อัลไซเมอร์ โรคที่คนรอบข้างต้องเจ็บปวด


วันก่อนผมโทรคุยกับน้องสาว น้องบอกว่า ลุงของผม ตอนนี้ไม่สามารถจับช้อนซ่อมได้เลยครับ เวลาทานเข้าจึงใช้จานที่ก้นลึกๆ จะได้ทานข้าวได้สะดวกขึ้นครับ และที่หนักกว่านั้นก็คือ ไม่สามารถอาบน้ำได้เองเลยครับ

อัลไซเมอร์เป็นโรคที่แปลกอย่างนึงคือผู้ที่อยู่รอบข้างผู้ป่วยต้องเจ็บปวดครับ  เป็นโรคที่สืบทอดทางพันธุกรรมด้วย และเป็นโชคร้ายของญาติๆผม ก็คือ จะแสดงอาการของโรคเร็วกว่าปกติครับ ประมาณอายุ 45 ก็เริ่มเป็นแล้ว  ซึ่งถ้าโดยทั่วไปต้องอายุประมาณ 55-60 ปีถึงจะเริ่มเป็นกัน

เคยมีแพทย์ท่านนึงสงสัยและขอนำเลือดส่งไปตรวจสอบที่ต่างประเทศ เมื่อหลายปีมาแล้ว จนวันนี้ก็ยังไม่มีผลการตรวจสอบใดๆส่งมาถึงมือเรา ไม่รู้เพราะอะไรเหมือนกัน คงไม่สามารถค้นหาสาเหตุได้ว่าทำไมโรคถึงแสดงอาการเร็วกว่าปกติ

คำสำคัญ (Tags): #อัลไซเมอร์#alzheimer
หมายเลขบันทึก: 75549เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2007 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ให้กำลังใจค่ะ

และชื่นชมค่ะที่วิวได้นำเอาเรื่องราวเหล่านี้มาเขียนเล่าไว้

ประสบการณ์ต่างๆ ในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างแน่นอนค่ะ และท่านที่เป็นผู้รู้ที่เมื่อได้ผ่านมาอ่านอาจจะได้ร่วมกันให้ความรู้ที่ดีๆ ที่หาอ่านในตำราต่างๆ ไม่ได้ ให้แก่วิวก็ได้ค่ะ

เขียนต่อไปนะค่ะ อาจารย์เป็นคนหนึ่งที่จะติดตามค่ะ 

ส่วนอาจารย์เองก็เขียนเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดสมองไว้ที่ http://Dad.GotoKnow.org ค่ะ 

ขอบคุณมากครับอาจารย์

บล๊อคของอาจารย์เป็นหนึ่ง ในแรงบันดาลใจให้ผมเขียนเรื่องนี้ึ้ขึ้นมาครับ ตอนแรกคิดว่าจะไปเขียนใน learners คิดไปคิดมาเขียนใน gotoknow น่าจะได้ประโยชน์มากกว่า ทั้งผมเองที่มีผู้รู้มาแนะนำ และผู้อ่านที่จะได้ความรู้ไป  

พี่ปรางเองก็เพิ่งทราบลักษณะอาการจากน้องวิว นี่ล่ะค่ะ

ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

สวัสดีค่ะ   ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ  เคยทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่บ้างค่ะ  เลยจะออกความเห็นว่าคนที่เป็นผู้ดูแลจะเป็นคนที่น่าเห็นใจมากๆค่ะ  ต้องมีคนที่คอยดูแลและsupportผู้ดูแลด้วยค่ะ  ให้การสนับสนุนในสิ่งที่สามารถช่วยได้ถ้าผู้ดูแลที่เป็นหลักอยู่มีธุระหรือต้องการเวลาส่วนตัวบ้าง  อาจมีคนคอยสับเปลี่ยนบ้างค่ะ  ส่วนเรื่องการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อมนั้นหาอ่านได้หลายที่ค่ะ  ลองsearchดูค่ะ  หลักๆคือต้องกระตุ้นหรือส่งเสริมในสิ่งที่ผู้ป่วยสามารถทำได้ให้ทำต่อไป ดูแลเรื่องคุณภาพชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพที่เป็นอยู่ค่ะ
  • เราเคยอ่านแต่นิยายที่เค้าเขียนเกี่ยวกับคนที่เป็นโรคนี้ ไม่คิดเลยว่าความจริงจะไม่ไกลจากตัวเท่าไหร่เลย
  • เข้มแข็งเข้าไว้ละกันนะ เพราะกำลังของผู้ป่วยก็คือคนรอบข้างนี้ล่ะ ถ้าเราท้อแท้แล้ว เค้าจะเอากำลังใจมาจากไหน เราเองก็จะเป็นกำลังให้ด้วยนะ

ขอขอบคุณสำหรับทุกกำลังใจคับ
และสำหรับความเห็นจากคุณ ajarncath phamui 

ที่บ้านผมเองก็พยายามทำอย่างที่พี่ออกความเห็นครับ แต่ก็มีอุปสรรคหลายๆเรื่อง แล้วผมจะเล่าต่อไปในบล๊อกนะครับ เรื่องมันยาว

สวัสดีค่ะคุณวิว

เป็นกำลังใจให้นะคะ

ประเด็นความหวาดวิตกของครอบครัวว่ามีความเสี่ยงต่อโรคนี้มากขึ้น  พันธุกรรมมีส่วนบ้าง แต่ก็ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวด้วยนะคะ พยายามออกกำลังกายและลับสมองสม่ำเสมอ  ดูแลตนเองป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง  น่าจะมีประโยชน์บ้าง แล้วที่สำคัญตอนนี้นักวิทยาศาสตร์เค้าพยายามคิดค้นวัคซีน หรือวิธีการรักษาอยู่ ใจเย็นๆ นะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

ศิริกุล

ขอบคุณครับคุณศิริกุล

ผมใจเย็นอยู่แล้วครับ ^__^

วันก่อนคุณพ่อของเพื่อนเข้าโรงพยาบาลเพราะจำอะไรไม่ได้เลย หมอตรวจพบว่าธาตุอาหารไม่สมดุลค่ะ และกลางคืนนอนไม่หลับ พอให้ยาให้นอนหลับอยู่ 7 คืนอาการก็ดีขึ้น แล้วให้กินวิตามินบีกับอี ก็ความจำก็ดีขึ้น...คุณยายอีกท่านที่รู้จักที่เป็นหมอหาสาเหตุตั้งนานถึงพบว่ากินแคลเซี่ยมมากไปจนเสียสมดุลธาตุ พอหมอรักษาสมดุลได้ ก็อาการดีขึ้น ..อาจจะไม่เกี่ยวกับอัลไซเมอร์นะคะ แต่อยากเล่าสู่กันฟังว่า สมดุลของอาหารถ้าเสียไปไม่ว่า ได้มากเกินหรือน้อยเกิน มีผลกับความจำด้วยค่ะ

 

ขอบคุณคุณจันทรรัตน์ มากๆครับสำหรับข้อมูล

ผมคงต้องจัดอาหารให้ธาตุอาหารครบถ้วน ยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบัน เรื่องอาหาร ไม่ค่อยได้ใส่ใจเท่าไหร่ ผม  หาอะไรให้ทานก็เบื่อไปซะทุกอย่าง ไปบังคับอะไรมากก็ไม่ได้ เด๋วจะอารมณ์เสียเปล่าๆ  

 

ตอนนี้ได้มีโอกาสฟังข้อมูลว่านักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามค้นหาหน้าตาของยีนที่ทำให้เป็นอัลไซเมอร์อย่างขมักเขม้น หวังว่าคงจะมีข่าวดีเร็วๆ นี้

ยินดีที่ข้อมูลที่ได้รู้มา พอจะมีประโยชน์บ้างนะคะ

เชื่อแล้วค่ะ ว่าใจเย็นจริง ไม่อย่างนั้นคงจะดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมไม่ได้แน่ค่ะ

ขอบคุณมากครับ คุณศิริกุล

ข้อมูลมีประโยชน์มากๆครับ  

ช่วงนี้ไม่ได้ดูแลแล้วครับ ต้องกลับมาฝึกงาน ให้น้องสาวดูแลแทน 

เป็นกำลังใจให้ค่ะที่บ้านยายก็อาการแปลกไม่แน่ใจว่าเป็นรึเปล่า

ดิฉันมีแม่ที่เป็นโรคนี้มาได้ประมาณ 3 - 4 ปีแล้ว แล้วแม่มาตกบันไดมีเลือดคั่งในสมองแต่ได้ผ่าตัดออกแล้ว อาการอัลไซเมอร์ที่เป็นรู้สึกว่าจะแย่ลงไปเรื่อย ๆ ตอนนี้แม่เดินได้ดีแข็งแรง แต่พูดสื่อสารกับเราไม่รู้เรื่องเลย ตอนนี้ก็ทำใจอยู่ เราร้องไห้ทุกวันเลย เพราะสงสารแม่ที่ไม่สามารถจะจำอะไรได้ สื่อสารกับเราก้อไม่รู้เรื่อง ทางบ้านเครียดมาก แม่ต้องกินยาช่วยให้นอนไม่งั้นแม่จะไม่หลับ เพราะว่าคิดว่ายังไม่ได้ทำโน่นนี้ แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ค่อยยอมอาบน้ำต้องพูดกันอยู่นานมากกว่าจะยอม เพราะแม่ถอดเสื้อผ้าก็จะกลัวของหาย เข้าไปในห้องน้ำด้วยแม่ก็จะอาย กลุ้มใจมากเลยค่ะ ใครมีวิธีช่วยแนะนำหน่อยค่ะ อ้อลืมบอกไปว่าแม่อายุ 75 ปีค่ะ

คุณชลดาคะ

แม่ของพี่อายุ 74 ปี เป็นอัลไซเมอร์มา 5ปีแล้ว ปัญหาของอาการก็คล้ายกับที่คุณชลดาประสบ ไม่ต้องกลุ้มใจไปนะคะ ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการโดยใช้การสังเกต และเอาใจใส่พฤติกรรม ลองใช้วิธีของพี่ดูนะคะ

1.การอาบนำ ใช้วิธีอาบด้วยกัน ถอดเสื้อผ้าพร้อมกันไป และสร้างความมั่นใจว่าจะช่วยดูแลของที่กลัวว่าจะหายให้

2.การนอน ไม่ให้นอนกลางวันและชวนออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดินเล่นวันละประมาณ 15 นาที

3.การสื่อสาร หมอที่ร.พ.จุฬาฯ บอกว่าช่วยไม่ได้เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องพยายามเข้าใจการสื่อสารของเค้าให้ได้

ถ้าอยากร้องไห้ก้อร้องเถอะนะคะ แต่อย่าเศร้า อาจจะคิดอีกด้านหนึ่งว่าการจำไม่ได้ก้อทำให้ไม่ต้องเศร้าอย่นานงัยคะ

.......เป็นกำลังใจให้ สู้..สู้..นะคะ

ธีรวรรณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท