สมองล้า...สื่อสารจิต...สำรวมใจ


เคสนี้ไม่ง่าย...ซึมเศร้าเรื้อรังจนสมองกับจิตไร้ความรู้สึกคุณค่าใจตน...กว่าสามชม.ที่นักการละครฝึกเคสกับนักกิจกรรมบำบัด ขอบพระคุณกรณีศึกษา คุณหมอผู้ส่งปรึกษา อจ.เปา อจ.แอน และอจ.เดียร์มากครับ

จิตแพทย์และประสาทแพทย์ได้ตรวจวินิจฉัยเคสวัย 45 ปีนี้ด้วยโรคซึมเศร้าเรื้อรัง [Acknowledgement of citation at http://www.mayoclinic.org] และสั่งยา Sertraline 100 mg. เมื่อกพ.นี้ [Acknowledgement of citation at www.drugs.com] และกำลังจะเพิ่มเป็น 150 mg.ในอาทิตย์หน้า ซึ่งเมื่อ 20 ปีที่แล้วได้รับอุบัติเหตุรถชนร่างกายจนอ่อนแรงขาซ้าย กะโหลกซ้ายร้าว และ 10 ปีที่แล้วจำตัวเลขไม่ได้แม่นยำเหมือนเดิม แต่ก็ไม่ได้ตรวจ MRI ใดๆ จนเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาเริ่มจดจำข้อมูลเรื่องราวไม่ได้ ตอนนี้ต้องใช้การบันทึก Flowchart โน้ต และให้เพื่อนๆเตือนในที่ทำงาน

คุณหมอที่รู้จักกับผมได้ส่งปรึกษาให้ตรวจกิจกรรมบำบัดจิตสังคมบูรณาการการสั่งจิตใต้สำนึก พร้อมออกแบบโปรแกรมกว่า 3 ชม. พบว่า "เคสนี้มีความล้าทางความคิดและจิตใจ โดยเฉพาะการบูรณาการระหว่างสมองส่วนการรับรู้ภาพ ความรู้ความเข้าใจ การสือสาร และการแสดงอารมณ์ ไม่มีโอกาสได้ถูกกระตุ้นการใช้งานที่หลากหลาย (Sensorimotor Occupational Deprivation) ส่งผลให้เกิดอารมณ์ตึงเครียดเรื้อรัง

  • ตรวจความถนัดของสมองในเคสนี้เป็นแบบสมองตรรกะ เน้นใช้ความคิดวิเคราะห์ก่อนการเคลื่อนไหว ใช้ภาษาพูดและเขียนได้ดีกว่าการเรียนรู้จินตนาการสร้างสรรค์ ได้ตาถนัดขวา มือถนัดขวา เท้สถนัดขวา หูถนัดขวา แต่ในภาวะอารมณ์ตึงเครียด จะเห็นภาพรวมได้ยาก เพราะข้อมูลการเคลื่อนไหวรับรู้สึกจะเชื่อมโยงกับอารมณ์เป็นสิ่งที่ท้าทายคือกระบวนการเห็นภาพจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่
  • ควรเพิ่มประสบการณ์การกระตุ้นระบบสัมผัส ระบบการเคลื่อนไหว ระบบการหายใจ ที่สนุก อิสระ สร้างสรรค์ สื่อสาร สังคม และเพลิดเพลิน
  • เมื่อทดสอบการทรงตัวกับการพูดตัวเลขไปกลับและแทรกการนึกจำสีไม่ให้ซ้ำ ก็พบว่า "เมื่อมีการหลับตาจะทำได้ดี - เซน้อยลงและไม่มีข้อผิดพลาด" แต่ถ้าเป็นการเดินหลับตาก็พบว่า "เดินก้าวชิดก้าวโดยใช้ขาอ่อนแรงซ้ายนำ - เซมากกว่าและไม่เห็นภาพคาดการณ์ได้ชัดเจน"
  • เมื่อทดสอบกระบวนการรับรู้และรู้คิดคุณค่าในตนเองก็พบว่า "เคสเป็นสิ่งมีชีวิตเกิดมาบนโลกนี้ รู้สึกได้ทำงานเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ รู้สึกเห็นภาพเพื่อนๆที่ทำงานครบและมีรอยยิ้มมากขึ้น แม้ว่าระหว่างทางจะนึกภาพได้ยาก มีหาวบ่อยครั้ง บ่นง่วงนอนเพราะเป็นไข้ และร่างกายส่ายไปมา ไม่รู้สึกมีต้นแบบชีวิต ไม่รู้สึกรักใคร มีน้ำตาไหลเล็กน้อยที่ตาซ้าย" บ่งชี้ถึงความอ่อนไหวในระบบการรับรู้สึก แต่ใช้ความคิดวิเคราะห์มากจนเกินไป และคาดการณ์ไปถึงความจำต่างๆที่คิดว่าระลึกจำไม่ได้ทันที
  • เมื่อตรวจสอบภาวะอารมณ์ตึงเครียดก็พบ "เคสชอบกลั่นหายใจ แน่นหน้าอก และเมื่อยน่อง จนถึงปวดท้ายทอยทั้งสองข้าง"

จากนั้นผมและทีมงานทุกท่านได้ออกแบบตั้งแต่ Emotional Freedom Tapping, ฺBrain Gym (Hook Up & ฺBody Integration) และ Drama communication (Chewing & Improvisation) พร้อม 6-min Walk และบันทึกจับชีพจร

และนัดหมายติดตามผลใน 21 วัน เพื่อเตรียมโปรแกรมการฝึกทักษะการรู้คิดสร้างสรรค์และการสื่อสารภาษากายเชิงทักษะสังคมแห่งการเพิ่มคุณค่าในตนเองต่อไป


หมายเลขบันทึก: 607940เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2016 23:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2016 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบพระคุณพี่ดร.โอ๋ คุณยายธี อ.ต้น และพี่ดร.พจนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท