จิตย้ำคิด...สั่นกระตุก...ล้าใจ


กรณีศึกษา Gilles de la Tourette Syndrome เข้ารับการประเมินและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางกิจกรรมบำบัด หลังสั่นกระตุกมากๆ นาน 2 ปี ในวัยทำงาน

กรณีศึกษาท่านนี้ ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์หลังจากได้รับการวินิจฉัยทางการแพทย์เป็น Gilles de la Tourette Syndrome (GTS) ซึ่งมีการบันทึกในวารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 46 เล่ม 3 เดือน ก.ค. - ก.ย. 2544

ดร.ป๊อป จึงเริ่มวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล สื่อ และบริบทตามกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด ดังนี้

1. กรอบอ้างอิงประสาทพัฒนาการ พบว่า กรณีศึกษาคลอดครบกำหนดแบบผ่าออก น้ำหนัก 3, 100 กรัม แพทย์ตรวจพบปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติปกติ มีพัฒนาการด้านการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหวปกติ เมื่อ ดร.ป๊อป ทดสอบปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติในการทรงท่าทางการคลานและการทรงตัว ก็พบว่าปกติ

2. กรอบอ้างอิงการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พบว่า กรณีศึกษามีทักษะทางสังคมไม่เหมาะสมตั้งแต่เรียนชั้น ม. 1 ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ความสนใจสั้น ไม่ชอบคุยกับคนแปลกหน้า/เพื่อนที่ไม่สนิท กระตุกมากขึ้นถ้าเครียดถึง 9/10 โมโหร้ายกับครอบครัว ไม่ย้ำคิดย้ำทำกิจกรรมอย่างซ้ำๆ พูดไม่ค่อยชัด ขยันเรียนจนปวดคอแล้วชอบขยับคอแรงๆ ไปด้านที่ปวด (รักษากายภาพบำบัดมามากกว่า 1 ปี) หายใจขัดๆ กลืนสำลักง่าย มีอาการมากขึ้นตอนศึกษาที่ต่างประเทศ และคุณหมอที่นั้นวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีอาการสั่นกระตุก(Tics) ในกล้ามเนื้อหลายๆ ส่วน ซึ่งกรณีศึกษารู้สึกว่า ควบคุมได้บ้าง แต่ถ้าตั้งใจควบคุมมากก็เหนื่อยกับอาการกระตุกแรงๆ ราว 3 รอบต่อสัปดาห์ อาการกระตุกเรื่อยๆ ตลอดวัน ถ้าตื่นพร้อมมีอาการกระตุกกลางดึกก็จะรู้สึกเหนื่อยล้าและกระตุกมากขึ้น

3. กรอบอ้างอิงความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต พบว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตมีความจำเจ คือ รีบตื่นนอน ทำกิจวัตรประจำวัน (ดูแลตนเอง) 45 นาที จากนั้นขับรถ (พร้อมทานอาหารง่ายๆ ฟังเพลง มีหงุดหงิดบ้างถ้ามีคนขับรถปาดหน้า) เข้าทำงาน เริ่มจากการอ่านและตอบอีเมล์หลายฉบับ (รู้สึกวุ่นวาย) ไม่ค่อยทานข้าวเที่ยงและกินขนมจุบจิบ ช่วงบ่ายต้องควบคุมตนเองไม่ให้กระตุกขณะทำงานต่อหน้าผู้ใหญ่ โดยประสานมือที่กระตุกเร็วๆ ในท่านั่งสลับยืน พอเย็นก็กลับบ้าน ก็พักผ่อนด้วยการทานอาหารเย็น (ไม่ชอบทานข้าวเพราะสำลักง่าย ชอบทานขนมปังแบบเร็วๆ เมื่อทดสอบให้กินขนมปังนิ่มและดื่มน้ำก็ต้องปรับกระบวนการเคี้ยวใหม่) เล่นมือถือ คุยโทรศัพท์ ดูทีวีจากมุมไกลของห้องแบบไม่สนใจมากนัก สนทนากับครอบครัว รวมแล้ว 4 ชม. (มีทำงานที่บ้านด้วย) สุดท้ายทำกิจวัตรประจำวันและเข้านอนทันที

4. กรอบอ้างอิงการจัดการความคิดของตนเอง ในการเพิ่มทักษะการดูแลตนเอง ทักษะการสงวนพลังงาน ทักษะการสื่อสารกับร่างกาย (เน้นการรับรู้และการรู้คิดจากการได้ยินมากกว่าการมองเห็น - เนื่องจากความไวของการมองเห็นลดลงได้ช้า เนื่องจากมีความล้าในการทำงานระหว่างสมองในระดับอารมณ์-ความรู้สึก-จิตใต้สำนึก และสมองในระดับการวางแผนการเคลื่อนไหวอย่างละเอียด-จิตสำนึก-การรู้คิดที่มีความสุข) และทักษะการทำกิจกรรมที่ท้าทายความสามารถของตนเอง แม้ว่าไม่อาจลดอาการกระตุกทั้งหมด ซึ่งคาดหวังในการควบคุมตนเองอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้ถึง 50-80%

5. กรอบอ้างอิงการฟื้นฟูสมรรถภาพในการรู้คิด ด้วยการใช้เครื่องจับชีพจรและเครื่องวัดความไวของการตอบสนองระหว่างตาและมือสองข้างในการเคาะจังหวะ (ครั้งต่อ 10 วินาที) ดังนี้

ก่อนเล่นดนตรี

ข้างขวา (ถนัด) ได้ 55 ครั้งต่อ 10 วินาที ข้างซ้ายได้ 51 ครั้งต่อ 10 วินาที

หลังเล่นดนตรีนาน 5 นาที (กรณีศึกษาใช้มือขวาเล่นข้างเดียว เคยเรียนมาแต่ไม่ได้เล่นนานแล้ว มีอาการกระตุกเกิดขึ้น 7 ครั้ง โดยฝึกหายใจออกลึกๆ ก่อนเข้าลึกๆ 1-5 ครั้งจนกว่าจะรู้สึกสบายไม่กระตุก

ข้างขวา (ถนัด) ได้ 55 ครั้งต่อ 10 วินาที ข้างซ้ายได้ 50 ครั้งต่อ 10 วินาที

หลังเล่นดนตรีนาน 5 นาที โดยให้ใช้สองมือพร้อมกัน ดูโน้ตด้วยการมองแบบสบายๆ พร้อมการหายใจข้างต้นและหลับตา มีอาการกระตุกเกิดขึ้น 5 ครั้ง ชีพจรเต้น 81 ครั้งต่อนาที

ข้างขวา (ถนัด) ได้ 60 ครั้งต่อ 10 วินาที ข้างซ้ายได้ 53 ครั้งต่อ 10 วินาที ชีพจรเต้น 86 ครั้งต่อนาที

...กรณีศึกษามีการจัดการความล้าด้วยการเคลื่อนไหวทำกิจกรรมได้ดีขึ้น (เคาะจังหวะมากครั้งขึ้นของมือทั้งสองข้าง แต่ชีพจรยังดูเกิน 60 ครั้งต่อนาทีมีแนวโน้มเครียดทั้งจากการทำกิจกรรมและการกระตุกขณะทำกิจกรรม ...

หลังเข้าห้องผ่อนคลายจากสื่อที่หลากหลายความรู้สึก (ห้องมืดมีเครื่องเล่นแสง เสียง สัมผัส การแกว่งเปล เบาะนอนผ่อนคลาย) นาน 10 นาที มีอาการกระตุกจากมากลดลงเรื่อยๆ ตามสื่อที่ลดสิ่งเร้าจากการมองเห็น เช่น นอนในอ่างบอล (ไม่มีอาการกระตุก) เปรียบเทียบกับมองฟองน้ำและแสงหลากสีในกระจก (มีอาการกระตุก 4 ครั้ง) รวมถึงการนอนคอยฟังเสียงระฆัง (กระตุก 10 ครั้ง) พร้อมสื่อสารกับร่างกายให้ผ่อนคลายไม่กระตุก นาน 10 นาที (กระตุก 5 ครั้ง) ชีพจรเต้น 69 ครั้งต่อนาที  

ข้างขวา (ถนัด) ได้ 59 ครั้งต่อ 10 วินาที ข้างซ้ายได้ 54 ครั้งต่อ 10 วินาที

...กรณีศึกษามีการจัดการความล้าและความเครียดด้วยการสื่อสารกับร่างกายขณะหลับตาได้ดีขึ้น ปล่อยวางมากขึ้น... 

ดังนั้นจากการใช้กรอบอ้างอิงข้างต้นและประยุกต์สู่การเปรียบเทียบองค์ประกอบของการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในบริบท (สิ่งแวดล้อม) ที่แตกต่างกัน แม้ว่าอาการกระตุกอาจจะลดลงอีก 30%  ด้วยกิจกรรมบำบัด ซึ่งจากเดิมควบคุมได้เองจากกลไกการชดเชยของร่างกายแบบบังคับถึง 50% มานาน 2 ปี แต่ ดร.ป๊อป ในฐานะนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม ได้ออกแบบการบ้านเพื่อการจัดการตนเองและการเพิ่มพลังชีวิตให้มีความสุข ซึ่งขึ้นอยู่กับ "การตระหนักรู้ในทุกวินาทีของการปรับเปลี่ยนความคิดสู่การทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต" และติดตามความก้าวหน้าใน 2 อาทิตย์

  • สอนและแนะนำการจับชีพจรด้วยตนเอง เพื่อให้มีระดับความตื่นตัวและความมีสมาธิจดจ่อในการติดตามการเปลี่ยนแปลงชีพจรของตนเองในช่วงที่เหมาะสมคือ 60-90 ครั้งต่อนาที อาจใส่นาฬิกาที่มีตัวเลขสะท้อนกลับให้เห็นได้ หรือออกกำลังกายบนลู่วิ่งที่มีตัวเลขชีพจรได้ อย่างไรก็ตามต้องไม่หักโหมออกแรงวิ่งทันที ต้องสื่อสารกับร่างกายทุกครั้งในการปรับเปลี่ยนความหนักของการออกกำลังกาย/การเคลื่อนไหวซ้ำๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป (เน้นการเก็บออมพลังงานในการใช้ทำกิจกรรมอื่นๆ อย่างเหมาะสม เพราะอาการกระตุกซ้ำๆ ทำให้ร่างกายสูญเสียพลังงานมากทีเดียว)
  • ฝึกหายใจเข้าแบบ 3 จังหวะจากจมูก ทรวงอก และท้อง อย่างน้อย 5 รอบ เพื่อเพิ่มความตื่นตัวในการควบคุมและการสื่อสารร่างกายให้เหมาะสมขณะที่คาดว่าจะมีอาการกระตุกในสถานการณ์การทำงานที่ใช้ความคิดมากๆ และ/หรือทำงานกับผู้ใหญ่
  • ปรับเปลี่ยนการเคลื่อนไหวที่ไม่เคยชิน เช่น ก่อนติดเครื่องรถ ก็ใช้มือซ้ายจับพวงมาลัยก่อนมือขวา ใช้เท้าขวาแตะส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่คันเร่ง ใช้เท้าซ้ายแต่คันเร่ง จากนั้นก็วางเท้าและมือเหมือนเดิมในการขับรถ
  • ปรับกระบวนการเคี้ยว โดยใช้ลิ้นเคลื่อนอาหารบนฟันกรามซ้ายขวาสลับกันช้าๆ พร้อมก้มคอจิบน้ำบ้าง จะทำให้การกลืนไม่สำลัก และควรทานอาหารกลางวัน ไม่กินจุบจิบ เมื่อขยับขากรรไกรบ่อยๆ ก็จะเพิ่มอาการกระตุก และอาหารมื้อเดียวครั้งเดียวจะสงวนพลังงานได้ดีกว่าหลายครั้งในหนึ่งมื้อ
  • ใช้เทคนิคการพักช่วงสั้นๆ ระดับ 1 แบ่งงานเพื่อทำทีละชิ้นตามความสำคัญ ระดับ 2 ดึงตนเองออกจากที่นั่งในการทำงานเพื่อเปลี่ยนอิริยาบท ระดับ 3 ออกจากบริบทในการทำงานเพื่อทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น การทานน้ำ การเข้าห้องน้ำ
  • การฝึกรับข้อมูลที่น่าสนใจของการอัดเสียงพูดของตนเองแล้วฟังซ้ำเพื่อเขียนหรือนิ่งทำสมาธิฟังข้อมูลแบบสบายๆ ไม่ควรฟังวิทยุ/เพลงซ้ำๆ ขณะขับรถ ควรปรับฟังข้อมูลที่ไม่ซ้ำซาก เช่น ข่าว ข้อความ รายการสด
  • หาโอกาสทำกิจกรรมภายใน/ภายนอกบ้านที่มีความหมายและปรับสิ่งแวดล้อมบ้าง เช่น ดูทีวีแบบตั้งใจ สนทนากับครอบครัวขณะทานอาหารเย็นอย่างไม่เร่งรีบ จัดเวลาไปท่องเที่ยวที่แปลกใหม่/หามุมใหม่ที่บ้านหรือสวน เล่นโยคะกับครอบครัวแทนที่จะวิ่งกับเครื่องอย่างเดียว  
หมายเลขบันทึก: 453227เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2011 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 08:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีค่ะอาจารย์ ดร.ป๊อบ
  • วันนี้ลูกศิษย์ลูกหาอาจารย์ไปร่วม เดิน-วิ่ง เทิดพระเกียรติ ๑๒ สิงหา กันยกคณะเลยมั๊งค่ะ แต่ไม่เห็นอาจารย์ป๊อบเลยค่ะ ..
  • พอดีวันนี้ไปร่วมงาน เปิดประตู MU สู่ ASEAN มีนิทรรศกาล และเวทีเสวนา แต่ทำไมนึกถึงอาจารย์ก็ไม่รู้สิคะ ...
  • ขอบพระคุณสำหรับการตอบรับมาเป็นกูรูด้านเครื่องมือการทำงานชุมชนให้กับทางสถาบัน'อาเซียน นะคะ และขอบคุณที่ตอบรับจะมาในร่วมวงเสวนารอบถัดไปค่ะ ขอเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญทุกท่านทุกคณะค่ะ =)

ขอบคุณครับ อ.ณัฐพัชร์ พอดีไปอบรมการเขียนตำราฯ เลยวิ่งไปร่วมงานไม่ทัน เคยเดิน-วิ่ง 12 ส.ค. ในใจ 555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท