหรือเจ๊ง ที่พวกเราเลี้ยงมากับมือ ว่าเรามีประสบการณ์ยังไง เลี้ยงยังไง คิดยังไง ทำยังไงให้ได้ผล  ไอ้ที่ตายก็มีมันเพราะอะไร มันมีทั้งบวกลบนะ พูดคุยกันในด้านบวกว่าทำอะไรสำเร็จ ด้านลบเจอปัญหาอะไรก็เล่าให้ฟังไอ้ที่ตายเราแก้ปัญหายังไง

ผมจะจับคู่ให้ มันจะมีคุณบรรจง คุณไพจิตร คุณเกรียงศักดิ์ เป็นกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ คุณจันทร์แรม คุณทองมี เป็นกลุ่มผู้เลี้ยงเป็ด คุณเอนก เป็นกลุ่มผู้เลี้ยงนกกระทา เอาไงเราจะเริ่มอะไรก่อน

คุณเอนก

ขออนุญาตนะครับ ถ้าเป็นไปได้ เราควรจะพูดคำว่า สัตว์ปีก มันจะได้ครอบคลุมสัตว์ทุกอย่าง

คุณสุรเดช

เรามีไก่มาสามคน เป็ดมาสอง นกกระทามาหนึ่ง งั้นเราจะเริ่มเรื่องเล่าจากเรื่องไก่ ก่อนมันฮือฮา มีทั้งไก่เล็กๆ จะเริ่มจากคุณเกรียงศักดิ์จะเล่าเรื่องไก่พันธุ์พื้นเมือง ไม้เรียง เดี๋ยวจะไปไก่ไข เริ่มจากไก่เล็กๆ ก่อน คุณเกรียงศักดิ์เริ่มเล่าเลยครับ

คุณเกรียงศักดิ์
จากประสบการณ์ที่ทำมา เราต้องคำนึงถึง 3 จุด คือ หนึ่ง เรื่องพื้นที่ เป็นพื้นที่ค่อนข้างสูง ถ้าแฉะน้ำจะไม่ปล่อยไก่ลงไป ถ้าแฉะจะขุดร่อง ประการที่สองคือเรื่องพันธุ์ ผมจะไม่ใช้ของใคร ผมจะเอาพื้นเมืองทั้งหมด ผมถือว่าไก่ต้านทานโรคที่ดีที่สุดคือไก่พันธุ์พื้นเมือง ผมเริ่มปรับปรุงพันธุ์มาตั้งแต่ปี 2540 ผมเอาไก่พื้นเมืองแท้ของไทย ของพม่า ของเวียดนาม ไก่สามชาติ ต้านทางโรค ตากฝนอะไรก็ไม่เป็นไร  เรื่องที่สามคือเรื่องการจัดการ ทำสองรูปแบบ แบบที่หนึ่งเลี้ยงในเล้า เลี้ยงแบบปิดอยู่ในเล้าตั้งแต่ฟัก อยู่ในเล้า มีอาหารให้  อีกแบบหนึ่งคือปล่อยธรรมชาติ ไม่ให้อาหารอะไรเลย ปล่อยในสวนผลไม้มีเนื้อที่ประมาณ แปดไร่ ช่วงฤดูผลไม้ อย่างช่วงนี้ ไก่จะคอยเก็บกิน สวนผลไม้ไม่ใช้สารอะไรเลย ทำที่ให้หลบแดดหลบฝน ช่วงที่ไม่มีผลไม้ จะใช้ต้นสาคู กล้วย มะพร้าว มาผ่าแล้วมาตั้งรอบสวน มาตัดท่อน ให้เฉาะกินเอง ข้างในจะเป็นแป้งทั้งนั้น เลี้ยงแบบอินทรีย์  อันนี้ข้างในโรงจะให้กินน้ำสกัดอินทรีย์  หมักจุลินทรีย์จากฟ้าทะลายโจร จากบอระเพ็ดผสมน้ำตาลแล้วหมัก แต่ก็มีการทำวัคซีน ข้างนอกผมจะไม่ทำอะไรเลย จะปลูกฟ้าทะลายโจร ไม่ทำอะไรเลย มันจะหากินเอง ที่ผ่านมาก็ไม่เคยเจอโรคอะไร ไก่ที่เลี้ยงจะตายบ้าง สาเหตุที่ตาย คืออาหารไม่พอกินอาหารไม่ทั่วถึง
 ตายในระบบปิด คือแย่งอาหารกินไม่ทัน

คุณเอนก

ขออนุญาตนะครับ คือ ถามเรื่องระบบปิดที่คุณเกรียงศักดิ์พูดหมายถึงอะไร 

คุณเกรียงศักดิ์

หมายถึงปิดขังไม่ให้มันออกไปไหน

คุณเอนก

เรื่องนี้ผมขออนุญาตขยายความ ระบบปิดหมายถึงมีรั้วรอบขอบชิด ถ้าโรงเรือนหรือเล้าปิดหมายถึงระบบอีแวป (evaporator) ระบบปิดคือบ้านเรามีรั้วไม่ให้วิ่งออกไป

คุณเกรียงศักดิ์

ตั้งแต่เลี้ยงมา อัตราตายก็ปกติคือประมาณ สิบเปอร์เซ็นต์ ที่ตายเพราะมันแน่น มีพื้นที่จำกัด ตัวเล็กกินอาหารไม่ทันมันจับดูแล้วผอม โดนเพื่อนข่ม

คุณเอนก

ผมขออนุญาตเสริม คือการตายห้าถึงสิบเปอร์เซ็นต์ การตายระดับนี้ถือเป็นปกติคุณทองมี

ผมว่าใช่ คือตัวเล็กแกร็นกินอาหารไม่ทันโดนตัวใหญ่เบียดมั่ง บางตัวออกมาสะดือขาด ตัวบวมเลย ท้องอักเสบ ก็ตาย ถือเป็นกฎธรรมชาติ

คุณเกรียงศักดิ์

ไอ้ที่ปล่อยธรรมชาติ มันจะตายน้อยกว่า คือจะตายไม่เกินห้าเปอร์เซ็นต์ เพราะมันหากินเอง ไปหากินไกลๆ ได้ และไม่แออัด อยู่ที่กว้าง มันเลยไม่ค่อยตาย

คุณเอนก

ขออนุญาตถาม ช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดนก มีการระบาดใกล้พื้นที่ใกล้ๆ ไหม

คุณเกรียงศักดิ์
ไม่มีครับ พื้นที่ใกล้ๆ ไม่มี
แต่มีที่ร่อนพิบูลย์ 

คุณเอนก

ถ้าอย่างนี้เราก็วิเคราะห์ไม่ได้ เพราะมันไม่มีที่เป็น ขออนุญาตอีกทีนะครับ คือในความหมายก็คือในหนึ่งจังหวัด ก็ไม่ได้หมายถึงทุกอำเภอ ในทุกอำเภอก็ไม่ได้เป็นทุกหมู่บ้าน ผมมองว่าเรื่องนี้เป็นระดับประเทศ สถาบันการเงิน หมอหรือเจ้าหน้าที่ยังไม่เข้าใจว่าโรงเรือนปิดหรือระบบปิดคืออะไร สังคมมีทั้งคนรู้และไม่รู้

คุณไพจิตร

ของผมเลี้ยงแบบชีวภาพ เลี้ยงปล่อย แต่มีโรงเรือนให้หลบแดดหลบฝน ปล่อยธรรมชาติ ไม่ทำวัคซีน ใช้จุลินทรีย์อย่างเดียว เริ่มซื้อลูกไก่ เอาไก่มากดหัวลงไปในน้ำจุลินทรีย์เลย ในพื้นที่ ยี่สิบไร่มีไก่ สองพันตัว ทุกตัวจับกดหัวหมด จุลินทรีย์อีเอ็ม ไม่ได้ทำเอง ซื้อมา ระหว่างเลี้ยงเอาจุลินทรีย์ใส่น้ำในกระบอกให้กิน ทุกอาทิตย์เวลาไก่เข้าไปนอนในโรงจะเอาจุลินทรีย์ผสมน้ำฉีดให้โดนตัวไก่ ในน้ำที่เราผสมใช้พญายอ (เสลดพังพอนตัวเมีย) กับลูกใต้ใบ สองตัวนี้มีฤทธิ์ฆ่าไวรัส   ถ้าเสลดพังพอนตัวผู้ฆ่าได้แค่แบคทีเรีย   ได้จากหนังสือของมหาวิทยาลัยเกษตรบางเขน ว่ามีฤทธิ์ยับยั้งไวรัส ได้ เคยใช้กับกุ้งได้ผล กันโรคของกุ้ง  ตัวแดงหัวเหลืองขี้ขาว   สำหรับไก่บางครั้งการผสมน้ำ หรือคลุกอาหาร  ให้กิน    จะเพาะปลวกให้ลูกไก่ด้วยเพื่อให้แข็งแรง   ช่วงที่เลี้ยงไม่ได้คิดจะกันไข้หวัดนก แต่พอหวัดนกระบาดรอบข้างตายหมด  ปศุสัตว์ก็เข้ามาหา บางครั้งไม่เชื่อ และพูดให้ช้ำใจว่า   “ บางฟาร์มเขาหยอดจุลินทรีย์ตามด้วยสเตร็พยังไม่รอดเลย ของคุณจะรอดเหรอ”  เขาบอกให้เกษตรกรทำลาย ตั้งแต่รอบแรก ในละแวกนั้นเหลือของผมอยู่รายเดียว ปศุสัตว์เข้าไปหาบ่อย แต่ไม่เชื่อในสิ่งที่ผมเล่า

ไข้หวัดนกมาจากนกผมว่ามันไม่จริง นกก็มากินน้ำจากขอบบ่อ เหมือนไก่

การที่ไก่ไม่ตายเพราะไก่ผมแข็งแรง สวย

คุณเอนก

ที่ว่าแข็งแรง ก็จะไม่เป็นโรค กินปลวก ถ้าจะมองว่าไข้หวัดนกเกิดจากนกอย่างเดียว สัตว์ที่แข็งแรงจะไม่เป็นโรค   เรื่องปศุสัตว์นี้ไม่สร้างยังทำลายจิตใจ

คุณไพจิตร

 เจ้าหน้าที่ก็มาถามคุณขึ้นทะเบียนหรือยัง แล้วคุณทำระบบปิดหรือยัง ผมก็ไม่ปิดเพราะผมเคยทำของผมมา

ถ้าผมไม่อยู่ ตอนเช้าไม่ต้องให้อาหารก็ได้ ปล่อยให้สัตว์ไปหากินเอง

ข้อสังเกต คือไก่แข็งแรงตั้งแต่เล็ก ได้กินปลวก หยอดจุลินทรีย์ พ่นเล้า

คุณบรรจง

ผมทำไก่ไข่ ไก่เนื้อ เลี้ยงกรง ผมมีระบบอีแวปทดสอบทดลองแต่ไม่ใหญ่มาก สามพันตัว ระบบไม่ได้ปิดจริงๆ เพราะตอนนั้นไม่ได้มีโรคอะไร เลี้ยงโรงเรือน สามพันตัว

อีแวป เป็นอุโมงค์ลม มีพัดลมดูดอากาศออก คุมอุณหภูมิได้ ตอนไข้หวัดนกเข้ามาก็เริ่มใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคนที่บางเลน   คุณไพบูลย์ (เล้าเปิดบนบ่อปลา) มีการประสานข้อมูลเรื่องไข้หวัดนก ตั้งแต่ปลายปี46 พอมีไข้หวัดนก อาจารย์ลิขิตใช้ฟ้าทะลายโจร ชมรมผู้เลี้ยงไก่สามสาย บอกว่าได้ผล ผมก็ใช้อีเอ็ม ทุกฟาร์มใช้ยาฆ่าเชื้อ จะมีอยู่ฟาร์มหนึ่งที่บางเลน ไม่ใช้วัคซีน คือฟาร์มรุ่งโรจน์ ก่อนหน้านั้นมีโรคไข้หวัดหน้าบวมมาก่อน ซีพีมาวางระบบ ให้มีการฆ่าเชื้อ มีการพ่นยาฆ่าเชื้อก่อนจะเข้าฟาร์ม ซื้อเครื่องพ่นมาล้านกว่าบาท มีการซักผ้าให้พนักงาน ฟาร์มนี้รอดมาได้ฟาร์มเดียวในบางเลนโดยไม่ใช้วัคซีน    เกษมชัยฟาร์มเอาวัคซีนมาฉีดแต่ไก่ตายเพราะไก่รับเชื้อมาแล้ว

คุณมานพ เลี้ยงระบบปิดเล้าเปิด มีการผสมอาหารใช้เอง ลูกสาวอยู่สหฟาร์ม ได้ข้อมูลมาก่อน มีการป้องกัน ลูกฟาร์มเลี้ยงรอดเหมือนกันสันนิษฐานว่าได้วัคซีนจากซีพี ใช้กำมะถันรมแต่ว่าน่าจะใช้วัคซีน แต่ไก่รุ่นนี้ไม่ได้เจาะเลือดตรวจ

มาถึงวันนี้รอดมาได้ด้วยระบบ compartment ควบคุมระบบของเขา คนจะเข้าฟาร์มต้องใช้ยาฆ่าเชื้อ ไก่ไข่ที่รอดได้ด้วยวัคซีน H5N2 คุณมานพยืนยันไม่ใช้ มีฟาร์มเดียวในประเทศไทย  เป็นฟาร์มครบวงจร ซื้อไก่มาฟักไข่เอง แต่เกษตรกรจะไปเอาอย่างลำบากเพราะใช้ทุนสูง

ทุกคนรู้เรื่องไข้หวัดนก ผมหยุดเลี้ยง  ผมเลี้ยงไก่ไข่มายี่สิบปี แต่ผมมองว่ามันมีไข้หวัดนกมาแล้ว เกษตรกรรายย่อยไม่สามารถกลับมาเลี้ยงไก่ได้ เพราะปศุสัตว์บอกว่าต้องเป็นระบบอีแวปเท่านั้น ธกส ก็ไม่ปล่อยกู้ ผมได้คำตอบจากกรรมาธิการ ว่ามีการล็อคสเปกจากปศุสัตว์  ผมคิดว่าจะคุ้มต้องเลี้ยงหมื่นห้าพันตัว ผมทดลองแล้ว ไก่สามพันตัวไม่คุ้ม

คุณเอนก

จะลงทุนเป็นล้านก็ได้แต่  การันตีได้ไหมว่าอีแวปใช้แล้วจะไม่เป็นโรค   อีแวปไม่ใช่โรงพยาบาล ยารักษาโรค

ผมเป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ คุณจะเอาวัคซีนมาขาย ตัวละ  5 บาท ถ้ามันตายคุณจะคืนเงินให้ไหม ธุรกิจที่เอาวัคซีนมาขาย ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะได้ผล

คุณบรรจง

 เมืองไทยจะประกาศว่าเมืองไทยเป็นไข้หวัดนกแค่หกตัว เมืองไทยส่งออกไก่เป็นอันดับสี่ของโลก อันดับหนึ่งคือบราซิลกำลังเพิ่มเป็นห้าสิบล้านตัว เมืองไทยส่งออกได้คือไก่สุก ถ้าบทสรุปว่าเราใช้วัคซีน ไก่เนื้อถ้าเราวัคซีนต่างประเทศจะไม่รับ ในเมืองไทยมีกฎหมายว่าไก่เนื้อห้ามทำวัคซีนทุกชนิด แต่ตอนนี้เราเห็นว่ามีฟาร์มหนึ่งที่รอดโดยไม่ใช้วัคซีนเนี่ยคือฟาร์มคุณมานพ ผมไปร้องขอให้ลดเงื่อนไขให้เกษตรกรรายย่อย ให้ลดสเปกลงเป็นฟาร์มระบบเปิด ทุกวันนี้ราคาไข่สูงเพราะเกษตรกรรายย่อยกลับมาเลี้ยงไม่ได้

ตอนนั้นเสือตาย ผู้ค้าขายจะทุบราคาไข่ ฟาร์มจะไปฝังไข่ทิ้ง พื้นที่ฝังจะเป็นความลับ ฝังยี่สิบล้านก็เรียกราคาเพิ่มขึ้นได้ยี่สิบสตางค์    ผู้ค้าไข่อยากให้รายย่อยกลับมาจะช่วยถ่วงดุลราคาไข่ได้

ตรงนี้เป็นปัญหาที่ไม่มีคนเข้าใจ ไก่สาวในระบบถ้ากลับมาเลี้ยงจะตาม  ทุกวันนี้ต้องซื้อไก่สาวมาจากบริษัท ลูกไก่เลี้ยงในระบบอีแวปมา ถ้าเราเอามาเลี้ยงต่อเปอร์เซ็นต์การตายจะสูง    ถามผมว่าทางออกเป็นยังไง ก็คือรวมฟาร์ม ซื้อไก่ห้าหมื่นตัว กรงแบตเตอรี่ซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ลดจำนวนคนเลี้ยง เป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมด ตอนนี้เจอ H7 ในเป็ด   ระบบต้องคิดการป้องกันเชื้อตัวอื่น ในส่วนของระบบเกษตรกรรายย่อยต้องมีลูกไก่ที่เลี้ยงมาตั้งแต่แรก ทุกวันนี้ ธกส ไม่เสี่ยง  ยึดโฉนดเกษตรกรไว้ แต่ไม่ช่วยอะไร

คุณสุรเดช

 สรุปว่าไก่จะอยู่รอดไม่รอดมันขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีใช่ไหม

คุณบรรจง

ผมไปขอองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยมหิดล    เกษตรกรของเรามีวินัยจริงแต่พอจะผลักดันอะไรก็ไม่เข้ามาร่วม    ขาดการรวมตัว อยากให้เกษตรกรพัฒนาให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของปศุสัตว์ ไม่มีการพัฒนาองค์ความรู้ 

สารต้านไวรัส   อาจารย์ประธานจากจุฬา จากประสบการณ์มาสองปี ไปประชุมมาสองปี ต้องใช้ระบบ คอมพาร์ตเมนท์ การจัดการฟาร์มระบบพื้นฐาน

คุณเอนก

รู้ก่อนเลี้ยง ต้องเรียนวิธีคิด การตลาด พี่บรรจงพูดว่าเมื่อก่อนเกษตรกรเมื่อก่อนต่างคนต่างแยกกันเลี้ยง แต่ถ้ารวมฟาร์มกัน

คุณสุรเดช

 เกษตรกรรายย่อย ให้ไก่ปลอดภัย มีการพัฒนาสารต้านไวรัสอย่างน้อยสองที่ มีการทดลองอยู่    มีระบบการจัดการฟาร์มที่ดี    เกษตรกรมีความรู้ดี มีการจัดการฟาร์มที่ดี มีการพัฒนา

คุณบรรจง

ผมเชื่อว่ารอดเพราะมีไก่เนื้อที่รอด โดยไม่ใช่วัคซีน

คุณเอนก

ในไก่เนื้อครอปมันสั้น แค่ 45 วัน    ผมว่าถ้างานนี้มีอาจารย์ มาด้วยจะช่วยได้มาก คือมีการเปรียบเทียบ ทำวิจัยเพิ่มเติมโดยนักวิชาการเพิ่มเติม    ต้องมีสองฝ่าย คือผู้มีประสบการณ์ กับ    นักวิชาการ ผมไปต่างประเทศบ่อยพอสมควร มหาวิทยาลัยมิสซูรี่รู้ได้ไงว่าเราทำอะไร     ผมว่าบ้านเราขาดการส่งเสริม แต่ของเขาส่งเสริมคนกันเอง เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติแต่ละสาขา แต่ละคนมีคุณค่า ทำไมไม่ส่งเสริมคนเหล่านี้

คุณสุรเดช

คุณทักษิณจะได้อะไรถ้าทำแบบนั้น

คุณเอนก

เกษตรกรหนึ่งคนในแต่ละปี คนเหล่านี้กำลังล้มหายตายจากไป ไม่ส่งเสริม   วิทยานิพนธ์ขึ้นห้างหมด คนไทยเก่ง มีความสามารถแต่ไม่ส่งเสริมกันเอง    งานนี้เสียดายมีคนมาน้อยไป 

คุณสุรเดช

สรุปก็คือขาดการส่งเสริมเกษตรกร

คุณบรรจง

 ผมทำงานสลัมด้วย ผมก็ดูว่าคนในสลัม ถูกดูว่าเป็นคนผิดกฎหมาย แต่ปัจจุบันรัฐต้องหันมา เพราะในปัจจุบันคนสลัมรู้จักรวมตัวกัน เขาก็รอด    แต่ทุกวันนี้เกษตรกรไม่รอดเพราะไม่รวมตัวกัน ไม่พัฒนาองค์ความรู้    ผมไปประชุม สหกรณ์ที่ผมไปประชุม ส่วนใหญ่เป็นผู้เลี้ยงรายใหญ่ สหกรณ์สองพี่น้อง สหกรณ์เชียงใหม่    สหกรณ์ในปัจจุบันซื้อวัตถุดิบได้ในราคาถูก    คนที่มาขับเคลื่อนก็เป็นคนที่เลี้ยงจำนวนมากๆ เกษตรรายย่อยจะไม่รวมตัวกันเพราะไม่รู้ว่าจะรวมตัวกันไปทำไม ไม่ไปประชุม ไม่ไปสัมมนา

ในอนาคต จะเอาฝ่ายเกษตรกร นักวิชาการ ราชการ มาประชุมกันมีเวทีมาคุย มาพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกัน

คุณบรรจง

ไก่ทั้งหมดหกพันตัวตายหมด รับเชื้อมาจากบางเลน     ผมไม่มีองค์ความรู้เลยเรื่องไข้หวัดนก    ฟาร์มผมรับไข่จากฟาร์มต่างๆประมาณ ยี่สิบฟาร์ม   บริษัทเขาบอกว่าฟาร์มผมเสี่ยงมาก ไก่เริ่มตายสี่ตัว ลูกฟาร์มทั้งหมดตายหมดเหลือฟาร์มเดียวห้าพันตัว    บางเลนฝังไก่สามล้านตัว    ผมเจรจา เขาไม่ยอมฝังไก่ให้เรา   ผมเรียกประชุมเกษตรกรทั้งหมด เชิญปศุสัตว์จังหวัดมา ไม่ยืนยันเรื่องการจ่ายเงิน    ผมก็เลยว่าผมจะแถลงข่าว ผมได้เงินชดเชยทั้งหมด เพราะไปยื่นหนังสือกับท่านนายก มีการฝังกลบอย่างถูกต้อง    ผมยื่นหนังสือถึงกรรมาธิการเกษตรด้วย

คุณสุรเดช

ไข้หวัดนกไม่ธรรมดา การเมืองเข้ามาแก้ปัญหาเกษตรกรรายย่อยได้หรือไม่ได้ คือเกษตรกรรวมตัวกันได้ไหม รู้จักกับสส.

คุณทองมี

เกษตรกรรายย่อยเป็นตัวค้าน เป็นตัวแปรของราคา  ถ่วงดุลราคาของไข่ เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคไข่ในราคาต่ำลง

คุณเอนก
มาส่งเสริมแบบทำลาย ระบบปิดเล้าเปิด ระบบปิดเล้าปิด

คุณกฤษฎา
ระบบปิด คือ Biosecurity
สามารถใช้ได้ระบบเปิดและระบบปิด

อีแวป คือ อุโมงค์อากาศ

คือเน้นไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปในโรงเรือน

คุณเอนก

ระบบปิด กรมปศุสัตว์เป็นผู้กำหนด ใครจะเลี้ยงต้องเข้าระบบปิด ตามมาตรฐาน ระบบปิด ในที่นี้คือเล้าเปิด มีตาข่ายไม่ให้นกหรืออะไรเข้ามา ป้องกันสัตว์อื่นเข้ามา

ระบบปิด เล้าปิด คือระบบที่คุณกฤษฎาว่า

คุณกฤษฎา

อีแวปคือเล้าปิด แต่ Biosecurity มีทั้งเล้าเปิดและเล้าปิด เล้าเปิดก็ทำได้

คุณไพจิตร

เกษตรกรรายย่อยจะไปซื้อลูกไก่ได้ที่ไหน

คุณบรรจง

ผมไปประชุมกรรมการไข่ด้วย Egg  Board ด้วย    มีกรรมการสามสิบหกคน มีเกษตรครึ่ง ได้มีข้อยุติว่าการควบคุมพีเอส สี่แสนกับเจ็ดพันตัว ควบคุมจำนวนแม่พันธุ์    ถ้ามากไปไข่จะล้นตลาด คุณซื้อพันธุ์ไก่คุณต้องซื้ออาหารเรา   ได้ เป็น contract farming      ผมรู้จักฟาร์มหนึ่งที่ไม่ต้องซื้อพีเอส  ฟาร์มรุ่งรักษ์ ไม่ใส่กุญแจพันธุ์ พัฒนาพันธุ์เอง กรมปศุสัตว์ไปฝังไก่ของเขาด้วย  

สรุปคือ เรื่องพันธุ์สัตว์ไม่ใส่กุญแจพันธุ์ ทนทานต่ออากาศ    เพราะระบบอีแวป เราต้องซื้ออาหารเขาด้วย

การรวมตัวของเกษตรกร การพัฒนาองค์ความรู้ ต้องเอาไปใช้กับเกษตรกร     พัฒนาองค์ความรู้ตรงนี้ให้ราชการยอมรับ    จริงๆ แล้วไข้หวัดนกเนี่ยบางครั้งมีการจงใจทำให้เป็น เพราะการเป็นทำให้ไทยสูญเสียตลาดการส่งออกไก่สดของเรา ไข้หวัดนกเป็นทั้งเป็นจริงเป็นทั้งการเมือง

เป็ดทุ่งกินเม็ดข้าว ไม่ได้ซื้ออาหารจากบริษัท ถ้าสั่งฝังเป็ดทุ่งหมด ต่อไปต้องซื้อพันธุ์เป็ดอาหารเป็ด

เป็ดทุ่งเป็นพันธุ์พื้นบ้าน กินอาหารตามทุ่งข้าว หอยเชอรี่  ทำให้ชาวนาลดต้นทุน ทำให้ลดการใช้สารเคมี

คุณเอนก

ถ้าไม่เลี้ยงเป็ด หอยเชอรี่ระบาด ต้องใส่สารเคมี ปลาไหลยังขึ้นมาตาย สารพิษก็เข้าไปสู่นาข้าว ผู้คนจะเจ็บป่วยมากขึ้น ตอนนี้ผมรับซื้อหอยเชอรี่ไม่อั้น มันขึ้นอยู่กับวิธีคิด ท่านจะเห็นว่าการเจ็บป่วยของผู้คนจะมากขึ้น เพราะมันเป็นห่วงโซ่ ที่เชียงรายจะเรียกเป็ดมาเลย ให้มาช่วย

คุณทองมี

เป็ดไล่ทุ่งทั้งหมด หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นกว่าครัวเรือนที่เลี้ยง ตอนนี้ถูกทำลายไปมาก

คุณบรรจง

เป็ดทุ่งข้อมูลตรงนี้ไม่มีการยืนยัน ข้อมูลจากโรงฟักจึงจะแน่นอน เราขาดข้อมูลทางวิชาการ เวลาเราถูกหักล้างด้วยเหตุผลทางวิชาการ 
ปัจจุบันเหลือเป็ดประมาณสิบสองล้านกว่าตัว ตอนนี้ก็น่าจะเพิ่มไปประมาณยี่สิบล้านตัว

อาหารของเป็ดทุ่งคือหอยเชอรี่ ข้าวที่ตกหล่น ข้าววัชพืช เวลารถเกี่ยวมีข้าวที่หล่นอยู่ ข้าวตรงนี้จะเกิดไว จะไปแย่งอาหารจากข้าวที่ชาวนาหว่าน ไม่สามารถจะเก็บเกี่ยวได้  ข้าวคนละสายพันธุ์ไปแย่งอาหาร ข้าวพวกนี้จะไปปนกับข้าวทำให้ข้าวราคาตก

คุณทองมี

ผมกึ่งเชื่อกึ่งไม่เชื่อเรื่องไข้หวัดนก    ผมเลี้ยงมาสิบเจ็ดปี ไข้หวัดนกไม่ได้ระบาดมาตั้งแต่ปี 46     ผมคิดว่าไข้หวัดนกเป็นไข้หวัดใหญ่    จริงๆ แล้วเคยมีการตายมาก่อนแต่ไม่มีการตรวจ    แต่ทุกฝูงจะเริ่มจากการท้องเสียก่อน

แกลบไม่ดี รำมีปลาย พอหมักหมมเกิดกลิ่นเปรี้ยว เป็ดกินท้องเสีย    ผมย้ายเล้า ไปอยู่พื้นปูน ล้างเล้าไม่เกิดอะไร

ใช้ยาฆ่าเชื้อ ทำบนพื้นปูน เลี้ยงบนขี้เป็ดหนาๆ จะดี มันจะช่วยซับความชื้น มันจะไม่แฉะ ไม่เกิดโรค    ถ้าอยู่กับดิน  โรงอนุบาลลูกเป็ด   การป้องกันโรคไข้หวัดนก ที่สำคัญคือการเฝ้าระวัง ดูที่มูลเป็ด ถ้ามูลเป็นก้อน เหมือนก้นหอย คือเป็ดสมบูรณ์ ถ้ามูลเป็นน้ำคืออาการไม่ดี เป็นสีน้ำตาลเหลวๆ   ถ้าต่อไปเป็นสีขาว ถ้าเป็นน้ำต้องฉีดยาเลย คือยาเจนต้า ถ้าครั้งแรกไม่หายต้องรักเพ็ก คือเซฟตี้เค  คือยาแก้โรคหวัด รักเพ็ก ผสมเข้าไปฉีดแล้วหายเลย ถ้าไม่หายเอารินโคลผสมเข้าไป

คุณบรรจง

เป็ดเป็นแล้วไม่ตายแต่เป็นพาหะ ทำให้ต้องฝังเป็ด อาจารย์ทวีศักดิ์ไปเสนอใน

คุณสุรเดช

ทำโรงอนุบาลเป็ดให้ดี ต้องมีการเฝ้าระวัง ต้องสร้างภูมคุ้มกันให้เป็ดก่อนมันจะเป็น

คุณจันทร์แรม

มีประสบการณ์ครั้งแรกเมื่อ มกราคม 47 เลี้ยงห่านประมาณ สองพันตัว ตอนนั้นมีไก่ตายลอยมาติดที่รั้ว จากนั้นห่านมันหงอยๆ มีน้ำมูก น้ำลายไหล พอต่อมาก็เริ่มตาย   ไม่เคยเจอว่ามันเป็นโรคอะไร ปศุสัตว์บอกว่าช่วงนี้ไข้หวัดนกระบาดอยู่นะ  อาการเป็นยังไง เธอจะเอายังไง จะฝังไหม ก็เลยบอกว่าถ้าเป็นไข้หวัดนกต้องส่งเรื่องไปจังหวัด ให้เขาฝังให้ ไม่ได้เงินชดเชยก็ไม่เป็นไร 

ก็พยายามหาวิธีรักษา ยาลดไข้สำหรับห่าน ฉีดได้สองวัน วันที่สามก็เป็นอีก

สามพันตัวขุดฝังหมดเลย ตอนนี้ยังเลี้ยงเป็ดขาวอยู่ ทั้งเป็ดเนื้อเป็นไข่ไม่เป็นไร  แต่ไม่รู้ว่าเพราะอะไร

ให้สวอปตรวจ ฝูงไหนเป็นก็ฝังแต่ถ้าไม่เป็นอะไรก็ขอคืน

คิดว่าเป็นเพราะพันธุ์ เป็ดถ้าอมโรคตรวจโรคก็เจอ   เป็ดเนื้อจะใช้พันธุ์ลูกร้อยจะใช้พ่อพันธุ์เชอรี่ พันธุ์นี้มันแข็งแรง

เพราะเชอรี่ของเขาตายหมดแต่ของเราไม่ตาย ลูกร้อยตัวจะไม่ใหญ่แต่พอผสมแล้วตัวมันจะใหญ่ขึ้น รายอื่นบางคนอยากได้เงินก็ฝัง

คุณเอนก
ควรเก็บพันธุ์จากเล้าที่ไม่ตาย    เรื่องหนึ่งคือพันธุกรรม พวกที่เหลือต้องเอามาทำพันธุกรรม เอามาทำพันธุ์ เอาไปเช็คก็ไม่พบ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เป็นเรื่องธรรมชาติ เอาสัตว์ที่ไม่ตายมาทำพันธุ์    ผมเลี้ยงนกสามสี่แสนในฟาร์มไม่ตาย เพราะสิบกว่าปีที่ผ่านมาผมเรียนรู้จากการฟังการอ่านการดู    ความรู้มันอยู่ในชั้นเรียน    ผมเรียนจบแค่ปอเจ็ด

สองผมใช้ธัญญพืช ไม่ใช้ปลาป่น ต่างประเทศก็ไม่ใช้  การไม่ใช้เชื้อสโมเนราน้อย ช่วยลดลงไป ท้องไม่เสียร่างกายแข็งแรง    ผมใช้น้ำปูนใส หรือของที่มันฝาดๆ เปลือกแค่ต้ม ใบฝรั่ง แก้ท้องเสีย ของขมๆ แก้หวัด สะเดา ฟ้าทะลายโจร เอาเกลือสาด เอาปูนขาวสาด ต้องฉีดให้ชุ่มก่อน ผมให้กำมะถันใส่ในน้ำ

ทำไมเกลือ เพราะของเน่าๆ เหม็นๆ มันจะบรรเทาได้ วิธีการจัดการก็คือ สัตว์ที่เหลือต้องเก็บมาทำพันธุ์    คนที่เลี้ยงแล้วรอดน่าจะเอามาเป็นตัวอย่างของคนที่เลี้ยงแล้วรอด เวลาเกิดเรื่องรัฐเสียงบประมาณ เสียชื่อ

รัฐช่วยคนที่เขาเสียหาย แต่ไม่มองว่าเขาทำยังไงถึงไม่ตาย ส่งเสริมให้เลี้ยงเพิ่มขึ้น เอาปัญญา เอาความรู้มาให้ คนที่เลี้ยงรอดขอใบประกาศเกียรติคุณ ให้กำลังใจ ต่างประเทศรู้อยากมาซื้อไหม

คุณจันทร์แรม
มีเยอะแยะที่ไม่ได้ป่วยแต่ฝังเพื่อจะเอาเงิน

เคยพูดคุยกับอธิบดี ถึงกลุ่มเป็ดที่ฝังไปว่าสวอปเจอเป็ดที่ฝังแล้วเจอเชื้อแค่ 27% ถ้าอย่างนั้นเอาเงินมาให้แล้วจะทดลองเลี้ยงและดูแลเป็ด ถ้าได้ผลก็เอาเกษตรกรรายอื่นๆ มาดูงาน

 

สรุปประเด็นจากการพูดคุยโดยคุณสุรเดช

  1. ความรู้ของเกษตรกร
  2. ผู้นำของเกษตรกร
  3. อาหาร
  4. พันธุ์สัตว์
  5. สมุนไพร ภูมิปัญญา ผ่านการทดลองปฎิบัติ
  6. ระบบเฝ้าระวังป้องกัน
  7. มีการจัดการความเจ็บป่วย การรักษา
  8. วิชาการสากลสมัยใหม่ ต้องรู้ก่อนเลี้ยง
  9. ห่วงโซ่อาหาร  ความล่มจมของชาวนา ปัญหาของชาวนา
  10. กระบวนการจัดการภายในฟาร์ม ใช้เทคโนโลยีอะไร มีทั้งสองระบบ คือระบบเปิด คือสำนักธรรมชาติ ภูมิปัญญา สำนักใหญ่ใช้ระบบเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
  11. นโยบายของรัฐ มีมิติการเมือง ธุรกิจทุนที่โยงใย
  12. ภาคธุรกิจจะมีผลต่อการเลี้ยงจากนโยบายรัฐบาล
  13. สหกรณ์ ปัจจุบันไม่ได้เป็นการรวมกลุ่มของเกษตรกรจริงๆ
  14. การรวมกลุ่ม
  15. มาตรฐานของกระทรวงเกษตร
  16. ขาดการรวมตัว การเรียนรู้ การจัดการความรู้

ข้อความจากกระดาษการ์ดนำเสนอขุมความรู้ กลุ่ม 1 เกษตรกร

  1. เลี้ยงบนพื้นที่สูงไม่แฉะน้ำ คุณเกรียงศักดิ์
  2. ต้องรู้ก่อนเลี้ยง คุณเอนก
  3. ใช้ควันกำมะถันรม  คุณบรรจง
  4. หาที่มาที่ไปในการระบาดของไข้หวัดนก  คุณทองมี
  5. มีการสนับสนุนเกษตรกรที่มีความรู้ในแต่ละสาขาในการร่วมป้องกันและรักษา  คุณเอนก
  6. กดหัวลูกไก่จุ่มน้ำยา EM คุณไพจิตร
  7. ภาคธุรกิจมีส่วนสำคัญในการชี้นโยบายประเทศ (เช่นการฝังไข่) คุณบรรจง
  8. ให้ลูกไก่กินปลวก คุณไพจิตร
  9. มีการรวมตัวของเกษตรกร ทุกคน
  10. มีการอบรมความรู้ (จากผู้รู้จริง ปฏิบัติจริง) คุณเอนก
  11. ให้เลี้ยงบนพื้นปูน ปล่อยให้ขี้เป็ดหนาๆ เพื่อให้พื้นที่เปียกอยู่แห้งเร็ว  เป็ดป่วยน้อยลง คุณทองมี
  12. ใช้น้ำสกัดชีวภาพหมักกับฟ้าทะลายโจรกับบอระเพ็ด  คุณเกรียงศักดิ์
  13. ไก่ไข่ใช้กรงแบตเตอรี่  คุณบรรจง
  14. ฉีดน้ำ EM ใส่ไก่และพื้นอาทิตย์ละหนึ่งครั้งถ้าหนาวไม่ต้องฉีด คุณไพจิตร
  15. การจัดการภายในฟาร์มมีสองแบบ หนึ่งแบบธรรมชาติ สองแบบใช้เทคโนโลยี คุณบรรจง
  16. ให้กินสาคู (ผ่าให้จิกกินเอง) หรือให้กินมะพร้าว (เนื้อ) คุณเกรียงศักดิ์
  17. ควรวิจัยหา สารต้านไวรัส จากสมุนไพร  คุณเอนก
  18. เลี้ยงปล่อยธรรมชาติ ให้กินสมุนไพร ฟ้าทะลายโจร และลูกใต้ใบ และพญายอ คุณไพจิตร
  19. ติดตามอาการ  และเฝ้าระวังโรคการป่วยอย่างใกล้ชิด และให้ยาทันที  คุณทองมี
  20. เป็ด และไก่ไม่ได้ตายจริง แต่อยากได้เงินชดเชย เลยแจ้งตาย คุณทองมี
  21. มีการบูรณาการกันอย่างแท้จริง (ทุกภาคส่วน) คุณบรรจง
  22. ใช้พันธุ์พื้นเมือง (ไทย เวียดนาม พม่า )แท้ คุณเกรียงศักดิ์
  23. ใช้พันธุ์พิเศษ ลูกผสม พันธ์ลูกร้อยและเป็ดเชอรี่ คุณจันทร์แรม
  24. นโยบายการเมืองเอื้อธุรกิจใหญ่ คุณบรรจง
  25. ใช้เกลือ ปูนขาวสาดฆ่าเชื้อและป้องกันกลิ่นเหม็น คุณเอนก
  26. น้ำปูนใส เปลือกแคต้ม ใบฝรั่ง แก้ท้องเสีย (ของฝาด)  คุณเอนก
  27. สะเดา  บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร แก้โรคหวัด (ของขม) คุณเอนก

หมายเลขบันทึก: 1550เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2005 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท