โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 2: ระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2560)


ขอต้อนรับเข้าสู่โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 2: ระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2560)

ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณรุ่นที่ 1 เมื่อปีที่แล้ว


ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากมหาวิทยาลัยทักษิณจัดโครงการให้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 51 คน จากทั้งวิทยาเขตสงขลาและพัทลุง


และขอใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ที่เราจะเรียนร่วมกันสำหรับช่วงที่ 2 ครับ


จีระ หงส์ลดารมภ์

#โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยทักษิณ

#TSUsupportingleaders2017


โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน

.. สร้างพลังในการขับเคลื่อนความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย

วันที่ 20 กรกฎาคม 2560

ณ ชั้น 2 สำนักห้องสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ

(สรุปบรรยายโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

 

วิชาที่ 6  Learning Forum& Workshop

หัวข้อ   การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

โดย     ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 

         อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล 

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

ในวันนี้อยากให้สำรวจตัวเองว่ามีความสุขในการทำงานหรือไม่ หมายถึงการไปสร้างความสุขให้กับองค์กร

ใครก็ตามที่อยู่ในองค์กรมีความสุขแล้ว จะทำให้ Productivity เพิ่มขึ้น 20%

ปัจจัยทางลบของฝ่ายสนับสนุนถ้าเกิดขึ้น เกิดขึ้นเพราะอะไร ให้แยกระหว่างบุคคลและองค์กรให้ดี และมีข้อแนะนำลดปัจจัยทางลบได้อย่างไร

Passion เป็นได้ทั้ง Dependent และ Independent Variable

ทั้งนี้ถ้า Passion เป็นตัวแปรตาม เราต้องดูว่ามีสิ่งอะไรที่ทำให้เกิด Passion เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากคำว่า Assignment

ทำงานต้องทำงานกับฝ่ายสนับสนุนด้วยกันเอง กับอาจารย์ และกับข้างนอก

Happy at Home กับ Happy at Work บางครั้งเชื่อมโยงกัน

Passion คือตัวแปรที่กระทบ Happy at work

 

Workshop

  • วิเคราะห์ข้อแตกต่างระหว่างทุนแห่งความสุข (Happy at work) กับ Happy Workplace ในบริบทที่แท้จริงของ TSU ระดับผู้ปฏิบัติการ (8K’s  5K’s)

2.       ถ้าจะพัฒนาทุนแห่งความสุข (ปลูก) ต้องทำอะไร 3 อย่างที่สำคัญ และถ้าจะพัฒนา Happy workplace เพื่อสร้างแรงจูงใจ 3 เรื่อง คืออะไร? อุปสรรค คืออะไร?

3.       ปัจจัยทางลบที่ทำให้ทุนแห่งความสุขของ TSU (สายสนับสนุน) ลดลงคืออะไร แยกระหว่างบุคคลและผลกระทบจากองค์กร มีข้อเสนอแนะเพื่อลดปัจจัยทางลบอย่างไร

4.       ปัจจัยทางบวกที่ทำให้ทุนแห่งความสุขของ TSU (สายสนับสนุน) สูงขึ้นคืออะไร แยกระหว่างบุคคลและผลกระทบจากองค์กร มีข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มปัจจัยทางบวกอย่างไร

5.       Passion คือ ส่วนหนึ่งที่กระทบทุนแห่งความสุข ยังมี Purpose และ Meaning อธิบายว่าปัจจัยอะไรช่วยให้ Passion – Purpose – Meaning ดีขึ้นใน TSU (แยกเป็นเรื่อง ๆ )

 

How to Develop Passion  and Happiness Capital at Work

          1. ก่อนทำอะไรให้ค้นหาตัวเองก่อนว่าตัวเองอยู่ตรงไหนในการเรียนรู้ ต้องการอะไรในชีวิตแล้วไปสู่ความเป็นเลิศ

          2. รักงานที่ทำอยู่และมีความคลั่งไคล้หรือไม่

          3. ระวังปัญหาที่อยู่ในกับดักที่ต้องทำตาม

          4. เราต้องมีฝีมือในการทำสิ่งที่ชอบด้วย

          5. อย่าให้ทุนแห่งความสุขเป็นอะไรที่สลับซับซ้อนคือ Turn Complexity into Simplicity

          6. เลือกประเด็นที่แตกต่าง เป็นความจริง และตรงประเด็น

          7. Happy at work กับ Happy in life ต้อง Compliment กัน

          8. การทำสิ่งที่รัก และมีความสามารถส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพ

          9. แนวคิดต่าง ๆ อาจต้องได้รับการทดสอบ วิเคราะห์หนังสือดี ๆ และนำไปสู่ในการสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน

          10. Passion ต้องมีความต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

          11. มีผลสะท้อนทางบวก

          12. ยกตัวอย่าง ดร.จีระ มี Passion ในการสร้างทุนมนุษย์ของประเทศไทย ต้องมี Human Capital ที่ดี

Happiness at work เป็นสิ่งที่อยู่ข้างใน ดังนั้นทุกคนจึงต้องมีเป้าหมาย

13. Passion คือส่วนหนึ่งของ Happiness Capital

ข้อสังเกต

  • การพูดเรื่องทุนแห่งความสุขต้องเน้น การนำไปปฏิบัติไม่ใช่นามธรรม   
  • ทุนแห่งความสุขต้อง Authentic คือเป็นของแท้ไม่ใช่จอมปลอม และอยู่อย่างยั่งยืน
  • Happiness Capital ไม่ใช่แนวคิดแบบก้อน ๆ จะต้องเน้นเปรียบเทียบจาก Happy มาเป็น Happier หรือ เปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ Relative Happiness Capital

                    4. ผมจะเน้นแค่ทุนทางความสุข เพื่อทำงานที่มีประสิทธิภาพของตัวเราเอง และองค์กรก่อนไม่ได้เน้นเรื่อง ครอบครัว หรือประเทศ แต่ก็จะเกี่ยวโยงกัน

                       ถ้าความสัมพันธ์ระหว่างที่บ้านกับที่ทำงานขัดแย้งกัน จะทำให้การทำงานไม่มีความสุข

          5.  วิธีการเรียน ไม่ใช่ตำราเชิงจิตวิทยา แต่ต้องเน้นความจริง 2 R’s คือ - Reality       มองความจริง - Relevance  ตรงประเด็น

                     6.  การมีทุนแห่งความสุข เป็นจุดเริ่มต้น คือ จำเป็น แต่เป็นสิ่งที่จะต้องไปเชื่อมโยงกับทุนอื่น ๆ เช่น มี Heart (Happiness) ต้องมี Head ปัญญา และต้องมี Execution ต้องทำให้สำเร็จ              คล้ายกับทฤษฎี Fact หรือ Feeling แต่การมี Happiness อย่างเดียวไม่พอ ต้องมี Strategy ต้องมี Data ด้วย จึงไปสู่ความสำเร็จ 

                     7. การเรียนรู้เรื่องทุนแห่งความสุขมีความสำคัญ..ที่มหาวิทยาลัย Harvard เริ่มหลักสูตรนี้ เมื่อ 1998 ปัจจุบัน เด็ก Harvard ทั้งมหาวิทยาลัย กว่า 20 %  ลงทะเบียนเรียน

                       ควรเน้นให้เด็กมีเป้าหมายและ Purpose ในการเรียน

          Concept: ทุนแห่งความสุข

(1) แนวคิดทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) เป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีทุนมนุษย์ (Human Capital)

          8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

          Human Capital      ทุนมนุษย์

          Intellectual Capital          ทุนทางปัญญา

          Ethical Capital      ทุนทางจริยธรรม

          Happiness Capital            ทุนแห่งความสุข

          Social Capital                 ทุนทางสังคม

          Sustainability Capital     ทุนแห่งความยั่งยืน

          Digital Capital                 ทุนทาง IT

Talented Capital             ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

          5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

          Creativity Capital           ทุนแห่งการสร้างสรรค์

          Knowledge Capital         ทุนทางความรู้

          Innovation Capital          ทุนทางนวัตกรรม

          Emotional Capital          ทุนทางอารมณ์

          Cultural  Capital            ทุนทางวัฒนธรรม

ในทฤษฎี 8K’s ของดร.จีระ Happiness Capital ได้มาจากตัวเองที่ทำงานมาก แต่ขาดความสุขในการทำงานจนกระทั่งช่วง 10 ปีที่แล้วจึงได้วิเคราะห์เรื่องทุนมนุษย์และทุนแห่ความสุขเป็นทุนที่สำคัญของทุกคน   

 

(2) ต้องแยกให้ออกระหว่าง “ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital)” กับ “Happy Workplace” ซึ่งในการสำรวจวรรณกรรม 95% เน้น Happy Workplace ซึ่งหมายความว่า Unit of Analysis จะเป็นองค์กร คือ CEO+HR สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุข แต่ Happiness Capital คือ ส่วนบุคคล (Individual) เกิดขึ้นเพราะชอบงาน มีความสุขที่ได้ทำงาน 

(3) เพื่อให้เกิด Outcome หรือ Impact ต่อองค์กร การมีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ผู้นำต้องทำให้เขามีบรรยากาศในการทำงานแบบ Happy Workplace ด้วย ก็จะเกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ ++”

แต่ก็ยังมีสถานการณ์แบบที่ 2 คือ มีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ในการทำงานแต่ไม่ใช่ Happy Workplace เกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ +-” ซึ่งก็จะทำให้ Impact ที่ได้น้อยลง

และสถานการณ์แบบที่ 3 คือไม่มีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ในการทำงานแต่องค์กรพยายามสร้าง Happy Workplace เกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ -+” ซึ่งก็ทำให้ Impact ที่ได้น้อยลงเช่นกัน

และสถานการณ์แบบสุดท้ายซึ่งแย่ที่สุด คือ ไม่มีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ในการทำงานและองค์กรก็ไม่สร้าง Happy Workplace เกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ --” ซึ่งก็ทำให้เกิด Impact ด้านลบมากมาย

  (4) ปัจจุบันมีการนำเอาแนวคิดของผมไปทำวิทยานิพนธ์และงานวิจัยมากขึ้น โดยให้ Human Capital เป็นตัวแปรตาม (Dependence Variable) ซึ่งต้องหาปัจจัยที่ทำให้ทุนแห่งความสุขสูงขึ้น เช่น ชอบงานที่ทำ รู้เป้าหมายของงาน รู้ความหมายของงาน  (ดูที่กฎ 11 ข้อของ ดร.จีระ)

   ซึ่งถ้าจะมีการวิจัยก็ต้องสำรวจ ทำ Questionnaires ขึ้นมา

 

Happiness Capital (Dr. Chira Hongladarom’s Model)

1.สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม  (Healthy)

2. ชอบงานที่ทำ (Passion)

3. รู้เป้าหมายของงาน (Purpose)

4. รู้ความหมายของงาน (Meaning)

5. มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ (Capability)

6. เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา  (Learning)

7. เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare)

8. ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว (Teamwork)

9. ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม  (Coaching)

10. ทำงานที่ท้าทาย (Challenge)

11. ทำงานที่มีคุณค่า  (Enrichment)

ดร.จีระได้เขียนแนวทางการสร้างทุนแห่งความสุข (แสดง 2 ตาราง)

       ตารางหนึ่งเป็นวิธีคิดจากประสบการณ์ของผมในช่วงเวลากว่า 30 ปี และอีกตารางหนึ่งท่านได้ปรับปรุงจากแนวคิดของDr.Timothy Sharp นักจิตวิทยาชาวออสเตรเลียที่สนใจเรื่องความสุข หรือ Happiness ผู้เขียนหนังสือ เรื่อง 100 Ways to Happiness. (A guide for busy people)

 

Happiness Capital (Sharp / Hongladarom’s Model)

1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

2. อย่าแบกงานที่หนักเกินไป

3. ศักยภาพในการถ่ายทอดในงาน

4. ทำงานในจุดแข็งของตัวเอง

5. มุ่งมั่นในงาน

6. ทำในสิ่งที่อยากทำ ไม่ใช่เพราะต้องทำ

7. อย่าทำงานเครียดและวิตกกังวล

8. บริหารภาระงานให้เหมาะกับตัวเอง

10. ใช้คำว่าขอบคุณกับลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน

11. สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุขร่วมกัน

Concept ทุนแห่งความสุข

ส่วนงานวิจัยอีกแนวหนึ่งก็จะทำให้ Happiness Capital เป็นตัวแปรอิสระ เพื่อวัด Outcome ขององค์กร

          ซึ่งเทรนด์ล่าสุด คือ การวัด 3 V ประกอบด้วย

  • Value added
  • Value Diversity

-           Value Creation

           ซึ่งในทางสถิติสิ่งที่ยากที่สุด คือ จะวัด Happiness Capital ได้อย่างไร? พบว่า ให้มีการ Rank ออกมาเป็นคะแนน 0 – 10 หรือ 0 – 5 แล้ว เอาค่าเฉลี่ยขององค์กร หรือ ตัวบุคคลมาวิเคราะห์ Productivity ว่ามีความสัมพันธ์ทางสถิติหรือไม่?

ทฤษฎี HRDS เพื่อการสร้างทุนแห่งความสุขและการทำงานร่วมกับผู้อื่น

  • Happiness
  • Sustainability

2.       Respect

3.       Dignity

ดร.จีระ ได้ไปอ่านหนังสือ Tal Ben-Shahar เขาทิ้งประเด็นไว้ดีมาก การทำงานที่เน้นทุนแห่งความสุขไว้ 3 - 4 เรื่อง 

  • ทุนความสุข เกิดจากงานที่ทำใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่
  • Job/Career/Calling

2.       งานที่ทำ อย่าให้ทำเป็นท่อน ๆ ให้เข้าใจ Process ตลอด

3.       งานที่ทำต้องมี Impact ต่อคนอื่น

4.       และสุดท้าย..การทำงานอย่างมีความสุขต้องถามตัวเองว่า เวลาทำงานต้องการเน้นเรื่องอะไร?

การทำงานอย่างมีความสุข คือ ต้อง Calling แปลว่า เราทำเพราะหัวใจเราแสวงหา เราจะทำสุดฝีมือ ทิ้งมรดกที่ดีไว้ แต่แค่เป็น Job หรืออาชีพเราก็จะไม่ประสบความสำเร็จ      

ทุนแห่งความสุข คือ สิ่งที่มนุษย์แต่ละคนควรจะมี ถ้ายังไม่มีก็จะไม่มีทุน ซึ่งต้องสร้างขึ้นมา วันนี้เราคงจะต้องมองไปอีก 2 เรื่อง คือ มีไปทำไม นอกจากพูดกว้างว่า Happiness Capital สร้าง Performance แค่นี้คงง่ายเกินไป

ดรงจีระ ได้ไปค้นหา web ของคุณ  Alexander Kjerulf ซึ่งมีตำแหน่งใหม่ CHO หรือ Chief Happiness Officer ซึ่งก็เป็นตำแหน่งที่น่าสนใจ ซึ่งเขียนหนังสือ Happy Hour is 9 to 5

คุณ Kjerulf เน้น 10 เรื่องว่า Happiness Capital ช่วยอะไรได้บ้าง?

ประโยชน์ 10 ข้อของการมีทุนแห่งความสุข

  • ช่วยทำให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ง่ายและได้ผลสูงสุด
  • ทำให้ตัดสินใจได้ดีและรอบคอบ อันนี้จริง เพราะถ้าคน IQ สูงแต่เครียดมักจะผิดพลาดเรื่องการตัดสินใจ

2.       ทำให้ตัวเองมี Creativity สูงขึ้น อันนี้ผมเห็นด้วย ผมชอบแนวคิดนี้ ถ้าเราไม่มีความสุขเราก็คิดอะไรไม่ออก แถมยังคิดแง่ลบด้วย

3.       ทำให้เราหาทางออกแทนที่จะบ่นว่าปัญหายากจัง

4.       มองโลกในแง่ดี (Optimism)

5.       มีพลัง (Energy) เพิ่มขึ้น

6.       ทำให้กระตุ้น/Motivate and Inspired ได้ง่ายกว่า

7.       ไม่ค่อยจะป่วย..เป็นโน่นเป็นนี่บ่อย ๆ

8.       สามารถเรียนรู้ได้เร็วและสนุก สร้าง Learning Culture ได้ดีกว่าคนที่ไม่มีความสุข

9.       มีความมั่นใจว่าจะกล้าทำอะไรนอกกรอบได้มากขึ้น โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีความผิดพลาด อันนี้จริงเพราะถ้าเรามีความกลัว (Fear) เราก็ไม่สำเร็จ ต้องมั่นใจว่ากล้าทำ

ล่าสุด.. ดร.จีระ ชอบหนังสือ เรื่อง How To Be Happy ของ Liggy Webb เปรียบเทียบกับตารางของ ดร.จีระ

ทุนแห่งความสุข มี 5 ข้อที่สำคัญ คือ

  • ต้องมีความมั่นใจในตัวเอง (Self Confidence)
  • ทำงานไป..แต่ก็พร้อมที่จะเรียนรู้ด้วย (Eager to learn from work)
  • มีทัศนคติที่เน้นความกตัญญู (Gratitude) ต่อผู้ร่วมงานและผู้บริหาร ต้องถามว่าฉันให้อะไรกับที่นี่บ้าง
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน (Healthy Relations) อย่าทำอะไรคนเดียว
  • แนวทาง 5 K’s ของผม คือ ใช้ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) เพื่อแก้ปัญหา อย่าใช้ความเครียดแก้ปัญหา

- ความสัมพันธ์ระหว่างสายสนับสนุนกับอาจารย์ต้องเต็มไปด้วยความเสมอภาค

- ต้องใช้ Mindfulness ต้องมีการควบคุมสติ การควบคุมสติได้ก็คืออารมณ์

สุดท้าย

Happiness Workers จำเป็นจะต้องอยู่ในบรรยากาศการบริหารจัดการให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุด

ดังนั้น ตัวละคร 3 กลุ่ม ต้องมีความสามารถและจะต้องทำงานร่วมกันกลุ่มแรก คือ CEO – ต้องเป็นคนที่มีความสุขด้วยไม่ใช่เป็น “Unhappy CEO” ก็คงไม่มีใครอยากทำงานด้วย แต่มี “Happy CEO” ก็ไม่พอต้องมี “Smart and Happy CEO” คือ รู้จักใช้ศักยภาพของเขาเหล่านั้นอย่างเต็มที่ เช่น

  • มอบหมายงานที่เพิ่มความสุข (ท้าทาย)
  • ลดการขัดแย้งในองค์กร
  • ดูแลวัฒนธรรมองค์กรให้ไปในทางสร้างให้พนักงานเป็นเลิศให้ได้

                        กลุ่มที่ 2 คือ HR นอกจาก Smart HR แล้วในองค์กรยังต้องมี Smart and Happy HR” บุคคลที่ทำงานกับ Happy People ในองค์กรก็ต้องรู้จัก “ทุนแห่งความสุข” ดี

                         กลุ่มสุดท้าย คือ Line Managers หรือ Non-HR ก็คงจะต้องเน้นความสามารถในการบริหารพนักงานให้เปลี่ยนจาก สุขน้อย เป็น สุขมาก” หรือ “มีความสุขแล้วได้สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างเต็มที่”

สรุป

                   คำว่า งาน หรือ Work ภาษา Hebrew แปลว่า Slave คนไทยส่วนมากจะเป็นทาสของงาน  อย่าให้งานมากำหนดชะตาชีวิตเรา  เราต้องกำหนดทางเลือกของอนาคต    

ทุกท่านยังมีอนาคตสดใสอยู่ขอให้กำลังใจ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

             เรื่องทุนแห่งความสุข มีเรื่องทฤษฎี 3 วงกลม ประกอบด้วย

             1. บริบทองค์กร

             2. ศักยภาพบุคลากร

             3. แรงจูงใจ

             ทั้ง 3 ส่วนต้องเชื่อมไปด้วยกัน บางครั้งเราต้องดูตัวเราให้สอดคล้องกับบริบทขององค์กรด้วย 3 วงกลมอธิบายได้จริง คือองค์กรดี แล้วเราดีหรือไม่

             1. ทำงานเสร็จตามเป้าหมายหรือไม่

             2. ทำได้ตามคุณภาพที่เหมาะสมหรือไม่

             3. เครื่องมือที่ทำให้ทำงานมีอะไรบ้าง

             - ทำงานแล้วมียุทธศาสตร์คือ Direction

             - เรียนรู้ยุทธศาสตร์ขององค์กรจะรู้ยุทธวิธี

             - ต้องทำให้สอดคล้องกัน

             - เราต้องเร่ง Speed ในอัตราที่เหมาะสม ทราบว่าเมื่อไหร่ต้องช้า เมื่อไหร่เร็ว และเมื่อไหร่ต้องแสดง

             - ใช้อุปกรณ์เสริม

             - ใช้คนเสริม และกำลังเสริม  อย่าประเมินคนผิด ใช้ให้ถูกคน

             - ต้องมีเทคโนโลยีที่เหมาะสม

             - มีความสุขกับที่บ้านและครอบครัว

สรุปคือ     ถ้าทั้ง 3 วงกลมทับซ้อนกันมากเท่าไหร่ องค์กรจะดีมากขึ้น

    การเรียนรู้ร่วมกันจะเหมือนเป็น Learning Community  เราต้องหา Meaning ให้เจอว่าทำเพื่ออะไร ให้เลือกทำในสิ่งที่เราเก่ง ที่เราดี เป้าหมายอะไร แล้ว Passion จะตามมา

 

Workshop

1.  วิเคราะห์ข้อแตกต่างระหว่างทุนแห่งความสุข (Happy at work) กับ Happy Workplace ในบริบทที่แท้จริงของ TSU ระดับผู้ปฏิบัติการ (8K’s  5K’s)

2.  ถ้าจะพัฒนาทุนแห่งความสุข (ปลูก) ต้องทำอะไร 3 อย่างที่สำคัญ และถ้าจะพัฒนา Happy workplace เพื่อสร้างแรงจูงใจ 3 เรื่อง คืออะไร? อุปสรรค คืออะไร?

3.  ปัจจัยทางลบที่ทำให้ทุนแห่งความสุขของ TSU (สายสนับสนุน) ลดลงคืออะไร แยกระหว่างบุคคลและผลกระทบจากองค์กร มีข้อเสนอแนะเพื่อลดปัจจัยทางลบอย่างไร

4.  ปัจจัยทางบวกที่ทำให้ทุนแห่งความสุขของ TSU (สายสนับสนุน) สูงขึ้นคืออะไร แยกระหว่างบุคคลและผลกระทบจากองค์กร มีข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มปัจจัยทางบวกอย่างไร

5.  Passion คือ ส่วนหนึ่งที่กระทบทุนแห่งความสุข ยังมี Purpose และ Meaning อธิบายว่าปัจจัยอะไรช่วยให้ Passion – Purpose – Meaning ดีขึ้นใน TSU (แยกเป็นเรื่อง ๆ )


กลุ่มที่ 2 ข้อ 1.  วิเคราะห์ข้อแตกต่างระหว่างทุนแห่งความสุข (Happy at work) กับ Happy Workplace ในบริบทที่แท้จริงของ TSU ระดับผู้ปฏิบัติการ            

             แบ่งเป็น 2 ด้านคือ    

             Happy at work เป็นส่วนของ ตัวบุคคลของเราเอง

             - ฝึกการทำงานทั้งในเรื่องกายและใจเพราะมีความสำคัญทั้งคู่

             - ความชอบและความถนัดในงานที่เราทำ และการมอบหมายงานที่เหมาะสม เราต้องชอบกับงานที่มอบหมายมา และถ้าไม่ถนัดในวันนี้จะเชื่อว่าสามารถทำให้ถนัดได้ในวันข้างหน้า เราต้องรู้เป้าหมายถึงจะเกิดได้ ให้ผู้บริหารได้กำหนดได้ชัดเจนว่างานคืออะไร

             - การเห็นค่าในงานที่เราทำ ยิ่งทำงานเยอะจะรู้สึกภูมิใจในตัวเราเอง

             - การเป็นส่วนหนึ่งของทีม ต้องพยายามคิดว่าในกลุ่มมีใครบ้าง เราต้องทำงานให้ได้ ปรับทัศนคติและรับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคนอื่น

             - รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต เชื่อว่าสิ่งไม่รู้ในวันนี้จะเรียนรู้ในวันข้างหน้าได้

             - ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน การทำงานร่วมกับคนอื่น

             - ความเชี่ยวชาญในงานที่ทำ เช่นเป็นตำแหน่งชำนาญการ เมื่อสำเร็จจะทำให้มีความสุข มีความสุขกับสิ่งที่ทำ

             - ความมุ่งมั่น ตั้งใจในการทำงาน ขั้นสุดท้ายจะได้เรื่องขั้นเงินเดือน การเป็นพนักงานประจำ

             Happy Workplace เป็นส่วนของตัวมหาวิทยาลัยที่สร้างความสุข มีนโยบายที่เอื้อต่อการทำงานของเราอย่างไร

             - มหาวิทยาลัยมีพื้นที่ออกกำลังกายมาก มีฟิตเนส มีสวัสดิการด้านสุขภาพบ่อย

             - ผู้บริหารเห็นคุณค่าในการทำงานของบุคลากร

             - สนับสนุนให้ทำงานเป็นทีม มหาวิทยาลัยเห็นความสำคัญ ผู้บริหารให้นโยบายมา

             - มหาวิทยาลัยส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ มีการฝึกให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างประเทศ มีการแลกเปลี่ยนกัน

             - สร้างความเชื่อมั่นว่าความก้าวหน้านี้จะเกิดได้

             - มหาวิทยาลัยมีเส้นทางการเติบโตตรงนี้ได้

 

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

                   เริ่มจากความหมาย ไปสู่ Purpose แล้วไปสร้าง Passion

            

กลุ่มที่ 5 ข้อ 2.  ถ้าจะพัฒนาทุนแห่งความสุข (ปลูก) ต้องทำอะไร 3 อย่างที่สำคัญ และถ้าจะพัฒนา Happy workplace เพื่อสร้างแรงจูงใจ 3 เรื่อง คืออะไร? อุปสรรค คืออะไร?

                   ทุนแห่งความสุขทั้ง 11 ข้อ สำคัญหมด ก่อนเริ่ม Meaning ได้ ตัว Healthy น่าจะเป็นสิ่งที่พัฒนาก่อน ถ้ามีสุขภาพกายดี สุขภาพใจดีจะส่งผลที่พร้อมในการทำงานด้วย การพัฒนาสู่ Happy Workplace มีช่องทางและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความพร้อมในด้านสุขภาพกาย และสุขภาพใจ เช่นการสร้างจิตวิญญาณ การทำบุญร่วมกัน

                   สุขภาพดีแล้วจะมีความพร้อม จะทำให้ตัวเองมีความรักในงานทำได้

    มหาวิทยาลัยจะยกย่องชมเชย มีการสร้างการตอบแทนต่าง ๆ  สร้างให้เกิด Passion ว่ามหาวิทยาลัยรักเรา

                   Purpose เราต้องรู้เป้าหมายองค์กรคืออะไรถึงออกไปสู่เป้าหมายได้ ต้องพัฒนาความรู้ ให้มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญก่อน มีเครื่องมือในการบรรลุไปสู่เป้าหมายนั้น ขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยไปสู่ความยั่งยืน  เป้าหมายจะเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยต้องอยู่ได้ด้วยความยั่งยืน

                   อุปสรรค คืองานที่ได้รับมอบหมาย ไม่ตรงตามความสามารถของตนเอง อาจเป็นการทำเพราะหน้าที่ แต่ไม่ได้เกิดจากความกระหายในการอยากทำ บุคลากรไม่ได้แสดงศักยภาพมากนัก ศักยภาพมีจำกัด

                  

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

                   ปลูกเก็บเกี่ยวไม่พอ ต้องเอาชนะอุปสรรคด้วย ชนะไม่ได้เกิดทันที แต่เกิดจาก Execution ต้องต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง

 

กลุ่มที่ 4 ข้อ 3.  ปัจจัยทางลบที่ทำให้ทุนแห่งความสุขของ TSU (สายสนับสนุน) ลดลงคืออะไร แยกระหว่างบุคคลและผลกระทบจากองค์กร มีข้อเสนอแนะเพื่อลดปัจจัยทางลบอย่างไร

                   ความร่วมมือไม่ได้เปิดใจให้บุคลากรทำร่วมกัน และเมื่อความคิดเห็นตกผลึกค่อยหยิบยื่นความคิดเห็นมาวิเคราะห์ให้เกิดการสร้างสรรค์ในการทำงาน

                   ในส่วนหลายหน่วยงานได้นำระบบพี่เลี้ยงมาช่วย อยากให้มีการจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน เพื่อสร้างความผูกพัก ดูท่าทีรุ่นพี่ต่อรุ่นน้องว่ามีทัศนคติอย่างไรในชีวิตประจำวัน

                   ด้านความท้าทายการทำงานเปิดโอกาสให้แสดงผลงานอย่างเต็มที่ ความคิดเห็น และความคิดสร้างสรรค์เกิดจากการเปิดโอกาสให้แสดงออกตามขีดความสามารถของตนเอง

                   มีการสร้างความสัมพันธ์ และความคุ้นเคยคนที่ไว้วางใจ

                   การได้รับการยอมรับจากบุคลากรสายวิชาการ ถ้าเป็นผู้บริหารเราจะได้รับความร่วมมืออยู่ มีการทำความเข้าใจและให้ความสำคัญต่อบทบาทของตนเอง

                   มีการสร้างให้คนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ส่งเสริมให้ฝึกอบรมในสายความก้าวหน้าที่เขารับผิดชอบ

                   การประเมินผลงาน น่าจะมีการเพิ่มสวัสดิการ มีการอบรมที่ชัดเจน มีการเปิดภาพกว้างให้คนได้แสดงความคิดเห็นสิ่งที่ต้องการ

                   เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น

                   ประสบการเรียนรู้ในสายวิชาชีพที่ต่อเนื่อง

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

                   การอยู่รอด แก้ปัญหาให้ดีขึ้นอยู่ที่ตัวเราเองก็ได้ การพัฒนา Happy at work เราจะพัฒนาตัวเราเองอย่างไร ต้องสร้างให้แก่นอยู่ที่เรา แก่นไม่ได้อยู่ที่คนอื่น การเป็น Happy at Work จะช่วยค้นหาตัวเองอย่างไร

 

 

กลุ่มที่ 3 ข้อ 4.  ปัจจัยทางบวกที่ทำให้ทุนแห่งความสุขของ TSU (สายสนับสนุน) สูงขึ้นคืออะไร แยกระหว่างบุคคลและผลกระทบจากองค์กร มีข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มปัจจัยทางบวกอย่างไร

                   1. ด้วยบุคลิก อารมณ์ ศักยภาพการทำงาน ได้ความสุขในการพัฒนาตนเอง โครงการนี้เป็นสิ่งที่เลือกได้              

                   2. การได้รับโอกาสของหน่วยงานแต่ละองค์กร มีการจัดงบประมาณให้ และดูว่าเราอยากจะวิเคราะห์อะไร เพื่อการพัฒนาเพิ่มเติม

                   3. การเป็นส่วนหนึ่งของทีม การได้รับการยกย่องจะทำให้เห็นคุณค่าในตนเอง ช่วยให้ทำงานก้าวหน้าขึ้นไป

                   4. แรงจูงใจในการทำงาน เชื่อได้ว่าทุกคนมีแรงจูงใจ

                   5. มีความรักในการทำงาน

                   6. มีเป้าหมายในการทำงาน

                   7. ความก้าวหน้าในสายงาน มีการกำหนดกรอบที่เข้าสู่ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ จะทำให้ผลที่เกิดขึ้นมีความรักและพัฒนาขึ้นไป

ข้อเสนอแนะเพิ่มปัจจัยทางบวก

                   - การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

                   - วิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กร

                   - การเสริมแรงจูงใจ

                   - โครงสร้างปฏิบัติงานชัดเจน ผู้บังคับบัญชามีวิสัยทัศน์ที่ดี ฝ่ายปฏิบัติเสริมแรงและชี้นำด้วยกัน มีแรงกระตุ้นในการทำงาน

                   - สวัสดิการต้องครอบคลุมพนักงานทุกคน และสามารถซื้อประกันเสริมได้

                   - การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อการพัฒนา

                   - ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

                   เรื่องที่อยู่อาศัยน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญ

 

กลุ่มที่ 1 ข้อ 5.  Passion คือ ส่วนหนึ่งที่กระทบทุนแห่งความสุข ยังมี Purpose และ Meaning อธิบายว่าปัจจัยอะไรช่วยให้ Passion – Purpose – Meaning ดีขึ้นใน TSU (แยกเป็นเรื่อง ๆ )

                   การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความสุข เป้าหมายคือ

1. บุคลากรมีดัชนีความสุขไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ มีการกระตุ้น มีความท้าทายและเป้าหมายสู่ความสำเร็จ ต้องสุขที่จะทำงานให้เป้าหมาย PSU สำเร็จ ทุกคนมีความร่วมมือสร้างพลังในองค์กรได้

                   การวัดความสำเร็จจากประชาชน

2.การสร้างความมั่นคงทางการเงิน

                   ทำให้มหาวิทยาลัยมีรายได้

                   Purpose คือการมีรายได้เพิ่มขึ้น เราอยู่รอดได้เพราะองค์กรมีพลัง

                   Meaning คือมีงบประมาณ มีทรัพยากร การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ความเป็นนานาชาติ และการพัฒนาหลักสูตร มีแบรนด์ที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

                   มีความชอบ ความพร้อม ทัศนคติที่ดี มุ่งมุ่นตั้งใจต่อบุคคล ต้องมีตัวช่วยให้มหาวิทยาลัยอยู่รอดด้วยลำแข้งตัวเอง

                   การสร้างทัศนคติที่ดี สร้างความมั่นคงทางการเงิน ทำอะไรเพื่อมหาวิทยาลัยให้อะไรกับมหาวิทยาลัย ใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า อะไรที่ช่วยเหลือได้ให้นึกถึงองค์กรเป็นหลัก สร้างหลักสูตรที่เกื้อหนุนต่อผู้มาเรียนในมหาวิทยาลัย ออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับลูกค้าที่เข้ามา เราต้องตระหนักช่วยองค์กรได้ทุกอย่างที่มาจากเรา

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                   เราต้องมอง Passion Purpose Meaning ว่าเป็นอย่างไร

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

                   ท่านมองเรื่องการทำงานมีความสุขระดับหนึ่ง มีการพูดในเรื่องความเข้าใจ หาอะไรที่ทำร่วมกันเป็นผลงานของกลุ่มนี้ ครั้งแรกอาจมี Meaning ก่อน


วิชาที่ 7 Learning Forum & Workshop

หัวข้อ   ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

โดย     อาจารย์เอื้อมพร ปัญญาใส

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ARIP Public Company Limited 

 

ข้อมูลและระบบสารสนเทศ

          ข้อมูล คือข้อเท็จจริงดิบ ๆ เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก ถ้าข้อมูลที่เข้ามาดีจะเก็บได้ถูกต้อง

          สารสนเทศคือ การนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อใช้ต่อยอด

          ความรู้คือ การนำข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์และสังเคราะห์ได้ เป็นการนำข้อมูลมาประมวลผล

          ปัญญา คือการประมวลผล

ทางไอที ในการมองเรื่องการลงทุนสารสนเทศ จะแบ่งประเภทลูกค้ารายใหญ่ รายเล็ก รายกลาง

Consumer ทั่วไป จะมองว่าองค์กรใหญ่หรือไม่ใหญ่ บริษัทที่มีพนักงานน้อย ใช้ในการปฏิบัติงาน

ไอทีในแบงค์ถือว่าเป็นลูกค้ารายใหญ่ทั้งหมด

ประเภทของระบบสารสนเทศ (Information System)

          EIS  - รวบรวม วิเคราะห์ ประมวลผลสารสนเทศ นำไปใช้ในการวางกลยุทธ์ นโยบาย

          DSS – ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร สามารถวิเคราะห์ทางเลือกที่เป็นไปได้

                 - แบบจำลองเพื่อช่วยในการตัดสินใจ

MIS  - ระบบสารสนเทศที่สามารถสร้างสารสนเทศที่ต้องการตามหลักการด้านการจัดการ คณิตศาสตร์ สถิติ เพื่อมาจัดทำรายงานลักษณะต่าง ๆ เพื่อการวางแผนและควบคุมการดำเนินงาน

          - ได้มาจากฐานข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งจาก TPS

TPS – ระบบช่วยจัดเก็บ และประมวลผลข้อมูล (Data Processing) ที่เกิดจากการทำธุรกรรม หรือการปฏิบัติงานในแต่ละวันขององค์กร เช่น ระบบลงทะเบียน การออกใบเสร็จรับเงิน

ES –  ระบบผู้เชี่ยวชาญ เลียนแบบวิธีการคิดและแก้ปัญหาจากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ

    - บางครั้งอาจใช้ร่วมกับเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent :AI)

OAS – ระบบที่สนับสนุนการปฏิบัติงานในสำนักงาน เช่น อีเมล์ ประชุมทางไกล การจัดทำเอกสารต่าง ๆ

เป็นตัวประเมินผลเพื่อตัดสินใจได้ เพื่อตัดสินใจและวางแผนในอนาคตว่าใน Area มีแผนต้องตัดสินใจมากขึ้น ข้อมูลสารสนเทศจะให้ผู้บริหารช่วยตัดสินใจได้

 

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

          1. ขั้นตอนการทำงาน (Work Process)

จะมีการวิเคราะห์ Process ไหนที่เข้ามาแทนที่

2. ข้อมูล

3. ฮาร์ดแวร์

4. ซอฟต์แวร์

5. บุคลากร

6. เครือข่าย

สารสนเทศที่ดี

          1. มีความถูกต้อง

          2. มีความครบถ้วนสมบูรณ์

          3. มีความเชื่อถือได้

          4. ตรงประเด็นตามความต้องการ

          5. มีความง่าย

          6. .มีความคุ้มค่า

          7. มีความยืดหยุ่น

          8. ตรวจสอบได้

          คนที่สามารถใช้ IT สารสนเทศได้เร็วทันคู่แข่งขันจะมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน

บทบาทของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ MIS

  • กำหนดสารสนเทศที่ต้องการ (What) โดยพิจารณาจากลักษณะงานหรือหน้าที่ของหน่วยงาน
  • พิจารณาเวลา (When) ที่ต้องใช้สารสนเทศนั้น เพื่อที่จะกำหนดเวลาในการรวบรวมประมวล และจัดทารายงานให้สอดคล้องกับเวลาที่ต้องการ
  • ทราบว่าจะหาสารสนเทศได้ที่ไหน (Where) จะเป็นแหล่งข้อมูลจากภายในหน่วยงานหรือ ภายนอก
  • เข้าใจว่าทำไม (Why) จึงต้องมีสารสนเทศนั้น การเก็บข้อมูลโดยไม่ทราบถึงเหตุผลและความจาเป็นอาจนาไปสู่การเก็บข้อมูลผิดประเภท หรือการมีข้อมูลมากเกินไปและไม่ได้นามาใช้
  • ทราบว่าผู้ใช้ (For whom) สารสนเทศคือใคร เพื่อจะได้จัดทารูปแบบในการนาเสนอให้เหมาะสม
  • จะใช้เครื่องมืออะไร (How) ในการเก็บรวบรวม ประมวล รักษาสารสนเทศ
  • สามารถเข้าใจความหมายของสารสนเทศที่หามาได้
  • สามารถดำเนินการหรือปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม โดยอาศัยการพิจารณาจากสารสนเทศที่มีอยู่หรือที่ได้มา
  • ใช้สารสนเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมายและอย่างมีจริยธรรม

 

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา

  • ระบบบริหารงานทั่วไป
  • ระบบงบประมาณ
  • ระบบนักศึกษา
  • ระบบทะเบียน
  • ระบบห้องสมุด
  • ระบบบริหารงานบุคลากร
  • ระบบทะเบียนพัสดุ
  • ระบบจัดซื้อจัดจ้าง
  • ระบบสัญญาและเงินทุน
  • ระบบศิษย์เก่า

ระบบที่มีอยู่นั้นมีความเหมาะสมแค่ไหน

Disruptive Technology

          เทคโนโลยีเปลี่ยนวิธีการคิด วิธีการทำงานทั้งหมด

Digital Economy

          เปลี่ยนวิธีการทำงานทั้งหมด เทคโนโลยีเข้ามามีผลหมด การปรับเปลี่ยนรูปแบบโดยใช้ Digital เข้ามาช่วย

The Fourth Industrial Revolution

อาทิ รถยนต์ไร้คนขับ

Digital Transformation

          1. Engage your customer สร้างความผูกพันลูกค้ามากขึ้น

          2. Transform your products / Services นำ Digital มาเปลี่ยนวิธีการทำงาน

          3. Empower your employees เลือก Digital ทำงานให้เหมาะสม

          4. Optimize your operationsเพิ่มศักยภาพ

          จะเลือกอันไหนขึ้นอยู่กับว่าอันไหนเป็นอุปสรรค หรือเป็นปัญหาที่อยากแก้ไขก่อน ต้องเลือกการ Balance ในการนำ Digital มาใช้ และสิ่งที่สำคัญ

Technology Trend

•Cloud Computing การทางานร่วมกันของเซิร์ฟเวอร์จานวนมาก

•Big Data and Analytics การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์

•Social Networking : Video/Streaminh/ Live Content

•Internet of Things (IoT) / M2M การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

•Software Defined Networking

•Mobile Payment/ Cashless

•Cyber Security การพัฒนาระบบความปลอดภัยในโลกไซเบอร์

•AI/ Machine Learning

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ปัจจุบันคนจะกลัวข้อมูลส่วนตัวไปสู่สาธารณะได้ จะมีการป้องกันอะไรบ้าง

          ตอบ เรื่องส่วนบุคคล และความปลอดภัยของระบบในองค์กร

          ส่วนบุคคล พยายามหลีกเลียง Public Wifi  , การใช้ชีวิตประจำวันต้องมีนโยบายที่ชัด ต้องมีเรื่อง Security Policy

2. อุปสรรคการนำ IT มาใช้ในระบบราชการ

ตอบ ในมุมสารสนเทศ สิ่งที่อยากให้ดูแลคือเรื่องความมั่นคง ความปลอดภัย ซึ่งมีความสำคัญมาก ต้องมีระบบชั้นในการปกป้องข้อมูล

3. ในวงการศึกษาจะมีรูปแบบใดบ้าง การใช้ลายเซ็นสแกนในระบบ IT เอกสารสำคัญมีการปลอมแปลงได้หรือไม่ และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรได้บ้าง การนำลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์เรื่องการเงินจำเป็นต้องใช้ Digital Sign หรือไม่

          ตอบ จะมีวิธีการทำแล้วนำมาใส่ ซึ่งในเมืองไทยจะมี Vendor ที่ทำได้ ซึ่ง Digital Sign อาจไม่ใช่ลายเซ็นเหมือนก็ได้ ส่วนใหญ่เป็นการส่ง Contract ระหว่างกัน

          เรื่อง Digital Sign อาจไม่ต้อง Sign ก็ได้ ระบบที่ทำจะเรียกว่าเป็นระบบ Workflow Process มีคลังข้อมูลว่าลูกค้าแต่ละราย อีเมลล์คนที่คุยกับเรา ใบกำกับภาษีเป็นอย่างไร  และมีการกำหนดวงเงินที่ Workflow ได้ถูกออกแบบไว้ว่าใครจะอนุมัติในขั้นตอนไหน บางครั้งอาจไม่มีลายเซ็น แต่ได้รับอนุมัติ

4. การเก็บข้อมูลที่มีฐานขนาดใหญ่ใช้วิธีการอย่างไร และข้อจำกัดของการใช้ Cloud และการควบคุม

          ตอบ มี Data Center ที่เป็นตัว Server ขนาดใหญ่ แล้วใช้วิธีการ Rotate กัน ใช้ Big Data ในการจัดการข้อมูล

          Cloud มี 2 แบบ คือ แบบ Public และ Private มีเรื่อง Certificate ในองค์กรที่จะ Move บางอย่างขึ้น Cloud ต้องมีบางอย่างที่เป็น Private Cloud ไม่สามารถเป็น Public Cloud ทั้งหมด เนื่องจากไม่รู้ว่า Data Center อยู่ที่ใคร กฎของแบงค์ชาติต้องบอกได้ว่าข้อมูลเก็บที่ไหน แต่ละแบงค์ต้องทำเป็น Private Cloud แต่ส่วนใหญ่ Data Center ไม่ใกล้ประเทศไทย ใกล้สุดคือสิงคโปร์

5. มีกระบวนการในการพัฒนาคนให้ยอมรับในเรื่องความปลอดภัยได้อย่างไร

          ตอบ ยกตัวอย่างเว็บไซด์ที่ถูกเจาะเป็นอันดับ 1 คือ FBI คือมีความพยายามทั้งสำเร็จและไม่สำเร็จ ตัวรับประกันอาจไม่มี แต่สิ่งที่ทำได้ต้องมีวินัย ในการควบคุมและจัดการ เช่น ตัวไวรัส Wanna Cries ที่ต้องการแฮกซ์ข้อมูล บุคลากรต้องมีความรู้ และคนที่อยู่ในตำแหน่งต้องมี Security ในการล็อกข้อมูล

         

 

Workshop

1. เปรียบเทียบ Digital  Transformation และ Digital Disruption พร้อมยกตัวอย่าง

2. Digital Transformation ในบริบทของการบริการทางการศึกษา

3. การปรับตัวของมหาวิทยาลัยในยุค 4.0

4. การใช้ Digital Marketing ในกิจการของมหาวิทยาลัย

5. บุคลากรของมหาวิทยาลัยต้องปรับตัวอย่างไร

 

กลุ่มที่ 5 . บุคลากรของมหาวิทยาลัยต้องปรับตัวอย่างไร

  • ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงว่าจะมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามา
  • ปรับทัศนคติ เริ่มเรียนรู้
  • ผู้บริหารมีส่วนสำคัญในการเรียนรู้สู่ภาคปฏิบัติ ต้องมีสิ่งที่สนับสนุนตรงนี้
  • การใช้ Social Media ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา ต้องระมัดระวัง และวิเคราะห์กระบวนการแต่ละขั้นตอนว่ามี Digital อะไรช่วยอำนวยความสะดวกบ้าง
    • การขับเคลื่อนการทำงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้เสถียรเพื่อก้าวสู่ Internet of thing
    • การพัฒนาระบบต่าง ๆ เพื่อลดขั้นตอนปฏิบัติงาน
    • การพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้ก้าวทันเทคโนโลยี

 

กลุ่มที่ 4. การใช้ Digital Marketing ในกิจการของมหาวิทยาลัย

ปัจจุบันใช้ระบบออนไลน์ การชำระค่าลงทะเบียนจ่ายผ่านธนาคาร การกู้ยืมเงิน การบริหารจัดการหอพัก การลงทะเบียนออนไลน์  การประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ

          อุปสรรคคือระบบอินเตอร์เน็ตไม่รองรับการใช้งานพร้อมกัน ระบบไม่เสถียร ตอบสนองได้ไม่ครอบคลุม ไม่เข้าใจระบบ ไม่มี Wifi และ Low Technology ไม่สามารถปรับตัวให้นำมาใช้ได้

อาจารย์เอื้อมพร ปัญญาใส

พฤติกรรมต้องออกแบบสถานศึกษาให้รองรับกับระบบได้

 

กลุ่มที่ 2. Digital Transformation ในบริบทของการบริการทางการศึกษา

          ระบบงานทะเบียนที่แต่ก่อนเด็กต้องเข้าแถวยาวเหยียดเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เป็นการให้บริการงานเอกสารเป็น Digital มากขึ้น

 

กลุ่มที่ 3. การปรับตัวของมหาวิทยาลัยในยุค 4.0

กลุ่มที่ 1. เปรียบเทียบ Digital  Transformation และ Digital Disruption พร้อมยกตัวอย่าง

Digital Disruption คือการนำเทคโนโลยีมาป่วนการทำงานให้เปลี่ยนแปลงไป เช่นระบบการเบิกจ่ายของประเทศเพื่อให้รู้ผ่านระบบออนไลน์มีผลต่อมหาวิทยาลัย Mobile Banking จะมีการปรับกระบวนการในการป่วนการชำระเงินของผู้ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งแค่ Log in ผ่านมือถือก็ใช้งานได้

          Digital Transformation ทำให้การติดต่อสื่อสารดีขึ้น กระบวนการทำงานดีขึ้น ติดต่อกับลูกค้าดีขึ้น เช่นการเรียนการสอนนมหาวิทยาลัย ให้ผู้เรียนเข้าใจมากขึ้น การชำระเงินออนไลน์ไม่ต้องเข้าในมหาวิทยาลัย

การใช้ E-Document ในมหาวิทยาลัย ลดกระดาษ ลดการสูญหายของเอกสาร การพัฒนางานผ่านระบบสารสนเทศมากขึ้น

 

โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน

.. สร้างพลังในการขับเคลื่อนความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย

สรุปการบรรยาย

วันที่ 21 กรกฎาคม 2560

ณ ชั้น 2 สำนักห้องสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ

(สรุปบรรยายโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

 

วิชาที่ 8

หัวข้อ   การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม และกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน

โดย     ดร.พยัต วุฒิรงค์

       ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนานวัตกรรมแห่งเอเชีย

ทำอย่างไรให้ที่นี่เป็นองค์กรนวัตกรรมได้

          การนำเอางานวิจัยทั้งหมดในมหาวิทยาลัยที่ขึ้นหิ้งซึ่งมีประมาณ 90 % ออกมาสู่เชิงอุตสาหกรรมให้ได้

 

โลกปัจจุบัน : นวัตกรรมคืออะไร และไม่ทำได้หรือไม่

Innovation + Management

          เกิดจาก Value + New + Implementation

          เกิดจาก New Trend + VUCA World 

          VUCA World (Volatile , Uncertain, Complex, Ambiguous) หมายถึง รูปที่ถ่ายหรือตัวจริงไม่เหมือนกัน สิ่งที่พูดไม่ใช่สิ่งที่เป็น แล้วเปลี่ยนใจได้ง่าย

 

สิ่งที่เราต้องทำ มี 3 อย่างคือ

1. Value – เรามีคุณค่าอะไรที่ทำให้เขาเลือกเรา

ยกตัวอย่างที่

ม.ศรีปทุม ดึงคนที่เป็นผู้บริหารมาเรียน Short Course  ได้เขียนหลักสูตร โดยเชิญเจ้าของนามปากกาหนุ่มเมืองจันท์ ที่เขียนหนังสือ ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ร่วมกับผู้บริหารจาก DTAC

ม.หอการค้า จับกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จับมือกับต่างประเทศ จัดหลักสูตรแปลก ๆ ดึงผู้บริหารของสภาหอการค้าเรียนทั้งหมด

ม.กรุงเทพ ดึงประเด็นที่เรียนที่สามารถทำทุกอย่างได้

ม.รังสิต ดึงประเด็นที่จบจาก ม.รังสิตต้องทำงานได้จริง เขียน Business Plan คือ เด็กที่จบมาต้องขายของได้ ไปดีลกับ Future Park รังสิต ให้ขายของได้

2. New – Value คุณค่าที่ทำนั้นใหม่หรือไม่

          ภาพรวมขององค์กรมีอะไรที่แตกต่าง

          New Trend คือ นักศึกษาหรือ คนจะเป็นแบบนั้น มีการดึงคนจากมหาวิทยาลัยนี้ มามหาวิทยาลัยนี้

3. Implement คุณค่าที่แตกต่างและใหม่สามารถ Implement ได้จริงหรือไม่

          การทำ Value หรือ New ต้อง Implement ให้ได้ ต้องสามารถ Commit ได้ว่าจะImplement อะไร

 

          ในโลกปัจจุบันสามารถมีการเขียนข้อมูลและฟ้องร้องได้ เด็กสามารถ Complain ได้ สิ่งที่เด็กสมัยนี้ต้องการคือ ออกไปแล้วทำงานได้

          สิ่งที่ได้จากการเรียนการสอน  คือ ได้ทำงานอะไร  สิ่งที่ต้องการได้จาก Support คือ ได้ตามความคาดหวังของเขาคือเร็ว และทันที สามารถ Approve ได้เลย มหาวิทยาลัยไม่ต้องหน่วยงานการเรียนการสอนอย่างเดียว เพราะปัจจุบันความรู้ในอินเตอร์เน็ตมากกว่าอาจารย์แล้ว แต่ที่อยากเจออาจารย์เพราะต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์

          สรุป การเรียนการสอนต้องเปลี่ยนไป การสนับสนุนต้องเปลี่ยนไป

 

Game Changing

ตัวอย่างที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของสายการบิน Low Cost  เกิดขี้นจากแนวคิดของ Air Asia ที่บอกว่าใคร ๆ ก็บินได้

- ถ้าจะทำให้ราคาเครื่องบินลดลง สิ่งที่ทำมี 2 ด้านคือ 1. ทำให้รายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งการลดราคาอาจทำให้รายได้ลดลง  2. การลดราคา โดยปรับกระบวนการภายในทั้งหมดให้ลดต้นทุนให้ได้ เช่น เวลาที่จอดเครื่องบินเสียค่า Land เยอะ ดังนั้น ต้องขนคน ขนอาหาร เติมน้ำมันให้เร็ว หมายถึงต้องปรับกระบวนการ Support ทั้งหมด  ดังนั้นจึงปรับคือ ถ้าไม่ให้ขนของแล้วตัดราคาลง จะยอมหรือไม่

          มหาวิทยาลัยในอนาคตจะเป็นอย่างไร จะแตกต่างจากหน่วยงานอื่นได้อย่างไร ทำไมบางหน่วยงาน Support คนชมและแตกต่างกัน  เนื่องจากวิธีคิดของการบริหารแตกต่างกัน แต่ยังอยู่ในระเบียบ หมายถึงนวัตกรรมถูกแพร่ไปในทุกที่ที่ทำได้

          สรุปคือ หน่วยงานเราจะทำอะไร ทำอย่างไรให้ระบบ Support ทำงานเร็วขึ้น ดีขึ้น แล้วคน Happy มากขึ้น ไม่ใช่ทำซ้ำแล้วไม่จบ

          1. มีเป้าหมายชัดเจนว่าองค์กรต้องการอะไร แบบไหน

          2. ปรับกระบวนการภายใน มี 2 ส่วน คือ 1. ทำให้รายได้เพิ่มขึ้น 2. มีความท้าทายต้องปรับกระบวนการทั้งหมดให้คนมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างที่ 2 เรื่องมือถือ

          ในอนาคต เรื่องอินเตอร์เน็ตในมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งสำคัญ การเรียนการสอนทั้งหมดจะเป็นเทคโนโลยี ยกตัวอย่าง ไปรษณีย์ไทย มีโฆษณาจาก Line man คือ ถ้ามีคนส่งของทางไปรษณีย์ ถ้าไม่เกิน 5 กล่องจะมารับ และส่งให้ คิดค่าใช้จ่ายประมาณหนึ่ง เป็นระบบที่มีคนมารับแต่ค่าใช้จ่ายเท่าเดิม

          ไปรษณีย์ไทยได้ตั้งเครื่องอัตโนมัติโดยการให้พิมพ์ชื่อที่อยู่ผู้รับ เพื่อใช้ในการรับของที่ไม่สามารถไปได้กับเครื่องบินได้ แต่ต้องการส่งคืน

          สรุปคือ เทคโนโลยีเกิดขึ้นได้ทุกอย่าง แต่ที่สำคัญคือวิธีคิดที่ทำให้เกิด

Total Innovation Management

          นวัตกรรมไม่ใช่เรื่อง R&D หรือการวิจัยและพัฒนา ไม่ใช่เรื่องของสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือสิ่งที่จับต้องได้เท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ถูกใส่ในลมหายใจของทุกคนที่ทุกคนต้องมีในทุกระดับของมหาวิทยาลัย เป็นสิ่งที่อยู่ในทุกที่

          ต้องทำนวัตกรรมองค์กรให้เกิดความคิดสร้างสรรค์  ต้องไม่ทำให้เกิดการแทงข้างหลังกัน

          นวัตกรรมที่ทำให้คนใช้ได้คือต้องทำให้ทุกคนใช้ได้และง่ายที่สุด ใครก็ทำได้

          บางที่อาจเป็นบริการที่เหนือความคาดหวัง

          สรุปคือ นวัตกรรมคือการสร้างคุณค่า (Value) คืออะไรที่เกี่ยวข้องกับคุณมีความพอใจ มีความสุข ซึ่งเมื่อ Add Value ให้จะดีมาก เป็นสินค้า บริการ หรือเป็นวิธีการบริหารจัดการ อะไรก็ได้ไม่ใช่สินค้าอย่างเดียว เป็น New Organization หรือ New in the World ก็ได้  เป็นสิ่งใหม่ และนำไป Implement ได้

ตัวอย่างที่ 3 IKEA ปรับราคาสินค้าลงเฉลี่ย 2-3 % ทุกปีมาตั้งแต่ปี 2000 ซึ่งทำให้การจัดการขายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

          ยิ่งระบบจัดการสั้นเท่าไหร่ทำให้ทุกอย่างดีขึ้นเท่านั้น

วิธีการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรม

          องค์กรแห่งนวัตกรรม - นวัตกรรมต้องเริ่มจากผู้นำ โดยผู้นำต้องมีความจริงจังให้เกิดการผลักดันในองค์กร เป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดนวัตกรรมการแข่งขัน ต้องทำตัวเป็นตัวอย่าง รวมถึงกระจายอำนาจสู่พนักงานและถ่ายทอดแนวทางที่ชัดเจน ผ่านกลยุทธ์องค์กรให้เหมาะสมต่อการถ่ายทอดนวัตกรรม เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมที่สามารถสร้างความเป็นเลิศให้องค์กร

          1. Leadership เป็นผู้นำที่อยู่ในทุกระดับ

          2. กลยุทธ์

          3. Knowledge

          4. People

          การทำนวัตกรรมถ้าจะทำทั้งองค์กร

          Leadership กับ Culture

          ผู้บริหารต้องเป็น Open Communication องค์กรนวัตกรรมต้องมีความท้าทาย โต้ตอบ ให้อำนาจในการคิด ให้เขาทำ มีความเสี่ยงที่ยอมรับได้

          Knowledge ประกอบด้วย Management of Knowledge , Benchmarking

          เทคโนโลยี งบประมาณ เวลาในการคิดนวัตกรรม

          People คนต้องเป็น Cross Function ต้องเป็น Co-Working Space เช่นในห้องสมุดจะมีเทคโนโลยีมาใช้

          Well Being and Happiness

          Process ต้องรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร ผู้ใช้บริการคืออะไร ลูกค้ามี 2 ประเภท คือลูกค้าทั่วไป และลูกค้าที่เป็นหน่วยงาน

          Result ผลลัพธ์เป็นอย่างไร

 

วิธีการ

          1. Kaizen เป็นจุดเริ่มต้นนวัตกรรม เป็น Continuous Improvement คือ การทำงานให้สนุก มีความสุขมีความพึงพอใจ มีคุณภาพ

หลักการคือ เลิก ลด เปลี่ยน

          1. เลิก สิ่งที่ไม่จำเป็น ที่คนไม่ต้องการอีกแล้ว

          2. ลด อะไรที่ทำซ้ำ ให้ลดให้หมด ตรวจสอบซ้ำให้ลด  การลอกข้อความเดิมหรือเขียนใหม่หลายครั้ง

          3. เปลี่ยน เปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้สั้นลง เปลี่ยนให้คนมองเห็นมากขึ้น เปลี่ยนวิธีการเตรียมงานให้เร็วขึ้น เปลี่ยนขนาด เปลี่ยนวัตถุดิบ วัสดุที่ดีขึ้น

 

การปรับใช้และการพัฒนา ม.ทักษิณเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม

          ตัวอย่าง แต่ละหน่วยงานได้ทำการนำเสนอการลดรอบการใช้บริการที่นำเสนอให้อธิการบดี

การเปลี่ยนองค์กรของเรา ต้องดูตั้งแต่ ค่านิยม แบรนด์เป็นอย่างไร ในองค์กรมีหลายอย่าง ตั้งแต่ R&D ,Innovation  เราต้องทำทั้งหมดให้เป็นนวัตกรรม

เงื่อนไข 8 สร้างสรรค์ ม.ทักษิณสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม

          1. ผู้นำสร้างสรรค์

          2. วัฒนธรรมสร้างสรรค์

          3. กลยุทธ์สร้างสรรค์

          4. ความรู้สร้างสรรค์

          5. คนสร้างสรรค์

          6. เข้าใจลูกค้าสร้างสรรค์ – ให้สังเกตว่าอะไรที่เราโดนว่ามาก ๆ จะนำไปสู่นวัตกรรม

          7. กระบวนการสร้างสรรค์

          8. ผลลัพธ์สร้างสรรค์

โดยใช้หลักการของไคเซ็น คือ เลิก ลด เปลี่ยน

 

 

Workshop

1. พวกเราอยากเห็น ม.ทักษิณเป็นอย่างไรในอีก 5 ปี

2. เราจะพัฒนางานอะไรบ้างให้มีนวัตกรรมและทำอย่างไร

3. เราจะพัฒนานวัตกรรมการบริการอะไรให้เป็นเลิศบ้างและทำอย่างไร

4. วัฒนธรรมองค์กรและคนของเราจะต้องเป็นอย่างไร และทำอย่างไร

 

กลุ่มที่ 5

1. พวกเราอยากเห็น ม.ทักษิณเป็นอย่างไรในอีก 5 ปี

          1. อยากเห็นความคล่องตัว กระบวนการทำงานในระบบงานต่าง ๆ มีความซับซ้อนลดลง เวลาต้องใช้คนเยอะมากขึ้น

          2. อยากเห็นระบบที่เกี่ยวข้องกับอาจารย์ นิสิต มีการบริการรวดเร็วขึ้น ทั้งการเงิน ทะเบียน มีระบบใหม่ ๆ ปรับวิธีการทำงานที่มาช่วย เพื่อลดเสียงบ่นจากการทำงานช้า และรอคิวนาน

          3. ระบบการเงิน น่าจะมีการพลิกเปลี่ยนมากมาย มีระบบ E-Payment มาช่วย เงินสดอาจไม่ต้องใช้แล้ว ใช้ในเรื่องบัตรต่าง ๆ มาทดแทน

2. เราจะพัฒนางานอะไรบ้างให้มีนวัตกรรมและทำอย่างไร

          1. ระบบงานทะเบียน เป็นการตอบสนองทีรวดเร็ว มีการทบทวนขั้นตอนต่าง ๆ ที่ทำให้ลูกค้าและนิสิตของเราพึงพอใจ เรื่องการเปลี่ยนแปลงที่นำสิ่งต่าง ๆ มาเกี่ยวข้องคือการปรับทัศนคติ ร่วมกันสร้างทีมให้คนเห็น และทบทวนว่าอะไรที่ทำให้งานดีกว่าเดิม

3. เราจะพัฒนานวัตกรรมการบริการอะไรให้เป็นเลิศบ้างและทำอย่างไร

การส่งเสริมงานด้านนวัตกรรม อาจมีการจัดประกวดจากหน่วยงานต่าง ๆ

4. วัฒนธรรมองค์กรและคนของเราจะต้องเป็นอย่างไร และทำอย่างไร

ค้นหานวัตกรรมในงาน คิดวิธี ลดงาน ลดทรัพยากรที่นำมาใช้ ให้มหาวิทยาลัยได้มีการนำมาใช้มากขึ้น

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          นวัตกรรมในฝ่าย Support ไม่ใช่เรื่องการเรียนการสอนหรือการวิจัย แต่คือเรื่องการบริหารจัดการ การพัฒนาผู้นำในสายบริหารมีความสำคัญมาก

          การบริหารจัดการการเงิน ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม +  ความยืดหยุ่น การเงินอย่าให้แคชเชียร์กำหนดทุกอย่าง เราเป็นผู้นำเราต้องช่วยเขากำหนด

          ถ้าต้องการมีคุณภาพในการทำงาน ของอาจไม่ถูก แต่ต้องประหยัดในสิ่งที่ควรประหยัด

          นวัตกรรมคือการเปลี่ยนหรือ Shift Demand และลดต้นทุน

          เราต้อง Improve นวัตกรรมให้เร็วขึ้น

 

 

 

กลุ่มที่ 3

1. พวกเราอยากเห็น ม.ทักษิณเป็นอย่างไรในอีก 5 ปี

          มีการใช้ระบบบริการที่เป็นลักษณะออนไลน์ อยากให้มีระบบบริการออนไลน์ที่มาก ๆ โดยเฉพาะลูกค้าคือนิสิต ในงานทะเบียน การเงิน การรับนิสิต เรื่องศิษย์เก่า เพื่อให้ครบตามระบบ เมื่อมีระบบดี คนในองค์กรต้องเป็นคนที่ก้าวทันด้วย สิ่งที่ทำคือเราต้องไปด้วยกันคือทั้งระบบและคนในองค์กร

2. เราจะพัฒนางานอะไรบ้างให้มีนวัตกรรมและทำอย่างไร

          ผู้นำต้องเห็นความสำคัญในการพัฒนาระบบให้สำเร็จ เป็นตัวตั้งตัวตีที่ผลักดันระบบที่เราคิดไว้ให้สำเร็จ

3. เราจะพัฒนานวัตกรรมการบริการอะไรให้เป็นเลิศบ้างและทำอย่างไร

          เรื่องระบบสารสนเทศที่เป็นปัญหาอยู่ มีระบบมากมายที่เป็นระบบสารสนเทศในมหาวิทยาลัย แต่ทุกระบบไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้ ทุกส่วนทำงานเป็นเอกเทศของตัวเอง เกิดปัญหาในเรื่องของการตัดสินใจอาจเกิดความผิดพลาดได้ถ้าข้อมูลไม่ถูกต้อง เกิดความเสียหายในภายใน ในเรื่องนิสิตการมี E-Form มาใช้ จะมีแบบฟอร์มให้เด็กกรอก

4. วัฒนธรรมองค์กรและคนของเราจะต้องเป็นอย่างไร และทำอย่างไร

          คนจะต้องมีความก้าวทัน มีระบบที่ส่งเสริมและพัฒนาในสิ่งที่จะก้าวทันและเปลี่ยนไปในเทคโนโลยี

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          เป็นวิธีการที่ดีคือมองไปข้างหน้า อยากมีกรณีศึกษาที่ฝ่ายบริหารทำอยู่เชิงนวัตกรรม ซึ่งบางเรื่องจะมีอุปสรรคมากคือเริ่มและไม่ประสบความสำเร็จ การเป็นองค์กรนวัตกรรมคือกระบวนการที่คิดมา ซึ่งถ้านำกรณีศึกษา ในอนาคตอาจใส่ใน Blog ที่ทำอยู่ บางเรื่องต้องนำไปทำ บางเรื่องเป็นนวัตกรรมอยู่แล้วก็อย่าไปรอ หรือบางเรื่องเป็นอุปสรรค มีกรณีบางอย่างที่ทำอยู่แล้วแต่ผู้บริหารบางคนไม่เห็นด้วย การที่นั่งอยู่ตรงนี้คือการปรับ Mindset  อย่ากลับมาที่เดิม อยากให้มี Process เกิดขึ้น

 

กลุ่มที่ 1

1. พวกเราอยากเห็น ม.ทักษิณเป็นอย่างไรในอีก 5 ปี

          อยากให้มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรการศึกษาที่สมบูรณ์แบบทั้งภายนอกและภายใน จะทำอย่างไรให้เป็นนวัตกรรม เป็นการพัฒนาตรวจสอบ รับรู้ ติดตามสถานการณ์เบิกจ่ายทุกประเภท โดยองค์กรทั้งภายในและภายนอกต้องการทราบสถานการณ์เบิกจ่าย

2. เราจะพัฒนางานอะไรบ้างให้มีนวัตกรรมและทำอย่างไร

ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสารคือมีหน่วยงานร้านค้าโทรมาถาม เป็นระบบ Excel แต่ไม่ตอบสนองต่อหน่วยงานภายนอกมาดู ให้วิเคราะห์กระบวนการเบิกจ่ายก่อน พัฒนาการสื่อสารให้รวดเร็ว  แจ้งผู้เกี่ยวข้อง และจะพัฒนาให้เหมือนระบบราชการ คือผู้รับบริการไม่ว่าจะภายนอกหรือภายในต้องมีการลงทะเบียนกับฝ่ายเราก่อน เราต้องสามารถตรวจสอบได้

3. เราจะพัฒนานวัตกรรมการบริการอะไรให้เป็นเลิศบ้างและทำอย่างไร

          การบริการตรวจสอบ รับรู้สถานการณ์เบิกจ่าย ซึ่งช่วยลดภาระหน้าที่ฝ่ายคลัง ที่ฝ่ายตรวจสอบภายนอกหรือภายในสามารถตรวจสอบด้วยตนเอง

4. วัฒนธรรมองค์กรและคนของเราจะต้องเป็นอย่างไร และทำอย่างไร

          คนต้องเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้ เปลี่ยนการสื่อสารจากตัวบุคคล แทนที่จากโทรสอบถามแต่สามารถติดตามด้วยตนเอง พัฒนาบุคลากรให้ความรู้ทักษะ ทำให้บุคลากรหน่วยงานภายนอกตรวจสอบได้ สร้างจิตสำนึกให้บุคลกรรับการบริการที่เกินความคาดหวัง

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ถ้าทำให้ถูกต้อง ต้องทำให้เร็ว บางครั้งเกิดปัญหาคือการติดกฎระเบียบ และบางเรื่องแช่ไว้ มีกรณีบางอย่างช้าเนื่องจากไม่มีคนตัดสิน นักการเงินอาจติดกฎระเบียบเดิม ที่กรมบัญชีกลางตั้งไว้ แต่ไปทำลายขวัญกำลังใจคนทำงานดีแต่ไม่เก่งเรื่องใบเสร็จ เรื่องกฎระเบียบ ไปบั่นทอนกระบวนการทำงานที่เกิดความผิดพลาดจากความไม่รู้

          หัวใจอันหนึ่งของการบริการต้องทำให้รวดเร็วขึ้น

 

กลุ่มที่ 4  

1. พวกเราอยากเห็น ม.ทักษิณเป็นอย่างไรในอีก 5 ปี

          1.มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทางสังคมศาสตร์ สายสังคมศึกษาเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ต้องการได้แบรนด์จากการสร้างชื่อเสียงไปข้างหน้า

          2. มีกระบวนการจัดการที่ทันสมัยในช่องทางที่สร้างโอกาส นำสังคม หรือโซเชียลเป็นเครื่องมือให้รู้จักมากขึ้น

2. เราจะพัฒนางานอะไรบ้างให้มีนวัตกรรมและทำอย่างไร

          เปิดโอกาสให้คนภายในและภายนอกมาจัดออนไลน์แบบมีมาตรฐาน หรือการไลฟ์สด และสื่อโซเชี่ยลเป็นเครื่องมือสนับสนุนการเรียนการสอนได้ ใช้ข้อมูลในการตอบสนองความต้องการลูกค้าให้ได้ทุกกลุ่ม  

3. เราจะพัฒนานวัตกรรมการบริการอะไรให้เป็นเลิศบ้างและทำอย่างไร

          เพิ่มช่องทางในการเข้าถึงลูกค้า และการบริหารจัดการภายใน กระบวนการจัดการเรียนการสอนควรเป็นระบบที่ไหลลื่นเป็นสายพาน หลายส่วนอาจขาดการเชื่อมโยงเพราะต่างคนต่างทำ ต้องพัฒนาเป็นเครื่องมือให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้น

4. วัฒนธรรมองค์กรและคนของเราจะต้องเป็นอย่างไร และทำอย่างไร

          บุคลากรต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดเปิดใจ ปรับ Mindset ให้อยากทำงาน ให้มีชีวิตและมีความสุข กระตุ้นและสร้าง Passion ให้เกิดความรัก ความชอบในงานที่ทำ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงและสร้างเครือข่าย มีกิจกรรมต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นทางเดียว เปิดโอกาสให้คนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ได้เห็นแนวคิดของคนอื่นเพื่อให้ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรได้

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          แบรนด์ของสังคมศาสตร์ซึ่งเป็นแบรนด์ของที่ม.ทักษิณ นวัตกรรมฝ่าย Support และอาจารย์ถ้า Compliment ได้จะดีมาก เพราะที่ผ่านมานวัตกรรม เกิดจากอาจารย์เป็นคนนำ

          ทำอะไรก็ตามให้ทำสิ่งที่เราเป็นจุดแข็งก่อน อย่าไปทำในสิ่งที่เราเป็นจุดอ่อน

 

กลุ่มที่ 2

1. พวกเราอยากเห็น ม.ทักษิณเป็นอย่างไรในอีก 5 ปี

          มหาวิทยาลัยมีการบริการที่ดีที่เป็นเลิศ รองรับการบริการในระดับสากล ตั้งแต่ภาษาอังกฤษ

2. เราจะพัฒนางานอะไรบ้างให้มีนวัตกรรมและทำอย่างไร

          ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน โดยใช้ระบบ LEAN และไคเซ็น มีการทบทวนว่าช้า หรือซ้ำซ้อนตรงไหน สอบถามกลุ่มเป้าหมายว่ามีปัญหาอะไร และออกแบบร่วมกันที่ไม่ผิดระเบียบและตอบสนองการดำเนินงาน

3. เราจะพัฒนานวัตกรรมการบริการอะไรให้เป็นเลิศบ้างและทำอย่างไร

          การบริการทุกอย่างต้องเป็นเลิศหมด เช่น อยากให้มีระบบเป็น Message ออนไลน์ เพื่อช่วยผู้ปฏิบัติงาน และผู้รับบริการ ทำสิ่งที่อำนวยความสะดวกให้รวดเร็วขึ้น

4. วัฒนธรรมองค์กรและคนของเราจะต้องเป็นอย่างไร และทำอย่างไร

          ต้องฝึกให้คิดนอกกรอบ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เน้นการมีส่วนร่วมของลูกค้า เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ก่อน เริ่มจากกลุ่มคณะหรือหน่วยงานเล็ก ๆ ที่มีการนำเสนอนวัตกรรม มีการนำเสนอความคิดต่าง ๆ มีกลุ่มพี่เลี้ยงที่ช่วย Set ระบบให้เป็นนวัตกรรม เป็นชิ้นงานขึ้นมา

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ตัวอย่างสิ่งนี้แม้เล็กแต่เป็นนวัตกรรมที่สำคัญ อย่างอาจารย์บางคนเก่งมากในการทำวิจัย แต่ไม่เก่งในการทำอะไรไปบ้าง

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          วันนี้เริ่มจากนักปฏิบัติ นักบริหารจัดการ เริ่มจากข้อมูล จากความจริง ซึ่งเป็นทิศทางหนึ่งที่ทำให้ทุกคนทึ่งในการแสดงความคิดเห็น ปัญหาคืออะไร เราอยากสร้าง Solution ใหม่ ๆ แม้ไม่ว้าวแต่ก็คิดได้ เมื่อคิดมา ก็ให้หาคนช่วยทำ

          การสร้าง Innovation ไม่ง่าย ต้องเกิดการล้มเหลว เรียนรู้ และไม่จำเป็นต้องใช้ช่องเดียว

          นวัตกรรมเกิดจาก 1. ไม่เคยมีมาก่อน 2. ของดีมีอยู่มาปรับใหม่ 3. เป็นคุณประโยชน์ ไม่ทางเศรษฐกิจก็สังคม และใคร ๆ ก็สร้างนวัตกรรมได้ สำคัญที่สุดคือการลงมือทำและก้าวข้ามอุปสรรค ต้องเรียนรู้จากความล้มเหลวและหาทางออก

 

ดร.พยัต  วุฒิรงค์

          1. คนที่นี่เก่ง รับอะไรได้เยอะมาก

          2. หลักสูตรดี เป็นเวทีที่แสดงความเก่งออกมาเป็นหลักสูตรที่ทำให้ได้นำไปเผยแพร่ และฉายแสง

          3. นวัตกรรมควรทำต่อเนื่อง และอย่าคิดว่านวัตกรรมเป็นของเราคนเดียว

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ทุกคนต้องคิดแล้วไปคิดต่อ แม้มีนวัตกรรมบางส่วน ประเทศไทยนวัตกรรมไม่ง่ายเพราะไปหยุดที่ระบบการศึกษา

          คนในห้องนี้ต้องรวมตัวกันไว้ อย่าคิดว่าตัวเองเก่ง การเป็นผู้ยิ่งใหญ่คือเอาชนะอุปสรรค

          คนเรียนเก่งต้องทำงานเป็นด้วย

 

 

วิชาที่ 9 Learning Forum

หัวข้อ   การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

โดย     อาจารย์ดนัย จันทร์เจ้าฉาย


การร่วมแสดงความคิดเห็น

อะไรที่เป็นประเด็นเรื่องการพัฒนาทุนทางคุณธรรมจริยธรรม และธรรมาภิบาล

กลุ่ม 1  การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล  ได้แก่ประเด็นเรื่อง

- ความซื่อสัตย์สุจริต  

- ความรับผิดชอบในหน้าที่

- ความมีส่วนร่วม ทำงานเป็นทีม สามัคคี เพื่อให้งานบรรลุผลได้

 

กลุ่มที่ 2 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล  ได้แก่ประเด็นเรื่อง

1. เรื่องคุณธรรมจริยธรรม ผู้นำต้องเป็นต้นแบบเรื่องคุณธรรม จริยธรรมก่อน เป็นพื้นฐานของผู้นำ

2. เรื่องธรรมาภิบาลเป็นเรื่องทศพิธราชธรรมของในหลวงรัชกาลที่9 เรื่องความโปร่งใส ความมีส่วนร่วม กระจายอำนาจ ยุติธรรม ซึ่งเป็นหลักในการบริหารงานทุกเรื่องและทุกด้านด้วย

 

กลุ่มที่ 3 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล  ได้แก่ประเด็นเรื่อง

สิ่งที่ผู้นำต้องมีคือเรื่องการเสียสละ และให้อภัย

 

กลุ่มที่ 4 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล  ได้แก่ประเด็นเรื่อง

1. เรื่องจริยธรรมกับมาตรฐานการทำงานเป็นอย่างไร

          2. ทำอย่างไรให้คนที่ทุจริตหรือคนโกงกลับใจ

          3. ธรรมาภิบาลที่นักบริหารต้องมีหลัก ๆ มีอะไรบ้าง

 

กลุ่มที่ 5 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล  ได้แก่ประเด็นเรื่อง

          1. หลักคิด หรือหลักการที่จะทำอย่างไรที่ส่งเสริมให้ ม.ทักษิณ ตระหนักถึงคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงานในหน้าที่ทุกตำแหน่ง ส่งต่อสังคมให้มีความโปร่งใส และเป็นที่ยอมรับ

 

กลุ่มที่ 6 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล  ได้แก่ประเด็นเรื่อง

          การทำงานทุกคนมีพื้นฐานเป็นคนดี แต่ต้องรู้ทันจิตสำนึกตนเอง รู้เท่าทันอารมณ์ มีเมตตา พัฒนาเรื่องภูมิต้านทาน อารมณ์ และจิตสำนึก มีเมตตา ทำด้วยความรู้สึก ควบคู่กันอย่างมีความสุข

 

สิ่งที่ทำงานอย่างมีความสุข

          การทำงานอย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จมีความเหมือนกัน ให้เริ่มต้นด้วย Start with the end in mind ให้เริ่มด้วยจุดจบว่าต้องการเห็นอะไร จะไปไหน สิ่งที่เราจะหยิบยื่นให้สังคมเป็นอย่างไร สุดท้ายต้องการอะไร ต้องมี Purpose Passion and Meaning

          ทุกคนพ้นทุกข์ได้ด้วยความเพียร

 

Purpose Passion and Meaning ต่างกันอย่างไร

          ถ้าเรามีเป้าหมายชัดเจน มีพลังที่ออกมาจากข้างในคือ Inner จะไม่มีวันดับ ส่วน Meaning หมายถึงความหมายที่แท้จริงว่าชีวิตเราต้องการอะไร ดังนั้นถ้าเราเริ่มต้นด้วย Start with the end in mind จะรู้ได้ว่าเราเริ่มต้นด้วยอะไร

 

ผู้นำ

          ผู้นำในโลกมาจาก 2 ประเภทหลัก ๆ 1. ผู้นำโดยตำแหน่งหน้าที่ ที่มีสิทธิให้คุณ ให้โทษ 2. ผู้นำโดยธรรมชาติ

 

โลกโหยหาผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจและมีความกล้า

          1. ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ ไม่มีตำแหน่งหน้าที่เลย แต่คนทำตาม ได้แก่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 สิ่งที่พระองค์ท่านทำมี 4,000 โครงการ แล้วคนเดินตาม  ผู้นำศาสนาต่าง ๆ อาทิ มหาตมะ คานธี  สิ่งที่ทำสำเร็จคือปลดแอกอินเดียจากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ในปัจจุบันโลกพยายามโหยหาผู้นำแบบนี้มาก

          2. ผู้นำที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม  – นอกจากผู้นำที่เป็นคนดี คนเก่ง สิ่งที่ต้องการคือผู้นำที่มีความกล้า เราต้องโหยหาคนที่มีความกล้าทางจริยธรรม

“ความกล้าหาญทางจริยธรรม คือยอดแห่งความกล้าหาญ” – พุทธทาส ภิกขุ-

สิ่งที่ไม่กล้ามาจากวัฒนธรรมของเรา คือ

1. วัฒนธรรมที่เก็บกด ปกปิดความรู้สึก ความจริง เป็นสังคมที่ไม่ค่อยสื่อสารแบบตรง ๆ  (ความคิดเห็นเพิ่มเติมในห้อง...มาจากการเลี้ยงดู สั่งสอน ที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นหรือแสดงแนวคิดของตัวเอง)

2. กลัวแปลกแยก สังคมในปัจจุบันจะให้ความสำคัญกับคนเก่งมากกว่าคนดี มาจากสังคมอุปถัมภ์ของเราคือ พวกพ้อง ที่จะมีการปกป้องกันเอง เราเป็นสังคมที่ติดการให้คุณค่าที่เปลือก มากกว่าคุณค่าภายใน ไม่เคยสงสัยว่าได้เงินมาอย่างไร ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของสังคมเราที่เราต้องเปลี่ยนแปลง

          สิ่งใดหรืออะไรก็ตามที่ทำแล้วเราไม่กล้าบอกคนอื่นได้ เรียกสิ่งนั้นว่าถูกหรือผิด

          3. เสียสละ – วันนี้สิ่งที่ต้องการอย่างมากคือผู้นำที่เสียสละที่เป็น Role Model จริง ๆ

 

หลักในการทำงาน

          - ใครก็ตามที่อยู่ในองค์กรมามาก ๆ แสดงว่าเขาไว้ใจเรามาก

          - ทำตัวให้มีประโยชน์กับผู้อื่น

          วันแรกที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เข้าไปถวายงาน ประโยคแรกที่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ตรัสไว้คือ ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไร นอกจากความสุขร่วมกันในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น

          - มี Idol แล้วต้องมี I do

 

ให้ค้นหาเสียงภายใน และเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นค้นหาเสียงของตน

          เสียงภายในคือ Purpose , Passion , Meaning

          - การหาเสียงภายในให้เจอ แล้วเราจะมีความสุข ตราบใดที่เรายังไม่มีเสียงภายในเรายังไม่มีความสุข

          - สิ่งที่ทุกคนต้องถามตัวเองคือ เกิดมาทำไม?

          - คนที่ประสบความสำเร็จ มี Purpose Passion and Meaning ชีวิตที่มีความหมายคือไม่ได้ทำประโยชน์ให้แก่ตัวเอง แต่ทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น

          ทุกคนเกิดมามีความฝัน แต่ไม่เคยเดินตามความฝันของตนเอง ทุกคนต้องตาย แต่ถ้าเราไม่ Start with the end in mind เราจะไม่มีค่า ทุกอย่างมาเร็ว และไปเร็ว ดังนั้นทุกคนต้องหาเสียงตัวเองให้เจอ

          คนไทยเป็นประเทศที่มีความรู้แต่ไม่ปฏิบัติ ผลิตบัณฑิตสูงอันดับต้นของเอเชีย

          - ความรู้ไม่ใช่ของจริง

          - การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม คือการปฏิบัติ

          คำนึงที่ทำให้ญี่ปุ่นขึ้นอันดับโลกได้ สามารถเป็นเลิศในทุกอย่างคือ

          - วินัย

- ชาตินิยม

          - รับผิดชอบต่อสังคม

          แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดและทำให้เป็นเลิศคือ เขาทำอะไรเขาจะทำดีที่สุด ใส่ใจที่สุด ไม่ทำอะไรชุ่ย ๆ เด็ดขาด และไม่เคยทิ้งรากเหง้าของตัวเอง

          สิงคโปร์ ที่ทำให้เป็นเลิศคือ

          - ทุกจบการประชุมทุกครั้ง ประโยคที่หลุดออกมาในทุกการประชุมคือ สิงคโปร์ต้องไม่แพ้

 

โลกเปลี่ยนไทยปรับ

          ไทยแลนด์ 4.0 คืออะไร ระบบการศึกษา สายสนับสนุนต้องเปลี่ยน ในวันนี้จะมีอาชีพหลายอาชีพหายไปหมดเลย

          ทำไมเราต้องพูด 4.0 แล้วให้เชื่อมกับคุณธรรม 4.0

อาชีพที่หายไป

          เช่น ไปรษณีย์

อุปกรณ์ที่หายไป เพจเจอร์ Call Center ตำรวจ ออกแบบ กราฟฟิค

4.0 สิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนคือ

          1. นวัตกรรม

          2. เทคโนโลยี

          มีอุตสาหกรรม 10 เป้าหมายที่มหาวิทยาลัยต้องผลิตบุคลากรไปอยู่ตรงนั้น ยุคสมัยใหม่จะเป็นยุค Paperless

คุณธรรม 4.0

          ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ว่าด้วยเรื่องคุณธรรม 4 ประการ

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ความซื่อสัตย์

2. รับผิดชอบในหน้าที่

3. อดทน มีวินัย

4. เสียสละ

5. รับผิดชอบ

การเรียนรู้ 4 อย่างเพื่อตอบเป้าหมาย

1. เรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย

          - เรียนเพื่อตอบโจทย์เฉพาะบุคคลเป็น Personal Life Learning

2. เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์

          - เน้นการใช้ความคิด กระตือรือร้นสิ่งใหม่ ๆ

          - การเรียนนอกห้องเรียน นอกระบบ ชี้แนะ เป็น Facilitator มี Learn Relearn , Unlearn (ไม่ยึดติดความรู้เดิม)

3. เรียนรู้เพื่อส่วนรวม

          - เน้นกลุ่มจิตสาธารณะรับผิดชอบต่อสังคม เป็นการเรียนรู้แบบรังสรรค์ร่วม ใช้ความรู้ร่วมกัน เป็นการเรียนแบบ Open and Share Learning

4. เรียนรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

          - เรียนจากทฤษฎี เน้นการฟังบรรยาย เน้นการวิเคราะห์และแก้ไขจริง เป็น Problem Based Learning

          - สำเร็จโดยการวัดผล Learning

คุณธรรม 4 ประการ

1. พอเพียง

2. มีวินัย

3. สุจริต

4. จิตอาสา

คนไทย 4.0

1. ปัญญาเฉียบแหลม

2. ทักษะเห็นผล

3. สุขภาพแข็งแรง

Head Hand Health Heart

สังคมไทย 4.0

1. มีความสุข

2. มีความหวัง

3. สมานฉันท์

   

The World is driven by Inspiration”

ความดี 9 Module

1. อบรม

          - ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สร้างสมรรถนะ

2. ค้นหาต้นทุนความจริงขององค์กร

          - หาจุดแข็งให้เจอ แล้วจุดดีที่จะพัฒนาขึ้นคืออะไร

3. ตั้งเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง

          - คุณธรรม 4 ประการข้อไหนที่ถูกต้อง และจับต้องได้

          - วัฒนธรรมขององค์กรเรา

4. ออกแบบวิธีการดำเนินงานร่วมกัน

          - ใครรับผิดชอบ ดำเนินการอย่างไร

5. การลงมือปฏิบัติ

          - ลงมือทำ รู้เท่าทันอารมณ์

6. จัดกระบวนการเรียนรู้

          - เรื่องใดที่ให้ความสำคัญต้องให้เวลากับมัน

7. ชื่นชมยกย่อง

          - สังคมไทยยังขาดมุฑิตาจิต คือชื่นชมให้กำลังใจกัน

8. สร้างระบบประเมินผล

          - การประเมินผลงานประจำปีให้นำไปอยู่ใน KPI คือมีคุณธรรม 4 ประการคืออะไร

9. สร้างเครือข่ายคุณธรรม

          - เชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น ๆ ร่วมกัน

 

   

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ปัจจุบัน มองเรื่องมูลค่ากับคุณค่าคือต้องการสร้างคุณค่ามากขึ้นให้นำหน้ามูลค่า แต่ปัจจุบันเราต้องใช้มูลค่าในการดำเนินงาน ในกรณีนี้ผู้บริหารควรตัดสินใจบนฐานอะไร ไม่มีเงินแล้วจะทำอะไร ถังแตกจะทำอะไร แล้วเราจะดำรงคุณค่าไว้มากน้อยแค่ไหน

ตอบ     มีความจำเป็นที่จะทำอะไรก็ตามต้องมีการตั้งงบประมาณขึ้นมา แต่อย่าให้น้ำหนักตรงนั้นมากเกินไป เพราะงานที่มีผลกระทบต่อประเทศจริง ๆ อาจไม่จำเป็นต้องมีงบประมาณเลย

          ทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้จริง ๆ ถ้าเราตั้งใจจริง ๆ แต่ต้องทำให้เป็นวัฒนธรรมขึ้นมาให้ได้

          การสร้างคุณธรรม จริยธรรม บางครั้งอาจไม่ต้องใช้งบประมาณเลยก็ได้เช่น สมาทานศีลตอนเช้า สวดมนต์ตอนเย็นทุกวัน เคารพธงชาติ สิ่งที่สร้างนี้คือการสร้างวินัย หรือแม้แต่การยืนตรงเคารพธงชาติยังมีการมาดูงาน เป็นลักษณะการสร้างวัฒนธรรม ที่เกิดความสามัคคี สมัครใจ วัดเชิงปริมาณ และคุณภาพ

 

2. การปลูกฝังเยาวชนเรื่องคอรัปชั่น เป็นห่วงในอนาคตคือ เราเป็นเพียงฟันเฟืองเล็ก ๆ ของประเทศขององค์กร เราจะช่วยแก้ปัญหาอะไรบ้าง

ตอบ   สิ่งที่ทำส่งผลต่อรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ นักการเมืองที่โกงกินจะส่งผล 7 ชั่วอายุ แต่ไม่ใช่ทำครั้งเดียวจะชนะ ต้องทำต่อเนื่องเรื่อย ๆ 

          ตัวเราในองค์กรต้องหันมาดูว่าสิ่งใดที่เราอยากเปลี่ยนแปลง เช่นความซื่อสัตย์สุจริต ระบบการศึกษามีหรือไม่ คำตอบคือมีมาก รวมถึงอาจารย์ ผู้บริหารการศึกษา ซึ่งเป็นกันหลายที่แม้ว่าเป็นสถาบันชั้นนำของประเทศ ขึ้นอยู่กับว่ากฎหมายของประเทศศักดิ์สิทธิ์แค่ไหน ต้องกลับเข้ามานั่งคุยกันแล้วดูว่าอะไรคือปัญหาเรื่องนี้ มีตรงไหนบ้าง ต้อง Identify ระบุในสิ่งที่เป็นระเบียบ และทุกคนมาช่วยกัน

 

3. ในคุณธรรม 4.0 เรื่องจิตอาสาเป็นเรื่องที่สังคมขาด เรื่องการศึกษาเสมือนเป็นปลายทางที่ต้องทำเรื่องจิตอาสา ที่ สกอ. มีการกำหนดให้เป็นการศึกษาส่วนหนึ่งของภาคบังคับ ซึ่งไม่ได้มาจากใจ จึงอยากให้ฝากตั้งแต่ครอบครัว ระดับการศึกษาระดับต้น ที่จะมีกระบวนการอย่างไรที่สร้างจิตอาสาตั้งแต่ ครอบครัว ประถม มัธยม เพราะที่ผ่านมา พบว่าคนที่ช่วย ก็ช่วยอยู่อย่างนั้น คนไม่ช่วยก็ไม่ช่วยเลย จึงอยากฝากไว้ ว่ากิจกรรมจิตอาสาไม่ควรเป็นภาคบังคับ แต่เน้นความสมัครใจ อยากให้ปลูกฝังจิตอาสาให้กับบุตรหลานให้ครอบครัว

ตอบ ประเด็นนี้จะฝากให้กับ สพฐ. สิ่งที่พูดถูกต้องคืออุดมศึกษาคือปลายทาง เพราะการเริ่มจริง ๆ จะเริ่มตั้งแต่ครอบครัว ประถม มัธยม และมีการสำรวจได้ว่าจิตอาสาในระดับอุดมศึกษาน้อยกว่ามัธยม ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยทั่วประเทศ สรุปคือถ้าครอบครัวไหนมีจิตอาสา เด็กส่วนใหญ่ก็จะเป็นอย่างนั้น

วีธีการสอน

          คือ “สอนแบบไม่สอน” เพราะเด็กสมัยนี้ยิ่งสอนยิ่งไม่เอา เราต้องทำให้ดูให้เขามีส่วนร่วม ต้อง Engaging “สอนให้สร้างความรู้ด้วยตนเอง” “สอนให้ศรัทธาในตัวเองเท่ากับศรัทธาผู้อื่น” “สอนให้รู้จักแบ่งปัน รู้หน้าที่ต่อโลก” “สอนให้รักชีวิต รู้จักใช้ชีวิต และมีทักษะชีวิต” “ครูผู้สอน คือผู้รู้ใหม่” “ครูไม่ต้องให้คำตอบแต่ต้องตั้งคำถาม”  “ครูคือผู้จัดการเรียนรู้” “ครูคือเพื่อน”

          การเรียนรู้ของมนุษย์มีอยู่ 3 อย่าง

          1. ฐานกาย

          2. ฐานจิต

          3. ฐานความคิด

          ถ้าฐานความคิดไม่ได้มาจากฐานกาย และฐานจิต ความคิดจะเบี้ยว หรือเฉ จึงต้องให้มีการทำงานร่วมกัน

   

 

 





โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ 

http://www.naewna.com/politic/columnist/30450

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม 2560 หน้า 5


http://www.thinkingradio.net/view/5974a70ce3f8e40ad163b41f

ที่มา:รายการวิทยุ HumanTalk. ออกอากาศวันอาทิตย์ที่23 กรกฎาคม 2560 เวลา 6.00-6.30น. ทาง FM 96.5 MHz.


http://www.gotoknow.org/posts/631673

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 25 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 2560 




หมายเลขบันทึก: 631254เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2017 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2017 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (63)

ผมเห็นว่าบล็อกจะมีประโยชน์ถ้าผู้เข้าอบรมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โต้ตอบกัน

บางครั้งมีแต่บล็อกแต่ไม่มีอะไรเลยครับ

น.ส.อมรรัตน์ วรรณวิไล (กลุ่มที่ 4)

สรุปประเด็นประทับใจ

 

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

 

1. เมื่อบุคลากรมีความสุขในการทำงานอยู่ในองค์กร จะส่งผลทำให้ Productivity เพิ่มขึ้น 20% 

2. ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) เป็นเรื่องของคน เป็นปัจจัยส่วนบุคคล จะเกิดขึ้นเพราะชอบงาน มีความสุขที่ได้ทำงาน ส่วน Happy Workplace เป็นเรื่องขององค์กร เป็นปัจจัยที่องค์กรจัดให้กับเรา

3. Happiness Capital เป็นการปลูก ส่วน Happy Workplace เป็นการเก็บเกี่ยว

4. การมีทุนแห่งความสุขที่ดีของบุคลากร (Happiness Capital) ร่วมกับการสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดีขององค์กร (Happy Workplace) จะส่งผลให้เกิดผลผลิตที่ดี และเกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ ++” แต่หากมีด้านใดด้านหนึ่งด้อยหรือขาดหายไป ก็จะส่งผลให้ผลผลิตที่ได้ด้อยลงไปด้วย

5. กฎในการสร้างทุนแห่งความสุขของ ดร.จีระ ประกอบด้วย สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม ชอบงานที่ทำ รู้เป้าหมายของงาน รู้ความหมายของงาน มีความสามารถที่จะทำงานให้งานสำเร็จ เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา เตรียมตัวให้พร้อม ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกค้า ทำงานที่ท้าทาย ทำงานที่มีคุณค่า

นางจันทิมา คงคาลัย

นางจันทิมา คงคาลัย กลุ่มที่ 4

วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2560

สรุปบทเรียน

หัวข้อ   การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

  1. การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุข ต้องมีหลักคิดในเรื่องของ Passion – Purpose – Meaning: Passion คือ รักงานที่ทำอยู่ มีความมุ่งมั่น ตั้งใจในการทำงาน เป็นพลังที่ออกมาจากข้างใน inner - Purpose คือ การกำหนดเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน - Meaning คือ ความหมายที่แท้จริงที่ชีวิตเราต้องการ
  2. กฎในการสร้างทุนแห่งความสุข Happiness Capital (Dr. Chira Hongladarom’s Model) 1.มีร่างกายและจิตใจแข็งแรง (Healthy) 2. ชอบงานที่ทำ (Passion) 3. รู้เป้าหมายของงาน (Purpose) 4. รู้ความหมายของงาน (Meaning) 5. มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ (Capability) 6. เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา  (Learning) 7. เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare) 8. ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว (Teamwork) 9. ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม  (Coaching) 10. ทำงานที่ท้าทาย (Challenge) 11. ทำงานที่มีคุณค่า  (Enrichment)

หัวข้อ   ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษ

  1. ผู้บริหารกำหนดสารสนเทศที่ต้องการจากหน่วยงานตามพันธกิจหลักของแต่ละหน่วยงาน
  2. ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ MIS ต้องมีกระบวนการ วิธีการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดทำรายงานสารสนเทศที่ตรงตามความต้องการ และนำเสนอรูปแบบตามความเหมาะสม
  3. หน่วย IT-Support มีเครื่องมือในการเก็บรวบรวม ประมวลผล และเก็บรักษาสารสนเทศที่มีอยู่

วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2560

หัวข้อ   การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม และกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน

  1. หลักการKaiZenคือ เลิก ลด เปลี่ยน : เลิก สิ่งที่ไม่จำเป็น - ลด อะไรที่ทำซ้ำ - เปลี่ยน เปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้สั้นลง
  2. องค์กรนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีการปรับวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดความท้าทาย ให้อิสระทางความคิด กล้าเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยอาศัยการบริหารจัดการองค์ความรู้ของทุนมนุษย์ในองค์การ และคู่เทียบ การทำงาน Cross Function ปรับเปลี่ยนเป็นการทำงานแบบ Co-Working Space จะสร้างให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ

หัวข้อ   การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

  1. การทำงานอย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จ ให้เริ่มต้นด้วยการสร้าง Start with the end in mind ให้กำหนดจุดจบว่าเราต้องการอยากเห็นอะไร และนำหลักการคิด Purpose Passion and Meaning เป็นแรงผลักดันและกระตุ้นให้เกิดความสำเร็จ ไม่มีสิ่งใดเป็นไปไม่ได้ ทุกความสำเร็จย่อมเกิดจากความเพียร
  2. คุณธรรม 4 ประการ ในยุค Thailand 4.0 :  พอเพียง  มีวินัย  สุจริต จิตอาสา
นางสาวอมรรัตน์ วรรณวิไล

สรุปประเด็นประทับใจ

 

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

 

1. ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ อาจจอยู่ในรูปตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ หรือเสียง ส่วน สารสนเทศ (Information) คือ สิ่งที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และการคาดการณ์อนาคตได้ ซึ่งสารสนเทศอาจจะอยู่ในรูปของข้อความ ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพ

2. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ จะประกอบไปด้วย ขั้นตอนการทำงาน ข้อมูล ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร และเครือข่าย ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดของระบบ คือ “บุคลากร”

3. Digital Transformation เป็นการนำดิจิตัลมาใช้ในการพัฒนาระบบและปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการสื่อสารกับลูกค้าให้ดีขึ้น พัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการ พัฒนากระบวนการทำงาน และพัฒนาศักยภาพของบุคลากร โดยจะเลือกพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนส่วนใดก่อนนั้นให้พิจารณาจากปัญหาหรืออุปสรรคที่เราอยากจะปรับปรุงแก้ไขก่อน โดยนำดิจิตัลมาเป็นเครื่องมือในการปรับปรุง

นางสาวอมรรัตน์ วรรณวิไล (กลุ่มที่ 4)

สรุปประเด็นประทับใจ

 

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม และกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของสายงานสนับสนุน

 

1. Innovation + Management เกิดจาก Value + New + Implementation

2. สิ่งที่เราต้องทำ คือ

     - Value : เรามีคุณค่าอะไร ที่ทำให้เขาเลือกเรา

     - New : สิ่งที่เราทำนั้นใหม่หรือแตกต่างไปจากคนอื่นหรือไม่

     - Implement : ต้องนำ Value และ New มา Implement ให้ได้

3. นวัตกรรมไม่ใช่แค่ส่วนหนึ่งของ R&D แต่ต้องถูกใส่ลงไปให้เป็นลมหายใจของทุกคนในองค์กร ทุกหน้าที่ และทุกระดับ

4. ปัญหาที่ทำให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมไม่ได้ คือ กฎ ระเบียบต่าง ๆ และวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ส่งเสริมให้คนคิดและทำ ทำให้ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นไม่ได้

5. นวัตกรรมไม่ใช่เฉพาะสิ่งที่จับต้องได้ แต่นวัตกรรมสามารถจะอยู่ได้ทุกที่

6. นวัตกรรมคือการสร้างคุณค่าให้กับคนที่เกี่ยวข้องกับคุณ ทำให้เขามีความสุข ซึ่งอาจจะเป็นสินค้า บริการ วิธีการจัดการ หรือวิธีการตลาด

นางสาวอมรรัตน์ วรรณวิไล (กลุ่มที่ 4)

สรุปประเด็นประทับใจ

 

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

 

1. Start with the end in mind. เราต้องมีเป้าหมายในชีวิต ต้องมองเห็นจุดสิ้นสุดว่าเราต้องการอะไร ต้องมี Purpose , Passion และ Meaning (ค้นหาเสียงของหัวใจให้เจอ แล้วเราจะเป็นสุข)

2. โลกโหยหาผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ ผู้นำที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และผู้นำที่เสียสละ

3. คุณธรรม 4.0 ประกอบด้วย พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา

4. “ใจผมเป็นสุขทุกครั้งที่มันเต้นเพื่อผู้อื่น” (อ.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย)

5. “ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากความสุขร่วมกันในการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น” (พระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ 9)

นางสาวอมรรัตน์ วรรณวิไล (กลุ่มที่ 4)

สรุปประเด็นประทับใจ

 

4 ทุนในโลก , ทุนการเงิน , ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ , ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี แต่สำคัญที่สุด ทุนมนุษย์

 

1. ทุนทั้ง 4 (ทุนมนุษย์ ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนการเงิน ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี) ต้องทำงานด้วยกัน หากขาดทุนมนุษย์ความสำเร็จจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้

2. ทุนมนุษย์และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ต้องพึ่งพาและสอดคล้องไปด้วยกัน มนุษย์ต้องมีความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ในการพึ่งพาธรรมชาติและสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติโดยไม่สร้างปัญหาก่อให้เกิดมลภาวะต่าง ๆ

3. ทุนทางการเงิน หากทุนมนุษย์รู้จักความพอเพียง ไม่โลภ เดินทางสายกลาง และรู้จักการบริหารความเสี่ยง ก็จะสามารถทำให้ประเทศอยู่รอดได้

4. ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี เป็นทุนที่ต้องพึ่งพาทุนมนุษย์ การจะพัฒนาสิ่งใดก็ตาม ต้องใช้ปัญญาในการคิด คิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ โดยเรียนรู้จาก 2R’s คือการมองความจริงและตรงประเด็น เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบสนองต่อการใช้ชีวิต

นางจันทิมา คงคาลัย

นางจันทิมา คงคาลัย กลุ่มที่ 4

บทความจากเรื่องจริง ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

4ทุนในโลก, ทุนการเงิน, ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ, ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยีแต่สำคัญสุดทุนมนุษย์

1.ทุนการเงิน : เป็นทุนที่ต้องยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงและยั่งยื่น

2.ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ : มีมากมายมหาศาล แต่มนุษย์กับใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินความจำเป็น

3.ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี : เป็นทุนที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ ทุนทางปัญญา ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางเครือข่าย Network

4.ทุนมนุษย์ : การพัฒนาทุนมนุษย์เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ถือเป็นทุนที่มีความสำคัญมากที่สุด

การนำศาสตร์พระราชาด้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางแห่งความยั่งยืน เดินสายกลาง บริหารความเสี่ยงได้ ประเทศอยู่รอดประชาชนย่อมอยู่รอดเช่นกัน

นางสาวธิดา จิตต์ล้ำเลิศกุล กลุ่มที่ 3

กลุ่มที่ 3 นางสาวธิดา  จิตต์ล้ำเลิศกุล  

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน (ช่วงที่ 2 วันที่ 20-21 กรกฎาคม 2560)  

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

                การทำงานอย่างมีความสุขต้องมีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) และ Happy Workplace ควบคู่กัน โดย Happiness Capital เป็นส่วนบุคคลเกิดขึ้นเพราะชอบงาน มีความสุขที่ได้ทำงาน มีปัจจัย คือ         ชอบงานที่ทำ (Passion) รู้เป้าหมายของงาน (Purpose) และรู้ความหมายงานของ (Meaning) ซึ่ง CEO+HR         ต้องสร้าง Happy Workplace สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุข จึงจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีต่อองค์กร

                การประยุกต์ใช้ในการทำงาน ต้องค้นหาเป้าหมายของงานที่ทำให้พบจะทำให้มีความสุขในการทำงาน เกิดความคิดสร้างสรรค์ในงานที่ทำและลดความคิดในแง่ลบ ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องมอบงานที่เพิ่มความสุขให้แก่บุคคลในหน่วยงาน และสร้างวัฒนธรรมองค์กร ในการส่งเสริมและพัฒนาให้พนักงานเป็นเลิศโดยมีทั้งทุนแห่ง ความสุขและ Happy Workplace

 

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

                ระบบสารสนเทศมีหลายประเภท ได้แก่

  • EIS  เป็นระบบรวบรวม วิเคราะห์ ประมวลผล
  • DSS ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร
  • MIS ระบบสารสนเทศด้านการจัดการ คณิตศาสตร์ สถิติ เพื่อนำมาจัดทำรายงาน วางแผนและควบคุมการดำเนินงาน
  • TPS ระบบช่วยจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ที่เกิดจากการทำธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานในแต่ละวันขององค์กร เช่น ระบบลงทะเบียน การออกใบเสร็จรับเงิน
  • ES ระบบผู้เชี่ยวชาญ
  • OAS  ระบบที่สนับสนุนการปฏิบัติงานในสำนักงาน เช่น อีเมล์ ประชุมทางไกล การจัดทำเอกสารต่าง ๆ

               ในการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กร ต้องพิจารณางานของหน่วยงาน มีลักษณะอย่างไรและ เลือกใช้สารสนเทศให้เหมาะสม (What When Where Why For whom How) และถูกต้องตามกฎหมายและมีจริยธรรม ซึ่งการใช้สารสนเทศของมหาวิทยาลัยในยุค 4.0 ต้องเน้นนวัตกรรม ทำน้อยลงแต่ได้ผลลัพธ์มากขึ้น     

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมและกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน

                การพัฒนานวัตกรรมเกิดจาก Value + New + Implementation คือ ต้องเป็นสิ่งที่มีคุณค่า สิ่งใหม่ และสามารถนำไปใช้ได้จริง ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ไม่ทางเศรษฐกิจก็ทางสังคม

                สาระสำคัญคือทำอย่างไรให้คนในองค์กรมีความสุขกับการทำงาน ไม่รู้สึกว่าเป็นภาระในการสร้าง      นวัตกรรม สิ่งที่เป็นปัญหาคือ ไม่ส่งเสริมให้คนในองค์กรคิด ริเริ่มในการสร้างนวัตกรรม ทำให้ขาดความคิดสร้างสรรค์

                การนำไปปรับใช้ในการสร้างนวัตกรรมให้เกิดในมหาวิทยาลัยทักษิณ ต้องเริ่มจากผู้บริหารมีความจริงจังในการผลักดัน และบุคลากรต้องให้ความร่วมมือในทุกระดับ  และต้องทำอย่างต่อเนื่อง โดยใช้หลักการไคเซ็น เลิก สิ่งที่ไม่จำเป็น ลด อะไรที่ทำซ้ำ เปลี่ยน ขั้นตอนในการทำงาน โดยนำเงื่อนไข 8 สร้างสรรค์มาใช้ คือ ผุ้นำสร้างสรรค์ วัฒนธรรมสร้างสรรค์ กลยุทธ์สร้างสรรค์ ความรู้สร้างสรรค์ คนสร้างสรรค์ เข้าใจลูกค้าสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์ และผลลัพธ์สร้างสรรค์  

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม  จริยธรรม  และธรรมาภิบาล

                การทำงานอย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จต้อง Start with the end in mind เริ่มด้วยสุดท้ายว่าต้องการเห็นอะไร จะไปทิศทางใด

                คุณธรรม 4 ประการที่ควรมีในยุค 4.0 คือ พอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา

                การจะพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่ทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล สิ่งสำคัญต้องมีความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง โดยมี 9 Modules เป็นแนวทางพัฒนา ได้แก่

                1.  อบรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและพัฒนาสมรรถนะเป็นคนไทย 4.0

                2.  ค้นหาความจริงขององค์กร

                3.  ตั้งเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง

                4.  ออกแบบวิธีดำเนินการ  ใครคือผู้รับผิดชอบ ดำเนินการอย่างไร

                5.  ลงมือปฏิบัติ

                6.  จัดกระบวนการเรียนรู้

                7.  ชื่นชมยกย่อง

                8.  สร้างระบบประเมินผล

                9.  สร้างเครือข่ายคุณธรรม เชื่อมโยงกับหน่วยงานต่าง ๆ

กลุ่มที่ 3 นางสาวธิดา  จิตต์ล้ำเลิศกุล  

บทความจากเรื่องจริง ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

4 ทุนในโลก ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี แต่สำคัญสุดทุนมนุษย์

                ทุนทางการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี และทุนมนุษย์ ทั้ง 4 ทุน       ต้องทำงานด้วยกัน ถ้าขาดทุนมนุษย์ ความสำเร็จจะไม่เกิดขึ้น

  • ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ แม้จะมีทรัพยากร หากมนุษย์ขาดจริยธรรมและขาดปัญญา อนาคตจะไม่มีธรรมชาติหรือแหล่งอาหาร “ธรรมชาติไม่พึ่งมนุษย์ แต่มนุษย์พึ่งธรรมชาติ”
  • ทุนทางการเงิน การใช้เงินโดยขาดปัญญา ไม่ได้มองทุนแห่งความยั่งยืน อยู่รอด ทำให้เกิดปัญหาวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ซึ่งหากนำศาสตร์พระราชาเศรษฐกิจพอเพียง เดินสายกลางมาใช้ ประเทศก็จะอยู่รอด
  • ทุนทางเทคโนโลยี ซึ่งต้องพึ่งทุนมนุษย์ เช่น ทุนทางปัญญา ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ และ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางเครือข่าย เรียนรู้จาก 2R’s ความจริงและตรงประเด็น

ประโยชน์ต่อตัวเอง

                การใช้ทุนมนุษย์ในตนเองให้เกิดประโยชน์ โดยสิ่งสำคัญต้องดูบริบทของงานที่เกิดขึ้นจริง และพัฒนางานให้ตรงตามประเด็นที่องค์กรและลูกค้าต้องการ

ประโยชน์ต่อองค์กร

                การให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กร เพราะถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานในยุคปัจจุบัน โดยสำรวจว่าองค์กรมีทุนด้านใดบ้าง โดยวิเคราะห์ SWOT ของทุนแต่ละด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเงิน ทรัพยากร หรือเทคโนโลยี และใช้ทุนมนุษย์ในการสร้างหรือพัฒนาทุนเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด 

 

ภูริพัฒน์ พฤกษาพิทักษ์ กลุ่ม 2

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

ในการทำงานอย่างมีความสุขนั้นจะต้องประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 3 สิ่ง ที่ประกอบกัน คือ

passion การหลงไหลหรือการชื่นชอบในงาน

purpose การมีเป้าหมายในงาน

meaning การเข้าใจความหมายของงาน

หากเราสามารถทำให้ตนเองเข้าใจว่า meaning ของงานที่เรารับผิดชอบนั้นเป็นอย่างไร เราย่อมจะเห็นค่าในงานและค่าในตนเองได้ ซึ่งจะนำไปสู่การมีเป้าหมายในงานนั้น เมื่องานนั้นมีค่าและมีความหมายกับเราการหลงไหลหรือการชื่นชอบในงานมันก็จะเกิดขึ้นได้ หรือ หากงานที่เรามีความชื่นชอบหรือหลงไหลในงานของตนเองเป็นสำคัญอยู่แล้ว การที่เราจะมีเป้าหมายในงานที่เรารับผิดชอบมันก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย และเมื่อเกิดเป้าหมายที่มาจากความชื่นชอบในงานนั้นแล้วเราย่อมที่จะเรียนรู้และเข้าใจความหมายความสำคัญของงานนั้น

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

ในการพัฒนามหาวิทยาลัยให้สามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่นได้นัั้นเรามีความจำเป็นต้องเอา IT เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ การเรียนการสอน การให้บริการ เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ความคล่องตัวในการบริหารจัดการ แต่ในการนำ IT มาใช้นั้น จะมีประสิทธิภาพสูงสุดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับกฏและระเบียบขององค์กรว่าเอื้อต่อการนำ IT มาใช้ด้วยหรือไม่ พฤติกรรมหรือธรรมชาติของระบบงานนั้นมีความเหมาะสมที่จะนำ IT มาใช้หรือไม่ ซึ่งมีความสำคัญมากที่องค์กรจะต้องวิเคราะห์ให้ดีว่าระบบ IT ที่จะนำมาใช้นั้นสามารถตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างแท้จริงหรือไม่

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมเราสามารถอาศัยหลักของ KISEN คือ เลิก ลด และ เปลี่ยนแปลง การเลิกในสิ่งที่ทำแล้วไม่เกิดประโยชน์ สิ่งทำหรือไม่ทำก็ไม่มีความสำคัญ การลดในสิ่งที่มากเกินความจำเป็น ขั้นตอนที่ซ้ำ ๆ กัน และเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่มีความซับซ้อยทำให้ระบบงานไม่คล่องตัว แต่อย่างไรก็ตามในการนำนวัตกรรมมาใช้ในองค์กรนั้นไม่ใช้เพียงการนำ IT เข้ามาใช้ แต่เป็นการกระทำที่เกี่ยวข้องกับ ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ได้ประโยชน์ ผู้ปฏิบัติงาน ผลผลิตหรือบริการ กระบวนการทำงาน ซึ่งเราสามารถกระทำได้หลายรูปแบบด้วยกัน การเปลี่ยนแปลงการทำงาน การพัฒนาระบบการทำงาน การเปลี่ยนแปลงเครื่องมือ เป็นต้น

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล

ในยุคปัจจุบันการขาดคุณธรรม จริยธรรมและธรรมมาภิบาลในสังคมไทยได้เสื่อมลงอย่างรุนแรงและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศไทยอย่างมาก การเป็นผู้นำที่จะสามารถนำพาองค์กรให้ก้าวไปสู่อนาคตที่ดีได้นั้นผู้นำพึงจะต้องมีคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล การเป็นผู้นำที่สร้างแรงจูงใจที่ดี ผู้นำที่มีความเสียสละ ผู้นำที่มีความกล้า จึงจะนำพาให้องค์กรอยู่ได้ หากเรายอมตกอยู่ภายใต้สังคมหรือผู้ที่ขาดคุณธรรมแล้ว การพัฒนาองค์กรของเราหรือประเทศของเรานั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ สิ่งสำคัญในการการสร้างคุณธรรม จริยธรรมนั้น พึงจะต้องเริ่มที่ตนเองเป็นอันดับแรกและค่อย ๆ ส่งผ่านสิ่งนั้นไปยังผู้อื่นและสังคมของเราก็จะมีการพัฒนาด้วยคุณธรรม จริยธรรมนำไปสู่องค์กรที่ดี ประเทศไทยย่อมจะดีตามไปด้วย

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

ในการทำงานอย่างมีความสุขนั้นจะต้องประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 3 สิ่ง ที่ประกอบกัน คือ

passion การหลงไหลหรือการชื่นชอบในงาน

purpose การมีเป้าหมายในงาน

meaning การเข้าใจความหมายของงาน

หากเราสามารถทำให้ตนเองเข้าใจว่า meaning ของงานที่เรารับผิดชอบนั้นเป็นอย่างไร เราย่อมจะเห็นค่าในงานและค่าในตนเองได้ ซึ่งจะนำไปสู่การมีเป้าหมายในงานนั้น เมื่องานนั้นมีค่าและมีความหมายกับเราการหลงไหลหรือการชื่นชอบในงานมันก็จะเกิดขึ้นได้ หรือ หากงานที่เรามีความชื่นชอบหรือหลงไหลในงานของตนเองเป็นสำคัญอยู่แล้ว การที่เราจะมีเป้าหมายในงานที่เรารับผิดชอบมันก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย และเมื่อเกิดเป้าหมายที่มาจากความชื่นชอบในงานนั้นแล้วเราย่อมที่จะเรียนรู้และเข้าใจความหมายความสำคัญของงานนั้น

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

ในการพัฒนามหาวิทยาลัยให้สามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่นได้นัั้นเรามีความจำเป็นต้องเอา IT เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ การเรียนการสอน การให้บริการ เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ความคล่องตัวในการบริหารจัดการ แต่ในการนำ IT มาใช้นั้น จะมีประสิทธิภาพสูงสุดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับกฏและระเบียบขององค์กรว่าเอื้อต่อการนำ IT มาใช้ด้วยหรือไม่ พฤติกรรมหรือธรรมชาติของระบบงานนั้นมีความเหมาะสมที่จะนำ IT มาใช้หรือไม่ ซึ่งมีความสำคัญมากที่องค์กรจะต้องวิเคราะห์ให้ดีว่าระบบ IT ที่จะนำมาใช้นั้นสามารถตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างแท้จริงหรือไม่

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมเราสามารถอาศัยหลักของ KISEN คือ เลิก ลด และ เปลี่ยนแปลง การเลิกในสิ่งที่ทำแล้วไม่เกิดประโยชน์ สิ่งทำหรือไม่ทำก็ไม่มีความสำคัญ การลดในสิ่งที่มากเกินความจำเป็น ขั้นตอนที่ซ้ำ ๆ กัน และเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่มีความซับซ้อยทำให้ระบบงานไม่คล่องตัว แต่อย่างไรก็ตามในการนำนวัตกรรมมาใช้ในองค์กรนั้นไม่ใช้เพียงการนำ IT เข้ามาใช้ แต่เป็นการกระทำที่เกี่ยวข้องกับ ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ได้ประโยชน์ ผู้ปฏิบัติงาน ผลผลิตหรือบริการ กระบวนการทำงาน ซึ่งเราสามารถกระทำได้หลายรูปแบบด้วยกัน การเปลี่ยนแปลงการทำงาน การพัฒนาระบบการทำงาน การเปลี่ยนแปลงเครื่องมือ เป็นต้น

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล

ในยุคปัจจุบันการขาดคุณธรรม จริยธรรมและธรรมมาภิบาลในสังคมไทยได้เสื่อมลงอย่างรุนแรงและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศไทยอย่างมาก การเป็นผู้นำที่จะสามารถนำพาองค์กรให้ก้าวไปสู่อนาคตที่ดีได้นั้นผู้นำพึงจะต้องมีคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล การเป็นผู้นำที่สร้างแรงจูงใจที่ดี ผู้นำที่มีความเสียสละ ผู้นำที่มีความกล้า จึงจะนำพาให้องค์กรอยู่ได้ หากเรายอมตกอยู่ภายใต้สังคมหรือผู้ที่ขาดคุณธรรมแล้ว การพัฒนาองค์กรของเราหรือประเทศของเรานั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ สิ่งสำคัญในการการสร้างคุณธรรม จริยธรรมนั้น พึงจะต้องเริ่มที่ตนเองเป็นอันดับแรกและค่อย ๆ ส่งผ่านสิ่งนั้นไปยังผู้อื่นและสังคมของเราก็จะมีการพัฒนาด้วยคุณธรรม จริยธรรมนำไปสู่องค์กรที่ดี ประเทศไทยย่อมจะดีตามไปด้วย

วิภาวี ปังธิกุล (กลุ่ม4)

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

การสร้างทุนแห่งความสุขให้ค้นหา passion ของตนเองเพื่อนำมาพัฒนา ซึ่งต้องใช้ทั้งศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ ในขณะเดียวกันองค์กรก็ต้องจัดปัจจัย Happy workplace  ถ้ามีทั้งสองส่วนนี้ก็จะทำให้ทำงานอย่างมีความสุข และผลผลิตสูงขึ้น

 

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารฯ

                ปัจจุบันข้อเท็จจริงคือเทคโนโลยีจะเปลี่ยนวิธีการดำรงชีวิต รวมทั้งการทำงาน ต้องตามให้ทัน และการจัดสารสนเทศให้เหมาะสมขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งาน ต้องรู้ว่าใช้กับใคร ทำไมต้องใช้ ใช้เมื่อไร หาได้จากไหน รวมทั้งการเก็บรักษาสารสนเทศ ทำสำคัญคือต้องใช้อย่างมีจริยธรรม

 

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

                นวัตกรรมเกิดจาการต้องการแก้ปัญหา หรือสร้างทางเลือกใหม่ๆ การสร้างนวัตกรรมเป็นการสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสีย ด้วยการพัฒนาปรับปรุง การสร้าต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการอะไร สิ่งที่ต้องคำนึกถึงคือต้องทำให้ใช้งานง่าย และคนทำงาน happy องค์กรแห่งนวัตกรรมจะมองว่าเป็นหน้าที่ของทุกคน ทุกระดับ ทุกตำแหน่งในการสร้างนวัตกรรม  

 

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล

                หนึ่งในคุณสมบัติผู้นำที่โลกต้องการ คือการมีความกล้าทางจริยธรรม ไทยแลนด์ 4.0 ให้ความสำคัญกับจริยธรรม มีแผนแม่บทกำหนดคุณธรรม 1 อย่างคือ พอเพียง มีวินัย สุจริต มีจิตอาสา มีกระบวนการพัฒนาคนไทยสู่สังคมไทย 4.0 วิทยากรได้นำเสนอ MODEL การพัฒนาทุนทางจริยธรรมในสถานศึกษาที่น่าสนใจ เป็นแนวทางในการปรับใช้ได้เป็นอย่างดี

นางสาวขวัญใจ นิ่มดวง กลุ่มที่ 1

งาน: อ่านบทความจากความจริง " 4 ทุนในโลก, ทุนการเงิน, ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ, ทุนทางวัตถุ หรือ เทคโนโลยี แต่าำคัญสุด ทุนมนุษย์"

      จากการอ่านบทความ มีแนวคิดที่นำมาปรับใช้ ดังนี้

1. ประโยชน์ที่ได้ต่อตนเอง

บทความช่วยสร้างความตระหนักถึงความสำคัญในทุนมนุษย์ ซึ่งในบทความได้อธิบายให้เห็นภาพอย่างชัดเจน กล่าวคือ ไม่ว่าจะเป็นทุนทรัพยากรมนุษณ์ ทุนการเงิน หรือทุนอื่นๆ ล้วนพึ่งทุนมนุษย์ในการขับเคลื่อน ความสำเร็จจึงสามารถเกิดขึ้นได้ จึงทำให้ตนเองได้เห็นประโยชน์และความสำคัญในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ เพื่อให้การดำเนินการในงานสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ประโยชน์ที่ได้ต่อองค์กร

ทุนมนุษย์เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนให้องค์กรประสบความสำเร็จ เพราะฉะนั้นผู้นำองค์กร จะต้องให้การพัฒนา ดูแล ส่งเสริมความก้าวหน้า สร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์กร ส่วนผู้ปฏิบัติงานในองค์กร ก็จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับทีมเวิร์คเช่นกัน เพื่อให้องค์กรได้รับประโยชน์สูงสุด

นางโสภิน วัฒนเมธาวี กลุ่ม 3

สิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน ช่วงที่ 2

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

           การทำงานอย่างมีความสุข คือ เราทำเพราะหัวใจเราแสวงหา และเราจะทำให้สุดฝีมือ ซึ่งต้องอาศัยกฎในการสร้างทุนแห่งความสุข คือ

           1. สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม (Healthy)

           2. ชอบงานที่ทำ (Passion)

           3. รู้เป้าหมายของงาน (Purpose)

           4. รู้ความหมายของงาน (Meaning)

           5. มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ (Capability)

           6. เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา (Learning)

           7. เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare)

           8. ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว (Teamwork)

           9. ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม (Coaching)

           10.ทำงานที่ท้าทาย (Challenge)

           11.ทำงานที่มีคุณค่า (Enrichment)

           ทั้งนี้จะต้องคิดถึงหลักของ Passion – Purpose – Meaning นั่นหมายถึง

           Passion คือ รักในงานที่ทำ มุ่งมั่น ตั้งใจทำงาน

           Purpose คือ การกำหนดเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน และทำอย่างต่อเนื่อง

           Meaning คือ เข้าใจความหมายของงานอย่างแท้จริง

           ซึ่งจะทำให้เรามีความสุขในการทำงาน และทำอย่างตั้งใจเมื่อรู้คุณค่าของงานเหล่านั้น

 

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

           การใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการข้อมูลในการทำงาน ควรต้องกำหนดสารสนเทศให้เหมาะสมกับงาน เวลา แหล่งข้อมูล  ผู้ใช้ข้อมูล และการนำเสนอข้อมูล ทั้งนี้หัวใจสำคัญของสารสนเทศและข้อมูล คือ ความปลอดภัยในการเก็บข้อมูล ดังนั้นการทำงานของเราจึงต้องพิจารณาให้รอบคอบ และเข้าใจระบบสารสนเทศและข้อมูลอย่างถ่องแท้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มมูลค่าของงานได้มากยิ่งขึ้น

วิชาที่ 8  การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

           นวัตกรรม คือ การสร้างคุณค่า (Value) ที่ทำให้คนพึงพอใจและมีความสุขในการใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็น สินค้า  บริการ วิธีการ การจัดการ ดังนั้นการผลิตนวัตกรรมใด ๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงคุณค่า (Value) : คือ เราดีกว่าเขาอย่างไร  สิ่งใหม่/ของใหม่ (New) : คือ สิ่งที่เราทำใหม่ดีกว่าหรือแตกต่างจากคนอื่นหรือไม่  และลงมือทำ (Implementation)  : คือนำ Vulue และ New มาทำอย่างต่อเนื่อง  โดยจะต้องให้ความสำคัญกับการเลิก (เลิกสิ่งที่ไม่จำเป็น)  ลด  (ลดอะไรที่ทำซ้ำๆ) และเปลี่ยน (เปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้สั้นลง)  ของสินค้า และบริการเหล่านั้นให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งองค์กรต้องอาศัยกฎแห่งนวัตกรรมแห่งการสร้างสรรค์ คือ ผู้นำสร้างสรรค์ วัฒนธรรมสร้างสรรค์ กลยุทธ์สร้างสรรค์  ความรู้สร้างสรรค์  คนสร้างสรรค์  เข้าใจลูกค้าสร้างสรรค์  กระบวนการสร้างสรรค์  และผลลัพธ์สร้างสรรค์

วิชาที่  9  การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

           ผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติ  3 อย่างคือ

             1. มีความกล้าหาญทางจริยธรรม

             2. ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ

             3. ผู้นำที่เสียสละ

             คุณธรรม 4 ประการที่ผู้นำควรมี ประกอบด้วย พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา

             และการทำงานของเรานอกจากการเป็นผู้นำที่ดี เก่ง และกล้าทางจริยธรรมแล้ว เราจะต้องถามตัวเองว่า “Start with the end in mind” เราต้องมีเป้าหมายในชีวิต เราต้องเห็นจุดสิ้นสุดของเป้าหมายว่าเราต้องการอะไร ดังนั้นเราค้นหาเสียงภายในของตนเองให้เจอ แล้วเราจะทำงานได้อย่างมีความสุข และจะเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นได้ค้นหาเสียงของเขาเช่นกัน  ดังนั้นไม่ว่าเราจะทำงานอะไรให้เราทำให้ดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด ละเอียดที่สุด รอบคอบที่สุด แล้วเราจะมีความสุขจากสิ่งที่ได้ทำ

บทความ  “4 ทุนในโลก ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี

           แต่ทุนสำคัญสุด คือ ทุนมนุษย์”

              ข้อคิดที่ได้จากบทความนี้ คือ ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี ล้วนมีความสำคัญสำหรับโลก แต่ทุนที่สำคัญที่สุด คือ ทุนมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นทั้งผู้สร้างและทำลาย  ดังนั้นหากเราสามารถพัฒนามนุษย์ให้มีทุนทางความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ และแก้ปัญหาเป็น มนุษย์จะเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาโลกให้ยิ่งใหญ่อย่างมีคุณค่าโดยไม่ละทิ้งคุณค่าทางด้านศีลธรรม จรรยาบรรณ 

นางสาวดุสิดา แก้วสมบูรณ์ กลุ่มที่ 1

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานทุกรายวิชา

วันพฤหัสบดีที่  20 กรกฎาคม 2560

รายวิชาที่ 6  การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

         แนวคิดเรื่องทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) เป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีทุนมนุษย์ (Human Capital) ซึ่งเป็นเรื่องส่วนบุคคล (Individual) ที่เกิดจากงานที่ทำได้ใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ และมีความชอบในงานที่ทำ มีความสุขที่ได้ทำงาน และงานที่ทำจะต้องมี Impact ต่อคนอื่น โดยจะเน้นเรื่องการนำไปปฏิบัติ และอยู่อย่างยั่งยืน ไม่ใช่เป็นเพียงแค่นามธรรมเท่านั้น โดยจะยึดหลักทฤษฎี 2R’s ตามแนวทางของ Chira Way คือ การมองความจริง (Reality) และตรงประเด็น (Relevance) เพื่อส่งเสริมให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

          การมีทุนแห่งความสุข จะช่วยทำให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ง่ายและได้ผลสูงสุด สามารถตัดสินใจได้ดี มีความมั่นใจในตนเอง มีความรอบคอบ มองโลกในแง่ดี มีพลังในการทำงาน พร้อมที่จะเรียนรู้ในงานใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีความสนุกกับงานที่ทำอยู่ อีกทั้งยังทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) สูงขึ้น สามารถหาทางออกของปัญหาได้

 รายวิชาที่ 7  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          ระบบสารสนเทศที่ดีจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ นโยบาย อีกทั้งวิเคราะห์ทางเลือกที่เป็นไปได้ประกอบการตัดสินใจ ซึ่งจะต้องมีฐานข้อมูล ในการจัดเก็บ ประมวลผล และวิเคราะห์สารสนเทศได้ โดยสารสนเทศที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ เชื่อถือได้ ตรงประเด็นตามความต้องการ มีความง่าย คุ้มค่า มีความยืดหยุ่น และตรวจสอบได้

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

         ผู้บริหารของหน่วยงานจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดสารสนเทศที่ต้องการ โดยพิจารณาจากลักษณะงานหน้าที่ของหน่วยงาน ที่มาของสารสนเทศ มีการกำหนดผู้ใช้สารสนเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อจะได้จัดหารูปแบบในการนำเสนอที่เหมาะสม อีกทั้งมีการกำหนดเวลาที่ต้องใช้ในการรวบรวม ประมวลผลสารสนเทศ เพื่อจัดทำรายงานให้สอดคล้องกับเวลาที่ต้องการ

วันศุกร์ที่  21 กรกฎาคม 2560

รายวิชาที่  8  การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม และกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน 

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

         การจะทำให้เป็นองค์กรนวัตกรรมได้ จะต้องประกอบด้วย Innovation + Management ซึ่งเกิดจาก

  • Value  เรามีอะไรที่จะทำให้เขาเลือกเรา
  • New คุณค่าที่ทำนั้นใหม่หรือไม่
  • Implement คุณค่าที่แตกต่างและใหม่ สามารถนำไป Implement ได้จริงหรือไม่ ซึ่งการทำ Value หรือ New ต้อง Implement ให้ได้ ต้องสามารถ Commit ได้ว่าจะ Implement อะไร

         นวัตกรรมเป็นการสร้าง Value โดยคนที่เกี่ยวข้องพอใจ และมีความสุข (เป็นการบริการ วิธีการจัดการ ไม่จำเป็นต้องเป็นแค่สินค้าอย่างเดียว อีกทั้งยังไม่ใช่เป็นแค่เรื่องของการวิจัยและการพัฒนาเท่านั้น นวัตกรรมมีอยู่ทุกที่ เป็นเรื่องของคนทุกคนในองค์กร ทุกหน้าที่งาน ทุกระดับในมหาวิทยาลัย ซึ่งนวัตกรรมที่ดีจะต้องทำให้ได้ง่ายที่สุด ซึ่งปัญหาของการทำนวัตกรรมที่ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้ เนื่องมาจาก

  • ปัจจัยภายนอก ได้แก่ กฎ ระเบียบต่างๆ
  • ปัจจัยภายใน ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กรไม่ได้ส่งเสริมให้คนคิดและทำ แต่ส่งเสริมให้คนกลัวและชำเลืองดูว่าผู้บริหารจะให้ทำอะไรก็จะทำตาม

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

         วิธีการสร้างให้คณะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ต้องเริ่มตั้งแต่ผู้บริหาร (Leadership) ในทุกระดับต้องมีความจริงจังให้เกิดการผลักดันในองค์กร เป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดนวัตกรรมการแข่งขัน ซึ่งต้องมีการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง กระจายอำนาจสู่พนักงานและถ่ายทอดแนวทางที่ชัดเจนผ่านกลยุทธ์องค์กรให้เหมาะสมต่อการถ่ายทอดนวัตกรรม เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมที่สามารถสร้างความเป็นเลิศให้กับองค์กรได้ รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำงาน จะต้องมีการปรับวิธีคิดในการทำงาน โดยเป็นองค์นวัตกรรม เทคโนโลยีสามารถเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเรามีวิธีการคิดที่ดี

 รายวิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

 สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          การทำงานให้มีความสุขและประสบความสำเร็จ ต้องเริ่มต้นด้วย Start with the end in mind ให้เริ่มด้วยจุดจบว่าต้องการเห็นอะไร จะไปไหน และสิ่งที่เราจะหยิบยื่นให้กับสังคมเป็นอย่างไร สุดท้ายต้องการอะไร ซึ่งจะต้องมี Purpose Passion and Mending

ผู้นำมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่

         1. ผู้นำโดยตำแหน่งหน้าที่ที่มีสิทธิให้คุณและโทษ

         2. ผู้นำโดยธรรมชาติ เป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ เป็นผู้นำที่เสียสละ เป็นผู้มีความกล้าหาญทางจริยธรรม  ซึ่งผู้นำประเภทนี้จะไม่มีตำแหน่งหน้าที่เลย แต่คนจะทำตามด้วยความเต็มใจ

การเรียนรู้เพื่อตอบสนองเป้าหมาย มี 4 อย่าง ดังนี้

         1. เรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เพื่อตอบโจทย์เฉพาะบุคคลเป็น Personal Life Learning

         2. เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เน้นการใช้ความคิด กระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา มีความคิดนอกกรอบ ไม่ยึดติดกับความรู้เดิมๆ

         3. เรียนรู้เพื่อส่วนรวม เน้นกลุ่มจิตสาธารณะที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นการเรียนรู้แบบการรังสรรค์ร่วมกัน เป็นการเรียนแบบ Open and Share Learning

         4. เรียนรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ เน้นการเรียนจากทฤษฎี ฟังบรรยาย และวิเคราะห์แก้ไขปัญหาจริง

 สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

          หลักในการทำงานให้มีความสุข ให้คิดว่าถ้าหากเขาให้เราทำงานมากๆ ให้คิดว่าเค้าให้ความไว้วางใจและเชื่อใจเราให้ทำงาน ก็จะทำให้เรามีความสุขในการทำงานในทุกๆ วัน แต่อย่างไรก็ตามเราควรจะค้นหาเสียงภายในตัวเอง อีกทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นในการค้นหาเสียงของตนด้วย อันประกอบด้วย Purpose , Passion และ Meaning ซึ่งถ้าเราสามารถหาเสียงภายในเราเจอก็จะทำให้เรามีความสุข ชีวิตมีความหมาย เนื่องจากได้ทำงานในสิ่งที่เรารักและเดินตามความฝันของตัวเอง   

 บทความเรื่อง  “4 ทุนในโลก ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี

                      แต่สำคัญสุด ทุนมนุษย์”

         1. ทุนในโลกทั้ง 4 ทุน ต้องทำงานด้วยกัน ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี ซึ่งทุนมนุษย์สำคัญที่สุด หากขาดทุนมนุษย์ ความสำเร็จจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้

         2. ทุนมนุษย์กับทุนทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ถ้ามนุษย์ขาดจริยธรรมและขาดปัญญาในการดูแลรักษาธรรมชาติ อนาคตมนุษย์ก็จะไม่มีธรรมชาติหรือแหล่งอาหารไว้เพื่อความอยู่รอด ดังคำกล่าวที่ว่า “ธรรมชาติไม่พึ่งมนุษย์ แต่มนุษย์พึ่งธรรมชาติ”

         3. ทุนทางการเงิน ถ้าหากมนุษย์ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เดินทางสายกลาง บริหารความเสี่ยงได้ ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืน อยู่รอดทั้งต่อตนเองและต่อประเทศชาติได้

         4. ทุนทางเทคโนโลยี อันได้แก่ ทุนทางปัญญา ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ทุนทางนวัตกรรม เป็นทุนที่ต้องพึ่งทุนมนุษย์ ซึ่งจะต้องอาศัยปัญญาในการคิดนอกกรอบ ผ่านการเรียนรู้ที่ดีโดยอาศัยหลักทฤษฎี 2R’s คือการมองความจริงและตรงประเด็น เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบสนองต่อการใช้ชีวิตตามแนวทางของ   Chira Way

นางสาวสุชาดา ถาวรานุรักษ์ กลุ่มที่ 2

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          การทำงานอย่างมีความสุขนั้นจะต้องประกอบด้วย Passion Purpose Meaning เห็นคุณค่าในตัวเอง คุณค่าของงาน นำไปสู่เป้าหมายของงานและหลงใหลในงานที่ทำนั้นและมีความสุขกับงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยดูบริบทขององค์กร รู้จักยุทธศาสตร์ เรียนรู้จากความจริง ตรงประเด็น วิธีการที่ดีและถูกต้อง การลำดับงาน ขั้นตอน ต้องรู้จักจังหวะ มีสุขภาพใจและสุขภาพกายที่แข็งแรง มีการทำงานเป็นทีม มีเครือข่าย คิดอย่างสร้างสรรค์ มีทุนทางอารมณ์ และยึดหลักทฤษฎี 3 วงกลม

สิ่งที่จะนำไปใช้กับการการทำงาน

          การสร้างทุนแห่งความสุขให้เริ่มค้นหา Passion ที่ตนเองเพื่อการพัฒนา ซึ่งต้องศึกษา วิเคราะห์ บริบทขององค์กร วัฒนธรรมองค์กร Happy workplace เมื่อทำไปแล้วมีความสุขจะเป็น Happy at work   โดยใช้เครื่องมือ 2 R และทฤษฎี 3 วงกลม เมื่อมีทั้งสองส่วนจะทำให้ทำงานอย่างมีความสุขและองค์กรเกิดประโยชน์สูงสุด

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          ระบบสารสนเทศเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการทำงานและสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารเพื่อนำไปใช้ในการวางแผน วิเคราะห์ ตัดสินใจและอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งข้อมูลในระบบสารสนเทศนั้นต้องเป็นสารสนเทศที่ดี มีความถูกต้อง มีความครบถ้วน มีความเชื่อถือได้ ตรงประเด็นตามความต้องการ มีความง่าย   มีความคุ้มค่า มีความยืดหยุ่น และตรวจสอบได้

สิ่งที่จะนำไปใช้กับการการทำงาน

          ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความสำคัญกับการทำงาน การดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องนำมาปรับใช้กับตัวเองและองค์กรให้ทันกับสถานการณ์ วิธีการที่เปลี่ยนแปลงไป ต้องคำนึงถึงสารนสนเทศที่เหมาะสม           คุ้มทุนต่อการกระบวนการทำงานและทันท่วงทีในการตัดสินใจ

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          นวัตกรรม ประกอบด้วย 3 อย่าง Value New Implementation คือการสร้างคุณค่า การหาสิ่งใหม่ การลงมือทำ โดยอาศัยหลักการ เลิก ลด เปลี่ยนและเงื่อนไข 8 สร้างสรรค์มาใช้ มีเป้าหมายที่ชัดเจนต้องการอะไรเป็นแบบไหน ปรับเปลี่ยนกระบวนการภายในทำให้รายได้เพิ่มขึ้น ปรับกระบวนการให้ลดขั้นตอนและส่งผลให้คนทำงานมีความสุขและนำเทคโนโลยีมาใช้ในการคิดปรับให้เข้ากับองค์กรและเป็นนวัตกรรม โดยเริ่มจากผู้นำจริงจัง จริงใจทำเป็นแบบอย่าง ให้อำนาจ บอกทิศทาง บริหารนวัตกรรมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

สิ่งที่จะนำไปใช้กับการการทำงาน

          การสร้างนวัตกรรมเกิดจากการต้องการแก้ไขปัญหา โดยผ่านความล้มเหลว โอกาส สิ่งใหม่ๆ สร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วยการพัฒนา ปรับปรุง ลด เลิก เปลี่ยนกระบวนการ ลงมือทำก้าวผ่านอุปสรรค มีเป้าหมายที่ชัดเจน คำนึงถึงการทำให้ใช้ง่ายและคนทำงานมีความสุขและองค์กรแห่งนวัตกรรมจะมองว่าเป็นหน้าที่ของทุกคน ทุกระดับ ทุกตำแหน่ง

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          ผู้นำที่ดี มี 3 ประเภท

          1. มีความกล้าทางจริยธรรม

          2. ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ

          3. ผู้นำที่เสียสละ

          การจะเป็นผู้นำที่ดีนั้น ต้องมีคุณธรรม  4 ประการ มี  9 Modules ประการ ไทยแลนด์ 4.0 ให้ความสำคัญกับจริยธรรมในแม่บทคุณธรรม และนอกจากเป็นผู้นำที่ดีแล้วจะต้องเป็นผู้นำที่มีความกล้าทางด้านจริยธรรม และต้องถามตัวเองว่าเรามีเป้าหมายในชีวิตอย่างไรและจุดสิ้นสุดของเป้าหมายเราต้องการอะไร ค้นหาเสียงของหัวใจให้เจอ จะทำให้เรามีความสุข เกิดแรงบันดาลใจและมีความสุข

สิ่งที่จะนำไปใช้กับการการทำงาน

          ในสังคมปัจจุบันขาดจริยธรรม คุณธรรม หลักธรรมภิบาลในสังคมมากขึ้น ทำให้สังคมเสื่อมลงอย่างรุนแรงส่งผลให้การพัฒนาประเทศล่าหลังไปด้วย การจะเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องเป็นผู้นำที่ดีความกล้าทางด้านจริยธรรม เสียสละ มีความกล้า เป็นแบบอย่าง โดยเริ่มจากตัวเองก่อนและส่งต่อไปยังผู้อื่น ผู้นำที่ดีจะต้องกล้าจะเปลี่ยนและใช้หลัก 9 Modules เป็นแนวทางในการพัฒนา

วิเคราะห์บทความ 4 ทุนในโลก ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรม ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี แต่ทุนสำคัญที่สุด คือทุนมนุษย์

          ทุนทางการเงิน การใช้เงินโดยขาดปัญญา ทำให้เกิดปัญหาวิกฤตต้องนำใช้ศาสตร์พระราชาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวปฏิบัติ

          ทุนทรัพยากรธรรมชาติ แม้จะมีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากหากมนุษย์ขาดจริยธรรมและปัญญา อนาคตจะไม่มีธรรมชาติเพราะมนุษย์ต้องพึ่งธรรมชาติ

          ทุนทางเทคโนโลยี ต้องพึ่งทุนมนุษย์ คิดนอกกรอบ เรียนรู้ที่ดีและเรียนจากความจริง ตรงประเด็น

          การใช้ทุนมนุษย์ให้เกิดประโยชน์ต้องดูบริบทจากความจริง ตรงประเด็นขององค์กรและตนเอง ทุนมนุษย์สำคัญที่สุดแต่ทั้ง 4 ด้านต้องทำด้วยกัน ใช้ปัญญา คิดเป็น คิดนอกกรอบ จึงจะประสบความสำเร็จทุกอย่างต้องพึ่งพากัน พัฒนาตนเอง องค์กรในบริบทที่เรามีเพื่อพัฒนาทุนเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด

          

นางสาวอรกมล ไกรวงศ์ กลุ่มที่ 5

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานทุกรายวิชา ช่วงที่ 2 (20-21 กรกฎาคม 2560)

รายวิชาที่ 6  การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

         การทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ นั้น  ประกอบด้วย 3 ส่วนตามทฤษฎีวงกลม  โดยต้องเริ่มจากตัวเราก่อน นั่นคือ ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) เป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีทุนมนุษย์ (Human Capital) ซึ่งเป็นเรื่องส่วนบุคคล (Individual) เราต้องทราบ Meaning คือรู้ความหมายของงานที่ทำ Purpose  คือ รู้เป้าประสงค์ของงานที่ทำ ถ้าเราทำงานเพื่อคนอื่น จะเป็นความสุขมี่มากกว่าการทำเพื่อตัวเอง และ Passion คือความรู้สึกชอบในงานที่ทำ ส่วนที่ 2  คือ Happy Workplace  คือ การสร้างบรรยากาศในที่ทำงานให้มีความสุข มีการมอบหมายงานที่เพิ่มความสุข (ท้าทาย) ลดการขัดแย้งในองค์กรและ ดูแลวัฒนธรรมองค์กรให้ไปในทางสร้างให้พนักงานเป็นเลิศให้ได้ และสุดท้ายคือ Motivation คือ เครื่องมือตัวช่วยในการขับเคลื่อน โดยจะยึดหลักทฤษฎี 2R’s ตามแนวทางของ Chira Way คือ การมองความจริง (Reality) และตรงประเด็น (Relevance) เพื่อส่งเสริมให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 รายวิชาที่ 7  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

          ระบบสารสนเทศที่ดีจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารในการวางแผนกลยุทธ์และกำหนดนโยบาย ซึ่งจะต้องมีฐานข้อมูล ในการจัดเก็บ ประมวลผล และวิเคราะห์สารสนเทศประกอบการตัดสินใจได้ โดยสารสนเทศที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ เชื่อถือได้ ตรงประเด็นตามความต้องการ มีความง่าย คุ้มค่า มีความยืดหยุ่น และตรวจสอบได้        ดังนั้น เราควรมีการปรับตัวในยุคแห่งเทคโนโลยี และพิจารณาเลือกสารสนเทศที่เหมาะสมมาใช้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

รายวิชาที่  8  การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม และกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน 

         ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่มีความหลากหลาย สังคมแห่งโลกออนไลน์ การไม่สามารถเชื่อถือใครได้ นั้น เราจึงต้องมีการปรับตัว การจะทำให้เป็นองค์กรนวัตกรรมได้ จะต้องประกอบด้วย Innovation + Management ต้องพิจารณาสำรวจว่าเรามีอะไรที่จะทำให้เขาเลือกเรา(Value)  มีความใหม่ แตกต่างจากคนอื่น (New) และต้องนำไปใช้ได้ (Implement) นวัตกรรมนั้น ไม่ได้เป็นแค่ การวิจัยและพัฒนา เท่านั้น การวิจัยและพัฒนาเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่นวัตกรรมนั้นอยู่ในทุกที่ เป็นได้ทั้งผลิตภัณฑ์ บริการ ขั้นตอน วิธีการทางการตลาด  การบริหารจัดการ  โดยวิธการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมน้องเริ่มจากผู้นำ ต้องมีการผลักดัน แสดงตัวอย่างที่ชัดเจนในการเปิดรับสิ่งใหม่ กระจายอำนาจสู่พนักงาน ถ่ายทอดแนวทางที่ชัดเจนผ่านกลยุทธ์ การบริหารคนให้มีความเหมาะสมต่อการสร้างนวัตกรรม  และสิ่งที่เราต้องทำในการสร้างนวัตกรรม คือ ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน และปรับประกวนการภายใน โดยการเลิก (เรื่องที่ไม่จำเป็น  เรื่องที่ไม่ทำก็ได้) ลด (การแก้ไข การทำใหม่ การตรวจสอบซ้ำๆ) เปลี่ยน ( เปลี่ยนขั้นตอน ตำแหน่ง วิธีการทำงาน ขนาด วัสดุ)

 รายวิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

          การทำงานให้มีความสุขและประสบความสำเร็จ ต้องเริ่มต้นด้วยการตอบคำถามให้ได้ว่าสุดท้ายแล้วชีวิตต้องการอะไร  Start with the end in mind นั่นคือ เราจะต้องรู้เป้าหมาย (Purpose) มีความชอบ พลังจากข้างใน (Passion) และรู้ความหมายของตัวเราและคนรอบข้าง (Meaning)

ผู้นำที่โลกต้องการ ได้แก่ ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ ผู้นำที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และผู้นำที่เสียเสียสละ การอบรมในหัวข้อนี้ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการยึดหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 โดยจะทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดเพื่อตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน และจะนำ 9 Modules มาปรับใช้ในหน่วยงานเพื่อพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล  ได้แก่ 1.การอบรม ปรับเปลี่ยน พัฒนาสมรรถนะเป็น คนไทย 4.0  2.การค้นหาความจริงขององค์กร 3.ตั้งเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง 4.ออกแบบดำเนินการ 5.ลงมือปฏิบัติ 6.จัดกระบวนการเรียนรู้ 7.ชื่นชม ยกย่อง 8.สร้างระบบประเมิน 9.สร้างเครือข่ายคุณธรรม

บทความเรื่อง  “4 ทุนในโลก ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยีแต่สำคัญสุด ทุนมนุษย์”

สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ประโยชน์

4 ทุนในโลก ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี ต้องทำงานด้วยกัน ซึ่งทุนมนุษย์สำคัญที่สุด ถ้าขาดทุนมนุษย์ ความสำเร็จจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้  ในบทความได้ยกตัวอย่างไว้ คือ

นางสาวอรกมล ไกรวงศ์ กลุ่มที่ 5

บทความเรื่อง  “4 ทุนในโลก ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยีแต่สำคัญสุด ทุนมนุษย์”

สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ประโยชน์

4 ทุนในโลก ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี ต้องทำงานด้วยกัน ซึ่งทุนมนุษย์สำคัญที่สุด ถ้าขาดทุนมนุษย์ ความสำเร็จจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้  ในบทความได้ยกตัวอย่างไว้ คือ

- ทุนมนุษย์กับทุนทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ถ้ามนุษย์ขาดจริยธรรมและขาดปัญญาในการดูแลรักษาธรรมชาติ อนาคตมนุษย์ก็จะไม่มีธรรมชาติหรือแหล่งอาหารไว้เพื่อความอยู่รอด ดังคำกล่าวที่ว่า “ธรรมชาติไม่พึ่งมนุษย์ แต่มนุษย์พึ่งธรรมชาติ”

- ทุนทางการเงิน  กรณีประเทศไทยเจอวิกฤตการ์ต้มยำกุ้ง หรือวิกฤตการณีแฮมเบอร์เกอร์ หากเราใช้ศาสตร์พระราชาเศรษฐกิจพอเพียง เดินทางสายกลาง บริหารความเสี่ยงได้ ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืน อยู่รอดทั้งต่อตนเองและต่อประเทศชาติ

- ทุนทางเทคโนโลยี ซึ่งต้องพึ่งทุนมนุษย์ เช่น ทุนทางปัญญา ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางเครือข่าย คือทำคนเดียวไม่ได้  ต้องอาศัยปัญญาคิดเป็น คิดนอกกรอบ ผ่านการเรียนรู้ที่ดีโดยอาศัยหลักทฤษฎี 2R’s คือการมองความจริงและตรงประเด็น ตามแนวทางของ   Chira Way

นายธีระ จันทิปะ  กลุ่ม ๔ สรุปสาระจากการเรียนรู้ และสิ่งที่จะนำไปใช้ (วิชาที่ ๖-๙)

วิชาที่ ๖ การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

            Passion คือชอบงานที่ทำ จะเป็นตัวแปรที่สำคัญ. เมื่อสร้างในการทำงานpassionได้ จะพบกับความสุขในการทำงาน. ทิศทางในการทำงานต้องมีเป้าหมาย(porpose)ของงานตนเองและองค์กรเป็นลำดับต้น. การให้ได้มาซึ่งข้อมูลสำคัญ คือมองความจริงและตรงประเด็น(2R’s).  ดังนั้นทุนแห่งความสุขจึงเป็นสิ่งจำเป็น ต้องเป็นของแท้และยั่งยืน สามารถนำไปปฏิบัติได้. ใช้สิ่งนี้จะไปเชื่อมกับทุนอย่างอื่นในภาพรวมของทุนมนุษย์ทั้ง 8 K’s และ 5 K’s. ผู้นำต้องทำให้มีบรรยากาศในการทำงานที่มีความสุขเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ขององค์กรเชิงบวก. การสร้างทุนแห่งความสุขใช้หลัก Happiness capital ที่ต้องคำนึงถึงสุขภาพกายและจิตใจตนเอง. ให้คุณค่าและความหมาย(meaning) แก่ตนเองให้ชัดเจน             สิ่งที่จะนำไปใช้ รู้จักตนเองเห็นคุณค่าของตัวเอง. ใช้ทุนทางอารมณ์มาช่วยควบคุมการทำงาน. พัฒนางานจากดีไปยังดีกว่า และไปให้ถึงดีที่สุด. พยายามก้าวข้ามกับดักในการทำงานระบบอุปถัมภ์. เรียนรู้จากประสบการณ์ ไม่ยึดติดกับทฤษฎีมากเกินไป. นำสิ่งสร้างสรรค์ด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์มาถ่ายทอดอยู่เสมอ. เน้นไปยังควากตัญญูต่อเพื่อนร่วมงานและผู้บริหาร. การพัฒนาตนเองจะช่วยพัฒนาองค์กรด้วย

วิชาที่ ๗ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

            ข้อมูลสารสนเทศ คือสิ่งที่ได้จากการประมวลในรูปตัวเลข อักษร ภาพหรือสัญลักษณ์. ระบบสารสนเทศมีหลายประเภท เพื่อการใช้งานในระดับต่างๆ เช่น การปฏิบัติการ การจัดเก็บและประมวลผล การสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือนำไปวางแผนและนโยบาย. โดยมีองค์ประกอบสำคัญที่สุดคือบุคคล มีส่วนรองลงไปคือ ขั้นตอนการทำงาน เครือข่าย ข้อมูล ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์. การเปลี่ยนแปลงของสารสนเทศมีแรงขับเคลื่อนของสังคมเป็นปัจจัยสำคัญ. สารสนเทศจะช่วยให้มีวิธีการสื่อสารที่ดีขึ้น. กระบวนการหลากหลายให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม. ข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณภาพต้องมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ คุ้มค่าในการจัดเก็บ นำมาใช้ง่ายและยืดหยุ่น.             สิ่งที่จะนำไปใช้ ตั้งคำถามก่อนการทำงานว่าทำไมต้องเก็บข้อมูลชนิดนั้น. เก็บอย่างไร มีเครื่องมืออะไรมาช่วยจัดเก็บและประมวล. เมื่อเก็บแล้วสร้างมูลค่าได้แค่ไหน. เห็นถึงแนวทางการนำข้อมูลสารสนเทศมาสร้างมูลค่าในหลักการ 3 V’s. ทำให้เห็นถึงความสำคัญทางกฏหมายและภัยคุมคามต่อข้อมูลสารสนเทศ.

วิชาที่ ๘ การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมและกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของสายงานสนับสนุน

            นวัตกรรมไม่ใช่เป็นเพียงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ. แม้แต่กระบวนการที่ได้พัฒนาให้มีประสิทธภาพเพิ่มขึ้นก็ถือเป็นนวัตกรรมเชิงกระบวนการ. การจะเกิดขึ้นของนวัตกรรมโดยพื้นฐานมาจากการมองเห็นปัญหาหรือพบปัจจัยบางอย่างที่อาจเอื้อให้สิ่งที่เกี่ยวข้องพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบ รูปร่าง กระบวนการ. องค์กรที่มองการณ์ไกลจะเห็นถึงความสำคัญในการทำให้เกิดนวัตกรรมด้านต่างๆ โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นการทำงาน ลดปัญหา หรือช่วยให้งานเดินไปได้อย่างคล่องตัว. ส่วนมากจะพบในภาคเอกชนที่มุ่งผลลัพธ์องค์การมากกว่ายึดกฎระเบียบที่ไม่ทันตามยุคสมัยและเทคโนโลยี. นอกจากนั้นนวัตกรรมยังช่วยสร้างให้องค์กรนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะ. สามารถนำไปใช้เพื่อประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กรให้ร่วมสมัย.             สิ่งที่จะนำไปใช้ ตระหนักถึงความสำคัญในการมีนวัตกรรมในองค์กร. โดยเปิดโอกาสผู้ปฏิบัติงานจะสะท้อนข้อมูลออกมาตามหลัก 2 R’s. ใช้ความสามารถหรือจุดเด่นของแต่ละคนมาค้นหาแนวทางให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร. สื่อสารให้ผู้บริหารองค์กรเข้าใจและเห็นความสำคัญของนวัตกรรม. อาจเริ่มที่กระบวนทำงานประจำเป็นลำดับต้น. เพื่อจะทำให้งานมีคุณภาพเพิ่มขึ้น. แล้วดึงศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานออกมาใช้ได้เต็มที่. สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญคือการสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์กร. และทำให้เขาเห็นถึงคุณค่าของตนเองที่มีต่อองค์กร.

วิชาที่ ๙ การพัฒนาทุนทางคุณธรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล

            คุณธรรมเป็นนามธรรมที่เข้าถึงความหมายได้ยาก. แต่ในการปฏิบัตินั้นสามารถกระทำได้เป็นปกติในชีวิตประจำวัน. หากเป้าหมายในการทำงานชัดเจน. ดึงพลังออกมาจากข้างในได้เสมอไม่มีวันหมด. สิ่งสำคัญคือสรุปให้ได้ว่าชีวิตของเราต้องการอะไร. จะทำอย่างไรถึงไปสู่เป้าหมายได้. ลักษณะผู้นำที่ดีคือต้องเป็นผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น มีความกล้าทางจริยธรรม. คุณธรรมที่พึงมีในทุกคนคือ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความเสียสละ อดทนและมีวินัย. การเรียนรู้ที่สอดรับกับคุณธรรม จริยธรรม คือ มีเป้าหมายเรียนรู้เพื่อตอบโจทย์ตนเอง เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะที่รับผิดชอบต่อสังคม นำความรู้ไปแก้ไขปัญหา. ส่วนคุณธรรม ๔ ประการ ตามนโยบายรัฐคือ “พอเพียง มีวินัย สุจริต และจิตอาสา”

 

            สิ่งที่จะนำไปใช้ ค้นหาต้นแบบ แรงบันดาลใจ และลงมือทำ. จริยธรรมและคุณธรรมนั้นต้องใช้เวลาปรับเปลี่ยน. เริ่มจากปรับพฤติกรรมตนเองให้มีคุณธรรม. สร้างสมรรถนะตนเองให้มากขึ้น. หาโอกาสและเวทีให้บุคลากรได้ค้นหาจุดเด่นขององค์กรและร่วมกันพัฒนาให้ดีขึ้น. อาจนำไปสู่นวัตกรรมขององค์กร. ตั้งเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะวัฒนธรรมขององค์กรให้สามารถปฏิบัติได้จริง. แสวงหาวิธีการดำเนินงานร่วมกันและมีรูปแบบที่ยืดหยุ่นได้. ชื่นชม ยกย่องและให้กำลังใจทีมงาน. สร้างเครือข่ายคุณธรรมภายในองค์กรและขยายสู่ภายนอกองค์กร.

นายธีระ จันทิปะ  กลุ่ม ๔
บทวิเคราะห์ 

สี่ทุนในโลก : ทุนทางการเงิน  ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ  ทุนทางเทคโนโลยี และทุนมนุษย์             

           ทุนมนุษย์สัมพันธ์กับทุนต่างๆ เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้กระทำ ผู้ใช้ ผู้ควบคุม. ทุนมนุษย์อาจถือเป็นทุนเริ่มต้นของทุกคน. ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ. บอกถึงความไม่สมดุลระหว่างทรัพยากรธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์. เราใช้ทรัพยากรอย่างบ้าคลั่ง กอบโกยโดยไม่สนใจคนรุ่นหลังหรือผลกระทบที่ตามมา. สุดท้ายก็วกกลับมาให้โทษกับมนุษย์เอง. เพราะเราขาดการดูแลอย่างจริงจังและใช้อย่างไม่มีสติ. ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติจะยั่งยืนได้ก็ต้องอาศัยมนุษย์ขับเคลื่อน

            ทุนทางการเงิน ระบบการเงินที่ขาดการบริหารจัดการอย่างรอบด้านและรอบคอบ. ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปทั่วโลก ในลักษณะโดมิโน. การอาศัยอัตราแลกเปลี่ยนและการซื้อขายล่วงหน้าเพื่อความสะดวกรวดเร็ว. แต่เมื่อเกิดวิกฤตก็ไม่สามารถรับมือกับความผันผวนทางการเงินได้. ไม่ประมาณตนเองและเห็นเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแค่วาทกรรมหรือกระแส ไม่นำไปปฏิบัติจริง.

            ทุนทางเทคโนโลยี เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น. และแลกมาด้วยมูลค่าที่สูงตามต้นทุนและระบบเศรษฐกิจ. ซึ่งสัมพันธ์กับทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ทุนทางนวัตกรรม. โดยมีทุนทางเครือข่าย Network เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่เกินความจำเป็น. สิ่งสำคัญคือเราไม่ค่อยสนใจใช้ทุนทางปัญญามาประกอบการตัดสินใจ. ทัศนคติของผู้คนในสังคมส่วนใหญ่ก็หลงไปกับค่านิยมต่างๆ. ไม่ได้ตระหนักถึงความเป็นจริงหรือความล้มเหลวที่เคยเกิดขึ้น. และเดินไปตามรอยเดิมของความล้มเหลว. ปรากฏการณ์เหล่านี้มีตั้งแต่สถาบันครอบครัวไปจนถึงองค์กรภาครัฐ.

สิ่งที่นำไปใช้กับตนเอง ทำความเข้าใจกับทุนมนุษย์และควบคุมอารมณ์ตนเองในการทำงานการใช้ชีวิต. มองเห็นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติว่าสามารถสร้างประโยชน์ให้เราได้ในระยะยาวหากใช้เป็น. และรู้วิธีการดูแลรักษาหรือใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า. หากเราเห็นถึงข้อดีของการนำทุนทางเทคโนโลยีมาเอื้อประโยชน์. เราควรจะพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบด้านต่างๆ และใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพ. ควบคุมการใช้เทคโนโลยีให้ได้ มิฉะนั้นจะตกเป็นทาสเทคโนโลยี. ส่วนทุนทางการเงินเราอาจต้องมีความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นเพื่อวางแผนการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ. มีความยืดหยุ่นแต่มั่นคง. ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบระยะสั้นและระยะยาวต่อทุนมนุษย์. 

สิ่งที่นำไปใช้ในองค์กร องค์กรสามารถควบคุมทุนทางเทคโนโลยีได้ด้วยแผนงานและนโยบาย. แผนงานจะสัมพันธ์กับทุนทางการเงินและการใช้ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ. หรือนำมาเป็นตัวกำหนดนโยบายทางการเงินและสำนึกสาธารณะเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติขององค์กร. แต่ที่ควบคุมยากที่สุดคือทุนมนุษย์. เนื่องจากประกอบไปด้วยตัวแปรต่างๆ มากมาย. จึงเป็นงานหนักสำหรับผู้นำหรือผู้บริหารที่จะต้องนำทีมให้ประสบความสำเร็จ. ภารกิจลำดับแรกๆ คือต้องทำให้มีการใช้ mindset กับทุกคน และมองการบริหารที่มีคุณธรรม จริยธรรม.

นางสาวขวัญใจ นิ่มดวง กลุ่มที่ 1

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ (ช่วงที่ 2)

บทที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

       1.ก่อนจะเริ่มทำงานอะไร ต้องค้นหาตัวเองก่อน (ถามตัวเองว่าคุณมีความคลั่งไคล้ [passion] รึเปล่า ถ้สไม่ อย่าทำ หรือถ้าต้องทำก็ต้องสร้างหลักคิดในเรื่อง Passion - Purpose - Meaning คือ ต้องชอบในงาน ต้องมีเป้าหมายในงาน และต้องสร้างคุณค่าในงานให้เกิดขึ้นมา เพื่อจะทำให้งานนำมาสู่ความสำเร็จได้ และที่สำคัญ อย่าขาดความมั่นใจในตนเอง

         2.การปะทะทางปัญญา อาจมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย การแสดงความคิดเห็นต่างไม่ผิด แต่ต้องจำไว้ว่า ต้อง care ซึ่งกันและกัน

          3.ความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นทันที ต้องมีทีมงานที่เข้มแข็ง ทำงานตามที่คาดหวัง บ้าคลั่งในการหาความรู้ การปรับ mind set และที่สำคัญอีกประการคือการสร้างทุนแห่งความสุข ซึ่งตามกฎของ chira way ได้กล่าวไว้ว่าการสร้างทุนแห่งความสุข ได้แก่ Healthy, Passion, Purpose, Meaning, Capability, Learning, Prepare, Teamwork, Coaching, Challenge และ Enrichment


บทที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

        ปัจจุบันระบบสารสนเทศเข้ามามีบทบาทต่อหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งมีทั้งบทบาทที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น (Digital Transformation) และบทบาทที่ส่งผลกระทบ (ป่วน) ต่อการทำงานให้เปลี่ยนแปลงไป (Digital Disruption) เพราะฉะนั้น บุคลากรของมหาวิทยาลัยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับยุค 4.0 ไม่ว่าจะเป็นการปรับที่ตนเอง (ปรับทัศนคติ เริ่มเรียนรู้ ยอมรับการเปลี่ยนแปลง) และหากเป็นผู้บริหารก็ต้องเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเหล่านั้น


บทที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม และกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน

        การพัฒนาองค์กรนวัตกรรมจำเป็นที่ต้องมี 3 อย่าง ได้แก่ Value + New + Implementation กล่าวคือ งานนั้นๆ ต้องสรางคถณค่า ต้องเป็นสิ่งใหม่ และสามารถนำมาปรับใช้งานได้ดีขึ้น ซึ่งการจะเริ่มต้นสรางนวัตกรรม ไม่ใช่สิ่งไกลตัว นวัตกรรมไม่ใช่แค่สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นใหม่อย่างที่เข้าใจ แต่หมายความรวมถึงกระบวนการทำงานด้วย และหากจะเริ่มต้นสร้างนวัตกรรมการทำงาน อาจใช้จากหลักการง่ายๆ เช่น หลักไคเซ็น คือ เลิก (เลิกทำในสิ่งที่ไม่จำเป็น) ลด (ลดอะไรที่ทำซ้ำๆ ให้หมด) และ เปลี่ยน (เปลี่ยนวิธีการทำงานให้เร็วขึ้น)


บทที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล

        1.ความกล้าหาญทางจริยธรรม คือยอดแห่งความกล้าหาญ

          2.ถ้าไม่มั่นใจว่าสิ่งที่ทำดีหรือไม่ดี ให้ถามตัวเองว่า คุณกล้าบอกสิ่งนั้นกับคนอื่นได้อย่างสง่าผ่าเผยหรือไม่ แล้วจะรู้คำตอบเอง

          3.คุณธรรม 4 ประการที่ควรยึดถือและปฏิบัติคือ พอเพียง มีวินัย สุจริต และจิตอาสา

สิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานช่วงที่ 2

บทที่ 6การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

          การทำงานที่มีความสุขต้องรู้จักตัวตนความต้องการในชีวิต(Meaning) รู้เป้าหมาย (Purpose) และแรงบันดาลใจให้รักในสิ่งที่ทำ(Passion) ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิด Happy atWork การทำงานที่มีประสิทธิภาพ ความสมดุลของชีวิตการทำงาน

 บทที่7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

          การนำเทคโนโลยีมาใช้งานต้องศึกษาวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานWork Process กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ     ข้อมูล  ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์  บุคลากร และเครือข่าย สารสนเทศที่ดีต้องมีความถูกต้องมีความครบถ้วนสมบูรณ์ น่าเชื่อถือตรงประเด็นความต้องการใช้งานง่ายมีความยืดหยุ่นและตรวจสอบได้

 บทที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมและกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน

          นวัตกรรม คือการสร้างคุณค่าValue  เรามีคุณค่าอะไรบ้างNew ต้องเป็นสิ่งใหม่ มีความแตกต่างหรือวิธีคิดใหม่ และ Implementation ทำให้เกิดผลประสบผลสำเร็จ การสร้างองค์นวัตกรรมต้องเริ่มจากผู้นำที่แสดงความจริงใจในการผลักดันองค์กร และถ่ายทอดลงสู่ทุกระดับเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม

บทที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล

          ในการทำงานบุคลากรต้องทราบว่าชีวิตต้องการอะไร Meaning มีเป้าหมายอะไร Purpose และมีแรงบันดาลใจ Passion บุคคลที่เป็นผู้นำในการสร้างแรงบันดาลใจ เช่น ในหลวงรัชกาลที่ 9 คือผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ ไม่มีตำแหน่งหน้าที่แต่คนปฏิบัติตามและผู้นำต้องกล้าหาญทางด้านจริยธรรม ซึ่งปัญหาการพัฒนาทุนทางจริยธรรมของสังคมไทยมาจากวัฒนธรรมการเลี้ยงดู การไม่กล้าแสดงความคิดเห็นหรือเสนอความคิดของตนเอง สังคมอุปถัมภ์การให้ความสำคัญกับพวกพ้อง
และการกล้าพูดอย่างสง่าผ่าผายในสิ่งที่ถูกต้อง ดังนั้นในยุทธศาสตร์ 20 ปี ได้กำหนดคุณธรรม 4 ประการ คือ พอเพียง มีวินัย สุจริต และจิตอาสา

นางปาจรีย์ เรืองล้าย กลุ่มที่ 4

สรุปผลการเรียนรู้

วันที่ 20 กรกฎาคม 2560

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

            ทุนแห่งความสุขเป็นเรื่องที่ผูกโยงกับทฤษฎี 3 วงกลม โดยการสร้างทุนแห่งความสุข ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ องค์กร, ศักยภาพบุคลากร และแรงจูงใจ ทั้งนี้ การจะเริ่มทุนแห่งความสุขต้องเริ่มที่ตัวบุคคลก่อน กล่าวคือ ต้องชอบงานที่ทำ หา Purpose ในการทำงาน สร้าง Passion ในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุตาม Purpose ที่วางไว้ และเกิด Meaning ที่เป็นรูปธรรมต่อองค์กร เพราะการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นจะทำให้เรามีความสุข นอกจากนี้ ควรนำทฤษฎี HRDS มาใช้ควบคู่ในการสร้างทุนแห่งความสุขและการทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วย เพื่อให้การทำงานเกิดความสุขทั้งที่ตัวบุคคลและเพื่อนร่วมงาน และส่งผลกระทบในทางบวกต่อองค์กร โดยในส่วนองค์กรก็มีบทบาทสำคัญในการสร้างบรรยากาศให้เกิดการทำงานที่มีความสุข (Happy Workplace) ซึ่งหากทั้งบุคลากร และองค์กรมีการทำงานที่เอื้อต่อกันก็จะทำให้เกิดทฤษฎีความสุขแบบ ++ หรือ 2 กระเด้ง ที่จะทำให้เกิด Impact ต่อองค์กรอย่างสูงสุด

 

วิชาที่ 7   ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

            หัวข้อดังกล่าวทำให้เห็นความสำคัญของระบบสารสนเทศต่อการบริหารจัดการองค์กรในปัจจุบัน เพื่อให้ทันต่อ Trend ของโลก และตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายอย่างตรงจุด ซึ่งบุคลากรของมหาวิทยาลัยทักษิณในทุกระดับต้องปรับตัวให้ทันต่อการนำระบบสารสนเทศมาใช้บริหารมหาวิทยาลัยตามนาโยบายของรัฐบาลเรื่อง Thailand 4.0 โดยในส่วนขยองบุคลากรต้องยอมรับเทคโนโลยี ปรับทัศนคติในการเรียนรู้ และนำระบบสารสนเทศมาลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ในส่วนของผู้บริหารก็ต้องสนับสนุนบุคลากรในการปฏิบัติจริง และนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจต่อการทำงานขององค์กร โดยต้องใช้อย่างมีจริยธรรม อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงไว้เสมอว่าต่อให้ระบบดีแค่ไหน คนก็เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะทำให้ระบบมีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การพัฒนาจึงควรเน้นการพัฒนาระบบควบคู่กับการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้เกิดการใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารและการจัดการข้อมูลขององค์กรที่เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

 

วันที่ 21 กรกฎาคม 2560

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม และกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน

            การสร้างนวัตกรรมสามารถทำได้ในทุกส่วนงานและทุกภารกิจของมหาวิทยาลัย โดยการสร้างนวัตกรรมต้องเป็นสิ่งที่มีคุณค่าหรือมูลค่าเพิ่ม เป็นสิ่งใหม่ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์จริงได้อย่างกว้างขวาง โดยดุตามกระแสของโลกในปัจจุบัน และ VUCA world โดยวิธีการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมต้องเริ่มจากผู้นำที่สร้างแรงผลักดันให้องค์กรเกิดนวัตกรรม ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง แล้วค่อยเผยแพร่สู่พนักงานผ่านกลยุทธ์ที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ และอาจนำวิธีของ Kaizen มาเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างนวัตกรรม โดยใช้หลักการเลิก (สิ่งที่ไม่จำเป็น) ลด (การทำซ้ำที่ทำให้เสียเวลาหรือเสียต้นทุน) และเปลี่ยน (ทำขั้นตอนการทำงานให้สั้นลง) โดยการสร้างนวัตกรรมต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับค่านิยมหรือแบรนด์ และนโยบายต่างๆ ของมหาวิทยาลัยด้วย และสำคัญที่สุดคือ การลงมือทำนวัตกรรม และการเรียนรู้จากนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรและกลุ่มเป้าหมายขององค์กร

 

 วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

            การทำงานควรเริ่มต้นด้วย  start with the end in mind มี purpose, passion และ meaning ในการทำงาน เพื่อสร้างคุณค่าให้กับคนอื่นและสังคม สำหรับในโลกมีผู้นำ 2 ประเภท คือ ผู้นำโดยตำแหน่ง และผู้นำโดยธรรมชาติ แต่สิ่งที่โลกต้องการคือ ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจและผู้นำที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม ในยุค Thailand 4.0 ผู้นำจะต้องมีคุณธรรมที่สอดคล้องกับและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คือ คุณธรรม 4.0 ที่ประกอบด้วย พอเพียง มีวินัย สุจริต และจิตอาสา โดยคนไทยในยุค 4.0 จะต้องมีคุณลักษณะที่สอดรับกับคุณธรรม 4.0 คือ มีปัญญาเฉียบแหลม ทักษะเห็นผล และสุขภาพแข็งแรง เชื่อมโยงกันระหว่างปัญญา การปฏิบัติ สุขภาพ และจิตใจ ขับเคลื่อนสังคมไทยให้มีความสุข มีความหวัง และเกิดความสมานฉันท์

 

บทความจากเรื่องจริง ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

“4 ทุนในโลก, ทุนการเงิน, ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ, ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยีแต่สำคัญสุดทุนมนุษย์”

ทุนในโลกประกอบด้วยทุนสำคัญ 4 ทุน ได้แก่ 1) ทุนการเงิน 2) ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ 3) ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี และ 4) ทุนมนุษย์ โดยทุนทั้ง 4 ต้องทำงานร่วมกัน แต่ทุนมนุษย์ถือเป็นทุนที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นคนขับเคลื่อนความสำเร็จด้านต่างๆ ให้เกิดขึ้น การพัฒนาทุนมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยต้องพัฒนาคนให้ใช้ปัญญาคิดเป็น คิดนอกกรอบ มีการเรียนรู้ที่ดี คือ เรียนจาก 2R’s ความจริงและเรื่องตรงประเด็นแนว Chira Way พัฒนาคนให้มีคุณธรรมจริยธรรม มีทุนแห่งความยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา หากสามารถพัฒนาและกระตุ้นทุนมนุษย์ให้ตื่นตัวตามแนว Chira Way อยู่เสมอ จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรและประเทศชาติอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม

ประโยชน์ต่อตัวเอง

            จากบทความดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเราควรพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ กระตุ้นตนเองให้ฝึกคิดและใช้ปัญญาอย่างต่อเนื่อง ฝึกคิดนอกกรอบ และหาความรู้ใส่ตนอยู่เสมอ พัฒนาตนเองให้มีพื้นฐานทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม ก้าวสู่การเป็นคนที่มีคุณภาพ และสามารถผลักดันงานขององค์กรให้ประสบความสำเร็จ

ประโยชน์ต่อองค์กร

            องค์กรควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ในทุกระดับ เพื่อสร้างบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงานขององค์กรให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งนี้ การพัฒนาทุนมนุษย์ควรทำควบคู่กับการพัฒนาทุนอีก 3 ด้านที่เหลือ คือ  ทุนการเงิน, ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ, ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี ไปด้วย เพื่อให้การพัฒนาองค์กรเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์

นางสาววรรณา เหมทานนท์ กลุ่ม 5 

สรุปสาระจากการเรียนรู้ และสิ่งที่จะนำไปใช้ (ช่วงที่2)

วิชาที่ 6  การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ 

หากทำงานในองค์กรแล้วมีความสุข จะมี Productivity เพิ่มขึ้น ถ้ามีปัจจัยทางลบให้แยกระหว่างตนเองและองค์กร  Passion คือตัวแปรที่กระทบ Happy at work  การมี Passion and Happiness Capital ให้ค้นหาตัวเองว่าอยู่ตรงไหน  ต้องการอะไร  ทำงานที่ตนเองรักอยู่ไหม ทำในสิ่งที่รักและมีความสามารถ จะทำงานมีประสิทธิภาพ  แต่การมี Passion ต้องมีความต่อเนื่อง  ทุนแห่งความสุขเน้นการนำไปปฏิบัติเป็นจุดเริ่มต้น เพื่อทำงานที่มีประสิทธิภาพ   แล้วไปเชื่อมโยงกับทุนอื่น  ใช้ทฤษฎี HRDS เพื่อการสร้างทุนแห่งความสุขและการทำงานกับผู้อื่น  และทฤษฎี 3 วงกลม 

สิ่งที่จะนำไปใช้  มี Passion and Happiness Capital ทำงานที่ตนเองรัก ทำงานมีประสิทธิภาพขึ้น  ใช้ทฤษฎี HRDS เพื่อการสร้างทุนแห่งความสุข และเพื่อการทำงานกับผู้อื่น 

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา 

ประเภทของระบบสารสนเทศ EIS,  DSS,  TPS,  ES,  OAS องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

ขั้นตอนการทำงาน (Work Process), ข้อมูลฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์บุคลากรเครือข่าย  สารสนเทศที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง  เชื่อถือได้  มีความง่าย  คุ้มค่า  มีความยืดหยุ่น คนที่สามารถใช้สารสนเทศได้เร็วทันคู่แข่งขันจะมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานควรรู้เกี่ยวกับ MIS สามารถเข้าใจความหมายของสารสนเทศที่มี ดำเนินการหรือปฏิบัติงานโดยอาศัยการพิจารณาจากสารสนเทศที่มีอยู่ ระบบที่มีเหมาะสมแค่ไหน เปลี่ยนวิธีการคิด เปลี่ยนวิธีการทำงาน  เพิ่มศักยภาพ  เทคโนโลยีเข้ามามีผลกระทบทั้งหมด 

สิ่งที่จะนำไปใช้  ใช้สารสนเทศที่มีความถูกต้อง  เชื่อถือได้  ศึกษาเกี่ยวกับ MIS ปฏิบัติงานโดยอาศัยการพิจารณาจากสารสนเทศที่มีอยู่ ปรับวิธีการคิดและวิธีการทำงาน  เพื่อเพิ่มศักยภาพ  

 

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม และกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน

ทำอย่างไรให้มีนวัตกรรมในองค์กร ควรงานวิจัยมาสู่เชิงอุตสาหกรรมให้ได้ โลกปัจจุบันควรใช้ Innovation + Management สิ่งที่ต้องทำคือ มีคุณค่า คุณค่าต้องใหม่และแตกต่าง สามารถ Implement ได้ ปัจจุบันความรู้ในอินเตอร์เน็ตมีมากกว่าในตัวอาจารย์  แต่ผู้เรียนต้องการพบอาจารย์เพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไป การสนับสนุนการสอนก็ต้องเปลี่ยนด้วย ดังนั้นมหาวิทยาลัยอาจแตกต่างจากหน่วยงานอื่น ด้วยการนำนวัตกรรมมาใช้ เพื่อให้การทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธภาพขึ้น  ส่วนอินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งสำคัญต่อมหาวิทยาลัย การเรียนการสอนยุคใหม่จะเป็นเทคโนโลยี นวัตกรรมเกิดจากสิ่งไม่เคยมี หรือนำมาปรับใหม่ หรือเป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจหรือสังคม 

สิ่งที่จะนำไปใช้  ทำนวัตกรรมในกระบวนการทำงาน  ปรับตัวเพื่อสนับสนุนการสอน นำข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน  หรือแก้ปัญหางาน

 

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล 

การทำงานอย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จ เริ่มด้วยเราต้องการเห็นอะไร ทำอย่างไร เราต้องมี Purpose Passion and Meaning สิ่งที่ไม่กล้ามาจากวัฒนธรรมของเรา คือ ปกปิดความรู้สึก ความจริง ไม่สื่อสารตรง ๆ กลัวเป็นคนแปลกในสังคม ปัจจุบันให้ความสำคัญกับคนเก่งที่มาจากสังคมอุปถัมภ์ มากกว่าคุณค่าของคนดี ทุกวันนี้เราต้องการผู้นำที่เสียสละ หลักในการทำงาน ให้ผู้อื่นไว้ใจเรา ทำตัวให้มีประโยชน์  คุณธรรม 4.0 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี  พอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา สังคมไทย 4.0  มีความสุข  มีความหวัง  สมานฉันท์

สิ่งที่จะนำไปใช้ สร้าง Passion Purpose  และ Meaning สื่อสารตรงประเด็น  การทำงานต้องทำให้ผู้อื่นไว้ใจในผลงาน ทำตัวให้มีประโยชน์ต่อผู้อื่น  ยึดหลักคุณธรรม พอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา

นายอนุกูล ศรีวรรณ กลุ่มที่ 2


สรุปประเด็น สาระสำคัญที่ได้จากการอบรมช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2560
ในช่วงที่ 2 ของการอบรม ได้รับความรู้และแนวคิด ในเรื่อง Happy at  work และ Happy workplace ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรและนำมาเสริมการทำงานของเราได้อย่างไร โดยจากความรู้ที่ได้ สามารถนำมาใช้ในการทำงานได้อย่างมากและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้ถึงนวัตกรรม การคิดสร้างนวัติกรรมใหม่ๆ ในองค์กร เพื่อการพัฒนางานที่ดียิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ได้เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมในช่วงสุดท้ายของการอบรมด้วย เรียกได้ว่า ได้รับความรู้รอบด้านจริงๆ และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ส่งเสริมการทำงานได้เป็นอย่างมาก

ชนาธิป แก้วทอง กลุ่มที่ 4

นางสาวชนาธิป แก้วทอง กลุ่มที่ 4

สรุปผลการเรียนรู้จากบทเรียน ช่วงที่ 2 (20-21 กรกฎาคม 2560)

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

ทุนแห่งความสุข (Happy Capital) และ Happy Workplace เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดความสุขในการทำงาน ซึ่ง Happy Workplace คือการสร้างบรรยากาศในองค์กรให้น่าทำงาน มีความสุขกับสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ส่วน Happy Capital คือ ความรู้สึกส่วนบุคคล จะเกิดขึ้นได้เพราะมีความชอบและรักในงานนั้น จึงมีความสุขในการทำงาน ซึ่งทั้งสองส่วนมีความเชื่อมโยงกัน

การที่จะมีความสุขในการทำงานต้องมี Passion คือมีความชอบในงานที่ทำ รู้เป้าหมายของงาน (Purpose) และรู้ความหมายของงาน (Meaning) และต้องปรับ Mindset ในการทำงานด้วย

เรียนรู้กฎในการสร้างทุนแห่งความสุข ที่จะทำให้ชีวิตเกิดความสมดุล (Work-life Balance)

 

การนำไปปรับใช้

ค้นหาตัวเอง ทำความรู้จักกับตัวเอง  และหาเป้าหมายของงานที่ทำเพื่อที่จะรู้ความหมายและความสำคัญของงานนั้น เมื่อตระหนักถึงความสำคัญ จะทำให้เกิด passion ในการทำงาน การมีความสุขในการทำงานจะส่งผลให้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

เรียนรู้ประเภทของระบบสารสนเทศ องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ และสารสนเทศที่ดี ที่ควรจะมีความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ มีความน่าเชื่อถือ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ มีความง่าย คุ้มค่า ยืดหยุ่น และสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งสารสนเทศมีความสำคัญต่อองค์กรในปัจจุบันเป็นอย่างมาก  เพราะสามารถนำมาใช้ในองค์กร เช่น เพื่อบริหารการศึกษา องค์กรต้องวิเคราะห์ว่าสามารถนำ digital มาช่วยในส่วนไหนขององค์กรได้บ้าง การนำมาใช้จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ  ต่างกันไปตามบริบทของแต่ละแห่ง

การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน นอกจากความทันสมัยของระบบแล้ว ผู้ใช้จะต้องมีทักษะในการใช้งานด้วย

 

การนำไปปรับใช้

นำระบบสารสนเทศมาปรับใช้ในการทำงาน จัดการข้อมูลที่มีอยู่ นำมารวบรวม จัดระบบ และสร้างสารสนเทศเพื่อความสะดวกในการนำข้อมูลมาใช้ และเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร

 

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม และกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน

เรียนรู้ความสำคัญขององค์กรนวัตกรรมยุคใหม่ ซึ่งการจะทำให้เป็นองค์กรนวัตกรรมได้จะต้องมี Innovation และ Management ซึ่งองค์กรจะต้องสร้างความแตกต่างที่มีคุณค่า (Value) และเป็นสิ่งใหม่ (New) และทำออกมาให้เป็นจริง เป็นรูปธรรม (Implement) นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร ในกระบวนงาน เพื่อช่วยให้งานไปสู่เป้าหมายได้

นวัตกรรมไม่ใช่แค่เรื่องของการวิจัยและพัฒนาเท่านั้น หากแต่สามารถอยู่ในทุกส่วนของกระบวนงาน ทุกหน้าที่ และทุกระดับในองค์กรได้ การสร้างสรรค์นวัตกรรมควรทำให้ง่ายและทุกคนสามารถใช้ได้

วิธีการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรม ควรเริ่มที่ผู้นำที่สนับสนุน ผลักดันให้เกิดองค์กรแห่งนวัตกรรม มีกลยุทธ์ที่สร้างสรรค์ ความรู้สร้างสรรค์ คนสร้างสรรค์ โดยใช้หลักการของไคเซ็น คือ เลิก (สิ่งที่ไม่จำเป็น) ลด (การทำซ้ำๆ)  เปลี่ยน (ขั้นตอน วิธี) มาใช้ในกระบวนการสร้างนวัตกรรม  และในที่สุดก็จะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

 

การนำไปปรับใช้

สร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานที่รับผิดชอบ โดยใช้หลักการ เลิก ลด เปลี่ยน ซึ่งสามารถนำมาใช้ในขั้นตอนการดำเนินงานของแต่ละงานที่รับผิดชอบได้ ทำให้ขั้นตอนการทำงานง่ายและสะดวกขึ้น และเป็นการสร้างความสุขแก่คนทำงานด้วย

 

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

“Start with the end in mind” ทำให้เรียนรู้ว่า การคิดถึงเป้าหมายจะทำให้เกิดพลังในการทำงาน เราควรค้นหาเสียงภายในและเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นค้นหาเสียงภายในของตนเช่นกัน เสียงภายในคือ รู้เป้าหมาย (Purpose) มีความชอบในงานที่ทำ (Passion) และ ตระหนักถึงความหมายของงาน (Meaning)

ผู้นำมี 2 ประเภท คือ

  • ผู้นำที่มาจากตำแหน่งหน้าที่
  • ผู้นำที่มาจากการสร้างแรงบันดาลใจ

 ปัจจุบันสังคมต้องการผู้นำที่มีคุณธรรมและจริยธรรม ไม่เพียงเท่านั้นยังต้องการคนที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรมและมีความเสียสละด้วย  ในยุค Thailand 4.0 ควรยึดหลักคุณธรรม 4 ประการ คือ พอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา สังคมไทยจะร่มเย็นเป็นสุขก็ด้วยการยึดมั่นในคุณธรรม และใช้หลักการ 9 modules เป็นแนวทางในการพัฒนางาน

 

การนำไปปรับใช้

เริ่มจากการค้นหาเสียงภายในของตัวเอง และเกิดพลังในการทำงาน เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายหลักขององค์กร โดยยึดหลักคุณธรรม 4 ประการในการใช้ชีวิตประจำวัน และนำหลักการ 9 modules มาใช้ในการทำงาน

วิเคราะห์จากการอ่านบทความ

เรื่อง 4 ทุนในโลก ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี แต่สำคัญสุด ทุนมนุษย์

ทุนทั้ง 4 ประการ ประกอบด้วย ทุนทางการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี และทุนมนุษย์ ซึ่งทั้งหมดจะต้องทำงานไปด้วยกัน และทุนมนุษย์เป็นทุนที่สำคัญที่สุด เพราะไม่ว่าทุนอย่างไหน ก็ต้องพึ่งพาทุนมนุษย์ทั้งสิ้น การพัฒนาทุนมนุษย์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่จะนำพาไปสู่การพัฒนาทุนด้านอื่นๆอย่างเหมาะสม และประสบความสำเร็จ พัฒนามนุษย์ให้คิดเป็นทำเป็น โดยเรียนรู้จากหลัก 2R’s และการยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม

ประโยชน์ที่ได้ต่อตนเอง

เป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเอง ให้เรียนรู้อยู่เสมอ เรียนรู้การคิดนอกกรอบ  ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานต่อไป

ประโยชน์ที่ได้ต่อองค์กร

การพัฒนาทุนมนุษย์ในภาพรวม เป็นการเริ่มต้นที่นำไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นทางด้านทุนทางการเงินหรือทุนทางเทคโนโลยี ซึ่งที่สุดแล้วมนุษย์เป็นผู้ที่ควบคุมทั้งหมด เมื่อองค์กรเห็นความสำคัญของการพัฒนาทุนมนุษย์โดยพัฒนาบุคลากรทั้งระบบ เชื่อว่าจะนำไปสู่องค์กรที่มีคุณภาพต่อไปอย่างแท้จริง

การนำแนวคิดมาปรับใช้

มนุษย์คือผู้สร้างสรรค์และสามารถเป็นผู้ทำลายได้ในเวลาเดียวกัน นอกเหนือจากการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุดที่มนุษย์สามารถพัฒนาต่อไปได้นั้น จำเป็นต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมที่ทำให้เกิดการตระหนัก นึกรู้ ในสิ่งที่ถูกต้อง เมื่อมนุษย์มีทั้งความสามารถและมีคุณธรรมควบคู่กันไป ทำให้เกิดคุณค่าและเกิดการพัฒนา  เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ จากการพัฒนาตนเองก่อน แล้วจึงสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น นำพาไปสู่การพัฒนาในองค์รวมต่อไป

คำรบ คชภักดี กลุ่ม 2

คำรบ คชภักดี กลุ่ม 2

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน (ช่วงที่ 2 วันที่ 20-21 กรกฎาคม 2560)  

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

                ทุนแห่งความสุขเป็นส่วนที่สำคัญของทุนมนุษย์ ในการทำงานอย่างมีความสุขต้องมีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) และ Happy Workplace ควบคู่กัน โดย Happiness Capital เป็นส่วนบุคคลเกิดขึ้นเพราะชอบงาน มีความสุขที่ได้ทำงาน มีปัจจัย คือ  ชอบงานที่ทำ (Passion) รู้เป้าหมายของงาน (Purpose) และรู้ความหมายงานของ (Meaning) ซึ่ง CEO+HR  ต้องสร้าง Happy Workplace โดยนำเอาทฤษฎี HDRS มาใช้เพื่อการสร้างทุนแห่งความสุขและการทำงานร่วมกับผู้อื่น

·       Happiness (Happy at work ,Happy work place)

·       Respect การยกย่องเชิดชูเกียรติ

·       Dignity การให้เกียรติ (คน,องค์กร)

·       Sustainability ความยั่งยืน (การเรียนรู้ตลอดชีวิต. Passion ,Purpose , Meaning)

                การประยุกต์ใช้ในการทำงาน เราต้องค้นหาความสุขที่แท้จริงในการทำงาน โดยใช้แนวคิดมองความจริงและตรงประเด็น เพื่อให้งานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ และต้องสร้างบรรยากาศ Happy Workplace ให้กับบุคลากรในหน่วยงานเพื่อให้บุคลากรทำงานได้อย่างมีความสุขส่งผลต่อประสิทธิภาพงานในเชิงบวก       

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

                ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารและจัดการในยุค Thailand 4.00 (ยุคนวัตกรรม) โดยเฉพาะบทบาทสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งหน่วยงานจะต้องพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องและทันสมัยเพื่อเพิ่มขีดความสมารถในการแข่งขันกับสถาบันอื่นๆ โดยการใช้จะต้องคำนึงถึงความมั่นคง ปลอดภัย ถูกต้องตามกฎระเบียบ         

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมและกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน

                การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม จะต้องให้ความสำคัญตามหลัก Value + New + Implementation  ซึ่งนวัตกรรม คือ การออกแบบให้คุณค่ากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ผลิตภัณฑ์,บริการ,กระบวนการ,ทฤษฏี) อาจนำเอาวิธีการ ไคเซน มาปรับใช้

  • เลิก (ไม่จำเป็น,ไม่ทำก็ได้)
  • ลด (ขั้นตอน)

-                   เปลี่ยน (ขั้นตอน,ตำแหน่ง,วิธีการเตรียมงาน,ขนาด,วัตถุดิบ)    

                การปรับใช้ในมหาวิทยาลัย ต้องเริ่มจากผู้บริหารมีความจริงจังในการผลักดัน และบุคลากรต้องให้ความร่วมมือในทุกระดับโดยจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง โดยนำเงื่อนไข 8 สร้างสรรค์มาใช้ คือ ผู้นำสร้างสรรค์ วัฒนธรรมสร้างสรรค์ กลยุทธ์สร้างสรรค์ ความรู้สร้างสรรค์ คนสร้างสรรค์ เข้าใจลูกค้าสร้างสรรค์ กระบวนการสร้างสรรค์ และผลลัพธ์สร้างสรรค์  

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม  จริยธรรม  และธรรมาภิบาล

                การทำงานอย่างมีความสุขที่แท้จริงและประสบความสำเร็จต้อง Start with the end in mind 

คุณสมบัติผู้นำในยุคปัจจุบัน 1) ผู้นำสร้างแรงบันดาลใจ 2) ผู้นำที่กล้าหาญทางจริยธรรม 3) ผู้นำที่เสียสละ        

คุณธรรม 4.00 ประกอบด้วย 1)พอเพียง 2)มีวินัย 3)สุจริต 4)จิตอาสา

                การจะพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่ทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล (ไม่ต้องสั่ง แน่นสร้างแรงบันดาลใจ) โดยมี 9 Modules ดังนี้

                1.  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและพัฒนาสมรรถนะ

                2.  ร่วมกันค้นหาต้นทุน

                3.  ตั้งเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง กำหนดเป้าหมายคุณธรรม

                4.  ออกแบบวิธีดำเนินงาน

                5.  ลงมือปฏิบัติ

                6.  จัดกระบวนการเรียนรู้ นำเสนอความสำเร็จ

                7.  ชื่นชมยกย่อง

                8.  สร้างระบบประเมินผล

                9.  สร้างเครือข่ายคุณธรรม เชื่อมโยงกับหน่วยงานต่าง ๆ

บทความจากเรื่องจริง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 4 ทุนในโลก ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี แต่สำคัญสุดทุนมนุษย์

ประโยชน์ต่อตัวเอง ช่วยให้ตระหนักถึงความสำคัญในทุนมนุษย์ ซึ่งในบทความได้อธิบายให้เห็นภาพอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นทุนทรัพยากรมนุษย์ ทุนการเงิน หรือทุนอื่นๆ ล้วนพึ่งทุนมนุษย์ในการขับเคลื่อน ความสำเร็จจึงสามารถเกิดขึ้นได้ จึงทำให้ตนเองได้เห็นประโยชน์และความสำคัญในการบริหารจัดการทุนมนุษย์ เพื่อให้การดำเนินการในงานสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ต่อองค์กร การพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กร เป็นปัจจัยสำคัญของการทำงานในยุคปัจจุบัน โดยสำรวจองค์กรมีทุนด้านใดบ้างโดยทำการ SWOT ของทุนแต่ละด้าน บุคลากร เงิน การจัดการ ทรัพยากรหรือเทคโนโลยี และใช้ทุนมนุษย์ในการพัฒนาทุนเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด 

 

นางสาวศิริพร เพ็ชรมณี กลุ่ม 1

นางสาวศิริพร  เพ็ชรมณี  กลุ่ม 1

สรุปผลการเรียนรู้จากบทเรียน ช่วงที่ 2 (20-21 กรกฎาคม 2560)

วิชาที่ 6  Learning Forum  หัวข้อ “การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

 สรุปประเด็นสำคัญ

          การที่บุคลากรทำงานอย่างมีความสุขจะส่งผลให้องค์กรมี Productivity เพิ่มขึ้น 20 ###/span#<  ซึ่งในการทำงานจะต้องมีทั้ง Happy at Home  Happy at Work  และ Happy  Workplace ซึ่งทั้งหมดจะต้องเชื่อมโยงกัน  สำหรับ Happy at work มีตัวแปรที่กระทบคือ Passion  ซึ่งในการทำงานให้สำเร็จจะต้องประกับด้วย Passion-Purpose-Meaning ที่ดี  ในการปฏิบัติงานต้องเน้นความจริง 2 R’s  คือ Reality  มองความจริง   Relevance ตรงประเด็น 

          ทุนแห่งความสุข เป็นจุดเริ่มต้นคือ Heart (Happiness) ต้องมี Head ปัญญา และต้องมี Execution ที่ต้องทำให้สำเร็จ แต่อย่างไรก็ตามการทำงานให้สำเร็จได้จะต้องมี Streategy และ Data ด้วย

          Happiness Capital (Dr.Chira Hongladarom’s Model)  มุ่งเน้นการมีความสุขจากการทำงานโดยเริ่มจากการมีสุขภาพร่างกายที่ดีพร้อมในการทำงานอย่างมีความสุข (Healthy) มีความชอบในงานที่ทำ (Passion) การทำงานอย่างมีเป้าหมาย (Meaning)  มีความสามารถในการทำงานให้สำเร็จ (Capability) การเรียนรู้งานและลูกค้าตลอดเวลา (Learning)  การเตรียมตัวให้พร้อม (Prepare) การทำงานเป็นทีม (Teamwork) การทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีม (Coaching) การทำงานที่ท้าทาย (Challenge) และ การทำงานที่มีคุณค่า (Enrichment)

การนำไปปรับใช้ในการทำงาน

          การสร้างทีมในการทำงานโดยนำหลักการพัฒนางานอย่างมีความสุขมาใช้ในการทำงานร่วมกันระหว่างบุคลากรสำนักงานคณะและคณาจารย์ภายในคณะ เพื่อให้ทุกคนเกิด Passion-Purpose-Meaning ในงานที่แต่ละคนปฏิบัติ ทำให้เกิด Happy at home  ไปสู่  Happy at Work นำไปสู่ Happy Workplace ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานของคณะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

 

วิชาที่ 7  Learning Forum  หัวข้อ “ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา”

สรุปประเด็นสำคัญ

          ระบบสารสนเทศมีหลายประเภทได้แก่

          EIS  เป็นการรวบรวม วิเคราะห์ ประมวลผลสารสนเทศนำไปใช้ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์หน่วยงาน

          DSS  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร สามารถวิเคราะห์ทางเลือกที่เป็นไปได้เป็นแบบจำลองเพื่อช่วยในการตัดสินใจ

          MIS  ระบบสารสนเทศที่สามารถสร้างสารสนเทศที่ต้องการเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนและควบคุมการดำเนนิงานของหน่วยงาน

          TPS  ระบบช่วยจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ที่เกิดการจากการปฏิบัติงาน

          ES  ระบบผู้เชี่ยวชาญ เลียนแบบวิธีการคิดและแก้ปัญหาจากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ

          OAS ระบบที่สนับสนุนการปฏิบัติงานในสำนักงาน

          หากมีระบบสารสนเทศที่ดีจะใช้ให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการบริหารได้ดีเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด

          การพัฒนาระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย Digital Economy (เทคโนโลยีเปลี่ยนวิธีการคิด วิธีการทำงานทั้งหมด)  Digital Economy (เปลี่ยนวิธีการทำงานทั้งหมด โดยใช้ Digital มาช่วยในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน)  Digital Transformation  (การสร้างความผูกพันลูกค้ามากขึ้น  การนำ Digital มาเปลี่ยนวีการทำงาน   การเลือก Digital มาทำงานให้เหมาะสม ทำให้เกิดการเพิ่มศักยภาพการทำงาน)

การนำไปใช้ในการทำงาน

          การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน เกิดการประหยัดทรัพยากรในการทำงาน  ทำให้งานเกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

 

          

วิชาที่ 8   การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม และกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน

สรุปประเด็นสำคัญ

          การสร้างนวัตกรรมในการทำงาน เกิดจาก Innovation + Management ซึ่งในการทำงานเพื่อให้เกิดนวตกรรมนั้น มีสิ่งที่ต้องทำ 3 อย่าง คือ

  1. Value เรามีคุณค่าอะไรที่ทำให้เข้าเลือกเรา
  2. New-Value คุณค่าที่ทำนั้นใหม่หรือไม่
  3. Implement  คุณค่าที่แตกต่างหรือใหม่สามารถ Implement ได้จริงหรือไม่
  4. </ol>

    การสร้างนวัตกรรมในการทำงานให้เราเริ่มต้นจากปัญหาที่พบในการทำงาน พัฒนาการทำงานโดยคำนึงถึงหลัก 3 ประการข้างต้น จะทำให้งานที่ทำเกิดนวัตกรรมได้สามารถใช้งานได้จริงเกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าให้กับองค์กรได้

    การนำไปใช้ในการทำงาน

              สามารถนำความรู้ด้านนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาด้านกระบวนการทำงานได้ทำให้เกิดนวัตกรรมในการปฏิบัติงาน ทำให้งานที่ปฏิบัติมีคุณค่าต่อคณะมากขึ้น

     

      

    วิชาที่ 9   Learning Forum หัวข้อ   การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

    สรุปประเด็นสำคัญ

              การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล ประกอบดวย

    1. ความซื่อสัตย์สุจริต
    2. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
    3. การมีส่วนร่วม
    4. </ol>

      คุณธรรม 4 ประการที่คนไทยควรมี ได้แก่

      1. การเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย (มีความพอเพียง)
      2. การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ (มีวินัย)
      3. การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม (สุจริต)
      4. การเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ (จิตอาสา)

         

      5. </ol>

        การทำงานให้ประสบความสำเร็จและมีความสุขในการทำงานเริ่มต้นด้วย Start with the end in mind คือ ต้องรู้ว่าเมื่องานสำเร็จแล้วต้องการเห็นอะไร  จะทำอย่างไร และสิ่งที่เราทำเกิดผลต่อสังคมหรือไม่อย่างไร  และจะต้องมี Purpose Passion and Meaning

                 การนำไปใช้ในการทำงาน

                  นำหลักคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย โดยกำหนดเป้าหมายในการทำงาน  ทำงานด้วยความตั้งใจและเข้าใจในงาน เพื่อให้งานบรรลุความสำเร็จ และเกิดผลลัพธ์ที่ดี และมี       คุณค่าต่อหน่วยงาน

         

นางสาวศิริพร เพ็ชรมณี กลุ่ม 1

การวิเคราะห์บทความ “4 ทุนในโลก, ทุนการเงิน, ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ, ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี แต่สำคัญที่สุด ทุนมนุษย์”

          ทุน 4 ประการ ได้แก่ ทุนการเงิน  ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ  ทุนทางวัตถุ และทุนเทคโนโลยี  ในทั้งหมด 4 ทุนนี้ มีทุนที่สำคัญที่สุดคือ ทุนมนุษย์  ถ้าขาดทุนมนุษย์แล้วองค์กรจะเกิดความสำเร็จได้ยาก  หากมีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมจริยธรรมและมีความรู้ความสามารถจะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ ส่วนทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุ และทุนทางเทคโนโลยีได้แก่ ทุนทางปัญญา  ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางเครือข่าย คือการร่วมกันทำงานแบบมีส่วนร่วม เป็นการทำงานเป็นทีม การเรียนรู้การคิดนอกกรอบ การเรียนที่ดีคือ เรียนจาก 2R’s ความจริงและตรงประเด็น แนว Chira Way เป็นการเรียนรู้เกิดการคิดเป็นทำเป็น ประยุกต์ใช้ในการทำงานได้

ประโยชน์ที่ได้รับต่อตัวเอง

          นำมาใช้ในการการปฏิบัติงานโดยยึดหลักคิดนอกกรอบ  คือ เรียนจาก 2R’s ความจริงและตรงประเด็น แนว Chira Way เป็นการเรียนรู้เกิดการคิดเป็นทำเป็น ประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ 

  ประโยชน์ที่ได้รับต่อองค์กร

          ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ มีบุคลากรที่มีคุณภาพ (มีทุนมนุษย์) ที่ดีมีความรู้ความสามารถ เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ  องค์กรมีความเจริญก้าวหน้าและยั่งยืน

นางสาวปีติฉัตร วั่นเส้ง กลุ่มที่ 5

นางสาวปีติฉัตร วั่นเส้ง กลุ่มที่ 5

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

                การพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพและเป็นแหล่งการทำงานอย่างมีความสุข มีหลักการ 2 อย่าง คือ ทุนแห่งความสุข (Happy at work) และ Happy workplace โดยมีปัจจัย คือ Passion มีความต้องการ ศรัทธา และเชื่อมั่นในสิ่งที่เราต้องการจากใจของเราเองเป็นสิ่งสำคัญ อันเป็นสิ่งแรกในการสร้างความสุขและความยั่งยืนในการทำงาน Purpose การตั้งเป้าหมายความสำเร็จของงาน Meaning รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบงาน และมีอีกปัจจัย คือ Healthy เมื่อสุขภาพกายและใจดี ก็จะส่งผลให้ประสิทธิภาพความพร้อมต่อการทำงาน หากบุคลากรมีทุนแห่งความสุขเกิดขึ้นจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน และเมื่อผู้บริหารเพิ่มการส่งเสริมด้าน Happy workplace ให้สอดรับมากยิ่ง นั้นคือการเก็บเกี่ยวสิ่งที่ได้ปลูกไว้และนำไปสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ โดยใช้เครื่องมือ HRDS และ Dr. Chira Hongladarom’s Model เป็นแนวในการบริหารองค์กร

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

                ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้บริหารในการจัดการเพื่อพัฒนาองค์กรให้ก้าวทันยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลง นำมาปรับใช้ในการทำงานเพื่อประโยชน์ต่อองค์กรโดยการสร้างความผูกพันของลูกค้า นำมาใช้เปลี่ยนวิธีการทำงานอย่างเหมาะสมถูกต้อง และเพิ่มศักยภาพในการทำงาน ทั้งนี้ บุคลากรในองค์กร เป็นส่วนสำคัญในการปรับทัศนคติต่อการเรียนรู้ ยอมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง และผู้บริหารต้องสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากรให้เรียนรู้กระบวนการสู่การปฏิบัติ เพื่อให้ก้าวไปสู่องค์กร 4.0 อย่างมีประสิทธิภาพ

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม และกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน

                การสร้างนวัตกรรม ต้องยึดหลัก 3 อย่าง คือ เป็นสิ่งที่มีคุณค่า เป็นสิ่งใหม่ๆ และเกิดผลลัพธ์ตามที่เราคิดและเป็นสิ่งที่เขาต้องการ การสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรม ต้องเริ่มจากผู้นำที่มีความจริงจัง มีส่วนผลักดันให้เกิดขึ้นในองค์กร เป็นปัจจัยนำไปสู่การแข่งขัน แสดงเป็นตัวอย่าง รวมทั้งการกระจายอำนาจและถ่ายทอดให้บุคลากรได้สร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยมีเงื่อนไข 8 สร้างสรรค์ ได้แก่ ผู้นำ วัฒนธรรม กลยุทธ์ ความรู้ คน การเข้าใจลูกค้า กระบวนการ และผลลัพธ์ ใช้หลักการของ Kaizen คือ เลิกทำในสิ่งที่ไม่จำเป็น ลดการทำในสิ่งที่ซ้ำ และเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้สั้นลง เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศขององค์กรแห่งนวัตกรรม

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม  จริยธรรม  และธรรมาภิบาล

                องค์กรต้องมีผู้นำที่มีคุณสมบัติ 3 ประการ คือ ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ ผู้นำที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และผู้นำที่เสียสละ โดยยึดหลักคุณธรรม 4.0 ได้แก่ พอเพียง มีวินัย สุจริต และจิตสาธารณะ สร้างการเรียนรู้ 4 แบบ คือ เรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เรียนรู้เพื่อส่วนร่วม และเรียนรู้เพื่อไปปฏิบัติ  ทั้งนี้ การพัฒนาองค์กรสู่ทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ประกอบด้วยหลักการ 9 Modules และมุ่งเน้น Passion Purpose Meaning เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กร ความสำเร็จในชีวิตโดยแท้จริงคือการยึดหลัก “ Start with the end in mind ”

สิ่งที่ได้จากบทความ

4 ทุนในโลก, ทุนการเงิน, ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ, ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี แต่สำคัญสุด ทุนมนุษย์

                ต่อตนเอง : ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาตนเอง(ทุนมนุษย์)ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งทุนสำคัญที่สุดใน 4 ทุนของโลก ซึ่งตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรและโลก เนื่องจากทั้ง 4 ทุนมีความเชื่อมโยงที่มีผลซึ่งกันและกัน หากเราสามารถบริหารจัดการ 4 ทุนให้เกิดความสมดุลจะทำให้การทำงานของตนเองมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

                ต่อองค์กร : ความสมดุลของ 4 ทุนในโลก เป็นสิ่งสำคัญ แต่ทุนมนุษย์เป็นแหล่งที่มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากสามารถทำให้อีก 3 ทุนพัฒนามากขึ้นหรือล่มสลายได้ ดังนั้น องค์กรจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการ 4 ทุนที่เกี่ยวโยงกันให้เกิดการขับเคลื่อนที่มีความสมดุลและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร

อุทัย ศิริคุณ (กลุ่ม 3)

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

          การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุข เพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพนั้น เราต้องมีปัจจัย คือ Passion คือเรามีความรัก มีความศรัทธา และเชื่อมั่นในสิ่งนั้นหรือเปล่า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทุนแห่งความสุขที่ต้องเกิดกับตัวเรา  ซึ่งการพูดเรื่องทุนแห่งความสุขต้องเน้น การนำไปปฏิบัติไม่ใช่นามธรรม  ทุนแห่งความสุขต้อง Authentic คือเป็นของแท้ไม่ใช่จอมปลอม และอยู่อย่างยั่งยืน และมี Purpose คือการตั้งเป้าหมายความสำเร็จของงาน และ Meaning รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบ งานที่เราทำมีประโยชน์ เรามีบทบาทอย่างไร

          สิ่งที่นำไปปรับใช้กับการทำงาน

          การทำงานอย่างมีความสุข เราต้องทำให้ตนเองรักในงานที่ทำ รู้จักการวางเป้าหมายของการทำงานให้ชัดเจน รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบ รู้ว่างานที่เราทำมีประโยชน์ และเรามีบทบาทและความสำคัญอย่างไรต่องานนั้นๆ และมีความเกี่ยวโยงกับใครบ้าง ต้องทำงานประสานกับผู้อื่น เข้าใจงานแล้วต้องรู้จักเข้าใจผู้อื่น ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

 วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

          สารสนเทศที่ดี ต้องมีความถูกต้อง ครบถ้วน เชื่อถือได้ ตรงประเด็นตามความต้องการ มีความง่าย มีความคุ้มค่า ยืดหยุ่น ตรวจสอบได้  เพื่อผู้บริหารสามารถนำสารสนเทศดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และคาดการณ์อนาคตขององค์กรได้ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของข้อความ ตาราง รูปภาพ หรืแผนภูมิและหากมีการเปรียบเทียบให้เห็นจะทำให้สามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

          สิ่งที่นำไปปรับใช้กับการทำงาน

          การจัดทำสารสนเทศในงานของตนเองในทุกแง่มุม เพื่อให้มีสารสนเทศที่ดีประกอบการวางแผนการดำเนินงานและการตัดสินใจของผู้บริหาร

 วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

           โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง เป็นยุคของโลกออนไลน์ จำเป็นที่ต้องมีนวัตกรรมต่างๆมาเพิ่มคุณค่าให้กับงานที่ทำ เราต้องรู้จักปรับตัวในการให้บริการ การบริหารต้องเร็ว ทันที บริการที่เหนือความคาดหวังของผู้รับบริการ ต้องวิเคราะห์ว่าเรามีอะไรที่แตกต่างจากที่อื่น การดำเนินงานต้องคิดในเรื่องของต้นทุน มีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดและเกิดประโยชน์สุดต่อองค์กร มีการลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็น ต้องสร้างองค์กรของเราให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ทำให้ทุกคนในองค์กรมีความต้องการสร้างอะไรใหม่ๆ  ส่งเสริมให้คนได้คิดและทำอะไรเพื่อองค์กรมากขึ้น ทำให้ Stakeholders ทุกกลุ่มขององค์กรได้รับความสุขจากการให้บริการและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาองค์กรต่อไป

          สิ่งที่นำไปปรับใช้กับการทำงาน

          การบริการที่ดี เหนือความคาดหวัง ลดขั้นตอนการทำงาน  สร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อการบริการที่ดีกว่า

 

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

          ในโลกยุคปัจจุบันที่โลกเปลี่ยนแปลงไป เราต้องรู้จักสร้างภูมิต้านทานให้กับตัวเอง รู้จักให้อภัย มีเมตตากับผู้อื่น รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น รู้จักวิเคราะห์ว่าเราเกิดมาทำไม ต้องมีเป้าหมายในชีวิต

          คุณลักษณะของผู้นำในยุคปัจจุบัน ควรมี 3 ประการ ได้แก่ 1) ต้องรู้จักสร้างแรงบันดาลใจ 2)มีความกล้าและ 3) รู้จักเสียสละ

          คนที่ประสบความสำเร็จ ต้องมี Purpose Passion and Meaning ชีวิตที่มีความหมายคือไม่ได้ทำประโยชน์ให้แก่ตัวเอง แต่ทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น

 

สิ่งที่นำไปปรับใช้กับการทำงาน

การตั้งเป้าหมายการทำงานของตนเอง รับผิดชอบในงานที่ทำเพื่อความสุขในการทำงานเพื่อประโยชน์แก่องค์กรของเรา

ภูริพัฒน์ พฤกษาพิทักษ์ กลุ่ม 2

บทความเรื่อง

4 ทุนในโลก, ทุนการเงิน, ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ, ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี แต่สำคัญสุด ทุนมนุษย์

ทุนมนุษย์นับว่าเป็นทุนที่สำคัญและส่งผลกระทบกับทุนอื่น ๆ การกระทำของมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญในการคงอยู่ของ ทุนการเงิน, ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ, ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี ดังนั้นในการพัฒนาขององค์กรต้องให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์เป็นลำดับแรก การทำให้คนในองค์กรเป็นทุนที่มีคุณค่าย่อมส่งผลในเชิงบวกต่อการพัฒนาองค์ในภายหน้า เราจะเห็นได้ว่า หากคนในองค์กรไม่เข้มแข็ง ไม่มีการพัฒนา ขาดความคิดก้าวหน้า องค์กรนั้นย่อมจะประสบปัญหาและล้มเหลวในที่สุด ดังนั้นสิ่งที่เราพึงให้ความสำคัญคือ การทำอย่างไรให้คนในองค์กรเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณค่า มีความรู้ มีความสามารถ มีการพัฒนา มีทัศนคติที่ดี มีความจงรักภักดีกับองค์กร และอีกหลาย ๆ ประเด็นที่สำคัญ หากเราสามารถพัฒนาคนให้ดีได้แล้วองค์กรย่อมประสบความสำเร็จในภายหน้าอย่างแน่นอน

นางสาวมาณี แก้วชนิด

มาณี แก้วชนิด กลุ่ม 2 
วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้คือ กฏในการสร้างทุนแห่งความสุข 
1. " การปลูก" : Happiness capital เราต้องเตรียมสุขภาพดาย สุขภาพใจของตัวเองก่อน
2. งานสำเร็จมาจากการที่เราใส่ใจในงาน เกิดขึ้นเพราะมี passion ในการทำงาน มี purpose และรู้ meaning ของงาน

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปปนับใช้
- ต้องรู้ work flow ก่อน แล้วเอาระบบมาช่วย
- อย่ายึดติดกับอดีต เพราะมีเทคโนโลยีเข้ามาทำให้เราต้องเปลี่ยนวิธีการคิด และการดำเนินชีวิต

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้
หลักการ kai zen (ความคิดสร้างสรรค์) 3 ข้อ
1. เลิก : เรื่องไม่จำเป็น เรื่องที่ไม่ทำก็ได้ เรื่องที่ทำหรือไม่ทำก็ได้
2. ลด : การลงมือทำซ้ำ การแก้ไข การทำใหม่
3. เปลี่ยน : เปลี่ยนขั้นตอน เปลี่ยนตำแหน่งการวาง เปลี่ยนวิธีเตรียมงาน เปลี่ยนขนาด เปลี่ยนวัตถุดิบ

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้
- การสร้างคณค่าให้ตนเอง ค้นหาเสียงภายในตัวเอง และเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นหาเสียงของตน คือ purpose  passion & meaning ทำให้เราเป็นสุข

- คุณธรรม จริยธรรม 4.0 ได้แก่ 
1.พอเพียง
2. มีวินัย
3. สุจริต
4. จิตอาสา

- การเรียนรู้ 4 ประการ
1. การเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย  เน้นการใช้ความรู้ สร้างนวัตกรรม
2. เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เน้นการใช้ความคิด กระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
3. การเรียนรู้เพื่อส่วนรวม เน้นการปลูกจิตสาธารณะ และความรับผิดชอบต่อสังคม
4. การเรียนรู้เพื่อนำไปปฏิบัติ เน้นการทำโครงงานร่วมกัน

มาณี แก้วชนิด กลุ่ม 2

บทความ 4 ทุนในโลก : ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือทางเทคโนโลยี แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ทุนมนุษย์

สิ่งที่ได้
(.)ทุนมนุษย์มีความสำคัญเพราะ 4 ทุนในโลกจะขาดทุนมนุษย์ไม่ได้
(.)ทุนมนุษย์กับทุนทางธรรมชาติ : การพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีจริยธรรมและปัญญา อนาคตจะได้มีทรัพยากรธรรมชาติให้เราได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน 
(.)การดำรงชีวิตอย่างเศรษฐกิจพอเพียงตามศาสตร์พระราชา จะช่วยบริหารความเสี่ยงให้เราอยู่รอดได้
(.)ทุนทางเทคโนโลยี เช่นทุนทางปัญญา ทุนทางความคิดสร้างสรรค์  ทุนทางวัตนกรรมและทุนทางเครือข่ายจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องพึ่งพาทุนมนุษย์เช่นกัน

ประโยชน์ต่อตนเอง

1.การดำรงชีวิตเป็นอยู่อย่างพอเพียง
2. การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และเลือกเรื่องที่ตรงประเด็นมาสร้างสรรค์ ทำงานเป็นทีม ปรึกษาผู้ที่มีประสบการณ์
3. ความอดทน ทุมเทเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

ประโยชน์ต่อองค์กร
- ประโยชน์ในด้านการวางแผนพัฒนากำลังคน   ให้มองคนเป็นสินทรัพย์เพื่อจะได้เพิ่มมูลค่าในด้าน คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ควาชำนาญ เป็นการเสริมสร้างทุนมนุษย์ เพื่อการพัฒนาสังคม องค์กร และประเทศชาติอย่างยั่งยืน

นางสาวปิ่นปินัทธ์ ดำนุ้ย กลุ่มที่ 5

วิชาที่ 6  การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ทุนแห่งความสุข  (Happiness Capital)” กับ “Happy Workplace

Happiness Capital คือ ส่วนบุคคล (Individual) เกิดขึ้นเพราะชอบงาน มีความสุขที่ได้ทำงาน 

Happy Workplace ผู้นำต้องทำให้มีบรรยากาศในการทำงานอย่างมีความสุขในองค์กร

 Happiness Capital ตาม Dr. Chira Hongladarom’s Model มี 11 ประการ ดังนี้

1. สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม  (Healthy)

2. ชอบงานที่ทำ (Passion)

3. รู้เป้าหมายของงาน (Purpose)

4. รู้ความหมายของงาน (Meaning)

5. มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ (Capability)

6. เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา  (Learning)

7. เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare)

8. ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว (Teamwork)

9. ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม  (Coaching)

10. ทำงานที่ท้าทาย (Challenge)

11. ทำงานที่มีคุณค่า  (Enrichment)

 โดยทุนแห่งความสุข สรุปมี 5 ข้อที่สำคัญ คือ

1. ต้องมีความมั่นใจในตัวเอง (Self Confidence)

2. ทำงานไป แต่ก็พร้อมที่จะเรียนรู้ด้วย (Eager to learn from work)

3. มีทัศนคติที่เน้นความกตัญญู (Gratitude) ต่อผู้ร่วมงานและผู้บริหาร

4. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน (Healthy Relations)

5. ใช้ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) เพื่อแก้ปัญหา อย่าใช้ความเครียดแก้ปัญหา

 สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การมีความพร้อมทางร่างกายและจิตใจ เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายเราต้อง ชอบงานที่ทำ (Passion) รู้เป้าหมายของงาน (Purpose) รู้ความหมายของงาน (Meaning) และใช้ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) เพื่อแก้ปัญหา อย่าใช้ความเครียดแก้ปัญหา

 

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          ระบบสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมากในการปฏิบัติงานในยุคปัจจุบัน ดังนั้นผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานต้องใช้ระบบสารสนเทศให้ถูกต้อง โดยกำหนดสารสนเทศที่ต้องการ (What) โดยพิจารณาจากลักษณะงานที่ทำ ใช้สารสนเทศเมื่อไหร่  (When) หาสารสนเทศได้ที่ไหน (Where) ทำไม (Why) ต้องมีสารสนเทศนั้น ใครคือผู้ใช้ (For whom) และจะใช้เครื่องมืออะไร (How) ในการเก็บรวบรวม ประมวล รักษาสารสนเทศ

ต้องเข้าใจความหมายของสารสนเทศที่มี นำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม และใช้สารสนเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมายและอย่างมีจริยธรรม

องค์กรใดที่สามารถใช้สารสนเทศได้เร็วและทันคู่แข่งขันจะมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน

 สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การปรับตัวการทำงานให้ทันกับยุคแห่งเทคโนโลยี และการพิจารณาเลือกใช้สารสนเทศที่เหมาะสมมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

 

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม และกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน 

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

นวัตกรรม คือ การสร้างคุณค่า (Value) มีความพึงพอใจและมีความสุข เกิดสิ่งใหม่ (New) และนำไปปฏิบัติได้ (Implement)

การสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมต้องเริ่มจากผู้นำที่สร้างแรงผลักดันให้องค์กรเกิดนวัตกรรม ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง แล้วค่อยเผยแพร่สู่พนักงานผ่านกลยุทธ์ที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ โดยเริ่มจากการใช้ทฤษฏี Kaizen เป็นจุดเริ่มต้นนวัตกรรม โดยใช้หลักการ  เลิก ลด เปลี่ยน

1. เลิก สิ่งที่ไม่จำเป็น ที่คนไม่ต้องการ

2. ลด อะไรที่ทำซ้ำ ให้ลดให้หมด ตรวจสอบซ้ำให้ลด การลอกข้อความเดิมหรือเขียนใหม่หลายครั้ง

3. เปลี่ยน เปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้สั้นลง เปลี่ยนให้คนมองเห็นมากขึ้น เปลี่ยนวิธีการเตรียมงานให้เร็วขึ้น เปลี่ยนขนาด เปลี่ยนวัตถุดิบ วัสดุที่ดีขึ้น

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

          การสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานที่รับผิดชอบ โดยใช้หลักการ Kaizen : เลิก ลด เปลี่ยน นำมาใช้ในขั้นตอนการดำเนินงานของแต่ละงานของฝ่าย เพื่อให้ขั้นตอนการทำงานง่ายและสะดวกขึ้น

 

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติ  3 อย่างคือ

1. มีความกล้าทางจริยธรรม

2. ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ

 3. ผู้นำที่เสียสละ

ผู้นำในโลกมาจาก 2 ประเภทคือ ผู้นำโดยตำแหน่งหน้าที่ และผู้นำโดยธรรมชาติ แต่ทั้งนี้ ปัจจุบันโลกต้องการผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ ผู้นำที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และผู้นำที่เสียสละ 

ผู้นำจะต้องมีคุณธรรม 4 ประการ คือ พอเพียง มีวินัย สุจริต และจิตอาสา การเรียนรู้ 4 แบบ คือ เรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เรียนรู้เพื่อส่วนร่วม และเรียนรู้เพื่อไปปฏิบัติ

นอกจากการมีผู้นำที่ดีแล้ว การทำงานอย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จมีความเหมือนกัน ให้เริ่มต้นด้วย Start with the end in mind ให้เริ่มด้วยจุดจบว่าต้องการเห็นอะไร จะไปไหน สิ่งที่เราจะหยิบยื่นให้สังคมเป็นอย่างไร สุดท้ายต้องการอะไร ต้องมี Purpose Passion and Meaning

 สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

          การกำหนดเป้าหมายในการทำงาน และเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น ด้วยการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เรียนรู้เพื่อส่วนร่วม และเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

 

บทความเรื่อง “4 ทุนในโลก ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี แต่สำคัญสุด ทุนมนุษย์”

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          ทุนในโลกมีทุก 4 ประการ ประกอบด้วย ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี และทุนมนุษย์ ซึ่งทั้ง 4 ทุน ต้องดำเนินไปด้วยกัน แต่ทั้งนี้ ทุนมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าขาดทุนมนุษย์แล้วองค์กรจะประสบความสำเร็จได้ยาก 

ทุนการเงิน  ใช้ศาสตร์พระราชาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทุนแห่งความยั่งยืน อยู่รอด คือไม่รวยเร็ว เดินสายกลาง บริหารความเสี่ยงได้ ประเทศก็จะอยู่รอด

ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ  ธรรมชาติไม่พึ่งมนุษย์ แต่มนุษย์พึ่งธรรมชาติ

ทุนทางเทคโนโลยี ซึ่งต้องพึ่งทุนมนุษย์ เช่น ทุนทางปัญญา ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ทุนทางนวัตกรรม

การเรียนรู้ทฤษฎีทุนมนุษย์ (Human Capital) : 8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของ Chira Way เป็นการเรียนรู้ก่อให้เกิดการคิดเป็น ทำเป็น ประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ และเพื่อการมีความสุขในการทำงาน

ประโยชน์ต่อตัวเอง

          การใช้ทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวเอง ในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อองค์กร

ประโยชน์ต่อองค์กร

          การให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในองค์กร เพื่อให้มีบุคลากรที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมจริยธรรมและมีความรู้ความสามารถที่จะปฏิบัติงานและทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

นางสาวอาภรณ์ แก้วสลับศรี กลุ่มที่ 2

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

วิชาที่ 8  การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

          การจะมุ่งสู่ความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม จะต้องเกิดจาก 3 อย่างที่สำคัญ คือ

          Value = สร้างสิ่งที่มีคุณค่า

          New  = สร้างสิ่งใหม่

          Implementation = การนำไปใช้ได้จริง

          การสร้างนวัตกรรม จะต้องเกิดจากการที่บุคลากรช่วยกันทำอย่างมีความสุข ไม่เป็นการสร้างภาระเพิ่มขึ้นในการทำงาน

          เงื่อนไข 8 สร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม คือ

          ผู้นำ สร้างสรรค์ 

          วัฒนธรรม สร้างสรรค์

          กลยุทธ์ สร้างสรรค์

          ความรู้ สร้างสรรค์

          คน สร้างสรรค์

          เข้าใจลูกค้า สร้างสรรค์

          กระบวนการ สร้างสรรค์

          ผลลัพธ์ สร้างสรรค์

 

วิชาที่ 2 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

          “Start with the come in mind” เราจะทำหรือดำเนินการอะไร อย่างไรก็ตามจะต้องคิดถึงจุดจบหรือสิ่งที่ตามมาจากการกระทำนั้นเสมอ

          หากเราคิดถึงสิ่งที่ตามมาจากการที่เราจะกระทำ จะทำให้เรามีสติ และไม่กระทำในสิ่งที่จะทำให้เกิดผลทางลบ

          ผู้นำที่สังคมไทยต้องการในปัจจุบัน มีคุณลักษณะ 3 อย่าง คือ

1.       ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ “โลกนี้เปลี่ยนแปลงจากแรงบันดาลใจ”

2.       ผู้นำที่มีความกล้าทางจริยธรรม

3.       ผู้นำที่เสียสละ

คุณธรรม 4 ประการที่สังคมไทยควรมีและควรมีการปลูกฝังกันอย่างจริงจัง คือ

1.       พอเพียง

2.       มีวินัย

3.       สุจริต

4.       มีจิตสาธารณะ

ไทยแลนด์ 4.0 ให้ความสำคัญกับคุณธรรม จริยธรรม นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการศึกษา การเรียนรู้ โดยเฉพาะการปลูกฝังและวิธีการเรียนรู้กับคนในสังคม มุ่งให้มีการเรียนรู้ ดังนี้

-          เรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย         เน้นการใช้ความรู้สร้างนวัตกรรม

-          เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์         เน้นการใช้ความคิด กระตือรือร้น การเรียนรู้สิ่งใหม่

-          เรียนรู้เพื่อการมีส่วนร่วม       เน้นปลูกจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคม

-          เรียนรู้เพื่อนำไปปฏิบัติ         เน้นการวิเคราะห์และแก้ปัญหาเป็น เน้นการทำโครงงาน

การวัดผลสัมฤทธิ์

         

สรุปบทความ “บทเรียนจากความจริง” โดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

ทุนที่สำคัญในโลก คือ ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี และทุนมนุษย์

ทุนทั้ง 4 จะต้องดำเนินไปด้วยกัน แต่ทุนที่สำคัญที่สุด คือ “ทุนมนุษย์” เพราะมนุษย์เป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลาย สิ่งสำคัญคือจะต้องพัฒนาทุนมนุษย์ให้เป็นผู้มีความรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักแก้ปัญหา และจะต้องปลูกฝังให้มนุษย์มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อร่วมกันพัฒนาโลกใบนี้ให้ยั่งยืนต่อไป ดังนั้น การผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต้องสอนให้คนคิดเป็น คิดนอกกรอบ การเรียนรู้ที่ดี คือ เรียนจาก 2R’s คือ ความจริงและตรงประเด็น ตามแนวของ Chira Way

 

 

 

ทรงธรรม ธีระกุล กลุ่มที่ 1

นายทรงธรรม  ธีระกุล

ผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ

(กลุ่มที่ 1)

 

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงานทุกรายวิชาในช่วงที่ 2

รายวิชาที่ 6 Learning Forum & Workshop การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

การจะทำสิ่งใดหากทำอย่างมีความสุขก็จะทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นได้ดีและมีผลลัพธ์ออกมาดี การทำงานในองค์กรก็เช่นเดียวกันหากทำงานอย่างมีความสุขแล้วจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของงานและส่งผลให้ Productivity เพิ่มขึ้นด้วย การทำงานบางครั้ง Happy at Home (Happy in life) กับ Happy at Work มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์และส่งผลซึ่งกันและกัน  แต่ต้องแยกให้ออกระหว่าง “ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital)” ซึ่งเป็นเรื่องส่วนบุคคล (Individual) ที่เกิดขึ้นเพราะความชอบงานมีความสุขที่ได้ทำงาน กับ “Happy Workplace” ซึ่งเป็นเรื่องขององค์กรที่จะสร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุข หากเราเข้าใจในสิ่งเหล่านี้และนำมาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ในการทำงานจะส่งผลให้เกิดความสุขทั้งต่อตนเองและองค์กร 

Passion เป็นตัวแปรที่กระทบต่อ Happy at Word เป็นส่วนหนึ่งของ Happiness Capital ที่จะต้องมีความต่อเนื่องและมีผลสะท้อนในทางบวก โดยมีการกำหนด Purpose ที่ชัดเจน การเรียนรู้ร่วมกันในองค์กรเป็นลักษณะ Learning Community ซึ่งจะต้องหา Meaning ให้ได้ว่าเราทำไปเพื่ออะไรมีเป้าหมายอย่างไร โดยเลือกทำในสิ่งที่เราเก่งแล้ว Passion จะตามมา แล้วทำเรื่อยไปอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นความสุขที่ยั่งยืนในองค์กร

รายวิชาที่ 7 Learning Forum & Workshop ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

ระบบสารสนเทศมีความสำคัญและจำเป็นต่อการบริหารและจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา โดยระบบสารสนเทศที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ เชื่อถือได้ ตรงความต้องการ ยืดหยุ่น ใช้ง่าย ตรวจสอบได้ และมีความคุ้มค่า องค์กรที่สามารถใช้ระบบสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพจะมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน ระบบสารสนเทศในองค์กรมีความครอบคลุมทั้งการบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน และการให้บริการ ซึ่งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศจะต้องพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ให้เหมาะสม มี ประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งถูกต้องตามกฎหมายอย่างมีจริยธรรม ได้แก่ กำหนดสารสนเทศที่ต้องการ (What) โดยพิจารณาจากลักษณะงานหรือหน้าที่ของหน่วยงาน พิจารณาเวลา (When) ที่ต้องใช้สารสนเทศนั้นเพื่อที่จะกำหนดเวลาในการรวบรวมประมวล และจัดทำรายงานให้สอดคล้องกับเวลาที่ต้องการ พิจารณาว่าจะหาสารสนเทศได้จากที่ไหน (Where) เป็นแหล่งข้อมูลจากภายในหน่วยงานหรือภายนอก พิจารณาว่าทำไม (Why) จึงต้องมีสารสนเทศนั้น ผู้ใช้ (For Whom) สารสนเทศคือใคร และจะใช้เครื่องมืออะไร (How) ในการเก็บรวบรวม ประมวล และรักษาสารสนเทศที่หามาได้ ฯลฯ

รายวิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม และกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมแห่งเอเชีย

การสร้างนวัตกรรมในองค์กรมีความสำคัญต่อการพัฒนา การเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้แก่องค์กร รวมทั้งสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในโลกปัจจุบัน นวัตกรรมและการจัดการจึงมีความเชื่อมโยงกัน โดยพิจารณาสิ่งที่องค์กรจะต้องทำ 3 อย่างคือ

1. Value องค์กรมีคุณค่าอะไรที่ทำให้เขาเลือกเรา

2. New – Value คุณค่าที่ทำนั้นใหม่หรือไม่ ภาพรวมขององค์กรมีอะไรที่แตกต่างจากที่อื่น

3. Implement คุณค่าที่แตกต่างและใหม่สามารถ Implement ได้จริงหรือไม่ อย่างไร

องค์กรแห่งนวัตกรรมนั้นจะต้องทำนวัตกรรมทั้งองค์กร นวัตกรรมต้องเริ่มจากผู้นำโดยผู้นำต้องมีความจริงจังให้เกิดการผลักดันในองค์กร เป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดนวัตกรรมการแข่งขัน ต้องทำตัวเป็นตัวอย่าง รวมถึงกระจายอำนาจสู่บุคลากรและถ่ายทอดแนวทางที่ชัดเจน ผ่านกลยุทธ์องค์กรให้เหมาะสมต่อการถ่ายทอดนวัตกรรม เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมที่สามารถสร้างความเป็นเลิศให้องค์กร ซึ่งประกอบด้วย Leadership (ผู้นำทุกระดับ) Strategic Knowledge และ People

ในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน การปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนก็จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนตามไปด้วย การจะสร้างสรรค์มหาวิทยาลัยไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมจะต้องสร้างสรรค์องค์กรในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ผู้นำสร้างสรรค์

วัฒนธรรมสร้างสรรค์ กลยุทธ์สร้างสรรค์ ความรู้สร้างสรรค์ คนสร้างสรรค์ เข้าใจลูกค้าสร้างสรรค์ (ตอบสนองลูกค้าและผู้ใช้บริการ) กระบวนการสร้างสรรค์ และผลลัพธ์สร้างสรรค์ โดยใช้หลักการของไคเซ็น คือ เลิก ลด เปลี่ยน

 

รายวิชาที่ 9 Learning Forum การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

การทำงานให้ประสบผลสำเร็จอย่างมีความสุขให้เริ่มต้นด้วยจุดจบคือผลลัพธ์ว่าเราต้องการอะไร เป้าหมายจะไปทางไหน อย่างไร เป็นประโยชน์อย่างไรทั้งต่อตนเองและผู้อื่น (Start with the end in mind) เมื่อเรารู้จุดจบเราก็จะสามารถเริ่มต้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม การขับเคลื่อนองค์กรให้ไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายจำเป็นจะต้องมีผู้นำที่มีลักษณะสำคัญ คือ ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ และมีความกล้าหาญทางจริยธรรม รวมทั้งมีความเสียสละ ซึ่งผู้นำจะต้องเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นการค้นหาเสียงภายใน (Purpose Passion Meaning) รวมทั้งเป็น Role Model ให้แก่บุคลากรด้วย  สิ่งสำคัญนอกจากความรู้แล้วคือการพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งจะต้องลงมือปฏิบัติให้เกิดขึ้นโดยตนเองและเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่น คุณธรรมที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ความซื่อสัตย์ รับผิดชอบในหน้าที่ อดทนมีวินัย และเสียสละ

การเรียนรู้ 4 อย่างเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย การเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ การเรียนรู้เพื่อส่วนรวม และการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

  

สรุปบทความ 4 ทุนในโลก ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี แต่สำคัญสุดทุนมนุษย์”

การพัฒนาในโลกนี้ล้วนต้องอาศัยทุนหลัก 4 ประการ คือ ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี และทุนมนุษย์ ซึ่งทุนทั้ง 4 ต้องอาศัยและเชื่อมโยงไปด้วยกัน แต่ทุนมนุษย์มีความสำคัญที่สุด เนื่องจากทุนอื่น ๆ จะเกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ หรือเกิดผลกระทบในทางทำลายล้วนเกิดจากน้ำมือของมนุษย์ทั้งสิ้น หากมนุษย์ขาดจริยธรรมและขาดปัญญาก็จะส่งผลเสียจากการใช้ทุนต่าง ๆ  ดังนั้น การบริหารจัดการทุนในโลกนี้ให้เกิดความสมดุลมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันจะส่งผลให้มีการใช้อย่างความคุ้มค่าและพัฒนาอย่างยังยืน

วิภาวี ปังธิกุล (กลุ่ม4)

บทความ4 ทุนในโลก ...”  

ให้ข้อคิดการพัฒนา 4 ทุน ที่เป็นทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนา ได้แก่ ทุนทางการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี และที่สำคัญทีสุดคือ ทุนมนุษย์ ว่าต้องบริหารจัดการและใช้ทุนทั้งสี่อย่างสมดุล เดินสายกลาง และมีคุณธรรม จริยธรรม  

สรุปบทความ“บทเรียนจากความจริง” โดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

4ทุนในโลก,ทุนการเงิน, ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ, ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี แต่สำคัญสุดทุนมนุษย์

     ปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรเช่นการจัดโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่ 3 โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณซึ่งเป็นโครงการที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพและจริยธรรมในการทำงาน ซึ่งตรงกับแนวคิดของคุณพารณอิศรเสนา ณ อยุธยา ทุนมนุษย์สำคัญที่สุด และศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ เน้นย้ำทั้ง 4 ทุนต้องทำงานด้วยกัน เช่น มนุษย์ต้องมีจริยธรรมในการทำงานและทำงานให้สอดคล้องทั้ง4 ทุน หรือตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือทุนแห่งความยั่งยืน

บุศริน จันทะแจ่ม กลุ่มที่ 5

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

          ทุนแห่งความสุข (Happy Capital) และ Happy workplace เป็นสิ่งสำคัญในการทำให้เกิดการพัฒนางานและสามารถทำงานได้บรรลุเป้าหมาย การสร้างบรรยากาศ สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลให้เกิดการทำงานอย่างมีความสุข  ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความสำเร็จและมีความสุขในงานที่ทำคือ ต้องมีความรู้สึกรัก/ชอบในงานที่ทำ (passion) รู้เป้าหมายในงาน (purpose) และรู้ความหมายในงาน ว่างานของเรามีความสำคัญอย่างไรต่อองค์กร (Meaning) อย่างไรก็ดี การดูแลรักษาสุขภาพกายและใจของตนเองให้แข็งแรง มีความพร้อมต่อการทำงานเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะสร้างสรรค์งานที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

วิชาที่ 7 การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร

          ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะการพัฒนางานด้านการศึกษา หน่วยงานควรให้ความสำคัญและติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และพิจารณาว่าระบบงานใดในองค์กรจะนำระบบสารสนเทศมาช่วยในการปฏิบัติงานอย่างไรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  รวมทั้งต้องมีความระมัดระวังในการใช้งานและการรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูล

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

          นวัตกรรม ไม่ใช่เรื่องการวิจัยและพัฒนาเท่านั้น แต่งานทุกงานสามารถสร้างหรือก่อเกิดนวัตกรรมได้ทั้งสิ้น นักปฏิบัติจะรู้ปัญหาในงานที่ทำ มีความต้องการแก้ไขปัญหา หรือไม่มีปัญหาแต่อยากทำงานให้ดีขึ้น อยากมีทางเลือกที่ดีกว่า วิธีการทำงานอย่างไรที่จะทำให้งานดีขึ้น โดยรูปแบบและแนวคิดขององค์กรแห่งนวัตกรรม ประกอบด้วย Value ต้องสำรวจตนเอง ว่าเรามีคุณค่าอะไรที่ทำให้ลูกค้าเลือก เรามีอะไรที่แตกต่าง New คิดค้นวิธีการ กระบวนการใหม่ที่แตกต่างเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และ Implement ทำสิ่งที่เราคิดให้เกิดขึ้นจริง  หลักการคิดนวัตกรรม 1. เลิก (เรื่องที่ไม่จำเป็น เรื่องที่ไม่ทำก็ได้ เรื่องที่จะทำหรือไม่ทำก็ได้)  2.ลด (พิจารณาเรื่องอะไรที่ต้องตรวจซ้ำๆ หลายครั้ง การแก้ไข การทำใหม่)  3.เปลี่ยน (ปรับเปลี่ยนขั้นตอน เปลี่ยนจุดวาง เปลี่ยนวิธีการเตรียมงาน เปลี่ยนวัตถุดิบ)

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

          ผู้นำที่ดีต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการ คือ ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ ผู้นำที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และผู้นำที่เสียสละ คุณธรรม 4.0 ตามแผนคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ประกอบด้วย พอเพียง มีวินัย สุจริต และมีจิตสาธารณะ  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ 4 ประการ คือ เรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เรียนรู้การมีส่วนร่วม และการเรียนรู้เพื่อการปฏิบัติ  การทำงานที่ดีต้องยึดหลักคิดแบบญี่ปุ่น “โค ดา วา ดิ : ทำดีที่สุด  พิถีพิถันที่สุดในงานที่ทำ”

วิเคราะห์บทความ 4 ทุนในโลก ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี แต่สำคัญสุด ทุนมนุษย์

ทุนในโลกมี 4 ประการ ประกอบด้วย ทุนทางการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี และทุนมนุษย์ ซึ่งทั้งหมดจะต้องทำงานไปด้วยกัน และทุนมนุษย์เป็นทุนที่สำคัญที่สุด เพราะทุนทั้งหมดต้องพึ่งพาทุนมนุษย์ทั้งสิ้น การพัฒนาทุนมนุษย์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่จะนำพาไปสู่การพัฒนาทุนด้านอื่นๆอย่างเหมาะสม และประสบความสำเร็จ พัฒนามนุษย์ให้คิดเป็นทำเป็น โดยเรียนรู้จากหลัก 2R’s และการยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม

ประโยชน์ต่อตัวเอง

                ควรพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในองค์กร เพื่อให้เกิดทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยกันพัฒนามหาวิทยาลัยต่อไป

ประโยชน์ต่อองค์กร

                การให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กร เพราะถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานในยุคปัจจุบัน การมีบุคลากรที่มีคุณภาพ และมีคุณธรรมจริยธรรม เป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันมหาวิทยาลัยให้ก้าวสู่ความสำเร็จแข่งขันกับสถาบันการศึกษาอื่นๆ ได้

นางสาววรรณา เหมทานนท์

นางสาววรรณา    เหมทานนท์   กลุ่มที่ 5

วิเคราะห์บทความ เรื่อง 4 ทุนในโลก ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี แต่สำคัญสุด ทุนมนุษย์

ทุนในโลกมีทุก 4 ประการ ประกอบด้วย ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี และทุนมนุษย์  ทั้งหมดต้องดำเนินงานด้วยกัน แต่ทุนมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด หากไม่มีองค์กรจะประสบความสำเร็จได้ยาก ทุนการเงินควรนำศาสตร์พระราชาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ คือ มีความยั่งยืน เดินสายกลาง บริหารความเสี่ยงได้ ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ  มีความสำคัญเพราะมนุษย์ต้องพึ่งธรรมชาติ  ทุนทางเทคโนโลยีจะต้องพึ่งทุนมนุษย์ เพื่อให้เกิด ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ทุนทางนวัตกรรม ดังนั้นการเรียนรู้ก่อให้เกิดการคิดเป็น ทำเป็น ประยุกต์ใช้เป็น จะมีความสุขในการทำงาน

คาดว่าจะนำไปใช้

          การใช้ทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวเอง ในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อองค์กร การให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในองค์กร เพื่อให้มีบุคลากรที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมจริยธรรมและมีความรู้ความสามารถที่จะปฏิบัติงานและทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

นางสาวเพ็ญนภา ไพยศาล กลุ่ม 2

ส่งสรุปช่วงที่ 2 และบทความ

นางสาวเพ็ญนภา ไพยศาล

สรุปวิชาที่ 6 : การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

          ทุนแห่งความสุข เป็นหนึ่งในทฤษฎีทุน 8 ประการ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากในการทำงาน เนื่องจากหากไม่มีการสร้างความสุขในองค์กรบุคคลที่อยู่ในองค์กรก็จะทำงานอย่างไม่มีความสุข ผลงานที่ออกมาก็ย่อมไม่เป็นที่พึงปรารถนา ดังนั้น บุคคลต้องมี happy at work ก่อนซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัวบุคคล ตัวเราเอง เป็นการทำงานในสิ่งที่เราชอบและถนัด เห็นคุณค่าในงานที่ทำและต้องทำงานเป็นทีม มีความคิดสร้างสรรค์มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่วน happy workplace เป็นเรื่องขององค์กร เป็นนโยบายที่เอื้อต่อการทำงาน ซึ่งบุคคลในองค์กรต้องปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนดไว้ เป็นการสร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุข แต่ทั้งนี้ทั้ง happy at work และ happy workplace ก็ต้องสร้างควบคู่กันไป

สรุปวิชาที่ 7 : ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

          การที่องค์กรจะนำระบบ IT เข้ามาใช้ต้องให้ตรงกับความต้องการ ต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่าจำเป็นต้องใช้หรือไม่ บางครั้งอาจจะเหมาะกับอีกหน่วยงาน แต่อีกหน่วยงานอาจไม่เหมาะก็ได้ อย่างไรก็ตามต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ใช้งาน ขึ้นอยู่กับองค์กรนั้นๆ อยู่ที่ความเข้าใจของคนใช้งานและของผู้บริหาร หากทำมาแต่ไม่เป็นที่ต้องการของผู้ใช้งาน ระบบที่สร้างมาก็จะไม่มีประโยชน์ และระบบสารสนเทศที่นำมาใช้ก็ต้องให้ทันต่อความต้องการ เช่น ในกรณีของมหาวิทยาลัย ต้องคำนึงถึงนิสิตที่ใช้งานในเบื้องต้น และต้องตระหนักถึงความมั่นคงและต้องเป็นไปตามนโยบายขององค์กรที่กำหนดไว้ การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กร ทำให้มีการได้เปรียบทางการแข่งขัน

สรุปวิชาที่ 8 : การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

           องค์กรแห่งนวัตกรรม ทุกองค์กรสามารถทำได้หมด แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีคิดของแต่ละองค์กร ว่าจะทำอย่างไรให้มีความแตกต่าง หรือสร้างจุดเด่นกว่าองค์กรที่ทำงานแบบเดียวกัน ซึ่งการจะสร้างความแตกต่างได้นั้น จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของคนเป็นอันดับแรก โดยต้องให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก คำนึงถึง 3 ข้อ ดังนี้ คือ 1.Value คุณค่า มีคุณค่าที่ทำให้เค้าเลือก เช่นการพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน 2. New คิดสิ่งใหม่ๆ สร้างสิ่งใหม่ ให้ต่างจากคนอื่น 3.Implementation คือ เมื่อคิดสร้างสิ่งใหม่ๆ แล้ว ต้องทำให้ได้อย่างที่คิด หากนำ 3 อย่างนี้มาใช้ ก็จะทำให้มหาวิทยาลัยสามารถเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมได้ และใช้หัวใจของ ไคเซ็น เข้ามาพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดีขึ้นในรูปแบบของการปรับปรุงแบบต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด โดยมีหลักการคือ เลิก ลด เปลี่ยน คือ เลิกในเรื่องที่ไม่จำเป็น ลด คือ การลดการทำซ้ำๆ การแก้ไข การทำใหม่ หรือการตรวจสอบซ้ำหลายๆ ครั้ง โดยไม่จำเป็น เปลี่ยน คือ เปลี่ยนขั้นตอน เปลี่ยนวิธีเตรียมงาน เปลี่ยนขั้นตอน เป็นต้น

 

 

สรุปวิชาที่ 9 : การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

          หลักการทำงานจะต้องทำออกมาแล้วมีความสุข ทำแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ต่อสังคม ทำออกมาจากใจ รู้ว่าสิ่งที่กระทำอยู่คืออะไร และสิ่งที่ได้รับหลังจากกระทำคืออะไร และที่สำคัญจะต้องมีหลักคุณธรรม 4 ประการคือ 1.พอเพียง 2.วินัย 3.สุจริต 4.จิตอาสา มีการชื่นชมให้กำลังใจบุคคลในองค์กร ยกย่องคนดี เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจที่ดี หากคนในองค์กรมีความสุข งานที่ออกมาก็จะดี องค์กรก็จะเจริญ เป็นการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

 

บทความ : บทเรียนจากความจริง

                ทุนมนุษย์หรือคน ถือเป็นทุนที่สำคัญที่สุด เนื่องจากการที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานได้ต้องเกิดจากมนุษย์ แต่ทั้งนี้หากไม่มีการพัฒนาทุนมนุษย์การทำงานนั้นๆ ก็จะทำไปโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ได้รับ เป็นเพิยงการกระทำเพื่อให้คนส่วนหนึ่งได้รับประโยชน์ส่วนตนมากว่าส่วนรวม ส่วนทุนทางการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโลโลยี ล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งทุนมนุษย์ในการขับเคลื่อน อยู่ที่ว่ามนุษย์จะนำทุนเหล่านั้นมาก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร เพราะมนุษย์เป็นได้ทั้งผู้สร้างและผู้ทำลาย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีความสามารถความดีงามต่างๆ คุณค่าเหล่านี้นำมาเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรได้ ดังนั้นองค์กรที่สร้างคนอย่างมหาวิทยาลัยจึงจำเป็นต้องมีแนวทางในการผลิตคนให้รู้จักคิด คิดให้เป็น คิดนอกกรอบ โดยเรียนรู้จากความจริง และตรงประเด็น และพัฒนาคนในองค์กรซึ่งเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณค่าอยู่แล้วให้มีคุณค่ายิ่งๆ ขึ้นไปตามสถานการณ์ในปัจจุบัน

ปานกมล อินทรกนิฎฐ์ กลุ่มที่ 4

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ 

สิ่งที่ได้เรียนรู้

          ทนุแห่งความสุข ประกอบด้วย (8K's) ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (5K's) ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ทุนทางความรู้ ทุนทางอารมณ์ ทุนทางวัฒนธรรม 

กฏในการสร้างทุนแห่งความสุข 1) สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม 2)ชอบงานที่ทำ 3) รู้เป้าหมายของงาน 4) รู้ความหมายของงาน 5) มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ 6) เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา (สำคัญ) 7) เตรียมตัวให้พร้อม 8) ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว 9) ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม 10) ทำงานที่ท้าทาย 11) ทำงานที่มีคุณค่า

ทั้งนี้จะต้องคิดถึงหลักของ Passion – Purpose – Meaning นั่นหมายถึง

           Passion คือ รักในงานที่ทำ มุ่งมั่น ตั้งใจทำงาน

           Purpose คือ การกำหนดเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน และทำอย่างต่อเนื่อง

           Meaning คือ เข้าใจความหมายของงานอย่างแท้จริง

           ซึ่งจะทำให้เรามีความสุขในการทำงาน และทำอย่างตั้งใจเมื่อรู้คุณค่าของงานเหล่านั้น

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

          ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้บริหารในการจัดการเพื่อพัฒนาองค์กรให้ก้าวทันยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลง นำมาปรับใช้ในการทำงานเพื่อประโยชน์ต่อองค์กรโดยการสร้างความผูกพันของลูกค้า นำมาใช้เปลี่ยนวิธีการทำงานอย่างเหมาะสมถูกต้อง และเพิ่มศักยภาพในการทำงาน ทั้งนี้ บุคลากรในองค์กร เป็นส่วนสำคัญในการปรับทัศนคติต่อการเรียนรู้ ยอมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง และผู้บริหารต้องสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากรให้เรียนรู้กระบวนการสู่การปฏิบัติ เพื่อให้ก้าวไปสู่องค์กร 4.0 อย่างมีประสิทธิภาพ

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม และกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน

          องค์กรแห่งนวัตกรรม - นวัตกรรมต้องเริ่มจากผู้นำ โดยผู้นำต้องมีความจริงจังให้เกิดการผลักดันในองค์กร เป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดนวัตกรรมการแข่งขัน ต้องทำตัวเป็นตัวอย่าง รวมถึงกระจายอำนาจสู่พนักงานและถ่ายทอดแนวทางที่ชัดเจน การสร้างนวัตกรรม ต้องยึดหลัก 3 อย่าง คือ เป็นสิ่งที่มีคุณค่า เป็นสิ่งใหม่ๆ และเกิดผลลัพธ์ตามที่เราคิดและเป็นสิ่งที่เขาต้องการ โดยมีเงื่อนไข 8 สร้างสรรค์ ได้แก่ ผู้นำ วัฒนธรรม กลยุทธ์ ความรู้ คน การเข้าใจลูกค้า กระบวนการ และผลลัพธ์ ใช้หลักการของ Kaizen คือ เลิกทำในสิ่งที่ไม่จำเป็น ลดการทำในสิ่งที่ซ้ำ และเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้สั้นลง เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศขององค์กรแห่งนวัตกรรม

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

         การทำงานอย่างมีความสุขที่แท้จริงและประสบความสำเร็จต้อง Start with the end in mind โลกโหยหาผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจและมีความกล้า(กล้าหาญทางจริยธรรม)และมีความเสียสละ คุณธรรม 4 ประการ ที่เราต้องมี 1) พอเพียง 2) มีวินัย 3) สุจริต 4) จิตอาสา ครอบครัวมีวัฒนธรรมแบบไหน เด็กก็จะเป็นแบบนั้น สอนแบบไม่สอน(โดยการทำให้เขาดู) สอนให้สร้างความรู้ด้วยตนเอง สอนให้ศรัทธาในตัวเองเท่ากับศรัทธาผู้อื้น สอนให้รู้จักแบ่งปันรู้หน้าที่ต่อโลก สอนให้รักชีวิต รู้จักใช้ชีวิตและมีทักษะชีวิต ครูผู้สอนคือผู้รู้ใหม่ คูรไม่ต้องให้คำตอบแต่ต้องตั้งคำถาม ครูคือผู้จักการเรียนรู้ ครูคือเพื่อน

สิ่งที่ได้จากบทความ

4 ทุนในโลก, ทุนการเงิน, ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ, ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี แต่สำคัญสุด ทุนมนุษย์

                สิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อตนเอง ทำให้รู้ว่าสิ่งสำคัญที่สุดใน 4 ทุนในโลกนี้คือทุนมนุษย์เพราะทุนมนุษย์เป็นตัวขับเคลื่อนทุนต่างๆ เราเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรและโลก หากเราสามารถบริหารจัดการ 4 ทุนให้เกิดความสมดุลจะทำให้การทำงานของตนเองมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

                ต่อองค์กร ทุนมนุษย์เป็นแหล่งทุนที่มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากสามารถทำให้อีก 3 ทุนพัฒนามากขึ้นหรือล่มสลายได้ ดังนั้น องค์กรจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการ 4 ทุนที่เกี่ยวโยงกันให้เกิดการขับเคลื่อนที่มีความสมดุลและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

          ทุนแห่งความสุข (Happy Capital)  กับ Happy workplace ต้องเดินไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีแนวทาง คือ ใจ/ชอบในงานที่ทำ (passion) ตั้งเป้าหมายในงาน (purpose) และถามใจตัวเองว่าทำเพื่ออะไร(Meaning) ส่งผลอย่างไรกับใครบาง เกิดการพัฒนางานและบรรลุเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีความสุขในงานที่ทำและเชื่อมโยงไปยัง Happy Home ด้วย

วิชาที่ 7 การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร

          ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ทำให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ เป็นกระบวนการประมวลผล ข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร บนพื้นฐานของความปลอดภัย

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

          นวัตกรรม เป็นการทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติการเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคนนั้นควรไปในทิศทางเชิงบวก นวัตกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งสิ้นไม่ใช่แต่จะเกิดจากงานวิจัยเท่านั้น แต่งานทุกงานสามารถสร้างนวัตกรรมได้เสมอ โดยใช้หลัก เลิก ลด เปลี่ยน

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

          โลกนี้โหยหาผู้นำที่สร้างแรงบัลดาลใจ ผู้นำที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และผู้นำที่เสียสละ คุณธรรม 4.0 ประกอบด้วย พอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา การเรียน 4 ประการ คือ 1) การเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เน้นการใช้ความรู้อย่างมีเป้าหมาย 2) กระบวนการอย่างสร้างสรรค์ เน้นการใช้ความคิด การกระตือรือร้นในการเรียนรู้ใหม่ 3) การเรียนรู้เพื่อส่วนร่วม เน้นปลูกจิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคม 4) การเรียนเพื่อการปฏิบัติ

วิเคราะห์บทความ 4 ทุนในโลก ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี แต่สำคัญสุด ทุนมนุษย์

ทุนในโลกมี 4 ประการ ประกอบด้วย ทุนทางการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี และทุนมนุษย์ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กัน แต่ทุนมนุษย์เป็นทุนที่สำคัญที่สุด เพราะมนุษย์ต้องใช้ทุนทั้งหมดเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน การพัฒนาทุนมนุษย์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่จะนำพาไปสู่การพัฒนาทุนด้านอื่นๆ อย่างเหมาะสม และประสบความสำเร็จ โดยเรียนรู้จากหลัก 2R’s และการยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม

ประโยชน์ต่อตัวเอง

                ต้องสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเองอยู่เสมอ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนบุคลากรในองค์กรให้พัฒนาศักยภาพของตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย

ประโยชน์ต่อองค์กร

          การให้ความสำคัญกับคุณค่าของคนหรือบุคลากรขององค์กรได้แก่ความรู้ความสามารถ รวมถึงความดีงามต่างๆ ที่สั่งสมอยู่ในตัวเขาเหล่านั้น โดยความรู้ความสามารถความดีงามต่างๆ เหล่านี้เป็นคุณค่าที่สามารถนำมาเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กร 

สรุปความรู้ที่ได้รับจากการอบรมฯ ช่วงที่ 2 (20-21 กรกฎาคม 2560)

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

ความรู้ที่ได้รับ

     หลักการพัฒนาทุนแห่งความสุข จะต้องเข้าใจถึง meaning passion และ purpose โดยผู้นำที่ดีควรสร้างบรรยากาศให้เกินความสุขภายในองค์กรอย่างแท้จริง ด้วยการปรับ Mindset ของตัวเอง

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน

     ปรับ Mindset ในการทำงานด้วยการเปิดใจและรักในงานที่ทำ เพื่อปรับพฤติกรรมการทำงานให้มีความสุข และเพิ่มสมรรถนะในการทำงาน

 วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

ความรู้ที่ได้รับ

     การวิเคราะห์ประเภทขององค์กรจะส่งผลให้สามารถนำระบบสารสนเทศมาใช้พัฒนาองค์กรได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่าต่อการลงทุน และทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปรวมทั้งรองรับ Thailand 4.0 ทั้งนี้หากต้องการจะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการ จะต้องวิเคราะห์ทุกกระบวนงาน เพื่อแสดงให้เห็นว่ากระบวนงานใดที่สามารถนำสารสนเทศมาช่วยในการปฏิบัติงานได้

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน

     วิเคราะห์ขั้นตอนและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทั้งหมดของตัวเอง เพื่อนำสารสนเทศมาช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสอดคล้องตามนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล ที่เน้นดิจิตอลและเทคโนโลยีสารสนเทศ

 วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

ความรู้ที่ได้รับ

     การจะสร้างให้เกิดเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมได้นั้น ควรจะต้องเริ่มต้นจากผู้นำที่มีความจริงจังและจริงใจในการผลักดันให้เกิดการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และสนับสนุนให้บุคลากรคิดงานที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพื่อสร้างให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ในการทำงาน และให้มีความสะดวก รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย ลดขั้นตอน และบุคลากรต้องทำงานได้อย่างมีความสุข โดยการสร้างนวัตกรรมสามารถเริ่มจากจุดเล็กๆ ของกระบวนการทำงาน

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน

     วิเคราะห์กระบวนการทำงานที่เป็นอยู่และพยายามหาสิ่งใหม่ๆ จากเทคนิคการทำงานที่ดีทั้งจากตนเองและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อนร่วมงาน เพื่อสร้างนวัตกรรมการทำงานร่วมกัน ด้วยการเลิก ลด เปลี่ยน และนำไปสู่การขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างประสิทธิภาพ

 วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล

ความรู้ที่ได้รับ

     หลักการทุนทางจริยธรรม จะเริ่มต้นจากการหาต้นทุนทางความดีและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง โดยผู้นำที่ดีที่มีคุณธรรม จริยธรรม ควรจะสามารถสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้อื่นได้ มีความกล้าหาญ สื่อสารแบบตรงไปตรงมา และมีความเสียสละ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน

     ทำงานโดยยึดหลักแนวทาง “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา” และสร้างคุณค่าให้ตัวเองเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของตัวเองที่มีต่อหน่วยงาน และจะกำหนดเป้าหมายในการทำงานทุกอย่าง เพื่อนำไปสู่การทำงานที่มีมาตรฐานตามวงจรคุณภาพ PDCA

 สรุปบทความ “4 ทุนในโลก, ทุนการเงิน, ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ, ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี แต่สำคัญสุด ทุนมนุษย์”

     การพัฒนาทุนมนุษย์มีความสำคัญและจำเป็นที่สุด เพราะทุนมนุษย์จะสามารถพัฒนาและต่อยอด เพื่อบริหารจัดการอีก 3 ทุน (ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ และทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี) ได้

ประโยชน์ต่อตัวเอง

     ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญและพัฒนาความรู้ความสามารถของตัวเองและทำงานอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อเนส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์ที่จะพัฒนาและขับเคลื่อนหน่วยงาน

ประโยชน์ต่อองค์กร

     ควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ขององค์กร เพื่อให้สามารถเป็นกลไกในการขับเคลื่อนองค์กรให้สำเร็จและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

นนทพัทธ์ นวลนิ่ม กลุ่ม 4

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

                  หลักการและแนวทางในการจัดการความสุขในองค์กรมีหลากหลายแนวทางแต่การนำมาสกัดให้เป็นสูตรหรือแนวคิดในการพัฒนาสู่ทุนทางการทำงานนั้นเห็นว่า 8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  เป็นนาวทางที่ดีในการปฏิบัติหากปลูกฝังลงสู่องค์กรก็จะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิดความสุขในการทำงาน  การสร้างบรรยากาศในองค์กรให้น่าทำงาน มีความสุขกับการทำงาน ความชอบและรักในงานนั้น ซึ่งทั้งสองส่วนต้องมีความเชื่อมโยงกัน

การนำไปปรับใช้

                  การสร้าง Outcome หรือ Impact ต่อองค์กร ต้องอาศัยการมีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ดังนั้นจึงพัฒนาทางด้านทุนแห่งความสุขและนำแนวคิดมาปรับใช้ในการสร้างงานอย่างมีความสุข

 วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

         การนำสารสนเทศมาใช้ในหน่วยงานหรือองค์กรเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้รับบริการภายในมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีเปลี่ยนวิธีการคิด วิธีการทำงานทั้งหมดภายในองค์กรโดยผ่านวิธีการประมวลผลเชิงระบบ ทำให้มีความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลหรือการบริการของหน่วยงานโดยการ เพิ่มศักยภาพ Optimize your operations ให้องค์กร เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตทันตามยุคพัฒนาการทางด้านสื่อสาร เพื่อการขับเคลื่อนการทำงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้เสถียรเพื่อก้าวสู่ Internet of thing การพัฒนาระบบต่าง ๆ เพื่อลดขั้นตอนปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้ก้าวทันเทคโนโลยี

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม และกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน

          การสร้างนวัตกรรมคือการสร้างคุณค่าให้กับรูปแบบและแนวคิดผ่านกระบวนการแนวคิดที่ว่า จะพัฒนางานอะไร ทำเพื่ออะไร โดยจะทำอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์นวัตกรรม เป็นสิ่งใหม่ และนำไป Implement ได้ ผู้บริหารต้องเป็น Open Communication องค์กรนวัตกรรมต้องมีความท้าทาย โต้ตอบ ให้อำนาจในการคิด ให้เขาทำ มีความเสี่ยงที่ยอมรับได้รวมถึงสนับสนุนงบประมาณและการส่งเสริมในภาพรวมเพื่อพัฒนานวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

          ผู้นำกับการสร้างแรงบันดาลใจเป็นสิงสำคัญที่องค์กรต้องการภายใต้ ดี เก่ง กล้า นำจริยะธรรมมาใช้ในการบริหารจัดการโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ 4 ประการ

          1. เรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย

          2. เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์

          3. เรียนรู้เพื่อส่วนรวม

          4. นำไปใช้ปฏิบัติ

แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัย ผู้นำจะต้องมีคุณธรรม 4 ประการ คือ พอเพียง มีวินัย สุจริต และจิตอาสา การเรียนรู้ 4 แบบ คือ เรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เรียนรู้เพื่อส่วนร่วม และเรียนรู้เพื่อไปปฏิบัติ

วิเคราะห์บทความ เรื่อง 4 ทุนในโลก ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี แต่สำคัญสุด ทุนมนุษย์

          ธรรมชาติสร้างทุกอย่างบนโลกใบนี้ รวมถึงสิ่งมีชีวิตที่เจริญเติบโตโดยการอาศัยหักการและพึ่งพาธรรมชาติทั้งสิ้น นี่คือปัจจัยที่สำคัญคือธรรมชาติ หลังจากสิ่งมีชีวิตกำเนิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ สิ่งมีชีวิตที่สำคัญคือมนุษย์ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่สำคัญในการพัฒนาการทางความคิดสั่งสมและต่อยอดถ่ายเทรุ่นสู่รุ่นเพื่อใช้ในการดำรงชีพ สั่งสมประสบการณ์มาหลายชั่วอายุคน จนกลายเป็นทุนมนุษย์ที่เต็มไปด้วยนานาอารยะทางความคิดเพื่อบูรณาการในการใช้ชีวิต ก่อให้เกิด ทุนในโลกในสาขาต่าง ๆ ตามมา ภายใต้หลักการใช้ชีวิตแบบ 2R’s ก่อให้เกิดเครือข่ายในการใช้ชีวิต สามารถพึ่งพาอาศัยในการใช้ชีวิตร่วมกันได้

คาดว่าจะนำไปใช้

          ดังนั้นองค์กรแม้มีทุนต่างๆ อันเหลือเฝือในการขับเคลื่อนองค์กรแต่หากวันใดขาดแรงงานหรือบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถก็ทำให้องค์กรล่มสลายได้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพัฒนาบุคลากรทั้งพัฒนาทางด้านประสิทธิภาพและพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพเพื่อสร้าง Passion ในการทำงาน

ชาโลมา กองสวัสดิ์

นางชาโลมา  กองสวัสดิ์   กลุ่ม 2

สรุปบทเรียนช่วงที่ 2/5 วันที่ 20-21 กรกฎาคม 2560 โดย นางชาโลมา  กองสวัสดิ์ (กลุ่ม 2)

วันพฤหัสที่ 20 กรกฎาคม 2560

สรุปประเด็น วิชาที่ 6 : การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

          ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) หรือ (Happy at work) เป็นพฤติกรรมของคนที่ทำงานอย่างมีความสุข และส่งผลโดยตรงต่อ Productivity ทุนแห่งความสุขเป็นสิ่งที่สร้างได้ ในระดับตัวบุคคล (Individual) เกิดขึ้นเพราะชอบงานงานที่ทำมีความสุขในการทำงาน โดยเริ่มจาก passion คือความหลงใหลในงานที่ทำ  meaning คือ รู้ว่างานที่ทำงานมีความหมายและมีคุณค่า purpose คือ รู้เป้าหมายของงานที่ทำจึงทำให้มีความสุขในการทำงาน การมีทุนแห่งความสุขเป็นจุดเริ่มต้นและจำเป็นต้องเชื่อมโยงกับทุนอื่นๆ เช่น มี heart (happiness) ต้องมีปัญญา (head) และต้องทำให้สำเร็จ (execution) ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) เป็นทุนที่สำคัญที่จะทำให้ทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามทฤษฎี 8K’s ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ (5K’s) ที่ให้ความสำคัญในเรื่องทุนทางอารมณ์(Emotional Capital)

การมีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) เปรียบเทียบได้กับการปลูก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นผู้นำต้องทำให้มีบรรยากาศในการทำงานแบบ (Happy Workplace) ซึ่งเปรียบเทียบได้กับการเก็บเกี่ยวจึงจะเกิดเป็น “ทฤษฎี ++” คือ ปลูกกับเก็บเกี่ยวต้องไปด้วยกัน “ทฤษฎีสองกระเด้ง” แต่ปัจจุบันยังมีสถานการณ์ 3 แบบ คือ มีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ในการทำงาน แต่ไม่ใช่ Happy Workplace เกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ +-” และสถานการณ์แบบที่ 3 คือ ไม่มีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ในการทำงานแต่องค์กรพยายามสร้าง Happy Workplace เกิดเป็น “ทฤษฎี -+” ซึ่งก็ทำให้ Impact ที่ได้น้อยลงเช่นกัน และสถานการณ์ที่แย่ที่สุดคือ ไม่ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ในการทำงาน และไม่ใช่ Happy Workplace เกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ - -” ซึ่งทำให้เกิด Impact ด้านลบมากมาย

          กฎในการสร้างทุนแห่งความสุข

Happiness Capital

(Dr.Chira Hongladarom’s Model)

Happiness Capital

(Sharp/Hongladarom’s Model)

1.      สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม (Healthy)

2.      ชอบงานที่ทำ (Passion)

3.      รู้เป้าหมายของงาน (Purpose)

4.      รู้ความหมายของงาน (Meaning)

5.      มีความสามารถที่จำทำให้งานสำเร็จ (Capability)

6.      เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา (Learning)

7.      เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare)

8.      ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว (Teamwork)

9.      ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม (Coaching)

10.  ทำงานที่ท้าทาย (Challenge)

11.  ทำงานที่มีคุณค่า (Enrichment)

1.       ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (Exercise)

2.       อย่าแบกงานที่หนักเกินไป (Put down your buden)

3.       ศักยภาพในการถ่ายทอดในงาน (Communicate Effectively)

4.       ทำงานในจุดแข็งของตัวเอง (Recognize your strengths)

5.       มุ่งมั่นในงาน (Deep Focus)

6.       ทำในสิ่งที่อยากทำไม่ใช่เพราะต้องทำ(Reduce the should)

7.       ทำงานในองค์กรที่มองคุณค่าของคนและงานคล้ายๆ กัน (Clarify your values)

8.       อย่าทำงานเครียดและวิตกกังวล (Overcome worry and stress)

9.       บริหารภาระงานให้เหมาะสมกับตัวเอง (Refine your workload)

10.   ใช้คำว่าขอบคุณกับลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน (Choose your words)

11.   สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสนุกร่วมกัน (Create good environment)

ประโยชน์ของการมีทุนแห่งความสุข 11 ประการ

1.       ช่วยทำให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ง่ายและได้ผลสูงสุด

2.       ทำให้ตัวเองมี Creativity สูงขึ้น

3.       ทำให้มองหาทางออกแทนการบ่นว่าปัญหายากจัง

4.       มองโลกในแง่ดี (Optimism)

5.       มีพลัง (Energy) เพิ่มขึ้น

6.       ทำให้กระตุ้น Motivate and Inspired ได้ง่ายกว่า

7.       สุขภาพดี ไม่ค่อยป่วย

8.       สามารถเรียนรู้ได้เร็วและสนุก สร้าง Learning Culture ได้ดีกว่าคนที่ไม่มีความสุข

9.       มีความมั่นใจว่าจะกล้าทำอะไรนอกกรอบได้มากขึ้น โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีความผิดพลาด

10.   ทำให้ตัดสินใจได้ดีและรอบคอบ

11.   สร้างความผูกพันองค์กร

 

 

การนำไปปรับใช้กับตัวเอง

          สร้างทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ให้กับตัวเองโดย ปรับทัศนคติและพฤติกรรมในการทำงาน โดยสร้างความสมดุลระหว่าง Happy at Home   Happy at Work และ Happy Workplace โดยเริ่มจาก passion meaning และ purpose และนำกฎในการสร้างทุนแห่งความสุข ทั้ง 11 ข้อมา Implement “ความสุขสร้างได้ เริ่มจากใจสุข คิดบวก ใช้ความรักนำพาในการดำเนินชีวิต รักตัวเอง รักครอบครัว รักในงานที่ทำ รักเพื่อรวมงาน รักลูกค้า/ผู้รับบริการ รักองค์กร และรักประเทศชาติ” ดำเนินชีวิตด้วยรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ อันเป็นการสร้างบรรยากาศแห่งความสุขให้กับตัวเองและคนรอบข้าง

การนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

          ในฐานะผู้บริหาร จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างบรรยากาศในการทำงานแบบ Happy Workplace  เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุด (Productivity) โดยต้องเป็น Smart and Happy Manager เป็นต้นแบบแห่ง Happy Manager และรู้จักใช้ศักยภาพของทีมงาน โดยการมอบหมายงานที่เพิ่มความสุข (ท้าทาย) ลดการขัดแย้งในองค์กร ดูแลวัฒนธรรมองค์กรให้ไปในทางสร้างให้พนักงานเป็นเลิศให้ได้ และให้คนในองค์กรรู้จักและเข้าใจทุนแห่งความสุข และบริหารคนในองค์กรให้เปลี่ยนจากสุขน้อย เป็นสุขมาก หรือมีความสุขแล้วได้สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างเต็มที่

สรุปประเด็น วิชาที่ 7 : ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

           ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา ถือเป็นการพัฒนาระบบงานที่มีความสำคัญยิ่งในยุค Thailand 4.0 & Leaning Society Creation โดยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับ MIS  ต้องมีการกำหนดสารสนเทศที่ต้องการ (What) โดยพิจารณาจากลักษณะงาน หรือหน้าที่ของหน่วยงาน พิจารณาเวลา (When) ที่ต้องใช้สารสนเทศนั้น เพื่อกำหนดเวลาในการรวบรวมประมวลผล และจัดทำรายงานให้สอดคล้องกับเวลาที่ต้องการ ทราบว่าจะหาสารสนเทศได้ที่ไหน (Where) จะเป็นแหล่งข้อมูลจากภายในหรือภายนอกหน่วยงาน เข้าใจว่าทำไม (Why) จึงต้องมีสารสนเทศนั้น เพราะการเก็บข้อมูลโดยไม่ทราบถึงเหตุผลและความจำเป็นอาจนำไปสู่การเก็บข้อมูลผิดประเภท หรือการมีข้อมูลมากเกินไปและไม่ได้นำมาใช้ ต้องทราบว่าผู้ใช้ (For whom) สารสนเทศคือใคร เพื่อจะได้จัดทำรูปแบบในการนำเสนอให้เหมาะสม และจะใช้เครื่องมืออะไร (How) ในการเก็บรวบรวม ประมวล รักษาสารสนเทศ ตลอดจนสามารถเข้าใจความหมายของสารสนเทศที่หามาได้ สามารถดำเนินการหรือปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม โดยอาศัยการพิจารณาจากการสารสนเทศที่มีอยู่หรือที่ได้มา และใช้สารสนเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมายและอย่างมีจริยธรรม

          ปัจจุบันมีแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา ดังนี้

1.      Cloud Computing เป็นการทำงานร่วมกันของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก โดยองค์กรจะซื้อพื้นที่ของผู้จัดการระบบ เพื่อลดปัญหาพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล และป้องกันข้อมูลสูญหาย แต่เรื่องดังกล่าวถือเป็นเรื่องใหม่ในสถาบันอุดมศึกษา แต่ภาคเอกชนใช้ระบบนี้อย่างแพร่หลาย

2.      Big Data and Analytics การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์

3.      Social Networking: Video/Streaming/Live Content

4.      Internet of Things (IoT)/M2M การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เชื่อต่อกับอินเตอร์เน็ต

5.      Software Defined Networking

6.      Mobile Payment/Cashless

7.      Cyber Security กรพัฒนาระบบความปลอดในโลกไซเบอร์

8.      AI/Machine Learning

นอกจากนี้มีการเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการโดยการใช้ Digital Transformation มากขึ้น โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นตามลำดับความสำคัญ ดังนี้ ลูกค้า สินค้า/บริการ บุคลากร และกระบวนงาน ทั้งนี้โดยต้องพิจารณาถึง New Normal หรือ Life Style ของกลุ่มเป้าหมายประกอบในการปรับเปลี่ยน และพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

 

การนำไปปรับใช้กับตัวเอง

          ทบทวนกระบวนงานที่สำคัญ เพื่อพิจารนำระบบสารสนเทศ โดยใช้ Digital transformation มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทองค์กร New Normal หรือ Life Style ของผู้รับบริการ ทั้งนี้โดยการสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหาร ลูกค้า และผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลขององค์กร

การนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

          ร่วมกับผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานเพื่อกำหนดสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ที่มีความจำเป็นในการพัฒนาองค์กร โดยพิจารณาจากระบบงานหลัก Key Process ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน และมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหาร และผู้ใช้ข้อมูล (Relevant) ออกแบบให้ใช้ง่าย (Simple) ทันสมัย (In trend) มีความถูกต้อง  (Accurate) มีความครบถ้วนสมบูรณ์ (Complete) มีความเชื่อถือได้ (Reliable) มีความคุ้มค่า (Economical) มีความยืดหยุ่น (Flexible) และตรวจสอบได้ (Verifiable)

วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม 2560

สรุปประเด็น วิชาที่ 8 : การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

การดำเนินงานงานขององค์แห่งนวัตกรรมในโลกยุคใหม่ นั้นมีความจำเป็นต้องพัฒนาเป็นองค์กร แห่งนวัตกรรม โดยการใช้ Innovation + Management เพื่อให้สอดคล้องกับ New Trend ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความรวดเร็ว ไม่ชอบการรอคอย ชอบความสะดวกสบาย ประกอบกับปัจจุบันเป็นยุคของ VUCA World  (Volatile , Uncertain, Complex, Ambiguous) โลกออนไลน์ “ สิ่งที่เห็นไม่ใช่สิ่งที่เป็น” คนในปัจจุบันมีการเปลี่ยนใจได้ง่าย และการนำเสนอภาพลักษณ์ที่เกินจริง โดยกระบวนการสำคัญ 3 ประการ คือ Value + New + Implementation  นั้นคือ เรามีคุณค่าอะไรที่ทำให้ลูกค้าเลือกเรา (Value)  และคุณค่านั้นเป็นสิ่งใหม่หรือไม่ (New)  และค่าที่แตกต่างและใหม่นั้นสามารถ Implement ได้จริง องค์องค์กรแห่งนวัตกรรม จะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มจากผู้นำเห็นความจำเป็นเพื่อการแข่งขันทางการตลาด และ ต้องเป็นต้นแบบ ต้องเป็นผู้คิดริเริ่ม โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ คิดสิ่งใหม่ เพื่อสร้างคุณค่า และความแตกต่างจากคู่แข่งขัน มีการกระจายอำนาจสู่พนักงานและถ่ายทอดแนวทางที่ชัดเจน มีกลยุทธ์ที่เหมาะสม เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมที่สามารถสร้างความเป็นเลิศให้องค์กร

Kaizen เป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดนวัตกรรม เป็น Continuous Improvement คือ การทำงานให้สนุก มีความสุขมีความพึงพอใจ มีคุณภาพ มีหลักการสำคัญ คือ “เลิก ลด เปลี่ยน” นั่นคือ (1) เลิกสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือสิ่งที่ไม่ต้องการอีกแล้ว (2) ลด สิ่งที่ต้องทำซ้ำ (3) เปลี่ยน คือ เปลี่ยนรูปแบบ เปลี่ยนขั้นตอน เปลี่ยนวิธีการ เปลี่ยนขนาด เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพขึ้น

การนำไปปรับใช้กับตัวเอง

เป็นต้นแบบให้กับทีมงานในการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนางานที่ตอบสนองกับความต้องการของลูกค้า/ผู้รับบริการ โดยคำนึงถึง New Trend + VUCA World  และให้การสนับสนุนทีมงานในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อพัฒนาสู่องค์กรที่มีการดำเนินงานที่เป็นเลิศ

การนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

ร่วมผลักดันหน่วยงานให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม โดยใช้เครื่องมือ LEAN และ Kaizen เป็นจุดเริ่มต้น คือเริ่มจากการทบทวนกระบวนงานหลัก Key Process ร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง ลูกค้า ผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเลิก ลด เปลี่ยน และหาวิธีการใหม่ๆ ที่ตอบสนอง New Trend + VUCA World เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด

 

สรุปประเด็น วิชาที่ 9 : การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

ทุนทางคุณธรรม จริยธรรม เป็นต้นทุนที่สำคัญตามหลัก 8’Ks และ 5K’s  โดยมีหลักการพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม โดยการเริ่มต้นด้วย Start with the end in mind โดยการมุ่งเป้าไปที่การทำเพื่อสังคม หรือคนอื่น ไม่ใช่ทำเพื่อตัวเอง นั่นคือต้องมี Purpose Passion and Meaning ถ้าเรามีเป้าหมายชัดเจน มีพลังที่ออกมาจากข้างในคือ Inner จะไม่มีวันดับ ส่วน Meaning หมายถึงความหมายที่แท้จริงว่าชีวิตเราต้องการอะไร ดังนั้นถ้าเราเริ่มต้นด้วย Start with the end in mind จะรู้ได้ว่าเราเริ่มต้นด้วยอะไร

ผู้นำในโลกมาจาก 2 ประเภท คือ  (1) ผู้นำโดยตำแหน่งหน้าที่ ที่มีสิทธิให้คุณ ให้โทษ (2) ผู้นำโดยธรรมชาติ เกิดจากสถานการณ์ เป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับนับถือ ปัจจุบันโลกโหยหาผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจและมีความกล้า คือ  ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ ผู้นำที่มีความกล้าหาญทาง คุณธรรมหลัก 4 ประการที่ควรมี คือ  พอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา  

ต้นแบบของผู้นำที่มีคุณธรรมจริยธรรม และมีหลักธรรมาภิบาล คือ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่เป็นผู้นำที่คิดถึงความผาสุกของประชาชนเป็นสำคัญ เป็นผู้นำที่เสียลสะ เป็นผู้นำที่มีหัวใจรับใช้ และเป็นแบบอย่างในการครองตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

การนำไปปรับใช้กับตัวเอง

มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม และใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารจัดการ สร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมงาน และกล้าหาญยืนหยัดในความถูกต้อง

การนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ยกย่องผู้ที่ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณคุณธรรม จริยธรรม

บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย.

บทความ เรื่อง บทเรียนจากความจริง  โดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

สรุปประเด็น

ในทัศนของศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านเห็นว่า 4 ทุนในโลก ได้แก่ ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี และทุนมนุษย์ ต้องทำงานด้วยกัน และทุนมนุษย์มีความสำคัญมากที่สุดถ้าขาดทุนมนุษย์ ความสำเร็จจะไม่เกิดขึ้น และหากทุนมนุษย์ไม่มีคุณภาพ จะก่อให้เกิดปัญหากับทุนทั้ง 3 นั้นคือ มนุษย์จะทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ปล่อยก๊าซมลพิษ ผลิตของเสียมากมาย จริงๆแล้ว “ธรรมชาติไม่พึ่งมนุษย์ แต่มนุษย์พึ่งธรรมชาติ” มนุษย์ทำลายเศรษฐกิจของประเทศ เพราะความโลภ การใช้ศาสตร์พระราชาเศรษฐกิจพอเพียง คือทุนแห่งความยั่งยืน อยู่รอด คือไม่รวยเร็ว เดินสายกลาง บริหารความเสี่ยงได้ ประเทศก็จะอยู่รอด เรื่องทุนทางเทคโนโลยี ซึ่งต้องพึ่งทุนมนุษย์ เช่น ทุนทางปัญญา ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางเครือข่าย Network คือ ไม่ทำคนเดียว ดูตัวอย่าง Facebook, Microsoft, iPhone หลายคนในประเทศไทยยังคิดว่า ธุรกิจสำเร็จต้องมีเงินก่อน นั้นไม่ใช่ต้องใช้ปัญญาคิดเป็น คิดนอกกรอบ การเรียนรู้ที่ดี คือ เรียนจาก 2R’s ความจริงและเรื่องตรงประเด็นแนว Chira Way ไม่ใช่เรียนเพื่อรับปริญญา แต่คิดไม่เป็น เรียนเพื่อสอบ ไม่เคยทำโครงการเอง วันนี้มหาวิทยาลัยล้มเหลว เพราะผลิตคนเป็นมนุษย์เงินเดือน ทำงานประจำ การเริ่มต้น Start-up ของรัฐบาลก็ล้มเหลว เพราะมีแผนธุรกิจแค่ในกระดาษหรือสนับสนุนดอกเบี้ยต่ำแต่ควรจะสอนให้คิดธุรกิจใหม่โดยใช้ปัญญาแบบขอคำปรึกษาหารือจากผู้มีประสบการณ์ที่เคยผ่านความล้มเหลวมาแล้ว ดูด้านความต้องการ Demand Side หรือดูลูกค้าเป็นหลัก จึงค่อยชนะเล็กๆ โดยใช้ความอดทน มีจิตวิญญาณเป็นผู้ประกอบการ

การนำไปปรับใช้กับตัวเอง

เราเป็นทุนที่สำคัญขององค์กร ดังนั้นเราต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ เพื่อใช้ทุนขององค์กร ประเทศชาติได้อย่างชาญฉลาด ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คิดสร้างสรรค์ ไม่หยุดทำสิ่งใหม่ที่ท้าทาย สร้างคุณค่าให้กับตนเอง และเป็นประโยชน์ต่อสังคม

การนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

ร่วมพัฒนาทุนมนุษย์ขององค์กร ให้เป็นคนคุณภาพ พัฒนา Competency สร้างบรรยากาศให้บุคลากรมีความสุข สนุกกับการทำงาน เห็นคุณค่าของตนเอง และทีมงาน

 

นางสาวจงกล ปาลานุันธ์ (กลุ่ม 4)

สรุปบทเรียน ช่วงที่ 2

วิชาที่ 6 Learning Forum and Workshop การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

      เมื่อบุคลากรมีความสุขในการทำงานจะส่งผลให้ Productivity เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ซึ่งการทำงานอย่างมีความสุขต้องเกิดจากการชอบงานที่ทำ (Passion) รู้เป้าหมาย (Purpose) และรู้ความหมายของงาน (Meaning) และสุดท้ายที่สำคัญคือผู้บริหารหรือมหาวิทยาลัยต้องมีปัจจัย Happy workplace ให้เกิดในสถานที่ทำงาน

วิชาที่7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

       ปัจจุบันการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลในการทำงานนั้น สารสนเทศต้องมีความเหมาะสมกับผุ้ใช้และต้องมีความปลอดภัยในการเก็บข้อมูล ดังนั้นเราต้องเข้าใจระบบสารสนเทศและข้อมูลอย่างถ่องแท้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและเพิ่มมูลค่าของงานได้มากขึ้น

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

     นวัตกรรม คือ การสร้างคุณค่า (Value) ซึ่งเกิดจากการแก้ปัญหาในงานหรือสร้างทางเลือกใหม่ๆ การสร้างนวัตกรรมในงานเป็นเรื่งของทุกคน ทุกระดับในองค์กร ซึ่งนวัตกรรมที่ดีต้องใช้ง่าย ทำได้ง่าย มีเป้าหมายที่ชัดเจนและมีการปรับกระบวนการภายใน โดยการ ลด เลิก และเปลี่ยนสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล

   ในการทำงานหรือดำเนินชีวิตให้ยึดหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และเน้นการทำหน้าที่ในงานของตนเองให้ดีที่สุดโดยคุณธรรม 4 ประการที่ควรยึดถือปฏิบัติ คือ พอเพียง มีวินัย สุจริต และจิตอาสา โดยก่อนลงมือทำอะไร หรือคิดที่จะทำอะไรให้เราคิดว่าสิ่งที่เราทำสามารถบอกสิ่งนั้นกับคนอื่นได้อย่างสง่าผ่าเผยหรือไม่ถ้าไม่แน่ใจให้คิดไว้เลยว่าอย่าทำสิ่งนั้น

บทวิเคราะห์สี่ทุนในโลก

 4 ทุนในโลก ประกอบด้วย ทุนทางการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางเทคโนโลยีและทุนมนุษย์ ซึ่งทั้ง 4 อย่างนี้ต้องมีความสัมพันธ์กันจะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้ แต่ที่มีความสำคัญมากที่สุดคือทุนมนุษย์เพราะจะเป็นตัวแปรในการขับเคลื่อนฉนั้นเราจึงต้องมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาทุนมนุษย์

น.ส.ดารีนา รังสิโยกฤษฏ์ กลุ่มที่่ 1

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานทุกรายวิชาในช่วงที่  2

รายวิชาที่  การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

  • รู้ถึงทุนแห่งความสุข (Happy at work) กับ Happy Workplace
  • กระบวนการและวิธีการเรียนรู้ แบบ Jira Ways
  • การทำงานเป็นทีม เป็นสิ่งที่สำคัญมาก  เราไม่สามารถทำทุกอย่างเองได้เพียงคนเดียวแล้วจะทำให้งานประสบความสำเร็จได้
  • รู้จัก Passion Purpose และ Meaning  คือมีความหลงใหลในงานที่ทำ ทำงานอย่างมีเป้าหมาย และรู้สึกว่างานนั้นมีความหมาย มีค่าต่อตนเอง และองค์กร 

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

  • ปรับทัศนคติของตนเอง ไม่เพียงรู้ลึกแต่ในงานหลักของตนเอง แต่ให้มองงานแบบภาพกว้าง มีความรู้ในภาพกว้างที่จะมาประกอบหรือใช้ในงานหลักของเราได้ด้วย
  • นำกระบวนการและวิธีการเรียนรู้ แบบ Jira Ways มาปรับใช้กับการทำงาน แล้วเปลี่ยนแนวความคิดสู่การลงมือทำจริง  เมื่อได้ทำจริงก็จะพัฒนาสู่ความสำเร็จ สร้างนวัตกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
  • สร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นกับตนเอง สร้างแรงจูงใจในหน่วยงานให้ร่วมกันทำงานเป็นทีม เพื่อผลสำเร็จที่ดีของงานในภาพรวมขององค์กร 

รายวิชาที่  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

  • ความแตกต่างระหว่างข้อมูลกับสารสนเทศ
  • ความท้าทายในการแข่งขันในปัจจุบันเกี่ยวกับระบบการศึกษา ทำให้มหาวิทยาลัยปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของลูกค้า
  • การนำระบบเทคโนโลยีเข้ามา จะต้องทำให้งานมีประสิทธิภาพดีขึ้น ลดเวลา ลดคน
  • Disruptive Technology เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาป่วนการทำงานให้เปลี่ยนแปลงไป  

กับ Digital Transformation  คือการนำ digital มาปรับปรุงรูปแบบในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า การพัฒนาสินค้าและบริการ วิธีการทำงาน ประสิทธิภาพในการทำงาน

           สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

  • ทำให้เข้าใจบทบาทของผู้บริหารมากขึ้นว่าคิดอย่างไร และพยายามทำหน้าที่ของตนเองให้เป็นประโยชน์กับการบริหารงาน เพื่อผลลัพธ์ที่ดีในภาพรวมขององค์กร
  • พยายามนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยงาน ทำให้งานมีประสิทธิภาพดีขึ้น ลดเวลา ลดคน  รวมถึงเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป
  • รู้เท่าทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ทั้งกรณีที่เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาป่วนการทำงานให้เปลี่ยนแปลงไป หรือ การนำ digital มาปรับปรุงรูปแบบในองค์กร เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

รายวิชาที่  การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมและกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน 

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          ความสำคัญแห่งองค์กรแห่งนวัตกรรมในโลกยุคใหม่

  • Value : สร้างคุณค่าที่จะทำให้เขาเลือกเรา
  • New : value นั้นใหม่หรือเปล่า สอดคล้องกับที่ลูกค้าต้องการหรือไม่
  • Implementation : ต้องนำเอา Value หรือ New นำมาใช้ได้

นวัตกรรมคือการสร้างคุณค่า  และเกิดขึ้นได้ทุกอย่างทั้งตัวสินค้า บริการ กระบวนการ วิธีการด้านการตลาด การจัดการ  นอกจากนี้การสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมยังต้องอาศัยผู้นำ ที่มีความจริงใจในการผลักดันนวัตกรรมในองค์กร โดยทำเป็นตัวอย่าง เปิดรับฟัง กระจายอำนาจให้คิด และบอกแนวทางที่ชัดเจนในการบริหาร

จุดเริ่มต้นของนวัตกรรม คือแนวคิด KAI ZEN  คือ เลิกในสิ่งที่ไม่มีความจำเป็น ลดในการทำอะไรซ้ำๆ และ เปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้ดีขึ้น

           สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

สร้างนวัตกรรม เริ่มได้ที่ตัวเรา ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ แต่ทำแล้วมีคุณค่า เป็นสิ่งใหม่ๆ ที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ และกระจายความคิดเหล่านี้ไปสู่ผู้ร่วมงาน เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้หน่วยงานในภาพรวมและทำให้หน่วยงานประสบความสำเร็จ

 

รายวิชาที่  9  การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

การทำงานอย่างมีความสุข ต้อง Start with the end in mind คือ สุดท้ายแล้วเราต้องการอะไรในชีวิต คือ purpose มีจุดมุ่งหมาย  passion มีความหลงใหลในงาน และ meaning คือความหมายที่แท้จริงในชีวิต  โลกโหยหายผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ ผู้นำที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม ผู้นำที่เสียสละ

          Thailand 4.0 สร้างคุณธรรม 4.0 ตามรอย ร.9 คือ พอเพียง มีวินัย สุจริต มีจิตสาธารณะ และส่งเสริมการเรียนรู้ 4 ประการ คือ มีเป้าหมาย เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เรียนรู้เพื่อส่วนรวม และเรียนรู้เพื่อการปฏิบัติ          

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

          ตั้งเป้าหมายในการทำงานของตนเอง ที่ไม่ได้ทำแต่เพียงเพื่อตัวเอง แต่มุ่งทำเพื่อให้องค์กรก้าวหน้า มีความเสียสละ ตามรอยในหลวง ร .9

     

วิเคราะห์บทความ 4 ทุนในโลก, ทุนการเงิน, ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ, ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี แต่สำคัญสุด ทุนมนุษย์

        ทุนมนุษย์สำคัญที่สุด และทุนทั้ง 4 ต้องทำงานด้วยกัน ถ้าขาดทุนมนุษย์ ความสำเร็จจะไม่เกิดขึ้น เพราะทุนมนุษย์มีอิทธิพลต่อทุนอื่นๆทั้งหมด เพราะมนุษย์เป็นทั้งผู้คิดค้น ใช้ประโยชน์ บริหารจัดการทุนอื่นๆ

           ประโยชน์ต่อตนเอง

           รู้จักพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  สร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน และทำงานอย่างมีความสุข เพื่อเป็นทุนมนุษย์ที่ดี

          ประโยชน์ต่อองค์กร

 องค์กรควรให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์เป็นอันดับต้นๆ เพราะทุนมนุษย์ เป็นทุนที่สำคัญขององค์กรที่จะช่วยคิดค้น ใช้ประโยชน์ บริหารจัดการทุนอื่นๆ ให้ก่อให้เกิดประโยชน์กับองค์กรได้

 

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของการมีทุนแห่งความสุข คือ ช่วยทำให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ง่ายและได้ผลสูงสุด ทำให้ตัดสินใจได้ดีและรอบคอบ  เพราะถ้าคน IQ สูงแต่เครียดมักจะผิดพลาดเรื่องการตัดสินใจ ทำให้ตัวเองมีCreativity สูงขึ้น ทำให้เราหาทางออกแทนที่จะบ่นว่าปัญหายากจัง มองโลกในแง่ดี (Optimism)  มีพลัง (Energy)เพิ่มขึ้น  มีสุขภาพดีมากขึ้น  สามารถเรียนรู้ได้เร็วและสนุกสร้าง Learning Culture ได้ดีกว่าคนที่ไม่มีความสุข

วิชาที่7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

บทบาทของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับMIS ดังนี้ กำหนดสารสนเทศที่ต้องการ (What) โดยพิจารณาจากลักษณะงานหรือหน้าที่ของหน่วยงาน พิจารณาเวลา (When) ที่ต้องใช้สารสนเทศนั้น เพื่อที่จะกำหนดเวลาในการรวบรวมประมวล และจัดทำรายงานให้สอดคล้องกับเวลาที่ต้องการจะหาสารสนเทศได้ที่ไหน (Where) จะเป็นแหล่งข้อมูลจากภายในหน่วยงานหรือภายนอก และเข้าใจว่าทำไม (Why) จึงต้องมีสารสนเทศนั้นใ

 

วิชาที่8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

นวัตกรรม คือ การสร้างคุณค่า องค์กรแห่งนวัตกรรม- นวัตกรรมต้องเริ่มจากผู้นำ โดยผู้นำต้องมีความจริงจังให้เกิดการผลักดันในองค์กรเป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดนวัตกรรมการแข่งขัน ต้องทำตัวเป็นตัวอย่างรวมถึงกระจายอำนาจสู่พนักงานและถ่ายทอดแนวทางที่ชัดเจนผ่านกลยุทธ์องค์กรให้เหมาะสมต่อการถ่ายทอดนวัตกรรมเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมที่สามารถสร้างความเป็นเลิศให้องค์กร

วิชาที่ 9การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

ถ้าเรามีเป้าหมายชัดเจน มีพลังที่ออกมาจากข้างในคือ Inner จะไม่มีวันดับ ส่วน Meaning หมายถึงความหมายที่แท้จริงว่าชีวิตเราต้องการอะไรดังนั้นถ้าเราเริ่มต้นด้วย Start with the end in mind จะรู้ได้ว่าเราเริ่มต้นด้วยอะไรคนที่ประสบความสำเร็จ มี Purpose Passion and Meaning ชีวิตที่มีความหมายคือไม่ได้ทำประโยชน์ให้แก่ตัวเองแต่ทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น ทุกคนเกิดมามีความฝัน แต่ไม่เคยเดินตามความฝันของตนเองทุกคนต้องตาย แต่ถ้าเราไม่ Start with the end in mind เราจะไม่มีค่าทุกอย่างมาเร็ว และไปเร็ว ดังนั้นทุกคนต้องหาเสียงตัวเองให้เจอ

วิชาที่ 10 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยการคิดนอกและคร่อมกรอบ

การคิดนอกกรอบ คร่อมกรอบ เพราะเราต้องการผลลัพธ์ที่ต่างจากเดิม การคิดอะไรที่ไม่เหมือนเดิม คิดให้ออก ตระหนักว่า สิ่งที่เราคิดอาจจะดิบๆ แต่ต้องนำไปปรับปรุง ความคิดดิบๆ นั้นไปเสีย คิดหาข้อดี คิดหาอุปสรรค ความกังวล หาวิธีการลดอุปสรรค ความกังวบนั้นให้ได้ โดยแปลงความคิดเดิมไปสื่อสารสู่หัวหน้า

 

วิชาที่ 11 กลยุทธ์การบริหารลูกค้าของสายสนับสนุน และการสื่อสารที่ทรงประสิทธิภาพแบบ 360 องศา

5 ขั้นตอนในการเสนอไอเดียใหม่ๆ ให้หัวหน้างาน

1.ทำให้หัวหน้าสั่งให้เราคิด  2. เสนอไอเดียตามที่หัวหน้าสั่ง 3. ถามหัวหน้าถึงข้อดี 4. ขอให้หัวหน้าสอนเพิ่มเติม 5. เสนอไอเดียเพิ่ม ตามที่หัวหน้าสอน 

อารยา ดำเรือง กลุ่มที่ 5

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

          ทุนทางความสุข เน้นที่ตัวเราให้ทำงานที่มีประสิทธิภาพอย่างมีความสุข และความสุขของครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ก็จะเกิดขึ้นตามมาเอง โดยมองบนหลักแนวคิด 2 R’S มองความจริงและตรงประเด็น ทุนทางความสุขต้องมียุทธศาสตร์และมีข้อมูลเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ทุนแห่งความสุขเป็นส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์ โดยทุนมนุษย์และทุนแห่งความสุขเป็นทุนที่สำคัญสำหรับทุกคน โดยการสร้าง Happy Workplace ผู้บริหารและ HR ต้องสร้างบรรยากาศให้คนในองค์กรทำงานให้มีความสุข ส่วนทุนแห่งความสุขเป็นเรื่องส่วนบุคคล เกิดขึ้นเพราะชอบงานและมีความสุขที่ได้ทำงาน ซึ่งการที่มีทั้งบรรยากาศการทำงานที่ดี และคนทำงานก็มีความสุข จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อองค์กร

          สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

          อยากจะทำงานวิจัยเพื่อการพัฒนาองค์กร โดยเน้นการศึกษาการพัฒนาทุนแห่งความสุขของบุคลากรในองค์กร โดยศึกษาจากตัวแปรอิสระในเรื่องทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) เพื่อจะวัดผลลัพธ์ขององค์กร เน้นการวัดจากการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) การสร้างคุณค่าใหม่ (Value Creation) และการสร้างคุณค่าจากความหลากหลาย (Value Diversity) ทั้งนี้เพื่อจะทำให้บุคลากรในองค์กรมีความสุขในการทำงานเพื่อร่วมกันพัฒนาองค์กรไปสู่เป้าหมาย

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

          ได้รับความรู้เกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศ องค์ประกอบ ประเภทของระบบสารสนเทศ สารสนเทศ  ที่ดี การปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการปรับกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้องค์กรอยู่ได้ โดยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบการจัดการข้อมูลต้องเข้าใจถึงสารสนเทศที่หน่วยงานต้องการ จะพัฒนาอย่างไร โดยต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายที่ใช้สารสนเทศนั้น มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาที่น่าสนใจและนำมาปรับใช้ในการทำงาน เช่น ระบบบริหารงานทั่วไป ระบบงบประมาณ ระบบทะเบียน เป็นต้น นอกจากนี้ในเรื่องเทคโนโลยีมีผลต่อวิถีชีวิตและการทำงาน การปรับเปลี่ยนรูปแบบ/วิธีคิด เพื่อให้การสื่อสารภายในองค์กรดีขึ้น การใช้เทคโนโลยีพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น การพัฒนากระบวนการทำงานที่เหมาะสม และใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

ฝ่ายบริหารวิทยาเขตพัทลุงรับผิดชอบงานด้านแผนงานและงบประมาณ อาคารสถานที่ ยานพาหนะ งานทะเบียนและสถิตินิสิต เป็นต้น ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประมวลและนำเสนอผู้บริหาร/ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศที่มีอยู่ ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการให้บริการแก่นิสิตและบุคลากรต่อไป

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมและกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสนับสนุน

          มองถึงคุณค่าที่ทำคืออะไร (Value) มีอะไรใหม่หรือไม่ (New) การทำสิ่งที่มีคุณค่า เป็นสิ่งใหม่และนำมาใช้จริง (Implementation) ปัจจุบันแนวโน้มของโลกเปลี่ยนไป คนมีความหลากหลายมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการนวัตกรรม (Innovation Management) โดยการปรับวิธีคิด/รูปแบบ การปรับกระบวนการภายใน การบริหารจัดการนวัตกรรมเป็นเรื่องของคนทุกคนในองค์กร ทุกงาน ทุกหน้าที่ ทั้งงานวิชาการและงานสนับสนุนสามารถทำนวัตกรรมได้ โดยผู้นำองค์กรต้องผลักดัน มีความจริงจัง เปิดใจรับสิ่งใหม่ และถ่ายทอดให้ทุกคนในองค์กรได้มุ่งสู่องค์กรนวัตกรรม ซึ่งเน้นการสร้าง Value เพื่อให้ผู้รับบริการพึงพอใจและมีความสุขในการใช้บริการ  

 สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

          ในฐานะเป็นบุคลากรในองค์กร ต้องหันกลับมาวิเคราะห์งานที่ทำว่าสามารถนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่หรือปรับกระบวนการบริหารจัดการได้หรือไม่ อย่างไร เพื่อลดปัญหา/แก้ปัญหาและเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

          การมีแรงกระตุ้น/แรงปรารถนาอันแรงกล้าในการทำงาน (Passion) และการกำหนดเป้าหมาย (Purpose) รวมถึงการให้ความหมายกับตัวเองและคนรอบข้าง (Meaning) มีความสำคัญในการสร้างทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม โดยต้องมีผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ  ผู้นำที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และผู้นำที่มีความเสียสละ เพื่อนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย และนำเรื่องคุณธรรม 4.0 (พอเพียง มีวินัย สุจริต และมีจิตสาธารณะ) มาเป็นหลักยึดในการทำงาน ผ่านการเรียนรู้ทางกาย จิต และความคิด ตลอดจนใช้หลัก 9 MODULES ในการทำงาน ประกอบด้วย 1) ค้นหาต้นทุนความดีขององค์กร 2) ค้นหาความจริงขององค์กร 3) ตั้งเป้าหมาย 4) ร่วมกันกำหนดวิธีการ 5) ลงมือปฏิบัติ 6) จัดกระบวนการเรียนรู้ 7) ชื่นชมยกย่อง 8) สร้างระบบประเมิน และ 9) สร้างเครือข่ายคุณธรรม

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

นำมาปรับใช้ในการทำงานโดยการเรียนรู้จาก 9 MODULES ขององค์กร และนำไปวิเคราะห์และแก้ไขปรับปรุง ซึ่งอาจจะจัดทำโครงการพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม เพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรมีคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล อันจะนำไปสู่การทำงานที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งความสุข

สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความ เรื่อง “บทความจากความจริง 4 ทุนในโลก”

          ทุนในโลก 4 ทุน ได้แก่ ทุนทางการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี  และทุนมนุษย์ โดยทุนที่ต้องให้ความสำคัญอันดับแรก คือ ทุนมนุษย์ เพราะเป็นจุดเกิดของทั้งปัญหาและการพัฒนา ที่ต้องให้ความสำคัญลำดับต่อมา คือ ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ที่ต้องช่วยกันดูแลและให้ความสำคัญเพราะเป็นทั้งแหล่งอาหารและสิ่งที่จะส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์ ต่อมาทุนทางการเงิน เป็นเรื่องที่ต้องตั้งอยู่บนฐานการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เป็นทุนที่ยั่งยืน และสุดท้ายทุนทางเทคโนโลยี ต้องเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการใช้ชีวิตและการทำงาน

          สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

          ในการทำงานต้องให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์ โดยยึดหลักแนวคิด 2 R’S มองความจริงและตรงประเด็น เพื่อจะได้เข้าใจถึงข้อมูลทรัพยากรบุคคลขององค์กรที่มีอยู่ ทำให้สามารถร่วมกันวางแผนในการส่งเสริมและพัฒนา รวมทั้งช่วยกันผลักดันและดึงศักยภาพของบุคลากรที่มีอยู่ให้ร่วมกันทำงานเพื่อพัฒนาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่กำหนด 

ปวีณา จันทร์ประดิษฐ์ : กลุ่มที่ 2

วิชาที่ 6 : การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

          ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) คือสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิภาพโดยเน้นที่ตัวเราที่เริ่มต้นจากการมี Passion ชอบ/หลงใหลงานที่ทำ มี Meaning การรู้ความหมายของงานที่ทำ / ให้ความสำคัญ และมี Purpose มีเป้าหมายที่นำไปสู่ความสำเร็จ สอดคล้อง Heart (Happiness) คือ การชอบงานและมีความสุขกับการทำงาน Head จะทำให้ก่อให้เกิดปัญญาที่จะสามารถทำงานนั้นให้สำเร็จ และ Execution มีความตั้งใจที่จะทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ โดยยึดหลักความจริง 2 R’s คือ Reality (มองความจริง) และ Relevance (ตรงประเด็น) และเมื่อเรามีความสุขและรักในงานที่ทำก็จะเกิดการพัฒนางานและจะทำให้ผลประกอบการขององค์กรดีขึ้นตามลำดับ

วิชาที่ 7 :  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

          เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและมีการแข่งขันสูง ดังนั้นองค์กรที่มีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ย่อมทำให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและเพิ่มมูลค่าของงานได้มากขึ้น

วิชาที่ 8 : การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมและกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน

          นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ แนวคิด และกระบวนการ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้

          ทั้งนี้ การพัฒนาองค์กรนวัตกรรมจำเป็นที่ต้องมี 3 อย่าง ได้แก่ Value + New + Implementation คือการสร้างคุณค่า Value  เรามีคุณค่าอะไรบ้าง New ต้องเป็นสิ่งใหม่ มีความแตกต่างหรือวิธีคิดใหม่ และ Implementation ทำให้เกิดผลประสบผลสำเร็จและถ่ายทอดลงสู่ทุกระดับเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม         

วิชาที่ 9 : การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

          การทำงานอย่างมีความสุขที่แท้จริงและประสบความสำเร็จต้อง Start with the end in mind และต้องคิดถึงเป้าหมายจะทำให้เกิดพลังในการทำงาน คือ รู้เป้าหมาย (Purpose) มีความชอบในงานที่ทำ (Passion) และ ตระหนักถึงความหมายของงาน (Meaning)

          และองค์กรต้องมีผู้นำที่มีคุณสมบัติ 1) ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ 2) ผู้นำที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และ3) ผู้นำที่เสียสละ โดยยึดหลักคุณธรรม 4.0 ได้แก่ 1) พอเพียง 2)มีวินัย 3)สุจริต และ 4)จิตสาธารณะ

วิภาวรรณ อ่อนประเสริฐ

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

  • การสำรวจความสุขในการทำงานของต้นเอง เมื่อเราอยู่ในองค์อย่างมีความสุข

              งานที่ทำก็จะทำอย่างมีความสุข ผลลัพธ์ของงานก็จะเพิ่มขื้น

  • เมื่อ Happy at Home  การทำงานก็จะ Happy at Work ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เชื่อมโยงกัน
  • ต้องแยกให้ออกระหว่าง “ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital)” กับ “Happy Workplace”                 ซึ่งในการสำรวจวรรณกรรม 95% เน้น Happy Workplace ซึ่งหมายความว่า Unit of Analysis จะเป็นองค์กร คือ CEO+HR สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุข แต่ Happiness Capital คือ ส่วนบุคคล (Individual) เกิดขึ้นเพราะชอบงาน มีความสุขที่ได้ทำงาน 
  • เพื่อให้เกิด Outcome หรือ Impact ต่อองค์กร การมีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ผู้นำต้องทำให้เขามีบรรยากาศในการทำงานแบบ Happy Workplace ด้วย ก็จะเกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ ++”
  • แต่ก็ยังมีสถานการณ์แบบที่ 2 คือ มีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ในการทำงานแต่ไม่ใช่ Happy Workplace เกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ +-” ซึ่งก็จะทำให้ Impact ที่ได้น้อยลง
  • และสถานการณ์แบบที่ 3 คือไม่มีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ในการทำงานแต่องค์กรพยายามสร้าง Happy Workplace เกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ -+” ซึ่งก็ทำให้ Impact ที่ได้น้อยลงเช่นกัน
  • และสถานการณ์แบบสุดท้ายซึ่งแย่ที่สุด คือ ไม่มีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ในการทำงานและองค์กรก็ไม่สร้าง Happy Workplace เกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ --” ซึ่งก็ทำให้เกิด Impact ด้านลบมากมาย
  • </ul>

      การนำไปปรับใช้ในการทำงาน 

  1. นำหลักการมาปรับใช้เพื่อการทำงานอย่างมีความสุข   
  2. การคิดเชิงบวก  มองโลกในแง่ดี (Optimism)
  3. การรักในงานที่ทำ passion และต่อยอดและพัฒนางานที่ทำอยู่เสมอ
  4. ทำให้ตัวเองมี Creativity สูงขึ้น
  5. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน (Healthy Relations) อย่าทำอะไรคนเดียว
  6. แนวทาง 5 K’s คือ ใช้ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) เพื่อแก้ปัญหา อย่าใช้ความเครียดแก้ปัญหา
  7. </ol>

    -------------------------------------------------------------------------------------------

     

    วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

    ประเภทของระบบสารสนเทศ (Information System)  

     EIS  - รวบรวม วิเคราะห์ ประมวลผลสารสนเทศ นำไปใช้ในการวางกลยุทธ์ นโยบาย

    DSS – ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร สามารถวิเคราะห์ทางเลือกที่เป็นไปได้

              - แบบจำลองเพื่อช่วยในการตัดสินใจ

    MIS  - ระบบสารสนเทศที่สามารถสร้างสารสนเทศที่ต้องการตามหลักการด้านการจัดการ คณิตศาสตร์ สถิติ       

                เพื่อมาจัดทำรายงานลักษณะต่าง ๆ เพื่อการวางแผนและควบคุมการดำเนินงาน

              - ได้มาจากฐานข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งจาก TPS

    TPS – ระบบช่วยจัดเก็บ และประมวลผลข้อมูล (Data Processing) ที่เกิดจากการทำธุรกรรม

                หรือการปฏิบัติงานในแต่ละวันขององค์กร เช่น ระบบลงทะเบียน การออกใบเสร็จรับเงิน

    ES  –  ระบบผู้เชี่ยวชาญ เลียนแบบวิธีการคิดและแก้ปัญหาจากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ

            - บางครั้งอาจใช้ร่วมกับเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent :AI)

    OAS – ระบบที่สนับสนุนการปฏิบัติงานในสำนักงาน เช่น อีเมล์ ประชุมทางไกล การจัดทำเอกสารต่าง ๆ

     องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

    1. ขั้นตอนการทำงาน (Work Process)  จะมีการวิเคราะห์ Process ไหนที่เข้ามาแทนที่

    2. ข้อมูล

    3. ฮาร์ดแวร์

    4. ซอฟต์แวร์

    5. บุคลากร

    6. เครือข่าย

    สารสนเทศที่ดี

    มีความถูกต้อง / มีความครบถ้วนสมบูรณ์ / มีความเชื่อถือได้ / ตรงประเด็นตามความต้องการ

    มีความง่าย / มีความคุ้มค่า /มีความยืดหยุ่น /ตรวจสอบได้

    สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

    1. การ เตรียมตัวพร้อมรับกับ Technology Trend ที่จะเปลี่ยนวิธีการทำงาน   การปรับเปลี่ยนรูปแบบโดยใช้ Digital เข้ามาช่วย   
    2. นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ ปรับวิธีคิด และนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน 
    3. </ol>

      ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   

      วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมและกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสนับสนุน

                องค์กรแห่งนวัตกรรม - นวัตกรรมต้องเริ่มจากผู้นำ โดยผู้นำต้องมีความจริงจัง ต้องทำตัวเป็นตัวอย่าง รวมถึงกระจายอำนาจสู่พนักงานและถ่ายทอดแนวทางที่ชัดเจน ผ่านกลยุทธ์องค์กรให้เหมาะสมต่อการถ่ายทอดนวัตกรรม เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมที่สามารถสร้างความเป็นเลิศให้องค์กร

                1. Leadership เป็นผู้นำที่อยู่ในทุกระดับ

                2. กลยุทธ์

                3. Knowledge

                4. People

       สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

              ใช้หลักการ   Kaizen เป็นจุดเริ่มต้นนวัตกรรม เป็น Continuous Improvement คือ การทำงานให้สนุก               มีความสุขมีความพึงพอใจ มีคุณภาพ

                1. เลิก สิ่งที่ไม่จำเป็น ที่คนไม่ต้องการอีกแล้ว

                2. ลด อะไรที่ทำซ้ำ ให้ลดให้หมด ตรวจสอบซ้ำให้ลด  การลอกข้อความเดิมหรือเขียนใหม่หลายครั้ง

                3. เปลี่ยน เปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้สั้นลง เปลี่ยนให้คนมองเห็นมากขึ้น เปลี่ยนวิธีการเตรียมงานให้เร็วขึ้น เปลี่ยนขนาด เปลี่ยนวัตถุดิบ วัสดุที่ดีขึ้น

      ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

      วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

                ผู้นำ  2  ประเภท 1. ผู้นำโดยตำแหน่งหน้าที่ ที่มีสิทธิให้คุณ ให้โทษ  2. ผู้นำโดยธรรมชาติ

                1. ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ ไม่มีตำแหน่งหน้าที่เลย แต่คนทำตาม ได้แก่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 สิ่งที่พระองค์ท่านทำมี 4,000 โครงการ แล้วคนเดินตาม  ผู้นำศาสนาต่าง ๆ อาทิ มหาตมะ คานธี  สิ่งที่ทำสำเร็จคือปลดแอกอินเดียจากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ในปัจจุบันโลกพยายามโหยหาผู้นำแบบนี้มาก

                2. ผู้นำที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม  – นอกจากผู้นำที่เป็นคนดี คนเก่ง สิ่งที่ต้องการคือผู้นำที่มีความกล้า เราต้องโหยหาคนที่มีความกล้าทางจริยธรรม

       การเรียนรู้ 4 อย่างเพื่อตอบเป้าหมาย

      1. เรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย

      2. เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์

      3. เรียนรู้เพื่อส่วนรวม

      4. เรียนรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

      คุณธรรม 4 ประการ

      พอเพียง / มีวินัย / สุจริต  /จิตอาสา

      สังคมไทย 4.0

      มีความสุข / มีความหวัง / สมานฉันท์

       สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

      1. การดำเนินชีวิตในการทำงานตามแบบในหลวงรัชกาลที่ 9  ทำอย่างเต็มที่ เต็มกำลัง และศรัทธาในงานที่ทำ
      2. การทำงานโดยยึดคุณธรรม 4 ประการ  ได้แก่ พอเพียง / มีวินัย / สุจริต  /จิตอาสา
      3. </ol>

        -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

        สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความ เรื่อง “บทความจากความจริง 4 ทุนในโลก”

               ทุนในโลก 4 ทุน

        1. ทุนทางการเงิน
        2. ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ
        3. ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี 
        4. ทุนมนุษย์
        5. </ol>

                 การเรียงลำดับความสำคัญของทุนในโลก

          1. ทุนมนุษย์  (สำคัญที่สุด)
          2. ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ
          3. </ol>
            1. ทุนทางการเงิน
            2. ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี
            3. </ol>

               สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

                       การให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของคนในองค์กร  ให้มีความรู้ ความสามารถ   

              ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ปวีณา จันทร์ประดิษฐ์ (กลุ่มที่ 2)

วิเคราะห์บทความ 4ทุนในโลก ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี แต่สำคัญสุด ทุนมนุษย์

ทุนในโลกมี4 ประการ ประกอบด้วย ทุนทางการเงินทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี และทุนมนุษย์ซึ่งทั้งหมดจะต้องทำงานไปด้วยกัน และทุนมนุษย์เป็นทุนที่สำคัญที่สุด เพราะทุนมนุษย์เป็นตัวขับเคลื่อนทุนต่างๆเราเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร หากเราสามารถบริหารจัดการ 4 ทุนให้เกิดความสมดุลจะทำให้การทำงานของตนเองมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการพัฒนาทุนมนุษย์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะนำพาไปสู่การพัฒนาทุนด้านอื่นๆอย่างเหมาะสม และประสบความสำเร็จพัฒนามนุษย์ให้คิดเป็นทำเป็น โดยเรียนรู้จากหลัก 2R’s และการยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม

วิชาที่ 6     การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

               (Learning Forum and Workshop)

ความรู้ที่ได้รับ

          ทุนแห่งความสุข(Happiness Capital) ในการทำงาน คือสิ่งสำคัญโดยผู้นำต้องทำให้เกิดบรรยากาศในการทำงานแบบ Happy Workplace ด้วย ก็จะเกิดเป็นทฤษฎีความสุขแบบ++  ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรมี Productivityเพิ่มขึ้น  ซึ่งปัจจัยที่ให้ทุนแห่งความสุขสูงขึ้นได้แก่  สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่     หักโหม (Healthy)ชอบงานที่ทำ (Passion) รู้เป้าหมายของงาน (Purpose)  รู้ความหมายของงาน (Meaning) มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ (Capability)เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา (Learning)  เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare)  ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว(Teamwork) ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม (Coaching)ทำงานที่ท้าทาย (Challenge) ทำงานที่มีคุณค่า (Enrichment)    การออกกำลังกายสม่ำเสมอการไม่แบกงานที่หนักเกินไป การมีศักยภาพในการถ่ายทอดงาน  การทำงานใน จุดแข็งของตนเอง ความมุ่งมั่นในงาน การทำในสิ่งที่อยากทำไม่ใช่เพราะต้องทำบริหารภาระงานให้เหมาะกับตนเอง และอย่าทำงานเครียดและวิตกกังวล

 

การนำไปปรับใช้กับตนเอง

          สร้างทุนความสุข (Happiness Capital) ให้กับตนเองโดยการสำรวจตนเอง และสร้างปัจจัยที่ให้ทุนแห่งความสุขสูงขึ้น+ สร้างประโยชน์ของการมีทุนแห่งความสุข 11 ประการ ให้แก่ตนเอง

การนำไปใช้กับการทำงาน

          ในฐานะหัวหน้าฝ่ายจะนำทฤษฎีการสร้างทุนความสุขที่ได้รับไปใช้กับองค์กรโดยสำรวจทีมงานว่ามีความสุขในการทำงานหรือไม่ How to Develop Passion andHappiness Capital at Work  และพัฒนาทุนแห่งความสุขโดยค้นหาว่าอะไร3 อย่างที่สำคัญ ถ้าจะพัฒนา Happy workplaceเพื่อสร้างแรงจูงใจ 3 เรื่องคืออะไร? อุปสรรคคืออะไร ? และหาผลกระทบที่เป็นปัจจัยทางลบที่ทำให้ทุนแห่งความสุขในองค์กรลดลง        หาผลกระทบที่เป็นปัจจัยทางบวกที่ทำให้ทุนแห่งความสุขสูงขึ้น  และปัจจัยอะไรช่วยให้ Passion – Purpose– Meaning ดีขึ้นในองค์กร นำผลการสำรวจ ผลการค้นหามาศึกษาปรับปรุงและดำเนินการสร้างให้องค์กรมีความสุข

วิชาที่ 7    ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

ความรู้ที่ได้รับ

          ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการซึ่งข้อมูลสารสนเทศที่ดีต้องมีความถูกต้อง มีความครบถ้วนสมบูรณ์ มีความเชื่อถือได้ตรงประเด็นตามความต้องการ มีความง่าย มีความคุ้มค่า มีความยืดหยุ่นและตรวจสอบได้  การที่เราสามารถใช้ ITสารสนเทศได้เร็วทันสมัยก็จะได้เปรียบในการทำงาน

บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับ MIS ได้แก่

1.      กำหนดสารสนเทศที่ต้องการ(What)

2.      พิจารณาเวลา (When) ที่ต้องใช้สารสนเทศ

3.      ทราบว่าจะหาสารสนเทศได้ที่ไหน(Where) จะเป็นแหล่งข้อมูลจากภายนอกในหน่วยงานหรือภายใน

4.      ทราบว่าผู้ใช้ (Forwhom) สารสนเทศคืออะไรเพื่อจัดหารูปแบบในการนำเสนอให้เหมาะสม

5.      จะใช้เครื่องมืออะไร (How) ในการเก็บรวบรวม ประมวล รักษา

6.      สามารถเข้าใจความหมายของสารสนเทศที่หามาได้

7.      สามารถดำเนินการหรือปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม

8.      ใช้สารสนเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างมีจริยธรรม

 

การนำไปปรับใช้กับตนเอง

          ศึกษาเรียนรู้ระบบสารสนเทศใหม่ ๆและวางแผนการใช้ Digital Transformationให้สอดคล้องกับภารกิจขององค์กร เพื่อตอบสนองผู้ใช้บริการให้ตรงความต้องการ

 

การนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

          ในฐานะหัวหน้าฝ่ายจะนำความรู้ที่ได้รับไปหารือร่วมกับผู้บริหารระดับสูงและบุคลากร เพื่อวิเคราะห์กำหนดระบบสารสนเทศที่ดีสอดคล้องกับพันธกิจขององค์กรมาใช้ในการดำเนินงานเพื่อประโยชน์ต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานของบุคลากร เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายขององค์กรและเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร บุคลากร นิสิตและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างรวดเร็ว

 

วิชาที่          การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

ความรู้ที่ได้รับ

          นวัตกรรม คือ การเปลี่ยนแปลงหรือ ShiftDemand และลดต้นทุน การสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมนั้น ต้องเริ่มจากผู้นำ(Leadership) ที่มีความจริงใจให้เกิดการผลักดันในองค์กรเป็นปัจจัยให้เกิดนวัตกรรมการแข่งขันโดยทำเป็นตัวอย่าง รวมถึงกระจายอำนาจสู่บุคลากรและถ่ายทอดแนวทางที่ชัดเจนผ่านกลยุทธ์ขององค์กรให้เหมาะสมเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมที่สามารถสร้างความเป็นเลิศให้องค์กร 

Kaizen เป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดนวัตกรรมเป็น Continuous Improvement คือ การทำงาน     ให้สนุก มีความสุข มีความพึงพอใจ มีคุณภาพมีหลักการ คือ “เลิก ลด เปลี่ยน” ดังนี้

1.       เลิก สิ่งที่ไม่จำเป็น ที่คนไม่ต้องการอีกแล้ว

2.       ลด อะไรที่ทำซ้ำ ให้ลดให้หมด ตรวจสอบซ้ำให้ลดการลอกข้อความเดิมหรือเขียนใหม่หลายครั้ง

3.       เปลี่ยน เปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้สั้นลง เปลี่ยนให้คนมองเห็นมากขึ้นเปลี่ยนวิธีการเตรียมงานให้เร็วขึ้น เปลี่ยนขนาด เปลี่ยนวัตถุดิน วัสดุที่ดีขึ้น

 

การนำไปปรับใช้กับตนเอง

เป็นต้นแบบให้กับองค์กรในการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ที่สอดคล้องกับพันธกิจขององค์กรและสนับสนุนทีมงานให้การสร้างนวัตกรรมใหม่ตามภารกิจของตนเอง

การนำไปใช้กับการทำงาน

          ในฐานะหัวหน้าฝ่ายจะนำภารกิจขององค์กรหารือกับผู้บริหารระดับสูงและบุคลากรเพื่อกำหนดนวัตกรรมใหม่ ๆในภารกิจของตนเองตามแนวคิดของ Kaizen เลิกสิ่งที่ไม่จำเป็นลดอะไรที่ซ้ำ และเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้สั้นลง

 

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล

          การทำงานทุกคนต้องมีพื้นฐานเป็นคนดีมีคุณธรรมมีความกล้าหาญทางจริยธรรม และมีหลัก        ธรรมาภิบาลในการบริหารงานการทำงานอย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จให้เริ่มต้นด้วยStart with the end in mind ให้เริ่มด้วยจุดจบว่าต้องการเห็นอะไรจะไปไหน สิ่งที่เราจะหยิบยื่นให้สังคมเป็นอย่างไร สุดท้ายต้องการอะไร ต้องมี Purposepassion and Meaning

การนำไปปรับใช้กับตนเอง

ปฏิบัติหน้าที่โดยตะหนักถึงจริยธรรม และคุณธรรม 4 ประการ ได้แก่ 1)พอเพียง 2) มีวินัข 3) สุจริต  4) จิตอาสาและยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานที่สำคัญผลแห่งความสำเร็จต้องมีเป้าหมายหลักคือ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น

การนำไปใช้กับการทำงาน

          ประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงและบุคลากรเพื่อหาจุดแข็งขององค์กร กำหนดเป้าหมาย วัฒนธรรมขององค์กร และหาจุดดีเพื่อพัฒนาให้เป็นจุดแข็ง 

 

 

 

บทความจากเรื่องจริง ศาสตราจารย์ ดร.จิระ  หงศ์ลดารมภ์ “ 4 ทุนในโลก ,ทุนการเงิน , ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยีแต่สำคัญสุดทุนมนุษย์”

          การพัฒนาในโลกต้องอาศัยทุนหลัก4 ประการ คือ ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี และทุนมนุษย์     ซึ่งต้องทำงานร่วมกันต้องพึ่งพากันและสอดคล้องไปด้วยกัน โดยทุนมนุษย์สำคัญที่สุดเพราะเป็นผู้ขับเคลื่อนการพัฒนาทุนต่าง ๆ ดังนั้นหากขาดทุนมนุษย์แล้วองค์กรก็ไม่สามารถขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จได้สำหรับการเรียนรู้การคิดนอกกรอบการเรียนที่ดีคือ เรียนจาก 2R’s ความจริงและตรงประเด็นแนว Chira Way เป็นการเรียนรู้เกิดการคิดเป็นทำเป็นประยุกต์ใช้ในการทำงานได้

 

สุวารี คลองโคน กลุ่ม 1

วิชาที่ 6 : หัวข้อ การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

             (โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์/อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          ในการพัฒนาองค์กรหนึ่งๆ นั้นสิ่งที่มีค่าและประโยชน์สำคัญมากคือ ทุนแห่งความสุข (Happy Capital) และการมมี Happy workplace เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้การทำงานบรรลุเป้าหมายได้ตามที่องค์กรต้องการและบุคลากรมีความสุขในการทำ และการสร้างบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่ดีให้เกิดขึ้นในการทำงานก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เกิดความสำเร็จ โดยเฉพาะในการทำงานบุคลากรต้องมีความชอบและรู้สึกรักในงานที่ทำ (passion) และรู้เป้าหมายในงานทีทำ (purpose) และต้องรู้ความหมายในงานด้วยว่ามีความสำคัญอย่างไร (Meaning) เพื่อตอบสนองความต้องการและองค์กรในแต่ละภาริจนอกจากบุคลากรต้องหมั่นดูแลตนเองให้มีสุขภาพดีทั้งกายและใจพร้อมต่อการทำงานตลอดเวลา

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การทำงานที่จะสำเร็จได้ต้องมีความชอบและใจรักในงานที่ทำ(passion)งานที่ทำจะออกมาดีมีคุณภาพและผลสำเร็จและบุคลากรจะมีความสุขในการทำงานเต็มใจทำงานและต้องรู้เป้าหมายในงาน (purpose) และรู้ความหมายในเนื้องานว่าคืออะไรมีความสำคัญอย่างไรเชื่อมโยงระหว่างแล้วสามารถตอบโจทย์องค์กรได้ตามเป้าหมายที่กำหนดและต้องทำรู้วิธีการทำให้สำเร็จตอบสนองทิศทางและเป้าหมายโดยรวมขององค์กร นอกจากนี้เราต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง สดใจ มีความพร้อมในการทำงานไม่ว่างานนั้นจะยากหรือมีความท้าทายเพียงใจเราก็จะทำได้สำเร็จภายใต้ความพร้อมร่างกายและจิตใจ

 

วิชาที่ 7 : หัวข้อ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

             (โดยอาจารย์เอื้อมพร  ปัญญาใส)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้       

ในการบริหารจัดการงานขององค์กรในปัจจุบันจะนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในการจัดการเนื่องจากในบริบทปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นยุคที่ต้องพึ่งพออิเล้กทรอนิกส์และสารสนเทศ เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพคล่องตัวและรวดเร็วสามารถลดภาระงานและลดต้นทุนการบริหารจัดการได้ประกอบกับเป็นตัวช่วยให้องค์กรทางการศึกษาพัฒนาและขยายงานได้ทันยุคและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศ นอกจากการใช้งานแล้วจะต้องมีการวางแผนในการดูแลป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและสารสนเทศต่างๆให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลาไม่เกิดปัญหาและอุปสรรครวมถึงการUpdateเทคโนโลยีให้ก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอีกด้วย

 

 

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

นำความรู้ที่ได้มาวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนการพัฒนาระบบงานเข้าสู่ระบบอิเล็คทรอนิกค์และระบบสารสนเทศเพื่อใช้ประโยชน์และวางแผนงานงานให้มีคุณภาพคล่องตัวและสะดวกรวดเร็ว เน้นผู้รับบริการเป็นสำคัญและต้องหมั่นตรวจสอบและรักษาความปลอดภัยของระบบข้อมูลสารสนเทศให้คงอยู่และใช้งานได้ตลอดเวลาโดยไม่ทำให้องค์กรเกิดปัญหาจากการใช้ระบบสารสนเทศ

 

 

วิชาที่ 8 : การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

             และกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน

             (โดย ดร.พยัต วุฒิรงค์  ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนานวัตกรรมแห่งเอเชีย)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

เมื่อ Trend ของโลกเปลี่ยนไป การจะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการและระบบงานใหม่โดยนวัตกรรมใหม่ต้องเป็น 3 ประการนี้คือ 1. Value ต้องมีคุณค่า 2. Newต้องเป็นสิ่งใหม่ 3. Imprement ต้องนำไปปฏิบัติได้ โดยนวัตกรรมสามารถตอบสนองตรงตามที่คิดและแตกต่างโดดเด่นจากคนอื่นหรือองค์กรอื่น นวัตกรรมไม่ใช่สินค้าแต่เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเราขึ้นอยู่กับการนำมาปรับวิธีการเพื่อหาสิ่งใหม่ที่มีคุณค่าและเกิดมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ การลดขั้นตอนและรอบระยะเวลาการทำงาน การลดต้นทุน การทำงานที่ง่ายขึ้นกว่าเดิม   การปรับระบบการบริการที่รวดเร็ว การปรับระบบงานที่ลดการซ้ำซ้อนและยุ่งยาก การทำงานในระบบงานใหม่ด้วยวิธีการใหม่ที่ลดขั้นตอนและต้นทุนแต่ยังคงเกิดประโยชน์และมูลค่าเพิ่ม โดยนวัตกรรมจะต้องทำให้ทุกคนใช้งานง่ายขึ้นกว่าเดิม

ปัญหาที่ทำให้นวัตกรรมไม่สามารถทำได้ ได้แก่ กฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการทำ วัฒนธรรมองค์กรไม่ได้ส่งเสริมให้คนคิดและทำเชิงวิเคราะห์

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

นำปัญหาเล็กๆ มาริเริ่มทำนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มมูลค่าแก่ผู้รับบริการมากขึ้น โดยทำการวิเคราะห์ระบบงาน กระบวนงานและภารกิจที่สำคัญ เพื่อจัดทำเป็นโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ระบบการจัดการความรู้ KM ระบบการบริหารความเสี่ยง กระบวนการจัดการเรียนการสอนแนวใหม่ เป็นต้น

 

วิชาที่ 9 : การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล (โดย อาจารย์ดนัย จันทร์เจ้าฉาย)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ผู้นำที่ดีเป็นที่ต้องการต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และผู้นำที่เสียสละ คุณธรรม ทำคุณประโยชน์ต่อองค์กรต่อสังคม โดยในการทำงานต้องมีเป้าหมายชัดเจนและการขับเคลื่อนต้องมีพลังออกมาจากข้างใน มีInner จะส่งผลให้ทำงานสำเร็จลุล่วงและสามารถผลงานได้อย่างต่อเนื่องไม่มีวันล้ม การทำงานต้องมีจุดเริ่มต้น  Start with the end in mind โดยรู้ว่าเริ่มต้นจากจุดใดอย่างไรเดินไปข้างหน้าได้อย่างไรเราจะก็จะประสบความสำเร็จภายใต้การมี Passion (ความชอบความรักในงาน) Purposeรู้และมีเป้าหมาย and Meaning รู้งาน ทุกอย่างจึงจะสำเร็จอย่างมีความสุขที่ออกมาจากใจ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

เราทำงานด้วยใจรักมีเป้าหมายชัดเจนทำตามความฝันด้วยพลังที่ออกมาจากข้างในจะส่งผลให้เราประสบผลสำเร็จและภาคภูมิใจ ผู้นำต้องเห็นประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นหลักจะเกิดการพัฒนาองค์กรที่ยังยืนและผาสุข

วิเคราะห์บทความ 4 ทุนในโลก ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี

แต่สำคัญสุด ทุนมนุษย์

บทความ : บทเรียนจากความจริง 4 ทุนในโลก ได้แก่ ทุนการเงิน, ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ, ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี

4 ทุนในโลก ได้แก่ ทุนการเงิน, ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ, ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี  แต่ทุนสำคัญที่สุด คือ ทุนมนุษย์ ซึ่งจะต้องทำงานร่วมกันควบคู่กันไปทั้ง 4 ทุน  ถ้าขาดทุนมนุษย์ซึ่งเป็นทุนที่สำคัญที่สุดก็จะให้การทำงานไม่ประสบความสำเร็จ โดย 1. ทุนทางการเงิน ต้องสร้างความมั่งคงและความยั่งยืนและอยู่รอดนำศาสตร์พระราชาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างความสุขและความอยู่รอดการเดินสายกลาง 2. ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ การพึ่งพากันกับธรรมชาติจะให้ทำให้เกิดความสุขในมวลมนุษย์ โดยมนุษย์ต้องพึ่งธรรมชาติ ดังนั้นไม่ทำร้าย ธรรมชาติเราก็จะไม่เกิดภัยธรรมชาติหรือธรรมชาติกลับมาทำร้ายเรา 3.ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี เครือข่าย Network เป็นตัวช่วยที่นำมาพัฒนาประเทศและนำไปสู่ความสำเร็จ ดังนั้น การพัฒนาทุนมนุษย์จึงเป็นเหตุนำไปสู่การพัฒนาทุนด้านอื่นๆอย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ 


นายศักดิ์ชาย เรืองฤทธิ์ กลุ่มที่ 3

สิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

มหาวิทยาลัยรังสิต

หัวข้อ : การบริหารงานและพัฒนาบุคคล

          การบริหารงานและดูแลพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยรังสิต จะมีหน่วยงานด้านการพัฒนาที่มีความเข้มแข็งและมีการพัฒนาที่ต่อเนื่อง สนับสนุนและผลักดันให้บุคลากรสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องและเต็มที่ ภายใต้การดูแลและสนับสนุนอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ อยู่ตลอดเวลา จัดให้มีโครงการและนวัตกรรมรองรับให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเอง 

         การปรับใช้กับการทำงาน คือ  สนับสนุนบุคลากรในหน่วยงานให้มีความมั่นใจ และความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้องค์กร โดยใช้กลยุทธ์และการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากร  

 หัวข้อ : นวัตกรรม/กิจกรรม/โครงการที่นำสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำ

        ม.รังสิต มุ่งเน้นการดำเนินการผลิตนวัตกรรม การจัดกิจกรรมที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า รวดเร็ว คาดการณ์ล่วงหน้าภายใต้สิ่งที่เป็นไปได้และทันสมัยต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคม

          การปรับใช้กับการทำงาน คือ  เปิดช่องทางและแนวคิดในการทำงานให้กับองค์กร อีกทั้งการสร้างกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อนิสิต บุคลากร องค์กร และสังคม

หัวข้อ การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนางาน

          การทำอะไรต้องคำนึงถึงการเพิ่มคุณค่าของงาน และตอบรับกับความต้องการของสังคม ทุ่มเทโดยไม่ต้องกลัวที่จะสิ้นเปลืองหากนวัตกรรมนั้นจะตอบโจทย์ขององค์กร และสังคม อีกทั้งสร้างคุณค่าและการจดจำให้กับผู้อื่น สร้างแรงกระตุ้นให้กลุ่มคนคิดค้นในการพัฒนานวัติกรรมเพื่อการพัฒนางานตนเอง

          การปรับใช้กับการทำงาน คือ  รวดเร็ว คุ้มค่า ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม ภายใต้ขีดจำกัดของทรัพยากรที่มีแต่ต้องเกิดขีดจำกัดของความคิดตนเอง

 

บริษัทยูนิเวอร์

          การสร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง และคนรอบข้าง และการสร้างความเชื่อมั่นในองค์กร จะทำให้ผู้อื่นเชื่อมั่นในองค์กรได้ การพัฒนานวัตกรรมต้องวางกำหนดเป้าหมายที่สูงสุด และก้าวเดินให้สูงสุด แต่สามารถที่จะพักครึ่งทางเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงและการยอมรับ เปรียบกับการปรับนวัตกรรมของสินค้าที่หากต้องมีการเปลี่ยนแปลง ก็ให้ดำเนินการให้เห็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง แต่ก็ให้คิดรองรับการพัฒนาสินค้าระหว่างของการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งการสร้างความเชื่อมั่นของสินค้าโดยให้บุคลากรในองค์กรเป็นคนเริ่มต้นใช้และรับรองคุณภาพว่า หากบุคลากรในองค์กรเห็นว่าดีและเหมาะสมแล้ว คนอื่นก็จะเห็นว่าดีและเหมาะสมตามด้วย

          การปรับใช้กับการทำงาน คือ  การที่จะปรับเปลี่ยน หรือพัฒนาอะไรก็ต้องวางแผนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน แต่ก็ควรมีแผนสำรองของการเปลี่ยนแปลงระหว่างทาง และสิ่งสำคัญ คือ สร้างความเชื่อมั่นขององค์กรให้กับบุคลากรในองค์กร ให้มีเกิดความเชื่อมั่นก่อนเสมอ

 

ธนาคารกสิกรไทย

          การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ต้องเข้าใจตนเอง และกำหนดให้พันธกิจนั้น เป็นตัวขับเคลื่อนการนำขององค์กรอย่างแท้จริง โดยการทำซ้ำ ทำบ่อย และทำอย่างต่อเนื่อง การทำงานของบุคลากร ให้เน้นความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป  ตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หลากหลาย ทั้งด้านที่หลายคนมองเห็น และในมุมที่หลายคนมองข้าม  โดยใช้ Innovation

         การปรับใช้กับการทำงาน คือ มุ่งทำงานให้ครอบคลุมกับลูกค้าขององค์กรที่หลากหลาย และเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เข้าถึงใจของผู้บริการให้มากที่สุด พัฒนา Innovation เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ

นางสาวกรรณิการ์  แซ่หยี  กลุ่มที่ 3

วิชาที่ 6  การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้  ทุนแห่งความสุข  (Happiness Capital)” กับ “Happy Workplace   Happiness Capital คือ ส่วนบุคคล (Individual) เกิดขึ้นเพราะชอบงาน มีความสุขที่ไดhทำงาน  Happy Workplace ผู้นำต้องทำให้มีบรรยากาศในการทำงานอย่างมีความสุขในองค์กร

 

Happiness Capital ตาม Dr. Chira Hongladarom’s Model มี 11 ประการ

1. สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม  (Healthy)

2. ชอบงานที่ทำ (Passion)

3. รู้เป้าหมายของงาน (Purpose)

4. รู้ความหมายของงาน (Meaning)

5. มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ (Capability)

6. เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา  (Learning)

7. เตรียมตัวให้พร้อม (Prepare)

8. ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว (Teamwork)

9. ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม  (Coaching)

10. ทำงานที่ท้าทาย (Challenge)

11. ทำงานที่มีคุณค่า  (Enrichment)

 

โดยทุนแห่งความสุข   5 ข้อ

1. ต้องมีความมั่นใจในตัวเอง (Self Confidence)

2. ทำงานไป แต่ก็พร้อมที่จะเรียนรู้ด้วย (Eager to learn from work)

3. มีทัศนคติที่เน้นความกตัญญู (Gratitude) ต่อผู้ร่วมงานและผู้บริหาร

4. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน (Healthy Relations)

5. ใช้ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) เพื่อแก้ปัญหา อย่าใช้ความเครียดแก้ปัญหา

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การมีความพร้อมทางร่างกายและจิตใจ เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายเราต้อง ชอบงานที่ทำ (Passion) รู้เป้าหมายของงาน (Purpose) รู้ความหมายของงาน (Meaning) และใช้ทุนทางอารมณ์ (Emotional Capital) เพื่อแก้ปัญหา อย่าใช้ความเครียดแก้ปัญหา

 

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้  ระบบสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมากในการปฏิบัติงานในยุคปัจจุบัน ดังนั้นผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานต้องใช้ระบบสารสนเทศให้ถูกต้อง โดยกำหนดสารสนเทศที่ต้องการ (What) โดยพิจารณาจากลักษณะงานที่ทำ ใช้สารสนเทศเมื่อไหร่  (When) หาสารสนเทศได้ที่ไหน (Where) ทำไม (Why) ต้องมีสารสนเทศนั้น ใครคือผู้ใช้ (For whom) และจะใช้เครื่องมืออะไร (How) ในการเก็บรวบรวม ประมวล รักษาสารสนเทศ

ต้องเข้าใจความหมายของสารสนเทศที่มี นำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม และใช้สารสนเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมายและอย่างมีจริยธรรม

องค์กรใดที่สามารถใช้สารสนเทศได้เร็วและทันคู่แข่งขันจะมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน

 สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  การปรับตัวการทำงานให้ทันกับยุคแห่งเทคโนโลยี และการพิจารณาเลือกใช้สารสนเทศที่เหมาะสมมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

 

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม และกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน 

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

นวัตกรรม คือ การสร้างคุณค่า (Value) มีความพึงพอใจและมีความสุข เกิดสิ่งใหม่ (New) และนำไปปฏิบัติได้ (Implement)

การสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมต้องเริ่มจากผู้นำที่สร้างแรงผลักดันให้องค์กรเกิดนวัตกรรม ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง แล้วค่อยเผยแพร่สู่พนักงานผ่านกลยุทธ์ที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ โดยเริ่มจากการใช้ทฤษฏี Kaizen เป็นจุดเริ่มต้นนวัตกรรม โดยใช้หลักการ  เลิก ลด เปลี่ยน

1. เลิก สิ่งที่ไม่จำเป็น ที่คนไม่ต้องการ

2. ลด อะไรที่ทำซ้ำ ให้ลดให้หมด ตรวจสอบซ้ำให้ลด การลอกข้อความเดิมหรือเขียนใหม่หลายครั้ง

3. เปลี่ยน เปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้สั้นลง เปลี่ยนให้คนมองเห็นมากขึ้น เปลี่ยนวิธีการเตรียมงานให้เร็วขึ้น เปลี่ยนขนาด เปลี่ยนวัตถุดิบ วัสดุที่ดีขึ้น

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  การสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานที่รับผิดชอบ โดยใช้หลักการ Kaizen : เลิก ลด เปลี่ยน นำมาใช้ในขั้นตอนการดำเนินงานของแต่ละงานของฝ่าย เพื่อให้ขั้นตอนการทำงานง่ายและสะดวกขึ้น

 

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติ  3 อย่างคือ

1. มีความกล้าทางจริยธรรม

2. ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ

 3. ผู้นำที่เสียสละ

ผู้นำในโลกมาจาก 2 ประเภทคือ ผู้นำโดยตำแหน่งหน้าที่ และผู้นำโดยธรรมชาติ แต่ทั้งนี้ ปัจจุบันโลกต้องการผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ ผู้นำที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และผู้นำที่เสียสละ 

ผู้นำจะต้องมีคุณธรรม 4 ประการ คือ พอเพียง มีวินัย สุจริต และจิตอาสา การเรียนรู้ 4 แบบ คือ เรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เรียนรู้เพื่อส่วนร่วม และเรียนรู้เพื่อไปปฏิบัติ

นอกจากการมีผู้นำที่ดีแล้ว การทำงานอย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จมีความเหมือนกัน ให้เริ่มต้นด้วย Start with the end in mind ให้เริ่มด้วยจุดจบว่าต้องการเห็นอะไร จะไปไหน สิ่งที่เราจะหยิบยื่นให้สังคมเป็นอย่างไร สุดท้ายต้องการอะไร ต้องมี Purpose Passion and Meaning

 สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  การกำหนดเป้าหมายในการทำงาน และเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น ด้วยการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เรียนรู้เพื่อส่วนร่วม และเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

 

บทความเรื่อง 4 ทุนในโลก ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี แต่สำคัญสุด ทุนมนุษย์

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้  ทุนในโลกมีทุก 4 ประการ ประกอบด้วย ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี และทุนมนุษย์ ซึ่งทั้ง 4 ทุน ต้องดำเนินไปด้วยกัน แต่ทั้งนี้ ทุนมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าขาดทุนมนุษย์แล้วองค์กรจะประสบความสำเร็จได้ยาก 

ทุนการเงิน  ใช้ศาสตร์พระราชาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทุนแห่งความยั่งยืน อยู่รอด คือไม่รวยเร็ว เดินสายกลาง บริหารความเสี่ยงได้ ประเทศก็จะอยู่รอด

ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ  ธรรมชาติไม่พึ่งมนุษย์ แต่มนุษย์พึ่งธรรมชาติ

ทุนทางเทคโนโลยี ซึ่งต้องพึ่งทุนมนุษย์ เช่น ทุนทางปัญญา ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ทุนทางนวัตกรรม

การเรียนรู้ทฤษฎีทุนมนุษย์ (Human Capital) : 8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของ Chira Way เป็นการเรียนรู้ก่อให้เกิดการคิดเป็น ทำเป็น ประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ และเพื่อการมีความสุขในการทำงาน

ประโยชน์ต่อตัวเอง  การใช้ทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวเอง ในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อองค์กร

ประโยชน์ต่อองค์กร  การให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในองค์กร เพื่อให้มีบุคลากรที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมจริยธรรมและมีความรู้ความสามารถที่จะปฏิบัติงานและทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

 

นายวุฒินันท์ หริรักษ์ กลุ่มที่ 3

การวิเคราะห์บทความ “4 ทุนในโลก, ทุนการเงิน, ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ, ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี แต่สำคัญที่สุด ทุนมนุษย์”  

          ทุน 4 ประการ ได้แก่ ทุนการเงิน  ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ  ทุนทางวัตถุ และทุนเทคโนโลยี  ในทั้งหมด 4 ทุนนี้ มีทุนที่สำคัญที่สุดคือ ทุนมนุษย์  ถ้าขาดทุนมนุษย์แล้วองค์กรจะเกิดความสำเร็จได้ยาก  หากมีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมจริยธรรมและมีความรู้ความสามารถจะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ ส่วนทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุ และทุนทางเทคโนโลยีได้แก่ ทุนทางปัญญา  ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ทุนทางนวัตกรรม ทุนทางเครือข่าย คือการร่วมกันทำงานแบบมีส่วนร่วม เป็นการทำงานเป็นทีม การเรียนรู้การคิดนอกกรอบ การเรียนที่ดีคือ เรียนจาก 2R’s ความจริงและตรงประเด็น แนว Chira Way เป็นการเรียนรู้เกิดการคิดเป็นทำเป็น ประยุกต์ใช้ในการทำงานได้

ประโยชน์ที่ได้รับต่อตัวเอง   นำมาใช้ในการการปฏิบัติงานโดยยึดหลักคิดนอกกรอบ  คือ เรียนจาก 2R’s ความจริงและตรงประเด็น แนว Chira Way เป็นการเรียนรู้เกิดการคิดเป็นทำเป็น ประยุกต์ใช้ในการทำงานได้   

  ประโยชน์ที่ได้รับต่อองค์กร  ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ มีบุคลากรที่มีคุณภาพ (มีทุนมนุษย์) ที่ดีมีความรู้ความสามารถ เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ  องค์กรมีความเจริญก้าวหน้าและยั่งยืน

สุพงค์ แซ่อิ้ว (กลุ่ม 5)

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

                ทุนแห่งความสุขเป็นส่วนที่สำคัญของทุนมนุษย์ ในการทำงานอย่างมีความสุขต้องมีทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) และ Happy Workplace ควบคู่กัน โดย Happiness Capital เป็นส่วนบุคคลเกิดขึ้นเพราะชอบงาน มีความสุขที่ได้ทำงาน มีปัจจัย คือ  ชอบงานที่ทำ (Passion) รู้เป้าหมายของงาน (Purpose) และรู้ความหมายงานของ (Meaning) ซึ่ง CEO+HR  ต้องสร้าง Happy Workplace โดยนำเอาทฤษฎี HDRS มาใช้เพื่อการสร้างทุนแห่งความสุขและการทำงานร่วมกับผู้อื่น

·       Happiness (Happy at work ,Happy work place)

·       Respect การยกย่องเชิดชูเกียรติ

·       Dignity การให้เกียรติ (คน,องค์กร)

·       Sustainability ความยั่งยืน (การเรียนรู้ตลอดชีวิต. Passion ,Purpose , Meaning)

                การนำไปใช้ในการทำงาน คือ เราต้องค้นหาความสุขที่แท้จริงในการทำงาน โดยใช้แนวคิดมองความจริงและตรงประเด็น เพื่อให้งานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ และต้องสร้างบรรยากาศ Happy Workplace ในหน่วยงานเพื่อให้บุคลากรทำงานได้อย่างมีความสุขส่งผลต่อประสิทธิภาพงานในเชิงบวก   

วิชาที่ 7  Learning Forum  หัวข้อ “ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา”

          ระบบสารสนเทศมีหลายประเภทได้แก่

          EIS  เป็นการรวบรวม วิเคราะห์ ประมวลผลสารสนเทศนำไปใช้ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์หน่วยงาน

          DSS  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร สามารถวิเคราะห์ทางเลือกที่เป็นไปได้เป็นแบบจำลองเพื่อช่วยในการตัดสินใจ

          MIS  ระบบสารสนเทศที่สามารถสร้างสารสนเทศที่ต้องการเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนและควบคุมการดำเนินงานของหน่วยงาน

          TPS  ระบบช่วยจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ที่เกิดการจากการปฏิบัติงาน

          ES  ระบบผู้เชี่ยวชาญ เลียนแบบวิธีการคิดและแก้ปัญหาจากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ

          OAS ระบบที่สนับสนุนการปฏิบัติงานในสำนักงาน

          หากมีระบบสารสนเทศที่ดีจะใช้ให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการบริหารได้ดีเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด

          การพัฒนาระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย Digital Economy (เทคโนโลยีเปลี่ยนวิธีการคิด วิธีการทำงานทั้งหมด)  Digital Economy (เปลี่ยนวิธีการทำงานทั้งหมด โดยใช้ Digital มาช่วยในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน)  Digital Transformation  (การสร้างความผูกพันลูกค้ามากขึ้น  การนำ Digital มาเปลี่ยนวีการทำงาน   การเลือก Digital มาทำงานให้เหมาะสม ทำให้เกิดการเพิ่มศักยภาพการทำงาน)

          การนำไปใช้ในการทำงาน คือ การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน เกิดการประหยัดทรัพยากรในการทำงาน  ทำให้งานเกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม และกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน

                การสร้างนวัตกรรม ต้องยึดหลัก 3 อย่าง คือ เป็นสิ่งที่มีคุณค่า เป็นสิ่งใหม่ๆ และเกิดผลลัพธ์ตามที่เราคิดและเป็นสิ่งที่เขาต้องการ การสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรม ต้องเริ่มจากผู้นำที่มีความจริงจัง มีส่วนผลักดันให้เกิดขึ้นในองค์กร เป็นปัจจัยนำไปสู่การแข่งขัน แสดงเป็นตัวอย่าง รวมทั้งการกระจายอำนาจและถ่ายทอดให้บุคลากรได้สร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยมีเงื่อนไข 8 สร้างสรรค์ ได้แก่ ผู้นำ วัฒนธรรม กลยุทธ์ ความรู้ คน การเข้าใจลูกค้า กระบวนการ และผลลัพธ์ ใช้หลักการของ Kaizen คือ เลิกทำในสิ่งที่ไม่จำเป็น ลดการทำในสิ่งที่ซ้ำ และเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้สั้นลง เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศขององค์กรแห่งนวัตกรรม

                การนำไปใช้ในการทำงาน คือ สร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานที่รับผิดชอบ โดยใช้หลักการ Kaizen : เลิก ลด เปลี่ยน นำมาใช้ในขั้นตอนการดำเนินงานของแต่ละงานในมหาวิทยาลัย เพื่อให้ขั้นตอนการทำงานง่ายและสะดวกขึ้น

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

          ในโลกยุคปัจจุบันที่โลกเปลี่ยนแปลงไป เราต้องรู้จักสร้างภูมิต้านทานให้กับตัวเอง รู้จักให้อภัย มีเมตตากับผู้อื่น รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น รู้จักวิเคราะห์ว่าเราเกิดมาทำไม ต้องมีเป้าหมายในชีวิต

          คุณลักษณะของผู้นำในยุคปัจจุบัน ควรมี 3 ประการ ได้แก่

          1) ต้องรู้จักสร้างแรงบันดาลใจ

          2) มีความกล้าและ

          3) รู้จักเสียสละ

          คนที่ประสบความสำเร็จ ต้องมี Purpose Passion and Meaning ชีวิตที่มีความหมายคือไม่ได้ทำประโยชน์ให้แก่ตัวเอง แต่ทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น 

การนำไปปรับใช้กับการทำงาน คือ การตั้งเป้าหมายการทำงานของตนเอง รับผิดชอบในงานที่ทำเพื่อความสุขในการทำงานเพื่อประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยของเรา

วิเคราะห์บทความเรื่อง “4 ทุนในโลก ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี แต่สำคัญสุด ทุนมนุษย์

          ทุนในโลกมี  4 ประการ ประกอบด้วย ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี และทุนมนุษย์ ซึ่งทั้ง 4 ทุน ต้องดำเนินไปด้วยกัน แต่ทั้งนี้ ทุนมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าขาดทุนมนุษย์แล้วองค์กรจะประสบความสำเร็จได้ยาก 

ทุนการเงิน  ใช้ศาสตร์พระราชาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทุนแห่งความยั่งยืน อยู่รอด คือไม่รวยเร็ว เดินสายกลาง บริหารความเสี่ยงได้ ประเทศก็จะอยู่รอด

ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ  ธรรมชาติไม่พึ่งมนุษย์ แต่มนุษย์พึ่งธรรมชาติ

ทุนทางเทคโนโลยี ซึ่งต้องพึ่งทุนมนุษย์ เช่น ทุนทางปัญญา ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ทุนทางนวัตกรรม

การเรียนรู้ทฤษฎีทุนมนุษย์ (Human Capital) : 8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของ Chira Way เป็นการเรียนรู้ก่อให้เกิดการคิดเป็น ทำเป็น ประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ และเพื่อการมีความสุขในการทำงาน

ประโยชน์ต่อตัวเอง

          การใช้ทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวเอง ในการปฏิบัติงานหรือทำงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อองค์กร

ประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย

          การให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัย เพื่อให้มีบุคลากรที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมจริยธรรมและมีความรู้ความสามารถที่จะปฏิบัติงานและทำให้มหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จ และนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้

 

 

 

 

มัฆวัต วิไลลักษณ์ กลุ่มที่ 5

วิชาที่  6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

             1. เมื่อบุคลากรมีความสุขในการทำงานอยู่ในองค์กร จะส่งผลทำให้ Productivity เพิ่มขึ้น 20% 

             2. ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) เป็นเรื่องของคน เป็นปัจจัยส่วนบุคคล จะเกิดขึ้นเพราะชอบงาน มีความสุขที่ได้ทำงาน ส่วน Happy Workplace เป็นเรื่องขององค์กร เป็นปัจจัยที่องค์กรจัดให้กับเรา

             3. Happiness Capital เป็นการปลูก ส่วน Happy Workplace เป็นการเก็บเกี่ยว

             4. การมีทุนแห่งความสุขที่ดีของบุคลากร (Happiness Capital) ร่วมกับการสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดีขององค์กร (Happy Workplace) จะส่งผลให้เกิดผลผลิตที่ดี และเกิดเป็น “ทฤษฎีความสุขแบบ ++” แต่หากมีด้านใดด้านหนึ่งด้อยหรือขาดหายไป ก็จะส่งผลให้ผลผลิตที่ได้ด้อยลงไปด้วย

             5. กฎในการสร้างทุนแห่งความสุขของ ดร.จีระ ประกอบด้วย สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม ชอบงานที่ทำ รู้เป้าหมายของงาน รู้ความหมายของงาน มีความสามารถที่จะทำงานให้งานสำเร็จ เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา เตรียมตัวให้พร้อม ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกค้า ทำงานที่ท้าทาย ทำงานที่มีคุณค่า

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษ

            1. ผู้บริหารกำหนดสารสนเทศที่ต้องการจากหน่วยงานตามพันธกิจหลักของแต่ละหน่วยงาน

            2. ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ MIS ต้องมีกระบวนการ วิธีการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดทำรายงานสารสนเทศที่ตรงตามความต้องการ และนำเสนอรูปแบบตามความเหมาะสม

            3. หน่วย IT-Support มีเครื่องมือในการเก็บรวบรวม ประมวลผล และเก็บรักษาสารสนเทศที่มีอยู่

 วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

             การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมเราสามารถอาศัยหลักของ KISEN คือ เลิก ลด และ เปลี่ยนแปลง การเลิกในสิ่งที่ทำแล้วไม่เกิดประโยชน์ สิ่งทำหรือไม่ทำก็ไม่มีความสำคัญ การลดในสิ่งที่มากเกินความจำเป็น ขั้นตอนที่ซ้ำ ๆ กัน และเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่มีความซับซ้อยทำให้ระบบงานไม่คล่องตัว แต่อย่างไรก็ตามในการนำนวัตกรรมมาใช้ในองค์กรนั้นไม่ใช้เพียงการนำ IT เข้ามาใช้ แต่เป็นการกระทำที่เกี่ยวข้องกับ ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ได้ประโยชน์ ผู้ปฏิบัติงาน ผลผลิตหรือบริการ กระบวนการทำงาน ซึ่งเราสามารถกระทำได้หลายรูปแบบด้วยกัน การเปลี่ยนแปลงการทำงาน การพัฒนาระบบการทำงาน การเปลี่ยนแปลงเครื่องมือ เป็นต้น

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล

         หนึ่งในคุณสมบัติผู้นำที่โลกต้องการ คือการมีความกล้าทางจริยธรรม ไทยแลนด์ 4.0 ให้ความสำคัญกับจริยธรรม มีแผนแม่บทกำหนดคุณธรรม 1 อย่างคือ พอเพียง มีวินัย สุจริต มีจิตอาสา มีกระบวนการพัฒนาคนไทยสู่สังคมไทย 4.0 วิทยากรได้นำเสนอ MODEL การพัฒนาทุนทางจริยธรรมในสถานศึกษาที่น่าสนใจ เป็นแนวทางในการปรับใช้ได้เป็นอย่างดี

 บทความ  “4 ทุนในโลก ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี

         สิ่งที่ได้จากบทความนี้ คือ ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี ล้วนมีความสำคัญสำหรับโลก แต่ทุนที่สำคัญที่สุด คือ ทุนมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นทั้งผู้สร้างและทำลาย  ดังนั้นหากเราสามารถพัฒนามนุษย์ให้มีทุนทางความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ และแก้ปัญหาเป็น มนุษย์จะเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาโลกให้ยิ่งใหญ่อย่างมีคุณค่าโดยไม่ละทิ้งคุณค่าทางด้านศีลธรรม จรรยาบรรณ

 

 

 

 

 

นางสาวอาภรณ์ แก้วสลับศรี กลุ่มที่ 3

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

          การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุข เพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพต้องมี Passion คือเรามีความรัก มีความศรัทธา และเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทุนแห่งความสุขที่ต้องเกิดกับตัวเรา  ซึ่งการพูดเรื่องทุนแห่งความสุขต้องเน้น การนำไปปฏิบัติไม่ใช่นามธรรม  และมี Purpose คือการตั้งเป้าหมายความสำเร็จของงาน และ Meaning รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบ งานที่เราทำมีประโยชน์ เรามีบทบาทอย่างไร

          สิ่งที่นำไปปรับใช้กับการทำงาน

          การทำงานอย่างมีความสุข เราต้องรักในงานที่ทำ มีการกำหนดเป้าหมายของการทำงานให้ชัดเจน มีความรับผิดชอบและรู้จักหน้าที่ของตน และทราบว่างานที่เราทำมีประโยชน์ และสร้างความสำคัญและคุณค่าให้แก่ตนเอง เข้าใจงานและเข้าใจผู้อื่น ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

 วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

          สารสนเทศที่ดี ต้องมีความถูกต้อง ครบถ้วน เชื่อถือได้ ตรงประเด็นตามความต้องการ มีความง่าย มีความคุ้มค่า ยืดหยุ่น ตรวจสอบได้  ผู้บริหารสามารถนำสารสนเทศดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และคาดการณ์อนาคตขององค์กรได้ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของข้อความ ตาราง รูปภาพ หรือแผนภูมิและหากเป็นข้อมูลเชิงเปรียบเทียบจะทำให้สามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

·          สิ่งที่นำไปปรับใช้กับการทำงาน

          การจัดทำสารสนเทศในงานของตนเองในทุกแง่มุม เพื่อให้มีสารสนเทศที่ดีประกอบการวางแผนการดำเนินงานและการตัดสินใจของผู้บริหาร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท