พัฒนบูรณาการศาสตร์ มาแล้วครับท่าน


“ถ้าเราเคารพความรู้ในตัวคน ทุกคนจะเป็นคนเก่งในทางต่างๆ กับในขณะที่เคารพแต่ความรู้ในตำรา มีไม่กี่คนเท่านั้นที่จะเก่ง”

พัฒนาบูรณาการศาสตร์                 

   ผมเดาเอานะครับว่า..พวกเราหลายคนที่ทำงานในระบบบางครั้งจะรู้สึกอึดอัดใจ ที่ไม่ค่อยจะได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร ทั้งๆที่เป็นงานรับผิดชอบหรือมีหน้าที่ร่วมกัน เพราะกฎระเบียบต่างๆไม่ได้ก้าวล่วงไปถึงการทำให้เกิดมาตรฐานที่เที่ยงธรรมได้ ใครชอบอย่างไรก็วางตัววางใจไปอย่างนั้น ระเบียบมีไว้เอาข้างเข้าถู เรื่อยๆมาเรียงๆอย่างไรรัฐฯเขาก็ไม่ไล่ออกไปขายเต้าฮวย           แต่คนที่ตั้งใจจะทำงานให้ลุล่วงไปได้ตามสมควรนี่สิเดือดร้อน เพราะพันธกิจในสำนักงานหรือหน่วยงานจะต้องเชื่อมสัมพันธ์กัน ความอึมครึมที่ว่านี้เกิดอยู่ในสำนักงานไหน บรรยากาศความมีชีวิตจิตใจจะหายไปค่อนครึ่งที่ควรจะเป็น ประสิทธิภาพของงานจึงตกต่ำ พัฒนายากแก้ไขยาก เมื่อเป็นดังนี้ท่านอาจารย์ใหญ่ผมจึงปรารภไว้..      

            

  หลักสูตรปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยต่างๆ แยกส่วนมากเกินไปเป็นวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ทำให้บัณฑิตขาดความรู้อย่างบูรณาการ ก่อให้เกิดปัญหาในชีวิตและการทำงาน ควรปรับหลักสูตรปริญญาตรีไปสู่การเรียนรู้อย่างบูรณาการ ไม่ใช่บูรณาการระหว่างวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์เท่านั้น  แต่บูรณาการกับชีวิตและการทำงานตามนัย ถ้าเราเคารพความรู้ในตัวคน ทุกคนจะเป็นคนเก่งในทางต่างๆ  กับในขณะที่เคารพแต่ความรู้ในตำรา มีไม่กี่คนเท่านั้นที่จะเก่ง           

   เพื่อแก้โรคจบปริญญาแต่ทำอะไรไม่เป็น อันระบาดสูงในสังคมไทย ผู้เรียนระดับปริญญาตรีควรเรียนรู้จากการทำงานและมีรายได้ จะได้มีไม่มีปัญหาเรื่องจบแล้วไม่มีงานทำ เพราะมีงานทำตั้งแต่เป็นนักศึกษาแล้ว ความสามารถในการจัดการดูจะขาดไปในทางการศึกษาแบบไทย ทำให้มีปัญหาอย่างมากในการทำงานอะไรให้สำเร็จ ในหลักสูตรปริญญาตรีใหม่นี้ควรเรียนเรื่องการจัดการด้วย   อีกอย่างหนึ่งที่ควรจะอยู่ในหลักสูตรการศึกษาคือจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education)   เพื่อสร้างจิตสำนึกใหม่ให้เผชิญกับอนาคตได้          

  หลักสูตรใหม่นี้อาจเรียกว่า นวศิลปศาสตร์ หรือ บูรณาการศาสตร์หรืออื่นที่ดีกว่านี้ก็ได้แต่บัณฑิตที่จบวิชานี้สามารถเลือกอาชีพได้ต่างๆตามถนัด หรือจะศึกษาต่อบัณฑิตศึกษาก็ได้ ขั้นแรกควรทดลองทำหลักสูตรทางเลือก เมื่อได้รับความนิยมว่าหลักสูตรนี้ดีก็จะขยายมากขึ้นพร้อมๆ  ไม่ทราบว่า  เป็นจริงอย่างนั่นหรือเปล่า

ดร.แสวง  รวยสูงเนิน มาตอกหัวตาปูอีกว่า..คนที่อ้างตนว่าเรียนหรือจบระดับอุดมศึกษาก็ยังไม่ได้มีการนำความรู้มาพัฒนาเป็นปัญญา หรือ การสอบก็ยังเป็นการวัดการท่องจำ เป็นสวนใหญ่ ไม่ค่อยมีการวัดความรู้ ความเข้าใจ และปัญญา หรือ ทักษะในการใช้ความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง แล้วเราจะเรียกว่าจบการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้อย่างไร หรือว่าอุดมศึกษาในความหมายปัจจุบันเป็นเพียงการพัฒนาการท่องจำอีกระดับหนึ่งเท่านั้น ผมจึงนั่งมองระบบการศึกษาแบบยังไม่ค่อยเข้าใจว่า เรากำลังทำอะไรกันหรือว่าผมเข้าใจอะไรผิดไป ช่วยสะกิดเตือนผมหน่อยได้ไหมครับ ผมจะได้อยู่กับร่องกับรอย ไม่มานั่งฝันลมๆแล้งๆอย่างนี้ 

 ปรับมหาวิทยาลัยสู่มหาวิทยาลัยวิจัย 

  ผมไปตามลายแทงที่มหาวิทยาลัยบางแห่งเชิญมา ก็พบเสมอกับป้ายขนาดใหญ่ตัวอักษรสวยประณีต ประกาศเจตนารมณ์ ที่จะสนองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย..อะไรๆทำนองนี้ ก็ไม่ว่ากันเพราะอาจจะอยู่ในระหว่างตั้งไข่ แต่ถ้ายังปล่อยให้เลื่อนไหลไปเรื่อยๆ ในระยะยาวยังเงียบฉี่ ก็น่าจะปลดป้ายมาเขียนใหม่  เวลานี้มหาวิทยาลัยไทยหมดกำลังไปกับการสอนคนที่ไม่ได้อยากเรียน ผู้เรียนจำนวนมากเป็นผู้ที่อยากได้ปริญญาแต่ไม่ได้อยากเรียน  ทำให้สอนยากสอนเย็นและสอนไม่สนุก แต่มหาวิทยาลัยก็หมดกำลังไปกับการสอนที่มากมายเหล่านี้ 

  การที่มหาวิทยาลัยไม่ทำการวิจัย ทำให้ประเทศอ่อนแอทางปัญญาและเสียหายเหลือคณานับ การที่มหาวิทยาลัยจะปรับไปเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยได้ ต้องพัฒนาระบบการสอนใหม่ ที่ไม่ทุ่มกำลังอาจารย์ไปสู่การสอนทั้งหมด แต่มีระบบที่ทำให้นักศึกษาต้องเรียนเอง เรียนจากการปฏิบัติ เรียนจากระบบสื่อที่ดี มีระบบผู้ช่วยสอน (TA) มีอาจารย์ไม่เต็มเวลาเป็นต้น  

  ต้องมีระบบสนับสนุนการวิจัยที่ดี ตั้งแต่ระดับนโยบายกองทุนวิจัย การจัดการวิจัย เข้ามาสนับสนุนมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยต้องวิจัยนโยบายได้ มิฉะนั้นประเทศไทยจะไม่สามารถรักษาดุลยภาพของตัวเองได้ เช่นขณะนี้ประเทศขาดดุลยภาพทางเทคโนโลยีเป็นมูลค่ากว่า100,000ล้านบาท/ปีผู้เกี่ยวข้องต้องถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะปรับมหาวิทยาลัยไปสู่การวิจัยให้ได้โดยเร็ว เพื่อความเข้มแข็งปัญญาของประเทศ 

 การศึกษาสำหรับคนทั้งมวล          

   ระบบการศึกษาที่ดีต้องเป็นการศึกษาสำหรับคนทั้งมวล (Education for All) และต้องระดมสรรพกำลังทุกภาคส่วนทั้งครอบครัว ชุมชน ภาคธุรกิจ ภาคการสื่อสาร เข้ามาเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา นั่นคือทั้งมวลเพื่อการศึกษา (All for Education) ทุกพื้นที่ต้องสำรวจว่ามีคนกี่ประเภทและได้รับการศึกษาทั่วถึงแล้วหรือยัง เช่น เด็กปฐมวัย ผู้ใช้แรงงาน ผู้ประกอบการเศรษฐกิจนอกระบบ เช่น ธุรกิจย่อย ผู้พิการฯลฯ จังหวัดทั้งจังหวัดจะต้องเป็นมหาวิทยาลัยชีวิตที่มีการศึกษาทุกรูปแบบ ทั้งในระบบและนอกระบบ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติ เพื่อพัฒนาบูรณาการทั้งจังหวัด ระบบการศึกษาจะเข้าไปกับชีวิตการงานทั้งหมด เมื่อจังหวัดทุกจังหวัดเป็นมหาวิทยาลัยชีวิต จะไม่มีการขาดแคลนสถานศึกษาที่ทำให้ผู้ปกครองผู้เรียนเป็นทุกข์ต่อไปอีก 

 คณะทำงานยุทธศาสตร์การศึกษา

  ทั้งหมดที่กล่าวนี้ไม่สามารถทำได้โดยโครงสร้างในปัจจุบัน แต่ก็ไม่ควรไปปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่ทำให้รวนเรกันไปหมด แต่ควรจะมีคณะทำงานยุทธศาสตร์การศึกษา ซึ่งประกอบด้วยผู้ที่เข้าใจนวัตกรรมการศึกษา และมีความสามารถเชิงยุทธศาสตร์ เป็นคณะเล็กๆที่ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อาจจำเป็นต้องออก พรบ. สถาบันวิจัยระบบการศึกษาที่เป็นอิสระทำนองเดียวกับ สวรส. (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข)  ขณะนี้มีบุคคลและองค์กรที่สนใจนวัตกรรมการศึกษาอยู่จำนวนหนึ่ง ควรก่อตัวเป็นภาคีเครือข่ายนวัตกรรมการศึกษา ที่พบปะกันเป็นประจำเพื่อขับเคลื่อนนโยบายและนวัตกรรมการศึกษา                                                                 

สรุปว่า ท่านอาวุโสเป็นคนตั้งต้นคิด พวกเรารุ่นกระเปี๊ยกมีหน้าที่แปลงความคิดสู่การปฏิบัติ ผม ท่านอาจารย์ใหญ่ พันธมิตรมากหน้าหลายตา ยกโขยงไปเซ็นพันธสัญญากับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเมื่อ 2 ปีที่แล้ว หลังจากนั้น ท่าน .ดร.อภิชัย พันธเสน คณบดี คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เมตตารับเป็นจอมทัพ นำแม่ทัพนายกองยกพลขึ้นบกในนามของ โครงการพัฒนบูรณาการศาสตร์ มีนายทหารระดับปริญญาโท-เอก ประมาณ20ชีวิต ปีการศึกษาใหม่นี้เปิดรับระดับปริญญาตรี คาดว่าจะมีไพร่พลเพิ่มขึ้นอีกหลายร้อยคน ถ้าท่านสนใจ โปรดติดตามด้วยความระทึกกระทวยใจ ได้ในบล็อกพัฒนบูรณาการศาสตร์ หรือมหาชีวาลัยอีสาน    

 

หมายเลขบันทึก: 73376เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2007 05:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

โปรแกรมต้อนรับ อ.ขจิต

  1. ปิดประตูตีแมว
  2. ซ้อมใหญ่จัดวันดวล สะเดา ปลาเผา น้ำพริกหวาน
  3. การเรียนภาษาอังกฤษ นักศึกษาบูรณาการศาสตร์
  4. หารือเรื่องบล็อกเพื่อสังคม
  5. โครงการICT เพื่อชุมชน
  6. โครงการความร่วมมือพันธมิตรบล็อก
  7. หารือ ทิศ และทาง ระบบสารสนเทศชุมชน
  8. ประชุมกลุ่มย่อย นักศึกษาโข่ง
  9. อื่นๆ ตามอัธยาสัย

        กระผมขอติดตามมาเรียนรู้ด้วยความระทึกกระทวยใจ ผ่านบล็อกนี้ด้วยคนนะครับ

สิงห์ป่าสัก ตอบ ครับ ตอบ

ยินดีครับ

  • อย่าตามมาเรียนอย่างเดี่ยวเลยครับ
  • มาลงขันเรียนรู้ร่วมกันจะสนุกกว่าเยอะเลย
  • เรายังขาดแคลนความรู้
  • จึงกระหายที่จะได้ความรู้จากมวลมิตรเสมอ
  • เป็นสวนใหญ่
  • พวกเรารู่นกระเปี๊ยก
  • มาช่วยตรวจคำผิดครับ
  • โอโห จะปิดประตูตีแมวเลยหรือครับ
  • แมวตัวนี้เก้าชีวิตครับครูบา ยิ้ม ยิ้ม
  • ดีใจที่ได้พบนักศึกษาปริญญาเอก โทอื่นๆ มีprograms และ websites ที่ใช้สอนภาษาอังกฤษ ดีๆ ไปแนะนำถ้ามีใครอยากแลกเปลี่ยนครับครูบา จำได้ว่าที่นั่นใช้ wireless ได้ใช่ไหมครับ
  • ขอบพระคุณมากครับครูบา

 ตอบ ครับ ตอบ

ถาม ใข้ wireless ได้ใช่ไหมครับ

ได้ครับ เราใช้ทุกระบบ ครับ

   เวลาเน๊ทล้ม เรายังปูผ้าขาว ปักดอกไม้ธูปเทียน วิงวอนขอท่านเห้งเจียมาช่วยปัดเป่า..ติดต่อได้เร็วๆ จะไม่เสียเวลาที่จะจูนใจหาความรู้

รีบมานะครับ รักรออยู่ ..

  • ขอบพระคุณมากครับครูบา
  • จะรีบไปตามวันดังกล่าวครับ
สนใจอยากไปร่วมรับความรู้ด้วยจังเลย โดยฌฉพาะ  websites ที่ใช้สอนภาษาอังกฤษ
เรียนท่านครูบา คืนนี้ไม่เกิน 6 ทุ่ม ติดตามอ่าน "อาหารฟาสท์ฟูด ของชาววัง"  ที่เม็กดำ นะคะ ขอโทษด้วยค่ะ พิมพ์เร็วไปหน่อย (ใจร้อน)  โดยเฉพาะ
จะตั้งตารอ รอ รอ อ่าน อาหารฟาสท์ฟูด ครับ

ก้านแสด เมื่อ ศ. 19 ม.ค. 2550 @ 18:37

ตอบ  ถ้าสนใจ..อยากไปร่วมรับความรู้ด้วยจังเลย โดยเฉพาะ  websites ที่ใช้สอนภาษาอังกฤษ ทำไมไม่ลองเสนอ ผ.อ.ละครับ.

ฝาก 1 เรื่อง ครับ โครงการเอาเด็กไปฝึกปูกระเบื้องค๊อตโต้ เขากำหนดมาแล้วครับ เป็นวันที่ 26-28 กพ.

  • ดีใจที่มีคนสนใจครับครูบาสุทธินันท์
  • ไปทักทายคุณครูก้านแสดแล้วครับ
  • รอดู fastfood เหมือนกันครับ

ครูขจิตขา

       อย่าลืมกอดครูบาฯ เผื่อด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท