น้ำตาตกใน...ร้องไห้ให้สุขใจอย่างไร


ขอบพระคุณตัวเองที่เปิดใจให้อยากเรียนรู้กับกรณีศึกษามากมายทั้งเด็กเล็กจนถึงผู้สูงวัยผู้มีการพัฒนาทักษะการสื่อสารอารมณ์ที่หลากหลายแล้วส่งผลกระทบต่อพลังชีวิตที่ไร้ศักยภาพแห่งกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ

ขอบพระคุณกรณีศึกษาหนึ่งท่าน (นศ. วัย 20 ปี) ที่ผมพยายามใช้หลายวิธีคลี่คลายปมจิตจนกระทั่งพบว่า "เมื่อน้ำตาตกใจแบบถูกกดขี่มานาน 0-20 ปี ต้องให้นึกภาพเคสกำลังดูหนังชีวิตแล้วดึงผู้ที่เคสรักและสอนการจัดการอารมณ์ได้บวกแต่เคสรู้สึกละอายใจที่ไม่ได้พูดอะไรก่อนผู้ที่เคสรัก (คุณยายวัย 80 ปี) กำลังจากโลกนี้ไป...เมื่อเคสระลึกถึงและอยากเอ่ยคำพูดจากใจให้สัญญาในการปรับอารมณ์กับนิสัยลบๆของตนเองให้เป็นบวก ก็จะมีผลให้ปรับความเชื่อในคุณค่า ความดี และความหมายแห่งการเติมเต็มชีวิตอันสมบูรณ์ขึ้น"

หลายคนคงยังไม่เคยรู้ถึง "Emotional Distress หรือ อารมณ์ตึงเครียด" เมื่อคลิกอ่านที่นี่ [Acknowledgement of citation at WebMD.com]

  • คุณนอนหลับมากหรือน้อยเกินไป
  • น้ำหนักขึ้นๆลงๆ หรือมีรูปแบบการทานอาหารเปลี่ยนไป
  • มีอาการทางกาย เช่น ปวดหัว/ท้อง/หลัง ท้องเสีย/ผูก ที่แพทย์อธิบายเหตุไม่ได้
  • ควบคุมจัดการอารมณ์โกรธ/เศร้า/กลัว ด้วยตนเองไม่ได้
  • มีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำบ่อยครั้ง
  • เหนื่อยล้า ขาดพลังงาน เป็นช่วงเวลานาน
  • จดจำข้อมูลไม่ค่อยได้
  • ทำงานได้แต่อยากกลับบ้านพักผ่อน ไม่อยากทำกิจกรรมทางสังคม
  • ไม่รู้สึกมีความสุขจากกิจกรรมเพศสัมพันธ์
  • มีมากกว่า 1 คนทักคุณว่าอารมณ์ขึ้นๆลงๆ

แล้วคุณจะทำอย่างไร ปัจจุบันนี้เราต้องฝึก "ทักษะการจัดการอารมณ์ด้วยตนเอง หรือ Emotional Coping Skills" ให้ได้ความรู้สึกเชื่อมั่นในสมรรถนะนี้มากกว่า 7/10 ด้วยกิจกรรมบำบัดบูรณาการร่วมกับการเจริญสติ หรือ Mindfulness

กลไกสมองและจิตคือหนึ่งเดียวจะมีการทำงานพื้นฐานตามกระบวนการปรับตัวต่อภาวะเครียดบวก/ลบในร่างกาย คลิกอ่านที่นี่ [Acknowledgement of citation at Wikipedia.Org] ตลอดจนผลกระทบต่อการบาดเจ็บทางสมองกับจิต...ทำให้เกิดภาวะอารมณ์ตึงเครียดได้ คลิกอ่านที่นี่ [Acknowledgement of citation at Wellnesswordworks.com] สุดท้ายส่งผลให้สมองแยกจากจิตในสองสภาวะคือ "ความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ หรือ Poor self-esteem" กับ "ความรู้จักในตนเองต่ำ หรือ Poor self-concept" คลิกดาวน์โหลดงานวิจัยที่นี่ [Acknowledgement of ciataion Chavez RS, Heatherton TF. Multimodal frontostriatal connectivity underlies individual differences in self-esteem. Soc Cog Aff Neurosc 2014.] กล่าวถึง "วงจรสมองส่วนหน้าที่มีความสำคัญในการควบคุมจิตสามทักษะ คือ การสือสาร การจัดการอารมณ์ และการจัดการความคิด ให้เกิดการเรียนรู้ในการเติมเต็มคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ที่มีสุขภาวะสมบูรณ์หรือต้องการกู้ใจเป็นพิเศษ"

ศึกษาตัวอย่างโปรแกรมกิจกรรมบำบัดความล้าที่นี่ โปรแกรมกิจกรรมบำบัดย้ำคิดย้ำทำที่นี่ โปรแกรมกิจกรรมบำบัดภาวะนอนหลับที่นี่

ทางอ.แอน อ.เดียร์ และผมใช้เวลากว่า 2 ปีกว่าจะค้นพบ "วงจรบูรณาการกิจกรรมบำบัดและการเจริญสติ"

คำถามสะกิดใจที่จะเพิ่ม "คุณค่าในตนเอง" ผ่านความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองในเรื่อง "ความสามารถจุดแข็งของตัวเองที่มีอยู่และอยากจะพัฒนามากขึ้น" กับ "ความรู้สึกในข้อควรพัฒนาในจุดอ่อนของตัวเอง" จากนั้นจัดบริบท (สัมพันธภาพ) และบรรยากาศ (สิ่งแวดล้อม) ทางสังคมเพื่อเพิ่ม "เจตจำนงค์" ได้แก่ แรงจูงใจ ความต้องการ ความสนใจ และคำตอบจากคำถามสะกิดใจในการเพิ่มคุณค่าในตนเองข้างต้น จากนั้นก็จะตั้งเป้าหมายแห่งชีวิตด้วย "การออกกำลังคิด-จิต-กาย" ได้แก่ เข้าใจดึงประสบการณ์ที่ดีงามออกมาตั้งใจและใส่ใจทำดีเต็มศักยภาพ และเปิดใจยอมรับแก้ไขความผิดพลาดให้เกิดการเรียนรู้พัฒนาตนเองให้เข้าใจและพอใจจนเกิด "นิสัยใหม่ที่มีความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้วยความเป็นอยู่ที่ดี"

ผลลัพธ์ที่ได้คือ การเปิดโอกาสให้ตนเองทบทวนอย่างมีสติสัมปชัญญะจนน้ำตาที่เก็บกดกับเรื่องราวในอดียมากมาย พร้อมๆกับน้ำตาที่กังวลกับเรื่องราวที่คาดหวังมากมาย แล้วเกิดน้ำตาไหลออกมาอยู่กับลมหายใจ ภาพ เสียง สัมผัส ในปัจจุบันขณะ ด้วยความโล่งอกคลายใจ

หมายเลขบันทึก: 607247เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2016 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2016 09:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบพระคุณมากครับพี่ขจิตและพี่ดารนี

ขอบพระคุณมากครับพี่นงนาท คุณยายธี และอ.แอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท