การจัดการเรียนร่วมระหว่างชุมชน


การจัดการคุณภาพ

           บทความเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เป็นความร่วมมือกันระหว่างชุมชนกับโรงเรียนอันนี้ก็น่าสนใจดีลองอ่านดูนะคะ

อบต.ดอยฮาง จับมือร.ร.บ้านผาเสริฐ เปิดหลักสูตรศึกษาวิถีชีวิตชนเผ่า

      “ดอยฮาง” ชุมชนระดับตำบลกลางหุบเขา ราวป่า ภูผาสูง แม้เส้นทางคมนาคมจะเชื่อมต่อกับเขตเมืองเชียงรายไม่ไกลมากนัก แต่กิตติศัพท์ของเส้นทางที่ทุรกันดารระหว่างหมู่บ้าน ผ่านม่านฝุ่นยามแล้งร้อน ทะเลโคลนช่วงฤดูน้ำฟ้าสาดซัด ผสมผสานกับละอองหมอกหนาทึมทึบกว่าครึ่งค่อนปี ก็น่าที่จะบ่งบอกลมหายใจกับวิถีชีวิตของมนุษยชนคนดอยที่นั่นได้เป็นอย่างดีถึง สารทุกข์สุกดิบแห่งการดิ้นรนต่อสู้กับสภาพแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติ เศรษฐกิจครอบครัว กระทั่งการเชื่อมโยงสีสันวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อระหว่างเผ่า !! โรงเรียนเล็กๆในหุบภู ป่าข้าวโพด ล้อมรอบด้วยหย่อมบ้านของชุมชนชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่าและลาหู่ อย่างโรงเรียนบ้านผาเสริฐ หมู่ 6 ต.ดอยฮาง

 อ.เมือง จ.เชียงราย สถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1 ก็เป็นอีกหนึ่งบทบาทและภารกิจของ “ครูไทย”และ “องค์กรปกครองท้องถิ่น”ที่ได้แสดงออกซึ่งความคิดรวบยอดร่วมกันต่อการพัฒนาท้องถิ่นที่ด้อยโอกาสและพื้นฐานเศรษฐกิจครัวเรือนค่อนข้างขาดแคลน โดยการชูธงการพัฒนาการศึกษาของเด็กๆให้เติบโตและมีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาตามศักยภาพและปัจจัยแห่งกระบวนการฟูมฟัก กล่อมเกลา และการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

      นางปิยนี นันทสมบัติ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านผาเสริฐ กับชีวิตครูไทยโรงเรียนปลายดอยจำนวน 7 คน ซึ่งสัมผัสกับวิถีชีวิตและสภาพพื้นฐานของเด็กน้อยนักเรียนชาวไทยภูเขา 2 เผ่า จำนวนกว่า 135 คน ชั้นป.1-6 ทั้งอาข่าและลาหู่ ซึ่งตระหนักดีถึงความแตกต่างที่สัมผัสได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย ภาษา การนับถือศาสนา การนับถือผี การละเล่น การประดิดประดอย (hand made) ประเพณีรูปลักษณ์การปฏิบัติต่างๆ เช่น การเกิด การตาย ฯลฯ ก็แตกต่างกัน แต่เด็กๆจากทั้ง 2 เผ่าก็เรียนหนังสือ เขียน-อ่านภาษาไทย บวกลบคูณหาร ท่องอาขยาน กระทั่ง “คลิ้คเม้าส์”เรียนทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรพ.ร.บ.การศึกษาขั้นพื้นฐาน มิได้ต่างกันแต่อย่างใด ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างและบ่มเพาะสำนึกแห่งการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้พัฒนาเผยแพร่และสืบทอดต่อกันจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างเด่นชัด นอกเหนือจากรูปธรรมแห่งแนวทางการเรียนรู้ตาม “โครงการศึกษาวิถีชนเผ่าบ้านผาเสริฐ” ที่คณะครู-ผู้บริหารร.ร.บ้านผาเสริฐได้ระดมสร้างสรรค์ขึ้นมาแล้ว บทบาทของชุมชนดอยฮางนำโดยนายอินถา ปัญญาบุญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอยฮาง นายพิพัฒน์ ไชยสุรินทร์ ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและนายบุญช่วย ใจกว้าง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 6 บ้านผาเสริฐ ตลอดจนผู้ปกครองนักเรียน ศิษย์เก่า ซึ่งแม้จะมีฐานะความเป็นอยู่ยากจน ตระหนักถึงทุนทรัพย์และทรัพยากรเอื้ออำนวย ไม่พร้อมแม้กระทั่งจะจัดตั้ง “กองผ้าป่าเพื่อการศึกษา” เหมือนสถานศึกษาใกล้ไกลที่มักนิยมร่วมมือสานศรัทธาหาเจ้าภาพร่วมกัน แต่กระบวนการเรียนรู้โดยมี

                ดิฉันคิดว่าหลักสูตรท้องถิ่น ที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางและรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันก็เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพของโรงเรียนด้วยและเป็นอย่างดีด้วยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 453220เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2011 09:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท