จัดการอาการ นั้น สำคัญไฉน ระยะท้ายแล้ว ไม่ให้ยาได้มั๊ย



การจัดการอาการในผู้ป่วยเด็กระยะท้าย

Symptom management นั้นสำคัญไฉน

เมื่อ วันศุกร์ (2 กุมภาพันธ์ 2562) ที่ผ่านมา  ขอขอบคุณทีมการพยาบาลหอผู้ป่วย เด็กไอซียู และกุมารแพทย์ ที่เปิดโอกาสให้ฉัน ได้มีโอกาส  ร่วมดูแลผู้ป่วยโรคท่อทางเดินน้ำดีอุดตัน และมีภาวะตับล้มเหลว หนูน้อย  palliative care  คนนี้ของป้ากุ้ง  เป็นชาวเมืองศรีโคตร แขวงนครเวียงจันทร์

มีอายุเพียง 7 เดือนมาพบหมอด้วยอาการไข้และมีภาวะหัวใจล้มเหลวในวันที่ได้เริ่มดูแล ก้พบว่าหนูมีอาการทรุดหนัก

สิ่งแรกที่เราทำคือ คุณหมอเจ้าของไข้ เรียกประชุมครอบครัว หรือที่เราเรียกกันว่า ทำ family meeting  การรับรู้ตัวโรคและสถานการณ์น้องปัจจุบัน ครอบครัวเข้าใจว่า   “ตับจะทรุดโทรมไปเรื่อยๆ หมอกะได้ปิ่นปั๋วอย่างเต็มที่แล้ว” คุณตาที่เป็นชาวลาวสื่อสารกับทีมเป็นภาษาของทางเวียงจันทน์ เราเราก็สามารถเข้าใจได้   หลังจากฟังข้อมูลกันครบถ้วนแล้ว ดูเหมือนว่าการรักษาจะยาวไป ถ้าหากเราไม่เสนอทางเลือกให้กับครอบครัว ถึงแนวทางที่เป็นไปได้  และเมื่อเสนอช่องทางการกลับบ้านซึ่งครอบครัวพอจะมีคำตอบอยู่ในใจแล้ว  เพียงแต่มีข้อสงสัยว่า

  1. จะกลับอย่างไร
  2. หนูจะทรมานมั๊ยถ้าไม่ได้ใส่เครื่องช่วยหายใจ

ทีมจึงได้อธิบายการจัดการอาการโดยการใช้ยาเพื่อให้น้องสุขสบาย  เตรียมยาสำหรับจัดการถ้ามีอาการกระสับกระส่าย และประเด็นที่เราจะไม่ลืมที่จะคุยคือ  ถ้าน้องหยุดหายใจ หรือเสียชีวิตระหว่างเดินทางครอบครัวยอมรับได้หรือไม่ แผนการดูแลในระหว่าง เคลื่อนย้าย เป็นอย่างไร

ครอบครัวยอมรับและจะไม่ CPR  หากน้องหัวใจหยุดเต้น  

หลังจากเราได้ข้อสรุป  ทีมการพยาบาล  PICU   อยู่ในวง family meeting   รับเรื่องประสานรถ  ประสานครอบครัวจะใช้รถอะไร 

  •   มีทางที่เป็นไปได้คือ จ้างรถฉุกเฉิน โรงพยาบาลเอกชนส่งถึงฝั่งลาว
  •   จ้างรถจากลาวมารับกลับเลย

และในที่สุดเราได้ข้อสรุปคือ ประสานรถหน่วยกู้ภัยจากหนองคายมารับ และจะมีรถจากเวียงจันทน์

และเมื่อจัดการเตรียมยา กับ หมอเด็กแล้วทุกอย่างพร้อม

หนูน้อย  ออกจากขอนแก่น  4  โมง กว่าๆ ถึง เวียงจันทน์​ 2  ทุ่มหลังถอดท่อช่วยหายใจ ไม่มี กระสับกระส่าย 

  คุณพ่อผ่าน  line  ทำให้ทราบว่าหนู  look comfort  มีเสียง หายใจ ครืดคราดเล็กน้อย แต่เรา มี ยา  atropine หยอดใต้ลิ้น 2 หยด for dry secretion ไม่แนะนำให้ suction เพราะจะทำให้ หนูเจ็บ ไม่ได้ on o2  คุณแม่กังวล อยากยืม 02 tank จึง อธิบายว่า ตัวช่วยที่ดีที่สุดคือ ยา  จากที่คุยคุณหมอเด็ก ตอนที่ on เครื่อง setting ไม่สูง เป็นไปได้ว่า หลัง  off tube น้องจะไม่ได้จากไปทันที  และก็เป็นจริงดังที่คาดการณ์ ว่า หลังถอดท่อช่วย หนู    และ เมื่อเวลาผ่านไป 5 ชั่วโมง เวลาประมาณตี1  เริ่มมีอาการหอบกระสับกระส่าย และ เป็นการวางแผนการจัดการอาการที่เตรียมพร้อมกับคุณหมอเด็กแล้ว ว่า เราจะต้องมียา  break through dyspnea  จึงเป็นการง่าย และสบายใจมากกว่านั้นคือคุณแม่มีเพื่อนเป็นหมอที่ลาว จึงได้ช่วยฉีดให้น้องได้หลับพักได้ จนถึงเช้า  ที่สบายใจไปกว่านั้น  Chief เวรเด็กก็ อยู่เป็นเพื่อนกันตลอดการดูแลหนู


และบ่ายของวันเสาร์ฉัน ก็ได้โทรติดตามอาการ  แม่หนูไม่ค่อยสบายใจที่ลูกหายใจลักษณะหิวอากาศ  ซึ่งได้อธิบายไปแล้วว่า อาการเช่นนี้เป็นอาการของคนใกล้เสียชีวิต ยา ที่ให้อยู่ อาจจะไม่สามารถเปลี่ยน air  hunger ได้ แต่ดูน้องแล้วไม่มีกระสับกระส่าย ดิ้นทุรนทุรายก็ถือว่าเยี่ยมมาก

แต่อย่างไรก็ตามคนเป็นพ่อ แม่ เมื่อเห็นลูกที่รักดังแก้วตาดวงใจกำลังจะจากไปต่อหน้า   คงไม่มีพ่อแม่คนไหน ไม่ ทุกข์ทรมานใจ    สิ่งที่พ่อแม่หนูบอกผ่าน  line   “ปวดใจ เหลือเกินที่เห็นลูกเป็นแบบนี้” จึงได้ ให้การประคับประคอง ครอบครัวและอยู่เป็นเพื่อน และ เสนอการช่วยเหลือ ว่าถามี อาการไม่สุขสบายขอให้โทรหาได้ตลอดเลย






และแล้ว หนูก็ได้จากไป ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ เวลา ตี 1 รวมเวลาที่ได้กลับบ้าน 29 ชั่วโมงครอบครัวส่งภาพการจัดงานพิธีทางศาสนาคริสต์ มาให้ ทีม หลังจัดการงานเรียบร้อยแล้ว

หลับพักให้สบายหนูน้อย palliative care ของป้า


บทเรียนรู้จากการดูแลผู้ป่วยเด็กรายนี้ 

  1. การจัดการอาการด้วยยาในระยะใกล้เสียชีวิตในกรณีที่ผู้ป่วยเคยใส่ท่อช่วยหายใจ และมีภาวะหายใจล้มเหลว การกลับบ้านเป็นหนทางที่ครอบครัวเลือก เมื่อโรคมาสุดหนทาง การใช้ยาควบคุมอาการยังมีความจำเป็น มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า "คนไข้ก็จะเสียชีวิตแล้ว ไม่ต้องให้ดีมั๊ย"  คำตอบคือ ถ้าหลังถอดท่อ เด็กทุรนทุราย และไม่ได้เสียชีวิตทันที อยู่ที่บ้านใครจะช่วย จัดการอาการ  และเด็กรายนี้อยู่บ้าน 29 ชั่วโมง การให้ยา ช่วยให้เด็ก สุขสบายไม่ทุรนทุราย 
  2. การสื่อสารในยุค 4.0 มี line มีวิดิโอ call  ทำให้ง่ายต่อการให้คำปรึกษา เพราะในอดีต ถ้ากลับลาวจะขาดการติดต่อเลย
  3. การเข้าถึงทีมตลอด 24 ชั่วโมงเป็น  quality of care ใน palliative care  ครอบครัว ปรึกษา ได้ตลอดเวลา ตี1 วันหยุด ทำให้ครอบครัว สบายใจ 


หมายเลขบันทึก: 659792เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2019 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2019 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เขียนต่อเลยนะคะ ถ้าเพิ่มบทเรียนในการดูเคส จะดี ครบถ้วนค่ะ

น้องไปดีแล้ว ลองเล่ารายละเอียดการักษาว่าแต่ละวันเป้นอย่างไรบ้างนะครับ ทีมใช้ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างไร ขอบคุณครับ

ขอบพระคุณพี่แก้ว และอาจารย์ขจิต นะคะกุ้งจะเพิ่มเติมตามข้อชี้แนะ ให้ดียิ่งขึ้นนะคะ ดีใจจังที่ทั้งสองท่านแวะมาให้กำลังใจ
กุ้งจะเขียนเรื่อยๆ นะคะ มีคลังเรื่องเล่าการทำงาน การดูแลผู้ป่วยเด็กระยะท้าย อยากแบ่งปัน แลกเปลี่ยน มากมาย เรื่องหน้า กุ้งจะบันทึกเรื่อง ประเด็นการสื่อสารเรื่องความตายในเด็กวัยรุ่นค่ะ

บทเรียนรู้จากการดูแลผู้ป่วยเด็กรายนี้

การจัดการอาการด้วยยาในระยะใกล้เสียชีวิตในกรณีที่ผู้ป่วยเคยใส่ท่อช่วยหายใจ และมีภาวะหายใจล้มเหลว การกลับบ้านเป็นหนทางที่ครอบครัวเลือก เมื่อโรคมาสุดหนทาง การใช้ยาควบคุมอาการยังมีความจำเป็น มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า “คนไข้ก็จะเสียชีวิตแล้ว ไม่ต้องให้ดีมั๊ย” คำตอบคือ ถ้าหลังถอดท่อ เด็กทุรนทุราย และไม่ได้เสียชีวิตทันที อยู่ที่บ้านใครจะช่วย จัดการอาการ และเด็กรายนี้อยู่บ้าน 29 ชั่วโมง การให้ยา ช่วยให้เด็ก สุขสบายไม่ทุรนทุราย การสื่อสารในยุค 4.0 มี line มีวิดิโอ call ทำให้ง่ายต่อการให้คำปรึกษา เพราะในอดีต ถ้ากลับลาวจะขาดการติดต่อเลยการเข้าถึงทีมตลอด 24 ชั่วโมงเป็น quality of care ใน palliative care ครอบครัว ปรึกษา ได้ตลอดเวลา ตี1 วันหยุด ทำให้ครอบครัว สบายใจ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท