หลักสูตร พัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รุ่นที่ 12 (EADP12) (ช่วงที่ 5: 16-17 พฤษภาคม 2559)


ในระหว่างวันที่ 16-17 พฤษภาคม 2559 จะเป็นช่วงที่ 5 ของหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รุ่นที่ 12 (ปี 2559) หรือ EGAT ASSISTANT DIRECTOR DEVELOPMENT PROGRAM : EADP 2016

แม้ว่าจะเป็นการทำงานต่อเนื่องเรื่องคนให้กับ กฟผ. มาปีนี้เป็นปีที่ 12 แต่ผมก็ยังรู้สึกตื่นเต้น และพยายามจะแสวงหาความรู้ที่สด และทันสมัยมาแบ่งปันกับลูกศิษย์ของผมเสมอ

จากการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารของ กฟผ. ในระดับผู้อำนวยการ 3 รุ่น และในระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายอีก 8 รุ่นที่ผ่านมา ผมมีความภาคภูมิใจในลูกศิษย์ของผมที่วันนี้หลายคนเติบโต และเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคม

"ทุนมนุษย์" ใน กฟผ. นั้นเข้มแข็งและมีศักยภาพอยู่แล้ว ผมเป็นเพียงผู้ที่จะช่วยทำหน้าที่จุดประกาย สร้าง Inspiration ให้พวกเขามีพลัง มี Ideas ใหม่ ๆ มีความเข้าใจสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกและพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จ รวมทั้งการทิ้งผลงานหรือสิ่งที่มีคุณค่าไว้สำหรับสังคมไทยของเรา

สำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 12 ในปีนี้ ผมก็หวังว่าจะมีสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการทำงานของ กฟผ. และเป็นการสร้างที่สร้างความสุขให้แก่คนไทยต่อไป และผมขอให้ทุกท่านใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ของพวกเรา และแบ่งปันความรู้เหล่านี้ไปสู่สังคมของเราครับ

ติดตามและส่งความคิดเห็นได้ที่ Blog นี้ครับ


โครงการพัฒนาผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่า รุ่นที่ 12

EGAT Assistant Director Development Program (EADP 12)

วันที่ 16 พฤษภาคม 2559

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ได้กล่าวถึงการทำ Study tour ที่ทำมาแต่ละครั้งอยากให้ทุกคนนำบรรยากาศไปใช้ ซึ่งอาจารย์ศรัณย์จะกลับมาพูดเรื่องความคิดสร้างสรรค์ เป็นแก่นเรื่อง Chira Way เป็นหลักการทำงานของท่าน อยากให้เอาคนหลายกลุ่มมาแบ่งปันความรู้ ในเรื่องความสามัคคีเป็นประโยชน์มากที่สุด และการทำเรื่องใหญ่ ๆ อีก 3 ครั้ง พรุ่งนี้จะเป็นการวิจารณ์หนังสือผู้เขียนจบที่ Stanford จะเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ Stanford ได้นำความรู้จากศูนย์นวัตกรรมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่นเดียวกับ กฟผ. ถ้าใช้ Innovation Imagination และ Leadership ไปทำงานต่อเนื่องจะเป็นประโยชน์

ในอนาคตจะเป็นคนที่ฝึกผู้นำรุ่นใหม่ กระจายความรู้ไปให้หน่วยงานของแต่ละท่านเพื่อฝึกคนขึ้นมา สิ่งที่อยากฝากไว้คือจับแก่น จับ Process วิธีการและใส่ข้อมูลเข้าไป โดยเน้น 2R’s เป็นหลัก เลือกประเด็น Reality and Relevance

อย่างการจัดดูงานที่สุราษฎร์ การมี Value คล้ายกัน เจออุปสรรคแล้วแก้ไข เน้นการสร้างเครือข่ายของ กฟผ.ให้ขยายไปทุกจุด

ช่วงบ่ายวันนี้จะไปศึกษาดูงานที่ศิริราช ซึ่งเป็นโรงพยาบาลของรัฐคล้าย ๆ กับ EGAT

ศิริราชเป็นโรงเรียนแพทย์ชั้นนำของประเทศ มีการตั้งปิยมหาราชการุณย์ขึ้นมา ซึ่งในอนาคต EGAT อาจเป็นอย่างนี้

ที่ทำได้ เพราะอาจปรับเรื่อง Mindset และการบริหารการเปลี่ยนแปลง

การดูกรณีศึกษาแล้วมาเล่าให้ฟังจะเป็นประโยชน์อย่างมาก

การดูกรณีศึกษาที่ปิยมหาราชการุณย์ เน้นการทำธุรกิจใหม่ ๆ ที่ทำได้เพราะมีธุรกิจการรักษาพยาบาลที่ควบคู่กันได้

อยากให้ดู Trend ของโลกเป็นอย่างไร ตัวอย่างเช่นที่ปักกิ่ง นักธุรกิจฝรั่งออกไปจากบริษัทเกือบครึ่งหนึ่งเพราะทนความคิดไม่ได้ อยากให้ใกล้ชิดกัน

ต้องมีการร่วมงานกันเพื่อเอาชนะอุปสรรค

Where are we? Where we want to go? How to do it? How to do it successfully?

ต้องมีการรวมตัวกันเอาชนะอุปสรรค อยากขอให้ทุกท่านรวมตัวกัน


หัวข้อ Creative & Innovative Leadership กับการพัฒนางานของ กฟผ.

: วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน

โดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

เริ่มต้นด้วยการทักทายตามวัฒนธรรมไทยด้วยการไหว้

กิจกรรมที่ 1 ให้แต่ละกลุ่มเขียนคำถามที่อยากได้รับคำตอบ และคำถามเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ เลือกเฉพาะสิ่งที่อยากรู้ และยังไม่รู้ และเลือกเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์ด้วย

คำถาม

  • ทำไมต้องเรียนวิชานี้
  • การสร้างให้เกิดบรรยากาศความคิดสร้างสรรค์
  • การกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
  • ทำอย่างไรให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
  • Creative เหมาะกับใครและเหมาะกับทุกคนหรือไม่
  • การเน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ทำอย่างไร

1. ทำไมต้องเรียนวิชานี้ แล้วเหมาะกับทุกคนหรือไม่

จำเป็นหรือไม่แค่บริษัท Agency โฆษณา ถึงต้องคิดสร้างสรรค์ การเป็นองค์กรไฟฟ้ามีความจำเป็นอย่างไรที่ต้องคิดสร้างสรรค์

อาจารย์ศรัณย์ได้นำเสนอคำคมของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตล์ว่า Insenity is doing the same thing is over and over again แปลว่า ความบ้าหรือฝั่นเฟือนคือการทำสิ่งเดิมแล้วซ้ำแล้วซ้ำเล่าแล้วคาดหวังผลที่ได้ต่างไปจากเดิม

ซึ่งถ้ามนุษย์คนหนึ่งต้องการให้ผลลัพธ์ต่างไปกว่าเดิม จึงต้องหาวิธีใหม่ และทำวิธีใหม่ที่ใช้ความคิดต่างไปจากเดิม ที่เรียนวิชานี้เพราะอยากให้ผลลัพธ์เรา องค์กรเราต่างไปจากเดิมหรือไม่ การทำอะไรต่างไปจากเดิมก็มาจากการคิดและวิธีคิดที่ต่างไปจากเดิม

กิจกรรมที่ 2 จับคู่โดยที่คู่ของเราต้องไม่อยู่โต๊ะเดียวกับเราและมีขนาดรอบเอวพอ ๆ กัน

และใครใส่รองเท้าเบอร์ใหญ่กว่าหรือเป่ายิงฉุบ

1. ให้ผู้แพ้หรือเบอร์เล็กกว่ากล่าวถึง....ถ้าคิดถึงอนาคตข้างหน้าทำอย่างไรให้ผลลัพธ์การทำงานของหน่วยงานเราต่างไปจากเดิมอย่างไร (ใช้เวลา 1 นาที)

2. สลับกันให้ผู้ชนะเล่าให้ผู้แพ้ฟังว่าอยากเห็นผลลัพธ์ต่างไปจากเดิมอย่างไรบ้าง (ใช้เวลา 1 นาที)

กิจกรรมที่ 3 ให้แต่ละท่านเขียนชื่อที่ไม่มีใครรู้ แล้วจับฉลากเพื่อพูดถึงผลลัพธ์ที่คู่ของคนที่ถูกจับฉลากอยากเห็นต่างไปจากเดิม

1. อยากให้เด็กรุ่นใหม่ ๆ มีความสามารถในระดับ Global

2. อยากให้คนย่างกันทำงานเป็นลักษณะ Cooperation

3. อยากให้คู่สัญญาที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อทำงานอย่างราบรื่น

สรุปคือถ้าอยากเห็นผลลัพธ์ที่ต่างไปจากเดิม ต้องทำอะไรต่างไปจากเดิม และต่างจากเดิมได้ต้องมีการคิดที่ต่างไปจากเดิม

และเมื่อทุกคนอยากเห็นผลลัพธ์ที่ต่างไปจากเดิมทุกคนต้องมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ต่างไปจากเดิม

2. Creative เหมาะกับใครจำเป็นต้องทุกคนหรือไม่

ขึ้นอยู่กับว่าคน ๆ นั้นอยากเห็นผลลัพธ์ต่างไปจากเดิมหรือไม่ อาทิ ในชีวิตส่วนตัวอยากเห็นผลลัพธ์ต่างไปจากเดิม

เช่นอยากลดน้ำหนัก เลือกกินของแพงเพื่อให้เงินหมดไม่มีเงินกินเยอะ จะได้ลดน้ำหนักได้

กิจกรรมที่ 4 ให้แต่ละกลุ่มคิดว่าอะไรเป็นความสามารถที่ทำให้มนุษย์คนหนึ่งทำงานแล้วประสบความสำเร็จในการทำงาน มี 2 อย่างที่เป็นแก่น ให้แต่ละกลุ่มเดาว่า 2 อย่างคืออะไร (ในเวลา 1 นาที) คิดเป็น 86%

1. มนุษย์สัมพันธ์

2. ความคิดสร้างสรรค์

ทำไม 2 อย่างนี้ทำให้คน 86 % ประสบความสำเร็จ

เพราะความคิดสร้างสรรค์เป็นจุดกำเนิด ปรับปรุง พัฒนาให้ต่างจากเดิมสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิมจึงประสบความสำเร็จ

การนำความคิดที่ต่างจากเดิมไปสู่การปฏิบัติได้ประสบความสำเร็จต้องทำอย่างไร

ความคิดสร้างสรรค์จำเป็นต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ดี จึงได้รับความร่วมมือในการปฏิบัติจึงเกิด Innovation คือความคิดแปลก ๆ ใหม่ ๆ ไปสู่ความสำเร็จได้อย่างแท้จริง

ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงมีความจำเป็นต่อทุกคน เพราะทุกคนในที่ทำงานอยากประสบความสำเร็จในที่ทำงาน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีความคิดสร้างสรรค์และมนุษย์สัมพันธ์ คิดเป็นสัดส่วน 86% ส่วนอีก 14 % ที่เหลือมาจากปัจจัยอื่น ๆ

3. กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ทำอย่างไร

แรงจูงใจที่ว่าคิดสร้างสรรค์ทำให้ผลลัพธ์การทำงานต่างไปจากเดิม อาทิ

- โบนัส การทำงานให้สบายใจ การทำงานต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำเป็นครั้งเป็นคราว

- ต้องให้รางวัลในผลลัพธ์ที่ต่างจากไป

- ในแต่ละตัวต้องอยู่ที่ Hierarchy ของ Maslow ต้องดูแต่ละระดับความต้องการด้วย

สรุปคือ คำตอบแต่ละคนไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับ แต่ละคนอ่อนไหวในเรื่องอะไร บางคนอ่อนไหวกับความสำเร็จ บางคนต้องการแค่ผลลัพธ์ที่ต่างไปจากเดิม บางคนเรื่องรางวัล แต่ข้อน่าสังเกตคือรางวัลจะดีในระยะสั้น แต่บั่นทอนในระยะยาว

ทุกคนที่เสนอความคิดใหม่ในองค์กร จะมักหลงรักความคิดของตนเอง คิดว่าความคิดตนเองยอดเยี่ยม ทุกคนจะเผลอคิดว่าไอเดียใหม่ของตนเองยอดเยี่ยม และเมื่อมีอาการแบบนี้จะเกิดแนวความคิดว่า กรรมการไม่แฟร์ ลำเอียง หมายถึงเราให้รางวัล 1 คน แต่ทำร้ายคนที่เหลือซึ่งมีมากกว่า และถามว่าคนส่วนมากนั้นจะให้ความร่วมมือหรือไม่ และบางคนที่ต้องการรางวัลจะคิดในลักษณะเอาใจคนตัดสิน ไม่กล้าคิดอะไรที่แปลกจากเดิม จึงไม่อยากให้องค์กรเผลอทำสิ่งที่ผิดพลาดไป

ดังนั้น จึงไม่ให้รางวัลกับไอเดียยอดเยี่ยม แต่ให้รางวัลกับไอเดียผู้โชคดี คนที่มีส่วนร่วมจะรู้สึกว่าไอเดียก็ดีนะ ไม่ถูกฆ่าความคิดสร้างสรรค์ และคนจะกล้าคิดสร้างสรรค์ต่อไป

บรรยากาศฝั่งปิดความคิดสร้างสรรค์

C- Critical วิพากษ์วิจารณ์ - ไม่ดี

L- Lashing เคร่งครัด

O- Opportunistic ปิดกั้นโอกาส

S - Solo หัวหน้าเก่งคนเดียว

E – Egotistical ไร้ความภูมิใจ

D - Dogmatic ความคิดคน ๆ หนึ่งเป็นใหญ่

ให้เราดูบรรยากาศตนเองเป็นแบบไหน

สร้างบรรยากาศฝั่งเปิดความคิดสร้างสรรค์

O- Open minded เปิดใจกว้างทางความคิด

P- Perceptive มองลูกน้องเป็นปัจเจกบุคคล

E- Equal เท่าเทียมกัน

N- Nurturing ทะนุถนอม เปิดโอกาส

E – Encouraging การส่งเสริม

D- Descriptive คุยเรื่องรายละเอียด

องค์ประกอบไหนดีควรรักษาไว้ องค์ประกอบไหนไม่ดีควรเพิ่มเติม จะทำอย่างไร

การคิดสร้างสรรค์ทำได้อย่างไร

1. คิดนอกกรอบ

ความคิดสร้างสรรค์มี 4 M

- Mechanic เป็นกระบวนการคิด คิดตาม Step แต่จะอยู่ได้ต้องมี 3 M ช่วยค้ำ

M แรกคือ

- Mindset ทัศนคติที่ดีให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

- Mood อารมณ์ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

- Momentum ทำอย่างไรให้ความคิดสร้างสรรค์อยู่อย่างยั่งยืนไม่เป็นไฟไหม้ฟาง

4. ทำอย่างไรให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์คือความคิดที่ดีที่มีในหัว

มีกรอบสังคม ขนบธรรมเนียม ประเพณี กฎหมาย ทำให้กรอบบางลง

ความคิดสร้างสรรค์เป็นความคิดที่แบบซน ๆ ดื้อ ๆ ถ้าคิดให้ถูกความคิดสร้างสรรค์ต้องทำกรอบให้บาง ๆ และคิดไอเดียข้างนอก คิดนอกกรอบองค์กร ผิดนโยบาย ผิดระเบียบได้ ผิดงบประมาณได้ ทุเรศได้ เป็นไอเดียที่อยู่นอกกรอบ

การคิดคร่อมกรอบ

การบ่มความคิดสร้างสรรค์ ให้นำเข้ากรอบองค์กรและสังคม เป็นเรื่องราวความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นแบบนอกก็ไม่ใช่ ในก็ไม่เชิง เป็นการคิดคร่อมกรอบ

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมแนะนำตนเอง ให้คิดหาคำแนะนำตัวเอง 4 คำแนะนำ

1. รูป อยากให้เราเป็นเสมือนรูปอะไร

2. รสชาติ อยากเปรียบตัวเราเป็นรสชาติอะไร

3. กลิ่น อยากให้เปรียบเป็นกลิ่นอะไร

4. เสียง อยากให้รู้จักเราเป็นเสียงของอะไร

5. สัมผัส อยากแนะนำว่าเราเป็นสัมผัสของอะไร

บางคนคิดออก บางคนคิดไม่ออก จึงขอถามว่าคิดไม่ออกจริง ๆ หรือไม่ยอมให้ความคิดมันออก คิดแล้วเก็บไว้ คิดแล้วกักไว้ ติดกรอบความคิด

เราเกิดขึ้นมาพร้อมความคิดที่สร้างสรรค์ เป็นความคิดที่เต็มไปด้วยการตั้งคำถาม ความคิดสร้างสรรค์ติดตัวมนุษย์ทุกคนมาตั้งแต่เกิด

ตั้งคำถามอยากรู้อยากเห็นไม่เหมือนใคร

แต่พออายุมากขึ้น เราจะเจอความคิดว่า ทำไมคิดไม่เหมือนชาวบ้าน ทำไมถามเยอะ ทำให้เปลวไฟน้อย ๆ จำกัดความอยากรู้อยากเห็น จำกัดการตั้งคำถาม จำกัดการมีความคิดไม่เหมือนคนอื่น ขอถามว่า สามารถจุดความคิดสร้างสรรค์มาใหม่ได้หรือไม่

ความคิดสร้างสรรค์เป็นส่วนอยู่ในสมองซีกขวา ตัวผลิตความคิดสร้างสรรค์ยังอยู่ ซึ่งสามารถจุดกลับมาติดใหม่ได้ วิธีการ

1. หากรอบให้เจอ

2. สลายกรอบ

3. จุดเปลวไฟให้ติดได้

สรุปคิดนอกกรอบคือคิดติดกรอบ หาให้เจอและทำลายก่อน แล้วคิดนอกกรอบ แล้วค่อยดึงให้เข้ากรอบสังคม

กรอบความคิด คนที่จำกัดกรอบคือตัวเราเอง ถ้าทำได้จะทำให้เราคิดนอกกรอบได้ เป็นความคิดดิบ ๆ

อะไรคือกรอบความคิด

การคิดนอกกรอบคืออย่าเอาตัวไปอยู่ในกรอบ (อาร์เธอร์กล่าว)

กรอบที่กักกั้นความคิดสร้างสรรค์คนส่วนใหญ่ในผู้เชี่ยวชาญรายนี้คือ การยึดติดอยู่กับภาพลักษณ์ของตนเอง การสร้างความประทับใจ การSensor ตัวเอง การเดินตามผู้อื่น และความกลัว

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่ามนุษย์เรียนรู้เพราะต้องการเป็นที่ยอมรับ ชอบการเป็นกลุ่ม ไม่ชอบแตกแถว ต้องการอยู่ในกรอบของสังคม จึงสร้างให้อยู่ในกรอบ

แต่เรามีส่วนหยุดขีดจำกัดที่ทำให้ความคิดสร้างสรรค์ชะงัก ซึ่งนักสร้างสรรค์แท้จริงจะต้องไม่ถูกกฎเกณฑ์ กติกาดังกล่าวยึดไว้

จริง ๆ แล้วทุกคนมีไอเดีย มีความคิดใหม่ ๆ แต่เราไม่สามารถพลักดันความคิดได้ เพราะเรากลัวผิด เรากลัวแตกต่างจากคนอื่น

ถ้าเป็นนักคิดสร้างสรรค์ เขาก็เป็นส่วนหนึ่งของคนส่วนใหญ่ก็จริง แต่อาจมีความคิดที่ต่างไปจากคนในกลุ่ม

อย่างไรก็ตามเมื่อความคิดสร้างสรรค์ถูกตัดตอนเพราะกระบวนการหล่อหลอมของสังคม

ความคิดสร้างสรรค์ก็สามารถถูกต่อเติมขึ้นมาได้ด้วยเช่นกัน

1.ความกลัว

ทุกครั้งที่กลัว ให้ถามว่าที่ไม่กล้าคิดอะไรแปลก ๆ กลัวอะไรอยู่

- เป็นความรู้สึกหลอก ๆ ไม่มีอะไรเป็นตัวตน ความกลัวก็หายไปได้

- แต่บางคน กลัวผิด กลัวเจ้านาย กลัวไม่เข้าสังคม

ให้ถามต่อว่า แล้วไง

- ถ้าผิดแล้วก็สามารถแก้ไขได้ ก็จะพบว่าไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

หรือบางทีไล่ไปแล้วเจอต่อ

- เช่นกลัวหัวหน้าไม่ชอบความคิด แล้วไงต่อ ย้ายไปที่อื่น แล้วไงต่อ แล้วไล่ออก

ขอถามว่าจริงหรือไม่

- ถ้าลูกน้องเสนอความคิดใหม่ที่หัวหน้าไม่ชอบแล้วไล่ออกหรือ ไม่ หัวหน้าตอบว่าไม่จริงหรอก สามารถเสนอความคิดใหม่ และคุยกันได้ ลูกน้องฟังอยู่ด้วย ก็รู้ว่าไม่จริง ก็กล้าเสนอความคิดใหม่ได้

หรือถามว่า คิดแปลกแล้วตายหรือไม่

1.กลัวอะไร 2.แล้วไง 3.จริงหรือไม่ 4.ตายไหม

ทั้ง 4 คำถามจะให้ความกลัวหายไป และถ้าไม่มีเวลาไล่ 4 คำถาม ถามคำถามเดียวว่าตายไหม

5. จุดความคิดสร้างสรรค์

เมื่อเรามั่นใจว่าเรามีของ เราก็จะแสดงของออกมา อีกก้านคือทัศนคติหรือความคิดต่างจากคนอื่น

การมั่นใจว่ามีของ คือมีความคิดสร้างสรรค์หรือไม่

เมื่อพูดถึงความคิดสร้างสรรค์ส่วนใหญ่นึกถึงใคร

ตัวอย่านักประดิษฐ์ที่มีความคิดสร้างสรรค์เช่น สติฟจอบ เกรแฮม เฟลมมิ่ง

แล้วถามว่าเรามีความคิดสร้างสรรค์หรือไม่

ความคิดสร้างสรรค์มีหลายประเภท เช่น นักประดิษฐ์ นักประพันธ์ นักผจญภัย ผู้นำทาง นักสำรวจ ผู้มีวิสัยทัศน์ นักบิน นักประสานเสียง

จะรู้ว่าเป็นอย่างไรต้องรู้รหัสประจำตัวเราก่อนว่าเป็นแบบใด

กิจกรรมที่ 6 การค้นพบความคิดสร้างสรรค์ของตนเองว่าเป็นแบบใด ให้หันหลังทดสอบว่าเป็นซ้ายหรือขวา จากคำถาม 4 ชุด จะพบว่าเราเป็นประเภทใด E/I S/N T/F J/P

ESTP,ESFP นักผจญภัย (The Adventure)

ISTJ ,ISFJ ผู้นำทาง (The Navigator)

INTJ, INFJ ผู้มีวิสัยทัศน์ (The Visionary)

ISTP,INTP นักประดิษฐ์ (The Inventor)

ENTP,ENFP นักสำรวจ (The Explorer)

ESTJ, ENTJ นักบิน (The Pilot)

ESEJ, ENFJ นักประสานเสียง (The Harmonizer)

ISFP, INFP นักประพันธ์ (The Poet)


ตัวอย่างความคิดนอกกรอบ

1.คิดแบบไม่มีกังวล เช่น สื่อการเรียนการสอน ทำอย่างไรจะนำเรื่องการพนันมาใช้ในห้องเรียนเพื่อกระตุ้นการเรียนการสอน การจุดอโรมาเทราปีในห้องเรียน ควักลูกตาพนักงานที่ห่อของเพื่อไม่ให้อ่านฉลากออก

เป็นลักษณะความคิดแบบโพล่ง ๆ คิดแบบไม่มียั้ง ปราศจากความกลัว ยังคงเป็นความคิดดิบ ๆ

ทำอย่างไรให้ความคิดนอกกรอบนำสู่ความคิดคร่อมกรอบ คืออยู่ในกรอบสังคม สังคมสงบสุข เรียกว่า PPCO (4 Step ในการคิดคร่อมกรอบ)

1. Pluses การตั้งใจคิดถึงข้อดีของไอเดียประหลาด ประหลาด เช่น ถ้าจุดอโรมาในห้องสัมมนาจะดีอย่างไร เช่น บรรยากาศดี แตกต่างจากทั่วไป คนจำได้

2. Potential ข้อดีในอนาคต เช่น มีการขายอโรมาในหลังห้อง คนเรียนจำได้ เป็นตัวกระตุ้นให้ไม่ลืม

3. Concerns ติดขัดอะไร กรอบอะไร เช่น อโรมา จุดไปจะผ่อนคลาย อาจทำให้คนหลับทั้งห้อง อโรมา กระปุกนิดเดียวกว่าจะจุดได้หอมทั่วห้อง

4. Opportunities ทำอย่างไรถึงหลบ Step 3 หรือเลี่ยง Step 3 ไม่ให้กังวล คือ ทำอย่างไรให้หอมเร็ว เช่น ใช้หม้อสุกี้ เอายาหม่อง และยูคาลิปตัส เข้าไป คนในห้องตื่นหมด ทำให้ห้องเรียนคึกคักและหอมเร็ว

จากไอเดียควักลูกตาที่ห่อของ ไม่ให้อ่านมากออก จะทำให้เป็นไอเดียที่อยู่คร่อมกรอบได้อย่างไร ทำอย่างไรให้ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดหลักมนุษยชน ก็จ้างคนตาบอดมาทำแทน

ถ้า O เคลีย C ได้ไม่หมด ให้เก็บไว้ก่อน อย่าเพิ่งนำมาใช้ให้เก็บไว้ก่อน แต่ถ้า O เคลีย C หมดก็ให้นำมาใช้

พยายามถามตัวเองว่าเราเป็นนักคิดสร้างสรรค์แบบใด เพราะอะไร

กิจกรรมที่ 7

1. ให้ทุกคนเขียนความประทับใจที่ได้รับในวิชานี้ มีสิ่งใดบ้าง (เนื้อหา กิจกรรม ฯลฯ)

2. แนะนำว่าควรจะลดอะไรหรือเพิ่มอะไรบ้างในเวลาที่จำกัด

3. ถ้ามีคำหรือประโยคเป็นภาษาพูดมีอะไรที่จะบอกให้คนที่ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวกับหลักสูตรนี้

4. มีอะไรอยากจะบอกวิทยากรแบบส่วนตัวบ้าง

คำถาม

กรอบความคิดของคนเราไม่เท่ากัน ขอถามว่ามีเครื่องมือวัดกรอบความคิดหรือไม่ว่าแต่ละอาชีพมีกรอบขนาดไหน เพราะคนเหล่านี้มีกรอบสังคม กรอบกฎหมาย ภายในตนเอง เราจะมีการวัดขนาดกรอบเหล่านี้ได้อย่างไร

ตอบ กรอบองค์กรมีผลต่อกรอบความคิด ยิ่งอยู่องค์กรนี้มากจะมีผลต่อกรอบความคิดเรา แต่โดยพื้นฐานแล้วคือความกลัว เช่นองค์กรที่มี Senerity มากก็มีกรอบความกลัวในหัวหน้า หรือ อย่างทหารก็กลัวกระสุนเป็นต้น แต่การวัดยังไม่มี

2. บางครั้งกรอบความคิดของคนอาจขยายใหญ่โตมากกว่า อาจทำงานในแต่ละประเภท กรอบความคิดจะขยาย

ตอบ 1. กรอบความคิดมี 2 ความหมาย คือ 1. Frame of reference คือมีอะไรอ้างอิงความคิดเรา จะเป็นลักษณะแนวปรัชญา หรือวิธีคิด อาจตอบไม่ได้ และ 2.อะไรที่เป็นกรอบที่จำกัดความคิดเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่พูดถึงในวันนี้


หัวข้อ ศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

โดย ศ.คลินิก นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีณิณ

เคยมีความสัมพันธ์กับ EGAT เนื่องจากเคยไปตรวจโรคที่ EGAT และพบว่าส่วนใหญ่สุขภาพร่างกายแข็งแรง

เรื่องการบริหารจัดการ องค์ความรู้

กลยุทธ์ในการบริหารจัดการ SiPH ทำไมถึงต้องเป็นโรงพยาบาลนี้ ก่อนอื่น ยากจึงได้จัด Pilot เล็ก ๆ ชื่อว่า The heart by Sirirat

ศิริราชเกิด 128 ปีเต็ม 26 เม.ย. 2431 ในสมัยนั้นเสียพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ทรงพระประชวรด้วยโรคไทฟอยด์ ไม่สามารถรักษาหายได้ พระองค์ท่านจึงมีความประสงค์จะสร้างโรงพยาบาลรัฐเพื่อประชาชน ได้นำพระเมรุมาสร้างเป็นโรงพยาบาลรัฐแห่งแรก

ศิริราชพยาบาลจึงเป็น รพ.รัฐแห่งแรก เป็นต้นกำเนิดโรงเรียนแพทย์แห่งแรกของประเทศไทย

พันธกิจของโรงเรียนแพทย์

- การเรียน การสอน

- การบริการ

- การวิจัย

ใน 2 – 3 ปี มีจำนวน 1.6 ล้านคน รายจ่ายของศิริราชขณะนั้นรัฐบาลช่วยถึงอยู่ได้

ภาพลักษณ์ในการมองศิริราช เสมือนสิงโตคือใหญ่ที่สุด แต่ทำไมต้อง Change

1. ปี พ.ศ. 2546 คือเกิด Treat เริ่มมีการนโยบายคัดงบประมาณ ให้องค์กรรัฐสามารถเลี้ยงตัวเองให้ได้ เหมือนกับมหาวิทยาลัยต้องออกนอกระบบและต้องเลี้ยงตัวเองให้ได้ ม.มหิดลถูกคาดการณ์ว่าจะต้องออกนอกระบบ และคณะแพทย์อยู่ในม.มหิดลจึงต้องออกนอกระบบ ดังนั้นจึงเป็น Treat ที่ ศิริราชต้องปรับตัว

2. คนไข้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ รายจ่ายได้เพิ่มมากขึ้น แต่ถูกรัฐบาลตัดอีก 20 %

สังเกตได้ว่าเป็น Treat ที่มองเห็น แต่ถ้าไม่ได้เตรียมการณ์จะมีปัญหา

3. ปี พ.ศ. 2546 มี 23 โรง ปี พ.ศ. 2554 โรงพยาบาลขึ้นเป็น 98 โรงพยาบาล สิ่งที่เกิดขึ้นคือทางการแพทย์ต้องเป็นสาย Professional และการสร้างแพทย์เป็นการสร้างที่ยากมากเพราะต้องอาศัยประสบการณ์ด้วย ดังนั้น จึงต้องพยายามให้คนอยู่ในระบบให้ได้

ดังนั้นถ้าต้องการสานฝันโรงพยาบาลให้เป็นโรงพยาบาลของแผ่นดินได้จะทำอย่างไร

สิ่งเดียวที่คาดว่าทำได้คืองานบริการ ท่านคณบดีบอกว่าถ้ารอหมอขึ้นมาผู้บริหารจะเสียหมอไป จึงมีแนวคิดทำ Business heart center

ดังนั้นในปี 2546 จึงได้ Set Scale เล็ก ๆ The Heart by Siriraj สรุปคือ ถ้าศิริราชจะทำแบบโรงพยาบาลเอกชน ถามว่าจะมาใช้บริการหรือไม่

พบว่า มีบางส่วนบอกใช้ บางส่วนบอกไม่ใช้ และมีหลายส่วนที่ไม่เชื่อว่าทำได้ แต่ที่ทำเพราะมีบอกว่าถ้าทำได้จะมารักษาพยาบาล

องค์ดาไลลามะ เคยให้พรปีใหม่ และมีข้อหนึ่งที่บอกว่าให้ศึกษากฎทุกอย่างอย่างละเอียดและถ่องแท้ เพราะเมื่อแหกกฎจะได้แหกกฎได้ถูกต้อง

จึงได้เริ่มทำขึ้นในเวลาปีกว่า ใช้ที่เก่าศิริราช เกิด The heart of Siriraj ขึ้น

ทำอย่างไร ?

ถามความคิดเห็นจากคุณป้าทองคำ ว่าจะทำอย่างไร ? คุณป้าบอกว่าทำได้แต่ Rebrand ใหม่ เชื่อว่าศิริราชทำได้แน่นอนเพราะแบรนด์ดี แต่ก็สามารถเจ๊งได้ สิ่งที่ต้องระวังคือ Culture

ตอนเริ่มต้นเปิดแค่ 21 เตียง ใช้เวลา 2 ปี พบว่าใช้เวลาทำ 3 ปีแล้วจะกลับไปเป็นหมอ แต่โครงการสร้าง Delay จึงใช้เวลาทำ 5 ปี

สิ่งที่พิสูจน์ คือจะพิสูจน์อะไร

ทำไมต้องเกิด นั้นมีความจำเป็น และเมื่อเกิดจะทำอย่างไร ต้องมีการเลือกวิชาการและเริ่มต้นด้วย Small Scale

สรุปคือ ศิริราชมี 2 Campus คือที่เดิม 128 ปี และที่ปัจจุบัน

1.เพื่อหารายได้สนับสนุนในการดำเนินงานศิริราชพยาบาล

2.รักษาและธำรงไว้ซึ่งบุคลากร

3.พัฒนาศิริราชสู่องค์กรสากล

4. นำองค์ความรู้บริหารและบริการใช้ร่วมกันระหว่าง SiPH กับหน่วยงานอื่น

ปัจจุบัน ศิริราชมีการให้บริการทางการแพทย์เหมือนเครื่องบินลำหนึ่ง มี Business Class นอกเวลา ขอถามว่า SiPH สื่ออะไร

ในเชิงวิชาการทั้ง 2 ส่วนเหมือนกัน Core เหมือนกัน แต่ในด้านบริการมีความรวดเร็วขึ้น จึงได้นำส่วนต่างนั้นมา

สิ่งที่อยากฝากไว้คือ การไฟฟ้าจะมีการปรับตัวอย่างไร

แต่ก่อนไม่เคยคิดว่าองค์กรใหญ่ ๆ ล้มได้ แต่อยากให้ดูว่าทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่มาเร็วกว่าที่คิด เช่น Kodak Nokia เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่า Treat ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกับอุตสาหกรรมคือด้านไฟฟ้า ทุกอย่างต้องมีการปรับเปลี่ยน ไม่เช่นนั้นจะเจ๊งได้ ตัวอย่างเช่นรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน อาจเปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้าและไม่มีคนขับ เป็นต้น หรือ Uber อาจมีมากขึ้นกว่าเดิมและราคาถูกลงเป็นต้น

Business Model

- เป็นโรงพยาบาลรัฐ แต่มีการบริหารจัดการแบบพิเศษ

- รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเอง

- ระดับการรักษาเท่ากับศิริราช และเป็นมาตรฐานสากล (JCI)

- 80% ของโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ

- เทียบเท่า รพ.เอกชนชั้นน้ำ

จากโจทย์ สิ่งที่กลัวคือ กลัวไปไม่รอดเนื่องจากไม่ใช่มืออาชีพ

นพ.ประเสริฐ ปราสาททองโอสถ เจ้าของ Bangkok Airways และโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้เชิญไปพบ 15 นาที กล่าวว่า เมื่อให้มาแล้วให้เปิดโรงพยาบาลเลย ถ้ามองว่าไม่อันตรายต่อคนไข้ แล้วเรื่องกฎ ระเบียบ กติกา ค่อยตามมา

Concept ถ้ามาใช้บริการที่นี่จะเป็นผู้รับและผู้ให้ในเวลาเดียวกัน ผู้รับคือรับบริการแบบ ศิริราช และให้เพราะกำไรทุกบาททุกสตางค์จะคืนกลับไปช่วยสังคม

คาดว่าจะติด 1 ใน 3 ที่สามารถไปได้ด้วย Strategic Goal

Vision & Mission

Vision

One of the most admired hospital in Thailand 2016

Mission

To provide best clinical care with contribution back to Siriraj and Society

Strategic Goals

World – Class Tertiary Care

High level of Integrity & Ethic

Homey Hospital

Customer Centric

Viability & Sustainability

โดยทั้ง Siriraj และ SIPH จะมีการใช้ People ,Culture /Core ,IT เป็นตัวค้ำ

เป็น World Class Tertiary Care

เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

และอยู่ได้อย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 1 World – Class Tertiary Care

มาตรฐานคุณภาพของ SiPH

เป็นโรงพยาบาลรัฐแห่งแรก มี Alignment ช่วยเรา

ใน JCI ก็ได้ Certified ของข้อเข่า

ได้ ISO ห้องปฏิบัติการ

ได้ APSIC

ได้ ISO ของ IT

สรุปคือในระดับ World Class คิดว่าผ่าน ความยากของโรค สามารถรักษาได้

ยุทธศาสตร์ที่ 2 High level of Integrity & Ethic

ยึดเป็นตัวสำคัญ เป็นสิ่งที่คนไข้คาดหวังมาก

ยุทธศาสตร์ที่ 3 Homey Hospital

พยายามทำให้รู้สึก Homey ให้ได้ สร้างความอบอุ่นในหลายด้าน เช่น วันเกิด มีกิจกรรมสิ้นปี ให้รางวัล บางอย่างรับไม่ได้ที่ต้องพินอบพิเทา แต่เน้นการสร้าง Homey แทน

SiPH Homey วัดด้วย Engagement ของพนักงาน มีการสำรวจความพึงพอใจของพนักงาน

มีการสำรวจปัจจัยที่ชอบมากที่สุดและไม่ชอบมากที่สุด

SIPH Homey

ทักทาย

ไต่ถาม

ช่วยเหลือ

จริงใจ

ให้จดจำ

ตอกย้ำ

ผลการสำรวจความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร 2015

พบว่า

3 อันดับปัจจัยที่พนักงานรู้สึกพึงพอใจมากที่สุดใน SIPH

- ทิศทางที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือ

- คุณภาพและการมุ่งเน้นลูกค้า

- การบริหารผลการปฏิบัติงาน

3 อันดับปัจจัยที่พนักงานรู้สึกพึงพอใจน้อยที่สุดใน SiPH

- อำนาจและการให้อำนาจ

- ความเคารพและการให้การยอมรับ

- ค่าจ้างและสวัสดิการ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 Customer Centric

วัดจาก Customer Satisfaction Index มีการทำ Net Promoter Score คือสอบถามว่าเมื่อมา รพ.จะบอกต่อคนอื่นหรือไม่ พบว่าคนไข้เป็นกระบอกเสียงแทนเรา

เราพบว่า มีคนไข้ผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

IT ตัว Support HIMss คือตัว Stage ที่สูงที่สุด

อัตราการเสียชีวิตจาก Medical Error ขึ้นเป็นอันดับ 3 ของอเมริกา ประเด็นไม่ใช่อยู่ที่แพทย์ไม่ดี แต่อยู่ที่ Process ต่าง ๆ ดังนั้น JCI ดีมากเพื่อเป็นการ Check ความผิดพลาดในแต่ละด้านเป็นลักษณะ Double Check

ตัว Culture กับ Core Value เอามาจากวิสัยทัศน์ และพันธกิจ

Integrity ต้องเป็นมืออาชีพ

ยุทธศาสตร์ที่ 5 Viability & Sustainability

มีการอบรมหลักสูตรเพื่อผ่านมาตรฐาน JCI มีความคาดหวังที่สูงมาก มีเรื่องทักษะการให้ข้อมูล

Work in harmony , serve other

Core Value of SiPH

S- Sense of Speed

I- Integrity

P- Professional

H- Homey Hospitality

รากคือ Core Value

SiPH Competency framework

1. Core Competency คือสิ่งที่พนักงานต้องมี แยกเป็น

- Functional Technical

- Functional Behavioural

- Leadership Competency (Fundamental behavioral characteristics of outstanding leaders)

และมี Segment ย่อย ๆ ในการประเมิน และ Implement

Core Competency 7 คุณสมบัติของ SiPH ที่เราจะมีร่วมกัน

1. Work in harmony ร่วมใจ ไร้รอยต่อ

2. Esteem others เห็นคุณค่า ให้เกียรติ เคารพ ผู้อื่น

3. Responsible for society ปฏิบัติหน้าที่เต็มความสามารถเพื่อตอบแทนสังคม

4. Serve others เห็นใจ เข้าใจ ความรู้สึกของผู้อื่นด้วยหัวใจ

5. Integrity ซื่อตรงต่อหน้าที่ วิชาชีพ และมีจริยธรรม

6. Professional expertise หมั่นพัฒนาตนเองให้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ

7. Hospital commitment ผูกพันต่อองค์กร ทุ่มเทความสามารถในการทำงาน

สมรรถนะของผู้นำ SiPH (พฤติกรรมอันพึงประสงค์สำหรับผู้นำ SiPH)

1. Lead to inspire – นำเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ

2. Drive to excellence- มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ

3. Stakeholders and network management – บริหารสายสัมพันธ์

4. Strategic Orientation – นำคิดอย่างยุทธศาสตร์

5. Business acumen – ปราดเปรื่องเชิงธุรกิจ

Development tool for business excellence

1. Core Value

2. Core Competency

3. Service Culture

Attitude is a little things that makes a big difference” Winston Churchill

สรุปคือเป็นการ Run ตาม Organization โครงการฯ ตั้งแต่ต้นโครงการฯ มีการ Set Goal ใน 5 ด้าน มีการทำ Survey ซึ่งเป็นความท้าทายทั้งข้อดี และไม่ดี และถ้าไม่ผ่านจะตอบโจทย์อย่างไร

มีการทำ Brand Health Check เมื่อปี 2559 ในปีงบประมาณ

ตัวอย่างโรงพยาบาลชั้นนำได้แก่ ร.พ. กรุงเทพ บำรุงราษฎร์ สมิติเวช SiPH

มีการสำรวจความพึงพอใจผู้ใช้บริการ ผลออกมาดีเช่นกัน

สรุปคือสิ่งที่สร้างมาต้องเริ่มจาก Core Value คือความเชื่อก่อน แล้วจามด้วยพฤติกรรมการทำงาน Core Competency และพฤติกรรมที่แสดงออกต่อผู้รับบริการ Service Culture

แต่สิ่งที่สำคัญคือคนที่ช่วย Support ไม่ให้เกิดปัญหาในการบริหารใน 4 ปี

คำถาม

1. อัตราการเจริญเติบโตเพิ่มทุกปี มีแนวทางในการขยายสาขาหรือบริการมากกว่านี้หรือไม่

ตอบ คิดว่าจะไม่เพิ่มเพราะวางแค่ให้ศิริราชเลี้ยงตัวเองได้เพื่อเลี้ยงประชาชนได้ เต็มที่ 2500 เตียง ไม่ได้หวังกำไร และเมื่อมองสัดส่วนในการลงทุนสูงมาก แต่รายได้เปรียบเทียบกับลงทุน 20% ซึ่งถ้าทำได้อาจเพิ่มแค่หวอดมากขึ้นเพื่อให้คุ้มเพราะทุนสูง

2. ทางโรงพยาบาลมีการจัด Priority อย่างไร

ตอบ เหมือนโรงพยาบาลเอกชนได้เลย เข้ามาได้เลย

3. เรื่องการนำเสนอโครงการมีการนำเสนอ Feasibility Study มีวิธีการนำเสนออย่างไร มีจุดชี้วัดว่าคุ้มทุนหรือไม่อย่างไร

ตอบ ตอนที่สร้างตึก มีการชักจูงรัฐบาลยุคนั้นว่าจะสร้างเป็น One of the most business hospital in South East Asia ด้วย Business service and research เป็นการลงทุนที่ไม่ใช่เงินอย่างเดียว ตอนได้ Net Profit กะไว้ 5 ปี เพราะต้นทุนสูง ซึ่งถือว่าพอใช้ได้ แต่ไม่ได้ทำ Feasible Study

4. บุคลากรที่อยู่ตรงนี้มาจากที่ไหน

ตอบ Set up Core Team มีเรื่อง System เป็นพนักงานโดยตรงด้วยข้อบังคับตนเอง มีการจ่ายเงินคืนให้ศิริราช อยากอยู่ที่นี่ มีการทำงาน Full time ดูแลผู้ป่วยทั้งหมด มีกติกาในมหาวิทยาลัยทั้งหมด มีการบริการทางวิชาแพทย์ จะเอาแพทย์ที่เป็นอาจารย์มา โดยจะใช้เวลาทำงานราชการ 5 ชั่วโมง และเวลาที่เหลือถึงมาทำงานที่ SiPH

Full time ทั้งหมดเป็นของที่นี่ Consult เป็นของศิริราช

5. คนที่เก่งมากได้ข่าวว่าจะมาทำที่นี่

ตอบ ไม่มา เพราะคนเก่งมากส่วนใหญ่ไปรักษาที่ ร.พ.เอกชนอยู่แล้ว แต่เริ่ม Concept เราต้อง Change Management ให้ได้ ต้องมีการสื่อและอธิบาย Concept การมารักษาที่ SiPH ว่าจะเป็นโรงพยาบาลที่เป็นผู้รับและผู้ให้ที่ช่วยศิริราชเอง

6. การเปรียบเทียบกับ กฟผ.เรื่องการสำรวจความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรพบว่าค่อนข้างแตกต่างกันพอสมควร อย่างกฟผ.เปอร์เซ็นต์สูงกว่าเยอะ มีประเด็นโรงพยาบาลด้านหนึ่งคะแนนไม่มากนัก ถามว่าเมื่อการจัดการประเมินอย่างนี้แล้วทำอย่างไร และทำไมถึงต้องทำปีเว้นปี

ตอบ เป็น ร.พ.ใหม่ และรู้ปัจจัยตั้งแต่เริ่มต้น คิดว่าปีเว้นปีเร็วไปด้วยซ้ำ จริง ๆ อยากทำ 3 ปี แต่ถ้าเราแก้อาจต้องใช้เวลา ซึ่งอาจแก้ไม่ได้ภายในเวลา 1 ปี และเมื่อเจอแล้วแก้หรือไม่ มีการสำรวจ มีการแยก Leader Hospital มีการแยกแผนกเภสัช ให้บริษัทที่ทำรับไปเลย ทุก Module ไปแตะและสื่อสารกับลูกน้องอย่างไร และบางปัญหาไม่ได้ Impact ต่อองค์กร ซึ่งพอไปสื่อสารจะเริ่มดีขึ้น พนักงานยังไม่เข้าใจ ตัว Module ต่าง ๆ ต้องไปชี้แจงเอง

7. Model SiPH มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่

ตอบ ขึ้นอยู่กับ Culture องค์กร ความแตกต่างองค์กรนั้น ๆ

8. ที่เชียงใหม่ มีศรีพัฒน์ เหมือนที่ SiPH หรือไม่

ตอบ ศรีพัฒน์มีค่าแพทย์ คล้าย Premium รามา ทำแบบรามาแต่แยกต่างหาก ในราคาที่เชียงใหม่

9. SiPH ใช้ Resource มาจาก ศิริราช คิดว่าในอนาคตจะมีเพิ่มอีกได้หรือไม่ เพราะคิดว่าคนมาใช้บริการศิริราชน้อยลง พบว่าค่ายาในเดือนนี้ต่างจาก 3 เดือนที่แล้ว อยากทราบว่าค่าบริการที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากอะไร ความต้องการใช้บริการใน รพ.ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว เป็นไปได้หรือไม่ที่จะสนับสนุนให้อย่าง รพ.ศิริราชเพิ่มมากขึ้น ทำให้โอกาสเข้าถึงมีมากขึ้น

ตอบ การเพิ่มไม่แน่ใจ เพิ่มหรือไม่ กรมบัญชีกลางเป็นคนจัดการ คนไข้ทุกคนมีสิทธิในการใช้อยู่แล้วเพียงแค่จะใช้สิทธิอย่างไร กรมบัญชีกลางเป็น Provider ซึ่งสามารถจัดได้ และค่าบริการในแต่ละแห่งไม่เหมือนกันเพราะต้นทุนต่างกัน ต้องตอบได้ว่าระบุว่าอะไร เราต่างเพราะอะไร ที่จอดรถมีหรือไม่ ศิริราชตอบแทนไม่ได้ แต่ที่เห็นชัดเมื่อ SiPH ดีขึ้นแต่ ศิริราชแย่ลง อย่างนี้ผิด ศิริราชอยู่ระดับชั้น 2 ชั้น 3 แต่ไม่สามารถเพิ่มเตียงได้ เป็นเรื่องของ Economy of Scale การเพิ่มโรงพยาบาลต้องเป็นเรื่องบัญชีกลาง ถ้าขยายเพิ่มขึ้นจะไปล้ำบทบาทของกระทรวงสาธารณสุข ศิริราชเบาลงเพราะคนไข้ที่พอจ่ายเงินได้ก็มาที่ SiPH และเมื่อมี Profit บวกก็คืนให้ศิริราชไปด้วย สรุปคือทำได้ แต่ไม่ใช่บริบทที่จะทำ อาจเป็นของคนอื่น

Panel Discussion

หัวข้อ เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC เศรษฐกิจไทยกับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปรายโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

วันที่ 17 พฤษภาคม 2559

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

หัวข้อในวันนี้เป็นภาพกว้าง ภาพใหญ่ เศรษฐกิจโลกในภูมิภาคอื่น ๆ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รุ่นนี้เป็นรุ่นที่จะนำความรู้ต่าง ๆ ไปอภิปรายเลยขอเป็นการอภิปรายโดย อาจารย์สมชาย และอาจารย์มนูญ ขอให้เป็นเรื่อง Relevance เกี่ยวกับ กฟผ. เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Macro พลังงาน และผลกระทบภายนอกอย่างการประชุมที่ปารีส อย่างในวันนี้จะเป็นในเรื่องการมองโอกาสและการคุกคามของภาพใหญ่

ผู้นำที่อยู่ในห้องนี้อย่าเก่งลึกและโง่กว้าง หมายถึงว่าต้องรู้ ติดตามและใกล้ชิด ดร.จีระได้ให้แนวว่าเมื่อฟังภาพใหญ่แล้วอยากให้มอง Opportunities ที่นำไปใช้เหล่านี้คืออะไร และอยากให้มองเรื่องการคุกคาม ว่ามีอะไรเกิดขึ้น อยากให้ศึกษา 4L’s ของ ดร.จีระ และถ้าแต่ละโต๊ะมีคำถามที่น่าสนใจ ต้องมีการปะทะกันทางปัญญา เช่น ถ้าวิทยากรพูด 1,2,3 คนในห้องต้องพูด 4,5,6

เรื่อง Opportunities และ Treat เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร

อย่าง กฟผ. รถยนต์ เสี่ยง อย่างตลาดก็เสี่ยง ถ้า กฟผ.ไม่ปรับตัวก็อาจเหมือนองค์การโทรศัพท์ การรถไฟ ดังนั้นต้องพร้อมติดตาม สร้าง Opportunities ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และอยากขอให้อาจารย์สมชายพูดถึงความเสี่ยงของประเทศจีน อย่างเช่นจีนอาจมี Bubble ทางการเงิน เรื่อง EU กับการเข้าหรือออกของ European Union เกิด EU ออกจากอังกฤษ ผลกระทบจะเป็นอย่างไร และเรื่อง ASEAN เป็นอย่างไร และอยากขอให้พูดถึงอเมริกาว่าถ้า Donald Trump เป็นประธานาธิบดีอะไรจะเกิดขึ้น และเรื่องรัฐธรรมนูญในไทยเป็นอย่างไร

ส่วนอาจารย์มนูญอยากให้พูดเรื่องอนาคตพลังงานข้างหน้า และการตกลงในเรื่อง Global Warming จากการประชุมที่ปารีส และเรื่องราคาน้ำมัน

รัฐบาลไทยต้องการให้ กฟผ.สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน อยากให้ทำการบ้านเรื่องการตกลงกันที่ Global Warming ที่ปารีส

อย่างไรก็ตามสิ่งที่อยากฝากไว้คือ ผลกระทบกับชุมชน

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

ถ้าเราเอาเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์มาวิเคราะห์

ครั้งแรกคือการประชุมที่ปารีสในช่วงที่มีปัญหาผู้ก่อการร้าย มีผู้นำ 105 ประเทศ การตกลงในครั้งนั้นได้ข้อตกลง แต่เพียงแค่ชะลอการลดความร้อนของโลก ในปี ค.ศ.2100 คนจะหายไปเนื่องจากที่ดินหายไป

อีกเรื่องคือการประชุมที่ Davos เมื่อ 200 ปีที่แล้วค้นพบ Engine และอีกครั้ง Electricity และครั้งที่ 3 เป็นเรื่องคอมพิวเตอร์ และไอที ครั้งที่ 4 เป็นเรื่อง System ในไอที ไบโอเทค และนาโน สิ่งนี้สามารถบอกอนาคตได้ว่าจะใช้พลังงานแสงแดดร่วมกับเคมี และวิถีชีวิตต้องมีการเปลี่ยนแน่นอน เช่นรถยนต์ Eco Car และการใช้เครื่องบินไม่มีคนขับ ใช้ Robots เป็นต้น

เศรษฐกิจการเมืองที่กระทบกับเรา ทำให้โลกมีการปรับตัวพอสมควร ตัวอย่างแรกคือเศรษฐกิจโลกกระทบต่อเวเนซูเอล่าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในประวัติศาสตร์ คือ ไม่มียา มีคนตายมาก สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากเศรษฐกิจจีนแย่ ราคาน้ำมันแย่ เนื่องจากเป็นประเทศที่พึ่งพาน้ำมันในการส่งออก มีการแจกน้ำมันฟรีให้คิวบาเพื่อก่อตั้งอเมริกา ซึ่งแม้ว่ารัฐบาลสร้างปัญหาแต่รัฐบาลก็ไม่ออก

ประเทศที่ได้รับกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากจีนเหมือนเวเนซูเอล่า เช่น บราซิล อัตราการเติบโตลดลงเหลือ 3.8% และอาเจนตินา

จีน

ประเทศจีน ไม่มีปัญหาเพราะจีนกำลังอยู่ในช่วงการปรับโครงสร้าง ทำให้การเจริญเติบโตชะลอตัว เพื่อให้การปรับโครงสร้างดีในอนาคต จีนเรียกสถานการณ์นี้ว่า New Normal แต่เป็นการปกติแบบใหม่ เพราะ New normal เสมือน Abnormal (ความจริงคือประเทศจีนไม่ยอมบอกข้อมูลจริง) และประเทศจีนต้องมีการคุมมากขึ้น

สิ่งที่เกิดขึ้นกับจีน

1. จีนตลอด 30 ปีขยายตัว 10% จนกระทั่ง 4 ปีที่แล้ว 7% และปลายปีที่แล้วลงมาที่ 6% กว่า เพราะจีนอยู่ในช่วงที่ปรับโครงสร้างขนาดหนัก จีนตอนรุ่งขายของได้เยอะ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง ค่าแรงสูงขึ้น คนจีนรวยมาก ซื้อได้แม้กระทั่งปราสาทในฝรั่งเศส

2. จากการที่เศรษฐกิจจีนตกลง ผลลัพธ์คือ ส่งออกแย่เพราะค่าแรงสูง ประเทศเกิดใหม่มีปัญหา อสังหาริมทรัพย์เป็นลูกโป่ง ตลาดหุ้นเป็นลูกโป่ง

3. รัฐบาลคุมไม่ให้ลูกโป่งในอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นแตก ก็ลดอัตราการอัดฉีดลง ทำให้อัตราการเติบโตชะลอตัวลง สิ่งที่อันตรายคือคนว่างงานมากขึ้น ดังนั้นต้องดูว่าจะลดอัตราการเติบโตเท่าไหร่ ต้องดูเรื่องเศรษฐกิจไม่ให้มีปัญหาทางการเมือง

จีนเป็นรัฐเดียวที่ยังคงการปกครองอยู่ได้ และมีประชากร 1250 ล้านคนเดินทางออกนอกประเทศ แต่จีนยังคงเป็นคอมมิวนิสต์อยู่ ดังนั้น จีนจึงต้องแก้ปัญหาให้เกิดความสมดุลในทุกด้าน

ปัญหาที่เกิดอีกอย่างคือหนี้ที่ไม่ก่อรายได้ เช่น Shadow Banking อสังหาริมทรัพย์ กู้เงินจากธนาคารทำให้เกิด NPLs ในระบบธนาคาร เกิดปัญหาเรื่องรัฐวิสาหกิจ มีปัญหา และของรัฐบาลท้องถิ่น หนี้ไม่ก่อรายได้ IMF มาวิเคราะห์ว่า NPL มี 15% ของหนี้ทั้งระบบ เป็นข้อมูลจากธนาคารใหญ่สี่แห่ง และประเทศไหนที่เจอแบบนี้ส่วนใหญ่ประเทศเจ๊งทุกราย

จีนขณะนี้ต้องแก้ปัญหาหนักมาก ต้องแก้เรื่องหนี้ ชะลอสินเชื่อ ต้องแก้การเมือง เปลี่ยนการส่งออกเป็นการบริโภค เปลี่ยนการใช้แรงงานเป็นการใช้ IT ตัวเลขเติบโตแย่กว่าที่รัฐบาลตั้งไว้คือ 6% สิ่งที่น่าวิเคราะห์คือ

- จีนสามารถพยุงให้เศรษฐกิจมีดุลยภาพ ยังไม่เกิดปัญหาการเมือง ทำให้หนี้ต่าง ๆ พอรับได้ สร้างขีดความสามารถทาง IT เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นต่อ

- จีนจะมีปัญหาเหมือนกับแฮมเบอร์เกอร์ และลีแมนบราเดอร์ ปัญหาในเรื่องอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งแก้ยาก

- จีนมีเงินสำรองเยอะ เหมือนตอนเกิดแฮมเบอร์เกอร์ ใช้เงินสำรองกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่จะเกิดปัญหาเหมือนญี่ปุ่นคือ เศรษฐกิจติดลบ Balance Sheet Recession อัดฉีดไม่ขึ้น ประชากรแก่ตัวเยอะ ได้เงินมาแล้วไม่ปล่อย เพราะคนไม่กู้ และเอาเงินมาจ่ายหนี้ ดังนั้นการได้เงินอัดฉีดจากรัฐบาลกลางเอาไปแก้ปัญหาเรื่องหนี้ เกิดการเจริญเติบโตต่ำใน 10 ปี

- อัตราการเติบโตลดลงมาจากที่คาดไว้ จีนจึงยังเป็นความเสี่ยงที่ทุกประเทศจับตามองอีกหลายปี แต่จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจแบบใดไว้ดูกันต่อไป แต่ที่แน่ ๆ ปัญหาของจีนเหมือนนั่งเครื่องบินที่กำลังแล่นลงแล้วสั่นเป็นจังหวะ ๆ สรุปคือเศรษฐกิจจีนยังเป็นปัญหาอยู่

สหภาพยุโรป

มี 28 ประเทศ ใช้เงินสกุลยูโร 19 ประเทศ แต่อังกฤษไม่ใช้เงินยูโร จึงทำให้เศรษฐกิจอังกฤษฟื้นตัวเร็วมาก จึงเป็นส่วนที่ทำให้คนรู้สึกดีที่เป็นอิสระทางการเงิน อังกฤษอยู่ใน EU แต่ไม่อยู่ในเชงเก้น (ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป เป็นส่วนหนึ่งของ Common Market)

อังกฤษอยู่ใน EU แต่ไม่ยอมอยู่ในสกุลเงินเดียวกัน และไม่เข้าในสมาคมเศรษฐกิจยุโรป มาเข้าทีหลัง

ทำไมถึงมีคนอยากออก ส่วนหนึ่งเกิดจากชาตินิยม คือหวงแหนในเรื่องอธิปไตย ไม่ยอมรับเงินสกุลยูโร แต่ถ้าไม่อยู่ก็ไม่ได้เพราะจะสู้เข้าไม่ได้ เลยอยู่ครึ่งหนึ่ง ทำให้วิกฤติต้องการดึงเงินยูโรออก

ต้องดูแลยุโรปตะวันออก สมาชิก แรงงานคนพวกนี้ได้สิทธิประโยชน์เหมือนคนอังกฤษ ดังนั้นอังกฤษจึงไม่ค่อยพอใจคนพวกนี้ จึงไม่ค่อยพอใจนโยบาย Social Policy

มีคนที่คิดอยากจากให้อังกฤษออกจาก EU เยอะ แต่ถ้าออกอังกฤษจะดูเหมือนไม่มีบทบาท การเมืองอังกฤษเป็นตัวแปรเชื่อมอเมริกากับ EU ทางด้านเศรษฐกิจช่วยในเรื่อง Economy of Scale และถ้าอังกฤษออก GDP จะลดลงอีก 1% สิ่งที่น่ากลัวคือ ประเทศใน EU สร้างแรงกดดันให้ออก มี 4 ประเทศที่ต้องการทำตัวเองเป็นเผด็จการอย่าง เยอรมัน ฮังการี เชคโกสโลวาเกีย และโปแลนด์ มีการตั้งคนของตัวเอง และจำกัดด้านสื่อมวลชน ที่คนส่วนมากชอบเพราะไม่ต้องการพวกก่อการร้าย และหนีภัยมา แต่ก็ขัดกับ EU ที่ต้อการเน้นสิทธิมนุษยชน ผลที่ตามมาคือประเทศใน EU อื่น ผู้ก่อตั้งในอิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ กำลังได้คะแนนเสียงต่อต้าน EU สิ่งที่ได้คะแนนเสียงคือการก่อการร้าย และการลี้ภัย ดังนั้นถ้าอังกฤษออก จะมีแรงกดดันให้บางประเทศออก และทำให้อำนาจของ EU ที่ส่วนหนึ่งอยู่ในนาโต มีความสามารถในการถ่วงดุลในรัสเซียลดไป

สุดท้าย เรื่อง AEC 2015 ความจริงแล้ว AEC หมายถึงกระบวนการรวมกลุ่มที่ลึกซึ้งในขั้นที่สาม เปิดเสรีการค้า การลงทุน แรงงานมีฝีมือ

2015 ยังไม่จบ ดังนั้น 2025 รัฐบาลจะเปิดเสรีสินค้า โควตาเหลือ 0 แต่อุปสรรคอยู่ที่มาตรฐานสินค้า ด้านภาษี Vat ของแต่ละประเทศต่างกันมากจึงต้องมี Harmonize เรื่องของ Logistics ท่องเที่ยว หมอ ฯลฯ จะเปิดมากกว่านี้

AEC 2015 จะขยายตัวในเรื่องอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หนองคายมามาบตาพุด ทวายมาแหลมฉบัง มี High Speed กทม.-เชียงใหม่ กทม.-โคราช เป็นต้น แต่วันนี้สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือ RCEP เริ่มตั้งแต่ 2011 สิ่งที่อาเซียนต้องเจรจา จีนกับญี่ปุ่นต้องทำเขตการค้าเสรีระหว่างกัน 16 ประเทศมากำหนดกันเมื่อปลายปีที่แล้วและพยายามทำให้ RCEP 16 ประเทศขยายตัวเสรีการค้าไปสู่เงินทุนและบริการและไม่เกิน 10 ปีจะได้ยินว่าประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก สิ่งที่กระทบคือความต้องการในด้านการเดินทางเยอะมาก เกิดชุมชนเมือง การขยายตัว ถึงยุโรปตะวันออก เกิดเส้นทางสายไหม ความต้องการไฟฟ้ามหาศาล เกิดการลงทุน และการเชื่อมโยงมหาศาล โลกเข้าสู่ยุคปัญหากับ NGOs ความต้องการเยอะมาก เป็นข้อจำกัด โลกต้องการ Clean พบว่าสิ่งต่าง ๆ จะเป็นโอกาส และอีกด้านจะเป็นอันตรายในการจำกัดการทำงานของเรา

ยังไม่ได้พูดถึง APEC ที่ต้องการส่งเสริมการลงทุน มี Infrastructure ถ้า Trump หรือ ฮิลลารีได้ TPP ก็ยังคงอยู่อยู่ดี พรรค 2 พรรค ตกลงกันให้ Fast Track โอบามาคุยกัน

สรุป ตอนหาเสียงทางการเมืองเหมือนร้อยกรอง แต่พอได้เหมือนเขียนร้อยแก้ว ดังนั้นเวลาการอ่านหนังสือพิมพ์โลกมีการบิดเบือนมาก จึงต้องเข้าใจข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร โลกมีการเปลี่ยนแปลงเยอะมีทั้งบวก และลบ ที่เราต้องปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

จากที่อาจารย์สมชายกล่าวเหมือน Butterfly effect เด็ดดอกไม้กระทบถึงดวงดาว เปลี่ยนจากอีกที่กระทบจากอีกที่ การเปลี่ยนแปลงเกิดผลแน่นอน และไม่ว่าจะเลือกวิธีการเปลี่ยนแปลงใดก็ตามล้วนมีผลกระทบทั้งทางบวกและลบเช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่ทุกประเทศเลือกต้องเลือกให้ดี และการเลือกให้ดีต้องมีข้อมูลที่ลึกและกว้าง ส่วนอีกเรื่องหนึ่งเป็นเรื่องของการปรับตัว

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ใน Session นี้ แต่ละท่านที่จะก้าวเป็นผู้นำ การมององค์กรข้าม Silo ต้องมีภาพใหญ่ให้ชัดด้วย จึงอยากให้ติดตามหนังสือของ อังกอร์ เรื่อง Global Mindset ต้องเข้าใจได้ว่าโลกในอนาคตไม่ Statistic อย่างอาจารย์สมชายเป็นสังคมการเรียนรู้ตัวจริง และคิดว่าน่าจะมีกลุ่มหนึ่งถามเรื่องการเมืองในประเทศด้วย อนาคตมี 3 ตัว

1. เร็ว

2. ไม่แน่นอน

3. คาดไม่ถึง

ซึ่งถ้า กฟผ. มี KM มีเทคนิคเยอะก็ตาม ยังไม่พอ ต้องใฝ่รู้มากขึ้น จัดการกับสังคม และมีความรู้ด้านโลกมากขึ้น สามารถไปพูดกับคนอื่น ๆ กฟผ.เป็นแหล่งข้อมูลที่ใหญ่ที่สุด อยากให้เป็น Session ที่ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง Change วันนี้คือความอยู่รอดของทุกคน ขอให้มี Global mindset ว่ามีอะไรเกิดขึ้น และที่ทุกคนได้เรียนแล้วอยากให้ทุกคนติดตามเพื่อไปเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้น

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

เรื่องภาพรวมพลังงานเอเชียแปซิฟิค เป็นอย่างไรในอนาคต และอีกเรื่องคือ NGOs

เรื่อง NGOs เป็นความเสี่ยงของ กฟผ.โดยเฉพาะ เพราะไม่ว่า กฟผ.จะทำโครงการประสบความสำเร็จหรือไม่ ส่วนหนึ่งจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงสำคัญคือ NGOs

NGOs ติดต่อกันได้ทั่วโลกเป็นเรื่องจริง แต่ NGOs เมืองไทยเข้มแข็งกว่า NGOs เมืองนอก เพราะ NGOs เมืองไทยมี Political Influence สูงมากเนื่องจากมีการเชื่อมกับการเมืองตลอดเวลา เช่นเรื่องของท่อก๊าซ ปตท. พลังงาน ถ่านหิน โทรคมนาคม จะพยายามโยงไปกับการเมืองตลอดเวลา และเอา Political Force มากดดันตลอดเวลา NGOs ไทยจะมีความพิเศษที่มากดดันรัฐบาล และรัฐบาลก็จะยอมตามแรงกดดันทางการเมืองของ NGOs ไทย ให้สังเกตว่าใน 10 ประเทศไม่มีประเทศใดที่ NGOs มีบทบาทเท่ากับประเทศไทย

ภาพรวมของการใช้พลังงาน เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าภาพรวมการใช้พลังงานภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกพบว่าประเทศที่พัฒนาแล้วจะใช้พลังงานมาก อย่างเอเชียแปซิฟิคมีอัตราส่วนการใช้พลังงานสูงกว่าที่อื่นของโลก และพลังงานที่ใช้มากคือฟอสซิล ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน คิดเป็นอัตรา 70-80%

การใช้เชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ เทียบกับโลก และประเทศไทย จะพบว่า Renewal ในเอเชียแปซิฟิคยังน้อยอยู่ ประเทศไทยใช้ก๊าซ น้ำมัน ถ่านหิน ตามสัดส่วนถือว่าค่อนข้างดี เพราะถ่านหินเพียงแค่ 15 % และก๊าซธรรมชาติถึง 45% ในภาพนี้ NGOs อาจมองได้ทั้งในแง่ดี และไม่ดี ในแง่นักบริหารเชื้อเพลิงยังไม่สมดุลเนื่องจากใช้ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันมากเกินไป ในขณะเดียวกันเราต้องเพิ่ม Renewable และถ่านหินขึ้นมาบ้างเช่นถ่านหินขึ้นจาก 15% เป็น 18-19%

ด้านเอเชียแปซิฟิค เข้ามาสำรวจเรื่องความต้องการ ที่มีการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ไทยมองว่าราคาน้ำมันไม่น่าสูงเพราะเคยหล่นจาก 80 เหรียญมา 50 เหรียญ การขึ้นไปน่าจะยาก NGOs บอกว่าไม่ต้องไปกลัวเรื่องกำลังสำรองผลิตไฟฟ้า ก๊าซยังไม่หมด ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ความจริงว่าเป็นอย่างไร เพราะ APEC บอกว่าราคาน้ำมันมีสิทธิขึ้นในอีก 4 ปีเป็น 73 เหรียญ 90 กว่าเหรียญ และจะกลับไปที่ 120 เหรียญ แต่ความจริงแล้วเรื่องราคาน้ำมันเป็นสิ่งที่ไว้ใจไม่ได้ พบว่ามีคนฟันธงผิดเรื่องราคาน้ำมันหลายคนแล้ว

จีนกับสหรัฐฯ เป็นผู้บริโภคน้ำมันมากสุดในโลก อดีตสหรัฐ ก่อนจีน แต่ปัจจุบันจีนเริ่มนำสหรัฐฯแล้ว

ด้านการนำเข้า เอเชียแปซิฟิค ยังขาดแคลนน้ำมันและต้องนำเข้าน้ำมัน สหรัฐฯ ค้นพบ Shell oil จึงพยายามลดการนำเข้าน้ำมันเพราะผลิต Shell oil ได้ทดแทน ตอนนี้สหรัฐฯลดการผลิตน้ำมันลง ซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจดึงราคาน้ำมันขึ้นในปีหน้า

ก๊าซธรรมชาติ มีความต้องการสูงมากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และค้นพบในเรื่องการส่งก๊าซสามารถส่งก๊าซทางเรือได้ มีความสะดวกมากขึ้น

ใน APEC พบว่า จีนกับ South East Asia จะเป็นคน Drive พลังงาน

Renewable จะเป็น Fast Growing ใน Energy Source แต่อย่างไรก็ตาม ฟอสซิลยังคงมีความสำคัญแม้การเติบโตไม่สูง

เราไม่สามารถไปลด CO2 ได้ตราบได้ที่ถ่านหินยังคงเป็นทางเลือกของภูมิภาคนี้

ประเทศไทย GDP ก็โตขึ้น อัตราการเติบโตคนก็ไม่ได้โตมาก คาดการณ์ว่า GDP ไทยคาดว่าจะโต 3.5% ทุกปีจนถึงปี 2040 การที่เติบโตอย่างนี้ทำให้มีความต้องการพลังงานมากขึ้น มีการคาดการณ์ว่าการเติบโตพลังงาน น้ำมันกับก๊าซอยู่ที่ 30-40% ถ่านหินอยู่ที่ 16% และ Renewable จะลดลงเหลือ 15%

การพึ่งพาพลังงานจากนำเข้า 42% และคาดว่าปี 2040 จะพึ่งพาการนำเข้าเป็น 72% ก็คิดว่าไม่น่าเสียหายมาก แต่ต่อไปการนำเข้าก๊าซจะลดลงเนื่องจากไปนำเข้า LNG มากขึ้น

การเติบโตด้านไฟฟ้า 2.9% จนถึงปี 2040 ประเทศไทยต้องมีการนำเข้ากระแสไฟฟ้าจาก 6% เป็น 14% ในปี 2040 และเรื่อง Renewable จะเพิ่มขึ้นในเรื่อง Biomass ในเรื่องลม และ โซล่าร์จะมีข้อจำกัดในการขยายตัว การผลิตไฟฟ้ากำลังลมไม่สามารถขยายได้มากนัก และจะผลิตกำลังไฟฟ้าได้จริงตามที่ลงทุนไปหรือไม่เนื่องจากกระแสลมที่ทำให้พัดได้ขนาดนั้นต้องมีขนาดเหมือนพายุถึงสามารถพัดได้

โอกาสพลังงานไทยมีทั้งจุดแข็ง จุดอ่อนที่เราต้องพัฒนาพลังงานไปให้เยอะ อย่าง

จุดแข็งมาวัตถุดิบทางการเกษตรที่ผลิตพลังงานทดแทนมาก แต่ความจริงไม่แน่นอน มีวิสาหกิจที่มีพลังงานมีความเข้มแข็งด้านการเมืองเช่น ปตท. กฟผ. มีพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีศักยภาพ มีแผนชัดเจน มีกองทุนการพัฒนาพลังงาน

จุดอ่อน ทรัพยากรจำกัด พึ่งพานำเข้าเกิน 50% กฎหมายไม่เอื้อ การใช้พลังงานไม่มีประสิทธิภาพ โครงสร้างการกำกับดูแลกระจายคนละกระทรวง ประชาชนเข้าใจไม่ถูกต้อง กิจการผูกขาด

โอกาส ราคาน้ำมันลดลง เทคโนโลยี ดี AEC เปิดโอกาส การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน

ภัยคุกคาม ภัยคุกคามทางการเมือง การเคลื่อนไหวของประชาชน ราคาพืชผลทางการเกษตรมีราคาสูง ทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานจำกัด ข้อมูลบิดเบือน

สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าเทียบกับตปท. ต้องซื้อไฟจาก ตปท. 15-30% ใช้ถ่านหินน้อยกว่าประเทศอื่นแต่ถูกต่อต้านเยอะมาก พลังงานหมุนเวียนใช้ได้ดีกว่าที่อื่น แต่เราก็ถูกต่อต้าน ประเทศไทยดีกว่าประเทศอื่นในอาเซียน น่าจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปบอก NGOs ก๊าซธรรมชาติใช้ 30-35% ถ้าทำได้ตามแผน

ประเทศเพื่อนบ้านจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก่อนไทย ถามว่ามีเพื่ออะไรเพราะเป็นประเทศเล็กนิดเดียว แล้วถามว่าเมื่อเกิดเหตุจะหนีได้หรือไม่

เราได้ประโยชน์คือได้ก๊าซราคาถูกในการผลิตไฟฟ้ามาหลาย 10 ปี ค่า FT เปลี่ยนตามต้นทุนที่แท้จริง ปีที่แล้วลดไป 23 สตางค์ แต่ข้อมูลไม่ได้ส่งถึงประชาชน กลับกลายเป็นถูกด่าใน Social Media ว่าค่าไฟขึ้น ประเด็นคือทำไม่ไม่ปรับปรุงเรื่องการสื่อสาร

สิ่งที่เราต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับกฟผ.

1. ปรับโครงสร้างองค์กรพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงรองรับโครงสร้างพลังงานในระดับภูมิภาค เตรียมรับ ASEAN RCEP APEC

2. ต้องเป็นผู้นำด้านการผลิตพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคด้วย ต้องนำสิ่งนี้มาเป็นแบรนด์ได้ด้วย เช่นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ต้องเป็นผู้นำด้านการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนและทำให้ กฟผ.หลุดจากการเป็นผู้ร้าย กฟผ.ต้องสร้างให้เห็นว่าเป็นผู้นำผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็น Green Energy ต้องพยายามสร้างแบรนด์ใหม่

3. เป็นศูนย์กลางด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่นไม่ใช่ผลิตไฟฟ้าอย่างเดียว แต่เชื่อมโยงสายส่งการผลิตไฟฟ้านี้ สามารถเชื่อมโยงระบบขนส่งได้ เป็นศูนย์กลางแหล่งผลิตไฟฟ้าได้ เป็นผู้ลงทุนในการพัฒนาเป็นธุรกิจพลังงานในภูมิภาคได้ด้วย

4. การบริหารองค์กรต้องยืดหยุ่นและตอบสนองได้มากขึ้น ต้อง Identify Stakeholder ให้ได้ ผู้บริโภคคือผู้ใช้ไฟฟ้า มีชุมชนที่กฟผ.ตั้งไฟฟ้าหรือกิจกรรมนั้น ๆ กฟผ.ต้องตอบสนอง Stakeholder ทั้ง 4 กลุ่มให้เท่าเทียมกัน

5. ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง และการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยเฉพาะการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารโครงการ ต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนตั้งแต่เริ่มคิดโครงการฯ ว่าให้ชุมชนมีส่วนร่วมได้อย่างไร เพื่อสร้างความเห็นด้วยต่อชุมชนตั้งแต่แรก ดังนั้นการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงโครงการฯต้องตั้ง ตั้งแต่แรก ต้องมีทุกระดับชั้น ไม่ใช่มีแค่ระดับบอร์ดเท่านั้น จนถึงคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงในการบริหารโครงการ

6. หากลยุทธ์ใหม่ ๆ ในการให้ชุมชนสามารถจับต้องได้ การทำ CSR แบบเดิมไม่เพียงพอ เพราะในปัจจุบันสิ่งที่เขาต้องการต้องเป็นสิ่งที่จับต้องได้อย่างแท้จริง เช่นถ้าตั้งที่นี่ ใช้ไฟถูกหรือไม่ ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง หรือใช้ไฟฟรีหรือไม่ หรือโรงไฟฟ้าโรงนี้เรียกหุ้นจาก อบต.เข้ามาบริหาร ให้ประชาชนมาหุ้น ให้ประชาชนมีส่วนในการบริหารหรือไม่ คือเน้นความเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ อย่างเช่น สร้างโรงพยาบาล สร้างโรงเรียน รับคนในชุมชนมาทำงาน ไม่ใช่ทำอะไรเล็กน้อยและบอกได้ประโยชน์กับชุมชนแล้ว

7. การปรับเปลี่ยนเรื่องการสื่อสาร การทำอะไรต้องคาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ต้องสื่อสารก่อน ไม่ใช่เกิดขึ้นแล้วค่อยมาชี้แจงภายหลัง ต่อไปนี้การสื่อสารองค์กรต้องเปลี่ยน ต้องมีการคาดเดาล่วงหน้า เช่นผู้บริหารของเราในวันนี้ไปงานอะไร ไปแถลงอะไร คนจะว่าอย่างไร ต้องเตรียมการณ์ล่วงหน้าว่าจะตอบว่าอย่างไร แต่ทางที่ดีควรชี้แจงล่วงหน้าไปเลย เพราะการชี้แจงที่หลังไม่มีประโยชน์ Mentality ของคนไทยเวลารับข้อมูลอะไรหรือรับจาก Social Media เชื่อก่อนแล้วมาพิสูจน์ว่าไม่จริง ต่างกับฝรั่งที่ไม่เชื่อไว้ก่อนแล้วมาพิสูจน์ว่าจริง ดังนั้นสิ่งที่ดีคือต้องคาดการณ์สถานการณ์เชิงรุกเพื่อเป็นประเด็นในการชี้แจง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ทำไมสิ่งที่บรรยายสอดคล้องกับ การทำ CSR ที่ต้องสอดคล้องกับชุมชน ข้อมูลดีมากในเรื่องความสมดุลด้านพลังงานในสายตาผู้เชี่ยวชาญเพียงแค่ข้อมูลชุดนี้มีการสื่อสารให้คนรับรู้น้อยมาก

ได้ยกตัวอย่าง นายแพทย์ประดิษฐ์ที่ยกตัวอย่างการลดความแตกต่างของ ร.พ.ศิริราช กับร.พ.ปิยมหาราชการุณย์ เพิ่มการบริการอำนวยความสะดวกแบบ ร.พ.เอกชนระดับ 5 ดาว เป็นต้น

จากการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาดังนั้นผู้นำต้องมีชุดข้อมูลที่ดี ทันสมัย ส่งตรงถึงท่านตลอดเวลา เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านโครงสร้างพื้นฐาน สร้างแบรนด์ และการทำพลังงานหมุนเวียนที่เป็นประโยชน์ของเรา

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อยากให้มองเรื่องความเสี่ยงด้านการเมืองด้วย อาจพูดถึง Reference ของอังกฤษ และไทยด้วย และยังไม่ได้รับฟังความคิดเห็นของปารีส ด้วย อย่างกฟผ. แม้เป็นองค์กรเล็ก ก็ต้องรับผิดชอบต่อ Global Warming ด้วย ส่วนที่เหลืออยากให้วันนี้ทุกท่านมอง Opportunities และความเสี่ยงที่มาจากภาพใหญ่ ระดับโลก อาเซียน และประเทศ และต้องมีการปรับตัวในด้านผลกระทบที่กระทบเรา

มององค์กรว่าเป็นองค์กรระดับโลก และ Regional ไม่ใช่แค่องค์กรระดับประเทศเท่านั้น

ประเด็นในวันนี้ต้องไม่ดาวกระจาย

คิดเหมือนกับอาจารย์สมชายที่ว่า ถ้าจีนล้มอาจเกิดปัญหา เพราะเป็นระบบคอมมิวนิสต์ และจีนไม่บอกข้อมูลจริง และถ้าพังจะทำอย่างไร

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. เรียนถามอาจารย์สมชาย เรื่องการพูดถึงประเทศจีนเหมือนเครื่องบินที่กำลัง Landing ต้นปีสั้นมาก และต่อมาน้อยลง สำหรับประเทศไทยมีเหตุการณ์ไหนบอกล่วงหน้า และมีการเตรียมตัวอย่างไร และหลังการลงมติเดือนสิงหาคม จะมีปัญหาหรือไม่

ตอบ ถ้ามีปัญหาจีนเกิดขึ้น ประเทศไทยจะสั้นแน่นอน แต่มี 3 ทางคือ สั่นนิดหน่อย สั่นแต่อาจไม่กระทบมาก และสั่นยาวนาน เพราะจีนเหลือ 6%

ถ้าเหมือน Hamburger ประเทศไทยจะสั่นเยอะ

ถ้าเหมือน Balance Sheet Recession ไทยจะได้รับผลกระทบนาน

แนะนำการอ่านหนังสือ เรื่อง China future

ในเรื่องการเมืองไทย ก็สั่นแต่สั่นไม่มาก การรู้ด้านเดียวไม่พอ ในแง่รัฐศาสตร์ การบรรยายจะพูดในแง่อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ หรือการมาวิเคราะห์การเมือง เราต้องเอาตัวเองออก แล้วจะพบว่ารัฐธรรมนูญมีโอกาสผ่านจะสูงกว่าไม่ผ่าน

การวัดภาพรวม ประชาชนส่วนหนึ่ง มองว่าการเมืองไม่เอาประชาชนส่วนใหญ่จะเอาเพราะ มองเรื่องการเมือง

อีกส่วนหนึ่งประชาชนจะเลือกสิ่งที่ไม่ดี หรือไม่ดีกว่า

ส่วนที่สามคือคะแนนเสียงของบิ๊กตู่ลดลง

เสียงแบบจตุพร ณัฐวุฒิ เงียบหมด ดังนั้นประชาขนจะฟังเสียงของรัฐบาล แบบ Social Media จึงมีส่วนช่วยรัฐบาล

แนวทางที่นิด้าทำต้องการให้ผ่านมากกว่าไม่ผ่าน

ไม่ผ่านก็ไม่มีปัญหา ก็เอามีปี 2557 มาแก้ไข เป็นการป้องกันไม่ให้นักการเมืองเป็นรัฐบาลเสียงข้างมาก

ถ้าบิ๊กตู่ไม่อยู่ พรรคเพื่อไทยได้ ก็ OK สองทาง การเมืองต้องวิเคราะห์ให้ดีในแง่ความเป็นจริง สิ่งที่เราเห็นจะมีแรงกดดันต่อบิ๊กตู่แน่นอน เพียงแค่จะไปกดดันต่อเศรษฐกิจหรือไม่ คำตอบคือไม่แน่นอน

ดังนั้นถ้าเกิดปัญหาเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง พบว่าจำนวนต่างชาติที่ตั้งสำนักงานจะไม่มีใครตั้ง สิ่งที่ต่างชาติสนใจคือ การลงทุนในหุ้นช่วงนี้ซื้อมากกว่าขายเนื่องจาก คิดถึงผลตอบแทนจะเป็นอย่างไรบ้าง

ประเทศอยู่ได้จึงต้องส่งเสริมธุรกิจ และเศรษฐกิจ ต่างฝ่ายต่างเล่นละคร บิ๊กตู่จะเข้ากับรัฐเซีย แลกกับอาหาร เกษตร ผลกระทบเสทือนแต่ไม่กระทบกับบิ๊กตู่ รัฐบาลสามารถคุมได้ สามารถอยู่ในฐานะ Consolidate มากกว่าเดิม โอกาสไม่มีปัญหามีสูง

สรุปคือแรงกระเพื่อมทางการเมืองน่าจะมาจากตัวเศรษฐกิจมากกว่า และคาดว่าภายใน 10 ปีนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดหนักด้านพลังงานน้ำมัน สิ่งที่เคยช่วยประชาชนในโลก Social Media มีประเทศไหนที่รักษาความมั่นคงต่อไป

แรงกดดันด้านคอมมิวนิสต์จะสู่การเปลี่ยนไปมากขึ้นในช่วง 10 ปีนี้

2. อยากได้ข้อแนะนำจากอาจารย์มนูญ พูดถึงความเสี่ยงของ กฟผ.ในเรื่องของ NGOs ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงไฟฟ้า สร้างระบบส่ง อาจารย์มีข้อแนะนำอย่างไรในการรับมือกับ NGOs และเป็นเพื่อนกับ NGOs

ตอบ ก่อนอื่นทาง กฟผ.ต้องดูการบริหารโครงการฯ โดยดูการมีส่วนร่วมของชุมชนแต่แรก คิดว่า NGOs เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการทำงานและขัดขวางกฟผ.ได้เพราะ กฟผ.ละเลยเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนแต่แรก เพราะคิดเองแล้วค่อยลงไปบอกชุมชน ชักจูงให้ชุมชนเห็นด้วย จึงคิดว่าการทำแบบนี้ในปัจจุบันไม่เหมาะสมกับยุคสมัย แต่ถ้าจะทำอะไรสักอย่างหนึ่งให้ชุมชนร่วมคิดกับเราว่าเหมาะหรือไม่ที่จะทำเพื่อชุมชน และส่วนรวม ให้เขาบอกเองว่าอยากทำหรือไม่ คิดว่าสิ่งนี้เป็นต้นเหตุในการรับมือกับชุมชนที่จะเห็นด้วยหรือไม่ ซึ่งถ้าเปลี่ยนแนวคิดแบบนี้ได้จะได้รับความร่วมมือกับชุมชนแต่แรก การมีส่วนร่วมต้องมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในกระบวนการทั้งหมด แม้ว่าเขาไม่ได้มีความรู้โดยตรง แต่ให้เขารับรู้และมีส่วนร่วมในกระบวนการทั้งหมด มีวิธีการป้องกันปัญหาอย่างไร ให้ชุมชนเข้าใจว่าที่ทำไปไม่ได้แอบทำ หรือคำนึงถึงประโยชน์ชาวบ้าน สรุปคือให้ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงตั้งแต่ต้นโครงการจนท้ายสุด และถ้าทำได้จะเป็นการปิดโอกาสของ NGOs ที่จะเข้าไปยุยงชุมชนตั้งแต่แรก เพราะรู้ข่าวปุ๊บว่าจะทำอะไร NGOs จะเข้าไปทันที สิ่งที่กฟผ.ทำจากเดิมที่คอยชี้แจง หรือแก้ปัญหาให้เปลี่ยนเป็นตอบปัญหาก่อนที่เขาจะถาม และให้เขารับรู้ในการบริหารโครงการฯ แต่แรก ให้รู้ว่าตัวแทนที่มาร่วมเป็นตัวแทนที่แท้จริง ไม่ใช่ตัวแทนที่สุ่มมา แต่เป็นตัวแทนที่เขาเลือกขึ้นมา และอย่าไปกังวลว่าทำให้โครงการฯช้า

คำถามที่มักพบเจอบ่อยในส่วนภาครัฐที่ควรเปลี่ยนได้แล้ว ได้แก่

- จะรู้ได้อย่างไรเป็นตัวแทนแท้จริง

- มีกระบวนการคัดเลือกอย่างไร

- การเข้ามาทำให้โครงการล่าช้า

- การตัดสินใจจะมีปัญหา

ดังนั้น ทางแก้ไขอย่ากลัวในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้แล้วไปมีปัญหาตอนท้ายสุดจะเกิดปัญหาที่ช้ากว่ายอมให้เขามีส่วนร่วมตั้งแต่แรก อาจช้าในตอนแรก แต่จะไม่เจอการคัดค้าน และทำให้โครงการช้ากว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นการให้ประชาชนมีส่วนร่วมจึงเป็นอะไรที่ไม่อาจฝืนได้ในปัจจุบัน กระแสการมีส่วนร่วมภาคประชาชนเป็นอะไรที่ไม่อาจปฏิเสธได้ แล้ว NGOs จะเข้ามาไม่ได้

แต่การเป็นมิตรกับ NGOs ทำได้ สร้าง Relation ไม่มีปัญหา แต่บางคนมี Hidden Agenda หรือมีวาระแฝงเร้นทางการเมือง

อาจารย์พิชญ์ภูรี เพิ่มเติมในการปูพื้นฐานความรู้ก่อน เนื่องจากชุดข้อมูลที่มีไม่เหมือนกัน

ดร.จีระ ได้ยกตัวอย่างของโครงการที่ผ่านมา ได้มีการนำปราชญ์ชาวบ้าน มาให้มีการปะทะกันทางปัญญาเนื่องจากเขาไม่เข้าใจทางเทคนิค คิดว่า Process นี้มีความจำเป็น ต้องให้เขามีส่วนร่วมในการให้เขาเข้าใจด้วย ต้องสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง ต้องให้คนเหล่านี้เข้าใจพื้นฐานเหล่านี้ด้วย

3. พูดถึงเรื่องเศรษฐกิจ อยากได้คำแนะนำจากอาจารย์สมชาย เพราะโดยธรรมชาติ คนอยากได้ประโยชน์ของตนเอง คือถ้าปากท้องยังไม่อิ่ม ไปพูดอะไรเขาไม่ฟัง ต้องทำให้เขาปากท้องอิ่มก่อน อยากถามว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในนามของ กฟผ.ในสัดส่วนที่เล่นได้จะลงทุนแบบไหนดีในยุคนี้

ตอบ กลุ่ม NGOs ที่ต่อต้าน มี 2 กลุ่ม 1. Antropolism กลุ่มที่ถึงจุดหนึ่งพอจะเป็นพันธมิตรได้ 2. Green Politics กลุ่มพวกนี้ไม่มีทางได้เป็นพวกแน่นอน ดังนั้นจะไม่มีทางเลย

เศรษฐกิจโลกยังไม่ขยายตัวมากนัก ราคาน้ำมัน Bottom out ส่งออกของเราไตรมาสแรก ปีนี้เลวร้ายน้อยกว่าปีที่แล้ว ปีที่แล้วทำให้เศรษฐกิจขยายตัวคือภาครัฐลงทุน และปีนี้ภาครัฐจะลงทุนมากกว่านี้ การลงทุนภาคเอกชนยังไม่ดี แต่ตัวเม็ดเงินที่เข้าไปจะช่วยเศรษฐกิจดีขึ้น คาดว่าเศรษฐกิจในอีก 4-5 ปีจะดีขึ้น

วัฒนธรรมสินค้าเช่นเดียวกับลาว เวียดนาม เวียดนามมีการดึงคนที่ใช้แรงงาน มีระบบคิด แบบ Forward

โลกมีความไม่แน่นอน ดอกเบี้ยไทยจะอยู่ในลักษณะทรงและลง ถ้ากล้าหน่อยจะลงทุนในประเทศที่มีความเสี่ยงมากขึ้น แต่ถ้าเป็นผู้บริหาร กฟผ.ต้อง Very conservative ในโลกที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงต้องเผื่อพลาด ขอให้บริหารด้วย Conservative มากสุด

4. จากที่อาจารย์มนูญบอกว่า Trend RE มาแรง ถามว่าในประเทศไทยสามารถพึ่งเป็นพลังงานหลักได้หรือไม่ โดยไม่ใช้ก๊าซธรรมชาติ

ตอบ ไม่ได้ ถ้าเราเน้น RE มาก ๆ เราต้องมี Back up เป็นถ่านหิน หรือก๊าซธรรมชาติ และอย่างที่ทราบ ก๊าซหมดไปทุกที ไม่ว่าจะเปิดสัมปทาน หรือต่อสัมปทาน ต้องพึ่งพิงการนำเข้า LNG ยิ่งพึ่งพิงมากเท่าไหร่ อำนาจการต่อรองย่อมลดลง สิ่งที่ควรทำ ถ้าสร้าง RE มากขึ้นต้องสร้าง ถ่านหินเป็น Back Up เราต้องดูว่าจะสร้างเท่าไหร่ถึงเหมาะสม และถ้าสร้าง RE มากจะกระทบกับค่าไฟ ประชาชนไทยพร้อมที่จะรับกับค่าไฟที่สูงมากหรือไม่ และถ้าค่าไฟสูงขนาดนั้นอาจทำให้อุตสาหกรรมย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนทำ ดังนั้นต้องสร้างความสมดุลคือ ก๊าซธรรมชาติ พลังงานหมุนเวียน ถ่านหิน และนิวเคลียร์ ในส่วนตัวเชื่อว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปลอดภัย เป็นการสร้างาบนพื้นฐานการป้องกันอุบัติเหตุไม่ให้เกิดขึ้น ดังนั้นความปลอดภัยคือป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ และประเทศไทยตั้งอยู่ภูมิศาสตร์ที่เกิดอุบัติเหตุน้อยมาก อีกเรื่องคือ เรื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เรื่องการจัดเก็บ เทคโนโลยีต่อไปสามารถนำมา Reuse ได้และคิดว่าน่าจะเหมาะสมในการผลิตไฟฟ้า และถ้าประเทศไทยไม่สร้างนิวเคลียร์ ประเทศเพื่อนบ้านก็สร้าง และเมื่อเกิดเหตุมาประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบอยู่ดี และยังต้องไปซื้อไฟฟ้าจากพื้นบ้านอยู่ดี

5. มีกระแสข่าวว่า กฟผ.จะแยกระบบสายส่งออกไปจากผู้ผลิต มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนว่าจริงหรือไม่ และสปช.ก็มีการคุยกันด้วย และเมื่อเป็นจริง กฟผ.ต้องปรับอย่างไร

ตอบ มี สปช.บอกว่าควรแยกสายส่งจากกฟผ. แต่ยังไม่ได้นำมาศึกษาต่อ เรื่องสายส่งเป็นการผูกขาดโดยธรรมชาติ มีความเห็นว่าอะไรก็ตามที่เป็นการผูกขาดโดยธรรมชาติควรแยกออก ไม่ผูกขาดกับโอเปอเรเตอร์ ซึ่งอะไรที่เป็นขาดผูกขาดโดยธรรมชาติให้แยกออกมาเพื่อโอเปอเรเตอร์อื่นจะได้ใช้ได้ เป็นต้น ดังนั้นสายส่งไฟฟ้าก็เหมือนกัน เป็นสิ่งที่คิดว่าน่าจะทำ และถ้าทำจริง อาจส่งผลกระทบต่อ กฟผ. แต่เชื่อว่ากระทบไม่มาก กฟผ.น่าจะดูในเรื่องการปรับปรุงประสิทธิภาพ การผลิต การทำงาน และเรื่องระบบสายส่งอาจแยกเป็นอีกยูนิตเพื่อทำให้การทำงานชัดเจน และเป็นสากลมากขึ้น ในแง่ส่วนรวมคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี


หัวข้อ Arts and Feelings of Presentation

โดย อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

Arts and Feelings of Presentation เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับศิลปะที่อยู่ข้างในเอามาเป็นมูลค่าเพิ่มในการนำเสนอ ซึ่งถ้าเป็น Arts and Feelings จะเป็นอย่างไร

1. เพิ่มเสน่ห์

2. ทำให้การนำเสนอนาสนใจ

เรียกสั้น ๆ ว่า Juicy and Jazz เป็นการสร้างคำที่ทำให้อารมณ์ดูมีศิลปะ และตาเป็นประกายมากขึ้น

เริ่มต้นด้วยอารมณ์ Juicy and Jazz ในตัวของแต่ละคน ดึงอารมณ์ที่เป็น Inner ของแต่ละบุคคลออกมาเพื่อให้เกิด Juicy and Jazz

Juicy – ให้ลองจินตนาการว่ามีส้มอยู่ในปากเรา แล้วจินตนาการว่ามี Juicy อยู่ในปาก

Jazz – เป็นเพลงแบบละมุนละไม สุนทรีย์

กิจกรรมที่ 1 ให้แต่ละท่านคุยกันในกลุ่มแล้วทำ Juicy and Jazz ให้ดูเซ็กซี่จะเป็นอย่างไร

- ถ้าต้องการทำให้ดูมีพลังให้ออกเสียงจากกระบังลม ระเบิดจากข้างใน หายใจเข้าพุงป่อง หายใจออกท้องแฟ่บ หายใจเข้าเก็บกักลม หายใจออกพูด Juicy and Jazz

ทำไมต้องใช้พลังเสียงหรือภาษาท่าทางให้ฝึกการพูดทั้งหมด

ปัญหาการพูด

เราอาจต้องยืนอยู่หน้าเวทีแต่ไม่อยากจะทำ เพราะอะไร ทำไมถึงไม่เหมือนที่คุยกับเพื่อน คุยบนโต๊ะอาหาร เรารู้สึกอย่างไรบ้าง

- โดดเดี่ยว เดียวดาย

- เป็นเป้าสายตา – การแต่งกาย ภาษาพูด ภาษาท่าทาง กึ๋น ฯลฯ

- ประหม่า กลัว สั่นสะเทิ้น

- หลงลืม

- กลัวผิดพลาด

- ไม่รู้เอามือไว้ที่ไหน ภาษาท่าทางไม่รู้ได้เช่นเดียวกับจังหวะที่พูดหรือไม่

- เสียงสั่น

ปัจจุบันโลกตื่นตัวเกี่ยวกับการพูดสมัยใหม่มาก

TEDTALKS

เป็นตัวอย่างของการพูด Presentation

- เมื่อมีไอเดียดีเก็บไว้ทำไมก็นำไอเดียมาพูดนำเสนอกัน เป็น ไอเดียแบบ World Class

1. เข้าถึงอารมณ์

2. แปลกใหม่

3. น่าจดจำ

ผลลัพธ์ที่ต้องการแท้จริง คือ Great Great Great

และเมื่อเป็น Leadership zone ต้องยิ่งใหญ่เป็นแบบ Great Great Great

เสียงมี 3 ระดับ

1. ลำคอ

2. หน้าอก

3. ท้องน้อย

เสียงที่ดีที่สุดจะมาจากท้องน้อย ดังนั้นการยืนเป็น Leader ได้ต้องเป็นการฝึกให้เสียงมาจากท้องน้อยเพื่อให้เสียงมีพลังมากขึ้น

กิจกรรมที่ 2 ออกเสียง Great Great Great อย่างมีพลัง เสียงออกจากพุง ให้ความหมายยิ่งใหญ่

วิธีการนำเสนอแบบ Great Great Great

1. Great Thought ความคิด

2. Great Presenter การฉายแววแบบตุ๊กตาทอง สามารถสะกดผู้คนได้

3. Great Delivery วิธีการที่ส่งมอบ แบบไหน วิธีการอย่างไร

How to ?

1. วิธีการจัดระเบียบความคิด ทำอย่างไรถึงพูดในเวลาจำกัด

2. วิธีการเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึก เป็นศิลปะ และศิลปินที่ซ่อนในตัวเอง

3. วิธีการนำเสนอทำให้ผู้ฟังเข้าใจและจดจำ

ตัวอย่างของ TEDTALKs

วิธีการนำเสนอแบบ TEDTALK อย่าพูดเยอะ ใช้เวลา 18 นาทีพอ ไปคิดเองว่าจะทำอย่างไร

1. อะไรคือกลยุทธ์ที่สร้างความประทับให้ผู้ฟัง

- มีตัวช่วยที่ทำให้เข้าถึงสิ่งแปลกใหม่ และหลังจาก 3 นาทีแรกผ่านไปจะทำให้เขาเปิดใจว่าจะพูดอะไรได้ง่ายขึ้น เรามีเทคนิคอะไรให้คนจดจำได้

Add spark to you talk – เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่เป็นตัวช่วย ทำให้การนำเสนอมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ดังนั้น ถ้าเราต้องการ Value Added ต้องฝึกเรื่องเสียง และพลังจากเสน่ห์ท่าทางจึงกลายเป็น Great Presenter

2. กลยุทธ์การสร้างหลากพัสสะ

สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ การเข้าถึงอารมณ์

- สร้างความอยากรู้ อยากเห็น ทำให้เราชวนติดตามว่าแล้วยังไงต่อไป

- ทำให้เกิดความรู้สึก In In กระแทกใจ สะเทือนใจ นั้นแปลว่าการทำ Speech ใน 3 นาที ต้องจัดระเบียบความคิด สร้าง Story ขึ้นมาแล้วหักมุม สร้างอารมณ์ขึ้นมาว่าเขากำลังสื่ออะไรในความรู้สึก เรื่องราวที่ที่สุดคือให้ดูว่ามี Story อะไรที่เป็นวิชาการมาใส่ในตัวเราแล้วทำให้เกิดเป็น Story telling ให้เข้าถึงอารมณ์ และเนื้อหาวิชาการแบบนี้ทำอย่างไรให้ Script ชื่นมื่นและเร้าอารมณ์

วิธีการที่ TEDTALKs ใช้แล้วเป็นที่จดจำคือ เกี่ยวกับจิตวิทยาการสื่อสาร

อะไรเป็นตัวบ่งบอกให้เข้าถึงอารมณ์

1. การใช้ภาษาท่าทาง 55%

2. เสียง 38%

3. เนื้อหาที่อธิบาย 7%

ให้มีการ Design การทำให้เกิดศิลปะและสุนทรีย์ในการสื่อสาร การรับรู้ให้ถึงผู้ชม ใส่พลังเสียง ใส่ภาษาท่าทาง ทำแบบ Average ที่เสนอไปในการสื่อสาร ให้เต็มที่กับบทบาทที่เกิดขึ้นบนเวที ใส่พระเอกหรือนางเอกไป

ดึงพลัง 38% และ 55%

กิจกรรมที่ 3 ให้แต่ละกลุ่มทำ Workshop การกระตุ้นกำลังภายใน ใช้เวทีให้เกิดประโยชน์เต็มที่ นอกจาก 7% แล้ว ต้องใส่ 55% และ 38% ด้วย จะแสดงละครโดยไม่มีใครทราบก่อนว่าเป็นละครเรื่องอะไร แสดงภายใน 30 วินาที ที่ต้อง Build Inner มาให้หมด ทั้งเสียง และภาษาท่าทาง

ให้แต่ละกลุ่มแสดงละครเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

- แม่นาคพระโขนง

- พระอภัยมณีกับผีเสื้อสมุทร

- บ้านทรายทอง

- ขุนช้าง ขุนแผน

- สโนไวท์ กับคนแคระทั้งเจ็ด

ให้แต่ละกลุ่มหาคีย์เวิร์ดกลุ่มละ 3 – 4 คำว่าเกี่ยวกับตัวเองอะไรบ้าง เช่น Inner เปล่งประกาย จินตนาการ

1. จินตนาการ มโน ปิ๊ง บรรเจิด

2. จุดเด่น

3. พล็อตเรื่อง ภาษาท่าทาง อารมณ์ ความรู้สึก ไอเดีย

4. มั่นใจ ต้องทำได้

5. ต้องมีบทบาทตัวแสดง อารมณ์ร่วง ใช้น้ำเสียง

6. บทบาท ท่าทาง จินตนาการ สนุนสนาน มีส่วนร่วม

ดังนั้น สิ่งเหล่านี้จึงเป็นการสื่อถึงอารมณ์ที่ทำให้เกิดความเร้าใจต่อผู้ชม ใน 30 วินาทีแสดงเลย และเมื่อมีผู้นำแล้ว ผู้นำจะตามมาเอง

อะไรก็ตามที่อยู่บนเวที แล้วคนจะจำได้จาก Visual จะเป็นตัวเร้ามากที่สุดที่แสดงความเร้าใจ ได้ถึง 55%

สิ่งนั้นจึงเป็น TEDTALKs เป็นตัวเบสิคที่ต้องดึงอารมณ์ออกมาได้

เราจะรู้สึกเวทีกับเราเป็นหนึ่งเดียวกัน จะไหลลื่นไปกับเวที เพราะเวทีเป็น Comfort zone ไปแล้ว ดังนั้น Drama ทำให้เราดึง Inner ลึก ๆ ออกมาได้ ดังนั้นสิ่งที่อยู่บนเวทีโดยขาดภาษาท่าทาง และเสียง จะไม่ทำให้เวทีบรรเจิด วิธีการให้การ Communication มีสีสันมากขึ้น เราต้องใช้ภาษาและท่าทาง

สรุป Key word ที่น่าสนใจของการสื่อสารที่ส่งเสริมให้เกิด Value Added ใน สคริปต์ของเรา คือ

1. Word

2. Way - พลังของเสียงมาจากภาษาท่าทาง

Action Speak louder than word

กระบวนการเตรียมก่อนนำเสนอ

กระบวนการเตรียมการก่อนการนำเสนอ เป็นช่วงที่เราต้องเรียนรู้เรื่องจิตวิทยาสมองและการสื่อสารต้องจัดความคิดตั้งแต่ Preparation เป็นการจัดความคิดที่กระจายจัดมาเป็นระบบ

อาจต้องใช้เวลามากในการเตรียมการณ์ แล้วจะทำให้การนำเสนอบนเวทีนำฉลุย

1. การจัดกระบวนความคิดให้เป็นระเบียบอย่างไร

Value of Organization

กระบวนความคิด ความรู้ที่มีต้องจัดให้เป็นระเบียบก่อนไปยื่นดอกไม้ให้

การเตรียมตัวให้เตรียมแบบ Power of Three

Power of Three

1. มี Topics กลางใจ แล้วใส่ประเด็นที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และสร้างเป็นภาพ

2. ในแต่ละเรื่องราวทำเป็น Power of Three

3. การร้อยเรียงเป็นภาพจะง่ายกว่าการใส่เป็น Wording

จะช่วยแก้ปัญหาที่เราลืม สามารถดึงเป็น Concept ทีละเรื่อง ๆ

อยากให้แต่ละท่านไปเปิดดูสุนทรพจน์ของ Steve Jobs เพราะเขาใช้ Power of 3 แล้วจะรู้ว่าเขาพูดได้สละสลวยเพียงใด

Topics ทำสิ่งที่รัก

1. เชื่อมโยงทำความเข้าใจ

2. ความงาม

3. รัก & ร้าง

สรุปคือ Power of Three ช่วยเรื่องการพูดอย่างไรบ้าง

1. ลำดับความคิดชัดเจนเป็นระบบทำให้การนำเสนอออกมาทีละเรื่องได้

2. ไม่ลืม

3. วาดรูปได้

ประเด็นการ Workshop

จิตวิทยาสมอง คือสมองขี่เบื่อ ดังนั้นจึงมี Workshop : Juicy & Jazz ให้น่าสนใจมากขึ้น คือมีทั้งความฉ่ำและสุนทรีย์ที่ทำให้เรารื่นรมย์และดิ่งลงไปใน Inner

เช่น ถ้ามะนาวเปรี้ยวจะรู้สึกอย่างไร – น้ำลายสอ เข็ดฟัน และถ้าเป็นท่าทางอาจทำปาก

กิจกรรมที่ 4 หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟ่บ และออกเสียงซี่ และเสียงชู่

การวางท่าทางบนเวทีเวลานำเสนองาน

1. ให้ยืนตัวตรง อย่างสง่างาม แบบ Basic Stand

2. การวางมือแขนตรง ๆ

3. เวลาฉาย Powerpoint อย่าฉายหันหลังให้ผู้ชม

วิธีการ Presentation

1. การให้เขามีส่วนร่วมใน Presentation

ตัวอย่างการฝึกพลังท้องน้อย ในการออกเสียง

- ยืดตัวตรง แล้วจะรู้สึกหน้าท้องเกร็ง ให้บริเวณท้องน้อยทำงาน

- มีท่าเลข 8 (ท่าอินฟินิตี้) เพื่อสร้างพลังให้เกิดที่หน้าท้อง ให้สะดือเป็นจุดศูนย์กลาง ทำให้ท้องยุบ ผนังท้องแข็งแรง ดังนั้นเวลาออกเสียงจะทำให้มีพลัง ใช้การหายใจแบบมีสติและมีพลัง

- ยืนตรง หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องยุบ กางแขนแล้วค่อย ๆ วาดแขนขึ้นบนสุด พูด โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด จะทำให้รู้สึกการไล่เสียงไต่ระดับขึ้นไป เป็นการบริหารหน้าท้อง

- หายใจเข้าท้องป่อง และหายใจออก พูด R ให้ยาวที่สุด ต่อมา เพิ่มเป็น R E A O U

- หายใจเข้าท้องป่อง และหายใจออก พูดเสียงโอม แล้วให้ทำเสียงขึ้นจมูก ม น ง ดึงไปถึงสมอง (ใช้เสียงขึ้นจมูกไปบำรุงสมองจะช่วยทำให้สมองเราเคลียร์ และปิดท้ายด้วยเสียง ม.)

2. Make a move เพื่อให้สมองได้รับการสั่นสะเทือน

- การทำท่าให้เกิดพลัง

3. สร้างจินตนาการร่วมกัน

- อาทิ เข้าห้องครัว เปิดตู้เย็น หยิบมะนาว มะนาวอยู่ในมือ หยิบมะนาวขึ้นมาดม มะนาวมีกลิ่น ดีดมะนาว เอามะนาวมาคลึงที่โต๊ะ แล้วดมอีกครั้ง จะหอมขึ้น หั่นมะนาว หยิบเขียง หยิบมีด หั่นมะนาวครึ่งซีก ดม และบีบมะนาว บีบมะนาว จะรู้สึกมะนาวสออยู่ในปาก จนรู้สึกฉ่ำอยู่ในปาก

ดังนั้นเมื่อเรา Presentation แล้วให้ผู้เข้าร่วมมีอารมณ์ Juicy & Jazz จะรู้สึกว่าผู้ฟังมีส่วนร่วมและจดจำหรือไม่ สิ่งนี้เรียกว่า Arts Feeling Participation ใส่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส สร้างการมีส่วนร่วม ให้กระบวนการนำเสนอน่าชวนติดตามไปเรื่อย ๆ ได้เคลื่อนไหว ใจ ความคิด การลงมือทำ และทั้งหมดนี้คือ เสน่ห์ในการนำเสนอ Arts & Feeling คือการทำให้เกิดเสน่ห์ และ Participation คือ การ Make a move ทำให้เกิดความประทับใจ และทำให้การนำเสนอมีรสชาติ และน่าจดจำแบบ TEDTALKs ถามว่ามีการดึงแบบศิลปินเยอะมากน้อยแค่ไหน

เสน่ห์เกิดขึ้นจากการ Design ดังนั้นช่วง Preparation จึงเป็นช่วงสำคัญที่สุด ในการลำดับเรื่อง และให้ใส่ Value Added ในการนำเสนอ ลงไปอย่างมี Arts & Feeling จะทำให้การนำเสนอเป็นแบบ Great Great Great

กิจกรรมที่ 5 ให้แต่ละคนนำเสนอเรื่องอะไรก็ได้ที่ทำให้เรารู้สึกเป็นสุข หรือเรื่องที่เจอเมื่อเช้าแบบลึกลงไปในอารมณ์ความรู้สึกเสนอให้เพื่อนในห้องชม โดยใช้เวลา 1 นาทีครึ่ง โดยใช้ Module ขอ Power of Three ใช้เวลาในการเตรียม 5 นาที

Topics : หัวใจฉันโลดแล่นเป็นสุข

ตัวอย่าง พูดเรื่องละครเมื่อเช้าที่รับบทเป็นชายน้อย

1. การทำงานเป็นทีม

2. บทที่รับ - คำพูดมีบทบาทอย่างไร

3. ความเชื่อมโยงกับทีมงาน

ตัวอย่าง การพูดถึงความสุขจากการเข้าอบรมในโครงการฯ

1. เพื่อน- วันแรก วันนี้ วันจบ

2. อาจารย์จีระ – วันแรก วันนี้ วันจบ

3. ทีมวิทยากร – วันแรก วันนี้ วันจบ

สรุปคือการสื่อสารก่อให้เกิดความเข้าใจในความคิดใน Power of Three อาจเพิ่มเติมการใช้พลังเสียงกับ พลังท่าทางทำให้เกิด Value Added นั้น

ตัวอย่าง มีความสุขจากการใช้เวลาว่างปลูกสวนมะม่วง 50 ไร่ที่แม่เมาะ

1. ความภาคภูมิใจที่เกิดขึ้น

2. รางวัล

3. แรงบันดาลใจ

ดร.จีระ เสริมว่า รู้สึกประทับใจ ได้กล่าวถึงความสำเร็จของมนุษย์มาจากแนวคิดที่อยู่ข้างในคือ Intangible ในอนาคตคิดว่า อาจารย์ตวง พี่จ้า และอาจารย์จีระ น่าจะอยู่ร่วมกัน

การประชุมใหญ่ระดับโลก การใช้ Power of Three นั้นมีความสำคัญมาก สอดคล้องกับสิ่งที่ดร.จีระนำเสนอ คือ 3 ประเด็นหลักเป็นอะไร ได้แนะนำว่าถ้าพูดเกิน 3 อาจจะไม่มีคนฟัง

ความเป็นเลิศของ กฟผ.ไม่ได้อยู่ที่ Content หรือเทคนิคเท่านั้น

มีหลักการอันหนึ่งที่ฝากไว้คือ เรื่องบุคลิกมีความสำคัญมาก ดังนั้นการพูดในที่ประชุมใหญ่เราต้องสง่างาม ดังนั้นการพูดใน 8 นาที แบบ TEDTalk ที่อาจารย์ตวงกล่าวจะทำอย่างไร

อยากให้คนในห้องคิดที่จะเป็นผู้นำ ต้องพูดให้เป็น เพราะในโลกการประชุมในอนาคตต้องรอบรู้ อยากให้คนในห้องมีความทะเยอทะยาน

การที่เราจะพูดอะไรตอนไม่มีสคริปต์ให้เตรียมให้ดี และมีประเด็นให้ชัด แต่ถ้าพูดไม่ดีอาจไม่พูดดีกว่า ประเด็นอยู่ที่การฝึก ได้ยกตัวอย่าง ท่านชวน หลีกภัย ก่อนที่จะพูด เขาได้พูดน่าห้องน้ำหลายครั้ง ฯพณฯเปรม ติณสูลานนท์ ก่อนพูดอาจารย์จีระ ร่าง Speech ท่านส่งไปที่กระทรวงต่างประเทศแก้ภาษา และส่งมาให้อาจารย์จีระดูเนื้อหาอีกครั้ง

จึงอยากบอกว่า เรื่องนี้ Art & Feeling เป็นสิ่งที่สำคัญ ต้องพูดให้เป็น แต่อาจไม่จำเป็นต้องพูดในห้องประชุมใหญ่ เช่น พูดกับลูกน้อง กับเจ้านาย หรือที่อื่น ๆ อยากฝากว่าอะไรที่ Light weight แต่สำคัญเป็นเรื่องทีสำคัญมาก มีอีกเรื่องที่น่าสนใจคือ Crucial Conversation

สรุป คือการพูดที่มีเสน่ห์ และใส่เป้าหมายจะทำให้มีประโยชน์

ตัวอย่าง ความสุขจากการเข้าร่วมกิจกรรมปั่นจักรยานร่วมกันของ กฟผ.

1. ความรู้สึกที่ได้รับ

2. ประสบการณ์ในอดีต

3. การเชิญชวนให้คนปรับพฤติกรรม

ดร.จีระ ได้เสริมว่า คนเราต้องหยุดและค้นหาตัวเอง ได้พูดถึงการออกกำลังกายวันละ 2 ชั่วโมง แต่ปัญหาของคน กฟผ. อาจจะเวลาน้อย สิ่งที่อยากฝากไว้คือให้แสวงหาสิ่งที่เป็น Moment ช่วงหนึ่ง สิ่งที่เขาค้นหาตัวเองได้ค้นพบว่าการออกกำลังกายสำคัญ

อย่างหลักสูตรนี้ ถ้านึกถึงดร.จีระ 15 นาทีและเชื่อมโยงอย่างไร จะมี Thinking มหาศาล ให้เปิดหลักสูตร และให้มี Moment ที่แนะนำ ไม่ว่าจะเป็น Happiness at work , Networking , Sustainability อยากให้ทุกคนแสวงหาความรู้ตลอดเวลา และให้สนใจเรื่องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพมากขึ้น


นำเสนองานกลุ่ม : วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือเล่มที่ เรื่อง Insight Out

โดย ตัวแทนกลุ่มทั้ง 5 กลุ่ม

ร่วมวิเคราะห์โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

หน้าที่ของ ดร.จีระ คือหาหนังสือที่ตรงประเด็น อยากให้เอาความรู้ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม

กลุ่มที่ 6 Persist

Persist

Grit

Attempt

Try

Effert

ทั้งหมดมีความหมายคือการพยายามไปสู่ความสำเร็จ

Lewis Pugh

มีจุดมุ่งหมายโดยการว่ายน้ำในทะเลที่มีน้ำแข็ง ส่วนหนึ่งคือมองว่าเขาตั้งเป้าหมายก่อน เกิดจากความมุ่งมั่นที่แน่วแน่ มีความเพียรพยายาม เกิดการตั้งเป้าหมายความกล้า ความพร้อม และมีน้ำใจ สู่การไม่ยอมแพ้เพื่อไปสู่เป้าประสงค์ที่ต้องการ

ความมุ่งมั่นต้องผ่านความทุ่มเท และเจ็บป่วย จุดที่จะเอาชนะจุดอับหรือทางตัน ได้ยกตัวอย่างของนักดนตรี คิดเรื่อง Good Day การฟังในสิ่งที่ดี และ Great Day เป็นการฟังในสิ่งที่ไม่เคยได้ยิน หมายถึงการก้าวข้ามความเจ็บปวด

การทำงานที่ดีจะเกิดจากการทำซ้ำ ๆ ทำแล้วทำอีก ผลลัพธ์ที่ดีจะเกิดจากความคิดที่ดี หรือมีความรู้เชิงลึกขึ้นมา

Angela Duckworth

กล่าวถึง Grit Scale ความพยายามในการตั้งเป้าหมาย ความอึด ความไม่ย่อท้อที่จะบรรลุเป้าหมายระยะยาว ตัว Grit เป็นตัวคาดหมายความสำเร็จได้ดีกว่าความฉลาดหรือ IQ และในส่วนนักลงทุนก็จะไปคาดหมายทางด้านการลงทุนได้ดีกว่า

Grit สามารถเปลี่ยนเส้นทางชีวิตได้ คนที่เรียนรู้สามารถเรียนเพิ่มเติมได้ และ Grit จะแข็งแกร่งขึ้น ถ้าคิดว่าความเพียร เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนกการเรียนรู้

Key คือการตั้งเป้าหมาย และแรงขับ เหมือนการบรรลุเวลาไปสู่เป้าหมาย เข้ากับ Chira Way คือชนะเล็ก ๆ และทำต่อเนื่อง

การดำเนินการต่าง ๆ คือการก้าวสู่เป้าหมายต้องก้าวด้วย Step ที่พอเหมาะ ก้าวเล็กความเสี่ยงต่ำ และอาจไปไม่ไกล ก้าวใหญ่คือจะเกิดอุปสรรคได้

Persist มองว่าอุปสรรคเป็นตัววัดโอกาสด้านความแข็งแกร่ง และดูความเชื่อมั่น

เส้นทางที่สำเร็จ เกิดจากมีจุดเริ่มต้น มีขั้นตอนกระบวนงาน

Richard

เป็นการตั้งเป้าหมายตัวเองใหญ่เข้าไว้ และทำไปสู่เป้าหมาย ทำให้เต็มที่ เรื่องความท้าทายต้องพยายามไปสู่จุดนั้น ทำแล้วทำอีก

Tina

เปรียบเทียบเรื่องพยายามกับความอยู่รอด อย่าทำให้การพยายามหนักเกินจนทำร้ายร่างกายและจิตใจ เปรียบตัวเองเหมือนกับเรือที่เจอคลื่น เจอลมสงบ เจอแดด ลมพายุ ตัวเรือถูกออกแบบให้รองรับสิ่งเหล่านี้ มีภูเขาเปรียบเทียบเสมือนอุปสรรค และภูเขาจะไม่เป็นปัญหาถ้าน้ำเต็ม แต่บางครั้งน้ำลดและอาจกระแทกภูเขาทำให้เรือเสียหาย อย่างไรก็ตามคือต้องดูแลตัวเอง พักผ่อนให้เพียงพอ ใช้เวลากับตัวเองและเพื่อน ส่วนภูเขาเปรียบเสมือนความเครียด การทำงานหนัก พักผ่อนไม่พอ เราต้องเรียนรู้ที่จะวิ่งเรืออ้อมภูเขาไม่ชนภูเขา

สรุปคือสิ่งที่เราเลือกจะเป็นตัวกกำหนดอนาคตว่าเป็นอย่างไร

ด้านความพยายามหรือความเพียรมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

1. เรียนรู้จากความผิดพลาดของเรา

2. พยายามก้าวย่างด้วย Step ที่เหมาะสม

3. เอา Grit ตั้งเป้าหมายและไปให้ถึง

4. สร้างตัวเองให้พร้อมต่อการเจออุปสรรคและเป้าหมาย

5. EGAT มีความพยายามตรงนี้หรือไม่ ความเพียร พยายามหาวิธีคิดว่าทำอย่างไรถึงไปถึงจุดนั้น เพราะบางทีไม่เห็นแนวทางในเชิงวิทยาศาสตร์ให้เห็น

เรื่องอิทฺธิบาท 4 มีความรักในสิ่งที่ทำ มีความขยันหมั่นเพียรในสิ่งที่ทำ มีใจมุ่งมั่นและการเอาชนะในสิ่งที่ทำ

ดร.จีระกล่าวเสริมว่า เมื่อเจออุปสรรคแล้วเราจะ Overcome ได้หรือไม่ เราพูดถึงบทเรียนของ กฟผ. แล้วเอาสิ่งนี้มา พูดเรื่อง Execution และ Get things done

กลุ่มที่ 5 Reframe

การปรับกรอบความคิดและการฝึกสมอง ตัว Reframe เป็นส่วนหนึ่งของ Innovation

Mauricio Estrella เป็น Designer ที่ครอบครัวเรา สิ่งที่พบคือทำงานคอมพิวเตอร์ต้องเปลี่ยน Password บ่อย และใส่ Password แต่ละครั้งจะยกว่า Forgive her และหลังจากนั้น 3 เดือนได้มาเมืองไทย

มีกรณีผู้หญิงแต่งงานแล้วเลิก แต่งงาน 7 ปีแล้วแยกทาง 2 ปี แต่มีบางวันที่มองในแง่บวก และแง่ดี ก็ทำให้รู้สึกดีขึ้น และเขาก็กลับไปอยู่กับผู้ชายคนนั้นต่ออีก 20 ปี

Reframe เป็น Power Tool ที่ช่วยแก้ปัญหา Big Problem ได้ และเป็นการเปิดช่องโอกาสต่าง ๆ ได้

ได้ยกตัวอย่างยาแก้ปวดไทลินอล เนื่องจากมีคนเอาไซยาไนต์ไปใส่ในไทลินอล แล้วคนตาย 7 คน บริษัทแม่อย่างจอห์นสัน เรียกคืนหมด และปรับปรุงแบบใหม่ภายใย 6 เดือน

มี Virtual liberty คือปฏิกิริยาของสมองที่เรียนรู้ได้เร็วและตอบสนองได้เร็ว เสมือนเป็นการบอกว่าสมองฝึกได้ และปรับได้ อีกเรื่องคือการตั้งคำถาม เช่น เลือกห้องพักเหมือนเลือกที่นั่งเที่ยวบิน มีการจองโรงแรมเหมือนจองเที่ยวบินได้หรือไม่ เป็นการวาง Concept ใหม่

วิธีคิดแบบตรงข้าม เช่นเวลาคิดว่าเราอยากได้อะไรให้คิดว่าเราจะให้อะไร หรือคิดว่าเราถูกแล้วคนอื่นผิด ให้คิดใหม่ว่าเราผิดและคนอื่นถูก

ดร.จีระ ได้ยกตัวอย่างหนังสือจาก Stanford เรื่อง Imagination สร้าง Creativity สร้าง Innovation และสร้าง Entrepreneurship และที่สำคัญต้องมีการทำต่อเนื่องด้วย

คนเราอยู่ที่วิธีการคิด ต้องปรับ Mental Model คือในใจเรามีแบบอย่างอยู่แล้ว ถ้าสมอง Frame แบบ Negative ถ้าไม่ Reframe แบบ Positive ปัญหาก็เจ๊งหมด ยกตัวอย่างถ้าปัญหาคิดแบบเดิม เช่นรถแต่ก่อนใช้ล้อหลังวิ่งมาจากเกวียน แต่ตอนหลังเปลี่ยนมาเป็นล้อหน้าวิ่ง อย่างเช่นการหย่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มองในแง่บวกว่ายังมีผู้ชาย และผู้หญิงอีกเยอะ หาได้ อย่างเรื่องชุมชนหลายคนมองว่า Hopeless แต่ถ้ามองว่าทำได้ ทำได้ทำได้ Reframe จะช่วยได้มาก

การเอาไอเดียใหม่ ๆ ไปการปฏิบัติ ถ้าล้มแล้วก็ลุกต่อไป ถ้ามีลูกน้องที่ฉลาดบางครั้งก็ให้พูด ให้ออกไอเดีย เพราะสภาพแวดล้อมฆ่าไอเดียใหม่ ๆ สิ่งนี้เป็น Paradigm ที่เป็น Outside In

กลุ่มที่ 4 Experiment

เรื่องแนวคิดการทดลองดำเนินธุรกิจใดก็ตามก่อนดำเนินงานจริง เพื่อไม่ให้เกิดการเสียหายหรือเสียเงินมาก อย่างเรื่องไข่แตก เกี่ยวกันคือถ้าไม่ให้ไข่แตกก็ไม่อร่อย ต้องมีการสูญเสียบ้าง

การวางอย่างไรให้สอดคล้องกับ Strategy มีการกระตุ้นในกรณีที่โครงการเปลี่ยน

Adeson มีการเปรียบเทียบระหว่างเด็กเล็กกับเด็กโต เป็นการทดลองทางด้านจิตวิทยาและแรงจูงใจในการทำงาน

อีกเรื่องเป็นการทดลองเพื่อให้เห็นว่าถ้าดำเนินกิจการแล้วจะไม่สูญเสีย

เป็นการใช้นวัตกรรมที่ผสมผสาน เป็นหัวหน้าฝ่ายของ Google

มีการเริ่มเปิดขายรถทางอินเตอร์เน็ต แต่ไม่มีรถจริงขาย

การสร้างแรงบันดาลใจเล็ก ๆ แล้วเกิดสิ่งใหญ่ในอนาคต

นักแสดงที่มาทำเรื่องกระถาง เนื่องจากเมืองนอกไม่ค่อยมีแสงแดด และเติบโตช้าจึงคิดกระถางที่สามารถเก็บต้นไม้ไปปลูกฤดูร้อน

คนอินเดียที่สนใจในเรื่องเอดส์มีคนเป็นเอดส์เยอะ จึงใช้วิธีการสื่อสารและทดลองหลายครั้ง

มีการทดลองในกรณีเหตุการณ์เสมือนจริงเพื่อไม่ให้เกิดการเสียหายมากกว่านี้

มีการจำลองสถานการณ์ที่หุ่นยนต์ทำงานแต่เหมือนคนทำงาน

สิ่งเล็กน้อยที่คนทำมีการกระจายงาน ให้ค่าจ้างต่อสัปดาห์น้อยมาก

นาซ่า ใช้ดาวอังคาร จะมีการทำแผนที่ดาวอังคาร มีจุดเล็ก ๆ สร้างบรรยากาศโดยรอบ เปิดให้ผู้สนใจมาทำ แล้วมาปะติดปะต่อว่าดาวอังคารเป็นอย่างไร

พิน็อกคิโอ ตุ๊กตาไม้ เป็นการทดลองจิตรกรรมในแง่จิตวิทยา เช่นถ้าจมูกยื่นออกมาจะเป็นอย่างไร เป็นเสมือนการตั้งสมมุติฐาน

การให้เด็กรักษาไข่ ปกป้องไม่ให้ไข่แตก เสมือนผู้ประกอบการที่มีกิจกรรมต้องเกิดขึ้นแต่ละวัน ไข่ต้องมีการเคลื่อนย้าย เป็นต้น

การเปิดเว็บไซด์เพื่อดูความสนใจลูกค้าต่อการซื้อขายรถทั้ง ๆ ที่ไม่มีรถจริง

Peter sims เริ่มจากการค้นคว้า ทดลอง และไอเดียใหม่ขึ้นมา

สรุปคือ เอกสารเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทดลอง ลองผิด ลองถูก เริ่มจาก Motivation ในการคิดค้น การสร้างสรรค์ การลองผิดลองถูกต่าง ๆ กระบวนการทดลองเพื่อการค้นคว้า

กฟผ.โครงการที่เป็นประโยชน์ และคิดว่าไม่คุ้มค่าในการลงทุนคือสร้างระบบส่งน้ำ พื้นที่รับน้ำและฝนลงใกล้เคียงกัน แต่การสร้างอุโมงค์เพื่อรองรับ ก็ไม่ได้ช่วยประโยชน์อะไร

มีการสร้างถ่านลิกไนต์ ให้ชุมชนดูที่ศูนย์นี้ มีการประหยัดไฟเบอร์ 5 มีการปรับสูตรแอร์ มีการเสียหายจากการทดลอง

ดร.จีระ กล่าวเสริมว่าเป็นข้อดีสำหรับการทดลองการดำเนินการต่าง ๆ ให้กับ กฟผ. ให้นำตัวอย่างเหล่านี้ไปศึกษาดู บางเรื่อสามารถทดลองมากขึ้น ถ้าดีจะออกมาเป็น Innovation ไม่ดีก็จะเป็น Damage

กลุ่มที่ 3 Motivate

ทั้งเล่มพูดเรื่อง Imagination จินตนาการเปิดสมอง คิดใหม่ ๆ และตามมาด้วย Creativity และพูดเรื่องการ Motivation และ การทดลองต่าง ๆ ต่อมาจะทำให้เกิด Innovation มีการทดลองซ้ำ และพูดถึงการนำไปใช้จริงในการดำเนินการ

เรื่อง Motivate มี Autonomy Mastery และ Purpose

  • Autonomy เป็นการเลือกสิ่งที่จะทำ ทำอะไรอย่างไร
  • Mastery เป็นโอกาสที่จะสำเร็จในงานนั้น ๆ
  • Purpose กำหนดสิ่งที่จะ Motivate

เมื่อ 3 ส่วนครบก็ Motivate ได้เลย

ยกตัวอย่าง Don Matrix ทำอย่างไรให้เด็กมีการใส่ใจในการเรียนมากขึ้น ให้เชิญนักเรียนมาทำ Project มีการกำหนดบทเบื้องต้นว่าจะทำอะไร นอกจากนั้นช่วยเหลือโดยการหา Expert ให้ และเมื่อสำเร็จให้เอาความสำเร็จไป Share คนอื่นว่าทำอย่างไร และบอกคุณครู ผลที่ได้คือเด็กมีความใส่ใจในชีวิตประจำวันและเอาไปใช้ได้มากขึ้น

ตัวอย่างที่สอง เป็นเรื่องทหารทำการวิจัยระหว่าง Internal & External motivation ได้ทำการทดลองกับโรงเรียนทหาร ทำอย่างไรได้งานดี พบว่าคนที่มี Internal ดีอยู่แล้วจะทำได้ดีกว่าคนไม่มี Internal

2. คนที่มี Motivate ในสูง และExternal Motivateสูงด้วย จะอยู่ได้ไม่นาน เพราะถ้าไม่ได้อย่างที่อยากได้แล้วออก

มีการทำสรุปข้อตกลงการเชื่อมโยง

ตัวอย่างที่สาม การออกแบบเครื่องวัดการทำงานของหัวใจ ใช้สามีที่บ้านทดสอบ ซึ่งสามีเป็นคนที่สุขภาพดี อายุ 41 ปี ออกกำลังกายเป็นประจำและวันหนึ่งสามีตายไปเนื่องจากเป็นโรคหัวใจจากการไปออกกำลังกายที่ยิม แล้วเส้นเลือดอุดตัน เลยมีแรงจูงใจในการพัฒนาเรื่อง ประเภทของเส้นเลือดหัวใจอุดตันมีอย่างไรบ้าง และทำการวิเคราะห์ในเรื่องความถี่ที่สอดคล้องกับโรคหัวใจ ทำการวิเคราะห์เงื่อนไขอะไรที่กลุ่มคนไข้มีปัญหา และร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ทำการประดิษฐ์เครื่องวัดระบบหัวใจที่ดีพอสมควร เป็นการตรวจสอบได้ว่าคน ๆ นี้จะเป็นโรคหัวใจหรือไม่ ซึ่งจะมีคุณค่ามหาศาล

ผู้หญิงคนหนึ่งที่ต่อสู้ในปากีสถาน เป็นการเคร่งครัดในขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม ได้เห็นเพื่อนถูกฆ่าจึงมีแรงจูงใจในการช่วยเหลือให้ผู้หญิงทุกคนสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องอยู่กับครอบครัวที่โหดร้ายขนาดนั้น มีเป้าหมายช่วยเหลือผู้หญิง 1 ล้านคนในอีก 10 ปีข้างหน้า อยากช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม

จากที่ยกตัวอย่างมาส่วนใหญ่ เรื่อง Motivation นั้นมาจากการสะเทือนใจให้เกิดขึ้น และแต่ละคนจะมี Motivation อย่างไรบ้าง

1.Confidence เป็นความเชื่อมั่นว่าทำได้แน่นอน

2.Passion อยากหรือไม่อยาก มีความสนใจที่จะทำหรือไม่

1.High Confidence High Passion – คนมีลูกน้องแบบนี้ใช้ได้เลย

2. High Passion Low Confidence – ต้องมีการฝึก ให้โอกาสในการฝึกฝนให้เชี่ยวชาญขึ้น สามารถ Motivate คนกลุ่มนี้ให้ทำงานได้ดี

3. High Confidence low Passion – รู้ว่าทำได้แต่ไม่อยากทำ เป็นลักษณะคนขี้เบื่อ เป็นกลุ่มคนที่น่าเป็นห่วงมาก ๆ พยายามให้มีน้อยในกลุ่มงาน เช่น อาจเสริมงานใหม่ ๆ

4. Low Confidence low Passion – หาวิธีการ ให้รางวัลกระตุ้นไปเรื่อย ๆ หรือใช้เทคนิคแบบ Small Step ค่อย ๆ เคลื่อน แต่ก้าวยาวไม่ได้เพราะอาจพลาด แต่กลุ่มนี้ยังพัฒนาให้เกิด Motivate ได้

ในกฟผ. เรื่องการ Motivate บุคคล จะมีเรื่อง Common Goal การให้รางวัล สิ่งแวดล้อม การอบรม สร้างความท้าทาย เป็นต้น

ดร.จีระ เสริมว่า หลักสูตรนี้ต้องให้มี Inner benefit ของเราไม่ใช่แค่โบนัสหรือเงินเดือน ตัวขับเคลื่อน Motivation ที่ยิ่งใหญ่ คือ HRDS ทำให้ขับเคลื่อน สิ่งที่สำคัญของ Motivation คือ Internal ที่ต้องเสริมเข้าไปคือมีความสุขในการทำงาน เคารพคนในองค์กร มีศักดิ์ศรี และมีMeaning เป็นต้น ตัวขับเคลื่อนคือตัวความเป็นเลิศ คนได้ฝึกทุกวัน และเรียนรู้ทุกวัน สามารถเอาชนะจุดอ่อนได้ และจังหวะที่ Motivate ให้เป็นเลิศ เป็นตัวอย่างที่ดี เพราะถึงจุดหนึ่งไม่พอ เพราะความจริงแล้ว Motivation ต้องอยู่ที่ข้างในของเราพร้อมหรือไม่ที่จะ Overcome Difficulty และเมื่อ Motivation ที่เหมาะจะ เกิดCreativity และ Innovation และไปสร้าง Entrepreneurship

Innovation มีหลายสาขา และที่น่าสนใจคือ Social Innovation คือการจัดการในชุมชนเป็นเรื่องใหญ่ของ กฟผ.ที่ต้องใช้ Internal Motivation ที่ต้องฝังไปใน DNAต้องเอาชนะอุปสรรคให้ได้

Sustainability เป็น Motivation ที่สำคัญที่ต้องทิ้งมรดกให้รุ่นน้องยั่งยืน ต้องเป็น Internal Motivation และเป็น Intangible ที่มองไม่เห็น

กลุ่มที่ 2 Envision

Envision คืออะไร เวลาเราทำงานอะไรเราต้องเห็นภาพว่ามีอะไรเกิดขึ้น เห็นปัญหาอย่างไรและจะเอาชนะปัญหาหรืออุปสรรคจนถึงเป้าหมายได้อย่างไร มีการยกเป้าหมายแต่ละคนมา

Julia เป็นนักเรียนที่ Stanford พยายามคิดไปเรื่อย ๆ ในการหาข้อมูลขับรถ มีการลงแข่งเป็นคนที่อายุน้อยแค่ 21 ปี แต่ถ้าสามารถผ่านการแข่งในระยะเวลาที่ยาวนานไปได้

และตอนเด็กเคยขับรถ Go cart ด้วย แสดงถึงไม่ใช่เป็นแค่สิ่งนี้สิ่งเดียวแต่มีประสบการณ์อื่นด้วย

นักกอล์ฟ ส่วนใหญ่ก็ต้องคิดถึงว่าเวลาหวดลูกต้องคำนึงถึง Stepต่อไป

นักมวยก็ต้องฝึกจิตใจ

นักเขียน ก็จะเขียนหนังสือที่เปิดภาพว่าความคิดควรเปิดโล่ง หนังสือพูดถึงส่วนอื่นด้วย เด็กจะเล่นในรูปแบบไหนก็ได้ ในระยะหลังมีการปรับวิธีการเล่น

มีการ fit แนวคิด และเอาบล็อกมาประกอบอะไรก็ได้

มาร์ติน ลูเตอร์คิง เป็นคนเขียนเรื่องการต่อต้านสีผิว เรื่องคนขึ้นรถบัส และในอเมริกาก็มีวัน มาร์ติน ลูเตอร์คิงขึ้นมา และยังเป็นตัวอย่างของการต่อสู้อย่างสันติวิธี พูดว่าคนเราไม่ได้อยู่ที่สีผิวแต่อยู่ที่ข้างในเป็นอย่างไร

ไอน์สไตล์พูดว่า ถ้าไม่มี Imagination ก็ไม่มีสิ่งใหม่เกิดขึ้น เป็นจุดที่นักวิทยาศาสตร์คิดในสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน และคิดว่าเกิดขึ้นได้หรือไม่

Anna เป็น สส. เริ่มจากทำงาน Foundation ก่อน และคิดว่าไม่ใช่แค่ Imagine จะพอเพียงแต่จะเจออุปสรรคและปัญหาอย่างไรและจะเอาชนะอย่างไร

เนื้อหาที่ได้คืออะไรจะเกิดขึ้น และจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไรถึงจะสำเร็จตามที่วางไว้

กฟผ. วางไว้อย่างไรจะเดินไปจุดนั้นอย่างไร เช่น ASEAN Grid มี Step ในการเดินอย่างไร ควรมีเป้าหมายรองว่าจะไปจุดไหน และมีระยะยาว

เรื่อง Creativity เป็นการสร้างโอกาสให้เกิดขึ้นว่าจะไปใช้งานในส่วนใดได้บ้าง

ดร.จีระกล่าวเสริมว่า Process Imagination ที่เกี่ยวกับ กฟผ.ให้แบ่งให้ดี สำหรับ ดร.จีระ ไม่กล้าใช้ Imagination ลอย ๆ และเห็นว่าผู้หญิงคนนี้ชัดเจนว่า Imagination ต้องมาก่อน Creativity

มาร์ติน ลูเตอร์คิง กล่าวว่า I have a dream เป็นทั้ง Imagination และ Vision การเรียนภาษาอังกฤษต้องแยกให้ดี Imagination เป็นอะไรที่ไม่มีขอบเขต แต่ Creativity มีLimit

กลุ่มที่ 1 Engage the Key in the Building

ในเรื่องนี้มีหลายตัวอย่างที่สรุปมาได้คือมีอาจารย์สาขาประวัติศาสตร์สาขาประติกรรมศาสตร์ให้ดูภาพอะไรสักอย่าง นาทีแรกเห็นอย่างหนึ่ง จ้องต่อไปเห็นอีกอย่าง และจ้องนานไปเห็นเรื่อย ๆ สรุปได้ว่าการมองเห็น การได้ยินของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หรือบางคนไปในที่วุ่นวาย สับสน อลหม่านไม่ได้เห็นอะไรเลยก็ได้

การสังเกตเป็นเสมือนกุญแจที่เปิดโอกาสให้เห็นสิ่งต่าง ๆ มากมาย ถ้าเรามีการสังเกตจะทำให้เราพบแรงบันดาลใจ มีโครงการที่ซีไรต์ที่ได้จากการสังเกตและนำไปใช้สู่โครงการรถสาธารณะ การสังเกตและการค้นหาเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง สิ่งหนึ่งที่จำเป็นคือต้องการมีส่วนร่วม ไปเกี่ยวข้อง หรือเรียนรู้ และค้นหาแรงบันดาลใจได้

ความอยากรู้อยากเห็น จะพบว่าเด็กเป็นคนที่อยากรู้อยากเห็น เด็กจะมีคำถามเยอะแยะ แต่ผู้ใหญ่เป็นคนสกัดกั้นโอกาสของเด็ก ที่จริงแล้วทั้งเด็กและผู้ใหญ่สามารถสร้างการอยากรู้อยากเห็นด้วยการตั้งคำถาม และผู้ใหญ่ทำได้โดยตั้งคำถามและตอบคำถามตัวเอง เปรียบเสมือนให้ปุ๋ยตัวเรา

การค้นหาแรงบันดาลใจ เป็นสิ่งที่สามารถทำให้กระตุ้น ปรับเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม สิ่งที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจต้องพาตนเองไปสู่ประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้มีทัศนคติเชิงบวก หาคนที่อยู่รอบตัวเราและเป็นแบบอย่างได้ หาสิ่งที่เป็นคุณค่าและแรงบันดาลใจ ปรับกรอบ Mindset เพื่อการสร้างโอกาสต่าง ๆ มากมาย มีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

สิ่งจำเป็นอีกตัวหนึ่งที่ทำให้สำเร็จได้คือความผูกพันที่ต้องคลุกคลีและจบต่อ ซึ่งไม่มีการผูกพันก็ไม่สามารถสำเร็จได้

ความผูกพันสามารถทำให้ทุกเรื่องประสบความสำเร็จได้

ดร.จีระ เสริมว่ามี Imagination มาจากแรงบันดาลใจ และความอยากรู้อยากเห็น และการสร้าง Engagement

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

วิชานี้คือกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของท่านคือ Learn – Share – Care อันนี้ได้แนวคิดของ จอห์น แกรแฮม และที่วิเคราะห์กับกรณีศึกษาของ กฟผ. ถือว่าเป็น Great day คือเหนือความคาดหมาย

การ Reframe คือการมองอีกด้านหนึ่ง ได้มองว่าสิ่งที่ทุกกลุ่มพูดมาทั้งหมดคือกระบวนการอย่างหนึ่งที่นำสู่ความสำเร็จแบบสร้างมูลค่าเพิ่ม อาจมีแนวคิดใหม่ ๆ เกิดกระบวนการ 3 v และที่ Hi-light คือ Value Diversity ผ่านกรณีศึกษาของผู้ที่ประสบความสำเร็จสมัยใหม่ เริ่มต้นจากต้องมีแนวความคิดก่อน คือ Imagination จะเกิด New idea และกระบวนการต้องมาสร้างแรงจูงใจ แรงบันดาลใจ และต้องมีการ Motivation มีการขับเคลื่อนอย่างแรง

กระบวนการ Drive จะไปสู่กระบวนการปฏิบัติ สิ่งหนึ่งที่เห็นคือ Positive Thinking คือคิดบวก สิ่งนี้ช่วยให้ก้อนแรงบันดาลใจถูกผลักดันไปสู่ความสำเร็จ และการนำสู่การปฏิบัติต้องมีการ Set goal ต้องมีกระบวนการต่าง ๆ ที่ต้องปฏิบัติที่ก้าวข้ามอุปสรรคไป และถ้าบังเอิญก้าวไปสู่ความสำเร็จ คิดว่าก็คงเป็นแค่ Good day ของ จอห์น เกรแฮม คือเป็นตามคาดหมาย แต่ถ้าล้มเหลว และมอง Reframe พอล้มเหลวก็มีกระบวนการ Reframe Re-brain Rethinking และตอนนี้อาจโชคดีได้ Creativity นำสู่การปฏิบัติใหม่ พอกลับเข้ามาก็อาจประสบความสำเร็จ มีกระบวนการในทีม และส่วนบุคคล และนำไปสู่ Innovative Goal และนำไปสู่ของ จอห์น เกรแฮมคือ Great day

ดร.จีระ Motivation – on top on your task คืออย่าง กฟผ. จัดการแค่ครึ่งเดียว แต่ถ้ามองกฟผ.เป็น Brand ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม Green กฟผ.ยังไม่ Mastery

Reframe เป็นการ Think Differently than the past , Victim ความสำเร็จมาก

ได้กล่าวถึงหนังสือ From good to great ที่เขียนโดย นักเขียนที่อยู่ Stanford เช่นเดียวกัน อยากให้กลับไปดูดอีกครั้งหนึ่งว่า Process มีอะไรนำไปใช้ได้

Innovation คือช่วงที่เอาความคิดใหม่ ๆ ไปปะทะกับความจริงคือไปปะทะกับ Customer ซึ่ง Customer ที่ยิ่งใหญ่คือชุมชนที่ต้องชนะให้ได้ ดังนั้นเรื่อง Process นั้นไม่วิตก จะ Overcome difficulty และ get things done แต่ถ้าเอาชนะสิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้ก็ยังไม่มี Great day และต้องให้ชุมชนเข้าใจเรา สร้างการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง เอาคนที่เข้าใจเรามาช่วยสอน ดังนั้น Great day ของกฟผ.มีในอนาคตแต่ยังไม่เกิดถ้าเอาชนะอุปสรรคไม่ได้

ในมุมมอง Entrepreneurship น่าจะเป็นกระบวนการในการเอา Innovation ไปสู่ความสำเร็จ


โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

https://www.youtube.com/watch?v=MYH9AGkLk2Y&feature=youtu.be

ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”. ตอน : CSR จากภูผาสู่มหานคร ตอน 1

ออกอากาศเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม 2559 ทางสถานีโทรทัศน์ TGN


https://www.youtube.com/watch?v=y64Wk_cfwek&feature=youtu.be

ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”. ตอน : CSR จากภูผาสู่มหานคร ตอน 2

ออกอากาศเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2559 ทางสถานีโทรทัศน์ TGN


http://www.gotoknow.org/posts/607218

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 25 พฤษภาคม-8 มิถุนายน 2559

หมายเลขบันทึก: 606359เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2016 19:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2016 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)
พิพัทต์ คงสินทวีสุข

เรียน อ.จีระ หงส์ลดารมณ์

วันที่ 16 พ.ค.59 เช้า

Topic : Learning Forum &Activities หัวข้อ Creative & Innovative Leadership กับการพัฒนางานของ กฟผ.

วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน”

โดยอาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์ CLO (Chief Learning Officer) บริษัท37.5องศาเซลเซียส จำกัด

Creative thinking ทำเพื่อต้องการให้องค์กร, หน่วยงาน ได้ผลลัพธ์ใหม่ๆ จึงจำเป็นต้องมีการคิดสิ่งใหม่ๆ วิธีการทำงานใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

ไอสไตน์ “ฟั่นเฟื่อน บ้าคลั่ง ทำสิ่งที่ดีขึ้น ดีขึ้น เพื่อให้ได้ผลที่แตกต่าง ถ้าทำสิ่งเดิมๆ ผลลัพธ์ก็เดิมๆ”

86% ของคนที่ประสบผลสำเร็จในการทำงานในทุกระดับขึ้นอยู่กับ 2 สิ่งที่เป็นแก่นแท้ ในตนเอง คือ

1.มนุษย์สัมพันธ์ เพื่อให้ได้รับความร่วมมือในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้สำเร็จ

2.ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อจุดประกายให้เกิดการทำสิ่งใหม่นำไปสู่ Innovation

การกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ต้องใช้แรงจูงใจ 3 วิธี คือ

1.เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ผลลัพธ์ใหม่ๆ

2.เพื่อให้ได้ความก้าวหน้าในการทำงาน (ประสบความสำเร็จ)

3.เพื่อจะได้รับผลตอบแทนหรือรางวัล

บรรยายกาศในการสร้างสรรค์ มี 2 ด้าน

ด้านมืด (ปิด) (ควรหลีกเลี่ยง) ด้านสว่าง (เปิด)

Ccritical วิจารณ์ O open minded เปิดกว้างสำหรับความคิดใหม่ๆ

L lashing เคร่งครัด Pperceptive ปัจเจกชน

O opportunistic ปิดกั้นโอกาส Eequal เท่าเทียมกัน เสมอภาค

Ssolo หัวหน้าเก่งคนเดียว N nurturing เปิดโอกาส

E egotistical ไร้ความภาคภูมิใจ E encourage แรงส่งเสริม

D dogmatism ความคิดของหัวหน้าเป็นใหญ่ Ddescriptive การให้รายละเอียดซึ่งกันและกัน

วิธีการทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ 4 M คือ

mechanic คิดตามstep

mindset ความเชื่อที่มีต่อพฤติกรรม

mood อารมณ์สร้างสรรค์

momentum ทำให้ยั่งยืน

กรอบความคิด มักจะติดขัดกับกรอบองค์กร ระเบียบ งบประมาณ กรอบของสังคม

ฉะนั้นการคิดต้องคิดนอกกรอบขององค์กร และนอกกรอบสังคม ก่อน แล้วค่อยบ่มความคิดให้เป็นความคิดคร่อมกรอบ

กรอบที่กีดกันกรอบความคิดสร้างสรรค์ ของคนส่วนใหญ่ คือ ความกลัว จึงต้องขจัดสิ่งนี้ออกไปจากตัวตนเอง

สำหรับในส่วนของ กฟผ. ยังติดกับดักเรื่องกฏระเบียบองค์กร ทำให้ไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์เท่าที่ควร อีกทั้ง ขาดแรงจูงใจ และผู้ปฏิบัติงานคิดว่า กฟผ.อยู่ใน comfort zone จึงไม่จำเป็นต้องคิดที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จึงเป็นหน้าที่ของผู้นำ ต้องมีการสร้างแรงกระตุ้น สร้างแรงจูงใจ ให้กับผู้ปฏิบัติงาน gen y เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

วันที่ 16 พ.ค.59 บ่าย

ศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์

การจัดการองค์กรในแนวคิดใหม่ โดย อาจารย์ นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน

การเดินทางไป Hospital Tour ที่ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์ ครั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มเข้าไปในโรงพยาบาล เรามีความรู้สึกว่าเหมือนเดินเข้ามาในโรงแรมหรู ได้รับฟังการนำเสนอแนวทางบริหารการจัดการองค์กร จากท่านอาจารย์ นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน ซึ่งเปรียบได้กับวิชา การคิดนอกกรอบ การคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ที่ประสบความสำเร็จ มีความสามารถหารายได้เพื่อใช้เป็นงบประมาณในการบริหารจัดการในโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์ แล้วยังสามารถนำส่งเงินรายได้ให้กับโรงพยาบาลศิริราช ด้วย

ช่วงท้ายได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมห้องพักผู้ป่วยใน ราคา 25,000 บาท/คืน และ 40,000 บาท/คืน ภายในได้มีการตกแต่งให้ดูหรูหรา บรรยายกาศในห้องสามารถเห็นวิวริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สวยงาม มีเครื่องมือและทีมแพทย์ ที่พร้อมให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชน ซึ่งเป็นทางเลือกให้กับประชาชนได้เลือกใช้บริการที่ต้องการความสะดวก รวดเร็วกว่า

สรุปได้ว่าการบริหารจัดการองค์กร โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์ ของท่านอาจารย์ฯ คือ ต้องมี net work ที่ดี ซึ่งจะให้ความช่วยเหลือ ให้การปรึกษาแนะนำ ใช้ทฤษฎี 3R คือ ต้องปะทะความจริงว่าอยู่แบบเดิมๆไม่ได้ต้องคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ต้องบริการตรงประเด็นตรงกับความต้องการของผู้ที่มาใช้บริการ , ผลลัพธ์ที่ต้องสนองต่อปณิธานของรัฐ

วันที่ 17 พ.ค.59 เช้า

Topic : หัวข้อ เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยประชาคมอาเซียนAECกับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

โดย ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ ที่ปรึกษาอาวุโสบริษัทจัดการธุรกิจจำกัด

จากการได้ฟังการบรรยายของอาจารย์ 2 ท่าน ผลการประชุมที่ปารีส โดยผู้นำ 150 กว่าประเทศ ได้มีข้อตกลงในการปัญหาก่อการร้าย ข้อตกลงลดความร้อนโลก ซึ่งมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซ CO2 รวมไปถึงการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. เป็นแรงกดดันให้อุตสาหกรรม ต้องมีการเปลี่ยนแปลง และโลกมีแนวโน้มไม่สนับสนุนให้ใช้เชื้อเพลิงประเภทฟอสซิล ในการผลิตไฟฟ้า

ประชาคมอาเซียน (AEC) เกิดขึ้นจากการก่อตั้งอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN) ตั้งแต่ปี 2510 ตามปฏิญญาอาเซียน หรือปฏิญญากรุงเทพฯ โดยทิศทางการวางแผนด้านเศรษฐกิจของอาเซียนเริ่มชัดเจนมากขึ้นหลังจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2519 โดยผู้นำอาเซียน 5 ประเทศ ได้ลงนามร่วมกันในเอกสารสำคัญ 2 ฉบับได้แก่ Declaration of ASEAN และ Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia ที่ระบุความร่วมมือทางเศรษฐกิจหลายด้านเพื่อการดำเนินการต่อไป ต่อมาในช่วงปี 2521- 2540 อาเซียนได้ขยายความร่วมมือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ความตกลงที่สำคัญที่สุดคือ การจัดตั้ง “เขตการค้าเสรีอาเซียน” (ASEAN Free Trade Area : AFTA) การเจรจาเพื่อตกลงจัดทำเขตการค้าเสรีได้ทำให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและยังขยายออกไปนอกภูมิภาค วิวัฒนาการนี้ได้ดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังมีประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีน ที่มีเศรษฐกิจรุ่งเรืองจนสามารถซื้อทุกอย่าง สร้างทุกอย่างจนถึงปัจจุบันเริ่มเกิดเป็นฟองสบู่ จีนเริ่มมีปัญหาทางเศรษฐกิจ ฟองสบู่เริ่มแตก ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจไทยและทั่วโลก อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ปัจจุบันอาเซียนนับเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับหนึ่งของไทยมากกว่า EU หรือ US หรือญี่ปุ่น และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในด้านการค้าและการลงทุนอาเซียนจัดเป็นตลาดสำคัญและมีศักยภาพ ด้วยประชากรราว 600 ล้านคน มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ รวมกันกว่า 1.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นกลุ่มทางเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่กลุ่มหนึ่งของโลก

ประโยชน์จาก AEC Blueprint ต่อประเทศไทย

สร้างตลาดขนาดใหญ่เพื่อขยายโอกาสด้านการค้าและการลงทุน ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มการจ้างงานของประชาชนภายในประเทศ จากการขยายตัวด้านการค้าและการลงทุน เมื่อเปิดเสรีในสาขาบริการที่เน้นใช้แรงงาน จะทำให้สัดส่วนการจ้างงานในภาคบริการขยายตัวสูงขึ้น

เกิดการส่งเสริมด้านแหล่งวัตถุดิบ เพื่อให้นำวัตถุดิบจากในประเทศมาใช้ประโยชน์ ลดต้นทุนการผลิตและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางการค้า

สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในสายตาประชาคมโลก การรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและชัดเจนจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาคมโลกเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยและของภูมิภาค

เปิดโอกาสให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคเข้าถึงบริการที่ดีขึ้นในราคาที่ถูกลง จากการเปิดเสรีในด้านโทรคมนาคมและการเงิน โดยลดข้อจำกัดในการจัดตั้งธุรกิจของบริษัทต่างชาติ ทำให้ผู้ประกอบการด้านการผลิตและการเกษตรเข้าถึงบริการและแหล่งเงินทุนได้มากขึ้นในต้นทุนที่ต่ำลง ในขณะที่ผู้บริโภคมีทางเลือกในการใช้บริการที่ดีขึ้นจากผู้ให้บริการทั้งในและต่างประเทศในราคาที่ถูกลง

ช่วยให้แรงงานมีฝีมือไทยมีโอกาสเข้าถึงแหล่งตลาดในอาเซียนเพิ่มขึ้นและช่วยให้แรงงานฝีมือดีมีการพัฒนาความถนัดเฉพาะทางมากขึ้น

ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนภายในประเทศ ซึ่งมีผลการศึกษาว่าการเป็น AEC จะช่วยให้ GDP ของประเทศสมาชิกอาเซียน ขยายตัวขึ้นถึงร้อยละ 8-10 ต่อปี

ผลกระทบของ AEC Blueprint ต่อประเทศไทย

ภาคการผลิตที่ไม่พร้อมในการแข่งขันหรือไม่มีความได้เปรียบในด้านต้นทุน ต้องเผชิญกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องจากการลดอุปสรรคในด้านการค้าและการลงทุนต่าง ๆ ทำให้ผู้ประกอบการจากต่างประเทศสามารถเข้าสู่ตลาดได้สะดวกมากขึ้น และเพิ่มการแข่งขันในตลาดให้สูงขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ไม่มีความพร้อมหรือมีขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำอาจถูกกดดันให้ต้องออกจากตลาดไป

ภาพรวมส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีความพร้อม แต่อาจมีธุรกิจบางประเภทที่ยังขาดความพร้อมอยู่บ้าง เช่น สินค้าพวกเกษตรกรรมบางรายการ ที่ต้องอาศัยระยะเวลาปรับตัวค่อนข้างสูงมากกว่าสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน ถึงแม้จะมีนโยบายปรับลดภาษี แต่นโยบายดังกล่าวก็พิจารณาใช้ได้กับสินค้าบางรายการเท่านั้น

สรุปเรากำลังเข้าสู่ยุคโลกเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เกิดผลกระทบทั้งในแง่ดีและไม่ดี จะเชื่อมโยงกันทั้งเศรษฐกิจ ความปลอดภัย ความมั่นคง และจะรุนแรงรวดเร็วภายในระยะเวลา 10 ปี ฉะนั้นผู้นำที่ดี จะต้องมีข้อมูลที่ดี ต้องมีการ learning ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกตลอดเวลา สิ่งที่เกิดขึ้นจะรวดเร็ว ไม่แน่นอน และคาดไม่ถึง

กฟผ.จึงต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ต้องมี Global mindset

ท่าน อ.มนูญฯ มองเห็นว่า NGO เป็นเรื่องความเสี่ยงของ กฟผ. จะทำอะไร จะสร้างโรงไฟฟ้าอะไร ที่ไหน จะสำเร็จหรือไม่ขึ้นกับ NGO อาจารย์ท่านตั้งข้อสังเกตว่า NGO ในเมืองไทยมีความเข้มแข็งกว่า NGO ในต่างประเทศ

NGO ไม่มีที่ยื่นในอาเซียน ยกเว้นในประเทศไทย

จีนและอาเซียน จะเป็นตัว drive พลังงาน พลังงานทดแทนจะเติบโตเร็วมากตามกระแสโลก พลังงานจาก ฟอสซิลจะถูกต่อต้าน เนื่องจากมีการปล่อยก๊าซที่ทำให้โลกร้อน ปล่อยฝุ่นและสารพิษ

สำหรับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. ที่ท่านอาจารย์แนะนำไว้ คือ

1. กฟผ.ต้องมการปรับโครงสร้างองค์กรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่องค์กรด้านพลังงานในระดับภูมิภาค

-เพื่อเป็นผู้นำด้านการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาค

-เป็นศูนย์กลางด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบส่งเชื่อมโยงแหล่งผลิตไฟฟ้าในภูมิภาค

-ผู้ลงทุนและพัฒนา เป็นที่ปรึกษา/ซ่อมบำรุงหรือรับบริหารธุรกิจพลังงานในภูมิภาค

2. ต้องการบริหารองค์กรให้ยืดหยุ่นและตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มมากยิ่งขึ้น ได้แก่ รัฐ/พนักงาน/ผู้บริโภค/ชุมชน ฯลฯ

3. ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงและยุทธศาสตร์ การมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างจริงจัง

4. ปรับเปลี่ยนการสื่อสารเป็นการคาดสถานการณ์เชิงรุกแทนการใช้ข้อมูลเพื่อชี้แจง

นับแต่นี้ต่อไป กฟผ. มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาและเรียนรู้ให้เท่าทันกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกจะกำลังจะเปลี่ยนแปลงไป เพื่อสามารถเตรียมความพร้อมกับกฎเกณฑ์ทางการค้าใหม่ ๆ และปรับตัวให้ปฏิบัติให้สอดคล้องและเหมาะสม อีกทั้งเป็นการสร้างโอกาสในการประกอบกิจการด้านพลังงานไฟฟ้า ในระดับภูมิภาค

วันที่ 17 พ.ค.59 บ่าย

Topic : : Arts and Feelings of Presentation

โดย อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

เป็นวิชาที่สอนทักษะในการสื่อสารที่ถ่ายทอดให้ผู้ฟังสนใจ เข้าใจง่ายๆ ด้วยพลังเสียงและท่าทางตื่นเต้นเร้าใจและมีเสน่ห์สามารถสะกดผู้ฟังทุกนาที

จิตวิทยา การสื่อสาร ที่ทำให้ผู้ฟังสนใจ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

-Visual ภาษาท่าทาง 55 %

-Vocal การเปล่งเสียงพูด 38 %

-Verbal เนื้อหาสาระ 7 %

การเตรียมตัวที่ดี จะส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการขึ้นเวที แล้ว 50 %

การพูดออกเสียง ต้องใช้พลังจากในช่องท้อง จะเกิดพลัง ถ้าใช้เสียงจากลำคอจะทำให้เสียงแหบแห้ง ผู้นำจึงต้องฝึกฝนพูดด้วยพลังลมในท้อง และต้องดึงพลังจากภายในแต่ละคนออกมาให้สุดๆ

Great thought พลังความคิด

Great Presenter พลังการนำเสนอ

Great Delivery พลังการส่งมอบ

TED Talks ย่อมาจากคำ 3 คำ คือ Technology, Entertainment and Design เป็นงานรวมตัวกันของคนที่มีความคิดดี ๆ มีประสบการณ์ตรงจากการลงมือทำ แล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง เริ่มจัดในสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปี ค.ศ.1984 (พ.ศ.2527) คนที่มาร่วมงานนี้ มีตั้งแต่นักการเมืองระดับโลก เช่น Bill Clinton และ Al Gore นักสังคมศาสตร์ที่ทำงานในห้องทดลองต่าง ๆ ก็นำผลงานมาโชว์กันนักออกแบบสินค้า สถาปนิก วิศวกร หรืออาจารย์ ต่างก็นำเรื่องสนุก ๆ ที่น่าสนใจของพวกเขามาเล่าให้ฟัง และต้องเล่าให้จบใน 18 นาที ใครจะเล่าเรื่องอะไรก็ได้ แต่ต้องเป็นตัวจริงที่เป็นเจ้าของเรื่อง มาเล่าด้วยตัวเอง TED talk ต้องเข้าถึงอารมณ์ แปลกใหม่ น่าจดจำ

ผู้นำ กฟผ. ต้องฝึกฝนการพูด ฝึกทักษะกิริยาท่าทาง การพูดด้วยพลังลมในช่องท้อง และต้องฝึกการทำ Power of 3 เพื่อช่วยเรื่องการพูด กันลืม และจัดลำดับความคิด

นิสาลักษณ์ มุ่งพาลชล

สิ่งที่ได้เรียนรู้ช่วงที่ 5

(1) วันที่ 16 พฤษภาคม 2559

1.1 Creative & Innovative Leadership กับการพัฒนางานของ กฟผ. โดย อ. ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

คุณลักษณะสำคัญที่ทำให้คนประสบความสำเร็จในการทำงาน " มนุษยสัมพันธ์ และ ความคิดสร้างสรรรค์ "

การจะสร้างให้คนมี Creative & Innovative ภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง คงเป็นไปได้ยาก เพราะแต่ละคนก็ยังมีความเป็นตัวตนของตัวเองอยู่ แต่ อ.ศรัณย์ ได้ใช้กระบวนการสอนที่ให้รู้ว่าไม่จำเป็นต้องเป็นนักโฆษณา หรือคนที่อยู่ในวิชาชีพที่ต้องคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆเท่านั้น ถึงจะเป็นคนที่มี Creative แต่ทุกคนสามารถเกิดความคิดนอกกรอบได้ อยู่ที่ว่าคนๆ นั้น ต้องการให้ได้ผลลัพธ์ต่างไปจากเดิมหรือเปล่า? ถ้าต้องการก็คงใช้วิธีเดิมๆ ไม่ได้ แต่ต้องคิดหาวิธีใหม่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ใหม่ ซึ่งก็คือจุดเริ่มต้นของการต้องคิดใหม่ทำใหม่ ขอเรียกวิธีนี้ว่า "ผลลัพธ์สร้างผลงาน"

การที่จะทำให้เกิดความคิดนอกกรอบได้ ก็ต้องทำลายกรอบความคิดนั้นออกไป ซึ่งกลวิธีง่ายๆ ที่ อ.ศรัณย์ ถ่ายทอด ก็คือการตั้งคำถาม 4 ข้อ ตามลำดับ ดังนี้

1. กลัวอะไรอยู่ (กลัวผิด)

2. แล้วไง (ผิดก็จะโดนไล่ออก)

3. แล้วจริงหรือเปล่า (ที่ผิดแล้วจะโดนไล่ออก)

4. แล้วถึงตายไม๊ (ถ้าโดนไล่ออกจริง แล้วตายไม๊)

ถ้าคำตอบออกมารับได้และไม่ถึงกับตาย ก็ใส่เกียร์เดินหน้ากับการคิดใหม่ทำใหม่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต่างไปจากเดิมตามที่ต้องการ

แต่ความคิดนอกกรอบก็ยังเป็นความคิดดิบๆ ที่เอามาใช้ทันทีไม่ได้ ต้องผ่านกระบวนการเอาความคิดนอกกรอบนั้นกลับเข้ามาแบบคร่อมกรอบ ซึ่งหมายถึงความคิดนั้นต้องไม่ผิดกฎหมายศีลธรรมอันดีงาม โดยเรียกกระบวนการนี้ว่า P.P.C.O ประกอบด้วย

P : Pluses ---> ความคิดนั้นมีข้อดีอะไรบ้าง

P : Potentials ---> สนับสนุนให้เกิดข้อดีในอนาคตได้อย่างไร

C : Concerns ---> มีอุปสรรคหรือข้อติดขัดอะไรบ้าง

O : Opportunities ---> ทำอย่างไรถึงจะข้ามอุปสรรคนั้นได้

ซึ่งตัวอย่างที่ อ.ศรัณย์ ยกมาให้เห็นนั้นมันชัดเจนและเข้าใจเลยว่า การเอาความคิดนอกกรอบกลับเข้ามาในกรอบและใช้ได้จริง เป็นเช่นไร

ตัวอย่าง : พนักงานที่ห่อของ ทำงานได้ช้ามาก เพราะมัวแต่อ่านข่าวในหนังสือพิมพ์ที่เอามาห่อ ซึ่งมีคนเสนอความคิดแบบนอกกรอบสุดโต่งว่า "ให้ควักลูกตาทิ้งซะ"

P : ความคิดดังกล่าวมีข้อดีคือพนักงานจะได้ไม่ต้องอ่าน

P : สนับสนุนให้งานเสร็จเร็วขึ้น

C : แต่ทำไม่ได้เพราะถือว่าเป็นการทำร้ายร่างกาย ซึ่งผิดกฎหมาย

O : เพื่อไม่ให้ผิดกฎหมาย ก็ให้จ้างผู้พิการทางสายตามาทำงานหน้าที่นี้แทนพนักงานปกติ

จากตัวอย่างดังกล่าว เป็นการจุดประกายความคิดที่ว่า ขอแค่คิดแล้วสิ่งต่างๆ ก็จะตามมาเอง ซึ่งหากไม่เริ่มต้นแม้แต่จะคิด ก็คงติดอยู่กับกรอบที่ตัวเองสร้างขึ้นมาอยู่เช่นนั้นนั่นเอง

สำหรับ กฟผ. แล้ว เห็นว่าสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อ Creative & Innovative ก็คือความกลัวที่จะต้องหลุดออกมาจาก Comfort Zone ประมาณว่าถ้าคิดก็ต้องทำ การทำก็คืองานงอก แล้วจะเหนื่อยไปทำไม ฉนั้นเมื่อไม่อยากทำก็ไม่คิดจะดีกว่า ขอทนอยู่กับผลลัพธ์เดิมๆ เพื่อประโยชน์สุขส่วนตนก็พอแล้ว การจะเปลี่ยนแปลงความกลัวเป็นความกล้า ให้กล้าที่จะคิดกล้าที่จะทำ คงต้องนำร่องจากผู้นำที่ต้องแสดงและสนับสนุนให้เกิดกระบวนการ กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก ซึ่งต้องทำให้เห็นเป็นรูปธรรมว่า คนทำดีย่อมได้ดี ไม่ใช่ทำหรือไม่ทำก็ได้ไม่ต่างกัน แล้วใครหละที่จะลุกขึ้นมาคิดแล้วทำ?

รหัส INTJ : นักคิดสร้างสรรค์แบบ Visionary


1.2 ศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราขการุณย์ โดย ศ.คลินิก นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน

รู้สึกชื่นชมกับความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ นพ.ประดิษฐ์ อย่างมาก ท่านจะออกตัวว่าไม่รู้ทางการทำธุรกิจ แต่ผลงานการันตีถึงความสามารถของท่าน สิ่งหนึ่งที่ท่านเล่าก็คือการที่ท่านรับความจริงว่าท่านไม่รู้เรื่องใด ยังขาดเรื่องใด แล้วท่านก็เดินหน้าหาพันธมิตรที่จะมาช่วยเติมเต็มในสิ่งต่างๆ ที่ท่านยังไม่รู้หรือยังขาดอยู่ งานนี้เรียกว่า network & connection มีส่วนร่วมด้วยช่วยกันให้ big project สำเร็จลงได้ ซึ่งหากท่านไม่ยอมรับความจริงว่าตัวท่านเองไม่ได้เก่งหรือรู้ไปทุกเรื่อง ผลลัพธ์ก็คงออกมาตรงข้าม คงไม่มีใครที่จะเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน ซึ่งวลีที่ยังตรึงใจก็คือ "รู้ลึก แต่โง่กว้าง" ซึ่งชัดเจน ตรงไปตรงมามาก

การบรรยายของท่าน เริ่มจากที่วิสัยทัศน์ของผู้บริหารในอดีตที่เห็นแล้วว่ากำลังมีภัยคุกคามเกิดขึ้นกับ รพ.ศิริราช ในเรื่องของเงินสนับสนุนจากภาครัฐที่ลดน้อยลง จึงเป็นโจทย์ว่าจะทำอย่างไรที่ รพ. ศิริราชจะมีเงินเพียงพอที่จะอยู่ต่อไปได้ จนเกิดความคิดนอกกรอบที่ไม่ยึดติดกับคำว่าโรงพยาบาลรัฐ แต่คิดผันตัวออกไปเป็นเยียงเอกชน เพื่อให้ได้ดอกผลมาเลี้ยงในส่วนที่ยังเป็นโรงพยาบาลรัฐอยู่ ต้องขจัดปัญหาอุปสรรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบ และการทำความเข้าใจในความเหมือนและความต่างระหว่าง รพ.ศิริราช กับ รพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ซึ่งท่านได้อธิบายด้วยภาพเครืองบินที่มีทั้ง economy business และ first class ที่เหมือนกันตรงที่ไม่ว่าจะเลือกแบบไหน ก็ถึงที่หมายเหมือนกัน เปรียบได้กับเรื่องการรักษา ที่ไม่ว่าจะรักษาที่ ศิริราช หรือที่ ศิริรราช ปิยมหาราชการุณย์ ก็ใช้วิธีการรักษา และคุณภาพของหมอ ที่เหมือนกัน แต่ต่างตรงที่หากเลือก first class คือยอมจ่ายแพง ก็จะได้รับการบริการที่ดีกว่า เปรียบเหมือนหากเลือกรับการรักษาที่ ศิริราชปิยมหาราชการุณย์ ก็คือการยอมจ่ายแพงกว่าเพื่อได้รับการบริการที่สะดวกสบาย และรวดเร็วกว่า ที่สำคัญคือผู้ที่มารับการรักษาที่นี่จะเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ คือได้รับการรักษา ขณะที่เงินที่จ่ายก็เปรียบเสมือนการช่วยสนับสนุนให้กับ รพ.ศิริราช ที่จะได้มีเงินทุนไปรักษาผู้ป่วยที่ยากไร้กว่า ซึ่งเป็นการอธิบายที่ชัดเจนอีกเช่นกัน

จากที่กล่าวมาข้างต้นยังทำให้เห็นว่าได้มีกระบวนการคิดถึง Envision คือการเห็นภาพสุดท้ายที่ต้องการ แล้วก็กลับมาดูว่ากระบวนการใดที่จะทำให้บรรลุสิ่งที่ต้องการ รวมถึงปัญหาอุปสรรคระหว่างกระบวนการมีอะไรบ้าง จะจัดการอย่างไร ช่างสอดคล้องกับตำราที่ อ.จีระ คัดสรรมาให้อ่าน ซึ่งตอนที่ นพ.ประดิษฐ์ ทำโครงการนี้ ก็คงไม่มีเวลามาอ่านตำราเหล่านี้ แต่เมื่อเอาทฤษฎีมาจับก็จะรู้ว่าไม่ได้หนีจากตำราเลย ต่างกันตรงที่การได้ลงมือทำจริงเป็นการสร้างประสบการณ์อันยิ่งใหญ่

โดยภาพรวมแล้ว ถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ได้ไปฟังบรรยายพร้อมได้ชมพื้นที่บางส่วนของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ และหากผู้นำของ กฟผ. วิเคราะห์ได้ว่าภัยคุกคามของ กฟผ. คืออะไร จะตั้งรับและรุกอย่างไร ยอมรับความจริงในปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ และแก้ให้ตรงจุดอย่างตรงไปตรงมา พร้อมใส่เกียร์เดินหน้า กฟผ. ก็คงยืนหยัดเป็น number one ด้านพลังงานไฟฟ้า ได้อย่างยั่งยืน


(2) วันที่ 17 พฤษภาคม 2559

2.1 เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC เศรษฐกิจไทยกับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. โดย รศ.ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ และ อ. มนูญ ศิริวรรณ

กล่าวโดยสรุปแล้ว ไม่ว่าส่วนใดในโลกมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็จะเกิดผลกระทบในวงกว้าง แต่จะมากจะน้อยก็คงแล้วแต่บริบทของประเด็นที่เกิดขึ้นว่ามีความเกี่ยวข้องกับแต่ละประเทศมากน้อยเพียงใด ดังนั้นการรู้เท่าทันเหตุการณ์ต่างๆของประเทศที่มีอิทธิพลหรือบุคคลสำคัญๆของโลก จะทำให้สามารถวางแผนรองรับได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที แต่ทั้งนี้การเป็นผู้หยั่งรู้และวิเคระาห์ผลที่จะเกิดขึ้นจากสถานการณ์ต่างๆ ได้นั้น ผู้นั้นต้องเป็นใฝ่รู้ เป็นผู้รักการอ่าน เพราะจะทำให้มีคลังข้อมูลที่พร้อมจะหยิบมาใช้ได้ตลอดเวลา

หาก กฟผ. มี culture ที่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ก็ย่อมจะขยับตัวได้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกวันนี้


2.2 Arts and Feelings of Presentation โดย อ. จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

Class นี้ อาจารย์เรียกว่า "Juicy and Jazz" เพราะเป็นหลักสูตรที่สบายๆ ไม่หนักทฤษฎี แต่เน้นให้ปฏิบัติทำ workshop ซึ่งการจะประสบความสำเร็จในการเป็นนักพูดที่ดี ต้องให้ผู้ฟังบรรลุใน 3 สิ่ง ได้แก่

1. ทำให้ผู้ฟังเข้าถึงอารมณ์

2. ทำให้ผู้ฟังรับรู้ถึงความแปลกใหม่

3. ทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าน่าจดจำ

ทั้งนี้การเป็นนักพูดที่ดี หมายถึงต้องดีให้ครบใน 3 ด้าน ซึ่งขอเรียกว่า "Triple Great" ได้แก่

1. Great Thought ---> มีวิธีการจัดระเบียบความคิดที่ดี

2. Great Presenter ---> มีวิธีการให้ผู้ฟังได้เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึก

3. Great Delivery ---> มีวิธีการที่ให้ผู้ฟังเข้าใจและจดจำ

ในการจัดระเบียบความคิดที่ดี (Great Thought) ต้องเกิดจากการเตรียมตัวที่ดี (Good Preparation) โดยให้ใช้เทคนิคระดับ World Class ที่เรียกว่า "Power of 3" ซึ่งเทคนิคก็คือให้แตกหัวเรื่อง (Topic) ออกเป็นประเด็นสำคัญๆ เพียงแค่ 3 ประเด็น แล้วแต่ละประเด็นสามารถแตกเป็นประเด็นย่อยได้อีก 3 ประเด็น ซึ่งจะช่วยให้ความคิดถูกถ่ายทอดออกมาอย่างเป็นลำดับ และลื่นไหล ไม่กระจัดกระจายจนกลายเป็นพูดไม่รู้เรื่อง จับใจความไม่ได้ หรือไม่ตรงกับหัวข้อที่จะพูด

อีกทั้งยังได้ฝึกการใช้เสียงอย่างมีพลัง โดยต้องเป็นเสียงที่มาจากท้องน้อย รวมถึงการมีท่ายืนที่สง่างามซึ่งจะเสริมให้บุคลิกภาพดูดีน่ามองในขณะที่พูด

"เนื้อหา น้ำเสียง ท่าทาง" จึงเป็นองค์รวมที่จะทำให้การพูดออกมาสมบูรณ์แบบ แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องสลัดความเขินอาย ความกลัวและประหม่าออกไป พร้อมกับต้องหมั่นฝึกฝนเพื่อให้เกิดความกล้าและความชำนาญ

หลักสูตรนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้เข้ารับการอบรม เพราะนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันที่ต้องสวมบทบาทการเป็นผู้นำเสนอในเวทีต่างๆ

เสริมพงศ์ วิชิตเนตินัย

สำหรับการเรียนช่วงที่ 5 นี้ในความเห็นของผม Highlight อยู่ที่การดูงานที่โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ กับการได้ฟังมุมมองของ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ กูรูด้านเศรษฐกิจโลกที่ผมติดตามมานานหลายปี ผมจึงให้ความสนใจเป็นพิเศษ แต่หัวข้ออื่นๆ ก็ได้รับความรู้ไม่น้อยไปกว่ากันทั้งเรื่อง Creative & Innovative Leadership กับการพัฒนางานของ กฟผ. โดยอาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์ และหัวข้อ Arts and Feelings of Presentation โดยอาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล (อาจารย์ตวง) ที่สามารถสร้างมุมมอง เกิดแนวคิดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง

วันที่ 16 พฤษภาคม 2559: ช่วงเช้า

หัวข้อ Creative & Innovative Leadership กับการพัฒนางานของ กฟผ. โดยอาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

สรุปข้อคิดที่ได้

ความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วย 4 M

- Mechanic กระบวนการคิด

- Mindset ทัศนคติที่ดี การคิดบวก การเลือกมุมมอง เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

- Mood ต้องสร้างอารมณ์ที่เอื้อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

- Momentum ทำอย่างไรให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องไม่หยุดนิ่ง

เมื่อกลัวที่จะทำสิ่งใหม่ๆ ให้ลองใช้คำถาม 4 ข้อเพื่อขจัดความกลัว คือกลัวอะไร? แล้วไง? จริงมั้ย?และถึงตายมั้ย?

อาจารย์ศรัณย์ มีวิธีการสอนที่น่าสนใจ มีความคิดคร่อมกรอบเหมือนชื่อหัวข้อที่สอน สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมตลอดเวลา สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ในการทำงานก็คือ การกระตุ้นทีมงานให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การสร้างบรรยากาศ และการสนับสนุนความกล้าให้ทำในสิ่งใหม่ๆ

วันที่ 16 พฤษภาคม 2559: ช่วงบ่าย

ศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

ได้รับความกรุณาอย่างสูงจากท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาล ศ.คลินิก นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีณิณ ที่ให้เกียรติมาบรรยายด้วยตัวเอง ช่วยสร้างมุมมอง และแรงบันดาลใจให้ผมเป็นอย่างมาก

จาก Concept ถ้ามาใช้บริการที่นี่จะเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับในเวลาเดียวกัน ผู้รับคือการรับบริการแบบศิริราชที่มีมาตรฐานทางการแพทย์เป็นที่ยมรับมายาวนาน และเป็นผู้ให้เพราะกำไรทั้งหมดจะคืนกลับไปบำรุงโรงพยาบาลศิริราช ถือเป็นการช่วยสังคมด้วย

จากการบรรยายได้ทราบว่าผู้บริหารในอดีตเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ และคุณหมอประดิษฐ์ ที่รับเอาวิสัยทัศน์มาปฏิบัติก็สามารถก้าวข้ามอุปสรรคจนบรรลุตามเป้าหมายได้ แม้ต้องฝ่าฟันกับกฎระเบียบต่างๆมากมาย “เราต้องศึกษากฎระเบียบให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งเพื่อให้รู้ว่าจะแหกกฎข้อไหนได้อย่างไร”

ข้อคิดที่ได้รับก็คือ

- ถ้าไม่คิดตั้งแต่วันนั้น ก็คงไม่มีวันนี้

- การติดอยู่ในกรอบของกฎระเบียบจะพัฒนาได้ยาก ที่ทำได้เพราะต้องปรับ Mindset และรู้จักบริหารการเปลี่ยนแปลง

- ทำงานคนเดียวไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ ต้องมีเครือข่ายคอยช่วยเหลือส่งเสริม เช่น กรณีได้รับคำแนะนำทางธุรกิจจากเจ้าของ MK หรือการได้รับความรู้การช่วยเหลือด้านการบริหารโรงพยาบาลจาก นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ

วันที่ 17 พฤษภาคม 2559: ช่วงเช้า

หัวข้อ เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC เศรษฐกิจไทยกับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

กล่าวถึงเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะจีนที่กำลังประสบปัญหาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดต่ำลงเรื่อยๆ และจะกระทบกับอาเซียนและประเทศไทย

ตัวอย่างที่เศรษฐกิจโลกกระทบต่อเวเนซูเอล่า ทั้งที่เป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมัน แต่กลับประสบปัญหาทางเศรษฐกิจย่างหนัก จนใกล้ถึงจุดล่มสลาย ไม่มีไฟฟ้าใช้งาน ราชการทำงานได้เพียงสัปดาห์ละ 2 วัน ปัญหาเกิดจากการเมืองในประเทศ และรัฐบาลก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ มีแต่สร้างปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ

สหภาพยุโรป ก็กำลังมีประเด็นเรื่องมีคนที่คิดอยากจะให้อังกฤษออกจาก EU

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

ให้ขอคิดที่น่าสนใจที่ว่า NGOs เมืองไทยเข้มแข็งกว่า NGOs อื่นๆใน AEC เพราะ NGOs เมืองไทยมี Political Influence สูงมาก มีการเชื่อมโยงกับการเมืองตลอดเวลา กฟผ.เองก็ถูกต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เทพา ที่มีความพยายามเอา Political Force มากดดันตลอดเวลา

สิ่งที่อาจารย์มนูญมองว่า กฟผ.ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น

1. ปรับโครงสร้างองค์กรพร้อมรับการเปลี่ยนโครงสร้างพลังงานในระดับภูมิภาค

2. ต้องเป็นผู้นำด้านการผลิตพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาค กฟผ.ต้องสร้างให้เห็นว่าเป็นผู้นำ Green Energy ช่วยสร้าง Brand ใหม่

3. เป็นศูนย์กลางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งการผลิตไฟฟ้า การเชื่อมโยงสายส่ง เป็นผู้ลงทุนในการพัฒนาเป็นธุรกิจพลังงานในภูมิภาคจนถึงระดับสากล

4. การบริหารองค์กรต้องตอบสนอง Stakeholder ทุกกลุ่ม และให้ความสำคัญกับชุมชน

5. ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินโครงการต่างๆในทุกระดับตั้งแต่ระดับบริหารถึงระดับปฏิบัติการ และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนตั้งแต่เริ่มคิดโครงการฯ เพื่อสร้างการยอมรับในสังคม

6. การทำ CSR แบบเดิมไม่เพียงพอ ต้องหากลยุทธ์ใหม่ ๆ ต้องชี้ให้เห็นว่าชุมชนรอบโรงไฟฟ้าจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง เน้นความเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ เช่น สร้างโรงพยาบาล สร้างโรงเรียน รับคนในชุมชนมาทำงาน

7. ต้องการปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสาร ต้องคาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ต้องสื่อสารก่อนไม่ใช่เกิดขึ้นแล้วค่อยมาชี้แจงภายหลัง เพราะการชี้แจงที่หลังไม่มีประโยชน์ ธรรมชาติของคนไทยเวลารับข้อมูลอะไรมักจะเชื่อไว้ก่อนแล้วมาพิสูจน์ว่าไม่จริง ต่างกับฝรั่งที่ไม่เชื่อไว้ก่อนแล้วมาพิสูจน์ว่าจริง

วันที่ 17 พฤษภาคม 2559: ช่วงบ่าย

หัวข้อ Arts and Feelings of Presentation

โดย อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

อาจารย์ตวง เป็นวิทยากรที่มีบุคลิกและวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจ สามารถนำไปใช้ได้โดยทันที่ มีหลักการที่เข้าใจง่าย เพียงแต่ต้องหมั่นฝึกฝนให้ชำนาญ ก็สามารถเป็น Presenter ที่เก่งได้

TEDTALKS เป็นตัวอย่างของการพูด Presentation เป็นไอเดียแบบ World Class

1. เข้าถึงอารมณ์

2. แปลกใหม่

3. น่าจดจำ

ความสำคัญของภาษาท่าทางมีมากกว่าเนือหาที่นำเสนอ

1. การใช้ภาษาท่าทาง 55%

2. เสียง 38%

3. เนื้อหาที่อธิบาย 7%

Power of Three

1. มี Topics ที่เป็นหัวใจของเรื่อง แล้วสร้างประเด็นที่จะนำเสนอ 3 ประเด็นที่เชื่อมโยงกับ Topic ที่ตั้งไว้

2. นำเสนอเป็นภาพแทนการใช้ข้อความ แล้วร้อยเรียงเชื่อมโยงด้วย Power of Three

เรื่องนี้ผมลองแล้ว ช่วยได้เยอะครับ คนนำเสนอจดจำง่าย ไม่ลืมประเด็น เป็นระบบ คนฟังก็เข้าใจและช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับเนื้อหา


นายพรเทพ เรืองรัศมี

ขอสรุปสาระการเรียนรู้หลักสูตร EADP รุ่น 12 ช่วงที่ 5 ระหว่าง 16-17 พ.ค.59 ดังนี้


หัวข้อที่

รายละเอียด

สาระและสิ่งที่ได้เรียนรู้

1

วันที่ 16 พ.ค.59 ภาคเช้า Learning forum and activities หัวข้อCreative thinking ตอน “คิดคร่อมกรอบ”

  • ความคิดสร้างสรรค์สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนตราบที่คนๆ นั้นต้องการผลลัพธ์ที่แตกต่างกว่าเดิม โดยสถิติแล้วสิ่งที่ทำให้คน 85% ประสบความสำเร็จมาจาก 2 ส่วน คือมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและมีความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์โดยหลักการคือการพยายามทำกรอบความคิดแบบบางๆ และคิดนอกกรอบ (Think out of the box) ซึ่งความคิดดังกล่าวอาจจะออกนอกกรอบขององค์กรและสังคม ทำให้ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ เพราะถ้านำไปปฏิบัติอาจเกิดผลร้ายกับคนคิด คิดได้แต่ไม่ควรนำมาใช้ แต่เพื่อให้นำความคิดนั้นมาใช้ จำเป็นต้องดึงเข้ามาอยู่ในกรอบที่สามารถปฏิบัติได้ทำให้มีผลดีกับองค์กร
  • หลายคนไม่สามารถมีความคิดสร้างสรรค์ได้เนื่องจากติดกรอบที่กักกั้นอยู่ซึ่งในสายผู้เชี่ยวชาญและผมก็เห็นด้วย คือมีความกลัว เช่นกลัวผิด กลัวโดนคนหัวเราะเยาะในความคิดเรา กลัวเจ้านายว่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ เช่น การยึดติดกับภาพลักษณ์ของตนเอง การเซ็นเซอร์ตัวเอง ความต้องการสร้างความประทับใจ และการเดินตามผู้อื่น ซึ่งถ้าเราสามารถขจัดสิ่งเหล่านี้ออกไปจะทำให้เรามีความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ ทั้งนี้ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานเอง ต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนได้คิดและมีส่วนร่วมในการคิด จะสามารถสร้างพลังร่วมหรือ Synergy ออกมา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเองและมีผลดีต่อองค์กร

2

วันที่ 16 พ.ค.59 ภาคบ่าย ศึกษาดูงานการบริหารจัดการโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

การดูงานครั้งนี้ได้รับเกียรติจากนายแพทย์ประดิษฐ์ ปัจวีณิน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯ มาบรรยายด้วยตัวเองในเรื่องของกลยุทธ์ในการบริหารโรงพยาบาลฯ ซึ่งโดยส่วนตัวมีความเป็นพันธมิตรกับ กฟผ. และเคยทำงานร่วมกันหลายครั้ง โดย Concept ตั้งต้นในการก่อตั้งโรงพยาบาลแยกจากโรงพยาบาลศิริราชว่า “เป็นโรงพยาบาลรัฐที่มีคุณภาพการบริการเทียบเท่าเอกชนในราคาที่ต่ำกว่าประชาชนสามารถเข้าถึงได้” ซึ่งเป็นวางกรอบของการพัฒนาเพื่อนำสู่ Vision และ Mission ไปถึงการปฏิบัติ มีตัวชี้วัดหรือ KPI 2 ปีครั้ง ซึ่งทำให้โรงพยาบาลประสบความสำเร็จในการจัดตั้งเรื่อยมา โดยจะเห็นจากการมีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้นๆ ทุกๆ ปี นั่นคือรายได้ที่เพิ่มขึ้น โรงพยาบาลตั้งมา 4 ปี แล้วสามารถทำรายได้และส่งให้โรงพยาบาลศิริราชได้พอสมควร และคาดว่าอีก 4 ปีข้างหน้า รายได้จะครอบคลุมเงินลงทุนทั้งหมด การบริหารโรงพยาบาลไม่เคยหยุดนิ่งมีตั้งเป้าหมายทุกปีและ Bench marking กับโรงพยาบาลชั้นนำมาตลอด

เกร็ดที่ได้จากการบรรยายของคุณหมอฯ คือ 1.ในการการปฏิบัติตามกฎบางครั้งอาจจะไม่สามารถพัฒนาในเรื่องที่ต้องการได้ ดังนั้น อาจต้องแหกกฎโดยการศึกษากฎระเบียบให้ท่องแท้ก่อน จึงจะสามารถหาช่องทางให้ดำเนินการได้โดยไม่ผิดกฎระเบียบ2.การ Rebranding จะต้องยังคงไม่เปลี่ยน Culture ของพนักงานและองค์กร 3.มี Business model ที่ชัดเจน (มีกลุ่มเป้าหมาย มีมาตรฐาน ระดับราคา(80%ของโรงพยาบาลเอกชน) โดยที่ระดับการให้บริการเทียบเท่าเอกชน) และ Concept ปัจจุบัน คือ”Receivers and Givers” คือรับและให้คืนสังคม กลยุทธ์หลักประกอบไปด้วย People, Culture and IT(Information Technology)

หลังจากได้ฟังบรรยายแล้วได้ไปเดินดูการบริการของแผนกต่างๆ พบว่า การบริการด้านห้องพก ความสะอาด ความสะดวกสบายเทียบเท่าเอกชน มีแผนกต่างๆ มาก มีอุปกรณ์ เครื่องมือแพทย์ครบวงจร นอกจากนี้ชั้นล่างยังให้ร้านอาหารชั้นนำ เช่น MK, Yayoi, Starbucks เป็นต้น มาให้บริการบุคลากรของโรงพยาบาลและญาติคนไข้ โดยรายได้ทั้งหมดมอบให้โรงพยาบาล นับว่าโรงพยาบาลมีการบริหารที่เยี่ยมยอด ซึ่ง กฟผ. เองน่าจะนำกลยุทธ์บางอย่างมาปรับใช้ได้ ดังเช่น การให้คืนสังคมโดยเป็นผู้นำการสร้างพลังงานหมุนเวียนชั้นนำของประเทศควบคู่ไปกับพลังงานจากเชื้อเพลิงหลัก การสำรวจความผูกพันของพนักงานและ Stakeholders ควรปรับจากปีละครั้ง เป็น 2 ปีครั้ง เหมือนกับ การวัด KPI ของโรงพยาบาล เพราะการวัดแต่ละครั้งใช้เวลา เป็นต้น

3

วันที่ 17 พ.ค.59 ภาคเช้าPanel discussion หัวข้อเศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC เศรษฐกิจไทยกับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

- อาจารย์จิระฯ ให้ข้อคิดก่อนฟังนักวิชาการ อาจารย์สมชาย ภคภาสนวิวัฒน์ และอาจารย์มนูญ ศิริวรรณ จะบรรยาย ดังนี้

1. อย่ารู้ลึกและโง่กว้าง

2. ให้มอง Opportunity หลังฟังบรรยาย

3. มองเรื่อการคุกคาม จากเศรษฐกิจอาเซียนและโลก การประชุม Global warming ที่ปารีส ราคาน้ำมันมีผลอย่างไร

- อาจารย์สมชาย ภคภาสนวิวัฒน์ ให้ข้อมูลว่า ในอนาคตจีนจะมีบทบาทมากในอาเซียน โดยเศรษฐกิจของจีนตลอด 30 ปีที่ผ่านมาขยายตัว 10 % ปี 58 ขยายตัว 8% และปี 59 คาดว่าจะลดลงเหลือประมาณ 6% จะเห็นได้ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนจะลดลงเรื่อย เนื่องจากในอดีตมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจขนานหนัก อัดฉีดเงินเข้าระบบ เศรษฐกิจขยายตัวมาก ทำให้ค่าแรงสูงขึ้น อสังหาริมทรัพย์เหลือ เกิด NPL มากขึ้น ดังนั้น จีนจึงแก้ไขด้วยการลดการอัดฉีดเงินในระบบลงมีผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว จีนจึงมีหนี้มากที่สุดในโลกขณะนี้ ดังนั้น จีนจึงต้องปรับตัวโดยหันมาสนับสนุนการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ใช้ IT แทนแรงงานมากขึ้น ปัจจุบันจีนมีเงินสำรองในประเทศลดลง จึงมีความเสี่ยงในการลงทุนมากที่สุด ส่วน EU มีปัญหาคือประเทศอังกฤษอยู่ระหว่างตัดสินใจจะออกจาก EU หรือไม่ ซึ่งปัจจุบันอังกฤษยังคงใช้เงินปอนด์ ไม่ใช้เงิน EURO ดังนั้นถ้าอังกฤษออกจาก EU มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและกดดันให้จะทำให้ประเทศอื่นออกตาม ทำให้ความสามารถในการถ่วงดุลกับกลุ่มอื่นหมดลง เมื่อมองด้าน AEC เกิดเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนขึ้น ทำให้ภาษีนำเข้าเหลือ 0% เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานและวัสดุระหว่างประเทศมากขึ้น แต่ปัญหาคือแต่ละประเทศมีอัตราภาษีต่างกันเยอะ มีผลกระทบราคาสินค้าของแต่ละประเทศ

- อาจารย์มนูญฯ มองเรื่องการพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ. ดังนี้

1. NGO ของเมืองไทยมีความเข้มแข็งมากที่สุดใน ASEAN และมี Potential influence หรือ Potential force มี Connection กับการเมืองมาโดยตลอด ดังนั้น NGO เมืองไทยจึงมีบทบาทสูงมาก กฟผ.ควรระบุไว้เป็นความเสี่ยงอันดับต้นของการพัฒนาโครงการ

2. Brand ของ กฟผ.จะเป็นผู้นำในการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ Fossil อย่างเดียวไม่ได้แล้ว จะต้องเป็นผู้นำด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนด้วย นอกจากนี้ต้องสร้าง Green energy เป็นศูนย์กลางด้านพลังงานในระบบส่งไฟฟ้า

3. ต้อง Define stakeholder ให้ชัดเจนว่ามีใครบ้าง

4. เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนซึ่งเป็นหัวใจในการพัฒนาโครงการ และต้องทำตั้งแต่ต้นที่จะเริ่มพัฒนาโครงการ

5. ต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทุกระดับชั้น

6. คำนึงถึงสิ่งที่ชุมชนต้องการ คือ เป็นสิ่งที่จับต้องได้ เช่นการใช้ไฟฟรี การใช้ไฟถูกกว่าที่อื่น ให้ชุมชนมีหุ้นส่วน/ได้รับเงินปันผลจากการผลิตไฟฟ้า ให้ทุนการศึกษาต่อเนื่อง สร้างโรงเรียน และโรงพยาบาล เป็นต้น

7. มีการสื่อสารในเชิงรุกแทนให้ข้อมูลชี้แจงภายหลัง ต้องคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นและเตรียมการรับมือล่วงหน้า

4

วันที่ 17 พ.ค.59 ภาคบ่าย Learning forum หัวข้อ Arts and feeling of Presentation

อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล ได้ถ่ายทอดศิลปะเพื่อสร้างความมั่นใจในการพูดและนำเสนอในที่สาธารณะ ในธีมของ "Juicy and Jazz" เน้นปฏิบัติมากกว่าทฤษฏี ทำให้ไม่เครียดและสนุกกับการทำกิจกรรม โดยหลักการของศิลปะในการพูดและนำเสนอนั้นควรคำนึงน้ำเสียง ท่าทาง ไอเดีย และจินตนาการ ที่ถ่ายทอดออกมา ซึ่งจะทำให้สามารถสร้างความประทับใจ และสร้างการจดจำให้กับผู้รับฟังได้ ความสำคัญของการนำเสนอคือการเตรียมตัวตั้งแต่ขึ้นเวทีเพื่อนำไปสู่ Great presentation ซึ่งมีเทคนิคคือ Power of 3 เช่นกรณีจะนำเสนอเรื่องของขวัญจะใช้ Power of 3 คือ 1.ก่อนเปิด (ต้องมีการจินตนาการ เช่น ประโยชน์ ราคา) 2. หลังเปิด (พูดถึงประโยชน์ของของขวัญ ของขวัญคืออะไร) 3.ข้อคิด (เช่นถ้าคุณพบปัญหา มันคืออัญมนีที่มีค่า เป็นต้น) ทั้ง 3 ส่วนต้องประสานสัมผัสและร้อยเรียงกัน จะสร้างความดึงดูดใจให้ผู้ฟัง ศิลปะการนำเสนอมีประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาองค์กรโดยเฉพาะการทำธุรกิจของ กฟผ. และการขออนุมัติโครงการต่างๆ จากรัฐบาล หากนำเสนอให้ผู้มีอำนาจเข้าใจ เห็นภาพชัดเจนถึงความจำเป็นของโครงการแล้วย่อมได้รับความเห็นชอบโดยปราศจากคำถามและให้กลับมาทบทวน

ช่วงวันที่ 16-17 พฤษภาคม 2559

หัวข้อ Creative & Innovation Leadership กับการพัฒนางานของ กฟผ : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็น และการมองหาเป้าหมายร่วมกัน

โดย : อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

สิ่งที่ได้ 1.รุปแบบการนำเสนอแบบการคิดนอกกรอบ เนื่องจากมีข้อกำหนดเรื่องเวลาในการบรรยาย จึงให้แต่ละกลุ่มเสนอหัวข้อคำถาม ไม่จำกัดคำถามแต่จำกัดเวลา แล้วให้มีีการโวต เพื่อเลือกคำถามที่เป็นที่สนใจของคนส่วนใหญ่ ให้วิทยากรตอบเป็นการให้ผู้เข้าอบรมได้มีส่วนร่วมในการเลือกหัวข้อที่อยากทราบ

2.ให้มีการทำความรู้จักกัน แบบการคิดนอกกรอบ โดยส่วนการเล่าอนาคตว่าจะทำอย่างไรให้ผลลัพท์ของ

หน่วยงานต่างไปจากเดิมอย่างไร เป็นการอธิบายตัวตนผ่านความคิดในการทำงาน

3.ให้เขียนชื่อสมมุติของตนเองที่ไม่มีใครรู้นอกจากตวเอง แล้วจับสลากเพื่อทดสอบความกล้ารับผิดชอบแบบ

การคิดนอกกรอบ

4.ให้แต่ละกลุ่มคิดว่าอะไรเป็นความสามารถที่ทำให้มนุษย์คนหนึ่งทำงานแล้วประสบผลสำเร็จ และมีการ ทำให้น่าสนใจ โดยทำให้เกิดความตื่นเต้น โดยการแจก Chip ให้มีการพนันคำตอบของแต่ละกลุ่ม ซึ่งผล

สรุป คือ มนุษย์สัมพันธ์ และความคิดสร้างสรรค์มีผลต่อความสำเร็จ 86 %

5.การกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ : แต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอ่อนไหวกับความสำเร็จ บางคนต้อง การผลลัพท์ที่ต่างไปจากเดิม บางคนเรื่องรางวัล แต่ข้อที่น่าสังเกต คือรางวัลจะดีในระยะสั้น แต่จะบั่นทอน ในระยะยาว

6.กิจกรรมแนะนำตนเอง โดยผ่าน รูป รสชาติ กลิ่น เสียง สัมผัส เพื่อเป็นการเปิดความคิดให้ออกมา เพื่อจุด ความคิดสร้างสรรคฺ์ที่ติดกรอบแห่งความกลัว ให้เออกมาใหม่ โดย

-หากรอบให้เจอ

-สลายกรอบ

-จุดเปลวไฟ ให้ติดได้

วิธีการขจัดความกลัว ให้ตั้งคำถาม 4 คำถาม 1 : กลัวอะไร 2 : แล้วไง

3 : จริงหรือไม่ 4 : ตายไหม? แต่ถ้าไม่มีเวลา ให้ถามคำถามเดียว ตายไหม

7.การทดสอบ ความคิดสร้างสรรค์ โดยให้ชุดคำถาม 4 ชุด ก็เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจสามารถนำไปใช้ในการ ละลายพฤติกรรมของคนในที่ทำงานได้

การศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์

โดย : ศาสตราจารย์คลีนิค นายแพทย์ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน

นพ.ประดิษฐ์ฯ ในฐานะผู้อำนวยการท่านมีภารกิจมากมาย แต่เพราะเคยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับ EGAT สมัยที่ท่านทำงานวิจัยให้ รพ.ศิริราชเมื่อ 20 ปีก่อนซึ่งหากลุ่มประชากรตัวอย่างในการวิจัยค่อนข้างยาก แต่ได้รับการสนับสนุนจาก EGAT ในการส่งผู้ปฏิบัติงานเข้าร่วมเป็นกลุ่มตัวอย่างในโครงการวิจัยดังนั้นเมื่อ EGATมาศึกษาดูงานท่านจึงต้องปลีกตัวมาเพื่อต้อนรับ และบรรยายสรุป แสดงให้เห็นว่า Connection ยังใช้ได้ทุกวงการ แต่ท่านก็ถ่อมตัวว่าท่าไม่รู้อะไรเท่าไหร่ท่านฉลาดลึกแต่โง่กว้าง ท่านอยากกลับไปเป็นแพทย์ที่รักษาคนไข้

ทำไม่จึงต้อง CHANG :

1.พ.ศ. 2546 ร.พ ศิริราชถูกตัดงบประมาณ เพื่อบีบให้ออกนอกระบบ

2.คนไข้มากขึ้นเรื่อย ๆ

3.มีโรงพยาบาลเอกชนเกิดขึ้นมาก จึงเกิดปัญหาสมองไหล : ต้องพยายามให้บุคลากรอยู่ในระบบให้ได้

สรุป : ศิริราช มี 2 Campus คือที่เดิมที่มีอายุ 128 ปี และที่ใหม่ เพื่อ

1.เพื่อหารายได้สนับสนุน ในการดำเนินงานนของศิริราชพยาบาล

2.รักษาและธำรงไว้ซึ่งบุคลากร

3.พัฒนาศิริราชสู่ระดับสากล

4.นำความรู้บริหาร และบริการ ใช้ร่วมกันระหว่าง SiPH กับหน่วยงานอื่น

ถ้าเปรียบการให้บริการทางการแพทย์เหมือนเครื่องบิน วัตถุประสงค์เป้าหมายของเครื่องบิน คือเดินทางถึงจุดหมายปลายทางโดยปลอดภัย วัตถุประสงค์การให้บริการทางการแพทย์ คือ ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาจนหายเป็นปกติด้วยความปลอดภัย แต่มีการแบ่งระดับเป็น Frist Class ; Business Class ; Economic Class ทุกชั้นได้รับการบริการทางการแพทย์ที่มาตรฐาานเดียวกัน แต่ที่แตกต่างกัน คือ ความสะดวกสบาย ดังนั้น ราคาจึงแตกต่างกันไปด้วย แต่ก็ยังย่อมเยาว์โรงพยาบาลเอกชน

กลยุทธ์ : ตอน Pilot เปิดเป็น The Heart of Siri raj เปิดแค่ 21 เตียง ต้องเริ่มต้นด้วย Small Scale

สิ่งที่อยากฝากไว้ คือ EGAT จะปรับตัวอย่างไร? เมื่อสภาพแวดล้อม และเทคโนโลยีเปลี่ยน ประชาชนหรือ

เอกชนอาจจะมีแหล่งพลังงานของตนเองที่ไม่ต้องพึ่ง EGAT จะทำอย่างไร?

-จากโจทย์: สิ่งที่กลัวคือ กลัวไปไม่รอด เนื่องจากไม่ใช้นักบริหารหรือมืออาชีพ แต่เพราะระบบเครือข่ายได้รับการช่วยเหลือ จาก นพ.ประเสริฐ ประสาททองโอสถ ที่เป็นศิษย์เก่าศิริราช ให้การแนะนำช่วยเหลือ

-Concept : ถ้ามาใช้บริการที่นี่ จึงเป็นผู้รับและผู้ให้ในเวลาเดียวกัน

ผู้รับ คือ รับบริการแบบศิริราช และให้ เพราะกำไรทุกบาททุกสตางค์ กลับไปช่วยสังคม และ

แรงจูงใจที่ใช้กับทุกคน คือ ทำแล้วได้บุญ

Panel Discussion : เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC เศรษฐกิจไทยกับผลกระทบ และการ ปรับตัว ของ กฟผ.

โดย ร.ศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

1.ประเทศจีนตลอด 30 ปี GDP.ขยายตัว 10 % จนกระทั่ง 4 ปีที่แล้วขยายตัว 7 % และปลายปีที่แล้วลงมาที่ 6% จึงเรียกสถานการณ์านี้ว่า New Normal แต่เป็นการปกติแบบใหม่ เพราะ New normalเสมือน Abnormal

ประเทศจีน จึงเป็นความเสี่ยงที่ทุกประเทศจับตามองอีกหลายปี ปัญหาของจีนเหมือนเครื่องบินที่กำลังแล่นลงแล้ว

จึงมีความเป็นไปได้ 3 ทาง

-ประคองตัวได้แล้ว ลงจอดแบบ Soft Landing

-จะมีปัญหาเหมือนตอนเกิดวิกฤติ แฮมเบอร์เกอร์

-ใช้เงินสำรอง Balance Sheet จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยเหมือนญี่ปุ่น

2.สหภาพยุโรป มี 28 ประเทศ มีปัญหาเรื่องเสถียรภาพ ถ้าอังกฤษที่จะมีการลงประชามติแล้วออกจาก EU จะมีแรงกดดันให้หลายประเทศออกตามไปด้วย และจะทำให้อำนาจของ EU ที่ส่วนหนึ่งอยู่ในนาโต มีความสามารถในการถ่วงดุลย์รัสเซียลดลงไป

3.AEC 2015 ความจริงแล้ว AEC หมายถึงการรวบรวมการรวมกลุ่มที่ลึกซึ้งในขั้นที่ 3 เปิดเสรีทางการค้า การลงทุน แรงงานฝีมือ ปี 2025 รัฐบาลจะเปิดเสรีทางการค้าโคว้ต้าเหลือ 0 แต่อุปสรรคอยู่ที่มาตรฐานสินค้า ด้านภาษี VAT ของแต่ละประเทศแตกต่างกันมาก ต้องมีการปรองดองกันมากว่านี้

4.RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) ความร่วมมือทางเศรษกิจในภูมิภาค ของอาเซียน เริ่มตั้งแต่ปี 2011

ถ้าประเทศจีน มีปัญหาจะกระทบกับไทยแน่นอน แล้วแต่ว่าจะปัญหาของจีนจะเป็นแบบใด ถ้าเหมือน Hemberger Crisis ก็จะกระทบกับไทยมาก ถ้าเหมือน Balance Sheet Recession ไทยก็จะได้รับผลกระทบนาน

สิ่งที่ EGAT จะต้องปรับปตัว

-ปรับโครงสร้างองค์กร พร้อมยอมรับการเปลี่ยนแปลง

-ต้องเป็นผู้นำด้านผลิตพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาค

-เป็นศูนย์กลางโครงสร้างพื้นฐาน

-การบริหารองค์กร ต้องยืดหยุ่น

-ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง และการมีส่วนร่วมของชุมชน

-ต้องหากลยุทธ์ใหม่ ๆ ในการทำ CSR ชุมชน ต้องได้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้

-ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการสื่อสาร ต้องชี้แจงก่อนเกิดเหตุการณ์ ไม่ใช่เกิดเหตุการณ์แล้วมาชี้แจง ซึ่งจะ เป็นการแก้ตัวทันที

Art and Feeling of Presentation

โดย อาจารย์ จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

เป็นการเอาศิลปะที่อยู่ข้างใน เอามาเป็นมูลค่าเพิ่มในการนำเสนอ ให้มีความน่าสนใจ เรียกว่า Juicy and

Jazz เป็นการสร้างคำที่ทำให้อารมณ์ดูมีศิลปะ และดึงอารมณ์ที่เป็น Inner ของแต่ละบุคคลออกมา เพื่อให้เกิด Juicy and Jazz

มีการฝึกอ่านออกเสียงจากกระบังลม เพื่อให้การนำเสนอมีพลัง ซึ่งตามปกติถ้าไม่ได้ฝึกการพูดจะมาจากลำคอจะไม่ค่อยมีพลัง และถ้าพูดนานหรือต้องเสียงดังจะเจ็บคอไม่มีพลังและไม่สามารถยืนระยะได้

วิธีการพูดแบบ ted talks

1.จินตนาการ มโนขึ้น บรรเจิด

2.จุดเด่น

3.พล๊อตเรื่อง ภาษาท่าทอง อารมณ์

4.มั่นใจ ต้องทำได้

5.ต้องมีบทบาทตัวแสดง อารมณ์ร่วม ใช้น้ำเสียง

6.บทบาท ท่าทาง จินตนาการ สนุกสนาม มีส่วนร่วม

Power of Three

1.มี Topics กลางใจแล้วใส่ประเด็นที่ 1ที่ 2 ที่ 3 และสร้างเป็นภาพ

2.ในแต่ละเรื่องราว ทำเป็น Power Of Three

3.การสร้างเป้นภาพจง่ายกว่าใช้เป้น Wording


ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่

วันที่ 16-17 พฤษภาคม 2559

หัวข้อ Creative & Innovative Leadership กับการพัฒนางานของ กฟผ.

โดย อาจารย์ ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

เรื่องเกี่ยวกับการคิดคล่อมกรอบ มีขบวนการคิดที่ทำให้ได้ความคิดดีๆในการพัฒนาสิ่งใหม่ได้โดยมี 4 ขั้นตอนในการนำความคิดดีๆมาปรับคิดให้สามารถนำไปสู่สิ่งใหม่ๆในการพัฒนาต่อไปในอนาคตโดยเปิดความคิดโดยให้คิดนอกกรอบในการแก้ไขปัญหาโดยไม่คำนึงถึงกรอบใดๆแล้วนำมาเข้าขบวนการคิด ข้อดีของไดเดียร์ที่คิดมา ข้อดีในอนาคต ข้อติดขัดที่มีข้อกังวล ประโยชน์โอกาสที่จะนำไปใช้งานได้

ขบวนการนำเสนอของ อาจารย์ มีเทคนิคการเดินเรื่องที่ทำให้มองเห็นภาพความคิดและกรอบของความคิด ซึ่งมีขบวนการที่สามารถสื่สารให้เข้าใจได้ดี เป็นขบวนการสร้างนวัตกรรม

การศึกษาดูงานที่ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

เรื่อง การบริหารจัดการองค์กรในแนวคิดใหม่ โดย ศ.คลินิค นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน

เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่ก่อสร้างคู่ขนานกับโรงพยาบาลของรัฐ ในบริบทเดียวกับ กฟผ.ซึ่งเป็นของรัฐและต้องทำเชิงธุรกิจได้วย ซึ่งการก่อตั้งเกิดขึ้นได้ด้วยการสั่งการซึ่งยังไม่มองถึงเรื่องของการคืนทุนเช่นในการลงทุนทั่วไป และการดำเนินการจะเริ่มได้ลำบากเนื่องจากบุคลากรเป็นคนที่ทำงานรัฐมาโดยตลอดไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจ ซึ่งการตัดสินใจเริ่มยังต้องอาศัยการให้กำลังใจ และการสนับสนุนอย่างมากและการดำเนินการยังต้องใช้แรงใจและแรงกายโดยแท้ เนื่องจากในช่วงเริ่มต้นการนำแพทย์และพยาบาลมาทำงานจะทำให้ มีรายได้น้อยลงจากทั่วไป จึงได้รับการสนับสนุนน้อย จึงต้องอาศัยหลายวิธีการให้คนมีส่วนร่วมกัน จนทำให้ปัจจุบันมีแพทย์อุทิศตัวให้ความร่วมมือ ทำให้มีรายได้สูงขึ้นเรื่องๆ สามารถนำไปสนับสนุนโรงพยาบาลหลักได้อย่างดี มีคำคมให้สะกิจใจ “จงศึกษากฎระเบียบอย่างละเอียดเมื่อถึงเวลาแหกกฎจะได้ทำได้ไม่ผิดกฎ”

หัวข้อ เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AECเศรษฐกิจไทยกับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

อาจารย์ให้ข้อมูลวิเคราะห์การเป็นไปของเศรษฐกิจโลกทั้งยุโรปและเอเชียโดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนการเจริญเติบโตและอนาคตที่ต้องจับตาและติดตามเนื่องจากโลกกำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และผลกระทบกรณีจีนล้ม และทิศทางการดำเนินการผลิตไฟฟ้า กฟผ.ต้องเป็นผู้เล่นเปลี่ยนแบร์นด เป็นผู้นำพลังงานหมุนเวียน ต้องเป็นศูนย์กลางอาเซียน ต้องเดินหน้าจัดการพลังงาน ดูแลชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่แรก หรือให้ชุมชนใช้ไฟฟ้าถูกกว่าคนพื้นที่อื่น

หัวข้อ Arts and Feelings of Presentation โดยอาจารย์ จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

อาจารย์ให้หลักการนำเสนอ มี3 ส่วนคือ ก่อนเปิด ข้อคิด และหลังเปิด throuth presentation delivery และให้สื่อโดย Verbal ซึ่งได้ผลน้อย Vocal จะได้ผลการสื่อได้มากขึ้น ส่วนการสื่อสิ่งที่เห็น Visual จะได้ประโยชน์สูงสุด

หลักสูตร EADP (EGAT Assistant Director Development Program)

การอบรมช่วงที่ 5 : ระหว่าง วันที่ 16-17 พฤษภาคม 2559 , หัวข้อการอบรม ดังนี้

-Creative & Innovative Leadership กับการพัฒนางานของ กฟผ. และ การคิดคร่อมกรอบ

-ศึกษาดูงานเชิงประจักษ์ ณ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

-เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC เศรษฐกิจไทย กับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

-สถานการณ์พลังงานโลก พลังงานไทย

-Art and Felling of Presentation

-การนำเสนอ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จากการมอบหมายให้อ่านหนังสือภาษาอังกฤษ “Insight Out”

สรุปประเด็นที่โดนใจ :

-ท้าทายให้คิดนอกกรอบ เริ่มจากต้องทำให้กรอบที่มีอยู่บางลงๆๆ เพื่อเปิดโอกาสให้คิดออกไปนอกกรอบได้ แต่ความคิดนอกกรอบนั้นส่วนใหญ่จะทำไม่ได้ เพราะอะไร เพราะอาจจะผิดกฎระเบียบ กติกามารยาท (เปรียบเสมือนผลไม้ดิบ กินไม่ได้ ไม่อร่อย) ดังนั้นเราจะต้องดึงความคิดนั้นกลับมาๆ ให้อยู่คร่อมกรอบ เพื่อให้ความคิดสร้างสรรค์นั้นสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ (เปรียบเสมือนผลไม้ที่ได้รับการบ่มจนสุก หอมหวาน กินได้)

-ได้รับรู้ที่มาและแนวคิดการ Change เป็น SiPH (โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์) เกิดขึ้นได้จากความเป็น “ศิริราช”

-ได้รับรู้ภาพใหญ่ระดับ Macro ของเศรษฐกิจโลก ทั้งในแง่มุมของ Threat and Opportunity การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิด

-ได้รับรู้ภาพสถานการณ์พลังงานของโลก ภูมิภาคเอเชีย ภูมิภาคอาเซียน รวมถึงประเทศไทย และที่สำคัญได้รับมุมมองจากผู้เชียวชาญในด้านเศรษฐกิจ และ ด้านพลังงาน ในมุมมองที่หลากหลายมิติ

-การนำเสนอ ตามหลักการ Art and Felling of Presentation

-จากการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษและร่วมกันวิเคราะห์ วิจารณ์ระหว่างเพื่อนร่วมกลุ่ม ทำให้ได้รับความรู้ ความเห็นที่แตกต่าง หลากหลายมุมมอง รวมทั้งได้รับฟังผู้เข้าอบรมกลุ่มอื่นๆ นำเสนอหัวข้อสำคัญ ได้รับความรู้และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

การนำไปใช้ประโยชน์ :

-เรียนรู้หลักการแล้ว อยากลองคิดนอกกรอบ แล้วค่อยๆดึงกลับเข้ามาให้เป็น คิดคร่อมกรอบ เพื่อนำไปปฏิบัติได้จริง

-ความรู้และมุมมองที่ได้รับจากผู้เชียวชาญจะนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงแนวคิดที่จะให้มีการรับมือกับผลกระทบและการปรับตัว รับการเปลี่ยนแปลง ความผันผวนที่จะเกิดขึ้น้

-นำแนวคิด หลักการที่ได้รับ ไปประยุกต์ ฝึกฝนในการนำเสนอ Presentation ให้มีการเข้าถึงอารมณ์ มีความแปลกใหม่ และน่าจดจำ รวมถึงการเตรียมตัว จัดระบบความคิดตามหลักการ “Power of 3”

-การนำหลักการจากหนังสือที่ให้อ่านและนำเสนอ คือ “Experiment : Break Some Eggs” โดยทำการทดลอง ก่อนทำโครงการจริง ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้

-หลักการ “Learn-Share-Care” การเรียนรู้และแบ่งปันร่วมกัน และ หลักการ Value Added-Value Creation-Value Diversity สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้จริง / end.

สิ่งที่ได้เรียนรู้..สู่การปรับใช้

ช่วงที่ 3

กิจกรรม ระบายสีน้ำ

ได้เข้าใจความหลากหลายของการใช้สีน้ำที่สร้างภาพออกมาได้ไม่ยาก หากเรามีความตั้งใจ รู้หลักการผสมสีกับน้ำ สีกับสี มีการตะแคงกระดาษ เปรียบเสมือนการบริหารงาน การจัดวางน้ำหนักภาพ จุดเด่น ก็เหมือนการวางแผน การใส่น้ำเยอะให้ชุ่มในส่วนท้องฟ้ากับพื้นดินที่ต้องลงสีต้นไม้ตอนแห้ง เทียบกับ วิธีการจัดการกับสถานการณ์ สุดท้ายการมองดูภาพช่วยให้มีความสุขด้วยมือตัวเองเป็นความความภาคภูมิใจ โดยอจ.ให้ทำสองครั้ง ครั้งที่สองดีขึ้นเยอะ แสดงถึงการนำข้อบกพร่องมาทบทวนและปรับปรุงแก้ไขก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ

กิจกรรมรักษ์ใจ-รักษ์กาย

หลักสูตร สอนให้รู้จักการดูแลรักษาสุขภาพตัวเอง การนำเสนอในวันนั้น เป็น 3 รูปแบบ เริ่มจากการรับฟังคุณหมอบรรยายให้เข้าใจการดำรงชีวิต จากนั้นเริ่มที่ด่านออกกำลังกายในสระน้ำที่สูงประมาณ 1.50 เมตร เพื่อลดแรงกระแทก และยังมีการต้านของน้ำในการเต้นตามจังหวะของ อจ. ต่อจากนั้นไปนอนตากแดดคลุมตัวด้วยใบตองเพื่อให้แสงผ่านสารสีเขียว แล้วไปเข้าตู้อบสมุนไพร ต่อด้วยซาวน่าร้อน-เย็น สุดท้ายสอนการหายใจและดัดตัว

สิ่งที่ได้ ถ้ายังเป็นห่วงตัวเองหรือคนที่เขาต้องพึ่งเรา ทั้งสุขภาพยังเป็นส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของงานต่างๆ ก็ควรจะเลือกการออกกำลังกายเชิงป้องกันดีกว่า

ช่วงที่ 5

Creative & Innovative Leadership

อจ.ศรัณย์ มีวิธีการโน้มน้าวในการเข้าหลักสูตรได้เยี่ยมยอด ให้มีการตั้งคำถามที่อยากรู้แล้วสอนตอบทีละประเด็น กล่าวถึง การคิดคร่อมกรอบ ฟังดูก็แปลกดี หมายถึง ทำให้กรอบตัวเองบางลง อะไรที่กั้นความคิดตัวเองจะได้หลุดออกมา เริ่มคิดให้กว้างขวางหลุดจากกรอบโดยทั่วไปจะมีกรอบตัวเอง กรอบองค์กร และกรอบสังคม เมื่อได้ความคิดหลุดกรอบมาแล้วถือเป็นความคิดดิบๆ ซึ่งต้องทำกลับมาวิเคราะห์พิจารณากับกรอบแต่ละชั้น จะเหลือความคิดเชิงสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ได้ กว่า86%ของความสำเร็จในการทำงานทุกๆระดับเกิดจากการมีมนุษยสัมพันธ์กับความคิดสร้างสรรค์

ดูงานโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

หมอประดิษฐ์ ผอ.รพ.ได้ให้การต้อนรับและบรรยาย กล่าวถึงความเป็นมาในการออกนอกระบบราชการ โดยต้องหารายได้จากผู้ที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว และมีกำลังจ่าย การเริ่มธุรกิจได้ที่ปรึกษาที่ดี กล้าเสี่ยงที่จะลงมือปฏิบัติ ลองผิดลองถูก ได้ทีมงานที่ดี มีกลยุทธ์ในการคัดบุคลากรสร้างขวัญกำลังใจ การใช้คำพูดเรื่องการทำงานเป็นการทำบุญเป็นประเด็นที่อยู่เหนือการมุ่งเรื่องรายได้ และสร้างทีมงานได้อย่างดี ท่านมีความคิดสร้างสรรค์ในการเชิญร้านอาหารมาร่วมเปิดในโรงพยาบาล การเจาะจงเด่นๆเช่นเรื่องโครงการโรคหัวใจ หลักความคิดเพื่อไม่ให้เกิดความแตกต่างในเรื่องการรักษาถือเป็นพันธกิจ ที่ต้องให้การรักษาเหมือน รพ.ศิริราช บุคลากร(หมอ)ทีมเดียวกัน แตกต่างเฉพาะด้านบริการ

เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC เศรษฐกิจไทย

รศ.ดร.สมชาย กับ อจ.มนูญ ให้ความรู้ในการมองภาพเศรษฐกิจโลก ผลที่เกิดขึ้นจากความเคลื่อนไหว ทั้งด้านการเจรจาของประเทศต่างๆ การเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำ สถานะGDPประเทศมหาอำนาจ การคัดเลือกแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือเพื่อนำไปวิเคราะห์และประเมินอนาคต รวมทั้งการประเมินสถานการณ์พลังงานในอนาคต การใช้renewable energy การหวังพึ่งการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอจ.ได้วิเคราะห์ผลกระทบต่อการปรับตัวของ กฟผ.ในเรื่อง กฟผ.ควรจะต้องเป็นผู้นำการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาค เป็นศูนย์กลางแหล่งผลิต จะต้องมีความยืดหยุ่นรับการเปลี่ยนแปลง ต้องตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต้องมีการเตรียมพร้อมรับความเสี่ยง ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ริเริ่มโครงการ

Arts and Feeling of Presentation

การนำเสนอเป็นส่วนสำคัญในการสื่อสารสิ่งที่ผู้สื่อกับผู้รับสื่อได้เข้าใจข้อมูลที่ถูกต้องตรงกัน อจ.ตวงได้ เปิดเว็บไซท์ juicy and jazz.com เพียงแค่ชื่อก็ฟังดูมีความหมายแสดงถึง ความละมุน ความสุข สนุกสนาน ชวนสนใจ ความสนใจของผู้ฟังในเนื้อหาเพียง ร้อยละ7 ส่วนการใช้เสียงร้อยละ 38 และท่วงท่าลีลามากถึง ร้อยละ 55 ฉะนั้น การอัดตัวอักษรมากๆจึงไม่จำเป็นนัก ยกตัวอย่างการพูดในรายการ TEDTALK ในระยะเวลา 18นาที ตัดสินจากการพูดที่เข้าถึงอารมณ์ แปลกใหม่และทำให้ผู้ฟังจดจำ การเป็น CEO ต้องเป็นนักแสดง ที่ใช้คำพูด ภาษาท่าทางที่ชักชวนดึงดูดผู้ฟัง จะทำให้เกิดการจดจำสิ่งที่เราต้องการสื่ออย่างได้ผล ที่สำคัญสุดคือการเตรียมตัวก่อนขึ้นเวที ต้องมีการซ้อม มีการจัดเตรียมกระบวนความคิดที่นำเสนอ มักใช้ Power of Three แต่ละหัวเรื่อง ซึ่งจากหัวเรื่อง แยกประเด็นเป็น สามส่วนที่มีลำดับ เชื่อมโยงประสานกัน

คนเราจะประสพความสำเร็จต้องมีคุณสมบัติ 2 อย่างที่สำคัญคือ มีมนุษยสัมพันธ์แงะมีความคิดสร้างสรรค์

การ presentation ให้น่าสนใจสำคัญที่สุดคือท่าทาง รองลงมาคือน้ำเสียง และสุดท้ายคือเนื้อหา

Art and Feeling of Presentation

อจ.ตวง มีเทคนิคที่ทำให้เป็นที่ประทับใจ สร้างความมั่นใจ สร้างการมีส่วนร่วมของผู้รับฟัง (เข้าถึงอารมณรงค์) รวมถึงมี VDO ตัวอย่างการนำเสนอที่ดีมาให้ดู ทำให้เข้าใจและตอบรับได้เป็นอย่างดี

เนื้อหาที่จะนำเสนอ

- การนำเสนอมีกระบวนความคิดที่เป็นระบบระเบียบ จัดลำดับเรื่อง แบ่งเนื้อหาของแต่ละเรื่องเป็นส่วนๆ (Power of three) ทำให้ผูฟังติดตามอย่างสนใจและเข้าใจ

- การนำเสนอใช้ Ted Talks Technique ปนะกอบด้วย ทำให้ประทับใจ/ การนำเสนอที่แปลกใหม่ เช่น เป็นรูปภาพ สาธิตให้เห็น/ เข้าถึงอารมณ์ . ---> ซึ่งทำให้ผู้ฟังสนใจ ติดตาม และเข้าใจ

ข้อคิดที่ได้รับจากการอบรมฯ

- คนที่เสนอความคิดใหม่ในองค์กร มักจะหลงรักในความคิดของตนเอง คิดว่ายอดเยี่ยม ซึ่งเมื่อเข้าสู่สนามการแข่งขันที่มีกรรมการ ก็จะคิดว่า กรรมการตัดสินไม่ยุติธรรม เพราะหลงในความคิดของตนเอง เพราะการให้รางวัล 1 คน จะทำร้ายคนที่เหลือซึ่งมีจำนวนมากกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้คนไม่กล้าที่จะคิดอะไรที่แปลกจากเดิม จึงควรให้รางวัลที่แนวความคิดใหม่ ๆ หรือแนวคิดสร้างสรรค์มากที่สุดดีกว่า เพราะคนที่มีส่วนร่วมจะรู้สึกว่า ได้รางวัลเพราะคนนั้น ๆ วมีแนวคิดที่ดี ทำให้กล้าที่จะคิดสร้างสรรค์ต่อไป

- ความจริงคนเราทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ตลอดเวลา แต่ไม่สามารถที่ผลักดันความคิดได้ เพราะกลัวผิด กลัวแตกต่างจากคนอื่น กลัวอยู่นอกกรอบของสังคม ก็ขอให้ถามตัวเองว่า

: กลัวอะไร

: แล้วไง

: จริงหรือไม่

: ตายไหม

- โอกาสพลังงานไทย มีทั้งจุดแข็งและจุดออ่อนที่เราควรพัฒนาคือ

จุดแข็ง จากวัตถุดิบทางการเกษตรสามารถผลิตพลังงานทดแทนได้จำนวนมาก มีพลังงาน

จากประเทศเพื่อนบ้านที่มีศักยภาพ มีแผนงานที่ชัดเจน และมีกองทุนการพัฒนา

พลังงาน

จุดอ่อน มีทรัพยากรจำกัด พึ่งพาการนำเข้า 50% โครงสร้างการกำกับดูแลกระจายอยู่

คนละกระทรวง เป็นกิจการผูกขาด ประชาชนมีความไม่เข้าใจในกิจการ

- สิ่งที่ กฟผ. ควรปรับตัวและเตรียมตั้งรับสถานการณ์ในอนาคต

: การปรับโครงสร้างองค์การพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับโครงสร้างพลังงานใน

ระดับภูมิภาค เตรียมรับ ASEAN RECP APEC

: การเป็นผู้นำด้านการผลิตพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาค พยายามสร้างแบรนด์แบบ Green

Energy เพื่อให้ประชาชนรู้สึกดีกับ กฟผ.

: เป็นศูนย์กลางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ใช่ผลิตไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ควรเชื่อมโยงสายส่ง

การผลิตไฟฟ้ากับระบบขนส่งด้วย เป็นต้น

: การบริหารองค์กรมีความยืดหยุ่นและตอบสนองได้มากขึ้น โดย กฟผ. ต้องตอบสนอง

ผู้มีส่วนได้เสีย ทั้ง 4 กลุ่ม ให้มีความเท่าเทียมกัน

: ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงและการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยเฉพาะการบริหาร ความเสี่ยงด้านการบริหารโครงการ ต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มโครงการ

: หากลยุทธ์ใหม่ ๆ ในการทำกิจกรรม CSR ให้ชุมชนรู้สึกว่า สามารถจับต้องได้จริง

: การปรับเปลี่ยนด้านการสื่อสาร ต้องรู้สึกคาดการณ์สถานการณ์เชิงรุกล่วงหน้า เพื่อเป็น

ประเด็นในการชี้แจง กรณีถูกตั้งคำถาม

กมลรัตน์ กุหลาบแก้ว

สรุปการเรียนรู้ระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤษภาคม 2559

Creative & Innovative Leadership โดย อ.ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

การทำสิ่งเดิมๆ คิดแบบเดิมๆ ย่อมไม่มีโอกาสได้ผลลัพธ์ใหม่ๆ

ถ้าต้องการได้ผลลัพธ์ต่างจากเดิม ต้องมีความคิดสร้างสรร

Think out of the box ความคิดแบบดิบๆ ---> ดึงเข้ามาในกรอบ ---> บ่มให้สุก

สิ่งที่ปิดกั้นกรอบความคิด คือ ความกลัว

คำถามที่ใช้ คือ กลัวอะไร แล้วไง จริงหรือเปล่า ตายไหม

ความคิดสร้างสรร จะเกิดขึ้นได้เมื่อกล้าที่จะคิด

การบริหารจัดการองค์กรในแนวคิดใหม่ โดย ศ.คลินิก นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน

เริ่มจากจุดเล็กๆ แล้วขยายไปสู่โครงการ การบริหารจัดการมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน

สำหรับการบรรยายวันที่ 17 พ.ค. เสียดายมากที่ไม่ได้ไปฟัง เนื่องจากมีภารกิจ

แต่จะอ่านจาก blog ค่ะ

ช่วงที่ 5

วันที่ 16 พฤษภาคม 2559

หัวข้อ Creative & Innovative Leadership อ.ศรัณย์ จันทรพลาบูรณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ - เรื่องการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การจะประสบความสำเร็จได้ผลลัพธ์ของงานที่ต่างจากเดิม จะต้องมีการพัฒนารูปแบบการทำงานให้ต่างไปจากเดิม เพราะถ้าทำเหมือนเดิมผลลัพธ์ก็ออกมาแบบเดิม ซึ่งต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ โดยมีทั้งความคิดนอกกรอบและคิดคร่อมกรอบ เพราะนอกกรอบเลยบางครั้งก็ทำไม่ได้ สิ่งที่ขังความคิดของเราไว้ คือ กรอบความคิด ซึ่งจะต้องทำให้ส่วนนี้บางลง กรอบที่กั้นความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ความกลัว/ การยึดติดอยู่กับภาพลักษณ์ของตัวเอง/การต้องการสร้างความประทับใจ/ การเดินตามผู้อื่น/ และการเซ็นเซอร์ตัวเอง จึงต้องไม่ติดกับกรอบเหล่านี้ เพราะจริงๆ แล้วทุกคนมีความคิดใหม่ๆ แต่ไม่ผลักดันเพราะกลัวผิดและไม่อยากแตกต่างจากผู้อื่น การสอนจะมีการให้ทำแบบฝึกหัดเพื่อเรียนรู้ตัวเองว่าเป็นคนลักษณะใด เพื่อไปใช้ปรับปรุงตัวเองต่อไป

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน - ได้รับประโยชน์จากการอบรมหัวข้อนี้ เพราะการทำงานปัจจุบันต้องใช้ทั้งมนุษยสัมพันธ์และความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงวิธีที่จะกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในผู้ปฏิบัติงาน ว่าจะใช้วิธีใดร่วมกันระหว่างการจูงใจว่าจะประสบผลสำเร็จในการทำงาน/การให้รางวัล/การบอกให้ทราบว่าผลลัพธ์ของงานดีขึ้นต่างจากเดิม/ ซึ่งอาจจะต้องผสมผสานในการนำมาปรับใช้ รวมถึงเทคนิคในการนำมาใช้กับตัวเอง

ช่วงบ่าย ดูงานโรงพยาบาลศิริราช

สิ่งที่ได้เรียนรู้ - ได้ทราบจากการบรรยายของ ศ.คลินิก นพ.ประดิษฐ์ฯ ในเรื่อง กลยุทธ์การบริหารจัดการโรงพยาบาลที่เดิมมีแนวคิดจัดทำเป็น Business heart center แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลง การได้รับงบฯอุดหนุนจากรัฐลดลง การที่มีการแข่งขันเพิ่มมีโรงพยาบาลเอกชนเพิ่มจำนวนมาก จึงมีการเสนอโครงการศิริราชปิยมหาการุณย์โดยตั้งเป็นโรงพยาบาลบริหารแบบเอกชนแยกจากศิริราช แต่นำผลกำไรที่ได้นำเข้าไปพัฒนาโรงพยาบาลศิริราชเดิม ทางคณะ กฟผ.ได้เข้าชมห้องพักผู้ป่วยที่เหมือนห้องพักในโรงแรม ราคาตั้งแต่ 12,000 40,000 บาท มองเห็นแม่น้ำเจ้าพระยาสวยงาม การบริหารจัดการโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาการุณย์ ถือเป็นการคิดนอกกรอบและทำงานเป็นทีม ทุ่มเทจนประสบความสำเร็จอย่างไม่ย่อท้อ แม้ในช่วง 6 เดือนแรกของการเปิดจะมีผู้มาใช้บริการน้อยมาก แต่ต่อมาได้รับความนิยมอย่างมาก ท่านอาจารย์ได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งเป็นแนวทางที่ต้องมีมนุษยสัมพันธ์และการมีเครือข่ายทำงานเป็นทีม รวมทั้งมีเทคนิคการจูงใจบุคลากรของโรงพยาบาลให้ทำงานอย่างเต็มที่ โดยใช้แนวคิดว่าได้ทำบุญ เนื่องจากเงินกำไรจะส่งไปใช้ดำเนินงานที่ศิริราชด้วย ส่วนแรงจูงใจที่ให้กับคนไข้ที่ต้องจ่ายในราคาใกล้เคียงราคา รพ.เอกชน คือ Reciever & Giver

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน-แนวคิดการจูงใจที่เป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ แนวคิดที่อจ.ใช้เกี่ยวกับการมีกฎระเบียบภาครัฐมาก ว่า ให้ศึกษากฎทุกกฎอย่างถ่องแท้ เพื่อถึงเวลาจะได้แหกกฏได้อย่างถูกต้อง ใช้ได้กับงานในภาคราชการที่มีกฎระเบียบมาก การมีเป้าหมายในการดำเนินการและมีเครือข่ายที่ช่วยเกื้อหนุน จะทำให้งานราบรื่นและประสบผลสำเร็จ รวมถึงการคิดนอกกรอบ เช่น ดำเนินการเปิดไปแล้วมาวางกฎระเบียบตามหลัง ซึ่งทำให้งานก้าวหน้า ในแบบกล้าคิด กล้าทำ


วันที่ 17 พฤษภาคม 2559

หัวข้อ เศรษฐกิจโลกกับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

รศ. ดร.สมชาย./สิ่งที่ได้เรียนรู้ -ได้รับรู้เรื่องเศรษฐกิจของจีนมีผลต่อเศรษฐกิจโลก เป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีหนี้ที่ไม่ก่อรายได้มากที่สุด จีนจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทุกประเทศต้องจับตามอง นอกจากนี้ยังได้รับความรู้เรื่องสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ASEAN และประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน AECทำให้ได้ตระหนักว่า เรากำลังเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงอย่างมากของโลก

อจ. มนูญ ศิริวรรณ-ได้พูดถึงภาพรวมพลังงานของเอเซียแปซิฟิคและ เรื่องของ NGO ได้รับความรู้ด้านพลังงานทั้งแนวโน้มราคาและโอกาสในการเติบโตด้านพลังงานที่มีผลกระทบและการต้องปรับตัวของ กฟผ. การเตรียมโครงสร้างองค์กรให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงรองรับโครงสร้างพลังงานในระดับภูมิภาค แนวคิดการเป็นผู้นำการผลิตพลังงานหมุนเวียน ให้เห็นว่า กฟผ. มีความมุ่งมั่นและตั้งใจในเรื่องพลังงานสะอาด. การบริหารความเสี่ยงในด้าน NGO อาจารย์เห็นว่าต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมกับชุมชนตั้งแต่แรก มีการทำ CSR ที่ต่อเนื่องและลดข้อขัดแย้งกับชุมชน มีความชัดเจนในเรื่องประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ เช่น ใช้ไฟฟ้าในอัตราพิเศษ การชิงชี้แจงล่วงหน้าถึงปัญหาแทนการเป็นผู้มาตอบปัญหาในตอนหลัง

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน - การที่ในองค์กรต้องตระหนักและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน รวมทั้งต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งวิธีหนึ่งที่ดีมากคือ การอ่านหนังสือให้มากขึ้น ตามแนวทางที่ ดร.จีระ ฝึกฝนไว้ในเรื่องแนวทางด้าน NGO ความเห็นอาจารย์มนูญ มีประโยชน์มากในทุกหัวข้อที่ท่านชี้ประเด็นว่ายังเป็นปัญหา. และให้ข้อเสนอแนะที่จะให้นำไปปฏิบัติได้จริงไว้ด้วย เช่น การหาปัญหาและชี้แจงปัญหาทั้งหมดเองตั้งแต่แรก รวมทั้งแนวทางอื่นที่ อจฺ.วิเคราะห์ไว้หาก กฟผ. นำมาพิจารณาจะเกิดประโยชน์ เพราะเป็นมุมมองจากผู้มีประสบการณ์ ที่มองเห็นปัญหาได้ลึกและให้แนวทางที่เป็นประโยชน์ด้านมวลช

ช่วงบ่าย อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล เรื่อง Arts and Feeling of Presentation

สิ่งที่ได้เรียนรู้ - เป็นการสอนเทคนิคการนำเสนองานที่ทำให้เกิดความน่าสนใจ โดยการใช้ศิลปะภายในตัว มาประกอบการนำเสนอเรื่องราว เพื่อสร้างความน่าติดตามให้กับการนำเสนอ โดยใช้พลังเสียง ใช้ท่าทาง ซึ่งอาจารย์ให้ฝึกเป็นกลุ่ม รวมถึงให้ฝึกเล่นละคร สร้างอารมณ์ ซึ่งการนำเสนอที่น่าจดจำจะเกิดจากการใช้ภาษาท่าทาง 55% ใช้เสียง 38% และเนื้อหาที่อธิบายเพียง 7% โดยเห็นตัวอย่างจากอาจารย์ผู้สอนว่า อาจารย์สร้างความประทับใจและความน่าสนใจในการนำเสนอเรื่องราวได้ตลอดช่วงการอบรมนอกจากนี้ยังได้ทราบกระบวนการเตรียมก่อนการนำเสนอ โดยต้องมีการจัดกระบวนความคิดให้เป็นระเบียบ การเตรียมตัวแบบ Power of Three กำหนดTopic และสร้างเป็นภาพจะจดจำได้ง่าย

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน- เป็นประโยชน์โดยตรงในการนำไปใช้กับการนำเสนองาน ได้ทราบเทคนิคที่จะใช้จริง หากนำไปฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง จะเกิดประโยชน์เป็นผู้นำเสนองานที่มีคุณภาพที่ผู้ฟังชื่นชอบ

ธวัชชัย สำราญวานิช

ในโอกาสที่ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมหลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายหรือเทียบเท่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) EADP รุ่นที่ 12 นี้ พบว่า มีสิ่งต่างๆ ที่ได้เรียนรู้มากมายในหลักสูตรนี้ครับ สิ่งที่ผมอยากแสดงเสริมความคิดจากที่ Blog นี้สรุปไว้ได้เป็นอย่างดีแล้ว สรุปได้ดังนี้ครับ

การเรียนการสอนจากท่านอาจารย์ และวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ ที่ได้บรรยายพร้อมเอกสารและหนังสือต่างๆ ทำให้เกิดการเติมองค์ความรู้ ทฤษฎี แนวคิดและและประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ ตรึกตรอง เพื่อนำส่วนต่างๆ ไปใช้ประยุกต์ในการพัฒนาตนเอง ผู้คนรอบตัวเองและหน่วยงานต่อไป เพื่อให้ทันไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง (Change) ซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่เป็นพลวัต ดังนั้นการที่จะต้องก้าวนำและก้าวไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ท้าทาย ทั้งนี้การพัฒนาตนเอง สามารถทำได้ผ่านการแสวงหาความรู้้ใหม่ๆได้ตลอดเวลาด้วยวิธีการต่างๆ เป็นเรื่องที่ต้องฝึกทำให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ใคร่ขอขอบคุณท่าน ศ.ดร. จีระ อาจารย์และวิทยากรทุกท่าน รวมทั้งทีมงาน Chira Academy และผู้ปฏิบัติงานประสานงาน กฟผ. ทุกคน และหน่วยงาน กฟผ. ที่ได้ให้โอกาสผู้เข้ารับการอบรม EADP รุ่นที่ 12 ได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้เรื่องราวดีๆ ก่อให้เกิดเป็นต้นทุนทางความคิดที่จะนำไปใช้ให้เกิดผลต่อไปครับ

ชัยวัฒน์ บุญเรืองขาว

เรียน ดร จีระ หงส์ลดารมณ์

Creative & Innovative Leadership กับการพัฒนางานของ กฟผ.

โดย อ. ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

การเรียนวิชานี้เป็นเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ต้องทำงานในแบบที่แตกต่างออกไปไม่ซ้ำเดิมแบบที่เรียกว่าการคิดนอกกรอบต้องคิดวิธีการทำงานแบบใหม่ๆเป็นลักษณ์ของผู้นำที่กล้าคิดสิ่งที่แตกต่างออกไป หากรอบให้เจอ สลายกรอบ จุดเปลวไฟ ให้ติดได้ แบบคร่อมกรอบ กรอบเป็นเหตุให้เกิดความกลัวไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลง เมี่อกำจัดกรอบได้ทำให้เกิดการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ อีกสิ่งที่สำคัญคือมนุษย์สัมพันธ์

มนุษย์สัมพันธ์และความคิดสร้างสรรค์มีผลต่อความสำเร็จ 86 % จากความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปใช้ในการพัฒนางานได้แต่ต้องหมั่นนำเข้าใช้งานอย่างสม่ำเสมอ

ช่วงบ่ายเป็นการดูงานที่ รพ ศิริราช

การศึกษาดูงานที่นี้ทำให้ทราบแนวคิดในการบริหารงานในช่วงภาวะวิกฤตที่ต้องเปลี่ยนแปลงจากการถูกตัดงบจากรัฐบาลลง 20% แต่คนไข้เพิ่มมากขึ้น จึงได้มีการบริหารงานแบบเอกชนเอากำไรที่ได้รับมาใช้จ่ายเลี้ยงดู รพ เก่า โดยการทำโครงการสิริราชปิยะมหาการุณย์ในระยะแรกมีผู้มาใช้บริการน้อยมากแต่เมื่อประชาชนได้รับทราบข้อมูลจึงมีผู้มาใช้บริการเพิ่มขึ้น การบริหารจัดการใช้แนวคิด SIPH แบบเดียวกับที่ กฟผ มี FIRM C ให้เกิดขึ้นในองค์กร

การมีทัศนคติที่ดีแนวทางการทำงานที่ชัดเจนสร้างความร่วมมือร่วมใจให้เกิดในหมู่พนักงานของศิริราชเพื่อขับเคลี่อนให้ผ่านระยะหัวเลี้ยวหัวต่อได้จึงยืนหยันได้

เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC เศรษฐกิจไทย

อาจารย์.ดร.สมชาย ให้ความรู้ในการมองภาพเศรษฐกิจโลก ผลที่เกิดขึ้นจากความเคลื่อนไหว ทั้งด้านการเจรจาของประเทศต่างๆ การเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำ สถานะ GDP ประเทศมหาอำนาจเช่น จีน การคัดเลือกแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือเพื่อนำไปวิเคราะห์และประเมินอนาคต รวมทั้งการประเมินสถานการณ์พลังงานในอนาคต การใช้ renewable energy ถ้ามากเกินไปจะทำให้ค่าไฟแพงคนไทยจะรับได้หรือไม่ดังนั้นต้องควบคู่ไปกับการสร้างโรงไฟฟ้าฐาน เช่น ก๊าซ ถ่านหิน หรือนิวเคลียร์ การหวังพึ่งการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ผลวิเคราะห์ผลกระทบต่อการปรับตัวของ กฟผ.ในเรื่อง กฟผ.ควรจะต้องเป็นผู้นำการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาค เป็นศูนย์กลางแหล่งผลิต จะต้องมีความยืดหยุ่นรับการเปลี่ยนแปลง ต้องตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต้องมีการเตรียมพร้อมรับความเสี่ยง ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ริเริ่มโครงการ

Arts and Feeling of Presentation

การนำเสนอเป็นส่วนสำคัญในการสื่อสารสิ่งที่ผู้สื่อกับผู้รับสื่อได้เข้าใจข้อมูลที่ถูกต้องตรงกัน เป็นการสอนเทคนิคในการนำเสนอที่แตกต่างออกไป อจ.ตวงได้ เปิดเว็บไซท์ juicy and jazz.com มีความหมายแสดงถึง ความละมุน ความสุข สนุกสนาน ชวนสนใจ ความสนใจของผู้ฟังในเนื้อหาเพียง ร้อยละ7 ส่วนการใช้เสียงร้อยละ 38 และท่วงท่าลีลามากถึง ร้อยละ 55 ฉะนั้น การอัดตัวอักษรมากๆจึงไม่จำเป็นนัก ยกตัวอย่างการพูดในรายการ TEDTALK ในระยะเวลา 18นาที ตัดสินจากการพูดที่เข้าถึงอารมณ์ แปลกใหม่และทำให้ผู้ฟังจดจำ การเป็น CEO ต้องเป็นนักแสดง ที่ใช้คำพูด ภาษาท่าทางที่ชักชวนดึงดูดผู้ฟัง จะทำให้เกิดการจดจำสิ่งที่เราต้องการสื่ออย่างได้ผล ที่สำคัญสุดคือการเตรียมตัวก่อนขึ้นเวที ต้องมีการซ้อม มีการจัดเตรียมกระบวนความคิดที่นำเสนอ มักใช้ Power of Three แต่ละหัวเรื่อง ซึ่งจากหัวเรื่อง แยกประเด็นเป็น สามส่วนที่มีลำดับ เชื่อมโยงประสานกัน





วิศิษฎ์ ปฐมเจริญโรจน์

วันที่ 16 พ.ค.59

Topic : Learning Forum &Activities หัวข้อ Creative & Innovative Leadership กับการพัฒนางานของ กฟผ.

วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน”

โดยอาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์ CLO (Chief Learning Officer) บริษัท37.5องศาเซลเซียส จำกัด

หากต้องการผลลัพธ์ที่แตกต่างจากเดิมๆ องค์กรจะต้องมีผู้ปฎิบัติงานที่ Creative thinking จึงจะส่งผลให้องค์กรได้ผลลัพธ์ใหม่ๆ ซึ่งอาจจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

ไอสไตน์ “ฟั่นเฟื่อน บ้าคลั่ง ทำสิ่งที่ดีขึ้น ดีขึ้น เพื่อให้ได้ผลที่แตกต่าง ถ้าทำสิ่งเดิมๆ ผลลัพธ์ก็เดิมๆ”

86% ของคนที่ประสบผลสำเร็จในการทำงานในทุกระดับขึ้นอยู่กับ 2 สิ่งที่เป็นแก่นแท้ ในตนเอง คือ

1.มนุษย์สัมพันธ์ เพื่อให้ได้รับความร่วมมือในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้สำเร็จ

2.ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อจุดประกายให้เกิดการทำสิ่งใหม่นำไปสู่ Innovation

การกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ต้องใช้แรงจูงใจ 3 วิธี คือ

1.เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ผลลัพธ์ใหม่ๆ

2.เพื่อให้ได้ความก้าวหน้าในการทำงาน (ประสบความสำเร็จ)

3.เพื่อจะได้รับผลตอบแทนหรือรางวัล

วิธีการทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ 4 M คือ

mechanic คิดตามstep

mindset ความเชื่อที่มีต่อพฤติกรรม

mood อารมณ์สร้างสรรค์

momentum ทำให้ยั่งยืน

การคิดต้องคิดนอกกรอบขององค์กร และนอกกรอบสังคม ก่อน แล้วค่อยบ่มความคิดให้เป็นความคิดคร่อมกรอบ กรอบที่กีดกันกรอบความคิดสร้างสรรค์ ของคนส่วนใหญ่ คือ ความกลัว จึงต้องขจัดสิ่งนี้ออกไปจากตัวตนเอง

สำหรับในส่วนของ กฟผ. ยังติดกับดักเรื่องกฏระเบียบองค์กร ทำให้ไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์เท่าที่ควร อีกทั้ง ขาดแรงจูงใจ และผู้ปฏิบัติงานคิดว่า กฟผ.อยู่ใน comfort zone จึงไม่จำเป็นต้องคิดที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จึงเป็นหน้าที่ของผู้นำ ต้องมีการสร้างแรงกระตุ้น สร้างแรงจูงใจ ให้กับผู้ปฏิบัติงาน gen y เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

วันที่ 16 พ.ค.59 บ่าย

ศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์

การจัดการองค์กรในแนวคิดใหม่ โดย อาจารย์ นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน

ได้รับฟังการนำเสนอแนวทางบริหารการจัดการองค์กร จากท่านอาจารย์ นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน ซึ่งเปรียบได้กับวิชา การคิดนอกกรอบ การคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ที่ประสบความสำเร็จ มีความสามารถหารายได้เพื่อใช้เป็นงบประมาณในการบริหารจัดการในโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์ แล้วยังสามารถนำส่งเงินรายได้ให้กับโรงพยาบาลศิริราช ด้วย

สรุปได้ว่าการบริหารจัดการองค์กร โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์ ของท่านอาจารย์ฯ คือ ต้องมี net work ที่ดี ซึ่งจะให้ความช่วยเหลือ ให้การปรึกษาแนะนำ ใช้ทฤษฎี 3R คือ ต้องปะทะความจริงว่าอยู่แบบเดิมๆไม่ได้ต้องคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ต้องบริการตรงประเด็นตรงกับความต้องการของผู้ที่มาใช้บริการ , ผลลัพธ์ที่ต้องสนองต่อปณิธานของรัฐ

วันที่ 17 พ.ค.59 เช้า

Topic : หัวข้อ เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยประชาคมอาเซียนAECกับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

โดย ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ ที่ปรึกษาอาวุโสบริษัทจัดการธุรกิจจำกัด

ประชาคมอาเซียน (AEC) เกิดขึ้นจากการก่อตั้งอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN) ตั้งแต่ปี 2510 ตามปฏิญญาอาเซียน หรือปฏิญญากรุงเทพฯ โดยทิศทางการวางแผนด้านเศรษฐกิจของอาเซียนเริ่มชัดเจนมากขึ้นหลังจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2519 โดยผู้นำอาเซียน 5 ประเทศ ได้ลงนามร่วมกันในเอกสารสำคัญ 2 ฉบับได้แก่ Declaration of ASEAN และ Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia ที่ระบุความร่วมมือทางเศรษฐกิจหลายด้านเพื่อการดำเนินการต่อไป ต่อมาในช่วงปี 2521- 2540 อาเซียนได้ขยายความร่วมมือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ความตกลงที่สำคัญที่สุดคือ การจัดตั้ง “เขตการค้าเสรีอาเซียน” (ASEAN Free Trade Area : AFTA) การเจรจาเพื่อตกลงจัดทำเขตการค้าเสรีได้ทำให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและยังขยายออกไปนอกภูมิภาค วิวัฒนาการนี้ได้ดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังมีประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีน ที่มีเศรษฐกิจรุ่งเรืองจนสามารถซื้อทุกอย่าง สร้างทุกอย่างจนถึงปัจจุบันเริ่มเกิดเป็นฟองสบู่ จีนเริ่มมีปัญหาทางเศรษฐกิจ ฟองสบู่เริ่มแตก ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจไทยและทั่วโลก อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ปัจจุบันอาเซียนนับเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับหนึ่งของไทยมากกว่า EU หรือ US หรือญี่ปุ่น และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในด้านการค้าและการลงทุนอาเซียนจัดเป็นตลาดสำคัญและมีศักยภาพ ด้วยประชากรราว 600 ล้านคน มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ รวมกันกว่า 1.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นกลุ่มทางเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่กลุ่มหนึ่งของโลก

ผลกระทบของ AEC Blueprint ต่อประเทศไทย

ภาคการผลิตที่ไม่พร้อมในการแข่งขันหรือไม่มีความได้เปรียบในด้านต้นทุน ต้องเผชิญกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องจากการลดอุปสรรคในด้านการค้าและการลงทุนต่าง ๆ ทำให้ผู้ประกอบการจากต่างประเทศสามารถเข้าสู่ตลาดได้สะดวกมากขึ้น และเพิ่มการแข่งขันในตลาดให้สูงขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ไม่มีความพร้อมหรือมีขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำอาจถูกกดดันให้ต้องออกจากตลาดไปภาพรวมส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีความพร้อม แต่อาจมีธุรกิจบางประเภทที่ยังขาดความพร้อมอยู่บ้าง เช่น สินค้าพวกเกษตรกรรมบางรายการ ที่ต้องอาศัยระยะเวลาปรับตัวค่อนข้างสูงมากกว่าสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน ถึงแม้จะมีนโยบายปรับลดภาษี แต่นโยบายดังกล่าวก็พิจารณาใช้ได้กับสินค้าบางรายการเท่านั้น

กฟผ.จึงต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ต้องมี Global mindset

จีนและอาเซียน จะเป็นตัว drive พลังงาน พลังงานทดแทนจะเติบโตเร็วมากตามกระแสโลก พลังงานจาก ฟอสซิลจะถูกลดบทบาทลง เนื่องจากมีการปล่อยก๊าซที่ทำให้โลกร้อน ปล่อยฝุ่นและสารพิษ

สำหรับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. ที่ท่านอาจารย์แนะนำไว้ คือ

1. กฟผ.ต้องมการปรับโครงสร้างองค์กรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่องค์กรด้านพลังงานในระดับภูมิภาค

2. ต้องการบริหารองค์กรให้ยืดหยุ่นและตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มมากยิ่งขึ้น ได้แก่ รัฐ/พนักงาน/ผู้บริโภค/ชุมชน ฯลฯ

3. ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงและยุทธศาสตร์ การมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างจริงจัง

4. ปรับเปลี่ยนการสื่อสารเป็นการคาดสถานการณ์เชิงรุกแทนการใช้ข้อมูลเพื่อชี้แจง

กฟผ. มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาและเรียนรู้ให้เท่าทันกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกเพื่อสามารถเตรียมความพร้อมกับกฎเกณฑ์ทางการค้าใหม่ ๆ อีกทั้งเป็นการสร้างโอกาสในการประกอบกิจการด้านพลังงานไฟฟ้า ในระดับภูมิภาค

วันที่ 17 พ.ค.59 บ่าย

Topic : : Arts and Feelings of Presentation

โดย อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

ทักษะในการสื่อสารที่ทำให้ผู้ฟังสนใจ เข้าใจง่ายๆ ด้วยพลังเสียงและท่าทางตื่นเต้นเร้าใจและมีเสน่ห์สามารถสะกดผู้ฟังทุกนาที

จิตวิทยา การสื่อสาร ที่ทำให้ผู้ฟังสนใจ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

-Visual ภาษาท่าทาง 55 %

-Vocal การเปล่งเสียงพูด 38 %

-Verbal เนื้อหาสาระ 7 %

การเตรียมตัวที่ดี จะส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการขึ้นเวที แล้ว 50 %

ผู้นำ กฟผ. ต้องฝึกฝนการพูด ฝึกทักษะกิริยาท่าทางเพื่อช่วยเรื่องการพูด และจัดลำดับความคิด

ช่วงที่ 5

ความคิดสร้างสรรค์ ติดตัวมนุษย์ทุกคนมาตั้งแต่เกิด แต่เรามักติดอยู่กับกรอบ ยึดติดอยู่กับภาพลักษณ์ของตนเอง กลัวที่จะแตกต่างจากคนอื่น ทำให้ไม่สามารถพลักดันพลังความคิดสร้างสรรค์ออกมาได้

เราต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติลบ สร้างความเชื่อถือตนเอง เราก็จะพบว่า " ตัวเราก็มีของ"

Creative & Innovative Leader ship

จากการอบรมทำให้ผมมีรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม คือ การคิดคร่อมกรอบ ที่มากกว่าการคิดนอกครอบ ผู้นำ กฟผ. ในยุคนี้จำเป็นต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มีการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ หากรอบให้พบ ทำลายกรอบ นำตนเองมาอยู่นอกกรอบ แล้วคิดสิ่งใหม่ๆ แล้วดึงให้เข้ากรอบ ซึ่งจะทำให้สิ่งที่ได้จากการคิดนอกกรอบเป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ไม่กระจัดกระจายจนบางความคิดไม่ได้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด

การดูงานที่ รพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

ผมเองไม่ได้ผ่านไปแถวนั้นนานมาแล้ว เพิ่งจะทราบว่าปัจจุบัน รพ.ศิริราช เดิม ได้แตก รพ.ออกมาอีก 1 แห่งใกล้ๆกัน คือ รพ. ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ซึ่งที่มาของการแตกตัวออกมา สืบเนื่องมาจาก นโยบายภาครัฐ เรื่องการให้ รพ.ออกนอกระบบ รวมทั้งปัญหา 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งทำให้ผู้บริหาร ต้องคิดหาแนวทางในการจัดการ จึงได้เกิด รพ.ใหม่แห่งนี้ เพื่อตอบโจย์ก รพ.แห่งนี้ ใช้แพทย์และแนวทางการรักษา เช่นเดียวกับ รพ.ศิริราช เดิม เพียงแต่เพิ่มและปับปรุงในเรื่องคุณภาพของบริการด้านอื่นๆ เช่น อาคาร สถานที่ ห้องพักผู้ป่วย ฯลฯ ซึ่งรองรับคนไข้ระดับที่มีอันจะกิน ที่ต้องการบริการ ที่เร็วกว่า สะดวกสะบายกว่า เป็นต้น จึงเป็นตัวอย่างของการจัดการการเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ....

เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC เสรฐกิจไทย

โดยรวมแล้ว อาจารย์สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ให้ดูประเทศจีน เป็นหลัก เพราะจะเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมาก และให้มั่นติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา อ่านข่าวในหลายๆแหล่งข่าวแล้วต้องวิเคราะห์ อย่างมีเหตุมีผล การลงทุนต้องใช้ความระมัดระวัง....

ประสิทธิ์ จ่างพันธุ์

การคิดสร้างสรรค์ทำได้อย่างไร

คิดนอกกรอบ

ความคิดสร้างสรรค์มี 4 M

- Mechanic เป็นกระบวนการคิด คิดตาม Step แต่จะอยู่ได้ต้องมี 3 M ช่วยค้ำ

M แรกคือ

- Mindset ทัศนคติที่ดีให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

- Mood อารมณ์ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

- Momentum ทำอย่างไรให้ความคิดสร้างสรรค์อยู่อย่างยั่งยืนไม่เป็นไฟไหม้ฟาง

ทำอย่างไรให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์คือความคิดที่ดีที่มีในหัว

มีกรอบสังคม ขนบธรรมเนียม ประเพณี กฎหมาย ทำให้กรอบบางลง

ความคิดสร้างสรรค์เป็นความคิดที่แบบซน ๆ ดื้อ ๆ ถ้าคิดให้ถูกความคิดสร้างสรรค์ต้องทำกรอบให้บาง ๆ และคิดไอเดียข้างนอก คิดนอกกรอบองค์กร ผิดนโยบาย ผิดระเบียบได้ ผิดงบประมาณได้ ทุเรศได้ เป็นไอเดียที่อยู่นอกกรอบ

การคิดคร่อมกรอบ

การบ่มความคิดสร้างสรรค์ ให้นำเข้ากรอบองค์กรและสังคม เป็นเรื่องราวความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นแบบนอกก็ไม่ใช่ ในก็ไม่เชิง เป็นการคิดคร่อมกรอบ

อะไรคือกรอบความคิด

การคิดนอกกรอบคืออย่าเอาตัวไปอยู่ในกรอบ (อาร์เธอร์กล่าว)

กรอบที่กักกั้นความคิดสร้างสรรค์คนส่วนใหญ่ในผู้เชี่ยวชาญรายนี้คือ การยึดติดอยู่กับภาพลักษณ์ของตนเอง การสร้างความประทับใจ การSensor ตัวเอง การเดินตามผู้อื่น และความกลัว

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่ามนุษย์เรียนรู้เพราะต้องการเป็นที่ยอมรับ ชอบการเป็นกลุ่ม ไม่ชอบแตกแถว ต้องการอยู่ในกรอบของสังคม จึงสร้างให้อยู่ในกรอบ

แต่เรามีส่วนหยุดขีดจำกัดที่ทำให้ความคิดสร้างสรรค์ชะงัก ซึ่งนักสร้างสรรค์แท้จริงจะต้องไม่ถูกกฎเกณฑ์ กติกาดังกล่าวยึดไว้

จริง ๆ แล้วทุกคนมีไอเดีย มีความคิดใหม่ ๆ แต่เราไม่สามารถพลักดันความคิดได้ เพราะเรากลัวผิด เรากลัวแตกต่างจากคนอื่น

ถ้าเป็นนักคิดสร้างสรรค์ เขาก็เป็นส่วนหนึ่งของคนส่วนใหญ่ก็จริง แต่อาจมีความคิดที่ต่างไปจากคนในกลุ่ม

อย่างไรก็ตามเมื่อความคิดสร้างสรรค์ถูกตัดตอนเพราะกระบวนการหล่อหลอมของสังคม

ความคิดสร้างสรรค์ก็สามารถถูกต่อเติมขึ้นมาได้ด้วยเช่นกัน

เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC เศรษฐกิจไทยกับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

สิ่งที่กฟผ ต้องปรับตัวให้สอดคล้องรับการเปลี่ยนแปลง.......

1. ปรับโครงสร้างองค์กรพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงรองรับโครงสร้างพลังงานในระดับภูมิภาค เตรียมรับ ASEAN RCEP APEC

2. ต้องเป็นผู้นำด้านการผลิตพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคด้วย ต้องนำสิ่งนี้มาเป็นแบรนด์ได้ด้วย เช่นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ต้องเป็นผู้นำด้านการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนและทำให้ กฟผ.หลุดจากการเป็นผู้ร้าย กฟผ.ต้องสร้างให้เห็นว่าเป็นผู้นำผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็น Green Energy ต้องพยายามสร้างแบรนด์ใหม่

3. เป็นศูนย์กลางด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่นไม่ใช่ผลิตไฟฟ้าอย่างเดียว แต่เชื่อมโยงสายส่งการผลิตไฟฟ้านี้ สามารถเชื่อมโยงระบบขนส่งได้ เป็นศูนย์กลางแหล่งผลิตไฟฟ้าได้ เป็นผู้ลงทุนในการพัฒนาเป็นธุรกิจพลังงานในภูมิภาคได้ด้วย

4. การบริหารองค์กรต้องยืดหยุ่นและตอบสนองได้มากขึ้น ต้อง Identify Stakeholder ให้ได้ ผู้บริโภคคือผู้ใช้ไฟฟ้า มีชุมชนที่กฟผ.ตั้งไฟฟ้าหรือกิจกรรมนั้น ๆ กฟผ.ต้องตอบสนอง Stakeholder ทั้ง 4 กลุ่มให้เท่าเทียมกัน

5. ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง และการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยเฉพาะการบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารโครงการ ต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนตั้งแต่เริ่มคิดโครงการฯ ว่าให้ชุมชนมีส่วนร่วมได้อย่างไร เพื่อสร้างความเห็นด้วยต่อชุมชนตั้งแต่แรก ดังนั้นการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงโครงการฯต้องตั้ง ตั้งแต่แรก ต้องมีทุกระดับชั้น ไม่ใช่มีแค่ระดับบอร์ดเท่านั้น จนถึงคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงในการบริหารโครงการ

6. หากลยุทธ์ใหม่ ๆ ในการให้ชุมชนสามารถจับต้องได้ การทำ CSR แบบเดิมไม่เพียงพอ เพราะในปัจจุบันสิ่งที่เขาต้องการต้องเป็นสิ่งที่จับต้องได้อย่างแท้จริง เช่นถ้าตั้งที่นี่ ใช้ไฟถูกหรือไม่ ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง หรือใช้ไฟฟรีหรือไม่ หรือโรงไฟฟ้าโรงนี้เรียกหุ้นจาก อบต.เข้ามาบริหาร ให้ประชาชนมาหุ้น ให้ประชาชนมีส่วนในการบริหารหรือไม่ คือเน้นความเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ อย่างเช่น สร้างโรงพยาบาล สร้างโรงเรียน รับคนในชุมชนมาทำงาน ไม่ใช่ทำอะไรเล็กน้อยและบอกได้ประโยชน์กับชุมชนแล้ว

7. การปรับเปลี่ยนเรื่องการสื่อสาร การทำอะไรต้องคาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ต้องสื่อสารก่อน ไม่ใช่เกิดขึ้นแล้วค่อยมาชี้แจงภายหลัง ต่อไปนี้การสื่อสารองค์กรต้องเปลี่ยน ต้องมีการคาดเดาล่วงหน้า เช่นผู้บริหารของเราในวันนี้ไปงานอะไร ไปแถลงอะไร คนจะว่าอย่างไร ต้องเตรียมการณ์ล่วงหน้าว่าจะตอบว่าอย่างไร แต่ทางที่ดีควรชี้แจงล่วงหน้าไปเลย เพราะการชี้แจงที่หลังไม่มีประโยชน์ Mentality ของคนไทยเวลารับข้อมูลอะไรหรือรับจาก Social Media เชื่อก่อนแล้วมาพิสูจน์ว่าไม่จริง ต่างกับฝรั่งที่ไม่เชื่อไว้ก่อนแล้วมาพิสูจน์ว่าจริง ดังนั้นสิ่งที่ดีคือต้องคาดการณ์สถานการณ์เชิงรุกเพื่อเป็นประเด็นในการชี้แจง

อำนวย แสงวิโรจนพัฒน์

หัวข้อ Creative & Innovative Leadership กับการพัฒนางานของ กฟผ.

ได้เรียนรู้ว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นจุดกำเนิด ปรับปรุง พัฒนาให้ต่างจากเดิมสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิมจึงประสบความสำเร็จการนำความคิดที่ต่างจากเดิมไปสู่การปฏิบัติได้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี จึงได้รับความร่วมมือในการปฏิบัติกระทั่งเกิด Innovation
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จ คือ มนุษย์สัมพันธ์ และ ความคิดสร้างสรรค์

หัวข้อ เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC เศรษฐกิจไทยกับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.
อาจารย์สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ได้เล่าเรื่องเหตุการณ์ต่างๆของบางประเทศ บางภูมิภาค เช่น จีน อังกฤษ ยุโรป เอเชีย และวิเคราะห์ผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้เห็นว่าในยุคปัจจุบันนี้เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นไม่ว่าไกลหรือใกล้ จะมีผลกระทบมาถึงประเทศและองค์กรของเราได้เสมอ จำเป็นต้องติดตามข่าวสารให้สม่ำเสมอ และต้องทราบข้อเท็จจริงของข่าวสาร และต้องฝึกคิดวิเคราะห์ว่าจะมีผลกระทบอย่างไรกับประเทศชาติ และองค์กร เพื่อสามารถเตรียมแผนรองรับได้ทันกาล

วันที่ 16 พ.ค.59

Topic : Learning Forum &Activities หัวข้อ Creative & Innovative Leadership

โดยอาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์ CLO (Chief Learning Officer) บริษัท37.5องศาเซลเซียส จำกัด

ว่าไปแล้วกรอบความคิดของทุกคนล้วนมีพลวัตไม่นิ่งหรือคงที่ มีปัจจัยอื่นๆ มากมายที่ทำให้กรอบความคิดเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา ไม่ว่าในด้านสังคม ด้านกฎระเบียบ หรือด้านอื่นๆ อีกทั้งธรรมชาติของทุกคนมีสัญชาตญาณของนักคิดนักประดิษฐ์ติดตัวมาแล้วทุกคน ดังนั้นจึงจะเห็นว่ามีคนกล้าออกมาแสดงกิจกรรมต่างๆ ให้เห็นกันได้ทุกวัน ถ้าหากมีคนในการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ จำนวนหนึ่งคิดนอกกรอบกล้าคิดกล้าพูดกล้าแสดงออกบนพื้นฐานความรู้ที่ไม่มั่นคง และควบคุมไม่ได้ น่าจะสุ่มเสี่ยงได้เหมือนกัน

วันที่ 16 พ.ค.59 บ่าย

ศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณย์

การจัดการองค์กรในแนวคิดใหม่ โดย อาจารย์ นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน

เดิมทีเคยมีความคิดที่ว่าโรงพยาบาลเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ประชาชนทุกระดับชนไม่ว่ายากดีมีจนมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยปลอดจากการเจ็บป่วย แต่ความคิดนั้นกลับถูกกลบทิ้งทันทีเมื่อพบว่าข้อมูลที่ใช้อยู่เดิมไม่ถูกต้อง แล้วประชาชนคนที่เจ็บป่วยจะรู้สึกอย่างไร เมื่อถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาบุคลากรไป และถ้าสมมุติว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ไม่เป็นแหล่งพลังงานที่มีเสถียรภาพหรือมีค่าไฟฟ้าไม่เหมาะสม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ จะเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยได้อย่างไร

วันที่ 17 พ.ค.59 เช้า

Topic : หัวข้อ เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยประชาคมอาเซียนAECกับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

โดย ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ ที่ปรึกษาอาวุโสบริษัทจัดการธุรกิจจำกัด

การคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในอนาคตเพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถอยู่รอดในยุคนี้เป็นเรื่องที่จำเป็น แต่การดูแล/ควบคุมธุรกิจภายในประเทศให้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกน้อยที่สุดเป็นเรื่องสำคัญมากกว่า หากปรับ/ควบคุมได้แล้วก็ไม่ต้องกังวลเรื่องเศรษฐกิจของจีนจะแย่ลง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ก็ยังคงผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย ระบบไฟฟ้ามีเสถียรภาพ มีคุณภาพที่ดี และเพียงต่อการใช้งานของประชาชน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ไม่ได้ทำธุรกิจเพื่อความมั่งคั่ง


วันที่ 17 พ.ค.59 บ่าย

Topic : : Arts and Feelings of Presentation

โดย อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

เพิ่งรู้ว่าเสียงที่ดีที่สุดมาจากท้องน้อย แต่เก็บความสงสัยและความประหลาดใจว่าท้องน้อยอยู่บริเวณท้องในระบบทางเดินอาหาร ส่วนลมหายใจที่ใช้เปล่งเสียงน่าจะเก็บไว้ได้ลึกที่สุดบริเวณปอดใกล้ๆ กะบังลม ดังนั้นเสียงที่มาจากท้องน้อยจึงไม่น่าจะออกมาทางปากเสียแล้ว แต่ออกทางอื่น

ธีรศักดิ์ รุ่งแสงจันทร์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในช่วงที่ 5

Creative & Innovative Leadership กับการพัฒนางานของ กฟผ.

  • ได้เรียนรู้เรื่องของความคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบ การได้คิดสิ่งที่แปลกใหม่อย่างสร้างสรรค์มีส่วนช่วยให้การทำงานประสบผลสำเร็จ เพราะการคิดแบบเดิมๆ บางครั้งก็ทำให้เกิดทางตัน ไม่เกิดการพัฒนาต่อไปได้

เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC เศรษฐกิจไทยกับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

  • ได้เรียนรู้ถึงเศรษฐกิจโลก ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ รวมถึงเศาษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย กฟผ. ต้องมีความตื่นตัวในความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสามารถปรับตัวรับมือกับทุกสถานการณ์ เพื่อให้องค์กรอยู่รอด

Arts and Feelings of Presentation

  • ได้เรียนรู้เทคนิคในการพูดนำเสนอ การเปล่งเสียงต้องมีพลัง บุคลิกต้องดีมีความเชื่อมั่น มีการแสดงความรู้สึก สามารถลำดับการพูดเพื่อไม่ให้หลงประเด็น และการรักษาเวลาในการพูด เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกสนใจในสิ่งที่เรากำลังจะนำเสนอ โดยมีตัวอย่างการพูด TEDTALKs การลำดับการพูดที่ดีควรมี Key Word และใช้ Power of Three ในการเชื่อมโยง จะทำให้คำพูดสละสลวยมากขึ้น
พงษ์ชัย โชติสกุลสุข

น่าสนใจกับการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ทิ้งรากเหง้าเดิมของศิริราช

การเปลี่ยน pressure เป็น Challenge ไปสู่ Inspire

มีหลักงง่ายๆ แค่ Core Value กับ Core Competence

สามารถพลิก วิกฤติ เป็น โอกาสเอาตัวรอด (แค่พอเพียง) ไม่ทิ้งพระราชประสงค์

ขอยกย่องท่านผู้บริหาร

หันกลับมา กฟผ. เครื่องมือบริหาร เราใช้ทุกอย่างเลยครับ ไม่ง่ายที่จะเข้าใจลึกซึ้งและปฏิบัติ

วัลลภ เมฆพฤกษาวงศ์

การอ่านและวิจารณ์บทความของ Harward Business School ถือว่าเป็นารฝึกนิสัยการอ่านจากต้นแบบของผู้นำผู้บริหารจากทั่วโลก เป็นแนวทางที่ดีมากจาก ดร.จีระ ได้ทั้งความรู้ ประสบการณ์ ตัวอย่างการบริหารงานที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์กับการทำงานให้ กฟผ. ได้ดีมา

นายวันชัย คณาสิทธิบุญ ช.อปท.

นายวันชัย คณาสิทธิบุญ ช.อปท.

ไม่กี่วินาทีที่แล้ว

นายวันชัย คณาสิทธิบุญ ช.อปท. (EADP 12)

สรุปผลการอบรม ช่วงที่ 6 1 – 3 มิถุนายน 2559

นายวันชัย คณาสิทธิบุญ ช.อปท.

นายวันชัย คณาสิทธิบุญ ช.อปท. (EADP 12)

สรุปผลการอบรม ช่วงที่ 5 วันที่ 17 – 18 พฤษภาคม 2559

วันที่ 17 – 18 พฤษภาคม 2559

ข้อคิดเห็นจากการเรียนรู้

1. หัวข้อ Creative & Innovative Leadership กับการพัฒนางานของ กฟผ.

เรียนรู้เกียวกับธรรมชาติและแนวทางการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

- ปัญหาอุปสรรคที่ขัดขวางการมีความคิดสร้างสรรค์

แนวทางการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

  • บรรยากาศการเกิดความคิดสร้างสรรค์
  • ความคิดสร้างสรรค์เริ่มจากแรงจูงใจ มีความกล้า คิดนอกกรอบ
  • ความคิดสร้างสรรค์นำมาสู่ Innovative เป็นจุดกำเนิด ปรับปรุง พัฒนาให้ต่างจากเดิมสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิม
  • เศรษฐกิจประเทศจีน จากเดิมขยายตัวสิบกว่า % จนกระทั่ง 4 ปีที่แล้ว 6-7% แสดงถึงการเกิดภาวะฟองสบู่ในเศรษฐกิจจีน มี NPL สูง ทำให้จีนต้องดำเนินการการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ด้วยขนาดของเศรษฐกิจจีน ทำให้ต้องเฝ้าดู ศึกษาวิเคราะห์เศรษฐกิจประเทศจีนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีผลกระทบอย่างมากต่เศรษฐกิจโลกและประเทศไทย
  • เศรษฐกิจสหภาพยุโรป 28 ประเทศ มีประเด็นที่ต้องเฝ้าดู เช่น
    • มีความเหลือมล้ำทางเศรษฐกิจอย่างมากในแต่ละประเทศ
    • ใช้เงินสกุลยูโรเพียง 19 ประเทศ
    • การออกจาก EU ของอังกฤษ
  • เศรษฐกิจของประเทศในแถบอเมริกาใต้ เช่น เวเนซูเอลา บราซิล ยังไม่ดีนัก
  • ประชาคม ASEAN มุ่งสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC 2015 เปิดเสรีการค้า การลงทุน แรงงานมีฝีมือ จำเป็นที่ต้องศึกษารายละเอียด กฎบัตรต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปิดโอกาสในการขยายธุรกิจไฟฟฟ้าของ EGAT เช่น ASEAN GRID
  • การดำเนินการด้านโครงสร้างพื้นฐานพลังงานไฟฟ้า ตัวแปรสำคัญที่เกี่ยวข้องมากมายตั้งแต่ นโยบายรัฐบาล NGO สัดส่วนประเภทเชื้อเพลิง ราคาน้ำมัน GDP Renewable Energy การคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • ผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ. ตั้งแต่การปรับโครงสร้างองค์กรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง มีความยือหยุ่น สามารถตอบสนอง Stakeholder ทุกกลุ่มได้อย่างลงตัว ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง การสื่อสารเชิงรุกเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย การดำเนินการด้าน CSR หรือ CSV

2.หัวข้อ ศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

ไม่ได้ร่วมดูงานโรงพยาบาลศิริราช เนื่องจาดติดภารกิจ

3. หัวข้อ เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC เศรษฐกิจไทยกับผลกระทบและการปรับตัวของ กฟผ.

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

อาจารย์มนูญ ศิริวรรณ

ประเด็นพิจารณา

4. หัวข้อ Arts and Feelings of Presentation

Arts and Feelings of Presentation เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับศิลปะที่อยู่ข้างในเอามาเป็นมูลค่าเพิ่มในการนำเสนอ เพื่อให้สามารถนำเสนอ สื่อสารเรื่องต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ ผู้รับข่าวสารได้รับรู้และรู้สึก สัมผัส ข้อมูลข่าวสารได้อย่างชัดเจน

ผู้สื่อสารต้องมีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาที่ต้องการสื่อสารอย่างถ่องแท้ มีการเตรียมการนำเสนอ โดยการสรุปประเด็นสำคัญเป็นผังนำเสนอที่ชัดเจน ลำดับขั้นตอนการนำเสนอ ตลอดจนการมีบุคลิกที่ดี การฝึกทักษะการนำเสนอแบบมีอาชีพ ตั้งแต่การพูด ท่าทางประกอบ การดึงดูดความสนใจ การถ่ายทอดแนวคิดความรู้สึกอย่างมีประสิทธภาพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท