การตรวจสอบ ความรู้สึกตัวแบบธรรมชาติ


ความรู้สึกตัวแบบธรรมชาติ จะเบา สบาย เป็นกุศล

  ครั้งก่อนได้เล่าว่ามีความรู้สึกตัวอยู่ 3 แบบ และ ความรู้สึกตัวแบบธรรมชาติ เป็นความรู้สึกตัวที่เหมาะในการทำให้เกิดปัญญา เพราะทำให้ จิตฉับไว ในการระลึกรู้ ตามความเป็นจริงที่กำลังปรากฏ (มีสติ) จิตจะมั่นคงไม่ถูกอารมณ์ใดๆมาบงการ (มีสมาธิ) จิตจะรู้ตัว เห็นการเกิดดับ ตามเหตุและปัจจัย ไปต่อหน้าต่อตา(มีปัญญา) ถ้าอยากทราบว่าขณะนี้เรามีความรู้สึกแบบธรรมชาติหรือไม่ ให้ระลึกรู้อยู่เนืองๆว่ามีอาการเหล่านี้ปรากฏอยู่บ้างหรือไม่...

  1. อยาก ตั้งใจ เฝ้าดู จดจ้อง เพ่ง จงใจ ที่จะรู้กาย - รู้ใจ (ชอบไหว้ครู ตั้งท่า จัดฉาก....)
  2. กำกับ ควบคุม บงการ ในสิ่งที่ชอบและชัง (ขาดความเป็นกลาง)
  3. จมแช่ ส่งออกไปตาม รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความคิด ที่ปรากฏ ( วิ่งตาม คลอเคลีย คลุกคลีไปกับอารมณ์)

 ถ้ายังพบอาการที่กล่าวข้างต้นแสดงว่ายังเป็นความรู้สึกตัวที่ไม่ธรรมชาติอยู่ครับ...

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมชาติ
หมายเลขบันทึก: 79861เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2007 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

 

เมื่อเกิดอาการเหล่านั้น การรู้ตัว(ที่เหมาะแก่การสร้างปัญญา) นี่เป็นการรู้ตัวแบบไหน

รบกวนท่านอาจารย์ขยายความ"การรู้ตัวแบบธรรมชาติ" ด้วยครับ

แนวทางพัฒนาตนเองน่าจะเป็นไปตามแนวทางใดครับ ท่านอาจารย์?

ด้วยจิตคาราวะครับผม

 คุณ จตุพรครับการรู้ตัวแบบธรรมชาติ เป็นการรู้ตัวแบบไม่ตั้งใจรู้ รู้แบบไม่เผลอ รู้แบบไม่เพ่ง รู้แบบกลางๆนั่นแหละครับ จะรู้สึกได้ดีเมื่อเราจดจำสิ่งที่เป็นนามธรรมต่างๆได้มาก เช่น สุข ทุกข์ เฉยๆ สงสัย สงบ โลภ โกรธ ฟุ้งซ่าน รัก หลง อิจฉา ริษยา หดหู่ ขี้เกียจ โมโห ...ส่วนมากเรารู้จักดีอยู่แล้วครับ เมื่อมันปรากฏเราจะระลึกรู้ได้เอง เริ่มแรกก็รู้ได้บ้างไม่ได้บ้าง รู้บ่อยเข้าก็จะชำนาญไปเอง  เช่นเมื่อคุณจตุพรสงสัย ก็รู้ว่าสงสัยก็พอ ไม่ต้องไปคิดหาคำตอบให้หายสงสัยเป็นต้น เพราะสงสัยเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ ก็เท่านั้น  หรือคิดก็รู้ว่าคิดก็พอ อย่าหลงไปตามความคิดก็ใช้ได้ ถ้าทำถูกต้องความคิดจะหายไปเองเช่นกันครับ..แล้วจะพบว่าทุกอย่างเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่เรา มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเองให้เราเห็นได้จริงๆไม่ใช่นึกเอาครับ...

คิดว่าตรงกับ คำว่า "ตระหนักรู้"  น่าจะใช่ นะครับผม

หากเทียบตามคำสอนก็คือ การวางเฉย เมื่อรับรู้ผ่านอายตนะ ทั้งหมด มีสติระลึกรู้ แล้วพิจารณาให้เกิดปัญญา รู้ว่ารู้ ไม่หลงตามความคิด

ผมขอกลับไปนั่งคิด ในประเด็นนี้ และจะกลับมาคุยกับอาจารย์อีกครั้ง...(อ่านเป็นรอบที่สี่แล้วครับ)

 

ผม "คิด" ว่า ผู้ที่สามารถวาง "อุเบกขา" ได้ ต้องเป็นผู้ที่มี "สติ" ว่องไวมากทีเดียวครับ

เข้ามาสวัสดีคุณจตุพร ที่บ้าน Dr. Su นี่ ...ดีใจที่ได้พบ Dr.Su เมื่อวันก่อน ...ขอบคุณคุณจตุพรสำหรับ Post Card จากเมืองปายครับ

 ผมโชคดีที่ได้เสวนากับ อจ.ประพนธ์ และได้เห็นตัวเป็นๆด้วยท่านครับ  แต่เวลาน้อยไปหน่อยเลยไม่ได้พูดคุยกันเท่าที่ควร แต่ต้องขอบคุณ อจ.ที่ทำให้พวกผมเปลี่ยนจากการเดินคอตั้งแบบข้าวเมล็ดลีบกันได้บ้างครับ....
ผมเองก็เสียดายครับที่พอบรรยายเสร็จก็รีบไปประชุมที่ กพร. โดยทีไม่ได้พูดคุยกัน ...คงจะได้มีโอกาสพบกันอีกครับ
ดีใจที่มีผู้ให้นิยาม คำว่า กุศล ได้ตรงใจ และความจริง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท