Abdominal Gun Shot Wounds: Is Exploratory Laparotomy Mandatory?


กีรศักดิ์ จัดวัฒนกุล, ชัยวัฒน์ ปาลวัฒ์น์วิไชย
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

วัตถุประสงค์
- เพื่อประเมินว่า บาดแผลถูกยิงที่ท้อง จะมีบาดเจ็บที่ต้องการการผ่าตัดรักษามากน้อยเพียงใดและโอกาสที่จะรักษาโดยไม่ผ่าตัด มีหรือไม่

วัสดุและวิธีการ
- ศึกษาย้อนหลังผู้ป่วยถูกยิงที่ท้องที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2547 ถึง 31 ธ.ค. 2546 (10 ปี) โดยผู้ป่วยซึ่งถูกยิงที่ช่องท้องส่วนหน้า (anterior abdomen) ส่วนข้างลำตัว (lateral or flank) ส่วนหลัง (posterior or back) และทรวงอก ส่วนล่าง (lower chest) ถูกนำมาศึกษา ส่วนผู้ป่วยถูกยิงที่ลำตัวเฉียงๆ (tangential wounds) และพื้นที่นอกช่องท้องไม่ได้นำมารวมไว้ในการศึกษานี้

ผลการศึกษา
- พบว่ามีผู้ป่วย 158 ราย ได้รับการผ่าตัดเนื่องจากถูกยิงที่บริเวณท้องในระยะเวลาที่ศึกษา โดยพบบาดเจ็บที่หน้าท้องด้านหน้า 88 ราย ด้านข้าง 26 ราย หลัง 19 ราย และทรวงอกด้านล่าง 25 ราย ผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับการผ่าตัดเนื่องจาก peritonitis 49 ราย shock 26 ราย evisceration 2 ราย และ mandatory laparotomy 81 ราย อาวุธที่ทำให้บาดเจ็บ เป็นปืนลูกซอง 75 ราย ปืนพก 83 ราย ซึ่งจากรายงานการผ่าตัด พบว่า 113 ราย (71.5%) พบอวัยวะที่ช่องท้องบาดเจ็บจริง ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ ถ้ามี peritonitis , shock หรือ evisceration พบบาดเจ็บจริง 100% แต่ถ้าไม่มีอาการหรืออาการแสดงดังกล่าวพบบาดเจ็บจริง ซึ่งต้องการการผ่าตัดรักษา 56%

สรุป
- ในกรณีที่ผู้ป่วยบากเจ็บที่ท้องจากการถูกยิง ที่ไม่มี peritonitis, shock หรือ evisceration มีถึง 44% ที่ได้รับการผ่าตัดดดยไม่จำเป็น ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ ผู้ป่วยเหล่านี้น่าจะได้รับการพิจารณารักษาในลักษณะ selective management โยการเฝ้าระวัง (observation) และตรวจร่างกายซ้ำๆ หรือใช้วิธีการอื่นๆ เช่น diagnostic peritoneal lavage (DPL) มาช่วย น่าจะทำให้ลดการผ่าตัดที่ไม่จำเป็นลงไปได้ ทั้งนี้ยกเว้นผู้ป่วยที่ดื่มสุรา, ใช้ยาเสพติด หรือบาดเจ็บที่ศรีษะหรือไขสันหลัง


จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 74747เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2007 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท