ศักราช
อาจารย์ ศักราช ลุงปั๋น ฟ้าขาว

ศิลปกรรมไทย : สกุลศิลป์พันธุ์ใหม่


สังคมไทยเป็นสังคมที่รับเอาความเป็นอารยธรรมจากชาติต่าง ๆ ได้ง่าย เพราะคนไทยมีนิสัย “รับง่ายหน่ายเร็ว” ซึ่งถือว่าเป็นทั้งจุดด้อยและจุดแข็ง

ผู้เขียนสอนวิชาศิลปะไทยมาตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษา จนถึงขณะนี้สอนในระดับอุดมศึกษา มีข้อคิดเห็น ประสบการณ์มาฝากให้ผู้อ่านและผู้เรียนศิลปะไทยได้เป็นสาระ หลายครั้งที่มีนักศึกษาถามว่า ปัจจุบันนี้ ศิลปกรรมไทยเราถือว่าเป็นสกุลศิลป์อะไร

                    สังคมไทยเรามีพื้นฐานอัตลักษณ์จากความเชื่อทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ของแต่ละท้องถิ่น เรามีวัฒนธรรมท้องถิ่น มีวัฒนธรรมที่แสดงความเป็นชาติ แสดงความเป็นปึกแผ่นมาตั้งแต่ก่อนการรวมเอาแว่นแคว้น อาณาจักรต่าง ๆ (เทียบเคียงเป็นประเทศในปัจจุบันได้ ได้แก่ ล้านนา อยุธยา สุโขทัย ฯลฯ) เป็นสยามประเทศ
สังคมไทยเป็นสังคมที่รับเอาความเป็นอารยธรรมจากชาติต่าง ๆ ได้ง่าย เพราะคนไทยมีนิสัย “รับง่ายหน่ายเร็ว” ซึ่งถือว่าเป็นทั้งจุดด้อยและจุดแข็ง

                   จุดแข็งที่ให้อิทธิพลแก่ชาติอื่นนั้นไม่ค่อยจะมี มีแต่ได้รับอิทธิพลจากที่นั่นที่นี่ อยู่เสมอมา แม้แต่ในปัจจุบัน เรารับขยะวัฒนธรรมจากสังคมอื่นมามากเรื่อง จนเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกของสังคมในหลายเรื่อง

                    แต่จุดแข็ง ในเรื่องการประนีประนอม ความละเอียดอ่อนประณีตบรรจง การประยุกต์ใช้ของคนไทย มีให้เห็นในหลายเหตุการณ์ของบ้านเมือง และปรากฏออกมาเป็นงานทัศนศิลป์ในเชิงช่างก็มีมากมาย และมีสกุลศิลป์อยากหลากหลาย

                     อย่างไรก็ตาม เรามีความเป็นชาติ (ตั้งแต่รวมเป็นสยามประเทศ) มีวัฒนธรรม ประเพณีเป็นของตนเอง ความเป็นลักษณะเฉพาะของทัศนศิลป์ไทย (อ่อนช้อย ละเอียดอ่อน มีลีลาโบกริ้ว ปลิวไสว สนองศรัทธาความเชื่อด้านศาสนา ถ่ายทอดวิถีชีวิตฯลฯ)
                    ศิลปินบางท่านแสดงออกจากความที่ไม่เหมือนใคร ทั้งคำพูดท่าทาง ผนวกกับงานที่มีลักษณะเฉพาะ จึงทำให้งานของตนเองโดดเด่น ทำให้ชาวบ้าน ชาวเมืองนิยมในอัตลักษณ์ของตนเองมากยิ่งขึ้นไปอีก ยิ่งผนวกกับการตลาดในปัจจุบันแล้ว งานศิลปะของศิลปินหลายท่านจึงก้าวหน้าชนิดที่ ทำให้ศิลปินหน้าเชิดหรือหลุดไปจากสังคม เลยก็มี
                งานศิลปะหลายชิ้นในปัจจุบัน จึงมีมีทั้งเลียนแบบ (ได้รับอิทธิพล) แอบจำถลำลึก (ลอกแบบ) สร้างสรรค์เอง และประยุกต์ไปใช้ใน การแสดงออกทางศิลปะในหลายรูปแบบ จึงอาจจะพูดได้ว่าปัจจุบันเป็น “สกุลศิลป์ไทยพันธุ์ใหม่” ก็เป็นได้

              แต่ในฐานะเป็นผู้เรียน(เรียนทั้งชีวิต) และผู้สอน(สอนได้ในบางเรื่องในโลก) ควรคิดวิเคราะห์ในแง่ของบริบทสังคมไทยเป็นส่วนประกอบ สกุลศิลป์ใดที่เหมาะสมกับตัวตนเรา เหมาะสมกับสภาพสิ่งแวดล้อมของไทย ของท้องถิ่นเรา ก็นำไปประยุกต์ใช้ให้พอเหมาะ
 

             อย่าให้ใครตราหน้าว่า “คิดไม่ได้ ทำไม่เป็น เห็นไม่ได้ เอามาเป็น” แทบทุกครั้ง ถ้าเป็นอย่างนี้ เสียชื่อความมีสกุลศิลป์พันธุ์ใหม่หมดครับ

หมายเลขบันทึก: 70662เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2007 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท