จุมเรียบซัว(สวัสดี)กัมพูชา ตอน ๑๓


ไม่ว่าจะเป็นไทย ลาว หรือกัมพูชา... เทอรูโมของญี่ปุ่น(บริษัทผลิตถุงเลือด)กินรวบหมดเลย

                            

18 ธันวาคม 2549 ตอนบ่าย อากาศหน้าหนาวที่นั่นกำลังดี ไม่ถึงกับร้อน... เราไปที่โรงพยาบาลอองดวง

ภาพที่ 1: อาคารโรงพยาบาลอำเภออองดวง พนมเปญ มีกลิ่นอายอาณานิคมแบบฝรั่งเศสโชยมานิดหน่อย...

ภาพที่ 2: ร้านอาหารภายในโรงพยาบาลอองดวง โปรดสังเกตป้ายโฆษณาโทรศัพท์มือถือ... ผู้เขียนสังเกตดูคนที่นั่นชอบโนเกีย

ภาพที่ 3: อาจารย์สา เรนนำเราไปคลังเลือด... พระอาจารย์สา แอมนัดอาจารย์หมอวีไว้แล้ว...

ภาพที่ 4: ท่านพระสา แอมเดินนำไปเข้าห้องน้ำก่อน... ผู้เขียนขอเดาว่า ท่านคงจะตื่นเต้น เพราะอาจจะได้บริจาคเลือดเป็นครั้งแรกในชีวิต

ภาพที่ 5: ทางเข้าห้องผ่าตัด

ภาพที่ 6: อาคารแบบยุคอาณานิคมฝรั่งเศส

ที่นั่นเรามีโอกาสพบอาจารย์หมอวี ผู้เขียนรีบถามอาจารย์สาเรนว่า ชวนคนอื่นบริจาคเลือดนี่ภาษาเขมรว่าอย่างไร ท่านบอกว่า "เนียม บริจาคเทียม เต้"

  • "เนียม" เป็นคำเรียกผู้หญิง "บริจาค" แปลว่า ให้ทานเหมือนภาษาไทย ส่วน "เต้" เป็นคำจบคำถาม รวมแล้วแปลว่า คุณผู้หญิงจะบริจาคเลือดไหม

ผู้เขียนชวนแล้ว อาจารย์หมอวีบอกว่า ท่านน้ำหนักเพียง 40 กิโลกรัม มาตรฐานของกัมพูชาต้องหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป

ภาพที่ 7: โปสเตอร์เชิญชวนบริจาคเลือด โปรดสังเกตเด็กๆ นักเรียน นิสิต นักศึกษาอยู่กลางรูปหัวใจ ส่วนรูปพระภิกษุอยู่กลางรูปหยดเลือด

ภาพที่ 8: โปสเตอร์เชิญชวนบริจาคเลือด... โปรดสังเกต "เนียงแขมร์ (นางงามแบบเขมร)"

ภาพที่ 9: โปสเตอร์เชิญชวนบริจาคเลือด โปรดสังเกตเนียงแขมร์ (นางงามแบบเขมร) ยิ้มแย้มแจ่มใสดีเหลือเกิน... สาธุ สาธุ สาธุ

  • คลังเลือดที่นั่นมีคนบริจาคเฉลี่ยวันละ 1-2 คน วันนี้มีผู้บริจาคเลือดมากเป็นพิเศษ ผู้เขียนนับดู ปรากฏว่า มีถุงเลือดอยู่ 10 ถุง... บางทีอาจเป็นของญาติคนไข้ก็ได้

ผู้เขียนเรียนถามอาจารย์แพทย์ที่นั่นว่า ขอบริจาคเงินให้คลังเลือดได้หรือไม่ อาจารย์ท่านบอกว่า คลังเลือดไม่รับบริจาคเงิน

  • ผู้เขียนขอบริจาคเป็นพลาสเตอร์ยาแทน นำไปเพียง 5 กล่องๆ ละ 100 แผ่น ตั้งใจว่า ถ้ามีโอกาสไปอีกจะนำพลาสเตอร์ยาไปให้มากกว่านี้

อาจารย์แพทย์ท่านบอกว่า ท่านเคยไปเมืองไทย 4 วัน ไปดรีมเวิลด์ด้วย... ผู้เขียนฟังแล้วดีใจที่ท่านพูดถึงเมืองไทยไปยิ้มไป

  • เรื่องรับบริจาคเงินของคลังเลือดนี่... พม่าดูจะเตรียมการไว้ดีที่สุด คลังเลือดโรงพยาบาลมัณฑเลย์มีใบอนุโมทนาบัตร ออกแบบอย่างดีคล้ายของวัดพม่าเลย เก็บไว้ปลื้มใจได้นาน คลังเลือดโรงพยาบาลย่างกุ้งก็มีใบเสร็จรับเงินเรียบร้อย

แม่ชีไปบริจาคเลือดด้วย 2 ท่าน... การบริจาคเลือดที่นั่นเริ่มด้วยการซักประวัติคัดกรองความเสี่ยงคล้ายของไทย มีแบบสอบถามภาษาอังกฤษเตรียมไว้พร้อม

ภาพที่ 10: บรรยากาศห้องบริจาคเลือด มีภาพธงชาติ สมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระราชินีโมเนียค พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบันประดับเหนือหัว... ดูแล้วน่าเคารพ และน่าบริจาคเลือดจัง

ภาพที่ 11: ผู้บริจาคเลือดแขมร์ และอาจารย์สา เรน

ภาพที่ 12: ท่านอาจารย์หมอวีนั่งอยู่... ผู้เขียนถามศัพท์จากอาจารย์สา เรนเป็นภาษาเขมร เรียนถามท่านว่า "เนียง บริจาคเทียม เต้ (= ท่านผู้หญิงจะบริจาคเลือดไหม) ท่านบอกว่า น้ำหนักแค่ 40 กิโลกรัม บริจาคไม่ได้

  • ขอแก้ไขครับ... ท่านอาจารย์ C กรุณาให้เกียรติชี้แนะว่า "คำว่าเลือด ที่จริงออกเสียงว่า "เชียม" ครับ ช ช้างครับ"... ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ C มา ณ ที่นี้
  • ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ C ที่กรุณาชี้ขุมทรัพย์ (ทางปัญญา) ครับ...

ภาพที่ 13: เครื่องชั่งน้ำหนัก และตู้เก็บเลือด... ถ้าตู้เก็บเลือดพูดได้ มันคงจะบ่นว่า "เหงาจัง" เพราะไม่มีเลือดเหลือในคลังให้เก็บเลยแม้แต่ถุงเดียว...

  • คนเขมรขับรถเร็ว คนขับส่วนใหญ่อายุน้อย และมีเหล้า เบียร์ขายทั่วไปทั้งเมือง ทำให้มีอุบัติเหตุบ่อย คนไข้อุบัติเหตุมักจะใช้เลือดคนละหลายๆ ถุง
  • คนที่ดูน้ำหนักน้อยต้องชั่งน้ำหนัก คนที่ตัวโตหน่อยไม่ต้องชั่ง มีการวัดความดันเลือด เจาะเลือดปลายนิ้ว ทว่า... ไม่ได้ใช้น้ำยาตรวจเลือดลอย-จมแบบไทย

อาจารย์ท่านใช้วิธีปั่นในเครื่องปั่นฮีมาโทคริท (hematocrit) ทำให้เม็ดเลือดตกตะกอน (เป็นแถบสีแดงด้านล่าง) แยกจากน้ำเลือด (แถบน้ำสีเหลืองใสด้านบน)

  • ท่านจะดูว่า เลือดมีเม็ดเลือดกี่ส่วน น้ำเลือดกี่ส่วน สัดส่วนของเม็ดเลือดสูงพอหรือไม่

เลือดที่ดีหน่อยจะมีเนื้อมากหน่อย น้ำน้อยหน่อย… ไม่ทราบทำไมเลือดถึงได้คล้ายกับลมปากคนเราที่มีทั้งน้ำ และเนื้อ… ลมปากคนเราก็มีน้ำ และเนื้อไม่เท่ากัน

  • หลังจากนั้นมีการตรวจกรุ๊ปเลือด ซักประวัติ (มีแบบฟอร์มให้กรอกแยกตามความเสี่ยงก่อน) วัดความดันเลือด และนำไปที่เตียงบริจาคเลือด มีการใช้ถุงเลือดขนาด 350 มิลลิลิตร

ภาพที่ 14: อาจารย์สา เรนอยากบริจาคเลือด... อาจารย์หมอที่นั่นให้ชั่งน้ำหนักทันที ปรากฏว่า หนัก 40 กิโลกรัม เลยไม่ได้บริจาคเลือด

  • อาจารย์หมอท่านนี้เล่าว่า ไปเมืองไทย 4 วัน ไป "ดรีมเวิร์ลด์" ด้วย ท่านเล่าไปยิ้มไป เข้าใจว่า คงจะประทับใจ และสนุก... ผู้เขียนไม่กล้าบอกท่านหรอกว่า ไม่รู้จักดรีมเวิร์ลด์ เดี๋ยวท่านจะว่า เชย

ภาพที่ 15: อาจารย์หมอท่านคงจะเห็นท่าอาจารย์สา เรนเสียใจที่ไม่ได้บริจาคเลือด ท่านเลยบอกว่า จะตรวจกรุ๊ปเลือด (กลุ่มเลือด ABO) ให้แทน... นับเป็นหมอที่ใจดีมากท่านหนึ่งทีเดียว

ภาพที่ 16: อาจารย์หมอใจดีกับคุณแม่ชี... ดูรูปร่างขนาดนี้ไม่ต้องชั่งก็รู้ว่า แข็งแรง เกิน 45 กิโลกรัม (เกณฑ์ขั้นต่ำ) แน่นอน

ภาพที่ 17: คุณแม่ชีขึ้นชั่ง อาจารย์หมอวีเชียร์ เกิน 45 กิโลกรัม (เกณฑ์ขั้นต่ำ) แน่นอน...

ภาพที่ 18: ถ้าชั่งน้ำหนักผ่านคือ ต้องเกิน 45 กิโลกรัม และความเข้มข้นเลือดสูงพอ (เจาะปลายนิ้ว ให้เลือดไหลซึมเข้าหลอดเล็ก นำไปปั่นแยกเม็ดเลือด-น้ำเลือด / hematocrit) จะต้องผ่านการตรวจขั้นต่อไป

  • ขั้นต่อไปคือ การซักประวัติ และวัดความดันเลือด...

ภาพที่ 19 : คุณแม่ชีบริจาคเลือด โปรดสังเกตถุงของขอบคุณของคลังเลือด... ข้างในมีอะไร ผู้เขียนจะค่อยๆ เฉลย ตอนนี้ยังไม่บอกครับ

ภาพที่ 20: คุณแม่ชีบริจาคเลือดแล้วคงจะเกิดปีติ โสมนัส... ยิ้มแย้มแจ่มใสใหญ่เลย

  • ท่านพระอาจารย์สา แอมบริจาคเลือดเป็นครั้งแรก ก่อนมา... ท่านบอกว่า ร่างกายไม่สมบูรณ์ พอบริจาคเลือดเสร็จแล้วท่านว่า ไม่เห็นเจ็บอะไรเลย

ภาพที่ 21: ถุงเลือดขนาด 350 มิลลิลิตร... ปริมาตรเลือดพอๆ กับน้ำอัดลมกระป๋องหนึ่ง เลือดคนเราแดงพอๆ กันไม่ว่าจะเป็นเลือดพม่า-ไทย-ลาว-เขมร...

  • ไหนๆ เลือดสีเดียวกันแล้ว... ขอพวกเราอย่าได้รบราฆ่าฟันกันอีกเลย ขอให้พม่า-ไทย-ลาว-เขมรได้เมตตากัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกันดีกว่า...

ถุงเลือดยี่ห้อเดียวกับที่ใช้ในเมืองไทย ทำให้นึกถึงคำของอาจารย์ที่โรงพยาบาลมโหสถ เมืองเวียงจันทน์

  • อาจารย์ก้อย... พยาบาลถามท่านว่า เข็มที่ลาวเล่มใหญ่หรือเปล่า ท่านตอบว่า "Terumo (เทอรูโม – ชื่อบริษัทญี่ปุ่น) เหมือนกัน"

เทอรูโมเป็นบริษัทญี่ปุ่นที่ผลิตวัสดุการแพทย์หลายอย่าง เช่น เข็มฉีดยา ถุงเลือด ฯลฯ...

  • ไม่ว่าจะเป็นไทย ลาว หรือกัมพูชา... เทอรูโมของญี่ปุ่น(บริษัทผลิตถุงเลือด)กินรวบหมดเลย

    เชิญอ่าน:

    แหล่งที่มา:

  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์หมอวี และคลังเลือด โรงพยาบาลอองดวง พนมเปญ กัมพูชา. 
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. จัดทำ > 25 มกราคม 2550 > ยินดีให้ท่านผู้อ่านนำไปใช้โดยไม่เกี่ยวกับการค้าได้ครับ.

    เชิญอ่าน:

  • บันทึกย้อนหลังบน Gotoknow ย้อนหลังได้... โดยเลือกจากปฏิทินกิจกรรมด้านขวามือของบล็อก
  • บ้านสุขภาพ > http://gotoknow.org/blog/health2you
  • ดาวน์โหลดบทความ > www.lampangcancer.com > ขอขอบคุณ webmaster โรงพยาบาล > คุณณรงค์ ม่วงตานี.
หมายเลขบันทึก: 74481เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2007 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ตามบล็อกคุณหมอไปเยี่ยมชมการบริจาคเลือดที่เขมรด้วยคนนะครับ
  • วันนี้คงเป็นวันที่ห้องบริจาคเลือดของที่นั่นคึกคักน่าดูนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

ขอขอบคุณอาจารย์สิงห์ป่าสักและท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2549 เป็นวันที่คลังเลือด โรงพยาบาลอองดวง (อองดวงเป็นพระนามอดีตกษัตริย์เขมร) คึกคักมากเป็นพิเศษ
  • อาจารย์หมอที่นั่นบอกว่า ปกติจะมีคนบริจาควันละ 1-2 คนเท่านั้นเอง

เรามีความหวัง...

  • เมื่อท่านพระอาจารย์สา แอมบริจาคเลือดแล้ว ผมเชื่อมั่นว่า จะมีคนเขมรบริจาคเลือดตามอีกมากมาย เพราะท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ชั้นครูบาอาจารย์... ทั้งสอน แปลคัมภีร์ระดับชาติมากมาย

ประเทศไหนๆ ในโลกก็คล้ายกัน...

  • ผู้ขอมักจะมีมากกว่าผู้ให้
  • พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า คนที่ "ไม่ให้" ร้องไห้ครั้งที่ 2...

คน "ขอ"...

  • คนขอนั้นชื่อว่า ร้องไห้ครั้งที่ 1 เพราะขาดแคลนทรัพย์จากการ "ไม่ให้" ในอดีต (หรือลักทรัพย์ / ทำลายทรัพย์ผู้อื่น / กีดกันทรัพย์ส่วนรวมไม่ให้คนที่สมควรได้ใช้)

คน "ไม่ให้"...

  • คน "ไม่ให้" นั้นชื่อว่า ร้องไห้ครั้งที่ 2 เพราะชื่อว่า จะขาดแคลนทรัพย์ในอนาคตจากการ "ไม่ให้" ในปัจจุบัน

ขออนุโมทนา...

  • ขอกราบอนุโมทนา อนุโมทนากับทุกท่านที่มีส่วนในการบริจาคเลือด หรืออวัยวะครับ... สาธุ สาธุ สาธุ
  • ปกติแล้วผมก็ชอบการบริจาคเลือดนะครับอาจารย์ หากว่ามีโอกาสแล้วช่วงนั้นผมไม่ป่วย หรืออยู่ในช่วงต้องใช้แรงในการทำกิจกรรมหนักผมก็จะบริจาค
  • ผมชอบใจเตียงที่ให้ผู้บริจาคเลือนอนมากเลยครับ หมายถึงในรูปที่อาจารย์หมอนำมาแสดงนะครับ มันงอๆแปลกดี(ความรู้น้อยไม่รู้ว่ามันคืออะไร)
  • ผมติดตามอ่านเสมอครับอาจารย์ อาจช้าบ้างเร็วบ้างตามเวลา และภาระ

 

ขอขอบคุณ คุณบีเวอร์และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาที่ได้บริจาคเลือดมาเป็นประจำ...

เตียงบริจาคเลือดกัมพูชา / เขมร...

  • เขาออกแบบให้งอเข่าเล็กน้อย

ทราบมาว่า

  1. การไหลเวียนของเลือดดำที่ขาจะดีขึ้นประมาณ 15% ถ้างอเข่าเล็กน้อย
  2. การงอเข่าเล็กน้อยช่วยให้กล้ามเนื้อขาผ่อนคลาย ลดความเครียดได้เล็กน้อยเช่นกัน

ขอขอบคุณครับ...

ตามมาอ่านครับ 

คำว่าเลือด ที่จริงออกเสียงว่า "เชียม" ครับ ช ช้างครับ

ข้อมูลคุณหมอสดดีครับ

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ C และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ขอขอบพระคุณที่กรุณาให้เกียรติอ่านบันทึก และแวะมาเยี่ยมเยียน

ขอขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำครับ

  • ผมพูดเขมรไม่ได้... อาศัยถามจากคนอื่นแล้วจำไว้ ทำให้มีโอกาสผิดพลาดสูง
  • การได้รับความกรุณาจากครูบาอาจารย์ชี้แนะนับว่า เป็นการชี้ขุมทรัพย์ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระคุณของครูบาอาจารย์ไว้ทีเดียว... สาธุ สาธุ สาธุ

ขอขอบพระคุณครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท