มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ


มาตรการ QE หรือเรียกอีกอย่างว่า มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ คือนโยบายทางการเงิน แบบหนึ่ง จะเป็นการนำเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจะเข้าไปซื้อสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน และจะให้สถาบันทางการเงิน ปล่อยกู้ให้ภาคเอกชน เพื่อกระตุ้นให้ ประชาชนในประเทศ มีการใช้จ่ายมากขึ้น แต่ถ้ายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งการประกาศใช้ มาตรการ QE นั้น ไม่ได้เป็นข่าวดีนักเพราะเสี่ยงต่อการเกิดสภาวะเงินเฟ้อ สิ่งที่ตามมาก็คือ ค่าเงิน ดอลล่าล์สหรัฐ ก็อ่อนค่าลงด้วยเช่นกัน โดยมาตรการ QE เป็นมาตรการที่ใช้เพื่อเพิ่มสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายภาคเอกชน นอกจากนั้นยังใช้เพื่อลดอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Yield) ให้อยู่ในระดับต่ำลงมา โดยที่ธนาคารกลางจะเข้าไปซื้อตราสารหนี้ทั้งของภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดการลดต้นทุนในการกู้ยืมของภาคธุรกิจลง ซึ่งเป็นการช่วยให้การผลิต และการจ้างงานสามารถดำเนินต่อไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้ก็ก่อให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆด้วยเช่นกัน อาทิ เกิดแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อ เนื่องจากมีการอัดฉีดปริมาณเงินเข้าสู่ระบบ และยังส่งผลกระทบต่อค่าเงินที่อ่อนค่าลงด้วยเช่นกัน

สำหรับผลกระทบของมาตรการ QE ต่อประเทศไทยนั้น การที่เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ประกอบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ปรับตัวลดลง ได้ส่งผลให้มีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาในประเทศไทย ทั้งในตลาดหุ้น และตลาดตราสารหนี้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีอัตราผลตอบแทนที่ดีกว่า ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ดังนั้นนักลงทุนต่างประเทศจึงได้กำไรทั้งจากอัตราผลตอบแทน และอัตราแลกเปลี่ยนไปพร้อมๆกัน ซึ่งการที่เงินทุนไหลเข้านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยอย่างเดียว แต่เป็นการไหลเข้าภูมิภาค รวมไปถึง Emerging Country ด้วย ก็จะทำให้ค่าเงินในภูมิภาคแข็งค่าไปในทิศทางเดียวกัน

ทั้งนี้ มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ ยังมีประโยชน์ในการช่วยฟื้นเศรษฐกิจของโลกและระบบการเงินของทั่วโลก เ เพื่อกระตุ้นให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น แต่ก็สร้างความเสี่ยงในด้านเงินเฟ้อ ด้านการลงทุน และยังสร้างความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ให้กับประเทศสหรัฐ และประเทศอื่นๆ

ที่มา : สโรกาญจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603055เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2016 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2016 12:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท