บทเรียนจากว่าว


สักกี่ครั้งที่ เราได้งาน จากผู้บังคับบัญชา แล้วได้แรงหนุนที่พอดี และสักกี่ครั้งที่ เรามอบงาน ให้ผู้ร่วมงาน แล้วเราให้แรงหนุนที่พอดี

วันก่อนผมได้มีโอกาสไปเป็นกรรมการสอบหัวข้อวิจัยนักศึกษาป.โท มหิดล ที่คณะสาธารณสุข ใกล้ๆ รพ. พระมงกุฎ ผมได้ถามนักศึกษาหลังจากที่นำเสนอว่า ได้เตรียมการนำเสนออย่างไร ถึงนำเสนอได้ดีมากขนาดนี้

 

นักศึกษาตอบว่า นักศึกษาได้เตรียมตัวไว้เนิ่นๆ ตั้งแต่สัปดาห์ก่อน แต่คืนก่อนนำเสนอ ก็เครียดมาก และนอนไม่หลับอยู่ดี

 

เหตุการณ์นี้ทำให้ผมคิดไปถึง การทำงาน เปรียบเหมือนการเล่นว่าว โดยที่ตัวว่าวเหมือนงาน งานจะสำเร็จได้ ต้องมีการสนับสนุนจาก ความตั้งใจ ความรู้ที่จะช่วยให้สำเร็จ และความเครียด  ผมนึกไป เปรียบการสนับสนุนที่ว่านี้ เหมือนแรงลม ที่ต้องเป่าไปที่ตัวว่าว และลมนี้แหละที่ดันว่าวให้สูงขึ้นเรื่อยๆ

  • ถ้าว่าวได้ลมพอดี ว่าวก็จะลอยสูงขึ้นไปได้เรื่อยๆ อย่างสวยงาม
  • ถ้าแรงลมมากเกินไป ว่าวก็หมุน อาจจะขาด หรือ หลุดลอยไปได้ เปรียบเหมือน งานที่ผู้กระทำ ทำด้วยความเครียด ที่มากเกินไป มีแต่ความกดดัน งานอาจไม่สำเร็จได้ หรือสำเร็จได้ แต่ก็บอบช้ำทั้ง งาน ผู้ทำงาน และผู้ให้งาน
  • ในทางกลับกัน การให้งาน โดยไม่มีการติดตาม สนับสนุน หรือให้ความรู้ ความเข้าใจ งานก็สำเร็จได้ยาก

ที่นี้

  • ลองนึกดูว่า สักกี่ครั้งที่ เราได้งาน จากผู้บังคับบัญชา แล้วได้แรงหนุนที่พอดี
  • ลองนึกดูว่า สักกี่ครั้งที่ เรามอบงาน ให้ผู้ร่วมงาน แล้วเราให้แรงหนุนที่พอดี


เหตุการณ์นี้ผมเห็นว่าเป็นอีกมุมมองหนึ่งที่ควรบันทึกเอาไว้ และ นำเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟังครับ

หมายเลขบันทึก: 70096เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2006 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ธันวาคม 2014 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอขอบพระคุณอาจารย์หมอสุข....

  • ก่อนอื่นขอแสดงความชื่นชมนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหิดลที่เสนอหัวข้อวิจัยได้ดีมาก... สาธุ สาธุ สาธุ

เรื่องความเครียดกับประสิทธิผลของงาน....

  • เท่าที่จำได้... ดูจะเป็น u-curved คือ ถ้าเครียดมากเกิน หรือน้อยเกิน > ประสิทธิภาพจะลดลง
  • ช่วงที่ประสิทธิภาพสูงสุด... อยู่ตรงกลาง คล้ายๆ กับที่อาจารย์เปรียบเทียบกับว่าว

เรื่องนี้คล้ายปฏิกริยานิวเคลียร์เหมือนกัน...

  • ถ้ามากเกิน... จะมีการเพิ่มกระบวนการดูดซับนิวตรอน (เปรียบคล้ายการหล่อเย็น) เพื่อลดระดับปฏิกริยา
  • ถ้าน้อยเกิน... จะมีการลดกระบวนการดูดซับนิตรอน เพื่อเพิ่มระดับปฏิกริยา

ทราบมาว่า...

  • ตอนเชอร์โนบิลระเบิดมีคนทดลองยกเลิกการดูดซับนิวตรอน > ปฏิกริยาเลยเพิ่มมากเกิน... เลยระเบิด ส่งผลให้คนยูเครนไม่พอใจโซเวียตมาจนทุกวันนี้ ทั้งๆ ที่เป็นคนเชื้อสายสลาฟเหมือนกันแท้ๆ...

ขอขอบพระคุณครับ...

ขออภัยครับ...

  • ความเครียดกับประสิทธิผลของงานเป็นกราฟรูป inverted u-curved หรือโค้งระฆังคว่ำ...

ขอบพระคุณครับอาจารย์วัลลภ

ขอบพระคุณสำหรับการต่อเติมในรายละเอียด และกราฟ ทำให้มองเห็นได้ชัดเจนได้

หมอสุข

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท