โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 - 5 กุมภาพันธ์ 2559)


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ห้องเรียนผู้นำของมหาวิทยาลัยทักษิณ

วันนี้เข้าสู่ช่วงที่ 2 ของการเรียนรู้สำหรับห้องเรียนผู้นำของมหาวิทยาลัยทักษิณ ผมขอเรียนว่า "TSU Leader Class" ซึ่งในช่วง 2 วันนี้ เราจะเน้นเรื่องการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของมหาวิทยาลัยทักษิณ การพัฒนากระบวนการคิดแบบสร้างสรรค์ และการเรียนรู้ "ถอดรหัสสามก๊ก" เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับการบริหาร ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเรียนรู้ร่วมกันในช่วงนี้ ลูกศิษย์ของผมจะได้รับมุมมองที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้กับการพัฒนาตนเอง องค์กร และสังคมของเรา

ผมขอใช้ Blog นี้ เป็นคลังความรู้สำหรับกิจกรรมในช่วงที่ 2 ของเราครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์


สรุปการบรรยายวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559

Morning Brief โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รู้สึกดีที่มี Young PhD. และผู้นำมาเพื่อเรียนรู้ในครั้งนี้ ซึ่งมุ่งหวังที่จะได้พลังในการเรียนรู้จากดร.จีระ อย่างเต็มที่

ตัวอย่างการประชุมคณะกรรมการ ม.อ. สิ่งที่เราจะทำคือถ้าเราทำเฉพาะอดีต กรรมการชุดนี้จะล้มเหลว สิ่งที่กรรมการชุดนี้ควรมองคือการมองความเสี่ยงในอนาคต อาทิ ความเสี่ยงเรื่องคน เรื่องเทคโนโลยี ดังนั้นเวลาอยู่กับ ดร.จีระ ต้องดูความหลากหลายด้วย แม้ว่าทุกท่านมีศักยภาพสูงแต่อย่างประมาท การเรียนรู้ในครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับตัวคุณ

Process 4 ขั้นตอน

  • Where are we?
  • Where do we want to go?
  • How to get there?
  • How to overcome difficulty?

3 อย่างคนในห้องนี้น่าจะผ่าน แต่สิ่งที่ยากคือ ข้อ 4

สิ่งที่ยิ่งใหญ่ (Greatness) คืออะไร ต้องทิ้งมรดกไว้บ้าง

ถ้าเราจะเก็บเกี่ยวความเป็นเลิศของมนุษย์ในห้องนี้ ไม่เกี่ยวกับ เงิน โบนัส ตำแหน่ง แต่เกี่ยวกับข้างในของเขา

การเรียนในห้องกับนอกห้องมีความสำคัญทั้งคู่ อย่างเรื่อง Informal Network เป็นสิ่งที่ต้องใฝ่รู้ตลอดเวลา

Teamwork ความจริงแล้วคือ Common sense ธรรมดา

อยากให้แต่ละคนลองถามเรื่อง Individual Strength ของคุณคืออะไรบ้าง อยากให้อ่านเรื่องจิตวิญญาณผู้ประกอบการของ Bill Heinecke

ข่าวดีคือ อธิการบดีฯ จะตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ที่นี่ และเชิญ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นที่ปรึกษา

คนในห้องนี้ ถ้าทำงาน Routine สังคมจะไม่ค่อยได้จดจำเท่าที่ควร

นอกจากอ่านสามก๊ก อยากให้ทุกคนได้อ่านเกี่ยวกับเชคสเปียร์ ในมุมมองของ ดร.จีระ มองว่าเชคสเปียร์เป็นคนกำหนดตัวละครที่ดีที่สุด ต้องหาตัวละครเก่ง ๆ เข้ามาช่วยในการทำงาน

ก่อนจบได้เลือกการบ้าน อยากให้สัปดาห์เป็นมองถึงอนาคตว่า Skill ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้าน Robotic Technology เกษตร การจ้างงาน (Employment) เศรษฐกิจโลก จะเป็นอย่างไร ทาง ม.ทักษิณจะมอง Trend ในโลกอย่างไร

อยากให้มองว่า Skill ที่จะให้เป็น Employment Capabilities อย่างเช่นภาษาอังกฤษ ภาษายาวี ภาษาบาฮาซา หรือมุมมองด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีจะเป็นอย่างไร

Flow of work เปลี่ยนได้ตลอดเวลา คนตั้งโจทย์เก่งสำคัญกว่าตอบเก่ง

วิชาที่ 5

TEAMWORK ของมหาวิทยาลัยทักษิณ

โดย รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี นักวิจัยอาวุโส สวทช.

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ความคาดหวัง

  • คาดว่าทุกคนสลับหมวกทุกใบและทำงานเป็นทีมเพื่อ ม.ทักษิณ และเพื่อภาคใต้
  • คาดหวังว่าเราจะได้เทคนิคและวิธีการใหม่ ๆ ทั้งเครือข่ายภายในและภายนอก ที่สามารถนำไปใช้ต่อการบริหารทรัพยากรบุคคล

กิจกรรม มนุษย์สร้างได้

1.ให้คนมายืนหน้าห้องแล้วหมุนแล้วถามว่าอะไรเล็กที่สุด

คำตอบ คือ DNA

2.คนกับลิงอุรังอุตัง มี DNA ต่างกันกี่เปอร์เซ็นต์

คำตอบ คือ ต่างกันไม่ถึง 3% แต่พบว่ามีความแตกต่างกันมาก

3.สิ่งที่ทำให้คนกับลิงอุรังอุตังแตกต่างกันมากคืออะไร

คำตอบ คือ สภาพแวดล้อม

สภาพแวดล้อมก่อให้เกิดสิ่งเหล่านี้คือการบ่มเพาะ สิ่งนี้เป็นเพราะมนุษย์สร้างได้

วิธีการ

  • Mindset ระหว่างปัญญากับความรู้ สิ่งที่เอาตัวรอดได้มากกว่าคือปัญญา
  • องค์กรที่แก้ยากที่สุดในโลกคือ สถาบันการศึกษา เนื่องจากตัวความรู้เป็นตัวสกัดกั้น คนจะไม่คิดใหม่ และยืนยันความรู้และทฤษฎีนั้นถูกต้อง ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ ในโลกนี้มีอะไรเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ สายปัญญาจะทำให้เราค้นพบสิ่งใหม่ ๆ มากมาย เมื่อองค์ความรู้บวกกับปัญญาจะสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ มากขึ้น
  • เมื่อใจทำงานเปลี่ยน Mindset จะมาอยู่ที่ใจและกายให้ทำงานอย่างดีที่สุด
  • การทำงานถ้าเป็นอาชีพ กับหน้าที่ต่างกันอย่างไร

- การทำงานเป็นหน้าที่จะลึกกว่า เป็นอาชีพจะแลกเงินเดือน ส่วนหน้าที่ไม่ดูว่ากรอบอยู่ตรงไหน

- สถานภาพทีมเวอร์กเป็นอย่างไร

- วิเคราะห์สถานการณ์การทำงานของเราว่าเป็นปลาทองกลุ่มไหน ก่อนอื่นต้องยอมรับก่อน (ปลาทองกลุ่ม 1 ยอมรับและปรับเปลี่ยน ปลาทองกลุ่ม 2 คือเห็นคุณค่าและแรงจูงใจ ปลาทองกลุ่มที่ 3 พัฒนาศักยภาพ mindset และปัญญา)

ประเด็นคือการมองตัวเอง และสะท้อนภาพตัวเอง ส่วนใหญ่จะเป็นปลาทองกลุ่มที่ 2 ซึ่งอาจโดดผิดได้

การพิจารณาคุณค่า

- มนุษย์เป็นสิ่งที่มีชีวิตที่ใช้คุณค่าในการตัดสินใจว่าได้อะไร

- การตัดสินอะไรเอาคุณค่าเป็นตัวตั้ง

- คุณค่าของแต่ละคนต่างกัน เช่น งาน ครอบครัว ปฏิบัติธรรม ดังนั้น การเอาคุณค่าตัวหนึ่งมาตัดสินจึงไม่สามารถตอบได้ทุกคน

ถ้าหากคนสองคนอยู่ด้วยกัน ใส่ความหวังไปด้วย แต่เมื่อความรักลดลง อาจเกิดการทะเลาะกัน แต่ถ้ามีลูก อาจทำให้มีการ Shift ให้สังเกตว่าเนื่องจากมีเป้าหมายร่วมกัน

ความสำเร็จของการทำงานเป็นทีม

  • ตั้งคุณค่าร่วม
  • คุณค่าที่ปรากฏ (จะมีสิ่งที่เราเห็น และสิ่งที่เขาเป็น)

เมื่อมีคุณค่าที่ดีจะทำให้เกิดแรงบันดาลใจ เกิดฝัน เกิดการพัฒนาร่วมกัน

มนุษย์จะมีมุมมองที่เราไม่เห็นตัวเองเยอะ เราต้องพยายามเปิดใจให้กว้างและรับฟังข้อมูลจากผู้ร่วมทีม

กิจกรรม

  • แจกกระดาษ เขียนชื่อตัวเองในหน้าแรก ส่วนอีกหน้าให้เขียนว่าตัวเราเก่งอะไร เขียนคุณค่า ความเก่ง ความดี อะไรที่คิดว่าเป็นตัวเรา
  • ให้เอากระดาษของเราเดินไปหาเพื่อน 3 คนที่อยากให้เขาเขียนว่าเก่งอะไรให้เขียนฝั่งที่มีชื่อของเพื่อน
  • ให้ดูว่าเพื่อนกับเราที่เขียนตรงกันมีกี่ข้อ จะแสดงถึงบุคลิกภาพตัวจริงของเรา

- การตั้งต้น ให้ตั้งต้นที่คุณค่า อันไหนที่เราเขียนแล้วเพื่อนไม่เขียน แสดงว่าเราไม่ได้แสดงให้คนเห็น แต่เราคิด แต่อะไรที่เพื่อนเขียนแต่เราไม่เขียนแสดงว่าเราไม่รู้ตัวเอง

- สรุปคือการสื่อสารที่ดีต้องมีการสื่อสารร่วมกัน

ทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จในชีวิต

ในกระบวนการใช้สมองเราสามารถใช้ระบบ IQ EQ MQ SQ

Intelligence Quotient

Emotional Quotient

Moral Quotient

Survival Quotient

มาจัดระบบเพื่อเข้าใจมนุษย์ได้ และเมื่อเราจัดลำดับแบบนี้เราจะสามารถแบ่งคนได้ออกมาเป็น 4 กลุ่ม จะพบว่าทุกช่องจะมีทั้งมุมบอกและมุมลบ

  • C นักทฤษฎี - ใช้ความฉลาดทางปัญญา คุณธรรม จริยธรรม มีความชัดเจนถูกต้อง ตามกฎ มีเหตุผล ระมัดระวัง เป็นทางการ มีหลักการ ยึดติดกับราย่ละเอียด ไม่ชอบเสี่ยง (คนภาคกลาง)
  • D นักผจญภัย - กล้าตัดสินใจ เข้มแข็ง มุ่งมั่น ชอบการแข่งขัน มีข้อเรียกร้องสูง เป็นอิสระ มั่นใจในตัวเอง ดุดัน ผ่าซาก เอาตัวเองเป็นหลัก ใช้อำนาจ (คนภาคใต้)
  • I นักกิจกรรม - ชอบเข้าสังคม ช่างคุย เปิดเผย กระตือรือร้น มีพลัง ชักจูงใจผู้อื่น ร่าเริง โวยวายเสียงดัง ไม่ระมัดระวัง ตื่นเต้น รีบร้อน ไม่สนใจเรื่องเวลา (คนภาคอีสาน)
  • S นักปฏิบัติ - สงบนิ่ง ระมัดระวัง อดทน เป็นผู้ฟังที่ดี ถ่อมตน เชื่อถือได้ ไม่รับแนวคิดใหม่ ไม่แสดงออก ดื้อเงียบ ไม่แสวงหาการเปลี่ยนแปลง (คนภาคเหนือ)

วิธีการดู

1. วิธีดูคนให้ดูตอนตะบะแตก

2. เราควรเข้าใจว่าแต่ละคนเป็นคนกลุ่มไหน และทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้หมด

ตัวอย่างเช่น

ผู้บริหารที่เป็นมืออาชีพมาก ๆ จะสามารถแสดงหลายบุคลิกได้ไม่เหมือนกัน เช่น นายกฯ ตู่

คนทุกกลุ่มเป็นผู้บริหารได้ แต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ อาทิ เช่น ถ้าประเทศร่ำรวย เงินเหลือเฟือ ผู้นำสามารถ เป็นแบบ I ถ้าเข้าขั้นวิกฤติ ควรเป็น D ถ้าต้องไปแบบระมัดระวัง ควรเป็น C ถ้าประเทศร่ำรวยปกติ ผู้นำสามารถเป็นแบบ S

สรุปคนทุกคนสามารถเป็นหัวหน้าได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เช่น เอาคนตัว I ไปทำหน้าที่การเงิน ให้เข้าใจบุคลิกภาพคนและเลือกคนให้เข้ากับงาน และการสอนคนต้องสอนคนให้ตรงกับบุคลิกเช่นกัน

ภูมิภาคมีอิทธิพลกับบุคลิกภาพของคน

C กับ D ใช้ความคิดเป็นส่วนร่วมในการคุยกัน

I กับ S ใช้ความรู้สึกในการคุยกัน

ประเด็นพื้นฐานของการทำทีมเวอร์กคือ การได้ประโยชน์ทุกฝ่ายและต้องยุติธรรม ตัวอย่างเช่น มีข้าว 4 จาน คนนึงอยากอ้วน คนนึงอยากผอม คนนึงอยากพอดี ถ้าแบ่งให้เท่ากัน จะมีความสุขหรือไม่ ? ดังนั้นความยุติธรรมแท้จริงจะอยู่ที่ความพึงพอใจ ดังนั้นเวลาทำงานเป็นทีมต้องมาหาจุดความพึงพอใจร่วม

ความพึงพอใจร่วมจะทำให้เราสามารถบริหารจัดการกลุ่มได้

ตัวอย่างถ้าประชุมหาข้อสรุป คิดว่ากลุ่มไหนอยากสุดในการทำความเข้าใจกับชาวบ้าน

กลุ่ม C ถ้าคุยเหตุผล จบ กลุ่ม D ถ้าได้ผลประโยชน์จบ กลุ่ม I ถ้าเพื่อนโอเคจบ แต่กลุ่ม S จะชอบนั่งเงียบในที่ประชุม แล้วไปประชุมย่อยในห้องน้ำ

กลุ่ม S ยอมรับไม่ได้กับความไม่ถูกต้อง ไม่มีคุณธรรม ไม่ยุติธรรม วิธีการที่ถูกต้องคือต้องคุยกับกลุ่ม S ก่อน

กลุ่มที่อยู่ด้วยกันลงตัวคือ D กับ I

วิธีการบริหาร

คนจะมีพัฒนาการตามเข็มนาฬิกา จะเริ่มจาก I ไป S ไป C และจะไป D ได้ดีมาก

เวลาได้ใจรอบข้างจะทำอย่างไร

  • งานเดียวกัน แต่ต้องมีวิธีการที่คุยกับคนที่ต่างรูปแบบกัน เช่น C คุยเหตุผล D คุยว่าต้องได้อะไร S คุยด้วยมนุษยสัมพันธ์ก่อน
  • เมื่อเราไม่สามารถคุยไม่ได้ ให้ยืมมือคนข้าง ๆ คุยแทน เช่น S เมื่อคุยกับ D จะเกิดอาการมาคุ ต้องหาตัวเชื่อมคือ C กับ I เป็นต้น

บุคลิกของผู้นำ

กิจกรรม ให้วงว่าเรามีอะไรที่เหมือนตัวเรา กี่ข้อ อาทิ มีความปรารถนาดีงาม ตื่นตัว มีแรงจูงใจ ชัดเจนในความคิด มีการประสานงานกายและใจ กิริยาอ่อนน้อม ความคิดเชิงบวก การตัดสินใจ สบายใจ มีสมาธิกและการจดจ่อ มีวินัย มีความสุขกับชีวิต มีพลังชีวิต มีความแข็งแกร่งของร่างกาย มีความสามารถสื่อสาร ความยืดหยุ่นทางใจ ประสิทธิผลในการมีชีวิต เชื่อมั่นในตนเอง มุ่งมั่น สุขภาพแข็งแรง มีมนุษย์สัมพันธ์ดี เข้าใจผู้อื่น จิตใจมั่นคง มีกำลังใจ มีความกล้า มีเป้าหมายชัดเจน ขยัน หลับสนิท มีจินตนาการ ช่างเรียนรู้ เรียนรู้เร็ว มีสติไม่วิตก ละเอียด มีความอดทนทางกายและใจ มีความปรารถนาดีงาม ตื่นตัว เป็นผู้ให้ มีทักษะและความถนัด มีความจำดี ยอมรับในความแตกต่าง

การตัดสิน

มนุษย์จะตัดสินใจอะไรด้วยคุณค่า แล้วคุณค่าที่แท้จริง ปกติให้มองไปที่ Positive Thinking ในของดี มีของไม่ดี และในของไม่ดี มีของดี สิ่งนี้คือแท้จริง แต่ของจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับการยอมรับความจริงว่าทั้งโลกนี้มี 2 มุม คนเราก็มี 2 มุมเช่นกัน เช่น ขี้จะอยู่บนตักจะรู้สึกยี้ แต่ถ้าอยูในสวนผลไม้จะเป็นประโยชน์ เราในฐานะผู้นำต้องวางเขาให้ถูกที่ถูกทาง แต่ถ้าวางผิดที่ เช่นเอาคนตัว C ไปเป็นพิธีกรเข้าจะรู้สึกเบื่อมาก และคนฟังก็จะไม่รู้สึกเช่นกัน

ดังนั้นคนที่วางทีม คือเราในการดูว่าเขามีคุณค่าอย่างไร แล้ววางเขาตามคุณค่าเขา ต้องคุยกับเขา และหาคุณค่าที่แท้จริง

การยอมรับ

การยอมรับและให้เกียรติจะทำให้เขามีพื้นที่ยืน จะทำให้เขามีพลังในการขับเคลื่อนตัวเอง

เป้าหมายต้องชัด การพูดเป้าไม่ชัดคือฝีพายจะไม่รู้ว่าไปตรงไหน คำว่าเป้าชัดต้องหมายถึงเป็นเป้าร่วม ความเก่งชัดหรือไม่ ใช่ความเก่งของเราหรือไม่

ให้ดูว่ามหาวิทยาลัยมีความเก่งอะไร และชูจุดเด่นขึ้นมา

แผนไม่ได้ Action เป็นเพราะอะไร

เป้าในชีวิตเราคืออะไร แต่กิจกรรมที่เราทำเยอะที่สุดในตอนนี้คืออะไร หมายถึงเป้าหมายและกิจกรรมไปด้วยกันได้

สิ่งที่เราทำกับเป้า บางครั้งมีความหลงที่ไม่ทำกิจกรรมไปตามเป้า ให้ถามคำถามว่า ทำไม ทำไม ทำไม ไปเรื่อย ๆ แล้วจะทำให้เจอคำตอบได้

กิจกรรม

ให้อาจารย์ 3 ท่านเรียงตามอายุ อายุเยอะคืออดีต อายุน้อยคืออนาคต อายุตรงกลางคือปัจจุบัน

ส่วนใหญ่คนเราทุกข์กับอดีตหรืออนาคตมากกว่ากัน ให้อนาคตนั่งทับปัจจุบัน และให้อดีตนั่งทับปัจจุบัน

ประเด็นคือเวลาเราทำทีมเวอร์ก ให้ทิ้งอดีตและอนาคตออกไป ให้อยู่กับปัจจุบัน ณ วินาทีนี้ ปัจจุบันบางทีสั้นเกิดกว่าที่คิดอะไรได้

อนาคตอยู่กับความจริงแล้วเดินอย่างเป็นเหตุ เป็นผล ผู้บริหารต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินเหตุและผล แต่เมื่อข้อมูลชุดใหม่มาต้องตัดสินใจใหม่ ผู้บริหารยุคใหม่อยู่บนฐานข้อมูลและต้องปรับตัวผู้บริหารยุคใหม่ ถ้าไม่ใหม่อย่าทำ นวัตกรรมสำคัญ เทคโนโลยีสำคัญ ถ้าคิดแบบคนอื่น การพัฒนาจะไม่เกิด อะไรจะไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ถ้าวันนี้สวย อนาคตเราจะสวยกว่านี้

หลักการคือ ทำอะไรให้ทำดีที่สุด แล้วปล่อยวางผล ถามว่าทุกวันนี้เราได้ทำดีที่สุดหรือยัง

เราต้องบอกความรับผิดชอบตามหน้าที่และความรับผิดชอบของคน

การทำทีมเวอร์ก ให้แสดงบทบาทหน้าที่และทำให้ดีที่สุดแล้วสิ่งต่าง ๆ จะเคลื่อนตัว

การเป็นหัวหน้าจะเปรียบเหมือนวงออเคสตร้า คือ คอนดัคเตอร์

ผู้บริหารรุ่นใหม่บางครั้งยังไม่ทิ้งบทบาทเดิม และลืมว่าตัวเองเป็นคอนดัคเตอร์ ต้องเข้าใจธรรมชาติให้ได้

เมื่อเราใหม่และดีที่สุด เราจะพบกับความโชคดี เบิกบาน ความสุข และความสำเร็จ เราต้องออกมาเสนอตัวพยายามช่วยเหลือสังคมใหญ่ ออกมาแบ่งปัน กระบวนการแบ่งปันที่ง่ายคือ ถ้าผิดจะรู้จักขอโทษ แล้วจะทำให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น แต่ถ้าไถไปเรื่อย เป็นผู้บริหาร เครื่องมือของผู้บริหารคือคำชื่นชม และขอบคุณ และใช้ให้ถูกวิธี

การขอบคุณให้แสดงต่อหน้าสาธารณชนว่าเขาเก่งเรื่องอะไร ให้ทำต่อหน้าสังคมเพื่อเป็นการแสดงถึงทิศทางที่ควรเกิดในทางที่ดี แต่ถ้าจะติให้ติกันแค่ 2 คน อย่างคนญี่ปุ่นจะสอนให้รู้จักขอบคุณและเห็นคุณค่าของสิ่งนั้น เช่นน้ำ

กระบวนการขอบคุณ ต้องสอนให้ระลึกถึงจริง ๆเพื่อให้ดูแลสิ่งเหล่านั้น เช่น ลอยกระทงขอบคุณแม่น้ำคงคา

การให้อภัย เมื่อเขารู้จักขอโทษ ควรให้อภัย แต่ถ้าเขาไม่ยอมรับ แสดงว่าเขายังไม่เปลี่ยน ให้เชิญมาคุย และให้โอกาส

หลักการตัดสินใจ

คือตนเองไม่เดือดร้อน คนอื่น ไม่เดือดร้อน และมีคุณธรรม

การสร้าง Team

ถ้ามีคนแผ่อิทธิพลใหญ่ จะทำให้คนอื่นนิ่งเฉย หรือออกไป

ยิ่งเป็นผู้บริหารใหญ่เท่าไหร่ ความเป็นตัวตนต้องหายไปมาก ต้องมองประโยชน์ส่วนรวมในภาพกว้างก่อน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคนที่ผ่านมา

ความสำเร็จของทีม ให้ตั้งเข็มทิศให้ถูกทิศ ต้องมีการคุยร่วมกันเพื่อไปทิศเดียวกัน เน้นเรื่องการสื่อสารที่ดี และสร้างความสามารถ มีเป้าหมายชัดเจน ให้กำลังใจ มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย

การประสบความสำเร็จ

ต้องเข้าใจความจริง อย่าทำอะไรที่ฝืนกับธรรมชาติ อยู่กับปัจจุบันและใช้เหตุผลเดินไปข้างหน้า

คุณค่าระยะยาว ต้องยอมรับความจริง เข้าใจเหตุและผล ต้องเอาความจริงมาคุยกัน

การยอมรับความจริง ยิ่งมี Knowledge สูง ตำแหน่งสูงเท่าไหร่ ตัวตนสูงเท่านั้น

ทุกคนในกลุ่มมีคุณค่าที่กระเทือนกลุ่มหมด ประโยชน์ภาพใหญ่จะทำให้ภาพย่อยหายไป

การแบ่งปัน อย่างเวลาทำบุญ ให้อธิษฐานว่าขอให้มีปัญญามีอะไรคิดก่อนเสมอ ให้เปลี่ยนวิธีการอธิษฐานแบบ How to ? ถ้าแบบแปลนในรายละเอียดไม่ชัด จะทำให้ต่องานลำบาก

การแบ่งปันที่ดีที่สุดคือทำดีไม่หวังผล ทำดีที่สุดแล้ว แต่ต้องดูวัตถุ ดูบุคคล ดูสถานที่ หมายถึงทำที่ต้นเหตุของความดีหรือไม่ หรือปลายเหตุ เช่นการกวาดขยะ

การทำดีต้องมีความสม่ำเสมอ ให้ทำดีที่สุด และต้องดีกว่า

Workshop

  • สรุปบทเรียนการทำงานเป็นทีมใน TSU ที่ประสบความสำเร็จ 2 เรื่อง และล้มเหลว 2 เรื่อง และอธิบายเหตุผล
  • เสนอแนะแนวทางใหม่ในการพัฒนา Teamwork ของ TSU โดยใช้แนว Respect +Dignity + Happiness และอธิบายเหตุผล
  • เนื่องจากการทำงานของมหาวิทยาลัยทักษิณยังเป็น Silo และส่วนใหญ่ยังเน้นการทำงานเป็นทีมแบบเป็นทางการจึงมีปัญหา ท่านคิดว่าแนวคิดการทำงานแบบ Informal Team จะช่วยอย่างไร และวิเคราะห์ว่ามีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร
  • ค้นหาความจริงของความสำเร็จและความสุขของ TSU
  • กระบวนการแบ่งปันความว่างกับการสร้าง TEAMWORK ที่ยั่งยืนและเติบโตอย่างต่อเนื่องของ TSU

กลุ่มที่ 1

1.สรุปบทเรียนการทำงานเป็นทีมใน TSU ที่ประสบความสำเร็จ 2 เรื่อง และล้มเหลว 2 เรื่อง และอธิบายเหตุผล

ความสำเร็จคือ แผน 10 ปี ถือเป็นความสำเร็จเพราะเป็นแผนที่มีกระบวนการจัดทำที่ดี มีการรับฟังความคิดเห็นตั้งแต่ส่วนเล็ก ๆ ไปส่วนใหญ่ ที่ฟังมาถูก และสรุปอีกที คนในม.ทักษิณอยากได้อยากเป็นจริง ๆ คนทำแผนเข้าใจกระบวนการและยอมรับ เป็นแผน 10 ปี ที่เป็นตัวตนของ ม.ทักษิณ ในยุคปัจจุบันและเชื่อมไปในอนาคต

การที่มหาวิทยาลัยร่วมกับมหาวิทยาลัยที่พัทลุงในการจัดรับปริญญา ซึ่งเป็นที่ที่ยังไม่มีความพร้อม แต่ปัจจุบันมีความพร้อมจากจุดเริ่มต้นที่เยอะ จุดหลักคือ Connection ของทีมในการดึงส่วนต่าง ๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดึงมวลชนของพัทลุง ของสถานที่ที่มีอยู่จริง เป็นผลจากกระบวนการ การจัดการ Connection

การทำนโยบายหลักสูตรเป็นการบูรณาการระหว่างสาขายังไม่เกิดเป็นรูปธรรมในหลายหลักสูตร มีผู้เล่นที่เชี่ยวชาญไวโอลิน ก็อยากเป็น คอนดัคเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญเปียโนอยากเป็นคอนดัคเตอร์ หลายคนอยากเป็นผู้นำ แต่จุดล้มเหลวคือไม่ Respect ซึ่งกันและกัน

การจัดตั้งสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ผ่านมาล้มเหลวตลอด เหตุผลคือเมื่อตั้งเสร็จประโยชน์จะเกิด แล้วก็มีการทะเลาะว่าจะได้ประโยชน์เท่าไหร่ เห็นถึงประโยชน์ในอนาคตมากไป เลยทำให้ทะเลาะกัน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คิดว่าน่าจะตั้งโจทย์สำหรับทีมเวอร์กอีกอันเรื่อง Raise Fund นอกจากประโยชน์ที่ได้รับว่าล้มเหลว เราต้องมี Teamwork ที่เข้มแข็งในอนาคต และต้องเชื่อว่าต่อไปนี้มหาวิทยาลัยต้อง Raise Fund ให้เป็น ดังนั้นถ้าอยากให้มหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จต้อง Relevance และมีการระดมความคิดเห็น และ Respect ซึ่งกันและกัน

ตัวอย่าง ดร.จีระบอกว่าแพ้บ่อย และความล้มเหลวมีมาก ดังนั้นการมองอนาคตจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ไม่ใช่ exercise ทาง Intellectual Capital เท่านั้น ปัญหา คือ Mindset ของราชการ ทุกคนต้องช่วยกันและต้องปรับตัวเอง

สถาบันฯ ในมหาวิทยาลัยยาก ไม่มีคนเป็นเจ้าของ ที่ได้ดี เพราะต้องพึ่งตัวเอง ปัญหาของคณะกับมหาวิทยาลัยอันตรายมาก ต้องระวัง Culture ให้ดี

การขึ้นไปเป็นเลิศของม.ทักษิณ มีแน่นอนแต่เราต้องมีความมุ่งมั่น

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

จุดที่เป็นคอคอด กลับมาเชื่อในความจริงคือเหตุและผล คือใครมีกรรมอะไรได้รับผลกรรมนั้น ถ้าเราลงแรงมากเราก็จะได้รับ อันนี้เป็นความยุติธรรมตามธรรมชาติ ให้เชื่อเรื่องกฎธรรมชาติ และทุกคนอยู่ภายใต้กฎนี้

กลุ่มที่ 2

3.เนื่องจากการทำงานของมหาวิทยาลัยทักษิณยังเป็น Silo และส่วนใหญ่ยังเน้นการทำงานเป็นทีมแบบเป็นทางการจึงมีปัญหา ท่านคิดว่าแนวคิดการทำงานแบบ Informal Team จะช่วยอย่างไร และวิเคราะห์ว่ามีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร

การบริหารหรือทำงานในมหาวิทยาลัยยังเป็นระบบ Silo แต่เราจะใช้ Informal Team มาแก้ปัญหาอย่างไร

การทำงานของมหาวิทยาลัยยังเป็นระบบแยกส่วน ในระดับคณะมีทั้งแบบ Silo และไม่เป็น Silo บางคณะแยกส่วน

ตามการระดมความคิดเห็น มีแบบแยกส่วนและไม่แยกส่วน พบการทำงานในคณะที่เป็นแบบนี้ ลักษณะการทำงานในระดับมหาวิทยาลัยเริ่มแยกส่วนมากขึ้นเมื่อเข้าสู่การทำงานในระดับบน โดยเฉพาะระดับรองอธิการบดีขึ้นไป เป็นปัญหาที่ปรากฏอยู่ในรูป Silo ในมหาวิทยาลัย

การนำแนวคิด Informal Team ช่วยเรื่องการสร้างความสัมพันธ์มากขึ้นเรื่อย ๆ และใช้เรื่องการแบ่งปัน วัฒนธรรมองค์กรเริ่มเปลี่ยน เป็นที่ปรารถนา และอยากทำงาน มีความไว้วางใจมากขึ้น

บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ ทุกคนจะเห็นความสำคัญของหน้าที่ ทำให้ทุกคนตระหนักในหน้าที่มากขึ้นไม่ใช่อาชีพอย่างเดียว

จุดอ่อนของ Informal Team

  • อำนาจต่อรองน้อย
  • ไม่มีผู้นำชัดเจน
  • ใช้ความไว้วางใจค่อนข้างสูง

จุดแข็ง Informal Team

  • มีการ Share Value สร้างเป้าหมายร่วมกันมากขึ้น
  • ยอมรับความแตกต่าง และความคิดเห็นซึ่งกันและกันได้
  • การสร้างเป้าหมายร่วมกันได้
  • ค้นหาความจริงของความสำเร็จและความสุขของ TSU

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า น่าจะมี Hypothesis ว่า Informal น่าจะกระเด้งไปสู่ Formal ได้ น่าจะมีคนบริหารอันนี้ ต้องมีคนมาช่วยเรา และถูกกับ Eastern Culture อาจเกิดชมรมจักรยาน กินอาหาร เป็นต้น

3 ต.ของอาจารย์จีระ ต้องมีความต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง ถ้าอยู่ในบรรยากาศที่รับฟังบ่อย ๆ น่าจะมีพลัง

ในการทำงานเป็นทีม ประธานต้องกระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม การแสดงออกทำให้เราเกิด Confidence

Teamwork ความจริงต้องวิ่งแนวนอน แต่ Formal วิ่งแนวตั้งเป็น Vertical จึงต้องวิ่งแนวนอน และต้องมี Value คล้ายกัน เช่นอยากให้มหาวิทยาลัยเป็นเลิศ มีความใฝ่รู้ ต้องการพัฒนาและปรับปรุงตัวเอง ต้อง Reality แต่ประเด็นคือคนมีความใฝ่รู้จริงหรือไม่ หรือบ้าตำแหน่งวิชาการหรือไม่ มหาวิทยาลัยต้องเป็นส่วนหนึ่งของสังคม

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี กล่าวถึงบุคลิกของคนไทยอย่างหนึ่งคือการไม่กล้าออกมาท้าทาย ซึ่งมหาวิทยาลัยควรสร้างสิ่งนี้มา ในของดี มีของไม่ดี ในของไม่ดีมีของดี ซึ่งจุดสำเร็จอยู่ที่เรา ความสำเร็จเริ่มต้นจาก Informal สูงกว่า เนื่องจากมีความยืดหยุ่น ตัว Informal เป็นตัวที่ทำให้แข็งแกร่งและต้องใช้ความมั่นใจสูง แต่ Formal มากับอาชีพคือรับจ้าง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสนอว่าให้นำหัวข้อนี้มาทำ research ถึงกรณี Informal ที่ประสบความสำเร็จ ขณะนี้กำลังคิดว่าถ้าเราจัดสถาบันพัฒนาคนที่ทักษิณ เอา ซี 8 ที่พัทลุงมาฝึก และอยู่ภายใต้ ดร.จีระ จะรอด เนื่องจากรู้ว่าอาจารย์จีระอายุมาก ไม่มีเป้าหมายทางการเมืองเลยอยากให้คนรู้จัก

แต่ถ้าไปทำครูต้องนำ Brand อันอื่นเสริมครูที่หลัง สถาบันตั้งไม่ยาก แต่บริหารเป็นเลิศยาก สนับสนุนให้คนในมหาวิทยาลัยกล้าออกความเห็น แบบ Challenge บ้าง อาจหาคนเป็นพี่เลี้ยง

ดร.เฉลิมพล กล่าว่า ที่ประเทศไทยรอดมาเกือบทุกครั้งมาจาก Informal ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นพระเจ้าตาก พระนเรศวร สงครามกับฝรั่งเศส

อย่างไรก็ตามอยากให้มี Research Topic บ้าง โจทย์บางอันหาคนมาทำได้ โจทย์ยิ่งในระดับของสถาบันการศึกษาทั่วไปอาจเลิกถามแล้ว โลกในอนาคตไม่เหมือนเดิม อย่างกรีซก็ล้มละลาย โลก Non-linear แค่ใฝ่รู้ก็จะสามารถจัดการกับอนาคตได้ สามารถ predict ได้

กลุ่มที่ 3

ความจริง มีอะไรที่สำเร็จบ้าง สิ่งที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักและสร้างความรู้ กับการผลิตคนออกไปในสังคม มีเครือข่ายที่เข้มแข็งใน 3 จังหวัดภาคใต้ สิ่งที่ภูมิใจเป็นความภูมิใจในสิ่งเล็ก ๆ ที่ไม่มีจุดร่วมในสังคม

นักวิจัยบอกว่าสิ่งที่จริงไม่รู้ สิ่งที่รู้ไม่จริง

ความสุขของ TSU มี 2 มุมคือ มุมของผู้ให้ และมุมผู้รับ ผู้ให้ คือมีความสุขที่สร้างให้คนมีคุณภาพ แสดงถึงอย่างน้อยมี Connection

ทุกคณะมี academic ของตัวเอง แต่อาจรวมแล้วไม่เก่งเป็นอีกเรื่อง

ความสุขในการมีส่วนร่วมกับชุมชน เช่นพัทลุง การมีส่วนร่วมกับ 3 ชายแดนใต้

ความสุขของผู้รับคือวัฒนธรรมองค์กรที่ยืดหยุ่นและสร้างความสัมพันธ์ ไม่มีอะไรรัดตัวมาก

สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศ มีอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมองค์กร ให้คนจับเข่าคุยกันได้ ทำให้ความขัดแย้งไม่ยากนัก

ความสุขในเรื่องค่าตอบแทนและสวัสดิการ ทำให้คนในองค์กรเห็นคุณค่าของกันและกัน บางคนจะบอกว่าอยู่ที่นี่สบายใจสุด หรือไปแล้วกลับมา

สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องเปิดตัวเอง ต้องประสานจุดยืนของม.ทักษิณ ว่าคือ ม.อะไรที่แท้จริง ต้องเปิดโลกทัศน์กว้าง หาการเปลี่ยนแปลงและชี้นำสังคมด้วย

จุดยืน แต่ละกลุ่มจะมีความเด่น เราควรนำจุดแข็งหรือจุดเด่นมาสร้างจุดยืน

ดร.เฉลิมพล กล่าวว่าถ้าติดในสิ่งที่อุดมสมบูรณ์จะไม่ก้าวออกไปข้างหน้า ต้องมองที่ความท้าทาย

ดร.จีระ กล่าวถึง Diversity และการมีความสุข ถ้าทำให้มีคนในสังคม คนเหล่านั้นจะเป็นแนวร่วมอยู่ คนจะรู้มากขึ้น ในอนาคตข้างหน้าอาจเชิญสื่อเข้ามามีส่วนร่วม ทำความดีเพื่อสังคมทิ้งไว้มีอะไรบ้าง

กลุ่มที่ 4

5.กระบวนการแบ่งปันความว่างกับการสร้าง TEAMWORK ที่ยั่งยืนและเติบโตอย่างต่อเนื่องของ TSU

เราจะเสริมไปสู่มหาวิทยาลัยได้อย่างไรและผู้นำมีความว่างหรือไม่ ความว่างคือผู้นำต้องคิดในลักษณะภาพรวมเอาประโยชน์ของมหาวิทยาลัยเป็นหลัก ไม่หวังผลตอบแทน ทำด้วยความเป็นธรรม เมื่อมีลูกช่วยเลี้ยงลูก ขอให้เป็นเด็กดี เติบโตเป็นคนที่ดี ผู้นำทุกท่านจะนำพาไปในกระบวนแบ่งปันความว่างได้อย่างไร ได้ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ในการสร้างบ้านหนึ่งหลังให้ ม.ทักษิณ ทุกคนช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันคิด แบ่งกันทำเพื่อให้งานไปไว และนำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ ผู้นำเริ่มมองอย่างธรรมชาติ แล้วเราจะคัดเลือกคนให้เหมาะสม ใช้อย่างให้เกิดประโยชน์และมีความสุข ผู้นำต้องใช้ความว่างจากในใจและให้เกิดความไว้วางใจเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี กล่าวว่าเราเคยทำความยุติธรรมให้สังคมหรือไม่ สิ่งที่สังคมไปไม่รอดส่วนใหญ่เกิดจากตัวกู ให้นึกว่าทำดีแล้วผลดีจะเกิดขึ้นเอง

ดร.สร้อยสุคม นิยมวานิช ได้เห็นความหลากหลายของการมาประชุมที่นี่ ต่างคณะ ต่างมุมอง กำลังเพาะ Future Leader / Team ขอให้ประสบความสำเร็จ เห็นความสอดคล้องว่าทุกท่านยังมีศักยภาพ เพียงแต่จะดึงให้เกิดความมีส่วนร่วมและ Innovation ต้องทำให้เกิดเป็น Digital University แต่ศักยภาพอาจไม่พร้อม ต้องช่วยกันแบ่งกันคิด แบ่งกันทำ ต้องมีคนสนับสนุนเพื่อเดินไปสู่ความสำเร็จ

กลุ่มที่ 5

2.เสนอแนะแนวทางใหม่ในการพัฒนา Teamwork ของ TSU โดยใช้แนว Respect +Dignity + Happiness และอธิบายเหตุผล

การเสนอแนะแนวทางใหม่ ให้มีอธิบายเหตุผล และกรอบคิด ในเรื่องการทำ Teamwork ถ้าจะให้เป็นแนวทางของ Respect คือ

  • มหาวิทยาลัยมีความหลากหลายทั้งในบุคลากร สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แต่ละหน่วยงานมีความเหมาะสมไม่เหมือนกัน
  • บุคลิกภาพของคน เห็นความแตกต่าง สร้างการยอมรับ ให้มีการยอมรับใน Own value ของกันและกัน และให้มาร่วมกันดูในลักษณะ Share Vision ใน Core Value มีกระบวนการ How to ให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่และมีความสุข
  • มีการนำขั้นตอนหรือกระบวนการต่าง ๆ มาขับเคลื่อนร่วมกัน เช่น ยอมรับ ขอโทษ ให้เกียรติ ในขณะเดียวกันก็ยึดหลักการก่อสร้างความสุขซึ่งกันและกัน ดูเป้าหมายร่วมกัน ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ถ้าขับเคลื่อนในมหาวิทยาลัยก็ควรมี Happy Workplace เพื่อดึงการทำงานและสร้างความสุขร่วมกันในมหาวิทยาลัย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่าเมื่อเจออุปสรรคแล้วจะต่อสู้ได้หรือไม่ มีพลังเพื่อประโยชน์ และทำแล้วจะสะดวก ถ้ามีอุปสรรค ควรจะ Rotate เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และอะไรก็ตามที่เป็น Flagship ให้นำขึ้นมา 2-3 อันไม่เช่นนั้นจะเป็นองค์กรเยอะแต่ไม่ได้ทำอะไรที่ให้คนยอมรับ ยุคต่อไปคนยอมรับยากมาก ปัจจุบัน ธุรกิจนำ การเมืองนำ ดารานำ เป็นต้น อยากให้ทุกท่านนำไปพิจารณาก่อนนอน 15 นาที What is important today? อาจอ่านหนังสือและให้มีไอเดียวันละ 1 อัน

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี ตัว Respect สร้างไม่ยาก ถ้าเราต้องการให้เขายอมรับเรา เราต้องยอมรับก่อน เวลาเราจะทำอะไร ให้ของคน ให้มาจากใจ ให้ด้วยความนอบน้อม ให้ด้วยกาย วาจา ใจ และกิริยาข้างใน เป็น Respect มนุษย์มีภาษา อวัจนะ ที่ซาบซึ้ง เป็นกระบวนการที่สร้างความสำคัญ สามารถทำให้เกิดความซาบซึ้งและเหนี่ยวแน่น



วิชาที่ 6

Creative Leadership by Coaching & Business Games

โดย อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

เกริ่นนำ

การทำสิ่งเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่าแต่จะหวังผลสิ่งนั้นต่างไปกว่าเดิม เช่นตัวอย่าง การแนะนำตัวทำอย่างไรไม่ฟั่นเฟือน ก็ต้องแตกต่างจากเดิม เช่นการวิ่งแล้วใส่หมวกตลก ผลที่ได้คือเปลี่ยนไป คือคนมีรอยยิ้มมากขึ้น

การทำเดิม ๆ เพราะคิดแบบเดิม ๆ ทุกอย่างก็อยู่ในกรอบเดิม ๆ ดังนั้นถ้าเราอยากเห็นผลลัพธ์ต่างไปจากเดิม คงต้องทำอะไรที่ต่างไปจากเดิม

ทำไมถึงอยากแลกเปลี่ยนความคิดเชิงสร้างสรรค์ เพราะเราอยากได้ผลลัพธ์ทางการศึกษาที่ต่างไปจากเดิม

กิจกรรม

1.หาคู่คนที่มีอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย Size พอ ๆ กัน เมื่อเจอแล้วให้หาที่นั่งแล้วเอาเข่าชนกัน

2.ในคู่ของเราทำอย่างไรถึงมีผู้แพ้ 1 คน ผู้ชนะ 1 คน

3. ถ้าเราอยากได้ผลชนะต่างไปกว่าเดิมคืออะไร

แก่นความคิดสร้างสรรค์ อย่าเอาคำตอบแรกที่คิดได้ และชวนลูกน้องหาอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม

  • ผู้แพ้ ในเวลา 1 นาทีช่วยบอกผู้ชนะว่าเราอยากเห็นผลลัพธ์ต่างไปจากเดิมคืออะไรบ้าง แล้วเราอยากได้ผลลัพธ์อะไรต่างไปจากเดิม
  • ผู้ชนะจะบอกผู้แพ้ว่าจะเห็นผลลัพธ์ในการทำงานต่างไปจากเดิมอะไรบ้าง
  • คัดเลือกผู้โชคดี บอกผลลัพธ์คู่ของเราที่อยากเห็นการทำงานต่างไปจากเดิมคืออะไร โดยจับฉลาก ตัดกระดาษขนาดนามบัตร เขียนชื่อที่ไม่ใช่ชื่อจริงของเรา แล้วม้วน ๆ เป็นหลอด ๆ ตามท้ายด้วยโค้ดรหัส 4 ตัว
  • มีใครไม่มีคำตอบหรือไม่ – ถ้ามีอาจไม่ต้องมาเรียนเนื่องจากไม่ต้องการผลลัพธ์แตกต่างจากเดิม

ความคิดสร้างสรรค์มาจากไหน

มาจากการที่ตัดสินใจทุบกระปุก ไปร่วมสัมมนา Creative ที่สหรัฐฯ มีการสกัดความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นขั้นเป็นตอน คือคิดไปตาม Step 1,2,3,4,5 แล้วจะได้ไอเดียใหม่ ๆ หล่นมาใช้ หลังจากนั้นสื่อจะเริ่มมาสัมภาษณ์มากขึ้น แล้วเอาไปลงบทความ

ทำอย่างไรรุ่นใหม่ ๆ ถึงมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น

ปกติเด็กมีความคิดสร้างสรรค์อยู่แล้วแต่คนที่สกัดคือผู้ใหญ่ทั้งผู้ปกครองพ่อ แม่ และครู

- การเรียนที่ดีต้องเรียนแบบถก เถียง มีกระดาษบันทึกสิ่งถก เถียง คิดว่าคนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานมีอะไรบ้าง

การแสดงความคิดเห็น

ความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ตัวเอง ความถนัด การเป็นผู้นำ ผู้ตาม แก้ปัญหาเฉพาะหน้า เครือข่าย แรงมุ่งมั่น ค่าตอบแทนเหมาะสม มรรค 8 ทีม เทคโนโลยี สติ ธรรมาภิบาล

ถ้าจะประสบความสำเร็จจะพัฒนาทั้งหมดเลยได้หรือไม่ ?

คนประสบความสำเร็จมีทั้งเปลือกและแก่น

- คน 86% ที่ประสบความสำเร็จ มีแก่น 2 อย่างที่ประสบความสำเร็จคือ

คำตอบคือ 1.มนุษย์สัมพันธ์ 2.ความคิดสร้างสรรค์

ถามว่า ทั้ง 2 อย่างนำพาไปสู่ความสำเร็จจริงหรือไม่ ทำไมถึงนำพาไปสู่ความสำเร็จในการทำงาน

ร่วมแสดงความคิดเห็นกลุ่ม 3

  • การมีมนุษยสัมพันธ์ทำให้ทำงานกับคนอื่น ทำงานร่วมกันได้ ทำงานเป็นทีมได้
  • ความคิดสร้างสรรค์ ทำให้คิดต่างจากคนอื่น เอาความคิดไปแตกยอดเป็นสิ่งอื่นได้
    • Mechanics
    • Mindset – ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
    • Mood – อารมณ์
    • Momentum – เพื่อพยุง Mechanics คือความยั่งยืน ทำอย่างไรให้ต่อเนื่อง

คำตอบ

ความคิดสร้างสรรค์ คือ คิดต่างจากเดิม แต่ความคิดสร้างสรรค์จะไม่ได้รับความร่วมมือในการลงมือทำถ้ามีมนุษยสัมพันธ์ไม่ดี

ความคิดสร้างสรรค์ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีจะทำให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่ม

หน้าที่ของหัวหน้าคือพัฒนาลูกน้องให้ไปสู่ความสำเร็จในการทำงานของพวกเขา ให้ลูกน้องคิดสร้างสรรค์เก่งมาก ๆ

การบริหารภาพรวม 4 M

Money ,Man ,Managerial ,Management

4M ของความคิดสร้างสรรค์คือ

ผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีสาเหตุหลัก ๆ ที่ไม่ทำให้ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้น คือ

องค์กรไม่สร้างสรรค์เพราะไม่มีเมล็ดพันธ์ บางองค์กรมีเมล็ดพันธุ์แต่ไม่มีการผสมเกสร ผลคือองค์กรไม่สร้างสรรค์ไม่มีอะไรที่ต่างไปจากเดิม

วิธีแก้ไข

1.เปลี่ยนจากสภาวะที่ไม่มีเมล็ดพันธุ์ เป็นเพาะพันธุ์ โดยสร้างทักษะการคิดสร้างสรรค์

2. ดูแล ให้น้ำ ให้แสงสว่าง ปรับความคิด ให้เติบโต (Creative Leadership)

3. ทำอย่างไรไม่ให้เกสร โด่เด่ มีผึ้งในการผสมพันธุ์ มีระบบรองรับความคิดสร้างสรรค์ เช่นการประกวดผลงาน การวัดผล KPI (Creative Process)

4. ได้ผลไม้ที่แตกต่างไปจากเดิมเรียกว่าองค์กรสร้างสรรค์

ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์

Creative Thinking แนวคิดสร้างสรรค์ของระดับปฏิบัติการ

Creative Leadership แนวคิดสร้างสรรค์ของระดับผู้นำ

Creative Process แนวคิดสร้างสรรค์ของระดับบริหาร

ผู้นำที่สร้างสรรค์ควรจะมี Mindset อย่างไรต่อความคิดสร้างสรรค์

ทำอย่างไรให้เกิดความมั่นใจ มีขั้นตอนอย่างไรให้มีกระบวนการใหม่ ๆ และทำอย่างไรลูกน้องถึงคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง

ร่วมแสดงความคิดเห็นในความคิดสร้างสรรค์

  • Mechanics – ความคิดใหม่ ๆ ที่มีอยู่ในหัว ซึ่งความคิดใหม่เหล่านี้จะถูกกักขังใน
  • Mindset – จะช่วยให้ความคิดในกรอบของเราบางออกไป ทำให้รู้ว่าเขาจะคิดไปทำไม ณ ปัจจุบันได้คำตอบหรือยังว่าจะคิดสร้างสรรค์ไปทำไม
  • Moods – อารมณ์และความสร้างสรรค์

การคิดคร่อมกรอบ – เป็นความคิดของลูกน้องเรา

การคิดข้างกรอบ – เป็นความคิดของเราที่เราจะต้องคอยตบความคิดลูกน้องให้เข้าที่

ในเรื่องส่วนตัวคือคิดเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน
Creative ทั้ง 4 ส่วนจะมีการประสานการทำงานอย่างไร

กิจกรรม : รู้หรือไม่ว่าดีไซน์ของพื้นรองเท้าไนกี้เกิดมาจากการลองเทยางลงในอะไร ?

คำตอบ คือ เครื่องทำขนมวัฟเฟิล

ตัวอย่าง1. ถ้าลูกน้องบอกว่างานยุ่งไม่มีเวลาคิดอะไรใหม่ ๆ

ตอบ ถ้างานยุ่งก็ทำงานไปแล้วก็คิดอะไรใหม่ ๆ ไปได้ ความคิดเพื่อแก้ปัญหา และเกิดมาเพื่อคว้าโอกาส

ถามว่า ช่วงที่ลูกน้องงานยุ่งหรืองานไม่ยุ่ง ช่วงไหนจะเห็นโอกาสมากกว่ากัน

ตอบ คือยิ่งยุ่งยิ่งดี ทำให้ได้ผลลัพธ์ต่างไปจากเดิม และทำอะไรก็ประสบความสำเร็จ

กิจกรรม : รู้หรือไม่ว่าความคิดสร้างสรรค์และความฉลาด (IQ) นั้นสัมพันธ์กันหรือไม่

คำตอบ คือ ไม่มีความสัมพันธ์กัน สมองฝั่งซ้ายเป็น IQ สมองฝั่งขวาเป็น CQ

กิจกรรม : รู้หรือไม่ว่าคนที่มีอายุ 40 ปีจะใช้ความคิดสร้างสรรค์เพียงกี่เปอร์เซ็นต์ของเมื่อมีอายุ 7 ปี

คำตอบ คือ 3 %

คนอายุมากอายุน้อยใครคิดสร้างสรรค์กว่ากัน คำตอบคือคนอายุน้อย ดังนั้นให้คนอายุน้อยคิดสร้างสรรค์ แล้วคนอายุมากจะมีประสบการณ์ แล้วผสมผสานกัน จะได้ไอเดียที่ยอดเยี่ยม

สรุปคือ ให้เราคิดข้ามกรอบ อย่ากระโดดลงไปคิด

กิจกรรม : ให้หาคำแนะนำตนเองแบบสร้างสรรค์ ถ้าเราเป็นอะไรอย่างหนึ่งที่มองเห็นได้ เราอยากจะเปรียบเปรยเรามีรูปลักษณ์เป็นอะไร มีรสชาติอะไร เป็นดั่งกลิ่นของอะไร เป็นเสียงของอะไร

คำตอบ เราเกิดมาบนโลกนี้พร้อมความคิดสร้างสรรค์เหมือนเปลวเทียน เป็นความคิดที่เต็มไปด้วยการตั้งคำถาม แล้วไม่เหมือนเด็กคนอื่น เป็นที่รับรู้ว่าความคิดสร้างสรรค์ติดตัวมาแต่เกิดทุกคนไป ดังนั้นความคิดที่เป็นอิสระของเราจะถูกจำกัดด้วยกรอบ และพอนานเข้าเปลวไฟแห่งความคิดสร้างสรรค์จะดับมอดไป

คำถาม คือเราสามารถจุดความคิดสร้างสรรค์กลับมาได้หรือไม่

คำตอบ คือได้ ถ้าตัวจุดเปลวไฟและเนื้อเทียนยังอยู่ ดังนั้นจึงนำมาจุดใหม่ได้ ทางที่ดีคือให้ทำลายกรอบ และค่อยจุดเปลวไฟใหม่

อะไรคือกรอบความคิด ไม่ยอมให้ความคิดนั้นออกมา

1.ความกลัว

การคิดนอกกรอบคือการอย่าเอาตัวเข้าไปอยู่ในกรอบ

กรอบที่ขัดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของคนส่วนใหญ่คือ การยึดติดกับภาพลักษณ์ตนเอง การต้องการสร้างความประทับใจ การ Sensor ตัวเอง การเดินตามผู้อื่น และความกลัว

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมนุษย์ต้องการให้เป็นที่ยอมรับ กระบวนการสังคมจะสร้างให้อยู่ในกรอบ

แต่ปัจจัยเหล่านี้ มีส่วนหยุดความสร้างสรรค์ได้ชะงัดนัก ซึ่งนักสร้างสรรค์จะไม่ถูกกติกา กฎเกณฑ์ต่าง ๆ หยุดความคิดเอาไว้

จริง ๆ แล้วทุกคนมีไอเดีย มีความคิดใหม่ ๆ แต่เราไม่อยากคิดสร้างสรรค์ได้ เพราะเรากลัวผิด เรากลัวแตกต่างจากคนอื่น

แม้การคิดสร้างสรรค์เป็นส่วนหนึ่งของคนส่วนใหญ่ก็จริงแต่ยังมีความคิดต่างจากคนในกลุ่ม

อย่างไรก็ตาม ความคิดสร้างสรรค์ถูกตัดต่อจากกระบวนการสังคม ความคิดสร้างสรรค์ก็ถูกต่อเติมได้ด้วยเช่นกัน

กรอบกั้นความคิดสร้างสรรค์

1.กลัว – เรากลัวตอนอยู่ในกระท่อมเวลาช่วงกลางคืน ดังนั้น ความจริงแล้วคือเรากลัวความไม่รู้ ความไม่เห็น เรามีความคิดดี ๆ แต่ไม่ปล่อยออกมาเพราะเราไม่รู้ ถ้าเราไม่รู้ ก็ปล่อยความกลัวไว้ก่อน และเมื่อทุกครั้งที่กลัวให้เปิดไฟฉาย

- ไฟฉายกระบอกแรกให้ถามตัวเองว่ากลัวอะไรอยู่ ความกลัวหายไป ความคิดก็ออกมาได้ เช่น กลัวหัวเราะเยาะ กลัวผิด กลัวไม่เข้าท่า กลัวหัวหน้าด่า กลัวแปลกแยก กลัวเสล่อ

- ไฟฉายกระบอกที่สองให้ถามตัวเองว่า แล้วไง เช่นแนะนำไปแล้วคนคิดว่าเราโง่จริง แล้วจะทำอย่างไร เราก็สามารถอธิบายได้ ความกลัวก็หายไป ความคิดก็ออกมาได้

- ไฟฉายกระบอกที่สามให้ถามตัวเองว่า จริงไหม เช่นถ้าลูกน้องมีความคิดแปลก ๆ หัวหน้าจะไล่ลูกน้องออกหรือไม่ เมื่อความกลัวหายไปความคิดออกมาได้

- ไฟฉายกระบอกสุดท้ายให้ถามตัวเองว่า ตายไหม คำตอบคือไม่ตายหรอก

ให้ร่วมกันลุกขึ้นยืนไว้อาลัยต่อกรอบความคิดและอย่ากลับมาอีก เราเกิดมาพร้อมความคิดสร้างสรรค์ แล้วมีคนมาตีกรอบให้กับเรา เราไม่ใช่คิดไม่ออก แต่เราไม่ยอมให้ความคิดนั้นออกมา ให้เราไว้อาลัยต่อการจากไปของกรอบความคิด

ไม้ขีด 2 ก้าน

  • ไม้ขีดก้านแรกที่เราจุดให้ลูกน้อง มีการจุดเปลวไฟ ก้านแรกเป็น Moods ของการตระหนักรู้ว่าแต่ละคนมีของ ให้เขารู้ว่าเขาคิดสร้างสรรค์เก่ง เขาเป็นนักคิดสร้างสรรค์ ปัญหาคือ เมื่อคิดสร้างสรรค์จะนึกถึงใคร คือศิลปิน เช่น สตีฟ จอปส์ ไอน์ สไตล์ โทมัส แอดิสัน
  • ไม้ขีดก้านที่สองเป็น Mood ที่คิดต่างจากคนอื่น เช่น ถ้าเสียงนกร้องไม่ต่างกัน ดนตรชิ้นเดียวจะน่าเบื่อ ถ้าคนเราไม่คิดต่างกันจะมีอะไรสร้างสรรค์ถูกสร้างขึ้นมา

ให้นึกถึงนักประดิษฐ์ อาจเป็นหนึ่งในหลาย ๆ อย่างของความคิดสร้างสรรค์ หรือพวกนักประพันธ์ แต่งโครงกลอน แต่งเพลง

ตัวอย่างความถนัดในการคิดสร้างสรรค์ เช่นคิดสร้างสรรค์แบบนักประดิษฐ์ นักประสานเสียง นักประพันธ์ นักผจญภัย ผู้นำทาง นักสำรวจ ผู้มีวิสัยทัศน์ นักบิน นักประสานเสียง

ก่อนอื่นเราต้องรู้รหัสของตัวเอง 4 ตัวคือ E/I S/N T/F J/P

ทดสอบตัวเองให้ดูประโยคซ้ายหรือขวามากกว่ากันว่าเป็นแบบไหนมากกว่ากัน แล้วถอดรหัสว่าเราเป็นนักคิดสร้างสรรค์แบบไหน สรุปคือเราอยากรู้ว่าลูกน้องมีความคิดสร้างสรรค์แบบใด เราต้องรู้ความถนัดในความคิดสร้างสรรค์

E/I

E มาจาก Extrovert – คิดออกจากข้างนอก

I มาจาก Introvert – คิดจากข้างใน

S/N

Sมาจาก Sensation – คิดจากประสาทสัมผัส ได้ข้อมูลจากการเห็น สัมผัส ประกอบการตัดสินใจ

Nมาจาก Intuition – คิดแบบลางสังหรณ์ คิดโพล่ง ๆ

T/F

T มาจาก Thinking - คิดด้วยเหตุผล

F มาจาก Feeling – คิดด้วยอารมณ์ความรู้สึก

J/P

J มาจาก Judging – มาจากการตัดสิน

Pมาจาก Perceiving – เทา ๆ เผื่อใจยังไม่ตัดสินใจ

คำเฉลยรหัสต่าง ๆ

ESTP,ESFP นักผจญภัย

ISTJ,ISFJ ผู้นำทาง

INTJ,INFJ ผู้มีวิสัยทัศน์

ISTP,INTP นักประดิษฐ์

ENTP,ENFP นักสำรวจ

ESTJ, ENTJ นักบิน

ESFJ , ENFJ นักประสานเสียง

ISFP,INFP นักประพันธ์

ตัวอย่างของผู้ประสบความสำเร็จในฐานะผู้นำทางการศึกษา

Creative ทั้ง 4 ส่วนจะมีการประสานการทำงานอย่างไร

4.Momentum – เราจะสร้างบรรยากาศให้เปิดได้อย่างไร

เราจูงใจให้ลูกน้องคิดสร้างสรรค์ด้วยอะไร การจูงใจด้วย Incentive เช่นของรางวัล ฯลฯ เป็นการจูงใจที่ไม่ดี แรงจูงใจของการสร้างสรรค์ ถ้าจูงใจให้ลูกน้องขยันขันแข็งให้ใช้รางวัลได้ แต่ถ้าจูงใจให้คิดสร้างสรรค์ต้องเป็น Intensive Motivation คือเป็นการจูงใจจากข้างใน คิดเพื่อเอาชนะตนเอง แต่ถ้าใช้ Extensive Motivation จะเป็นการคิดแบบเอาใจคนอื่นเพื่อให้ได้รางวัล สรุปคือแรงจูงใจที่ดีที่สุดในการคิดสร้างสรรค์คือคิดแบบ Inspiration

ทำอย่างไรให้ทุกคนคิดสร้างสรรค์ได้ คือคิดให้ลูกน้องทำลายกรอบให้ได้ ความคิดสร้างสรรค์หมายความได้ 3 อย่าง

คิดสร้างสรรค์แบบ Constructive Thinking คือคิดสร้างสรรค์แบบไม่ทำลาย เป็นลักษณะคิดบวก Positive Thinking การคิดสร้างสรรค์ทำอย่างไรให้ไม่ทำลาย ให้ปรับความคิดจากความคิดดิบ ๆ ให้ปรับความคิด

การแสดงความคิดเห็น

กลุ่ม 2 ดีใจที่ได้พบอาจารย์ศรัณย์เนื่องจากเห็นในกรุงเทพธุรกิจบ่อย ๆ ได้ทำงานเกี่ยวกับชุมชนจึงคิดว่าจะนำความคิดสร้างสรรค์ไปปรับใช้กับชุมชน และในส่วนภาพรวมของมหาวิทยาลัย ความคิดสร้างสรรค์มีในส่วนของทีม ทำให้เกิดทีม TSU และจะทำให้เกิดในสังคม TSU ต่อไป

อาจารย์ศรัณย์ กล่าวว่า หลายครั้งชุมชนมีไอเดียอยู่เยอะ ให้ชวนคิดนอกกรอบ คิดคร่อมกรอบ

กลุ่ม 1 โดยส่วนตัวจะถามว่าทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์หรือไม่และจะดึงออกมาอย่างไร และทราบว่าทุกคนยังมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ และเป็นสิ่งที่จะนำไปปรับใช้ได้ในการสอนคือสอนด้านวิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์ เพราะหลายคนมีกรอบอยู่ ถ้าทำลายกรอบได้ก็จะเป็นการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความแตกต่างในการพัฒนางาน

อาจารย์ศรัณย์ กล่าวว่า ข่าวดีสำหรับผู้นำทุกคนคือเราเป็นผู้นำที่สร้างสรรค์ได้ แต่เราไม่จำเป็นต้องคิดสร้างสรรค์เก่ง ถ้าเราไม่คิดสร้างสรรค์ ลูกน้องอาจคิดสร้างสรรค์

การถอดแบบ Characteristic เราอาจไม่สร้างสรรค์ก็ได้ แต่ลูกน้องหรือชุมชนจะเป็นผู้สร้างสรรค์เอง

กลุ่ม 3 วันนี้ได้มาเรียนเปิดมุมมองใหม่ ได้รับอะไรดีในการนำไปใช้ในอนาคต ดีใจมากที่มหาวิทยาลัยจัดคอร์สนี้ ซึ่งโอกาสมีน้อยที่จะไปเจอในที่อื่น

กลุ่ม 4 ดีใจที่อาจารย์มาปักษ์ใต้ ลักษณะคนใต้เหมือนอาหารเผ็นร้อน โครมคราม แต่อย่างไรก็มีความคิดสร้างสรรค์อยู่ คำถามคิดนอกกรอบ คิดข้างกรอบคือคิดอย่างไร ยังไม่รู้ว่าคิดอย่างไรแบบไหน และทำอย่างไรให้คนยอมรับได้ และพอคิดเสร็จแล้วจะทำอย่างไรไปสู่การปฏิบัติได้ ในสังคมมีหลายคนที่ทดสอบ ในระบบราชการ มีกฎเกณฑ์ที่ถูกพันธนาการอยู่มาก ที่เห็นคืออาจารย์มีความ Active ตลอดเวลา ขอชื่นชมมาก

อ.ศรัณย์ กล่าวว่า กติกา กฎเกณฑ์ มีอยู่มากจะทำอย่างไรให้นำความคิดสร้างสรรค์มาใช้จริงได้ ไม่ใช่แค่ภาครัฐ ภาคเอกชนก็มี และบางครั้งความคิดเมื่อเกิดแต่ไม่ได้รับการอนุมัติให้ผ่านก็จะไม่เกิด Momentum

กลุ่ม 5 ทำงานที่สำนักคอมพิวเตอร์ มีค่านิยมอย่างหนึ่งคือ I Smart คือ Innovation ได้มองว่าทุกคนมีศักยภาพ แต่การทำงานมีข้อจำกัด ทั้งเทคโนโลยี และงบประมาณ และเชื่อว่าคนสามารถมีศักยภาพคิดได้ สามารถปรับวิกฤติเป็นโอกาส และนำมาใช้งานได้ เห็นกรอบเรื่อง Creative Thinking ตัว Mood และ Mechanic จะทำอย่างไร

กลุ่ม 1 อาจารย์ที่ทำเรื่องความคิดสร้างสรรค์

ขอเสริมในฐานะ Creativity จากที่ได้ผันตัวมาการศึกษา ความจริงไม่ใช่ทั้งเรื่องง่ายและเรื่องยาก วันนี้สิ่งที่ได้ คือได้เทคนิค ได้ไอเดีย ต้องขอยืมไอเดียบางอย่าง ความหนักใจในการถ่ายทอดความรู้สู่นักศึกษาจะต้องเรียนรู้เรื่องเทคนิคการถ่ายทอด ทำอย่างไรให้นักศึกษาอินและสนุกกับงาน

เรื่องความคิดสร้างสรรค์ เหมือนว่าเราไม่เคยว่ายน้ำเลย แต่อาจารย์สอนว่ายน้ำ แต่พอลงว่ายน้ำจริง เราต้องฝึกเองด้วย มีอะไรที่ Monitor หรือไม่

การ Set ความคิดนอกกรอบ เป็นทั้งที่ปรึกษาและ Columnist คนที่ทำ DIY คือคนที่คิดด้วยตัวเอง จากบทความของ CEO ของอเมริกา ให้คิดเริ่มต้นจาก Zero mindset คือให้คิดแบบเด็ก ๆ คือไม่รู้อะไรในนี้เลย อย่าเพิ่งเอาประสบการณ์ คิดครั้งแรกเหมือนว่ายน้ำ ล้มแล้วทำใหม่ ให้มาดูนิดนึงว่าล้มแล้วเพราะอะไร ผิดอะไรแล้วมาทำต่อ และคิดว่าจะได้รับความรู้เพิ่มขึ้น เป็นนักออกแบบ แต่ต้องเรียนรู้ เพราะความรู้ไม่สิ้นสุด

รบกวนให้แต่ละท่านช่วยแสดงความคิดเห็น

1.ความประทับใจที่ได้เรียนกับอาจารย์ศรัณย์

2. ช่วย Benchmarking คิดว่าจาก 10 คะแนน ความรู้ที่ได้ในวันนี้เท่าไหร่

3.ถ้าคะแนนไม่เต็ม 10 ให้ข้อเสนอแนะว่าทำอย่างไรให้ได้เต็ม 10 คะแนน


วิชาที่ 7

Group Assignment & Presentation Lesson Learned – Share and Care:บทเรียนจากหนังสือ (เล่มที่ 1) เรื่อง Stand out 2.0

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีมวิทยากรกระบวนการ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Trend ของมหาวิทยาลัยในโลกหมดสภาพไปทุกวัน สิ่งที่สอนบางครั้งไม่ Relevance ต่อความต้องการของ Stakeholder

กลุ่มที่ 1 Chapter 1-2

เป็นบทเกริ่นนำ พรสวรรค์ (Genious) หาให้พบแล้วใช้ประโยชน์

ต้องการชี้ให้เห็นว่าหาพรสวรรค์ให้เจอแล้วนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

1.จริง ๆ แล้วเราไม่เห็นคุณค่าของความเด่นของตัวเอง แต่ไม่ค่อยถนัด

2. ผู้คนและสังคมไม่ถนัดในจุดเด่นเรา และหน่วยงานไม่สามารถดึงจุดเด่นออกมาได้

3. ไม่ใช่ค้นหาจุดเด่นของตัวเองแต่ต้องนำจุดเด่นไปใช้ประโยชน์ด้วย

StandOut Assessment

วิเคราะห์จุดเด่นและนำจุดเด่นของตัวเองไปพิชิตเพื่อความสำเร็จ

บทบาทเด่นของผู้บริหาร

ผู้ให้คำปรึกษา ผู้ประสาน ผู้สร้าง ผู้ทรงอิทธิพล ผู้ผดุงความเท่าเทียม

ผู้บุกเบิก ผู้ให้ ผู้เร่งเร้า ผู้สอน

ทั้ง 9 ลักษณะให้หลักหรือ Keyword มา โดยสรุปคือ

ผู้ให้คำปรึกษา

เป็นคนเจ้าความคิด แล้วนำความคิดไปแก้ปัญหาให้คนอื่น

ผู้ประสาน

เป็นคนช่วยประสาน เร่งเร้าให้คนหลายคนหรือความคิดหลากหลายมาร่วมกันส่งผลให้ดีกว่าเดิมเท่าทวีคูณ

ผู้สร้าง

ศึกษารายละเอียดแล้วนำมาประกอบใหม่เป็นสิ่งที่ดีกว่าเดิม

ผู้ผดุงความเท่าเทียม

เป็นผู้ที่ทำให้โลกนี้สมดุล มีจริยธรรม บัญญัติได้ด้วยความถูกต้อง

ผู้ทรงอิทธิพล

เกี่ยวข้องกับบุคคลาและโน้มน้าวให้คนทำงาน

ผู้บุกเบิก

มองโลกอย่างเป็นมิตร มีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้น มองโลกในแง่ดี

ผู้ให้

เป็นผู้ที่ให้ความสำคัญรับฟังและให้ความช่วยเหลือ

ผู้เร่งเร้า

เป็นผู้ที่มีคุณภาพ เจ้าภาพ หรือรับผิดชอบต่อความรู้สึกคนอื่นให้ดีขึ้น

ผู้สอน

พึ่งในศักยภาพผู้อื่น และเรียนรู้ที่ดึงศักยภาพผู้อื่นออกมา

การประเมิน

จะมีชุดคำถามมากมาย และผู้ตอบตอบแล้วสามารถแปลผลเป็นลักษณะเด่น 9 อย่าง และสามารถนำมาสรุปเป็นบทบาทเด่น 2 บทบาทแรกของคนตอบแบบสอบถามนี้

การรายงานผล

เราสามารถบอกคนอื่นว่าเป็นคนอย่างไร จะช่วยคนอื่นอย่างไรในการทำงานเป็นทีม และจะช่วยให้เกิดการพัฒนาสู่ผู้อื่น และนำไปใช้อย่างไร และเมื่อนำไปใช้จะไปช่วยอย่างไร

บทสรุป

เรื่องนี้ไม่ได้ประเมินว่ารู้จักตนเองมากน้อยแค่ไหน หรือเก่งแค่ไหน แต่ประเมินว่ามีความตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร และคนจะรู้สึกอย่างไรต่อคุณ ไม่ว่าจะเป็นทีม หรือลูกค้า หรือผู้นำจะเป็นตัววัดความรู้สึกของคนอื่น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

มี 3 ประเด็นคือ หนังสือเล่มนี้ Focus ที่ General ต้องคิดให้ดีว่าจะนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้อย่างไร ถ้าเรามี Wisdom ต้องวิเคราะห์ให้เป็น

ข้อดีคือเราจะค้นหาจุดแข็งของเราไม่ใช่ของง่าย

1.มี Process และ Leadership ซ่อนอยู่ในหลักสูตรนี้ การทำให้ Standout ฝังรากอยู่ข้างในและสามารถผนึกกำลังร่วมกันได้ ในระหว่างที่ทุกท่านเดินทางไปร่วมกันอาจมี moment บางอัน ให้ค้นหา Life Changing moment เหล่านั้น ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นเมื่อไหร่เราจะฝังไปใน DNA ของเรา

2.การใช้แนวอันนี้กับแนว ดร.จีระ คล้ายกัน คือจุดที่กระเด้งขึ้นมาจะเป็น moment ที่เราเก็บไว้

3. จุดแข็ง 9 ข้อเป็นการทำวิจัยของ Kellog Whole เป็นส่วนใหญ่ เรื่องDetail ข้างในมีคุณค่ามหาศาล ข้อดีของฝรั่งคือละเอียด

ปัจจุบันความเป็นเลิศของมนุษย์อยู่ตรงไหน ข้อดีของหนังสือเล่มนี้คือสามารถทำวิทยานิพนธ์ต่อได้อีก 100 เรื่อง เพราะตรงประเด็น

ความเป็นเลิศของคนในห้องนี้อยู่ที่ไหน ถ้าตัวเองไม่แน่อย่าง Networking

Stage ของการทำงานสำเร็จคือดูตัวเอง และ Network กับคนอื่น มีกระบวนการและทำสำเร็จให้เดินต่อ ความสำเร็จจะพลาดถ้าไม่ค้นหาตัวเองว่า Who you are?

อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

ฟังแล้วพยายามเชื่อมโยงกับบทบาทของมหาวิทยาลัย Kellog ทำวิจัยว่ามีมนุษย์คนหนึ่งทำงานได้ยอดเยี่ยม 1ใน 12 ข้อคือ ฉันมีโอกาสทำสิ่งที่เขาเก่งทุกวัน ถ้าต้องการเป็นมนุษย์ยอดเยี่ยม มหาวิทยาลัยสามารถช่วยตรงนี้ได้ ให้เขาเริ่มพัฒนาตัวเขาตามแนวของเขา ตาม Genious ของเขา ได้ใช้ในการพัฒนาสิ่งที่เขาเก่งเองทุกวัน ตัวอย่างอาจารย์ศรัณย์ เก่งทางด้าน Creator และ Teacher จนแปลงตัวเองมาทำสิ่งที่เก่งจนสำเร็จทุกวันนี้

ถ้าปรับในการสอน ให้ Turnจุดแข็งสู่ Performance หน้าที่คือรีด พิษงู

  • หาจุดแข็งของ นักศึกษาให้เจอ แล้วนำจุดแข็งมาใช้ในการทำงาน
  • ทุกคนในห้องหลงบทบาท เช่นมองว่าเป็นอาจารย์ ทั้ง ๆ ที่ อาจารย์อาจเป็น Connector ,Influencer ด้วยก็ได้ ต้องเป็นการพัฒนาจุดแข็งจากภายในของอาจารย์ที่ไม่ใช่อาจเป็นแค่ Teacher

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

Genious พรสวรรค์ แต่อาจมีพรแสวงอยู่ด้วย เราสามารถข้ามชั้นมองไปที่ พรแสวงได้ด้วย ถ้าคนที่เป็นผู้ทรงอิทธิพล วิเคราะห์บุคลิกภาพ อาจไปอยู่ที่ผู้บุกเบิก ซึ่งถ้าเพิ่มพรแสวงเข้าไปจะใช้หนังสือเล่มนี้อย่างมีคุณค่า โดยก่อนอื่น ต้องรู้จักคนเอง และคนอื่น และพัฒนาคนไปสู่ความสำเร็จ ให้ Find their edge และ Find own edge แล้วจะ win at work

การเป็นผู้นำนอกจากการค้นพบตัวเองแล้ว ต้องค้นพบตัวคนอื่นด้วย

เสริมจากกลุ่ม 1

ขอเสริมเรื่อง Teamwork ชอบคำเรื่องรีดพิษงู คือผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ไม่ว่าจะมีบทบาทใดก็สามารถเป็นผู้อำนวยความสะดวกได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การแนะแนว ไม่จำเป็นต้องให้เข้าตามคณะนิยม ครูต้อง Advice ให้ฉลาด เพราะเด็กไม่สามารถทำได้ดีในสิ่งที่ไม่ชอบ

เราต้องมี Capability และบ้าคลั่งเพื่อกระเด้งไปสู่ที่อื่นด้วย

กลุ่มที่ 2 Chapter 3-4

บทที่ 3 มี ประเด็นหลัก ๆ คือ

  • แต่ละบุคคลมีความเก่งมีความถนัดและมีความชำนาญของตัวเองอยู่แล้ว และท่านได้ค้นหาตัวเองพบหรือยัง และถ้าค้นหาตัวเองเจอแล้วให้มั่นใจทำสิ่งนั้น และเร่งรีบทำให้สำเร็จ ซึ่งส่วนที่ 1 ใช้เชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัย บุคลากรมีความรู้ ความชำนาญอะไรบ้าง ซึ่งมหาวิทยาลัยน่าจะมีทำเนียบผู้รู้ และคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อตัวอาจารย์เองเพื่อสร้างเครือข่ายต่อไป
  • คุณต้องรู้ว่าคุณคือใคร และหน้าที่ความรับผิดชอบจะบ่งบอกความสามารถหรือจุดแข็งของคุณคือใคร เพราะบทบาทหรือที่ได้รับความมอบหมายจะสามารถนำจุดแข็งส่วนตัวไปใช้ การมอบหมายงาน ได้ Put the right man on the right job
  • บทบาทของคุณจะเป็น Creator เป็น Provider ได้หรือไม่ สิ่งนี้ต้อง Linkกันคือ รู้จักตัวเองแล้ว งานที่ได้รับมอบหมายคือตรงกัน
  • คนที่ประสบความสำเร็จได้เราต้องทำสิ่งที่แตกต่าง หนีไม่พ้นจาก Creator และหลังจากรู้ว่าเราเก่งด้านนี้แล้ว ได้มีการ Push ตัวเองไปสู่ Strength zone หรือยัง เราเคยมีความกล้าเอาตัวเองไปเปลี่ยนบทบาทตัวเองบ้างหรือไม่ ถ้ารู้ Strength จะรู้ว่าใครมีบทบาทในการเป็นผู้เชี่ยวชาญอะไรบ้าง และการเพิ่มพูดความเชี่ยวชาญอาจต้องทำบ่อย ๆ และเพิ่มพูนบ่อย ๆ ถามว่าเราได้วางแผน Positioning และรู้จักตัวเองไว้หรือยัง
  • Strength จะไม่ได้อยู่กับเราถ้าเราไม่ได้ใช้มัน ต้องใช้และพัฒนาทุกวัน

บทที่ 4

  • ท่านค้นหาความเด่นพบหรือยัง มีการเชื่อมโยงให้เห็นว่านวัตกรรมคือการฝึกฝน ทดลอง ปฏิบัติ
  • Innovation คือความคิดที่สามารถถ่ายทอดเป็นรูปธรรมได้ สามารถผ่านการเรียนรู้จากบุคคลหนึ่งไปบุคคลหนึ่งและทำได้จริง
  • สร้างแรงบันดาลใจของนักวิชาการใหม่ ๆ เนื่องจากมีต้นแบบคือรุ่นพี่ ต้องสร้างบรรยากาศให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นที่พึ่งได้

Innovation ในการปฏิบัติงานของเรา เราเคยคิดถึงวิธีที่ดีกว่าเดิมหรือไม่ (Better way) หรือวิธีการทำงานแบบใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม ทำให้มีผลลัพธ์ที่ไม่เหมือนเดิม

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Sequence ของ Chapter เรื่องนี้ดี ทำอย่างไรให้ใช้ให้เป็นประโยชน์

  • ทำตัวเองเพื่ม
  • ถ้ามีทุนมนุษย์ในตัวเราต้องเก็บเกี่ยวให้ได้
  • พันธุ์ของข้าวเมื่อมีแล้วต้องเก็บเกี่ยวให้ได้ ต้องมี Motivate Inspire คนให้ทำงาน อย่างถ้ามองว่าไม่เป็นคณบดี อย่ามองว่าไม่เกี่ยว อย่าอิจฉาริษยาคนอื่น ต้องควบคุมว่าถ้าคนอื่นเก่งกว่าเรานั้นทำให้ประเทศได้ประโยขน์
  • ไม่มี Innovation อันไหนไม่มี Creative ก่อน และต้องมี New Idea และ Basic Knowledge และ Turn into Action และต้องมีการวัดผล (Result) ว่าคนที่เราให้เขามีความพึงพอใจและได้ประโยชน์หรือไม่
  • ปกติ Creativity ล้มเหลว 90 %

อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

เมื่อเราเจอจุดแข็งของเราจะทำให้เราชอบการทำงานสิ่งนั้นมากขึ้น และทำเรื่อย ๆ จะประสบความสำเร็จ เราต้องพยายามแสดงจุดนั้นเรื่อย ๆ จะทำให้เกิดแรงกระเพื่อมให้คน ๆ นั้นทำสิ่งนั้นมากขึ้น เก่งมากขึ้น และเกิด Appreciation และคนเห็นคุณค่ามากขึ้น

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

  • รูปธรรม บางครั้งมีทั้งความเก่งและถนัด แต่ต้องทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ
  • Creator เป็นความคิด ค้นพบตัวเอง ค้นพบงานให้เราปรับใช้และปรับตัวให้เราเก่ง ถนัด และชำนาญ
  • นักคิด เวลาคิดอะไรเจ๋ง ๆ ดี ๆ คือทำให้สำเร็จ Creator บางครั้งคิดได้และทำได้ด้วยตัวเอง
  • บางคนคิดได้ใน Individual แต่ถ้าเราทำไม่ได้ ต้องมีทีม นวัตกรรมจึงเกิด การผลักตัวเองไปสู่ความสำเร็จดียึ่งขึ้นจะนำสู่นวัตกรรม ต้องคิดให้เชื่อมกัน

กลุ่มที่ 3 Chapter 5

บทบาทจุดแข็งทั้ง 9 แบบ

บทบาทของ Advisor

ผู้ให้คำปรึกษาต้องเชื่อมโยงกับผู้อื่นได้ และรู้จักคนอื่นคือมาขอแนะนำรา เราต้องหาคำตอบให้เยอะๆ แต่ต้องระวังบทบาทตัวเอง ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นสอดรู้สอดเห็น

ให้เคารพความคิดเห็นผู้อื่น

แก้ปัญหา ให้มีความเด่นชัด ให้ความเคารพกับผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน และเราต้องรู้จุดแข็งของเราด้วย

จุดด้อยของ Advisor จะมีเวลาความเป็นส่วนตัวหายไป และสมองล้าได้ง่าย

บทบาทของผู้ประสานงาน

จะต้องเป็นคนที่รู้แห่ล่งข้อมูล รู้แหล่งวิจัย รู้เทคโนโลยี รู้ข้อเท็จจริง และมองหาคุณสมบัติที่ดีจากผู้ร่วมงาน ต้องไม่อิจฉาใครแต่ให้นำจุดเด่นมาพัฒนาอค์กร

หาโอกาสที่จะไป Surprise กับผู้ร่วมงาน บางครั้งประสิทธิภาพไม่เพียงพอ ถ้ามีผู้อื่นเห็นช่วยประสานแรงบันดาลใจ จะทำให้เขาเด่นขึ้นมา

บทบาทของผู้ริ่เริ่ม

เราต้องอ่านเยอะ มีข้อมูลเยอะ เมื่อมี Process จะคิดว่าโอเค คนกลุ่มนี้จะมีความพอใจในไอเดียตนเอง ขยายความคิดก่อน

การประยุกต์ใช้

  • เป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ
  • เป็นคุณลักษณะในผู้บริหารทำให้งานลุล่วงได้ดี
  • ปรับลดเพิ่มตามสถานการณ

สิ่งที่ควรปรับปรุง

1.บทบาท Connector ต้องเด่นหน่อย

2. ดูสถานการณ์ไหนว่าจะใช้บทบาทไหน

3.การ Training จะดูบทบาทว่าจะเพิ่มหรือลดตรงไหน

4. มหาวิทยาลัยได้ทำหน้าที่ตรงนี้ดีหรือยัง

5. การทำหน้าที่ได้ตรงตามภารกิจหรือยัง

6. การมองเป็น Creator ยังน้อยเกินไป จะพัฒนาได้อย่างไร

7. แต่ละสาขาและคณะมีจุดเด่นอยู่ ถ้ามีทำเนียบ การเรียกตัวจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น

8. ในยุคโลกาภิวัตน์ปรับตัวอย่างรู้เท่าทันหรือยัง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชมเชยคือการไป Apply กับบทบาทของ TSU มาก น่าจะเป็น Step ที่เราไปติดต่อ หนังสือไม่ได้มีว่าจะไปทำอะไรได้อีกบ้าง มีบทบาทบางอย่างไม่ได้อยู่ในหนังสือ แต่อาจมีบทบาทที่ต้องจับคู่กัน

การพูดถึง Practical Apply ได้คิดถึงว่าจะเอามาใช้ได้อย่างไร

ข้อดีของหนังสือเล่มนี้ถ้าอธิบายจะลงลึกมาก

อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

ดีจังเลยถ้าเรารู้ว่าในทีมเรามีจุดแข็งอะไรบ้าง เราจะได้เป็นตัวกระตุ้นในการนำจุดแข็งมาใช้มากขึ้น ทำให้เราได้มีโอกาสใช้จุดแข็งตามบทบาทตามธรรมชาติได้ดี ทำให้เราจัดสมาชิกในทีมได้ดี จะเป็นทีมที่ครบเครื่องและนำพาไปสู่ความสำเร็จ

Don’t fix the weakness แต่ให้เป็นการ Manage the weakness หาคนมาเชื่อมจุดอ่อนได้

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

แม้เก่งแล้วก็ยังพอไม่ได้ ต้องเพิ่มพูนความรู้และทักษะทั้งตนเองและคนอื่น ทุกคนมีโอกาสได้เล่นทุกบทบาทต่อเมื่อการทำงานเป็นทีม ให้ย้อนกลับว่าใน 3 จุดเด่น ถ้าคน ๆ นึงมีบทบาทเป็นผู้ริเริ่ม ซึ่งในนั้นจะมีจุดอ่อนที่คิดว่าตัวเองเก่ง และต้องมี Advisor ที่เก่งสามารถแนะนำ Creator ได้ คือต้องมีข้อมูลที่มาก แม่นยำ มีความจริง และต้องแหลมคมและตรงประเด็น และใน 3 คนท่านคิดว่าใครสำคัญมากในการทำงานเป็น Teamwork ถ้าขาด Connector ก็จะไม่ทำให้ Creator และ Advisor ประสบความสำเร็จ

ทุกบทต้องรวมกันหมด ให้ภูมิใจในทุกบทบาท เป็นนักประสานที่ดีและเร่งเร้าให้รวมพลังได้ ให้ไปสู่ Strength คือจุดที่ทำให้เราดีขึ้นได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าจะสร้างทีม เราต้องมี Diversity ถ้าคิดเหมือนกันเราจะไปไม่รอด Teamwork ต้องประกอบด้วย Respect Diversity และ Happiness และต้องมี Diversity ของ role ที่ต้องมีคน Manage ต้องหา Combination ของคนที่นี่ และไม่ได้เกิดแนวคิดบ่อย ๆ ของคนทำงาน ต้องมีทีมเวอร์ก ที่ทำเรื่องเล็ก และต้องมีที่ทำเรื่องใหญ่ด้วย ต้องมี Flagship ที่กระเด้งของคนในห้องนี้ด้วย เช่น Reaist fund ต้องมีการ Respect ผู้ใหญ่ด้วย ไม่ใช่การบริหารคนอื่นโดยขาดการยอมรับ ความขัดแย้งของคนเก่งในทีมทำให้มีปัญหา อย่างญี่ปุ่น อเมริกา และเกาหลีเวลาทำงานเป็นทีมยาก การมี Diversity ต้องมีการบริหารความหลากหลายให้มีคุณค่าก่อนที่จะเป็น Conflict

กลุ่มที่ 4

บทบาทของผู้มีอิทธิพล Influence

เป็นคนอยู่ไม่นิ่ง และชักชวนคนให้ทำสิ่งต่าง ๆ มีความรู้สึกที่ทนไม่ได้ในการที่คนไม่ทำอย่างนั้นอย่างนี้ เน้นการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ชักชวน ให้มาเรียนรู้ แต่ระวังเรื่องการพูดจาที่รุนแรง

บทบาทของผู้รักษาความสมดุล Equalizer

เป็นคนรักความยุติธรรม รักความถูกต้อง รักความเท่าเทียม รับผิดชอบสูง และสมบูรณ์แบบ แต่อย่างไรก็ตามจะพัฒนาจุดแข็งของความสมบูรณ์แบบได้อีก สิ่งที่จะพัฒนาได้คือการได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจคือความมียุติธรรม เหมาะในการทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย เนื่องจากมีจิตสำนึกอยู่แล้วในความมียุติธรรม

แต่สิ่งที่ต้องระวังคือความยุติธรรม ที่เขาคิดนั้นจริงหรือไม่ เช่นมองว่าทุกคนได้เท่ากัน แต่ความยุติธรรม ควรได้ในสิ่งที่ทุกคนควรได้ คือทำงานมากกว่าต้องได้มากกว่าไม่หารเท่า

เขาจะมุ่งเน้นที่วิธีการ โดยให้ความสำคัญกับผลลัพธ์น้อยกว่า

ทำอย่างไรถึงต้องพัฒนาตนเองให้ประสบความสำเร็จ

ถ้าเขาเป็นผู้นำที่ดีได้ ต้องรักษาความโปร่งใส การตัดสินคนอื่น การอธิบายเหตุผล ไม่เช่นนั้นจากหลักการจะเป็นหลักกวน ที่สำคัญคือการให้ความสำคัญกับทีม การมุ่งที่กระบวนการมากเกินไปจะทำให้การทำงานเป็นทีมน้อยลง เพราะเชื่อมั่นในตนเองว่าสิ่งนั้นดีและถูก จะทำให้ทีมไม่ได้รับความสำคัญ จึงควรสร้างความเป็นกันเองกับผู้อื่น

จุดแข็งจะกลายมาเป็นจุดอ่อน คือทำทุกอย่างเป๊ะ เป็นระเบียบแบบแผนอธิบายได้ แต่ชีวิตจริงต้องเข้าใจคนอื่น ต้องรู้เวลาและสถานการณ์ที่จะหยุดและที่จะยอม

ตัวอย่างของอาจารย์นิติศาสตร์

ได้เรียนรู้จากการเข้าหลักสูตรการบริหาร และการศึกษาสามก๊ก มาช่วยในการบริหารและสร้างความสมดุลของคณะโดยเอาจุดเด่นของแต่ละคนมาจับ ทำตัวในลักษณะ Conductor

เสริม

อยากให้เพิ่มยุติธรรมในปฏิสัมพันธ์คือการเข้าถึงในการรับข้อมูลข่าวสาร และยุติธรรมในการตอบสนองทั้งการให้รางวัลและการลงโทษ

บทบาทของนักบุกเบิก Pioneer

มีจิตวิญญาณของการสำรวจ ไม่กลัวการเริ่มต้น อยากรู้อยากเห็นสิ่งใหม่และหลากหลาย อะไรที่คนอื่นไม่ทำเขาจะทำ อะไรไม่คิดคนอื่นจะคิด เป็นคนบุกเบิกเสมอ และมีความกล้าเสี่ยง อยู่ในสีเทา คิดว่าอุปสรรคต่าง ๆ เป็นเรื่องท้าทาย เป็นคนมองโลกในแง่ดี เห็นความเป็นไปได้ในทุกสิ่ง เห็นโอกาสในการเติบโตได้ บุคลิกคือเป็นคนยืดหยุ่น และคนอื่นเห็นว่าเป็นคนหนักแน่นในตัวเอง หลายคนมองว่าเป็นแม่เหล็กในการดึงดูดความสนใจได้ คิดไปหาความท้าทายสิ่งใหม่ จะคิดว่าทุกสิ่งสามารถเป็นไปได้อย่างง่าย ๆ แต่คนที่เป็นนักบุกเบิกจะเป็นคนบอกให้เชื่อฉันเถอะทำได้ อาจมองว่าเป็นคนหยิบโหย่งได้ คือยังทำไม่เสร็จดีแต่เตรียมกระโดดไปอีกสิ่งหนึ่งแล้ว

มหาวิทยาลัย ผู้นำมีลักษณะหรือความเข้มแข็งอย่างไร

-คนที่รักษาความสมดุล 15%

-คนที่มีอิทธิพล 10%

-คนที่เป็นผู้บุกเบิก 5%

ส่วนที่เหลือในการชี้นำอาจไปทำวิเคราะห์ส่งเสริมในส่วนเปอร์เซ็นต์อื่น ๆ อย่างไร

เสริมโดยอาจารย์วิทยา

ถ้าเปรียบทั้ง 3 ตัวจะเลือกคนไหนเป็นตัวแทนดี และคิดว่าตัวเราเองเป็นคนไหนดี

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กลุ่มนี้ทำให้การนำเสนอน่าสนใจ จุดแข็งของ Kellog เขาค่อนข้าง Deep Dive ใน Detail

อยากจะพูดว่าแต่ละเรื่องที่เราเป็นจุดแข็งได้มาอย่างไร อยากให้ Search Trend ของโลก ภาษาอังกฤษเป็นอย่างไร ความหลากหลายของหนังสือจะช่วยเรา ข้อเสียของคนไทยคือคนเก่งไม่ค่อยเขียนหนังสือ

อย่างเรื่อง Pioneer ได้ไปที่สเปน คาร์ดิส เมืองท่าอันเล็ก อยากรู้ว่าเมืองท่าแบบนี้ทำไมโคลัมบัสมีแรงบันดาลใจ Go to unknown ถ้าไม่มี Proactive การเปลี่ยนแปลงใหญ่ ๆ จะไม่เกิดขึ้น และเราต้องพร้อมในการเปลี่ยนแปลงอันใหญ่ การเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดจาก Normal Situation

จุดอ่อนคือเราอยู่ใน Comfort zone มากเกินไป ถ้ารวมพลังทำเรื่องใหญ่ ๆ สักเรื่องแล้วเอา Pioneer มาขับเคลื่อน เพราะ Pioneer คือการ Go to unknown บางครั้งความล้มเหลวอาจต้องรุนแรงสุดขีดถึงทำให้องค์กรปรับได้

อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

ประทับใจที่ท่านอ.จีระพูดว่า ความล้มเหลวที่รุนแรง

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะรู้ว่าเรามีจุดเด่นใน 9 ข้อนี้ – มีแบบทดสอบในอินเตอร์เน็ต

แนะนำการฟัง Audio Book ที่สามารถโหลดเช้ามือถือ ช่วยให้เราสามารถเรียนรู้จากหนังสือได้มากขึ้น

เวลาเจอใครเรามักจะไม่ต่อต้านเขา เพราะจะเป็นอุปสรรคในการทำงาน แต่กลุ่ม Influence ยิ่งต่อต้านยิ่งอยากทำงาน

ด้านความยุติธรรม อย่าเผลอ อย่างเช่นบางคนเขาจะปรับตัวเขาให้เข้ากับความต้องการของลูกน้อง แต่เขาไม่ใช่คนยุติธรรม

เขาจะไม่เลือกคนที่ดีกรีหรือใบรับปริญญาเท่านั้นแต่จะเลือกโดย Talent เพิ่มเติมด้วย

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

นักบุกเบิกมีข้อมูลเยอะ ถ้าข้อมูลดี แต่ข้อมูลเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ต้องระวัง ด้วยเช่นกัน จึงต้องปรึกษากลุ่ม Equalizer คือต้องแบ่งปัน ซึ่งการแบ่งปันไม่ได้หมายถึงเท่ากันเป๊ะ สิ่งที่ทำได้ดีคือต้องมีทักษะในการผ่อนปรน เปลี่ยนจากกฎระเบียบไปเป็นประโยชน์สุข Equalizer ต้องมีทักษะอย่างมาก แต่ถ้าPioneer ไม่ฟังจะไปข้างหน้า ต้องมี ผู้ทรงอิทธิพลเข้ามาช่วยตรงนี้ได้ คือ Influence อาจเป็นทั้งความก้าวร้าว หรือนุ่มนวล

สรุปคือ Combination ต้องเหมาะสมและต้องภูมิใจในบทบาทผู้นำทุกท่าน

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

เห็นได้ว่า Chira Wayกับ Bucking ham เป็นเนื้อเดียวกันเลย อยากให้กลับไปประเมิน และวิเคราะห์และไปทำต่อตามที่อาจารย์ว่า ต้องเป็น Learning organization คือต้องไม่นิ่งแข็ง ต้องมี Dynamic ต้องค้นหา Gap Analysis ให้ค้นหาช่องว่างระหว่างตนเองกับคนอื่น และให้ค้นหาช่องว่างระหว่างหน่วยงานของท่านกับหน่วยงานอื่น และมหาวิทยาลัยของท่านกับมหาวิทยาลัยอื่นด้วย และให้ค้นหา LO ที่มีชีวิตคือการอ่าน การหาความรู้ด้วย

ต้องมีความรู้ที่ใหม่สด เพื่อให้การเรียนรู้มีชีวิต หนังสือฉบับนี้เป็นตัวประเมิน 360 องศา ในแบงค์ชาติ แต่นิสัยคนไทยไม่ค่อยชอบให้คนมาวิจารณ์คนอื่น

ชอบคืออย่าทำเรื่องใหญ่ และอย่าทำเรื่องกระจาย

เรื่องนวัตกรรมเป็นสุดยอดของการนำเสนอ และสุดยอดของการนำไปใช้ ต้องผลักดันให้นักศึกษาไปอ่าน แล้วมา Present อย่างนี้เพื่อให้เด็กเกิดการตื่นตัวและสนุก

ไอน์สไตล์ พูดว่า “คนเราถ้าไม่ได้ทำผิดมาก่อนก็ไม่ได้เกิดสิ่งใหม่”

Comfort zone คืออยู่อย่างสบาย เลยทำให้ไม่ต้องดิ้นรน

Strength zone คือทำสิ่งที่ล้มเหลวมาสู่ความสำเร็จ

หน้าที่ของมหาวิทยาลัยคือสร้างความรู้ใหม่ ให้ความรู้ใหม่ต่อการศึกษา ช่วยไทยให้หลุดพ้นจากการศึกษาที่รั้งท้าย

กลุ่มที่ 5 Chapter 5

The nine strengths Roles.

บทบาทของ Provider มองว่าทุกคนต้องการความไว้วางใจ เน้นในการให้ความช่วยเหลือและสร้างให้เขารู้สึกถึงความปลอดภัย สร้างให้เกิดความรู้สึกของการมีส่วนร่วมและให้มีผลตอบรับที่ท้าทายอาทิ

- การคัดเลือกทีมของเราเองเนื่องจากเราสามารถรู้ได้ว่าใครดีที่สุด เพราะจะช่วยในการรักษาชื่อเสียงและยังเป็นการสร้างความดึงดูดที่น่าสนใจอย่างดีที่สุด

- การเรียนรู้ที่จะนำความผิดพลาดจากอดีตซึ่งมีมาตรฐานในความรับผิดชอบไม่ได้สูงเทียบเท่าเรา เพื่อนำไปสู่สิ่งที่คาดหวังในอนาคต คือ เราจะทำอะไรต่อไป เพราะเราไม่สามารถที่จะช่วยเหลือในแต่ละบุคคล แต่เราจะทำให้ทุกคนรู้สึกถึงความพิเศษได้อย่างไร

บทบาทของ Simulator ทำอย่างไรถึงจะกระตุ้นให้คนมีพลังในการทำงานโดยที่เราไม่จำเป็นต้นช่วยเขาทำงาน แต่ให้ใช้วิธีการสร้างแรงจูงใจให้เขาอยากทำงาน เพื่อสร้างให้เขามีพลังในการทำงาน

บทบาทของ Teacher ทำอย่างไรถึงจะช่วยให้เขาเรียนรู้ได้ในระดับที่เหมาะสมเพราะว่าเราไม่สามารถคาดหวังว่าคนจะสมบูรณ์แบบได้ทั้งหมด และเราก็ไม่สามารถละทิ้งคนได้ เราต้องเชื่อในศักยภาพของพวกเขา และหาหนทางที่จะพัฒนาเขาไปข้างหน้าเพราะเชื่อว่าทุกคนสามารถมีหนทางที่ประสบความสำเร็จไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ชื่นชมที่นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ ใน 3 จุดแข็งสุดท้าย Provider คือผู้ที่เข้าใจความต้องการขององค์การ และจัดหาทรัพยากรมาให้ อย่างใน ม.อ. มีทางด้านวิทยาศาสตร์ และทางสังคม เราจะสร้างความสมดุลใน Social Science and Science อย่างไร

Provider เมื่อพบผู้ที่อ่อนแอกว่า หรือจุดอ่อน จะต้องช่วยเหลือคนเหล่านั้น แต่ส่วนใหญ่ในประเทศไทย ครูไม่ค่อยสนใจคนที่ไม่เก่งหรืออ่อนเท่าที่ควร เพราะมัวสนใจแต่นักเรียนที่ฉลาด หรือเก่ง

Stimulator จะเป็นผู้ให้แรงจูงใจ ซึ่งแต่ก่อนอาจเป็นเงิน โบนัส ของรางวัล ซึ่งไม่เพียงพอ เพราะความจริงอาจเป็นเรื่องการให้ไฟพลังงานในการทำสิ่งที่แตกต่างจากเดิม ให้เอาชนะอย่างรวดเร็ว ให้อำนาจในการทำงาน ให้การเรียนรู้

Teacher ต้องเข้าใจทักษะชีวิตนอกเหนือจากทักษะทางวิชาการอย่างเดียว ต้องเข้าใจถึงประวัติ พื้นฐาน ของนักเรียน เข้าใจจุดเด่น จุดอ่อนของนักเรียน

อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

ทำอย่างไรถึงจะรู้ว่าจุดเด่นอะไรของเราใน 9 แบบ เคยทำแล้วผลออกมาต่างจากตัวเองและคนอื่นบอกว่าตัวเองเป็น

ให้เชื่อตัวเรามากกว่าแบบประเมิน แบบประเมินของ Stand out ถามถึงพฤติกรรมต่อ Response ต่อสถานการณ์นั้น ๆ จะได้ในเชิงพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งอาจตอบสถานการณ์ที่เกิดจากเวลาใกล้สุด แต่ไม่ได้จากสถานการณ์ General

เราสามารถรู้ได้จากตัวเองหรือสังเกตจากตัวเองและคนรอบข้าง

Find our Edge ถ้าเรารู้ว่าเราเป็นอะไร เราจะรู้จุดแข็งของเราได้ อาจถ่ายเข้าจอมือถือแล้วดูว่าแต่ละประเภทมีจุดอ่อน จุดแข็งอะไรแล้วระวังไว้

มุมมองมหาวิทยาลัย อาจเรียนจากอาจารย์ที่ไม่รู้จุดแข็งของแต่ละท่าน และรู้จุดแข็งของตัวเอง

สมัยก่อนไม่มี Positive Phycology จะนำความรู้นี้มาช่วยรักษาเราให้เห็นความเป็นเลิศในอนาคตอย่างไร

อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

องค์ประกอบ 9 อย่าง ได้ผู้สอน ได้ผู้ให้ 1กับ 2 บวกกันได้ Pioneer คือการค้นพบอะไรบางอย่าง แล้ว Individual เกิดแน่นอน Value Diversity เกิดแน่นอน แต่ Value Creativity โดยยังไม่ได้เกิดทันที ถ้าเราหานักคิดหรือ Creator อาจคิดต่อเนื่องไปอย่างอื่น อาจนำไปสู่ Advisor ที่จะนำกลุ่มนี้ไปสู่ Strength แล้วถ้าทำช้าจะมีผู้เร่งเร้ามาเติม อย่างไรก็ตามจะเห็นว่า Equalizer อยู่ตรงกลางในการเช็คว่าอะไรทำได้หรือทำไม่ได้ แล้วจะมีผู้ให้ ประดิษฐ์กรรมที่ต้องฝึกฝน และถ้ามีกระบวนการผลิตซ้ำ มีผู้เร่งเร้าใส่ลงไป อาจไปถึงนวัตกรรมได้

คำถามคือ อะไรต่างหากที่เราจะเดินไปข้างหน้า

สรุปจากทั้ง 5 กลุ่ม คือการวางแผนโครงสร้าง คลี่คลายให้เห็น สู่วิธีการ มาสู่ Lifely และมาสุดท้ายที่การมุ่งไปสู่ข้างหน้าได้อย่างไร แสดงถึงการก้าวไปสู่อนาคตให้เห็นว่าในวันข้างหน้าจะพัฒนาไปอะไรบ้าง

Combination อาจไม่ได้พัฒนาไปทั้ง 9 อย่าง ขึ้นอยู่กับการทำอย่างไรให้สำเร็จ และจะร่วมกันได้อย่างไร และจะทำอย่างไรให้ยั่งยืน

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

สิ่งที่ทำคือดู Recovery และ What next? Simulator จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการทำอะไรต่อไป คำว่า Project คือจะทำอะไรและจะค้นพบอะไรให้สำเร็จ ชีวิตการทำงานกับชีวิตครอบครัว ความสุขที่มอบให้กับเพื่อนเป็นสิ่งที่สนใจนอกเหนือจากในการทำงาน Need help เป็นการให้ความรักเพื่อนในยามที่ต้องการให้ความช่วยเหลือ ในสิ่งที่ไม่หวังสิ่งใดตอบแทน

เราเพียงแค่ต่อยอดให้เหมาะกับบริบทของเรา

การ Empowerment คือรับฟังคนอื่น การให้อำนาจเป็น Lean Organization เกิดผลกระทบต่อการตัดสินใจ ให้สนใจคำว่า Resistance คือทุกการเปลี่ยนแปลงต่อต้านแน่นอน และบางครั้งจะเกิดการไปรักองค์กรอีกต่อไป และออกไปด้วยความเจ็บปวด อย่างแบงค์ชาติ แต่ถ้าสร้างความไว้วางใจ ด้วยความเข้าใจ จะทำให้งานต่อไปได้

อาจารย์วิทยา

ทั้ง 9 ตัวชอบมาก คืออยากให้ ดร.จีระเลือก 1 ตัวเท่านั้น แล้วอธิบายคุณสมบัติในการที่จะคุมทั้ง 8 ตัวได้ คืออะไร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์จีระ เลือก Pioneer คืออยากได้คนที่กล้าเปลี่ยนแปลงคือ Transformation Leadership หรือ Transaction Leadership

Flagship อันหนึ่งคือใช้ร่วมกันแล้วให้มี Impact เกิดขึ้น ให้มีการร่วมกันคิด เราควรจะรอบคอบ

ถ้าจะแนะนำคือค้นพบแล้วว่าคนในห้องนี้มีผู้นำที่กล้าแล้วมี Flagship อันนึงที่ต่อเนื่อง ขณะนี้กำลัง Share Commitment Share inspiration

อาจารย์วิทยา

ตอบในมุมมองของตัวเองคือ Connector


วิชาที่ 8 ถอดรหัสสามก๊ก : บทเรียนสำหรับนักบริหาร

โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน

สามก๊ก เป็นลักษณะของการสอนความเป็นผู้นำ มีคาแร๊กเตอร์ในการเปรียบเทียบว่าเราเป็นลักษณะใด

ประวัติส่วนตัว เป็นเด็กสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พ่อเสีย แต่โชคดีที่คุณยายรักมาก เป็นคนที่ถูกฝึกเพราะเกรงกลัวพระเจ้า มีประโยคหนึ่งที่ทำนายจากนอสตราดามุส สามารถมองเห็นภาพอนาคตได้ และศาสนจักรโรมันคาทอลิกที่แรงมากในยุโรป มีการดูหมิ่นพระเจ้า

การศึกษาผู้นำสามก๊ก แต่ละส่วนไม่เหมือนกัน สไตล์ของผู้นำไม่เหมือนกัน

ทำงานโดยที่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง อย่างอยู่ลิเวอร์บราเธอร์ได้ทำงานแบบโดนล้างสมอง มีการเถียงในที่ประชุม แต่เมื่อออกมาจากที่ประชุม is nothing personal แต่คนไทยเวลาออกจากที่ประชุมกลับเป็นอีกแบบหนึ่ง อาจโกรธกันไปหลายปี

มีนักปรัชญาจีนคนหนึ่งกล่าวว่า ... ลูกของเราเป็นกุลบุตร กุลธิดาของชีวิต เราให้ความรักได้ ให้ที่อยู่ได้ แต่ไม่สามารถให้ความคิดเขาได้ทั้งหมด บ้านที่เขาจะไปเป็นบ้านวันพรุ่งนี้ ซึ่งจะไม่กลับมาเหมือนวันวาน พ่อแม่เป็นเหมือนคันธนู ที่มีชีวิต ที่มีที่สิ้นสุด

ศ.เจริญ ได้รับวัฒนธรรมของจีน และตะวันออกมา มีการฝึกเด็กเป็นทีมชาติแบดมินตันของชาติ

อีกประเด็นคือ ลูกทั้งสามคนของ ศ.เจริญ เล่นแบดมินตัน มีเคยเรียกมาถามว่าอยากเล่นอะไร เล่นให้สุด ๆ ไปเลย ไม่ได้อยากให้ลูกเล่นแบดมินตัน เพราะไม่ต้องกลัวภายใต้ความกดดันที่ว่าเมื่อไหร่จะเหมือนพ่อ

ถอดรหัสสามก๊ก : บทเรียนสำหรับนักบริหาร

คนถามว่าอ่านสามก๊กฉบับไหนดี มีคนบอกว่าอ่านสามก๊กสามจบคบไม่ได้ แต่จริง ๆ อ่านจบจะคบได้เพราะรู้จักแยกดีชั่ว

สามก๊ก มีหลายฉบับ หลายสำนวน

- ของท่านยาขอบเขียนไว้ 18 บุคลิกภาพ แล้วเขียนลักษณะของแต่ละคนไว้ แต่ไม่รู้ว่าใครมาก่อนมาทีหลัง

- ฉบับนายทุนของอาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

ฉบับนายทุน มีโรงพิมพ์ดอกหญ้าเอามาใช้ อาจารย์คึกฤทธิ์เขียนให้เล่าปี่เป็นคนเลวที่สุดไม่น่าคบ แต่เขียนโจโฉเป็นผู้นำ ส่วนเบ้งเฮก เป็นผู้นำตระกูลไทย

กุสโลบายของขงเบ้ง ถามมาเจ๊ก ว่าจะไปตีเบ้งเฮกใช้นโยบายอะไร ใช้ครองใจคนเป็นเอก อย่างอื่นเป็นรอง

-ฉบับพิไชยสงครามของ อ.สังข์ พัฒโนทัย มีสารานุกรมเมือง คนไทยแปลสามก๊กโดยใช้นักวิชาการฮกเกี้ยน แต่ละที่ของมณฑลจีนจะเขียนไม่เหมือนกัน และบางครั้งอาจสับสนเรื่องแซ่ ซึ่งคนละเรื่องกัน

- คุณวิวัฒน์ ประชาเรืองวิทย์ พยายามเขียนสามก๊กเป็นแต้จิ๋ว ซึ่งไม่มีทางเลย

- Romance of the Three Kingdoms ของ Brewitt Taylor เป็นเล่มที่ ศ.เจริญชอบมากที่สุด

- เล่มที่ ศ.เจริญ วรรธนะสินเขียน ให้กับ Media of Media

เวลาเขียนนอสตราดามุสเหมือนอยู่ที่ซาลอง เหมือนอยู่ที่ฝรั่งเศส และเวลาเขียนสามก๊กเหมือนอยู่เสฉวน เหมือนอยู่ซานตง

ทำไมสามก๊กถึงเป็นอมตะ

- ใช้อักษรศาสตร์จีนโบราณ

- บรรยายอย่างละเอียด สร้างบุคลิกภาพ ความคิด แบบฉบับการบริหารของแต่ละผู้นำได้

- บรรยายยุทธศาสตร์ ได้อย่างยอดเยี่ยม

- บรรยายวิสัยทัศน์ กุสโลบายต่าง ๆ

ข้อจำกัดการสื่อสารสมัย 1,800 ปีมาแล้ว

ใช้แต่ม้าเร็ว ไม่มีเทคโนโลยี

วิเคราะห์คุณสมบัติผู้นำ CEO ในสมัยสามก๊ก

ศึกษาประวัติศาสตร์การรบ แต่ละผู้นำมีพื้นฐานความรู้ดี มีพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ จิตวิทยาสูง จินตนาการยอดเยี่ยม อ่านสถานการณ์แม่นย่ำ อ่านใจฝ่ายตรงข้าม รับสถานการณ์ได้ถูก และนอกจากมีกำลังกายแล้วยังแพ้ชนะด้วยพลังสมอง

ผู้นำ SMEs ในสามก๊ก ส่วนใหญ่เริ่มต้นจากความต่ำต้อยในอดีต

เล่าปี่- คนทอเสื่อขาย

โจโฉ – ตำรวจต๊อกต๋อยภายในโฮจิ๋น

อ.ขงเบ้ง – บัณฑิตชาวนาไร่หม่อนโงลังกั๋ง

ซุนเช็ก – หลงจู๊นักรบของอ้วนสุด

กวนอู – หนีคดีมาเป็นคนขายถั่ว

เตียวหุย – พ่อค้าขายหมู-สุราในตลาด

แต่สถานการณ์บ้านเมืองทำให้คนพวกนี้มาเกี่ยวข้องและมีบทบาททางการเมือง

ชัยชนะโดยไม่จำเป็นของฝ่ายชั่วหรือคนชั่วเนื่องจากคนดีไม่ทำอะไรเลย หลายครั้งที่คนเก่ง คนดี แต่ไม่ใช่นักสู้จะไม่ได้ เน้นเรื่องการทำความดีเพื่อความดี ไม่ใช่เพื่อสร้างภาพ

เล่าปี่ – ผู้พบทองแท้บนกองทราย

ยึดในคุณธรรม จริยธรรมและความชอบธรรม แต่มีคำสาบานที่ฝากไว้ทำให้สิ้นชาติได้

คำครหาคนในเชิงลบ ทั้ง ๆ เล่าปี่มีคุณธรรม อย่างที่ อาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ กล่าว มีโจโฉกล่าวว่าเล่าปี เป็นคนลวงโลก ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่คนที่เขากล่าวหา

คุณสมบัติผู้นำ -เน

- บุญชาติตระกูลสูง แต่เป็นเจ้าที่ยากจนมาก

- ควบคุมอารมณ์อย่างยอดเยี่ยม

- อ่อนน้อม ถ่อมตน

- สมถะ มักน้อย

- จูงใจสัมฤทธิ์ พูดจาเข้าหู น้ำใจเป็นเลิศ

- มีความรอบรู้ทางการเมืองแห่งยุค

- ความคิดลึกซึ้ง ฉับไว สายตากว้างไกล

- ยึดถือในอุดมการณ์คุณธรรม เมตตาธรรม

- มีเมตตาธรรม จริงใจต่อพี่น้องร่วมสาบาน / ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา

- มีไฟแห่งความมุมานะ ทะเยอทะยานไม่จบสิ้น

- ภาพลักษณ์ดี เป็นคนดีมีคุณธรรมในสายตาของมหาชน

เล่าปี่ – ผู้นำที่รู้จักควบคุมอารมณ์

- เตียวหุยเมาสุราเฆี่ยนตีโจป้าพ่อตาลิโป้

- เตียวหุยเสียเมืองซีจิ๋วแก่ลิโป้

- เตียวหุยหนีเอาตัวรอดมาหาเล่าปี่-กวนอู

- เล่าปี่ควบคุมอารมณ์ได้ดีเยี่ยม

“ลูกเมียเหมือนเสื้อผ้า พี่น้องเหมือนแขนขา”

แนวคิดธรรมาภิบาลผู้นำของเล่าปี่

- ได้กล่าวว่าต้นเหตุวิกฤติของแผ่นดิน มาจากความยุ่งเหยิงของใจคน จะสงบแผ่นดิน พึงสงบใจคน ชักนำผู้คน สู่ความถูกต้องเที่ยงธรรม ยกคุณธรรม ชูความสัตย์ซื่อรู้คุณเป็นที่ตั้ง

- ผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน แม้ศัตรูยังเมตตา

- เล่าปีสร้างตัวเองจากมือเปล่าด้วยภาพลักษณ์ของ CEO แม้จะเป็นองค์กรเล็ก ๆแต่เต็มไปด้วยพลังอำนาจแม้แต่โจโฉกับตันก๋งยังออกปากหวั่นเกรง

- เมตตาธรรมและคุณธรรม คือต้นทุนในการสร้างตัวและการดำเนินชีวิตของเล่าปี่

- จะยิ่งใหญ่อยู่ในโลกนี้ได้ เมื่อเราถึงขั้นตกอับ ต้องยอมน้อมกาย ต้องคอยโอกาส

- ความดีแม้เพียงเล็กน้อยก็ต้องทำ

- เล่าปีสร้างตัวเป็นใหญ่ขึ้นมาด้วย อำนาจคน

ตั๋งโต๊ะ – ผู้ถูกสาปแช่งทั้งสิบทิศ

ประพฤติธรรมดา –ในตำแหน่งที่ไม่ธรรมดา

- ตั๋งโต๊ะ – CEO ทรราชเต็มรูปแบบ

- คนต้องลิโป้ ม้าต้องเซ็กเธาว์

- ลิซก – อยากยึดครองโลก ใยเสียดายม้าเพียงตัวเดียว

- ชีวิตนี้หากมิได้อยู่เคียงข้างท่าน ดูแลจนผมขาวแก่เฒ่า ก็เหมือนกับได้ตายไปแล้ว

จุดจบ

- ตั๋งโต๊ะ – ความชั่วร้าย แม้สิ้นไปแล้วศพยังไม่มีให้เผา

- สิ่งชั่วร้ายที่นักการเมืองอย่างตั๋งโต๊ะทำ คนอื่นก็คิดจะทำเหมือนกัน เพียงแต่ยังไม่มีโอกาสหรือกล้าพอที่จะทำเท่านั้น

อ้วนเสี้ยว – ผู้นำอัลไซม์เมอร์ ขาดวิจารณญาณ จนพาชาติสลาย

- ชาติตระกูลสูง สืบทอดจากตระกูลขุนนาง 3 ชั่วคน

- บริหารงานสไตล์ “คุณชาย”

- มากบารมี อาศัยบุญเก่า ได้เป็นผู้นำทัพ 18 หัวเมือง

- เหลิงอำนาจ ยึดอัตตา แบ่งวรรณะ จิตสำนึกเสื่อม

- อ่านคนไม่เป็น ใช้คนไม่เป็น ไม่รักษาน้ำใจผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่เห็นคุณค่าของคน

- ขาดวิจารณญาณ ทั้ง ๆ ที่มีกุนซือเก่ง ๆ อยู่รอบตัว

- ทัพ 70 หมื่น พ่ายแก่โจโฉทีมีรี่พลเพียง 7 หมื่น

- บุตรหลานเห็นแก่ตัว สิ้นชาติ สิ้นตระกูล

ทัพ 18 หัวเมือง (ปาหี่การเมือง)

- ทัพ 18 หัวเมือง ผู้นำเก่ง ฉลาด มีกำลังมากก็จริง แต่ทุกคนมีวาระซ่อนเร้น ไร้ความจริงใจ ต่างคุมเชิงคอยทีกันเอง (มีซุนเกี๋ยน กับโจโฉ ที่เอาจริง รบเต็มรูปแบบทหาร)

- อ้วนเสี้ยวผู้นำ ยังกั๊ก งันเหลียง บุนทิว 2 ขุนพลไว้ไม่นำออกศึก

- อ้วนสุดผู้น้องคุมเสบียง ไม่ยอมส่งเสบียงให้พันธมิตร

บุคลิกผู้นำของโจโฉ (ความเป็น Leader ของโจโฉ น่าสนใจที่สุด)

สิ่งที่จะเห็นความเป็นผู้นำของโจโฉ คือ อ่านคนออก บอกคนได้ ใช้คนเป็น

- สร้างความเป็นผู้นำของตัวเองด้วยลำแข้ง นักรบ ขุนศึก

- มีวิสัยทัศน์กว้าง ลึก ยาว ไกล ล้ำหน้าคนร่วมยุค

- ไม่เชื่อถือในโชคลาง ไม่มีโหรหลวง เชื่อมั่นตนเอง

- กล้าเสี่ยวงในสภาวะที่ควรเสี่ยง (มีการคำนวณแล้ว) มีลำหักลำโค่น

- เห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ ชุบเลี้ยงคนเก่ง คนมีฝีมือ (กวนอู จูล่ง ลิโป้)

เป็นผู้นำยอดคนที่มีสีสันมากที่สุด

- โจโฉ รัฐบุรุษ หรือ ทรราชย์

- โจโฉ เป็นยอดขุนนางยามผาสุก เป็นทรราชย์ยามกลียุค (ถกเถียงวิจารณ์กันมานับพันปี โจโฉเป็นยอดขุนนางที่ยึดราชวงศ์ฮั่นให้ยาวขึ้น หรือเป็นทรราชย์ที่คุกคามราชบัลลังก์)

โจโฉ เป็น CEO ที่มี Decisiveness

- โจโฉมีลำหักลำโค่น (Decisiveness) กล้าเสี่ยงในสภาวะที่ต้องเสี่ยง

- เป็นผู้นำที่ขี้ระแวงที่สุด

- โจโฉหัวเราะขุนนางที่คิดฆ่าตั๋งโต๊ะด้วยน้ำตา

- อาสาฆ่าตั๋งโต๊ะ จนตัวเองต้องหนีหัวซุกหัวซุน เป็นอาชญากรแผ่นดินมีฆ่าหัว

โจโฉ – ผู้ยอมทรยศโลก แต่ไม่ยอมให้โลกทรยศ

- ตันก๋งทิ้งสินบนทองคำ 10 ชั่ง ส่วยหมื่นครัวเรือน

- โจโฉ – หากไม่คิดช่วยชาติ ย่อมไม่ต่างอะไรกับเดรัจฉาน

- โรคระแวง ทำให้ CEO โจโฉฆ่าครอบครัวแปะเสียหมดบ้าน

- ตันก๋งแยกทางกับโจโฉ “คน ๆ นี้ฆ่าใครก็ได้ที่เขาระแวง ฆ่าเพื่อนสนิทก็ได้ถ้าขัดผลประโยชน์)

โจโฉ – รู้จักบริหารทรัพยากรมนุษย์ HR

- ทหารมากหรือจะสู้ทหารเจ๋ง ขุนทหารกล้าหรือจะสู้ขุนทหารที่ฉลาด (โจโฉวิจารณ์เปรียบเทียบทัพวุยก๊กกับทัพ 70หมื่นของอ้วนเสี้ยว)

- ผู้ที่จะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน คิดการใดจิตใจต้องกว้างขวางโอบอ้อมอารี มีแผนใหญ่ครอบจักรวาลอยู่ในมือ สามารถกลืนแผ่นดินได้ด้วยอุดมการณ์ที่ยิ่งใหญ่

- โจโฉสามารถระดมคนเก่ง ๆ จากทุกทิศ ต่างความคิด ต่างอุดมการณ์ มาร่วมทำงานด้วยกันได้ภายใต้ชายคาเดียวกัน

โจโฉพิพากษาลิโป้ – ตันก๋ง (ลิโป้ถูกประหารด้วยลิ้น 3 นิ้วของเล่าปี่)

- โจโฉยังรำลึกถึงบุญคุณของตันก๋ง-นายอำเภอเมืองจงพวน

- ตันก๋งไม่ยอมร้องของชีวิต เลือกความตายเป็นทางออก

- ลิโป้แม้จะโง่เขลาเบาปัญญา แต่ก็ไม่ใช่คนเจ้าเล่ห์อย่างเจ้า (ตันก๋งด่าโจโฉ)

- เลือดเตงหงวนกับตั๋งโต๊ะยังไม่แห้ง ท่านจำไม่ได้แล้วหรือ

ความใจกว้าง ยอด H&R ของผู้นำอย่างโจโฉ ทำให้ กวนอู จูล่ง เตียวเลี้ยว เคาทู ฯลฯ รอดชีวิต(2)

- จูล่ง แห่งเตียงเปงสัน รอดตาย พาอาเต๊าแหกวงล้อมออกมาพบเล่าปี่

- เตียวเลี้ยวด่าโจรรอดชีวี (ลิโป้โอดขอชีวิตไร้คนช่วย)

- เคาทู มหาโจรกลับใจ รับใช้โจโฉสุดชีวิต

- กวนอู รอดตาย เข้าสวามิภักดิ์ด้วยเงื่อนไข 3 ข้อ คือ 1.ยอมสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ฮั่น ดูแลพี่สะไภ้ทั้ง 2 และวันใดที่ได้ข่าวเล่าปี่ ต้องปล่อยให้ไปพบ 2. กวนอูหักด่าน 3. หักด่านแล้วใบผ่านด่านเพิ่งมาถึง

แม้แต่เล่าปี่ รอดตายก็เพราะใจนักเลงของโจโฉ

- โจโฉไม่กล้าทิ้งเล่าปี่ครองชีจิ๋ว นำตัวกลับเข้าเมืองหลวงฮูโต๋ (เฝ้าเสือไว้ดีกว่าปล่อยเสือเข้าป่า)

- เล่าปี่แฝงตัว ปลูกฝักทำสวนครัว ปกปิดแผนการยิ่งใหญ่ของตัวเอง

“อ้วนสุดนั้นเหมือนกระดูกผุอยู่ในป่าช้า”“อ้วนเสี้ยวทั้งโง่และขี้ขลาด ทำใหญ่โต จิตโลเลไม่แน่นอนทำเสียได้น้อย เห็นแก่ได้ไม่เป็นประโยชน์อันใด”“เล่าเปียวเป็นคนปากหวาน ไม่จริงใจกับใคร ไร้สติปัญญา” “ซุนกวนฝีมือพอประมาณ ใหญ่เพราะพ่อกับพี่ ไม่ใหญ่แท้” “เล่าเจี้ยงหาความคิดมิได้อุปมาเหมือนสุนัขเฝ้าประตู” “คนอื่น ๆ อย่างเตียวฬ่อ เตียวสิ้ว หันซุย มิบังควรเอ่ยให้เสียปาก”

3 ทางเลือกที่กุนซือเสนอต่อโจโฉสำหรับชะตากรรมของเล่าปี่

1. ไม่ควรฆ่าเล่าปี่ หากฆ่า ต่อไปใครจะกล้ามาสวามิภักดิ์ต่อท่าน (กุยแก)

2. ควรฆ่า ปล่อยศัตรูไปวันเดียว เป็นภัยแก่ตัวร้อยชาติ (ซุนฮก) 一曰纵敵 萬世之患

3. ควรหลอกใช้ก่อน แล้วฆ่าทีหลัง (เทียหยก)

- โจโฉ เลือกทางที่ 3 (เสือตัวนี้ต้องฆ่า แต่ไม่ใช่ฆ่าตอนนี้) (ต่อมา โจโฉทำพลาด ไม่ฆ่าแล้วยังมอบกองทัพให้เล่าปี่ไปปราบอ้วนสุด) (ปล่อยให้เป็ดที่ต้มสุกแล้วในหม้อหลุดไปจนได้ - โจโฉบ่นกับตัวเอง)

10 ข้อดีข้อด้อยของโจโฉ-อ้วนเสี้ยวในทัศนะของกุยแก

1. อ้วนเสี้ยว พิธีรีตองมาก โจโฉเป็นธรรมชาติ (นี่คือ วิถีแห่งชัย)

2. อ้วนเสี้ยวกบฏ แต่โจโฉภักดี – (นี่คือ ธรรมแห่งชัย)

3. ราชสำนักฮั่น อ้วนเสี้ยวปกครองหละหลวม โจโฉเข้มงวดวินัย – (นี่คือ ชัยแห่งรัฐ)

4. อ้วนเสี้ยวใจแคบ ลำเอียง โจโฉใจกว้าง เที่ยงธรรม – (นี่คือ ชัยที่วัดได้)

5. อ้วนเสี้ยวโลเลไม่เด็ดขาด โจโฉเด็ดเดี่ยว แน่วแน่มีหลักการ – (นี่คือ ชัยที่ลงตัว)

6. อ้วนเสี้ยวทำดีแต่เปลือก โจโฉเลี้ยงคนอย่างจริงใจ – (นี่คือ ชัยแห่งคุณธรรม)

7. อ้วนเสี้ยวหลงคนแวดล้อมชอบสอพลอ โจโฉเลี้ยงคนเสมอกัน– (ชัยแห่งสัจธรรม)

8. อ้วนเสี้ยวหูเบา โลเล โจโฉสุขุม หนักแน่น – (นี่คือชัยแห่งการรู้แจ้ง)

9. อ้วนเสี้ยวสับสน ผิดถูก โจโฉจำแนก แจกชัด – (นี่คือชัยแห่งบุ๋น)

10. อ้วนเสี้ยวโอ้อวดศักดาแต่ไม่รู้การศึก โจโฉชำนาญการศึก นำน้อยชนะมาก (นี่คือ ชัยแห่งบู๊) โจโฉ - เป็นใหญ่ด้วย อำนาจฟ้า

ซุนฮก – ยอดกุนซือโจโฉ

จิตวิทยาชั้นยอดของซุนฮก (มองทะลุปรุโปร่งรู้ว่าโจโฉคิดยกทัพกลับ)

  • ซุนฮกประเมินศึกกัวต๋อ - ทหารเอกอ้วนเสี้ยวมีปัญญาและฝีมือนั้น จะนับว่าชำนาญยังมิได้ เตียนห้องเป็นคนหยาบช้าดื้อดึง เขาฮิวมีปัญญาก็จริงแต่เป็นคนโลภทำสิ่งใดมักเสียการ สิมโพยเป็นคนอวดรู้ ถึงผู้ใดว่าชอบก็ถือว่าผิด ฮองกี๋นั้นเป็นคนโวหารดีแต่เอาการไม่ได้ ทั้งสี่คนต่างถือตัวแก่งแย่งมิได้ประนอมกัน ส่วนทหารมีฝีมือทั้งเจ็ด มิรู้จักทีเสียทีได้ อันทหารเลวแม้จะมีมากสักเท่าใด ล้วนแต่พลอยแพ้พลอยชนะด้วย (หลาย ๆ กรณี มีแต่พวก พลอยชนะ แต่ไม่พลอยแพ้ด้วย)
  • ซุนฮกนินทานาย – รู้ว่าผิด แก้ไขที่ผิด แต่ไม่ยอมรับผิด
  • (วาระสุดท้าย ซุกฮกคัดค้านโจโฉที่จะเลื่อนตัวเองเป็นวุยอ๋อง เจ้าต่างกรม ซุนฮกว่าเชื้อพระวงศ์เท่านั้นถึงสมควรจะทำอย่างนั้น - โจโฉส่งซึ้งเปล่าไปเยี่ยมไข้)

โจโฉ ผู้นำ นักบริหารยอดคน (แม้จะไม่เป็นอัจฉริยะ)

  • พิพากษาตันหลิม – ผู้เขียนสาส์น ด่าเจ็บจนหายจากโรคปวดหัว

- เกาทัณฑ์เมื่อพาดสาย ต้องยิงให้เต็มหน่วย ไม่ว่าคนหรือสัตว์ ต้องให้ตายคาที่

  • เผาจดหมายนายทหารของตนที่ฝากตัวต่ออ้วนเสี้ยว (พวกพลอยชนะ แต่ไม่ยอมพลอยแพ้ด้วย)

- อย่าว่าแต่ทหารเลย ตัวข้าฯ ก็ยังกลัว คิดว่าจะเอาไม่รอด

- ผล คือ ได้ใจลูกน้องกลับมามากมาย

- เลี่ยงทหารลูกน้องก่อการปฏิวัติ

- หรือต้องประหารนายทหารกับทหารครึ่งกองทัพ

โจโฉลวงโลกได้ทุกสิ่งแต่หลอกลวงตัวเองไม่ได้ตอนจะสิ้นใจ

- ระแวงหมอเทวดาฮัวโต๋ โจโฉสั่งเสียก่อนสิ้นใจ ข้าฯ ไม่เคยกลัวตาย

- บ้านเมืองวิกฤติ ดี เลว มองไม่ชัด มีแต่แข็ง อ่อน สูง ต่ำ รวย จน แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ ผู้พิชิตเป็นวีรบุรุษ

- ผู้แพ้ เป็นโจร

- ทำไมข้าฯ จะไม่คิดเป็นฮ่องเต้ เพียงแต่สวรรค์ยังมิได้กำหนด โอกาสยังมิได้เปิดช่องทาง

- โรคใด ๆ ก็รักษาให้หายได้ แต่โรคระแวงของคนไม่มีทางรักษาให้หายได้ (หมอฮัวโต๋)

ลิขิตของสวรรค์ มีหรือใครจะฎีกาได้?

  • เมื่อวานนี้โลกมองโจโฉผิด วันนี้ก็มองผิด และพรุ่งนี้ก็อาจจะมองผิดอีก แต่ข้าฯ ก็คือข้าฯ ข้าฯ ไม่เคยกลัวว่าใครมองผิดมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว (โจโฉ)
  • สวรรค์ลิขิต ใครหรือจะฎีกาได้ สวรรค์ขีดเส้นให้ชีวิตดับ ใครหรือจะช่วยได้ (โจโฉ)
  • ความตายไม่น่ากลัว มันเป็นเพียงความร่มเย็นของคืนแห่งฤดูใบไม้ร่วง ทำให้หลับสนิทไร้กังวลตลอดกาล (โจโฉ)
  • (โจโฉสั่งสร้างเจดีย์ 72 แห่ง นำศพฝังไว้ แล้วอย่าเปิดเผยว่าศพของตนฝังอยู่ ณ ที่ใด)
  • สามก๊ก – เริ่มตั้งแต่หลังจากที่โจโฉถึงแก่อนิจกรรม โจผีปลดเหี้ยนเต้ สถาปนาตัวเองขึ้นเป็นอ้วยโช่ฮ่องเต้

ความหนักใจของ CEO กับ Directors สมัยสามก๊ก

  • กุนซือ – ที่ปรึกษา - เสนาธิการ ก็เรียก
  • กุนซือ ระดับ CEO ที่ได้รับมอบหมายอำนาจ ต้องบัญชาการศึกเอง และในบางรายต้องออกรบเอง
  • ชีซี ถูกกวนอู เตียวหุย ลองดี

ตำรับพิชัยสงครามซุนหวู่ มาจากหมากล้อม!

  • ชีซีแก้ค่ายกล 8 ทวารกุญแจทอง (ของโจหยิน แม่ทัพโจโฉด้วยหมากล้อม

CEO หลงจู๊ชีซี วางแผนรบ
ทำลายค่ายกล
8 ทวารกุญแจทองของโจหยิน

  • หลังจากวางแผนรบชนะ โจหยิน ทำลายค่ายกลโจโฉ “เล่าปี่รบได้อย่างนื้ คงต้องมีคนเก่งช่วยอยู่”

เทียหยก “คนผู้นี้เก่งเหนือกว่าข้าพเจ้า 10 เท่า”

ชีซีถูกหลอกจำใจผละจากเล่าปี่เข้าหาโจโฉ(มุมมองที่น่าคิดจากแม่เฒ่าของชีซี)

  • โจโฉ-เทียหยก ใช้วิชามาร หลอกชีซีกลับไปหาแม่ที่ฮูโต๋

แม่ชีซีบริภาษลูก “จากเล่าปี่มาหาโจโฉ เท่ากับออกจากที่สว่างมาสู่ความมืด..”

“เจ้าเรียนรู้มีปัญญาเสียเปล่า มิรู้จักแยกแยะความจงรักภักดีต่อแผ่นดิน

ให้ออกจากความกตัญญูกตเวทีให้ออกจากกัน....”

ทำไมขงเบ้งต้องให้เล่าปี่ ถ่อกายไปโงลังกั๋งถึง 3 ครั้ง

  • ขงเบ้งเคยบอกเพื่อน ๆ ว่า ในแผ่นดินนี้ไม่มีใครดีและเหมาะสมพอที่จะเป็นเจ้านายของเขาได้
  • ขงเบ้งต้องการทดสอบอุดมการณ์ของเล่าปี่ หรือจะเป็นแค่นักการเมืองแห่งยุคที่ส่วนมากเป็น โจรรักชาติ "patriotraitor" (patriot + traitor) ที่อ้างชาติ อ้างแผ่นดิน อ้างราชวงศ์ฮั่น อ้างประชาชน แต่ทุกอย่างทำเพื่ออำนาจกับผลประ โยชน์ของตนเองทั้งนั้น
  • ขงเบ้งทดสอบความอดทน และมีคุณธรรม จริยธรรมของเล่าปี่
  • เล่าปี่ – The lesser of the devil at the time? (บริษัทโคตร จำกัด)

เล่าปี่ยอมสละตำแหน่ง CEO ให้ขงเบ้ง

- เล่าปี่เพียรพบขงเบ้งที่โงลังกั๋ง 3 ครั้ง และด้วยวัย 48 ปี กล้ามอบอาญาสิทธิ์ในการนำกองทัพให้ ขงเบ้ง ที่มีอายุเพียง 28 ปีด้วยความมั่นใจ !!! (เถ้าแก่ยกสมบัติ-ธุรกิจของตัวเอง ของตระกูล ของครอบครัวให้ขงเบ้งดูแล)

- เล่าปี่ กล้ามอบอำนาจให้ขงเบ้ง – เห็นความขลังของ ชีซี (ตันฮก) มาก่อนหน้านี้

- เห็นแผนยุทธศาสตร์ หลงจง ของขงเบ้ง เสมือนหนึ่งปัดหมอกเมฆมองเห็นตะวันสำหรับเล่าปี่

ยุทธศาสตร์หลงจง 3 ก๊กของขงเบ้ง

- ยุทธศาสตร์หลงจง –ตั๋งโต๊ะทิ้งมรดกแห่งความชั่วร้ายไว้ ราชอาณาจักรไร้ความสงบสุข คนมีอำนาจทำชั่วต่อเนื่อง เดิมทีโจโฉไม่มีอำนาจมาก แต่พอชนะอ้วนเสี้ยวได้จึงสร้างสมทัพขึ้นมาใหญ่ สืบทอดอำนาจเหนือราชบัลลังก์และขุนศึกน้อยใหญ่ทั้งหลาย - จะชนะโจโฉเห็นจะเหลือกำลังความสามารถ

- ด้านตะวันออกพวกแซ่ซุนครองอาณาจักรกั่งตั๋งมาชั่ว 3 อายุคน ประชารักใคร่เป็นปึกแผ่น

เสบียงอาหารสมบูรณ์ ซึ่งท่านจะร่วมได้ แต่จะเอาชนะยาก

- ส่วนอาณาจักรเกงจิ๋วตั้งอยู่ข้างแม่น้ำฮั่นกับแม่น้ำเมี้ยน ดินแดนแห่งนี้มีศึกใหญ่ชิงอำนาจกันหลายครั้ง ดูตามสถานการแล้วเหมือนฟ้าจะโปรดให้อาณาจักรนี้เป็นของท่าน

- ส่วนอาณาจักรเสฉวนนั้น เป็นภูมิศาสตร์ที่สำคัญ อุดมสมบูรณ์ กว้างใหญ่ไพศาล พระเจ้าฮั่นโกโจฮ่องเต้ตั้งราชวงศ์ใหม่ก็ตั้งอยู่ ณ บริเวณแถบนี้ เล่าเจี้ยงผู้ครองอำนาจคนปัจจุบันเบาความและอ่อนแอ อยากได้ผู้นำที่มีสติปัญญา มีกำลังแข็ง มีธรรมาภิบาลไปปกครอง ท่านเป็นเชื้อพระวงศ์ราชวงศ์ฮั่น มีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม จริยธรรม ความหวังที่ท่านจะฟื้นฟูพระบรมเดชานุภาพจึงมีทางที่จะทำได้สำเร็จ

(วิสัยทัศน์ขงเบ้งมองเห็นแผ่นดินจีนจะถูกแบ่งแยกออกเป็น 3 อาณาจักรใหญ่ไว้ล่วงหน้าข้างต้นนี้ก่อนที่ทุกอย่างจะเกิดขึ้น)

ยุทธศาสตร์สามก๊กของขงเบ้ง

  • แผนหลงจง คือ ยึดเกงจิ๋ว ขยายอาณาเขตไปเสฉวน ใช้เป็นฐานมั่นคง แยกดินแดนออกเป็น 3 ส่วน สร้างดุลอำนาจระหว่างโจโฉกับซุนกวน
  • เล่าปี่ไม่เห็นด้วยกับขงเบ้งที่จะยึดเกงจิ๋วจากเล่าเปี่ยว แม้แผนหลงจงจะล่าช้าไปอีก 10 ปี
  • ตาเพ่งไปที่เกงจิ๋ว จิตพุ่งไปที่เสฉวน ใจมุ่งไปทั่วหล้า เร่งรวบตามแผน (ขงเบ้งแนะเล่าปี่)

(ตาเพ่งในบ้าน จิตพุ่งอาเซียน ใจมุ่งทั่วหล้า เร่งรวบตามแผน(โลกาภิวัตน์)

ขงเบ้ง – ผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร ต้นตำรับยุทธศาสตร์สามก๊ก

  • ออกจากที่น่าไร่หม่อนโงลังกั๋งวัย 26
  • บัญชารบครั้งแรกด้วยคบเพลิงไม่กี่อัน เผาทัพหน้าโจโฉ(โจหยิน)สิบหมื่นที่พกบ๋อง
  • ใช้น้ำฆ่าทัพหนุนโจโฉอีกสิบหมื่น3พัน
  • เจรจาเป็นพันธมิตรกับซุนกวนสำเร็จ
  • ร่วมกังตั๋งเผาทัพเรือโจโฉ 83 หมื่น
  • วัย 29 ยึดเมืองเกงจิ๋วกับเมืองโท9 เมือง เมืองตรีอีก42 เมืองโดยไม่เสียชีวิตทหารแม้แต่คนเดียว
  • วัย 38 ตีได้เมืองเสฉวน ซึ่งมีเมืองขึ้น 41 เมือง ตรีอีก 100 เมืองเศษ หนุ่มชาวนาจากโงลังกั๋ง ตัดแผ่นดินจีนออกเสีย 1 ใน 3 มอบให้แก่คนที่ตำราและผู้รู้อย่าง อ.สุมาเต๊กโชกล่าวว่า เป็นคนอาภัพน้อยวาสนาอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์
  • ตลอดชีวิตของ อ.ขงเบ้ง เป็นช่วงที่มีการช่วงชิงอำนาจทำกันอย่างเข้มข้นแหลมคมฉกาจฉกรรจ์ อ.ขงเบ้งเป็นเครื่องจักรสำคัญที่มีส่วนบันดาลให้เหตุการณ์กับสถานการณ์แปรเปลี่ยนไปอย่างชนิดที่ไม่มีปราชญ์หรือบัณฑิตคนใดสามารถทำได้

สไตล์ยั่วยุของขงเบ้ง

  • ขงเบ้งมองหมากทั้งกระดาน Begin with the end in mind.
  • ขงเบ้งเป็นนักการทูตที่ฉลาด รู้ชั้นเชิงในการเจรจา
  • ขงเบ้งชอบและถนัดใช้จิตวิทยา การยั่วยุ - ปะทะคารมกับขุนนางกังตั๋ง โลซก ซุนกวน จิวยี่ ใช้สไตล์การยั่วยุจนกังตั๋งยอมเป็นพันธมิตรต่อต้านทัพโจโฉ
  • ลิ้นคน 3 นิ้วฆ่าคนได้ ซ้ำยังฆ่าได้ไม่เห็นเลือด (โลซก)
  • ยอกย้อนซ้อนกลพันธมิตรหอกข้างแคร่ของจิวยี่ อุบายยืมเกาทัณฑ์ หลบแผนสังหารของจิวยี่ ซ้อนกลอุบายนางงาม “อุบายจิวยี่แสนแยบยล เสียทั้งฮูหยินและไพร่พล”
  • ใช้โวหารยั่วยุเสนาบดีเฒ่า อองลอง วัย 76 ปี ถึงกับช็อคตกม้าตายคากลางสมรภูมิ

สไตล์การทำงานของ CEOบังทอง vs. ขงเบ้ง

  • บังทอง หงส์ดรุณ – หุบเขาหงส์ร่อน เลาะฮ่งปอ
  • บังทองใช้วิชามาร ฆ่าเตียวสง สร้างปมร้าวให้เล่าเจี้ยงกับเล่าปี่จนแตกสะบั้น
    (ในสายตาบังทอง เขาเห็นเตียวสงเป็นคนขายชาติทรยศเจ้านาย)
  • การตายของบังทอง ทำให้เล่าปี่มีเหตุผลสมควรที่จะบุกยึดเสฉวน

นโยบายการทหารศึกเบ้งเฮ็ก – ผู้ถูกกลืนทั้งเป็น

  • ขงเบ้งจับเบ้งเฮ็กได้ถึง 6 ครั้ง แต่ปล่อยไปทุกครั้ง เพราะเหตุใด? (นโยบายม้าเจ๊ก)
  • นโยบาย ตียึดเมืองเป็นรอง ครองใจคนเป็นเอก
  • แนวคิด สังหารเบ้งเฮ็กไม่เกิดประโยชน์ รังแต่จะทำให้เรามีศัตรูเพิ่มขึ้น
  • รุกทางความคิด พิชิตใจคน
  • เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

วิเคราะห์ข้อบกพร่องการเป็นผู้นำการบริหารบุคลากรของ อ.ขงเบ้ง

  • อ.ขงเบ้งเป็นอัจฉริยะ หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร
  • อ.ขงเบ้งมีความเชื่อมั่นตนเองสูง มักจะลงมือทำเสียเอง(ยังไม่วางใจในสถานการณ์การเมือง การปกครองภายในเสฉวน)
  • อ.ขงเบ้งตั้งมาตรฐานทุกอย่างไว้สูง ลูกน้องตามไม่ทัน
  • อ.ขงเบ้งไม่ได้สร้างตัวตายตัวแทน
  • อ.ขงเบ้งขาดศิลปของการมอบหมายงาน No Delegation.
  • อ.ขงเบ้งเหมางานไว้ทำคนเดียว แม้ยามออกศึกยังหอบงานฝ่ายบุ๋นฝ่ายขุนนางไปทำ ตรากตรำจนล้มป่วย (การเมือง การปกครองในเสฉวนยังไม่นิ่ง - อาเต๊าอ่อนแอ)
  • อ.ขงเบ้งเลือกที่รักมักที่ชัง?I.e. ม้าเจ๊ก อุยเอี๋ยน เกียงอุย

ความซื่อสัตย์ จงรักภักดี ยึดในคุณธรรมของขงเบ้งเป็นที่สรรเสริญของชาวโลก

  • อ.ขงเบ้งกรำศึก ยกทัพบุกแดนกิสานของวุยก๊กถึง 6 ครั้ง ถ้าไม่มีอำนาจล้นเหลือจริง ๆ คงถูกอภิปรายคว่ำไปนานแล้ว แต่ในฐานะเสิ่นเสี้ยง นายกรัฐมนตรี รัฐบุรุษอาวุโส สูงส่งด้วยภูมิปัญญา ภาพลักษณ์ อย่างนี้จึงไม่มีใครกล้าขัด?
  • อ.ขงเบ้งถวายฎีกาออกศึก แสดงความจงรักภักดีต่อแผ่นดินและต่อพระเจ้าเล่าเสี้ยน คนจีนอ่านแล้วต้องหลั่งน้ำตา
  • อำนาจอยู่ในมือ แต่ขงเบ้งไม่เคยลุแก่อำนาจ และละจากคุณธรรม สัจธรรม
  • แต่ถ้า อ.ขงเบ้ง จูล่ง เกียงอุย ยึดอำนาจการปกครองเสฉวน? อาจจะพลิกเปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์ก็ได้?

ซุนเซ็ก – พี่ชายซุนกวนใช้ความเป็นผู้นำสถาปนารัฐง่อก๊ก

ปรัชญาการใช้คน:-- เมื่อคิดการใหญ่ ต้องเริ่มที่คนการใช้คนนั้น ต้องไม่สงสัย ถ้าระแวงสงสัยใครจะไว้ใจเรา

- ใช้งานเขา แต่ไม่เชื่อถือเขาเท่ากับไว้ใจเขา แต่ไม่วางใจ (ซุนเซ็ก)

หงอก๊กเป็นใหญ่ด้วย อำนาจดิน

ซุนกวน - ผู้นำง่อก๊ก (กังตั๋ง)

นโยบายผู้นำกังตั๋ง:-- ผู้นำไม่ต้องลงมือทำเองทุกเรื่อง ขอเพียง รู้จักใช้คน และผูกใจคนไว้ให้ได้(ซุนกวน)

- ปัญหาของซุนกวนในง่อก๊ก

- ถ้าโจโฉเข้มแข็งให้จับมือเล่าปี่ต้านโจโฉ ถ้าเล่าปีเข้มแข็งจับมือโจโฉต้านเล่าปี่ นโยบายนี้มิเพียงแต่จะช่วยกังตั๋งรอด แต่ยังเป็นหนทางแห่งชัยชนะ (โลซกแนะลิบองก่อนสิ้นใจ)

ความผิดพลาดของ กวนอู - เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ

  • กวนอู - เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ
  • กวนอู CEO ที่กล้าหาญ สัตย์ซื่อ แต่ทรนง และลืมตัว (กล้าหาญ สัตย์ซื่อ แต่ขาดยุทธศาสตร์ กลายเป็นความบ้าบิ่น)

ลูกเสือสาวควรหรือที่จะยกให้แก่ลูกสุนัข (กวนอูหมิ่นซุนกวน)

  • กวนอู ลืมคาถา 8 คนที่ขงเบ้งย้ำนักย้ำหนาก่อนเดินทางไปเสฉวน
  • อำนาจทำให้ ทรนง ลืมตัว นำไปสู่การสูญเสียเกงจิ๋ว - และชีวิต

ความผิดพลาดของ ซุนกวน

  • ท่ามกลางความอลเวง ซุนกวน ทำผิดพลาดครั้งใหญ่ในชีวิต กำจัดกวนอู

(โจโฉห้ามโจเจียงลูกชายตามไล่ซุนกวนไปให้ง่อก๊กฆ่า)

  • การฆ่ากวนอู ทำให้เล่าปี่กับซุนกวน ไม่อาจจะอยู่ร่วมโลกกันได้ ทำให้แผนพันธมิตรของ 2 ก๊กเล็ก เพื่อต่อต้านวุยก๊กสะดุดลงอย่างแรง

จุดจบของคนดีอย่างเล่าปี่

  • เล่าปี่สถาปนาตัวเองเป็นฮ่องเต้ ค.ศ. 221 (พระเจ้าเจี๋ยงบู๋)
  • แนวทางการปกครองเสฉวนแบบ Good Governance ของขงเบ้งกับจูล่ง
  • ในพิธีราชาภิเษก – เล่าปี่ประกาศยกทัพบุกกังตั๋ง ทรงเดินแตกแถวจากนโยบายชาติ
  • ขงเบ้ง(CEO) จูล่ง(กรรมการบริษัท) ทัดทานเต็มกำลัง – แนวคิดขัดผลประโยชน์ชาติ

เมื่อประธานกรรมการเจ้าของบริษัทไม่ฟังเสียง CEO และกรรมการบริษัท

  • เล่าปี่ตั้งลิอิ๋นคานอำนาจขงเบ้ง (แผนบุกง่อก๊กแก้แค้นให้กวนอู) (ลิอิ๋นสอนลูก - เราต้องคล้อยตามผู้นำของอำนาจใหม่ในเสฉวน)
  • ขงเบ้ง จูล่งกับขุนนางส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย (แก้แค้นเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ใช่เรื่องของชาติ)
  • ขงเบ้งเสนอให้เล่าปี่ยกทัพหลวงไปตีวุยก๊ก มอบให้แม่ทัพคนใดคนหนึ่งยกทัพไปตีซุนกวนแทน (เล่าปี่คล้อยตามความคิดนี้ตอนแรก แต่พอเตียวหุยมาร่ำไห้ ลำเลิกถึงคำสาบานก็เปลี่ยนใจ) (คำบริภาษลูกของแม่ชีซี)

สุมาอี้สอนลูก

  • กองทัพที่ชนะโดยมิต้องรบ คือกองทัพเหนือผู้พิชิต
  • ชำระแผ่นดิน สงบความวุ่นวาย รวมแผ่นดินสำเร็จ คือวีรบุรุษแห่งยุค
  • จงชนะใจกับช่วงใช้คนทั้งปวง คือกุญแจ
  • โบราณว่า ชนะใจราษฎร์ เป็นฮ่องเต้ได้

ชนะใจฮ่องเต้ เป็นเจ้าแคว้นได้

ชนะใจเจ้าแคว้น เป็นได้แค่อำมาตย์

ไม่รู้ว่าพวกเจ้าจะสามารถเอาชนะใจใครได้บ้าง

กาลเวลาในยุคของ 3 ก๊ก (2) (โดยสังเขป)

  • การแก่งแย่งช่วงชิงอำนาจการปกครองในบ้านเมืองมีอยู่ตลอดเวลา

- ค.ศ. 263 สุมาเจียว ลูกชายคนรองสุมาอี้บุกจ๊กก๊ก ทำให้จ๊กก๊กล่มสลาย

- ค.ศ. 265 สุมาเอี๋ยน ลูกชายสุมาเจียวบังคับพระเจ้าโจฮวนสละราชสมบัติ สถาปนา

ตัวเองขึ้นเป็นฮ่องเต้

สำรวจสไตล์ผู้นำของตัวเองคุณเป็นผู้จัดการแบบไหน?

นำยุทธศาสตร์สามก๊กมาใช้ในการบริหารได้อย่างไร?

1. นำเอาจุดดี จุดเด่นของผู้นำใน สามก๊ก มาเป็นแบบอย่าง

2. นำเอาจุดเสื่อม จุดด้อย จุดอ่อน ด้านลบของผู้นำใน สามก๊ก มาหลีกเลี่ยงในทำงานของเราเอง

3. ใช้แนวคิดของ 1-2 เข้ามาเสริมเป็นแบบอย่างในการเป็น Charismatic Leadership ของเราเอง

4. บทเรียน เอาน้อยชนะมาก ใน สามก๊ก มาใช้ในการเพิ่มสมรรถภาพการทำงาน และลดต้นทุน

5. วิสัยทัศน์ และการอ่านใจ อ่านคน ใน สามก๊ก

สัจธรรมของชีวิต

คำตอบก็คือ:-NO BODY IS PERFECT! ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ!

ลักษณะของผู้นำในอุดมคติ Ideal Leadership

นำคุณสมบัติของแต่ละคนมารวมกัน

  • ความรอบรู้ ความอัจริยะของ ขงเบ้ง
  • ความอ่อมน้อมถ่อมตน ยึดมั่นในคุณธรรม มนุษยสัมพันธ์ดี อดทน รู้จักระงับอารมณ์ของ เล่าปี่
  • ความสัตย์ซื่อ มีความตั้งใจสูงของ กวนอู
  • เข้มแข็งในวินัย จัดระเบียบเข้มงวด ใจกว้างใจนักเลง รู้จักเลี้ยงคน รักคนเก่งมีฝีมืออย่าง โจโฉ
  • รู้จักมอบหมายงาน สร้างคนใหม่ขึ้นมาทดแทนอย่าง ซุนกวน
  • ความชัดเจนในภารกิจของ เตียวจูล่ง สุภาพบุรุษจากเสียงสาน
  • ความเป็นมืออาชีพของ ตันหลิม กับ หมอเทวดาฮัวโต๋
  • เสนาธิการสายตายาวไกลสูงด้วยจิตวิทยาอย่าง ซุนฮก กุยแก
  • รักชาติยิ่งชีพเยี่ยง จิวยี่ ฮองตง อองลุย ตันสี เตียวเสี้ยน
  • อึด อดทน บากบั่น มานะ พากเพียร ของ ตระกูลสุมาอี้ จนรวบรวมแผ่นดินจีนเป็นเอกภาพได้สำเร็จ

โคลง 7 ก้าว ก้องโลกของโจสิดลูกคนที่ 3 ของโจโฉ

  • โจสิด ทายาทจอมกวีของโจโฉ

คั่วถั่ว ใช้เถาถั่ว เป็นเชื้อเพลิง

ทุกฝักถั่ว โหยร่ำไห้ ในกระทะ

เดิมร่วมราก เกิดจาก พันธุ์เดียวกัน แม่ปรามโจผีอย่าฆ่าน้อง ฮัวหิมยุโจผีฆ่าโจสิด

ใยเร่งรีบ ฆ่าฟัน กันทำไม

โคลง 7 ก้าว ในสำนวนของ Brewitt Taylor และ หลอก้วนจง

They were boiling beans on a beanstalk fire,

Came a plaintive voice from the pot,

O, why, since we sprang from the selfsame root,

Should you kill me with anger hot? (Brewitt Taylor)

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กล่าวถึงวิธีคิดของอาจารย์เจริญค่อนข้างตรงประเด็น ส่วนตัวอาจารย์เองสนใจและชอบการเรียนรู้ตลอดชีวิต

มีความชื่นชมในวัฒนธรรมของจีนมาโดยตลอด ปลูกแตงกวา 3 เดือน ปลูกมะม่วง 3 ปี แต่ปลูกมนุษย์ชั่วชีวิต ต้องใช้ทฤษฎี 3 ต.และต้องใช้เวลา

คนจีนได้ความล้มเหลวความเจ็บปวดจากจักรวรรดินิยม

ผู้นำเหล่านี้ต้องมาแก้ปัญหาเสื้อเหลือง-เสื้อแดง และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันนี้นอกจากได้ประวัติศาสตร์ของประเทศจีน แล้ว

คุณทำงานดีที่สุดหรือยัง เป็นมืออาชีพหรือยัง

ร่วมแสดงความคิดเห็น

  • อยากให้ยกตัวอย่างตัวละครในสามก๊กที่มีตัวอย่างผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรม

ตอบ โจโฉ แต่งชุดไว้ทุกข์ไปฆ่าโตเกี๋ยง เล่าปี่ ป้องกันโตเกี๋ยง คนที่ทำความดีเพื่อความดีโดยไม่อยากสร้างภาพมีน้อยมาก

การช่วยเหลือประเทศชาติไม่จำเป็นต้องรับราชการ แต่ทำอะไรก็ตามให้ทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุดอย่างการดื่มน้ำยังต้องสำนึกถึงต้นทางเลย





โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

http://mcot-web.mcot.net/fm965/site/streaming/id/56b8763c938163671a8b4571#.VrlvgBiLSt8

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 ทาง FM 96.5 MHz


https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/posts/1303240023034784

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/posts/1303345373024249

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/posts/1303916509633802

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/posts/1304020912956695


http://www.gotoknow.org/posts/603295

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 12-26 มีนาคม 2559

http://www.gotoknow.org/posts/604250

ที่มา:FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 29 มีนาคม-12 เมษายน 2559

หมายเลขบันทึก: 600431เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2016 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2016 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

ในการเรียนช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 -5 กุมภาพันธ์ 2559 นอกจากความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังทำให้ผู้เรียนซึมซับความรู้ บทเรียน วิธีคิด แง่คิด วิธีปฏิบัติ ตลอดจนการตัดสินใจ และผลของการตัดสินใจในรูปแบบต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานเช่น บทเรียนเรื่องความคิดสร้างสรรค์เชิงบวก ศึกษาวิธีการคิดนอกกรอบ การคิดแบบ Divergent Thinking & Convergent Thinking ภาวะผู้นำ ความอ่อนน้อมถ่อมตน คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความกล้าหาญ ความสามัคคี การคิด การตัดสินใจ การปฏิบัติตัว ความจงรักภักดี รู้จักอ่านคน รู้ทันคน และวางแผนเกี่ยวกับคน รู้จักการแก้ปัญหามีตัวอย่างการแก้ปัญหาเรื่องต่างๆ ทั้งที่สำเร็จ และไม่สำเร็จได้มุมมองในการคิด และแก้ปัญหา รู้จักวิเคราะห์ส่วนได้เสีย ก่อนจะตัดสินใจทำการรู้จักไหวพริบและสติปัญญาในการบริหารจัดการองค์กร ฯลฯได้ ซึ่งเป็นการจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจผลักดันให้บุคคลากรของมหาวิทยาลัยได้นำความรู้มาปรับใช้ในการสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ มาเพิ่มประสิทธิภาพและทำให้เกิดประสิทธิผลในการพัฒนาคน พัฒนางานและพัฒนาองค์กรและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

การเรียนครั้งที่สองของหลักสูตร แต่เป็นครั้งแรกของการเข้าร่วม หลังจากติดภารกิจในการเรียนครั้งแรก ประทับใจรูปแบบของการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง มีการให้แสดงความคิดเห็นเป็นระยะโดยการกระตุ้นจากวิทยากร มีส่วนของการทำงานในกลุ่มที่ต้องเรียนรู้เรื่องกระบวนการทำงานเป็นทีมที่เป็นไปตามเนื้อหาของครั้งนี้

การเรียนรู้ครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกับทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการทำงานเป็นทีม เรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติและพฤติกรรมของบุคคลแต่ละกลุ่ม การสร้างและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในตัวเองและคนรอบข้าง รวมถึงการสร้างกำลังใจให้ตัวเอง

การเรียนรู้จากหนังสือทำให้ทราบถึงลักษณะพิเศษของกลุ่มคนชาวมหาวิทยาลัยทักษิณ ที่ผู้บริหารสามารถสืบค้นและสนับสนุนให้คนเหล่านั้นรวมกลุ่มกันทำงานเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร รวมถึงการสร้างประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม

ประทับใจการเรียนรู้วิธีการบริหารจาก "สามก๊ก" ที่มีอะไรมากกว่าภาพยนต์หรือตัวหนังสือที่นำเสนอความบันเทิง ยังมีการแฝงไว้ซึ่งข้อคิดต่าง ๆ ซึ่งวิทยากรได้ถอดรหัสให้พวกเราเห็นถึงรูปแบบการบริหารจัดการคน งาน และเมือง หยิบยกจุดเด่น จุดอ่อน ของตัวละครสำคัญ ๆ และสรุปความบทเรียนที่ได้ ทำให้เกิดอรรถรสเพิ่มมากขึ้นหากมีโอกาสไปอ่านหนังสือหรือดูบทละครในโอกาสต่อไป

ในช่วงที่ 2 นี้ ดิฉันประทับใจในความเป็นหัวหน้าทีมและสมาชิกทุกท่านของแต่ทีม รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ของเพื่อนสมาชิกที่เข้าร่วมอบรม ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณคณะวิทยากรทุกท่านเป็นอย่างสูงที่ได้ถ่ายทอดความรู้และเทคนิคเกี่ยวกับ Teamwork และ Creative Leadership ได้อย่างยอดเยี่ยม ในช่วงท้าย ศ.เจริญ วรรธนะสิน บรรยาย สามก๊ก ได้น่าสนใจ และดิฉันประทับใจในบุคลิกภาพและการดูและรักษาสุขภาพของท่านเป็นอย่างย่ิ่ง

สำหรับการร่วมกิจกรรมโครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 - 5 กุมภาพันธ์ 2559) นั้น เป็นโอกาสดีของกระผมเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาตนเองและบุคลิกภาพของการมีโลกทัศน์ความเป็นผู้นำตามตัวแบบแห่งผู้นำสามก๊ก ตลอดจนความสนุกสนานและเทคนิคในการพัฒนาตนเองและพัฒนาความรู้ในมิติของความคิดที่สร้างสรรค์การคิดนอกกรอบ การทำงานเป็นทีม ตลอดจนแนวทางในการดำเนินชีวิตทั้งในชีวิตการทำงานและชีวิตของตนเองที่ท่านวิทยากรได้สอดแทรกองค์ความรู้และแนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างดีเยี่ยม อีกทั้งสามารถนำองค์ความรู้และเทคนิค วิธีการของท่านวิทยากรไปถ่ายทอดและใช้ในการบวนการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี ต้องขอขอบคุณท่านวิทยากรทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

ไดรับความรู้อย่างมากในการบริหารโดยเฉพาะได้ตัวอย่างการจัดการของสามก๊กซึ่งเป็นอีกหนึ่งคัมภีร์การจัดการที่สามารถนำมาใช้จริง ความคาดหวังในการเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารมหาวิทยาลัยทักษิณจึงต้องใช้หลักการบริหารจากหลายๆที่จึงจะสร้างภาวะผู้นำในการบริหารและการตัดสินใจในการพัฒนามหาวิทยาลัยต่อไป

วัลภา คชภักดี เชยบัวแก้ว

การเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 - 5 กุมภาพันธ์ 2559) นั้น มีความเข้าใจถึงเทคนิคและกลวิธีขอวการเป็นผู้นำ การใช้ภาวะความเป็นผู้นำในลักษณะต่างๆของตัวละครในสามก๊ก ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ประกอบกับเทคนิคและแนวทางในการคิดเชิงสร้างสรรค์ที่สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน ตลอดจนการวิจัยเพื่อพัฒนานิสิตและสังคมต่อไป.....

จากการอบรมในช่วงที่ 2 นี้ ทำให้ได้เปิดมุมมองในด้านการทำงานเป็นทีมมากขึ้น ได้ฟัง ได้เห็น และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากทั้งท่านวิทยากร เพื่อนร่วมกลุ่ม และเพื่อนต่างกลุ่ม ทำให้เกิดมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิมซึ่งแม้จะเคยทำงานเป็นทีมและเห็นความสำคัญของทีมงานอยู่แล้ว ทำให้ได้เรียนรู้ถึงการสร้างทีมและการรักษาทีมในมุมที่หลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้การคิดนอกกรอบแต่ไม่หลุดกรอบเพื่อสร้างสรรค์งานให้เกิดมูลค่าเพิ่ม การบริหารคนตามยุทธศาสตร์สามก๊ก ซึ่งเมื่อนำทั้งสามเรื่องมาผูกโยงบูรณาการเข้าด้วยกันแล้วจะช่วยให้เราสามารถทำงานกับทีมได้อย่างมีความสุขและสนุกสนาน นอกจากนี้ยังสามารถนำมาบูรณาการกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ขอขอบคุณทีมงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่นำประสบการณ์ดีๆ มาแบ่งปันค่ะ

จากการได้ร่วมโครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 - 5 กุมภาพันธ์ 2559) ทำให้ได้รับความรู้ทางด้านการบริหาร บทบาทของผู้บริหารในแต่ละบทบาท ได้รู้เทคนิคการทำงานเป็นทีมที่ดี โดยเฉพาะเครื่องมือที่สำคัญของผู้บริหาร คือ การขอบคุณ การขอโทษ การให้อภัย การให้โอกาส กระบวนการทำงานเป็นทีมที่บอกให้เห็นคุณค่าร่วมและวิธีการจะตามมา ตลอดจนวิธีการคิดสร้างสรรค์ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้จริงในการทำงานอีกทั้งวิทยากรยังชวนให้คิดอย่างสนุกสนาน ที่สำคัญการได้รู้กลยุทธ์ต่างๆของสามก็กนับว่าได้ประโชน์อย่างมากในการนำมาปรับใช้ในการทำงานต่อไป สุดท้าย กราบขอบคุณวิทยากรทุกท่านเป็นอย่างสูง ณ โอกาศนี้

จิดาภา สุวรรณฤกษ์

การทำงานเป็นทีม เป็นหัวใจให้การทำงานประสบความสำเร็จ

ประทับใจการเรียนรู้วิธีการบริหารจาก "สามก๊ก" ที่มีอะไรมากกว่าที่คิด อ่านเองมาหลายรอบ เพิ่งจะมาเข้าใจก็ตอนคนเขียนมาอธิบายนี่เอง


ในวันนี้ทำให้ทราบว่า หากเรารู้จักบทบาทของคนในองค์กร เราจะสามารถจัดการองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้ บทบาทที่ได้เรียนรู้ได้แก่ ผู้ให้คำปรึกษา เป็นคนเจ้าความคิด แล้วนำความคิดไปแก้ปัญหาให้คนอื่น ผู้ประสาน เป็นคนช่วยประสาน เร่งเร้าให้คนหลายคนหรือความคิดหลากหลายมาร่วมกันส่งผลให้ดีกว่าเดิมเท่าทวีคูณ ผู้สร้าง ศึกษารายละเอียดแล้วนำมาประกอบใหม่เป็นสิ่งที่ดีกว่าเดิม ผู้ผดุงความเท่าเทียม เป็นผู้ที่ทำให้โลกนี้สมดุล มีจริยธรรม บัญญัติได้ด้วยความถูกต้อง ผู้ทรงอิทธิพล เกี่ยวข้องกับบุคคลาและโน้มน้าวให้คนทำงาน ผู้บุกเบิก มองโลกอย่างเป็นมิตร มีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้น มองโลกในแง่ดี ผู้ให้ เป็นผู้ที่ให้ความสำคัญรับฟังและให้ความช่วยเหลือ ผู้เร่งเร้า เป็นผู้ที่มีคุณภาพ เจ้าภาพ หรือรับผิดชอบต่อความรู้สึกคนอื่นให้ดีขึ้น ผู้สอน พึ่งในศักยภาพผู้อื่น และเรียนรู้ที่ดึงศักยภาพผู้อื่นออกมา เราต้อง Put the right man on the right job .....

ระวีวัฒน์ ไทยเจริญ

การพัฒนาทีมเวิร์คที่สำคัญในหน่วยงานที่มีความหลากหลายของบุคลากรในสายวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศิลปกรรม ศึกษาศาสตร์ นิติศาสตร์ - ในการทำงานที่เป็น Teamwork ค่อนข้างยาก ทั้งนี้แต่ละฝ่ายต้องเปิดใจยอมรับซึ่งกันและกัน การยอมรับความแตกต่าง การมีการ Share Vision ใน Core Value มีกระบวนการ How to – การใช้คนให้เหมาะสมกับงาน เมื่อมีอุปสรรคก็มีการหารือและแก้ปัญหาร่วมกัน

สิ่งที่ได้รับและสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานคือ ประเด็นความสำเร็จของการทำงานเป็นทีม

1. การทำงานเป็นทีมต้องตั้งคุณค่าร่วม ถือเป็นส่ิงสำคัญมากเพราะหากกำหนดคุณค่าร่วมกันจะก่อให้เกิดพลังแห่งการมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของที่แท้จริง

2. การทำงานเป็นทีมต้องคำนำถึงคุณค่าที่ปรากฏ อย่างน้อยต้องมีความเข้าใจว่า "สิ่งที่เราเห็น และสิ่งที่เขาเป็น" ซึ่งเป็นประเด็นนี้จะทำให้สมาชิกในทีมเรียนรู้และเข้าใจซึ่งกันและกัน นำพาไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จได้

วีณา ลีลาประเสริฐศิลป์

การเรียนรู้ถึงคุณลักษณะของบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ การวางคนในงานให้ตรงกับลักษณะส่วนบุคคลนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การทำงานเป็นทีมโดยผสมผสานความสามารถและความถนัดของแต่ละคนเข้าด้วยกันจะทำให้งานบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุด การส่งเสริมการคิดนอกกรอบให้เกิดขึ้นกับบุคลากรในองค์กรเป็นสิ่งที่ดี ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน สนับสนุนให้ทดลองทำ ชี้แนะ ปรับแก้ ก็จะทำให้ค้นพบช่องทางในการทำงานใหม่ๆ และมีประสบผลสำเร็จได้

การเข้าร่วมอบรมในช่วงที่ 2 ได้รับความรู้และวิธีคิดในด้านการคิดนอกกรอบ โดยมีการยกตัวอย่างประกอบอย่างเป็นรูปธรรมให้เห็นถึงการคิดนอกกรอบที่ประสบความสำเร็จ และแนวโน้มของอนาคตอันใกล้นี้ก็ยังให้ความสำคัญกับความคิด แนวคิดและวิธีคินนอกกรอบอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้รับความรู้และความสำคัญของการทำงานเป็นทีม การบริหารคน การบริหารองค์กรให้ทีมสามารถนำพากันไปจนถึงเป้าหมายได้ โดยได้ตัวอย่างในการบริหารคนจากเรื่อง สามก๊ก โดยท่าน ศ.เจริญ วรรธนะสิน ท่านได้บรรยายเรื่องราวการครองใจคน การใช้งานคนให้ถูกต้อง ซึ่งสามารถปรับมาใช้ได้อย่างดี

ในสังคมไทยมักพบว่า team work บ่อยครั้ง ไม่ work สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก สมาชิกในทีมขาดความไว้วางใจ ความเชื่อมั่นในกันและกัน บ่อยครั้งพบว่าทีมงานที่มีบุคลิกลักษณะที่เหมือนกันกลับไม่สามารถพัฒนาการทำงานได้อย่างสร้างสรรค์ ในขณะที่ทีมงานที่มีบุคลิกลักษณะของสมาชิกในทีมที่แตกต่างกัน กลับนำมาซึ่งความขัดแย้งในทางลบมากกว่าความขัดแย้งในทางสร้างสรรค์ สมาชิกในทีมขาดความผูกพันกัน และมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ ไม่สนใจผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น ฯลฯ

การจะสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยหลายๆองค์ประกอบ อาทิ

1)สมาชิกในทีมที่มีความสมดุลในการใช้ IQ EQ MQ SQ ตลอดจนเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลตามแนวทาง DCIS

2)ผู้บริหารทีมงานที่สามารถบริหารจัดการความแตกต่างของสมาชิกในทีมได้ ซึ่งหลักการบริหารคนตามหลัก 3 ก๊ก ทำให้สามารถเข้าใจถึงพฤติกรรม ความคิด ทัศนคติของคนในหลากหลายรูปแบบ และจะทำให้ผู้ที่เป็นผู้บริหารสามารถเลือกใช้คนให้เหมาะกับงาน

3) เป้าหมายของทีม มีเกิดจากการมีส่วนร่วมจากสมาชิกผู้ร่วมทีมทุกคน

4) สิ่งแวดล้อมภายในองค์กรที่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีมอย่างสร้างสรค์ โดยอาจมีการจัดการด้านสถานที่ทำงานให้มีความพร้อม มีส่วนของสโมสร ห้องสันทนาการ หรือจัดกิจกรรมที่มีการปฏิบัติร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีกลุ่มสัมพันธ์ รวมทั้งบรรยากาศภายในที่ทำงานมีความเป็นมิตร และมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

5)ระบบการสื่อสารที่ดี จัดหาอุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัย จัดวางระบบข้อมูลข่าวสารให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงง่าย

การเข้าอบรมในช่วงที่ 2 ได้ความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวกับ การทำงานเป็นทีม แม้ว่าเราเองจะรับรู้และเข้าใจว่า TEAMWORK เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญในการทำงาน แต่ประเด็นที่สำคัญ... จะทำอย่างไรจึงจะนำออกมาใช้ได้โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยทักษิณแห่งนี้.... นับตั้งแต่ระดับหลักสูตร คณะ และมหาวิทยาลัย ประวัติศาสตร์มีไว้เพื่อศึกษา เรียนรู้ และนำมาปรับใช้ บทเรียนสำหรับผู้บริหารจาก "สมก๊ก" เป็นตัวอย่างประวัติศาสตร์ที่ดี สามารถนำมาปรับใช้ในการบริหารจัดการได้ในยุคปัจจุบัน

การอบรมในช่วงที่ 2 ได้รับแนวคิดที่สำคัญสำหรับผู้นำในอนาคต โดยเฉพาะการเข้าใจในความหลากหลายของมนุษย์ และความจำเป็นในการต้องการค้นหาจุดเด่นของตัวเอง บนพื้นฐาน แต่ละบุคคลมีความเก่ง ความถนัด และความชำนาญของตนแตกต่างกัน ทุกคนจำเป็นจะต้องค้นหาจุดเด่นของตัวเองให้เจอ แล้วใช้จุดเด่นนั้นให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง และองค์กรโดยรวม และเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับบุคคลที่มีความแตกต่างกัน

องค์กรจำเป็นจะต้องใช้บุคลิกลักษณะเด่นของผู้นำที่แตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์

  • นักทฤษฎี - ใช้ความฉลาดทางปัญญา คุณธรรม จริยธรรม มีความชัดเจนถูกต้อง ตามกฎ มีเหตุผล ระมัดระวัง เป็นทางการ มีหลักการ ยึดติดกับราย่ละเอียด ไม่ชอบเสี่ยง
  • นักผจญภัย - กล้าตัดสินใจ เข้มแข็ง มุ่งมั่น ชอบการแข่งขัน มีข้อเรียกร้องสูง เป็นอิสระ มั่นใจในตัวเอง ดุดัน ผ่าซาก เอาตัวเองเป็นหลัก ใช้อำนาจ
  • นักกิจกรรม - ชอบเข้าสังคม ช่างคุย เปิดเผย กระตือรือร้น มีพลัง ชักจูงใจผู้อื่น ร่าเริง โวยวายเสียงดัง ไม่ระมัดระวัง ตื่นเต้น รีบร้อน ไม่สนใจเรื่องเวลา
  • นักปฏิบัติ - สงบนิ่ง ระมัดระวัง อดทน เป็นผู้ฟังที่ดี ถ่อมตน เชื่อถือได้ ไม่รับแนวคิดใหม่ ไม่แสดงออก ดื้อเงียบ ไม่แสวงหาการเปลี่ยนแปลง

  • และมีโอกาสได้ศึกษาตัวอย่างบทบาทของผู้นำสามก๊ก ซึ่งจะแต่ละคนมีบุคลิกลักษณะที่แตกต่างกัน มีความจำเป็นในแต่ละสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

    ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม

    สรุปประเด็นโดนใจและการนำไปปรับใช้ในการทำงาน

    จากการเข้ารับการอบรม

    "โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1"

    (Tsu Executives and Leader Development Program for The Future)

    ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์2559

    การพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณนั้น ต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม TEAMWORK สิ่งที่เอาตัวรอดได้มากกว่าคือปัญญาไม่ได้มีแค่ความรู้ เพราะฉะนั้น มหาวิทยาลัยจะอยู่รอดได้ ต้องอาศัยปัญญา ไหวพริบของทีม ระดมความคิดช่วยใช้ปัญญาบวกกับความรู้เพื่อ การพัฒนามหาวิทยาลัย

    ความสำเร็จของการทำงานเป็นทีมนั้นการตั้งคุณค่าร่วมกัน และคุณค่าที่ปรากฏ นั้นคือจะมีสิ่งที่เราเห็น และสิ่งที่เขาเป็น เมื่อมีคุณค่าที่ดีจะทำให้เกิดแรงบันดาลใจ เกิดฝัน เกิดการพัฒนาร่วมกัน เราจะมีมุมมองที่เราไม่เห็นตัวเองเยอะ เราต้องพยายามเปิดใจให้กว้างและรับฟังข้อมูลจากผู้ร่วมทีมการทำงานเป็นทีมก็จะประสบความสำเร็จ

    เราจะตัดสินใจอะไรด้วยคุณค่า ดังนั้นการที่จะวางทีม ในการดูว่าใครมีคุณค่าอย่างไร แล้ววางตามคุณค่าของตัวบุคคลต้องคุยกับบุคคลนั้น และหาคุณค่าที่แท้จริง และต้องยอมรับและให้เกียรติซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นๆรู้สึกว่าตนมีคุณค่า จะทำให้มีพลังในการขับเคลื่อนงานในทีม และเป้าหมายของการทำงานเป็นทีมต้องชัดเจน สามารถพิจารณาดูว่ามหาวิทยาลัยมีจุดเด่นอะไร และชูจุดเด่นขึ้นมาพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับอย่างต่อเนื่อง

    อาจารย์ ดร. ณัฐนันท์ ทองมาก

    สรุปประเด็นระหว่างวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2559

    ในช่วงนี้ได้เรียนรู้ถึงคุณลักษณะของผู้บริหารแบบต่างๆจากเรื่องสามก็กซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานได้ในบางบริบทและการเป็นผู้บริหารนั้นในส่วน Creativity หรือความคิดสร้างสรรค์นั้นมีความสำคัญมากที่จะทำให้การทำงานของเรานั้นมีวิธีการที่หลากหลายในการบริหารจัดการ การทำงานจริงๆแล้วไม่จำเป็นที่จะต้องคิดเฉพาะในกรอบที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดเพียงอย่างเดียว

    และอีกประเด็นคือเรื่องของการทำงานเป็นทีมซึ่งสำคัญมากๆ ในการที่จะทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จซึ่งเราคงจะต้องมาเรียนรู้กันต่อไปเรื่องการทำงานเป็นทีมในบริบทจริงๆ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท