การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community – Based Tourism – CBT)บ้านบากันเคย ตันหยงโป สตูล..... ชุมชนบูรณาการทุกภาคส่วน สู่ไทยแลนด์ 4.0


" ทำเอง ดักทาง ตางค์ยัง"เรื่องการท่องเที่ยวชุมชน ที่คนในชุมชน คิดเอง วางแผนเอง ทำเอง เป็นการดักทางสอดรับกับ นโยบายแนวคิดภาครัฐ ที่จะนำพาประเทศสู่การพัฒนา ความเป็นอยู่ อาชีพ รายได้ ของประชาชน ที่ใช้ทรัพยาน้อย แต่ได้ประโยชน์สูงทั้งคุณค่าและมูลค่า ชาวบากันเคยเป็นชุมชนที่ ใช้การบูรณาการ เพื่อพัฒนาชุมชน" แกหรา จังกับ ฟากัร อาซูรอสู่การชันชี" (เจรจา พูดคุย ปรองดอง ปรึกษาหารือ ตกลงร่วมกัน)

<p “=””>


“สันหลังมังกร”จุดขายการท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล สอดรับกับการจัดการท่องเที่ยวชุมชนที่บ้าน บากันเคย ที่

นักวิชาการ วปช (วิทยาลัยป้องกันชุมชน) ลงหลัก ปักหมุด หมายเพื่อหาพันธมิตร ชุมชนจิตอาสา พัฒนาชุมชน

ภายใต้หลักคิด” ทำเอง ดักทาง ตางค์ยัง”เรื่องการท่องเที่ยวชุมชน ที่คนในชุมชน คิดเอง วางแผนเอง ทำเอง เป็นการ

ดักทางสอดรับกับ นโยบายแนวคิดภาครัฐ ที่จะนำพาประเทศสู่การพัฒนา ความเป็นอยู่ อาชีพ รายได้ ของประชาชน

ที่ใช้ทรัพยาน้อย แต่ได้ประโยชน์สูงทั้งคุณค่าและมูลค่า

ชาวบากันเคยเป็นชุมชนที่ ใช้การบูรณาการ เพื่อพัฒนาชุมชน” แกหรา จังกับ ฟากัร อาซูรอสู่การชันชี”

(เจรจา พูดคุย ปรองดอง ปรึกษาหารือ ตกลงร่วมกัน)โดยใช้สภาองค์กรชุมชน ตำบลตันหยงโป ให้เป็นที่ปลอดภัยใน

การพูดคุย ปรึกษาหารือ ซึ่งทางประธานสภาองค์กรชุมชน และคนร่วมกระบวนการ ร่วมกิจกรรม ได้มา แกหรา ให้ คน

วปช ฟังถึง แนวคิก หลักการทิศทางการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะประเด็นหลักคือ “การท่องเที่ยวชุมชน”ของคนบากัน

เคย ตันหยงโป จากเดิมที่ทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ จับสัตว์น้ำได้ง่าย ต่างคนต่างทำ ใครมีกำลังกาย กำลังทรัพย์มาก

เครื่องมือพร้อม ก็ใด้ประโยชน์มาก มาถึงวันหนึ่งที่ ข้าวของแพง น้ำมันแพงเศรษฐกิจถดถอย จึงหาทางออกมา

จับเข่าคุยกัน(จังกับ) ปรองดองกัน เพื่อให้ชาวชุมชนได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน จัดสรรใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่

เพื่อแบ่งปันกันโดยภราดรภาพ ในเส้นทางผลประโยชน์ย่อมมีปัญหา แต่ที่นี้หลักธรรมคำสอน ความเชื่อ ความศรัทธาใน

ศาสนาอิสลามความเป็นพี่น้องกัน เป็นเรือนร่างเดียวกัน จึงฟากัรกัน(ปรองดอง) นำปัญหามาสู่วง อาซูรอ

(สภาองค์กรชุมชน) เป็นที่ บูรณาการทางความคิด ทุกองค์กรในชุมชน ใช้เวทีพื้นที่ของสภาองค์กรชุมชน หารือกันทุก

เครือข่าย ใช้ภูมิปัญญาและทักษะของคนรุ่นสู่รุ่นมาเรียนรู้ร่วมกันทุกภาคส่วน ทั้งท้องที่ ท้องถิ่น ราชการ กลุ่มองค์กรทุก

องค์ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีสถานะในการแลกเปลี่ยนเหมือนกัน วันนี้การท่องเที่ยวชุมชนคนบากันทุก

คนมีงานทำคนเลหาสัตว์น้ำ ก็จำหน่ายให้กับการท่องเที่ยว แม่บ้านก็ไม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน เด็กเยาวชนมีงาน

ทำเป็นมัคคุเทศน์ นำนักท่องเที่ยวมีความสุข และพวกเราขับเคลื่อนงาน ภายใต้ความเป็นตันหยงโป ไม่ใช่เฉพาะแค่บา

กัน (บังเหระ)

ส่วนพี่บุหงา เล่าต่อด้วยดวงตาที่เปล่งประกายแห่งความสุข ทีได้มีบทบาทสนับสนุนการท่องเที่ยว ว่า

แม่บ้านทุกคนมีงานทำ ได้รายได้จากการท่องท่องเที่ยวทั้งตรงและทางอ้อม กลุ่มสตรีเป็นกำลังหลักที่หนุนเสริมการ

ท่องเที่ยว ทุกปัญหาทุกกิจกรรมที่ทำเรามาคุยร่วมกัน รู้ที่มารู้ปัญหา รู้ข้อมูล เพราะเราเก็บข้อมูลเอง รู้ต้นไม้ป่าชายเลน

รู้จักปลาในทะเล รู้ว่าคนของเราคนใหนเดือดร้อนเรื่องอะไร เราก็ช่วยกัน หนุนเสริมกัน แล้วคนบากันที่ออกไปทำงาน

ต่างพื้นที่ กกลับมาช่วยพูดคุยให้ข้อมูลกับพวกเราด้วย ใช้สภาเป็นที่หาทางคิดแผน สู่การปฎิบัติ .ส่วนกลุ่มเยาวชน

มานั่งร่วมวงอยู่ห่างๆฟังอย่างตั้งในเรื่องที่ผู้ใหญ่คุยกัน ……

.เที่ยงคืนแล้ว วงถกแถลงยังแกหรา กันไม่จบ คน วปช ที่ เป็น สวแล้วก็ยังมีความสุขในการเรียนรู้แลกเปลี่ยนแบ่งปัน

ช่างเป็นบรรยากาศ สุขร่วมในการสนทนา……

ผู้เขียนเคลิ้มๆนึกถึงบทเพลงใบไม้เดียวกันอย่างมีความสุขที่เห็นชุมชน ฟากัรกัน…… </p>

เราคือใบไม้ต้น


หมายเลขบันทึก: 618428เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2016 05:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2016 06:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

สิ่งที่ต้องชื่นชมการจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนบากันเคย คือการสื่อสารให้ผู้บริโภคเข้าใจง่าย ภือเป็นต้นแบบของการให้ความสำคัญในเรื่องการง่ายในการเข้าถืง


ตามมาเชียร์การทำงาน

มีอะไรพอช่วยได้บอกนะครับ

เห็นชุมชนทำงานแล้วมีความสุขครับ

เรียน ท่าน อาจารย์ขจิค

ชุมชนไทยยุค ไทยแลนด์ 4.0 เวลาเป็นทรัพยากรที่ต้องบริหารภายใต้การชิงไหวพริบ ที่บากันเคย วปช..กว่าจะได้หลับเกือบตีสองครับ

-สวัสดีครับท่านวอญ่า

-ตามมาท่องเที่ยวเมืองใต้ครับ

-ว่างวันไหนของเชิญมาพักผ่อน ณ มุมนี้ได้นะครับ

เรียนอาจารย์ จำรัส

วปช สะสมกำลังสร้างพันธมิต ผูกจิตชุมชน ค้นคนอาสา พัฒนาท้องถิ่นและพื้นที่ปฎิบัติการ

งานต่อไป คงมีทิศทางไปที่ชัดมากขึ้น

เรียน ท่านวอญ่า

เนื้องานที่ วปช. ทำกิจกรรมได้สะสมเป็นฐานข้อมูลประมวลผลแล้วพบศักยภาพชุมชน หลังจากนี้เข้าสู่เศรษฐกิจที่ชับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมของไทยแลนด์ 4.0 อำเภอปากพยูน เป็นพื้นที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสคร์ สังคมพหุวัฒนธรรม และ ความมั่งคั่งทรัพยากรธรรมชาติ มีความพร้อมที่จะยกระดับและนำร่องด้านประกอบการการท่องเที่ยวโดยชุมชน

  • ตระหนักจริง รู้จริง ทำจริง ด้วยความร่วมมือร่วมใจ..หนทางสู่ความสำเร็จและยั่งยืน!
  • สุขไปด้วยเลยครับ""

เรียน อาจารย์ ขจิต

เรามาทำกิจกรรมจังหวัดเดียวกันอีกแล้ว

ผมมาเรื่องเกษตรประณีต ดูการตอนมะละกอ

มะละกอพันธ์ฮอลแลนด์ หวานมาก

อาจารญ ทำกิจกรรมที่สิชล

19-20 ผมประชุม สปสช กรรมการ ศูนย์ประสานหลักประกันสุขภาพประชาชน ที่ ลีการ์เด้นท์ หาดใหญ่

ขอบคุณ พี่ใหญ่ ที่นำคำสอนพ่อ มาเป็นกำลังใจ

เรียนน้องเพชร มีโอกาส จะแวะไปเยี่ยมครับ

เปล น่านอนจัง

เรียน อาจารย์ จำรัส

ขอบคุณที่แนะนำการท่องเที่ยวโดยชุมชน พื้นปากพะยูน

ตอนนี้ยังไม่ได้ตั้งวงคุยกับพื้นที่ โดยเฉพาะอาจารย์ สมพร ท่านติดภาระกิจ ประวัติศาสตร์ชุมชนอยู่

ได้คุยได้ความคืบหน้าจะได้ ชวนทีม วปช มานั่งถกแถลงที่เกาะหมากอรกครั้ง

เรียนอาจารย์ ธนิตย์

การท่องเที่ยวโดยชุมชน เห็นสีสรรค์ชุมชน

เห็นความร่วมมือของชุมชน บนพื้นฐานการจัดการทุน การจัดการทรัพยากรร่วมกัน

ร่วมรับผลผลประโยชน์ร่วมกัน

เป็นทางออกของชุมชนจัดการตนเองทียั่งยืน

พลาดกันไปพลาดกันมาเลยครับ

จันทร์ อังคารนี้ไปสิชลครับ

อาจารย์ ขจิต พรุ่งนี้ งานสัมนาสมุนไพรอินทรีย์ที่สวนสละลุงนัน น่าสนใจ

กองพัฒนาแพทย์แผนไทยมาร่วมให้ความรู้

งานนี้พบหมอพื้นบ้านของพัทลุงทุกอำเภอ

และคนปลูกผักปลูกต้นไม้ปลูกสมุนไพรมา ลปรร กัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท