แตกฉานการฝึกทักษะกิจกรรมชีวิต


Best thank for Dr.Kaoru, Dr.Natsuka, and Dr.Peter. ขอบพระคุณในการแลกเปลียนเรียนรู้และการให้ทุนปีละ 2 ทุนแก่นศ.กิจกรรมบำบัดเอเชียไปศึกษาป.โทตั้งแต่ปีหน้าจนถึง 2023 คลิก www.tmu.ac.jp/english เลือก international exchange จะประกาศรายละเอียดเม.ย.นี้

ความสุขเล็กๆที่มองเห็นนศ.เติบโตทางปัญญาและขอบคุณความร่วมแรงร่วมใจในกิจกรรมบำบัดศึกษาสากลเพื่อความสุขอันยิ่งใหญ่แด่ประเทศไทยและญี่ปุ่น

ประทับใจการเติมเต็มคุณค่าของนักกิจกรรมบำบัดคือผู้นำพาทุกคนให้จดจ่อเวลา สถานที่ และสิ่งแวดล้อมแล้วสร้างพลังชีวิตด้วยทักษะแก้ปัญหา...แสดงบทบาทชีวิตใหม่...มีตัวเลือกและโอกาสทดลองปรับเปลี่ยนอนาคตที่มีความหมายกับความสุขทุกช่วงวัยโดยเฉพาะประสบความสำเร็จเมื่อสูงวัย

ขอบพระคุณและยินดีอย่างยิ่งที่นศ.และอจ.กิจกรรมบำบัดของม.มหิดลได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนศ.และอจ.กิจกรรมบำบัดจากต่างประเทศในปีที่แล้วและปีนี้คือ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น ทำให้ผมเองที่สนใจพัฒนากิจกรรมบำบัดศึกษาเชิงระบบได้ตกผลึก "ทักษะการฟื้นคืนสุขภาวะด้วยกิจกรรมการดำเนินชีวิต" ซึ่งเป็นฐานคิดจิตกายให้บูรณาการตามจิตวิญญาณแห่งการเรียนรู้ศักยภาพของตนเองสู่การเปลี่ยนแปลงปัญญาด้วยเมตตาช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมตลอดชีวิต

นศ.ปี 1-2 จำเป็นต้องฝึกฝนทักษะการเรียนรู้ดูคุณค่าและความเชื่อมั่นในสมรรถนะของตนเอง ผ่านการจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกรับรู้สึกนึกคิดจนเข้าใจธรรมชาติแห่งการเรียนรู้ระดับสมองและจิตใจ (Brain & Mind based learning) ดังตัวอย่าง ในประเด็นการสร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดการอารมณ์บวกลบของตนเองและผู้อื่น การสร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจในความสำเร็จในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต และการสร้างสุขภาวะด้วยกิจกรรมบำบัดหรือการพัฒนาปรับเปลี่ยนผ่านการวิเคราะห์สิ่งที่จำเจให้คิดสังเคราะห์นอกกรอบเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ชีวิตให้มีเป้าหมาย บทบาท ความหมาย และความสุข ในรูปแบบใหม่ พร้อมๆกับการตกผลึกความคิดผ่านการฝึกสติสัมปชัญญะด้วยโยนิโสมนสิการ หรือภาษาง่ายๆ คือการฝึกแยบคายหัวใจนักปราชญ์ (สุ จิ ปุ ลิ) ดังตัวอย่าง คือ ฝึกฟังหรืออ่านอย่างใส่ใจ ต่อด้วยคิดใคร่ครวญอย่างเปิดใจ ตั้งคำถามง่ายๆจากข้อสงสัยอย่างมั่นใจ และบันทึกสื่อสารง่ายๆสั่นกระทัดรัดอย่างเข้าใจ ดูตัวอย่างล่าสุด นั่นคือการจัดการเรียนรู้ด้วยการฝึกคิดตกผลึก (Crystallized based Learning)

นศ.ปี 3 จำเป็นต่อยอดจากการฝึกคิดตกผลึกให้ก้าวข้ามสู่การฝึกทักษะการสร้างสรรค์ การสื่อสาร และการสังเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์ทางกิจกรรมบำบัดศึกษา พร้อมกับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถรอบด้านของการมองมนุษย์ สิ่งแวดล้อม กิจกรรมการดำเนินชีวิต และการพัฒนาสมรรถนะให้เกิดสุขภาวะในผู้รับบริการทุกเพศวัยและสภาวะเจ็บป่วยหรือเสริมสร้างป้องกันสุขภาพ ผ่านการจัดการเรียนรูู้ด้วยการทำงาน (Work Performance based Learning) จิตอาสาและการทำงานฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกกิจกรรมบำบัดกับนักกิจกรรมบำบัดที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปีขึ้นไป ดังตัวอย่าง

นศ.ปีสุดท้ายจนถึงตลอดชีวิต จำเป็นต้องขยายการเรียนรู้แบบฝึกงานเต็มตัวหรือ Internship แล้วเน้นกระบวนการเรียนรู้โครงงานและโครงการวิจัย หรือ Project & Research based Learning) เพื่อเพิ่มพูนทักษะการประยุกต์ทั้งนามธรรม (Implication) และรูปธรรม (Application) ผ่านการจัดการความรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย ดังตัวอย่าง และการแสดงทักษะเมตตารับผิดชอบช่วยเหลือสังคม ดังตัวอย่าง

อย่างไรก็ตาม AAR หรือ After Action Review ที่ผมได้เรียนรู้จากคณาจารย์ชาวต่างประเทศทั้งหลายที่เป็นผู้รู้อันยอดเยี่ยมทางกิจกรรมบำบัดสากลด้วยเป้าหมายสูงสุดของ Maslow คือ การรู้แจ้งแห่งตนหรือ Self-Actualization และของกิจกรรมบำบัดศึกษาที่ผมขอเรียกว่า สุขภาวะแห่งการเรียนรู้กิจกรรมตลอดชีวิต หรือ Occupational Well-Learning by Doing, Being, & Becoming (Occupation based Practice, OBP) เมื่อเทียบกับNLP Presuppositions ก็คือ

  • Every behavior has a positive intent in some context. นักกิจกรรมบำบัดควรเข้าหาเพื่อนมนุษย์ด้วยความเข้าใจในความรู้สึกนึกคิดถึง "พลังความสุขความสามารถในการใช้ชีวิตที่ซ่อนอยู่ ที่เป็นบวก และที่มีอยู่ในปัจจุบันขณะ" ผ่านการสื่อสารหาความต้องการที่แท้จริงอิงคุณค่า เป้าหมาย และความหมายในการดำเนินชีวิตผ่านกิจกรรมที่หลากหลายและท้าทายในวันพรุ่งนี้และวันต่อๆไปจนจากโลกนี้อย่างสงบสุข
  • The person or element with the most flexibility in a system will have the most influence. นักกิจกรรมบำบัดควรตั้งใจ เปิดใจ ใส่ใจ เข้าใจ และให้ใจในการเรียนรู้ "ความยืดหยุ่นทางจิตวิญญาณหรือความมีชีวิตชีวาอันงดงามของการใช้ร่างกาย (สมองคิด จิตเบิกบาน สานสุขใจ) ให้สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นมนุษย์ (สังคม) หรือที่ไม่ใช่มนุษย์ (ธรรมชาติหรือนวัตกรรม) รอบตัวเพื่อทำความดีมีสุขสันติแบบปล่อยวาง คือ เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นในการใช้ชีวิตที่ปรับตัวปรับใจแล้วแก้ปัญหาได้อย่างมีตัวเลือก มีโอกาส มีความร่วมมือ และเป็นรูปธรรมตลอดเวลา
  • Possible in the world, possible for me. นักกิจกรรมบำบัดควรตระหนักรู้ ดูสถานการณ์ชีวิตของผู้รับบริการ แล้วชวนให้เกิดการพิจารณาและการเจรจาต่อรองด้วยเหตุผล องค์รวม สร้างสรรค์ และคุณธรรมจริยธรรม (จรรยาบรรณ) เพื่อออกแบบชีวิตที่พัฒนาขึ้นตามความคาดหวังที่เหมาะสมตามบริบทวัน เวลา สถานที่ บุคคล ที่คุ้มค่าท้าทาย (Re-occupying) มิใช่แค่ฟื้นฟูสมรรถภาพ หากแต่เป็นการฟื้นคืนสุขภาวะตลอดช่วงชีวิต (Recovery Rehabilitation) อันประกอบด้วยความเป็นไปได้เสมอในชีวิตหนึ่งบนโลกชาติเกิดนี้
หมายเลขบันทึก: 599865เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2016 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มกราคม 2016 11:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบพระคุณมากครับอ.วินัยน้องรัก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท