​เงาะปักษ์ใต้ไทย 2



ต่อจากตอนที่แล้ว ผมได้พบเงาะป่าครั้งแรกในงานเทศกาลไหว้พระธาตุพนมราวปี พ.ศ. 2518 เขาเชิญชวนให้เข้าไปดูมีรถไต่ถัง สาวน้อยตกน้ำ เมียงูอะไรสารพัดจำไม่ได้แล้วเพราะงานนี้ใหญ่มากผู้คนมากันทุกสารทิศ

วันนั้นจำได้ว่าผมเข้าไปดูเงาะป่า พอเข้าไปจะมีกรงขังอยู่พอส่องดูเข้าไปในกรงนั้นเห็นคนป่าที่เรียกว่าเงาะป่า 1 คนเป็นผู้ชายอายุราว 20 ปีได้ผิวคล้ำผมหงิกงอ ยังนึกในใจว่าคนแท้ ๆ ถูกเอามาขังไว้เหมือนสัตว์ได้อย่างไรกันนี่

หลังจากนั้นมานานมากคือเมื่อ 3 ปีที่แล้วผมได้ไปทำบุญงานเทศน์มหาชาติแถววัดในเขตจังหวัดพัทลุงได้เห็นกลุ่มคนป่าเข้ามานั่งรวมกันอยู่ภายในวัดท่าทางตื่นคนน่าดูพวกเขาสวมเสื้อผ้ามอมแมมคงมีผู้ใจดีบริจาคให้ การมาในงานบุญก็จะได้รับประทานอาหารในวัดนั้นเอง

พอถึงยามเย็นแล้วพวกเงาะป่าก็พากันเดินทางกลับคงไปทับอันเป็นที่อยู่บนภูเขาซึ่งอยู่ในเทือกเขานครศรีธรรมราชที่พาดผ่านถึงบริเวณแถบนั้นแน่

เงาะป่าในไทยเป็นชนเผ่าเซมัง จัดอยู่ในตระกูลนิกริโต ( Negrito ) เป็นพวกนิโกร ใช้ภาษาตระกูลออสโตร-เอเชียติก จัดอยู่ในสายภาษามอญ-เขมร รูปร่างเตี้ยผิวดำเข้มผมหยิกงอหรือฟูจมูกแบนริมฝีปากหนา

ซึ่งนักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษ 2 คน ชื่อ วอลเตอร์ วิลเลียม สคีต ( Walter William Skeat ) และ ชาร์ลส์ ออตโต แบลกเด็น ( Charles Otto Blagden ) ได้เดินทางมารับราชการในดินแดนแหลมอินโดจีนนี้ราวปี พ.ศ. 2434-42 โดยเฉพาะวอลเตอร์นั้นใช้ชีวิตอยู่ในรัฐสลังงอและทั้งคู่ได้แต่งหนังสือแปลไทยว่า มนต์เสน่ห์มลายู และ ชาวพื้นเมืองในแหลมมลายู

มีบางช่วงของวอลเตอร์ ในปี พ.ศ. 2442 เขาเดินทางไปบางกอกเข้าเฝ้าในหลวง ร. 5 เพื่อเข้าพื้นที่สยามศึกษาชนพื้นเมือง และเขาทั้ง 2 ได้แบ่งชนพื้นเมืองในแหลมทองนี้เป็น 3 กลุ่มคือ หนึ่งเผ่าเซมัง ที่อาศัยอยู่ตามขุนเขาปักษ์ใต้ในประเทศไทยลงไปถึงรัฐปะลิสรัฐเกดะห์รัฐเประและรัฐกลันตันในประเทศมาเลเซีย สองเผ่าซาไก ( Sakai ) เป็นพวกดราวิโด-ออสเตรเลียน ( Dravido-Australion )สื่อถึงชาวเกาะทะเลใต้และเผ่าจากุน ( Jakun ) คือชาวมลายูเดิมอาศัยอยู่ตอนล่างปลายแหลมทองนี้

สำหรับบรรพบุรุษเดิมของชนเผ่าซาไกเดิมมีถิ่นฐานอยู่แถบยูนานประเทศจีนได้ล่องเรือลงมาตามลำแม่น้ำโขงออกทะเลไปอยู่ตามหมู่เกาะต่าง ๆ ท้ายสุดบางกลุ่มได้ขึ้นฝั่งมาอาศัยอยู่ตอนกลางแหลมทองนี้มีชนเผ่าอยู่หนาแน่นที่เขาติติวังชา หรือเรารู้จักในนาม คาเมร่อน ไอแลนด์ ประเทศมาเลเซีย พวกชนเผ่าซาไกใช้ตระกูลภาษาออสโตรเนเชียน มีเชื้อสายมองโกลอยด์ ผิวเหลือง เส้นผมหยิกแบบลูกคลื่น สมัยก่อนผู้มีอำนาจจับชนเผ่านี้ไปเป็นทาส คำว่าซาไก แปลว่า ทาส ไพร่ พวกเขาก็เป็นคนอาศัยอยู่ป่าเหมือนกับชนเผ่าเซมัง แต่เงาะป่าเซมังอาศัยอยู่ในป่าลึกบ้างอยู่ในถ้ำจับตัวยากกว่าชนเผ่าซาไก นี้คือชนเผ่าซาไกอาศัยอยู่ในขุนเขาตอนกลางของประเทศมาเลเซียเท่านั้นไม่มีปรากฏชนเผ่านี้อยู่ในขุนเขาใด ๆ ทางปักษ์ใต้ของไทย

บรรณานุกรม

บุญเสริม ฤทธาภิรมย์ . (2557 ). เงาะภาคใต้ของไทยเป็นเผ่าเซมังไม่ใช่ซาไก .

สงขลา : โรงพิมพ์พิมพการ .

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603060เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2016 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2016 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมเจอที่ตรังครับ

เอามาฝากอาจารย์ด้วย

https://www.gotoknow.org/posts/551171

เอามาฝากอาจารย์เช่นกันจ้ะ

บันทึกนี้ จ้ะ

ขอบคุณครับ ท่าน ดร. ขจิต ฝอยทองและคุณมะเดื่อ

สำหรับภาพคนอยู่ป่าที่ได้ไปเห็นมาจริง ๆ เลยนะนี่

ขอบคุณครับ คุณมะเดื่อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท