ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

เกษตรประณีต : กุศโลบายสู่การขยายผล


การทำการเกษตรแบบประณีต เป็นกุศโลบายหนึ่งของเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสาน ที่ต้องการให้เกษตรกรทำการผลิตจากน้อยไปมาก

50 ปีแห่งความบอบช้ำ จากแนวทางการผลิตตลอดระยะเวลาเกือบ 50 ปี ที่ผ่านที่รัฐพยายามส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาโดยตลอด ซึ่งถ้าหากเรามองอย่างลึกซึ้ง แล้วย้อนดูจากร่องรอยประวัติศาสตร์ชาติไทยก็พบว่าตั้งแต่สมัยของผู้ใหญ่ลีตีกลองเพื่อให้ชาวบ้านเขามาประชุมที่บ้านตนเองเมื่อปี พ.ศ.2504 (เริ่มใช้แผนในการพัฒนาประเทศ) นั่นแหละ  เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายแนววามคิดของพี่น้องเกษตรกรจากผลิตเพื่อยู่เพื่อกิน ให้ปลูกมากๆ ลงทุนมากๆ  บำรุง(ใส่ปุ๋ย) ให้มากๆ แล้วบอกว่าจะได้ผลผลิตมากๆ เกษตรกรจึงจำอย่างฝังจิตฝังใจกันมาตลอด  จนไม่สามารถตัดขาดได้เท่าทุกวันนี้ สุดท้ายพี่น้องเกษตรกรต้องประสบกับความล้มเหลวตามมาดังที่ได้กล่าวไปแล้วเมื่อวาน

เกษตรกรรมแบบประณีตต้องหักมุม  จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมเกษตรกรรม ปราชญ์ชาวบ้านผู้หยั่งรู้ถึงอนาคตของตัวเองจึงได้ร่วมกันในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาให้กับตนเอง และสังคมโดยรวม จึงได้ข้อค้นพบว่าจากที่ผ่านมานั้นเป็นการทำการเกษตรที่ไม่ยั่งยืน     ผลิตมากยิ่งเป็นหนี้มาก ครอบครัวแตกแยก และไม่มีความสุขด้วย ดังนั้นถ้าอยากให้มีความสุขผลิตแค่หนึ่งไร่ก็พอเพียง แถมได้อยู่กับครอบครัว และมีความสุขอีกต่างหาก จึงต้องคิดใหม่ทำใหม่ โดยกินทุกอย่างที่ปลูก แล้วปลูกทุกอย่างที่กิน เหลือกินก็ขาย ซึ่งจากการดำเนินการที่ผ่านมาของเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสานก็พบว่ามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หนี้สินที่เคยมีหลายคนก็ปลดเปลื้องได้หมดแล้ว และบางคนก็สามารถจัดการกับหนี้สินของตนเองได้โดยไม่ต้องกังวลใจว่าเขาจะมายึดที่ดินเป็นของตนเองไป  มีสุขภาพดี แข็งแรง ความครัวเป็นสุขมากขึ้นเพราะได้อยู่ด้วยกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตาเลยทีเดียว

เกษตรกรรมแบบประณีตเป็นแบบฝึกหัด  เมื่อเดือนที่แล้วผมได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านครูบาสุทธินันท์   ปรัชญพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสาน แห่งมหาชีวาลัยอีสาน และท่าน ผศ.ดร.แสวง   รวยสูงเนิน แห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นท่านเล่าให้ฟังว่า จริงๆ แล้วการทำการเกษตรกรรมแบบประณีตนั้น เป็นเพียงแบบฝึกหัดของการทำการเกษตรครบวงจร ที่เครือข่ายปราชญ์ได้ร่วมกันศึกษา เพื่อเป็นแนวทาง และรูปแบบของการผลิตว่าจะผลิตอย่างไร ปลูกอะไรบ้าง แล้วจะปลูกอะไรร่วมกับอะไรจึงจะได้ผลดีในพื้นที่น้อยๆ และจำกัด หลังจากที่ได้รูปแบบการผลิตที่ดีแล้ว มีความมั่นใจ จึงค่อยขยายพื้นที่การผลิตเพิ่มมากขึ้น อันจะส่งผลถึงความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามไปด้วย บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองเป็นหลัก  

เกษตรกรรมแบบประณีตเป็นเป็นกุศโลบาย  นอกจากนั้นครูบาสุทธินันท์   ปรัชญพฤทธิ์ ยังเล่าให้ฟังอีกว่าวิธีการดำเนินการดังกล่าวนับว่ากุศโลบาย  ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นอย่างดี ทำให้พี่น้องเกษตรกรได้นำความรู้ดีๆ ที่ตนเองสะสมมากว่าระยะเวลา 50 – 60 ปีมาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งนับว่าเป็นการนำเอาความรู้ที่อยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)ออกมาสู่การปฏิบัติ ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง ทุกคนสามารถเรียนรู้ และเลียนแบบ และประยุกต์เข้ากับบริบทของตนเองได้เป็น

             จากแนวทางการดำเนินงานของเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสานถือเป็นการจัดการความรู้ (KM) ในระดับชุมชนได้อย่างเหมาะสม จนกระทั่งสามารถแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพของตนเองได้  ส่งผลให้ครอบครัวมีความสุข พึ่งพาตนเองได้ ชุมชนอยู่กันอย่างเกื้อกูล และมีอาชีพที่มั่นคง 

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

3 มกราคม 2550

 

หมายเลขบันทึก: 70666เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2007 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เอาละ เริ่มเห็นทางกลับบ้านแล้วนะ

congratulation and (wait for) celebration

ขอบคุณมากครับอาจารย์

จะพยายามเน้นกระบวนการให้มากขึ้น

ด้วยความเคารพ

อุทัย

ผมก็เริ่มกลับบ้านถูกแล้วครับผมท่านอาจารย์ พอดีเห็นอาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำเว็บนี้ให้กระผม ขอบพระคุณท่านอาจารย์แสวง สำหรับโอกาสและมุมมองในระบบการเกษตร ที่เปิดโอกาสให้ผมนั่งเลือกเส้นทางจนวันนี้ แน่ใจว่าหาทางกลับบ้านเก่าได้อย่างมีสุขหลังจากที่ทนทุกข์มานับสิบปี
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท