เมื่อวันวันพฤหัสบดี ที่ 21 ธันวาคม 2549 ได้มีการประชุมชี้แจงผู้รับผิดชอบโครงการการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน จำนวน 52 โครงการ ตามโครงการพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนของหน่วยบริการปฐมภูมิ 8 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ณ โรงแรมบีพี แกรนด์ ทาว์เวอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งสนับสนุนงบประมาณโดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่(สงขลา) และดำเนินงานโดยสมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข
ผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายสรุปในหัวข้อ “แนวทางการดำเนินงานและการประเมินผลโครงการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน” ร่วมกับ เภสัชกรยูซูฟ นิมะ จาก สปสช. สาขาเขตพื้นที่ (สงขลา) โดยเฉพาะที่ผมรับผิดชอบจะเน้นที่การประเมินผล ซึ่งในฐานะคณะกรรมการพิจารณาโครงการนี้ เราพบว่าเกือบทุกโครงการยังขาดแนวทางการประเมินผลโครงการที่ดี และทีมงานอยากให้เติมเต็มให้ในส่วนนี้ มีเนื้อหาย่อ ๆ ดังนี้ครับ
การประเมินผลโครงการ ง่าย ๆ ทำได้ไง...บ้าง?
- การบริหาร(โครงการ)แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (RBM: Results Based Management) เป็นการเปรียบเทียบผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงกับเป้าหมายที่กำหนด โดยใช้ระบบการประเมินผลงานที่อาศัยตัวชี้วัดเป็นตัวสะท้อนผลงานให้ออกมาเป็นรูปธรรม เพื่อให้มีการปรับปรุงผลการดำเนินงานของโครงการให้เกิด...ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่า และความรับผิดชอบต่อประชาชน
- Monitoring, Assessment, Appraisal, Evaluation ? ? ? ? ประเมิน ? ? ?
- Monitoring หมายถึง การติดตาม (ประเมินผล) จากความหมายจะเห็นได้ชัดว่าเป็นการ ประเมินระหว่างการดำเนินงานอยู่ (On-going) เป็นการประเมินเบื้องต้น (Formative) เน้นการประเมินที่กระบวนการ (Process) ดำเนินงานเป็นหลัก และมักจะทำเป็นระยะ ๆ (Periodic)
- Assessment หมายถึง การประเมิน โดยทั่วไป จะทำในเวลาใดก็ได้ เช่น ก่อน ระหว่าง หรือหลังการดำเนินงานแล้ว เป็นคำที่ใช้กลาง ๆ โดยทั่วไป เช่น Performance Assessment หรือ Self Assessment เป็นต้น
- Appraisal หมายถึง การตีค่า ตีราคา ว่าคุ้มทุนหรือไม่ ต้นทุน-ประสิทธิผล หรือ ต้นทุน-ผลประโยชน์ เป็นอย่างไร เป็นการประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์เสียมากกว่า พบว่ามีบ้างเช่นกันที่ถูกนำมาใช้ทางสังคมศาสตร์ เช่น ผลการทำงานอยู่ในระดับใด ทัศนคติเชิงบวก หรือเชิงลบ อย่างนี้เป็นต้น แต่ก็จะสังเกตว่าเน้นที่การให้ค่าแทนตัวแปรที่เราจะทำการประเมิน
- Evaluation เน้นหนักการใช้ประเมินเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานแล้วเท่านั้น ในปัจจุบันก็ถูกนำมาใช้ในการกล่าวถึงการประเมินผลโดยทั่วไปเช่นกัน และเป็นการประเมินทั้งระบบ โดยเมื่อเรากำหนดจุดอ้างอิงของการสิ้นสุดได้แล้ว (ตามวัตถุประสงค์และเงื่อนเวลาที่ตั้งไว้) เมื่อครบตามเงื่อนไขเวลา คือสิ้นสุดการดำเนินงานตามเวลาที่อ้างอิงไว้ ก็ทำการประเมินผล ก็จะเรียกว่า Evaluation
- KISS Approach เทคนิคการสร้างชี้วัดเพื่อการประเมินผล
- ต้องง่าย ๆ สั้น กระชับ ตรงไปตรงมา กล่าวคือ ตัวชี้วัดนั้นแทนสภาพความเป็นจริงที่สำคัญ เป็น Key Indicators รวบรวมข้อมูลไม่มาก ค่าใช้จ่ายไม่สูงเกินไป
- พยายามใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในระบบเดิมให้เกิดประโยชน์มากที่สุด (ไม่หาเรื่องสร้างเพิ่มขึ้นมาใหม่)
- คำอธิบายตัวชี้วัดชัดเจน เข้าใจตรงกันได้ง่าย ๆ ค่าที่ใช้ควรเป็นตัวเลขที่คำนวณง่าย ๆ ไม่ซับซ้อนโดยไม่จำเป็น เช่น จำนวน (ได้จากการนับ) อัตรา อัตราส่วน สัดส่วน ร้อยละ เป็นต้น
- หากเป็นกรณีที่ให้ค่าเป็นปริมาณตัวเลขได้ยาก ก็จะต้องใช้ตัวชี้วัดโดยอ้อม หรือใช้หลาย ๆ ตัวรวมกันเป็นตัวดัชนีชี้วัด (Index) เช่น คุณภาพชีวิต หรือ ความสุข เป็นต้น
-
เอกสารและตัวอย่างทั้งหมด คลิ้กดาวน์โหลดได้จากที่นี่ครับ
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ชายขอบ ใน ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน
คำสำคัญ (Tags)#community#หลักประกันสุขภาพ#บริการสุขภาพ#งานประกันสุขภาพ#วิทยากร#uc#สปสช.#evaluation#สปสช.เขตพื้นที่สงขลา#บริการระดับปฐมภูมิ#pp (6)#สร้างสุขภาพ
หมายเลขบันทึก: 69114, เขียน: 24 Dec 2006 @ 14:32 (), แก้ไข: 19 Mar 2015 @ 08:31 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 10, อ่าน: คลิก
น้องชายขอบ น้องบ่าวที่นับถือ