สะเก็ด PAR : 1. อาจารย์ชอบบรรยาย


ซี่รี่ส์ชุดสะเก็ด PAR นี้ ขอรบกวนคำพูดที่ชวนคิดและกินใจ ที่ผมใช้เป็นหลักในการทำงานวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Researh : PAR) ที่ได้เรียนรู้จากท่านอาจารย์หลาย ๆ ท่าน เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อยอดและเติมเต็ม ให้การทำงานแบบมีส่วนร่วมนี้เกิดประโยชน์กับสังคมไทยมากที่สุดครับ

สำหรับเรื่องแรกนั้นขออนุญาตยกคำพูดที่กินใจและแทงใจผมทุก ๆ ครั้งที่ยืนอยู่หน้าเวที ซึ่งคำพูดนี้ทำให้ในแต่ละเวทีนั้นเปลี่ยนไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือกับคำว่า "อาจารย์ชอบบรรยาย"


คำว่า "อาจารย์ชอบบรรยาย" นี้ เป็นคำพูดของท่าน รศ.ดร.มารุต ดำชะอม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ท่านเดินทางไปสอนผมและพูดให้ผมฟังถึงที่ห้องประกันคุณภาพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำพูดประโยคนี้เป็นคำพูดที่ผมฟังครั้งแรกสะดุ้ง เพราะเมื่อก่อนตอนที่เริ่มทำวิจัยแรก ๆ เมื่อเข้าไปในชุมชน โดยเฉพาะเมื่อเปิดเวที "อาจารย์อยู่ดี ๆ ก็ชอบบรรยาย" เป็นคำพูดที่แทงใจอย่างยิ่งครับ

อาจารย์บอกว่า ไปทำงาน PAR หรือมีส่วนร่วม ไม่ใช่ไปสอนเด็ก สอนนักศึกษา เราเข้าไปเป็นแค่ข้อต่อ หรือตัวกระตุ้นให้เขาคิด พวกอาจารย์ชอบติดอยู่อย่างหนึ่ง ก็คือ "ชอบบรรยาย" จัดเวทีชุมชน ก็กลายเป็นเวทีบรรยายเนื้อหาและทฤษฎี การทำงาน PAR ไม่ใช่เป็นการเข้าไปเพื่อบรรยาย ให้ความรู้ แต่เป็นการกระตุ้นให้เกิดความมีส่วนร่วม ถ้าเข้าไปบรรยายปุ๊บ ทุกอย่างก็จบปั๊บ

หลังจากนั้นเอง เมื่อจัดเวทีที่ไร ทุกครั้งที่ "เริ่มเผลอ" เผลอจะไปบรรยายสอนโน่นสอนโน่น พูดโน่นพูดนี่ ผมก็จะนึกถึงคำพูดนี้เสมอครับ "อาจารย์ชอบบรรยาย" หรือบางครั้งหนักกว่าเก่า จัดเวที PAR เพื่อการบรรยายหรืออบรมโดยเฉพาะเลยก็มี

หลังจากได้คำพูดและแนวคิดนี้คอยย้ำเตือน ทำให้เวทีนั้นปรับเปลี่ยนจากการบรรยายแบบห้องเรียน เป็นเวทีระดมความคิดเพื่อร่วมมือกันทำงาน ร่วมกันคิด ร่วมกันแก้ไข ร่วมกันได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริง อาจจะพูดได้ว่า "เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือทีเดียว"

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

หมายเลขบันทึก: 68166เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2006 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

คนที่ไม่เข้าใจ แต่คิดว่าตัวเองรู้ก็เป็นอย่างนี้ทั้งนั้นแหละครับ

ยิ่ง อาจารย์มหาวิทยาลัยยิ่งแล้ว

มี ศ๑๑ ท่านหนึ่ง เปิดประเด็นในที่ประชุมชาวบ้านในชุมชนว่า

"ผมเป็น ศ๑๑ ด้าน.....ใครมีคำถามอะไรด้านนี้ต้องถามผม" ผมตอบให้ได้หมด

แล้วกลับมาว่า เป็น PAR ด้าน........

ทำรายงานให้กับแหล่งทุน

บอกว่า ผมทำสำเร็จแล้ว ให้คนอื่นทำตามอย่างได้เลย

ทางแหล่งทุน (ของไทยนั่นแหละ เดาเอาเอง) ก็บ้าจี้เห็นดีเห็นงามตามไปด้วย

ผมเลยไม่ค่อยอยากพูดเรื่องนี้บ่อยนัก มีแต่เศร้า กับเศร้า

อย่าเปิดประเด็นแบบนี้เลยครับ น้ำตาผมไม่มีจะไหลแล้ว มีแต่น้ำลายไว้ถ่ม.....

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

 

  • สวัสดีครับท่านอาจารย์ ดร.แสวง ที่เคารพ
  • เป็นการถ่มที่มีประโยชน์เหลือล้ำครับ
  • อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้ผมคิดว่า ผมไม่บ้าคิดอย่างนี้คนเดียวครับ เพราะผมน้ำตาก็ไหลกับเรื่องนี้มาไม่น้อยเช่นกันครับท่านอาจารย์
  • ถ้าอาจารย์ช่วยมาถ่มเรื่องนี้ให้กับนักวิจัยหรือผู้ที่สนใจทำเรื่อง PAR ใน Gotoknow แห่งนี้ได้นำไปใช้จะเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดเลยครับ
  • ช่วยกันสร้างสรรค์การทำงานแบบมีส่วนร่วมหรือติ๊ดชึ่ง Research ของอาจารย์ให้เกิดประโยชน์กับสังคมไทยกันเถอะนะครับ
รศ.ดร.มารุต ดำชะอม

เห็นถูก คิดชัด ปฏิบัติได้ ต้องเดี๋ยวนี้มิใช่เดี๋ยวก่อน

ใจใส ใจสบาย หายใจยาวเต็มปอดปลอดโปร่งดี/มารุต

รศ.ดร.มารุต ดำชะอม

Poor Teacher Tells.

Fair Teacher Explains.

Good Teacher Demonstrates.

Real Teacher Inspired.

รศ.ดร.มารุต ดำชะอม ท่านคือ Real Teacher "ครูดี ครูเพื่อศิษย์"

 

ขอน้อมระลึกถึง "พระคุณครู" เสมอ...

 

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

Happiness is here and now. Please get in touch. Facebook : Marut Damchaom

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท