ถอดประสบการณ์การทำวิทยานิพนธ์ด้านการจัดการเทคโนโลยีเพื่อสังคมโดยกฎหมาย


ปัญหาที่สำคัญสำหรับการทำวิทยานิพนธ์ ก็คือ การคิดว่าเราทำวิทยานิพนธ์เพื่อหาทางออกให้กับปัญหาในสังคม หรือ เราทำวิทยานิพนธ์เพื่อให้จบการศึกษาเท่านั้น

 

       ได้รับการประสานงานจากวิทยาลัยนวัตกรรมศึกษา โดยการแนะนำของอาจารย์แหววให้ไปบรรยายให้กับนักศึกษาของวิทยาลัยนวัตกรรมศึกษา เป้าหมายหลักของการไปบรรยายครั้งนี้ เน้นหนักที่การถอดประสปการณ์ของการทำงานวิทยานิพนธ์ของตัวเอง โดยเฉพาะในเรื่องของ การจัดการปัญหาสื่อลามกอนาจาร

         ย้อนหลังไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑ อาจารย์โก๋ หรือ อิทธิพล ในวันนั้น สนใจเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นหัวข้อในการสร้างวิทยานิพนธ์ แต่จนแล้วจนรอด ประเด็นในด้านธุรกิจ ประเด็นในด้านอาชญากรรม ดูเหมือนว่าจะถูกจับจองไปเป็นส่วนใหญ่

          หลายครั้งที่คิดว่า ทำเรื่องง่ายๆให้จบไปดีกว่า แต่ความคิดนั้นเร่มทยอยหมดไป หลังจากที่เข้ามาทำงานกับอาจารย์แหวว และได้รู้จักกับเครือข่ายด้านไอซีทีเพื่อสังคม ตอนนั้น พี่หนูหริ่ง หรือ บก.ลายจุด ได้ตั้งโจทย์ที่ท้าทายในประเด็นเรื่อง การประทุษร้ายในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

         คำถามที่ว่า การประทุษร้ายในสังคมไซเบอร์คืออะไร มีใครเกี่ยวข้อง ใครต้องรับผิดชอบ มีความรับผิดไหม มีกฎหมายครอบคลุม หรื่อไม่ ดูเป็นประเด็นที่สังคมยังไม่มีคำตอบ

        วิ่งวนกับประเด็นอื่นๆเสียนาน จากงานในครั้งนี้ ได้กลับมานั่งนึกกับอาจารย์แหววว่า เรามีเพื่อนร่วมทางในการคิดเรื่องนี้ ทั้ง อาจารย์คนึง พี่ๆจากเนคเทค อาจารย์กฎหมายด้านไอที ตอนนี้เริ่มมีพลพรรค ประกอบกับการรวมตัวของเพื่อนๆในชั้นปีเดี่ยวกัน ตั้ง "โต๊ะศึกษาปัญหาพฤติกรรมมนษย์ในสังคมไทย" ยิ่งทำให้เรามีเพื่อนร่วมคิด เพื่อนร่วมทำ

       จากวันนั้น เป็นต้นมา โต๊ะ ของเราซึ่งมี สามคน เริ่มแบ่งงานกันศึกษา แน่นอนว่า ของเราจึงเริ่มต้นจาก การตามลงไปดูว่าสถานการณ์ของปัญหาคืออะไร (Factual Research หรือ Research of Situation) เราพบว่า มนุษย์มีการกระทำบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จากการศึกษาสถานการณ์ปัญหาแล้ว ต่อมาเราเริ่มแยกแยะองค์ประกอบ ซึ่งในทางหลักกฎหมายแล้ว เราหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับตัวบุคคล และ การกระทำ         

     มาถึงตรงนี้ เราเร่มรู้แล้วว่ามนุษย์กระทำและสร้างได้ทั้งความดี และปัญหา หลักใหญ่ใจความในเรื่องนี้ ณ วันนั้น ของเราสามคน ก็คือ ปัญหาเรื่องการกระทำของมนุษย์บนอินเทอร์เน็ต ปัญหาเรื่องสื่อลามกอนาจาร (ซึ่งขณะนั้นมีปัญหามาก)  ทั้งหมด เราพยายามที่จะบอกว่า มันคือ ปัญหาความมั่นคงของมุนษย์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

      คราวนี้ ทุกคนเริ่มมกำหนดวิธีการในการศึกษา (Research methodology) ทั้ง จากการสำรวจภาคสนามในอินเทอร์เน็ต การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง การจัดเวทีเสวนา เพื่อนำเสนอแนวคิดที่ได้จากการศึกษา

       การจัดเวทีเสวนาวิชาการหรือ Academic Forum ทำให้เรารู้อย่างชัดเจนว่า ที่นี่ อุดมไปด้วยขุมทรัพย์ทางปัญญา ทุกคนที่มา ทำให้เราเห็นภาพการแก้ปัญหาทั้งจากภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน

        หลังจากศึกษาสถานการณ์ทั่วไปของปัญหาที่เป็นกรณีศึกษาแล้ว การทำการศึกษาสถานการณ์ของการจัดการที่มีอยู่ทั้งจากภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ (Factual Research หรือ Research of Situation) จะทำให้เราได้รู้ว่า อะไรคือปัญหาหรืออุปสรรคในการจัดการ

        หลังจากที่ เราศึกษาทั้งสถานการณ์ของปัญหา สถานการณ์ของการจัดการ ประกอบกับการศึกษาไปพร้อมกับคนในสังคม โดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ตอนนี้เริ่มเข้าใจแล้วว่า งานเรามีความสำคัญอย่างยิ่ง ทุกคนรอคอบคำตอบในการสร้างความชัดเจนในเรื่องการแก้ไขปัญหาความมั่นคงของมนุษย์ การแก้ไขปัญหาสื่อลามกอนาจาร การสร้างความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ เท่ากับว่า เรากำลังศึกษาความรู้ที่เป็นที่ต้องการของสังคม (Social Need) งานวิจัยเราก็จะไม่อยู่ในสภาพ "ขึ้นหิ้ง" งานวิจัยที่ศึกษาสามารถจะนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาในสังคมได้

        กระบวนการในการทำงานวิจัย เราทั้งสามคนในฐานะนักศึกษา ได้ทำการศึกษาผ่านกิจกรรมทั้งามลักษณะอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์ที่วางไว้ในแต่ละเรื่อง นั่นก็คือ การศึกษาสถานการณ์ การตรวจสอบทฤษฎีความรู การสำรวจการจัดการปัญหาโดยภาครัฐ การจัดการปัญหาโดยภาคเอกชน

        จนในที่สุด เราคิดค้นในบทสุดท้ายก็คือ การจัดทำข้อเสนอแนะ ปัญหาสำคัญก็คือ เสนอให้ใคร เสนอให้ทำอะไร และต้องเสนอเพื่อแก้ป้ญหาทั้งระบบได้

         ตอนนี้ เราเริ่มเดินสายแสดงผลงานของเราอีกครั้ง เช่น กระทรวงวัฒนธรรม กรรมาธิการกิจการเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ วุฒิสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบกับ การทำงานวิจัยเรื่อง ธุรกิจนอกระบบ ศึกษากรณีเว็บไซต์สื่อลามกอนาจารให้กับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย จากการเดินสายทำให้เราได้ข้อสรุปในการจัดทำข้อเสนอแนะมากขึ้น สมบูรณ์มากขึ้น

        ในที่สุด จากการนำเสนองาน เราได้จัดทำข้อเสนอต่อภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคิวชาการ ภาคธุรกิจ แล้วเราก็เร่มเขียนงานวิทยานิพนธ์

         ความภาคภูมิใจเล็กๆที่เกิดขึ้นจากการทำงานครั้งนี้ ไม่ได้อยู่ที่วิทยานิพนธ์เสร็จเพียงอย่างเดียว แต่การสร้างองค์ความรู้ไปพร้อมๆกับสังคม การสร้างข้อเสนอแนะที่ใช้ได้จริงในสังคม ทำให้เรารู้สึกว่า การทำวทิยานพนธ์ครั้งนี้ยิ่งใหญ่สำหรับเราจริงๆ

        ข้อเสนอจากการทำวิทยานิพนธ์ ดาวน์โหลด ได้ที่นี่ ตอนที่ ๑ ศึกษาสถานการณ์ ผู้ประกอบการสื่อทางเพศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตอนที่ ๒ ข้อเสนอทางวิชาการ เพื่อการจัดการปัญหาสื่อลามกอนาจาร

หมายเลขบันทึก: 79854เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2007 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 03:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบใจ อ.โก๋ที่สร้างพื้นที่สื่อสารกับนักศึกษาของ อ.แหววในห้องเรียนกฎหมายและนโยบายโทรคมนาคม

ขอชมว่า เขียนหนังสือดี แต่จะชมว่า สอนดี ก็ต้องขอดูในวันที่ ๒๖ ก่อนนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท