การจัดการความรู้เรื่องไข้หวัดนก


การจัดการความรู้เรื่องไข้หวัดนก


          ในตลาดนัดความรู้เรื่องไข้หวัดนก   วันที่ 19 ก.ค.48   ผมได้เรียน รศ. นพ. ประสิทธิ์  ผลิตผลการพิมพ์  รอง ผอ. ศช.   ซึ่งรับผิดชอบต่อรัฐบาลในเรื่องการจัดการความรู้เรื่องไข้หวัดนก   ในประเด็นต่อไปนี้


1.      การจัดการความรู้เรื่องไข้หวัดนกควรมี 2 วงที่เชื่อมกัน   และมี synergy กัน
·       วงเกษตรกร & เจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น
·       วงนักวิชาการ & ภาคนโยบายรัฐ   เรื่องนี้ ศช. ถนัดอยู่แล้ว
2.      KM หวัดนกวงเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น   ต้องมีหน่วยงานอิสระรับผิดชอบ (เช่น มสช.)   มีเจ้าหน้าที่ทำงานเต็มเวลา 2 – 3 คนรับผิดชอบ   ทำหน้าที่
·       จัดกระบวนการให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติของโรคไข้หวัดนก...จัดการ explicit knowledge
·       จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ปฏิบัติในพื้นที่เสี่ยง...จัดการ tacit knowledge
·       เชื่อมโยงความรู้ปฏิบัติกับงานวิจัย...โยง KM กับการวิจัย
3.      ในการทำงานตามข้อ 2   ต้องเชื่อมโยงกับกรมปศุสัตว์และกระทรวงสาธารณสุข   โดยใช้เครือข่าย อสม. เป็นขุมพลัง
4.      ในการทำงานตามข้อ 2 & 3   สคส. ยินดีช่วยถ่ายทอดเทคนิค KM ให้


วิจารณ์  พานิช
   19 ก.ค.48
         

หมายเลขบันทึก: 1463เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2005 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท