เรื่องเล่า ดร. ผึ้ง: 4 Predatory journals recruit articles through aggressive marketing


The predatory publishers unreasonably uses the name of the famous scientists or researchers to attract manuscripts and author from unwary researchers


การส่งผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในบทความวิชาการนั้น เป็นช่องทางหนึ่งของนักวิชาการ นักวิจัย ในการสื่อสาร ให้สังคมได้รับรู้ข้อมูลการศึกษา ข้อค้นพบ ข้อสังเกต อันเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาสังคม

แต่ปัจจุบันพบว่า จำนวนบทความวิชาการ ที่เผยแพร่ใน predatory journal นั้น เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ดังตัวอย่าง


From Inside Higher ED, October 1, 2015 By Carl Straumsheim

จาก link


หรืออ่านบทความอื่นๆ จาก http://www.bmj.com/content/350/bmj.h210



Predatory journal คือวารสารหรือสำนักพิมพ์ ที่ก่อตั้งขึ้น เพื่อผลประโยชน์ของผู้ก่อตั้งเอง กล่าวคือ “ต้องการสร้างรายได้ กำไร ผลตอบแทนทางการเงินมากกว่าการเผยแพร่ผลงานวิชการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

(it's very obvious that they're just pay-to-publish with minimal-to-no peer review)



…….เหตุใดจึงไม่ควรส่งผลงานไปเผยแพร่ใน predatory journal ?

Predatory journal ส่งผลกระทบเชิงลบต่อนักวิชาการ นักวิจัยที่มีความสามารถ หลายประการ เช่น

  • สูญเสียโอกาสในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ
  • สูญเสียโอกาสในการได้รับการพิจารณารางวัล เชิดชูเกียรติ
  • สูญเสียเวลาทีทุ่มเท ค้นคว้าวิจัย
  • สูญเสียผลงานดีๆ มีคุณภาพ
  • ตกเป็น “เครื่องมือ” ของ predatory journal โดยไม่รู้ตัว โดย predatory journal นำชื่อของนักวิจัย สถาบัน องค์กร ที่สั่งสมความรู้ประสบการณ์ มาเป็นเครื่องมือ โฆษณา ให้ predatory journal มีความน่าเชื่อถือ ดึงดูดให้นักวิชาการ นักวิจัยรุ่นใหม่ หลงเชื่อ เข้ามาติดกับดัก ส่งผลงานมาตีพิมพ์
  • สูญเสียโอกาสในการพัฒนาศักยภาพตนเอง และทีม เนื่องจาก predatory journal ไม่มีระบบ peer ไม่มีการกลั่นกรองบทความวิชาการ
  • และอื่นๆ เป็นต้น



………Predatory journal แฝงตัวเข้ามาได้อย่างไร ช่องทางใดบ้าง ?

ในที่นี้ ขอยกตัวอย่าง OMICS group ซึ่งเป็นหนึ่งใน predatory journal ที่คืบคลานเข้ายึดพื้นที่ ขยายวงกว้างในแวดวงวิชาการ โดย predatory journal นั้น มีพฤติกรรมเด่นๆ ดังนี้


#1. กว้านซื้อลิขสิทธิ์วารสาร ที่มีรายชื่อปรากฎในฐานข้อมูล เช่น ซื้อวารสารที่มีรายชื่อ ใน Pubmed

อ่านเพิ่มเติม


#2.ยายกิจการ เปิดช่องทาง การจัดประชุมวิชาการ


Conferenceseries.com

อ่านเพิ่มเติม




#3. ซื้อลิขสิทธิ์ software สำหรับใช้ submit online เช่น Editorial Manager

(สำนักพิมพ์ Taylor& Francis ใน UK ใช้Editorial Manager ในการ submit manuscript)





#4. ใช้เครื่องมือ การตลาด (Using technology to increase visibility, impact and reader engagement)

- Search engine optimization (SEO) ปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับบนค้นหาหน้าแรกๆ ใน Search Engine

- Search Engine Marketing (SEM) การจ่ายเงิน ซื้อโฆษณาบน Google Search


ตัวอย่าง

ดังภาพด้านล่าง SEM จะมีอักษร AD ซึ่งภาพตัวอย่าง ผลลัพธ์ด้านบนสุด ใช้คำว่า American Meetings and Expo แต่ความจริงแล้ว เจ้าของ คือ OMICS






จากภาพตัวอย่าง ผู้เขียนใช้ keywords

“Conference, international, series, alert”

ผลการสืบค้น

บรรทัดแรกบนสุดแสดง link ไปที่

American Meeting & Expo







ผู้เขียนลองใช้ keyword อื่น เช่น

Conference, international, medicine, health

ผลลัพธ์ที่ได้ ดังภาพ


Conferenceseries.com

ขึ้นมาหน้าแรกเช่นกัน ทั้งๆ ที่ผู้เขียนไม่ได้ใช้คำว่า “series” ในการสืบค้น







สมมติว่าผู้เขียนอยากไป

conference ที่ประเทศญี่ปุ่น

ผู้เขียนใช้ keyword

conference international Japan

เห็นได้ว่า Conferenceseries.com ขึ้นมาในหน้าแรก


เห็นได้ชัดว่า predatory journal ใช้ SEO ทำการตลาด

การที่จะให้ website ของตนเอง แสดงผลขึ้นมาหน้าแรกนี้ ต้องสร้างหน้า page ขึ้นมาจำนวนมาก เป็น แต่ละหน้า page ก็มีข้อมูลที่ต้องการแสดง มากกว่านั้น คือการ กำหนด Keyword ให้กับ webpage หน้านั้น เพื่อให้ผู้สืบค้น ค้นเจอ

นอกจากนี้ ยังมีการใช้ -Facebook Adv



5.ใช้ชื่อวารสารคล้ายคลึงกับวารสารที่มีคุณภาพ (imitate the names of serious journals) เช่น

  • Depression and Anxiety(Wiley-LISS) เริ่มตีพิมพ์ปี 1996
  • Journal of Depression & Anxiety (OMICS group) เริ่มตีพิมพ์ ปี 2012


6. ใช้ชื่อนักวิจัย, สถาบัน เชื่อมโยงกับ journal โดย มีเจตนาให้เข้าใจผิดว่า นักวิจัย หรือ สถาบันนั้นๆ มีความร่วมมือ กับสำนักพิมพ์


ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช่การใส่ลิ้งค์เชื่อมโยงจากหน้าเวปของ journal ไปที่ website ต้นทาง หากแต่ ทาง predatory journal ได้จัดทำ sitemap หรือแผนที่ website ของ journal เอง upload ไปยัง Google เพื่อให้ Google สามารถเข้าถึงหน้า website ทุกๆ หน้าของ journal ได้ นี่คือเหตุผลว่าทำไมใช้ keyword สืบค้น แตกต่างกัน แต่ก็ยังแสดงผลลัพธ์ให้คลิกไปที่ website ของ journal ดังกล่าวได้

ดังนั้น กรณีนี้ ผู้ตกเป็นเหยื่อ ไม่ว่าสถาบันหรือบุคคล จะไม่สามารถลบหน้า page ที่มีข้อมูลของตนเอง หรือ เชื่อมโยงมายังสถาบันได้ ต้องแจ้งไปทาง predatory journal ให้ลบหน้า page นั้นออก


เช่น

ตัวอย่าง รายชื่อนักวิจัยไทยพร้อมต้นสังกัดมหาวิทยาลัย

ตัวอย่าง link มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ตัวอย่าง link จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตัวอย่าง link มหาวิทยาลัยมหิดล (ศิริราช)

ตัวอย่าง link มหาวิทยาลัยมหิดล (รามาธิบดี)




  • ตัวอย่าง ใช้ชื่อนักวิจัย จาก Johns Hopkins ที่ตกเป็นเหยื่อ ไป conference (นำชื่อมาขึ้นหน้าเวป)

link



  • ตัวอย่าง นักวิจัย ที่ตกเป็นเหยื่อ หลวมตัวเป็น editorial board เมื่อแจ้งความจำนงค์ขอถอนตัวออกจากทีม ทาง OMICS กลับเงียบเฉย

Jim Sawitzke says:

I have now successfully removed myself from the editorial board via a phone call, emails were ignored. I have been unsuccessful reaching anyone on the phone about the Genetic Engineering meeting.

Sept. 12, 2013

Jim Sawitzke Ph.D.

Link



………. จะตรวจสอบได้อย่างไร ช่องทางไหนบ้าง ?????


นักวิจัย นักวิชาการ ส่วนใหญ่ จะตรวจสอบรายชื่อวาร และสำนักพิมพ์ จาก link ด้านล่าง

1 publishers รายชื่อสำนักพิมพ์

https://scholarlyoa.com/publishers/


2. standalone รายชื่อวารสารที่แยกเฉพาะ

https://scholarlyoa.com/individual-journals/



(ผู้เขียนมิได้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือเกี่ยวข้องกับผู้ให้ข้อมูลตาม link ดังกล่าวข้างต้น)

นอกเหนือจาก list ด้านบนแล้ว หากมีคำถามในใจว่า “ทำไมต้องเชื่อ สิ่งที่เขาบอกมา” ก็อาจจะ พิจารณาด้วยตนเอง ตามวิธี พิจารณา predatory journal จาก

http://www.thinkscience.co.jp/toolshed/lang/en/2015/07/01/8-q-and-a-about-predatory-journals/

หรือ

criteria for determining predatory journal





ท้ายที่สุดแล้ว ตัวนักวิจัยและทีมวิจัยเท่านั้น ที่เป็นผู้พิจารณาตัดสินใจเลือกวารสารที่ต้องการเผยแพร่ผลงาน


บทความนี้เป็นการ “บอกเล่า” เรื่องราว สิ่งที่พบเห็น คล้ายกับบันทึกการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่เขียนบันทึกไว้ เมื่อพบเห็นสิ่งต่างๆ จากมุมมองของนักท่องเที่ยวเอง ผู้เขียนมิได้มีเจตนา “ชี้แนะ” หรือ “เตือน” นักวิจัย นักวิชาการ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน ด้วยตระหนักดีว่า ตัวผู้เขียนเองยังด้อยประสบการณ์ ดังนั้น หากส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ทำให้ผู้อ่านไม่สบายใจ ผู้เขียนต้อง ขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วย

ภัทรพร คงบุญ

24 สิงหาคม 2559

หมายเลขบันทึก: 612871เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2016 07:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2016 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาเรียนว่า ได้ดำเนินการ file pdf ของหนังสือเรื่อง "ครบหกรอบปีของชีวิตจิตแจ่มใส" ตามที่คุณหมอได้กรุณาแนะนำแล้วค่ะ

</p>

โปรดคลิ๊กอ่านที่นี่

book01_s.pdf

book02_s.pdf

book03_s.pdf

book04_s.pdf

https://www.gotoknow.org/posts/607112



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท