เมื่อวาน (15 ธันวาคม) เป็นวันแรกที่เราเปิดเวทีการนำKMมาขับเคลื่อนองค์กรเพื่อก้าวสู่LO ที่ผมบันทึกว่าเป็นวันแรก ก็เนื่องจากว่าที่ผ่านๆ มา เรานำการจัดการความรู้เข้ามาประยุกต์ใช้ในหน่วยงานแบบไม่บอกว่าทำKM และลงไปทำกันที่หน้างาน ซึ่งเราก็ค้นพบว่าวิธีการก็เหมาะสมดี แต่ที่เปิดเวทีและบอกว่าทำKM ก็เนื่องมาจากคุณเอื้อของเราท่านสุชาติ ทองรอด ท่านย้ายมาจากชุมพร และต้องการขยายวงให้มีการนำKM มาปรับใช้ในหน่วยงานให้เพิ่มมากขึ้น และทั่วทั้งหน่วยงาน คุณสายัณห์ และผมในฐานะคุณอำนวยอาสา ก็ต้องคิดหนักและออกแบบการเรียนรู้กัน ในเบื้องต้นกำหนดไว้ 1 วันก่อนเป็นการปูพื้น ลองติดตามดูกันไหมครับว่าทีมงานเราได้ทำอะไรกันบ้าง
- ภาพกิจกรรมในช่วงเริ่มต้น งานนี้เจ้าหน้าที่ทุกคน ทุกฝ่ายมาเรียนรู้ร่วมกัน (20 กว่าคน)

สิ่งที่เราได้ออกแบบและดำเนินกิจกรรมในหนึ่งวันนั้นมีอะไร และผลเป็นอย่างไรบ้าง
- เริ่มต้นภาคเช้า ด้วยการพบปะและให้ความสำคัญกับการก้าวสู่LO ของหน้วยงานโดยคุณเอื้อ และเครื่องมือขับเคลื่อนLO ที่เราจะใช้ก็คือKM และวิสยทัศน์ของหน่วยงานก็คือ "เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนาเกษตรกรและการเกษตรที่ยั่งยืน"
- หลังจากนั้นก็เป็นการเล่าเรื่องของการนำKMมาทำให้เนียนอยู่ในงานประจำโดยคุณสายัณห์ ปิกวงค์ คุณอำนวยตัวจริงของสำนักงานเกษตรจังหวัด
- ต่อมาก็เป็นผม (คุณอำนวยอาสา) ได้นำเข้าสู่หลักการและแนวการทำKM ด้วยการฉายวีซีดีฉบับสมบูร์ของ รพ.บ้านตากของคุณหมอพิเชฐ
- ภาคบ่ายย่อยอาหารด้วยการดูวีซีดีอีก 2 กรณีศึกษา คือ การจัดการความรู้ของเครือข่ายพืชปลอดภัยจังหวัดพิจิตร และ ภูมิปัญญาสู่การพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน
ในภาพรวม การเปิดมุมมองและการนำเข้าสู่การเรียนรู้KMของทีมงานเราก็ทำได้เพียงเท่านี้ หลังจากนั้นก็เป็นการสรุปบทเรียนของแต่ละคนว่าที่เห็นและฟังมานั้นคิดว่าKMเป็นอย่างไร ซึ่งก็ได้คำตอบที่หลากหลาย ทำให้ได้เข้าใจว่าแต่ละคนมีความเข้าใจ และได้มุมมองของแต่ละคน
จากนั้นเราก็ใช้วิสัยทัศน์หน่วยงานมาหา KV ใหญ่ และบทสรุปในเบื้องต้นของทุกคนก็คือเราจะใช้เวทีของการประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดทุกเดือนมาเล่าวิธีการทำงานที่เป็นเลิศของแต่ละคน เพื่อให้ทุกคนได้ ลปรร.กัน ในเบื้องต้นผมและคุณสายัณห์ประเมินกันว่าเพียงเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว และโอกาสต่อไปก็จะปรับกระบวนการกันต่อไป
หลายท่านอาจแปลกใจว่าแล้วที่ทำอยู่เดิมเป็นอย่างไร ผมก็ขอเรียนว่าที่ผ่านมา เราก็ถูก กพร.กำหนดให้ทำ กระบวนการก็เริ่มต้นก็คล้ายๆ อย่างนี้เช่นกัน แต่เราทำทั้งจังหวัดเหมือนการชี้แจงการดำเนินโครงการโดยทั่วๆไป เพราะตอนนั้นก็ไม่ค่อยเข้าใจว่ามันคืออะไร แต่ก็จะมีคนอยู่ส่วนหน่งที่เข้าใจ (เราไม่ต้องการให้มองเป็นโครงการแต่ภาพในใจของทุกคนเป็นอย่างนั้น) ต่อมาเราเรียนรู้และปรับกระบวนการ โดยเสริมเข้ามาสู่ในงานประจำทีละนิดละหน่อย เกือบ 2 ปีที่ผ่านมา เราก็ทำในจุดเล็กๆ ก่อน เริ่มทำจากเรื่องง่ายๆ และคนที่เข้าใจและสนใจ ประเมินในเบื้องต้นเราคาดว่าได้สร้างคุณอำนวยในภาคสนามได้แล้วประมาณ 10 คน (ดังจะเห็นในวีซีดีในวันเปิดงานNKM3)
มาวันนี้เมื่อคุณเอื้อเปิดโอกาส ก็ต้องปรับกระบวนการกันใหม่ วันนี้เราพูดว่าเราจะใช้KMขับเคลื่อนLO และได้เริ่มต้นกันที่สำนักงานเกษตรจังหวัดทั่วทุกตัวคนแล้ว และจะขับเคลื่อนกันได้อย่างไรก็คงต้องใช้เวลา และคงต้องปรับกระบวนการให้ทุกคนลงมือและเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติกันต่อไป เพราะการจัดการความรู้ไม่ทำไม่รู้ คงต้องคอยอ่านบันทึกกันอีกเป็นปีนะครับ
บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.ครับ
วีรยุทธ สมป่าสัก
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย สิงห์ ป่าสัก ใน KMนักส่งเสริมการเกษตร
คำสำคัญ (Tags)#การจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร#cko#kfcop
หมายเลขบันทึก: 67586, เขียน: 16 Dec 2006 @ 07:21 (), แก้ไข: 06 Sep 2013 @ 17:41 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 14, อ่าน: คลิก