ทักษะครูที่จำเป็นในมหาวิทยาลัยความสุข


ขอบพระคุณหัวใจครูจากทีมคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่ตั้งใจ ใส่ใจ ให้ใจ และเข้าใจในการเรียนรู้ฐานสมองและจิตใจสู่การออกแบบกระบวนการเรียนรู้สู่ความสุขแก่ทักษะชีวิตของนศ.แห่งศตวรรษที่ 21

ก่อนอื่นๆ ต้องขอบพระคุณทีมคศน.นำโดยพี่ก่อเขตและกัลยาณมิตรทุกท่านโดยเฉพาะน้องหมอเจี๊ยบที่ชักชวนให้ผมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการผู้นำ 360 องศา ณ คณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ จนตกผลึกบันทึกบทเรียนที่นี่

ต่อยอดด้วยความประทับใจในวิสัยทัศน์ของม.กรุงเทพกับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์จากสหวิชาชีพหลายคณะ และความมุ่งมั่นพัฒนาทักษะการสอนให้สนุกก่อนเปิดเทอม นับเป็นช่วงเวลาเตรียมความพร้อมแก่คณาจารย์ที่ดีเยี่ยม ทุกท่านมีความสนใจและให้ใจเกินร้อยพลังชีวิตชีวาอย่างยิ่งใหญ่

ผมขออนุญาตถอดบทเรียนสำคัญด้วยทักษะคิดเชิงระบบและสร้างสรรค์ได้ 2 ประเด็นดังนี้:-

ประเด็นหนึ่ง: Brain Based Learning คืออะไร

หลังจากการเรียนรู้ฝึกกิจกรรมบำบัด (พัฒนา) ทักษะหัวใจนักปราชญ์กว่า 2 ชม. คณาจารย์ทุกท่านได้สะท้อนความหมายของการเรียนรู้ด้วยฐานสมอง (Hardware) กับฐานจิตใจ (Software) ที่เกิดการเรียนรู้ตาม 3 กลุ่มจริต ได้แก่ จริตทักษะการเรียนรู้ผ่านสมองรับรู้การได้ยิน การมองเห็น และการสัมผัสใจขยับกาย (อุปนิสัย ความถนัดสมอง 40%-มือ 10%-ขา 10%-ตา 40% ความสนใจแต่ยังไม่มีโอกาสทำ และความชอบใส่ใจทำกิจกรรมสมองสองซีก - 20% เกิดจาก 100% ถือเป็นกำไรชีวิตด้านความคิดสร้างสรรค์ เช่น กีฬา ศิลปะ ดนตรี ทำอาหาร ทำสวน ฯลฯ) ดังต่อไปนี้

  • รู้จักการทำงานสมดุลของสมองสองซีกผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลายท่านไม่มีโอกาสได้ทำนอกกรอบคิดและหยุดทำสิ่งที่จำเจเป็นประจำในกรอบด้วยความคิดมากเหตุมากผลจนขาดชีวิตชีวา
  • การท้าทายสมองด้านถนัดทุกส่วนของผู้เรียนด้วยเวลาอันสั้น เช่น การพัฒนาทักษะฟัง/อ่าน/พูด (สุ) คิด (จิ - สำคัญที่สุดกว่าฟัง) ถาม (สงสัยตั้งคำถามที่ดี) เขียน (กระชับและนำไปปรับใช้ได้ทันที) รวมแล้วได้หัวใจนักปราชญ์ (สุ + จิ + ปุ + ลิ) อย่างลุ่มลึกมากกว่าใช้ความจำ พร้อมจัดกลุ่มหลังตรวจแปลผลตัวการ์ตูน DomiKnow

  • การริเริ่มกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก เน้นความต้องการที่ตรงกันระหว่างกระบวนกรกับผู้เรียนให้เรียนรู้ร่วมกันนำสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเปลี่ยนแปลงดูแลตนเองให้เกิดคุณค่ามีทักษะเมตตากรุณาช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม (Active Learning to Transformative Learning)
  • บทบาทผู้สอนเหลือ 20% ผู้เรียน 80% (ตื่นรู้ อยู่ตัว หัวใจงาม เน้นการฟังด้วยหูข้างถนัด สังเกตตอนหลับตาและจับประเด็นเอียงหูหาเสียงกระซิบเพื่อนด้วยอารมณ์บวก มีสติให้เคลื่อนไหวไม่จมอดีตถ้าอารมณ์ลบด้วยหูข้างไม่ถนัด)
  • จัดการวางแผนข้อมูลที่มากมายกระจัดกระจายให้เห็นภาพรวมและเกิดลำดับคิดที่เป็นระบบ (Big Data Management) ผ่านการบันทึกสองส่วน ได้แก่ การใช้ Mind Map หลังการอ่านหนังสือหนึ่งเล่ม (อ่านจากด้านหลังมาด้านหน้า หรืออ่านตรงกลาง แล้วใช้เมจิกสีน้ำเงินตีกรอบที่เป็นประเด็นสำคัญ แล้วใช้เมจิกสีแดงวงตรงคำสำคัญและเนื้อหาใกล้เคียงที่น่าสนใจ) จากนั้นระลึกข้อมูลที่ควรฝึกอ่านวันละ 1 เล่ม (เริ่มจากเปิดดูข้อมูลทีละหนึ่งบทสำคัญไปเรื่อยๆ 21 วันถึง 6 เดือน) สู่การใช้ Excel แปดช่อง (ใช้สีเขียวตีกรอบคิด) และเขียนโจทย์มุมซ้ายบนสุด แล้วใช้เวลา 2 นาทีให้เขียนคำตอบด้วยปากกาสีนำ้เงินในอีก 7 ช่อง แล้วเปิด Mind Map เพื่อนำข้อมูลเติมเต็มด้วยปากกาสีแดง ก็จะได้แผนการสอนสู่กระบวนการเรียนรู้หนึ่งแผ่นกระดาษตามรูป ต่อยอดสู่ 16 ช่อง (4 นาที) และ 32 ช่อง (คำถาม 3 มิติ How, What, When) เวลาอิสระแต่จับเพียงสามประเด็นที่ชัดเจน

ประเด็นสอง: การเรียนรู้บนฐานการจัดโครงการหรือ PBL ต่อยอดและบูรณาการเป็นส่วนหนึ่งของ BBL ผ่านลำดับขั้นตอนดังนี้

  • ละลายพฤติกรรมผ่านกิจกรรม BBL
  • มีตัวเลือกกระตุ้นการใช้สมองและจิตใจให้ตื่นรู้ อยู่ตัว หัวใจงาม ผ่านกิจกรรม BBL เพื่อสร้างแรงจูงใจระดับ Self-Actualization หรือการรับความรู้สึกในสิ่งแวดล้อมได้หลากหลาย (Multi-sensory) และเลือกสื่อการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา เช่น เรียนรู้จากคลิปเสียง (ธรรมชาติ สวดมนต์ ดนตรีสนุก) เรียนรู้จากคลิปภาพวิดีทัศน์ เรียนรู้จากการเดินฝึกตามฐานต่างๆและสะท้อนจิตใจให้ชัดเจน เป็นต้น
  • ระดมสมองและแสดงบทสมมติ เช่น ซ้อมบทสนทนาในการเก็บข้อมูล ซ้อมการสัมภาษณ์เชิงลึก ซ้อมการประเมินความต้องการแก้ปัญหาในชุมชน การทำแผนที่ความคิดให้เห็นสถานการณ์ชีวิตและความสุขในชุมชนต่างๆ การใช้กระบวนการเพื่อนสอนเพื่อนสลับตั้งตอบคำถามจนถึงการถามที่คมชัดปรับจากคำถามที่ซับซ้อน (Reciprocal Teaching) ฯลฯ คลิกเรียนรู้ที่นี่
  • นำแผนการต่างๆ ลงเรียนรู้ในสิ่งแวดล้อมจริงโดยผู้เรียนและกระบวนกร (แนะนำให้ฝึกผู้ช่วยกระบวนกรด้วยการคัดเลือกและจิบน้ำชา/อาหารเบาๆ ด้วยการลงทุนจากผู้เรียนที่เก่งดีมีสุขมาวางแผนเตรียมความพร้อมก่อนได้ ในขณะเดียวกันกระบวนกรทำหน้าที่พี่เลี้ยงให้ผู้เรียนที่ต้องการกระตุ้นภาวะผู้นำและทักษะหัวใจนักปราชญ์อย่างเป็นพิเศษ) แก่นแห่งการวางแผนคือ 5M (Mind, Man, Money, Material/Media, & Method/Management)
  • ถอดบทเรียนขณะหรือหลังเรียนรู้จริงในวันแรกด้วยหลัก 3D คือ

1) Discussion (One Page) ด้วยโจทย์ท้าทายว่า เราจะประเมินผลการเรียนรู้เชิงพฤติกรรมอย่างเป็นรูปธรรมอย่างไร และตอบคำถามนี้ผ่านกิจกรรมการสังเกตและรับฟังอย่างปราณีต ผ่านวิธีการสู่ทักษะสำคัญ 3 ข้อ ได้แก่ 1) Behavioral Observation Skills (อ่าน การฝึกหัวใจนักปราชญ์ระดับแรกที่ผ่านมา) 2) SMART Skills (Self, Motivation, Ability, & Role Transformation) และ 3) Three-way Questionings Skills (ถือเป็น สุ จิ ปุ ลิ ระดับสอง) ประกอบด้วย KISS Keep It Short Simple His/Her Heart; Mind (Mental, Intention, NOW, Decision); Feedback & Reflection

    • Quick response = Sandwiches Feedback ผ่านกิจกรรมการใช้หนึ่งนาทีนำเสนองานกลุ่มหลังจากระดมสมองในกลุ่มต่อหนึ่งโจทย์ใน 5 นาที ทำสองรอบเพื่อเห็นกระบวนการคิดที่นำไปสู่รูปธรรมมากขึ้นแบบ Feedback to Reflection ดูภาพผู้เรียนรู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่น่าประทับใจ
    • Self/Peer/Mentor-assessment = Mirror Reflection for Behavioral Modification in Continuous Quality Improvement ตลอดจนการพัฒนา TREES: Therapeutic Relationship (Rapport), Empathy, Environment, & Skills

2) Doing (Learning by Doing): Needs Assessment & Problem Identification

3) Determination to Satisfaction ด้วยการใช้ Transformative (Rubric) Assessment (Skills Matrix) เพื่อให้เกิดการใช้สมองสองซีก คือ ซีกซ้ายเน้นวิเคราะห์ข้อมูลกับซีกขวาเน้นสร้างสรรค์ข้อมูล ผ่านการใช้ตา-มือ-ขา ในร่างกายข้างตรงข้าม


หมายเลขบันทึก: 599283เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2016 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มกราคม 2016 23:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

I looked at pictures and thought 'are we going into a classroom with aircond, projector, ... mindmap and excel?'

I think most classroom in Thailand will be quite different --some 100 years behind in fittings and perhaps 30 years behind in technological applications. I ask if this 'teaching room' for our next gen children to learn in?

น่าตื่นเต้น กับรูปแบบการเรียนรู้มาก ๆ ครับอาจารย์ สวัสดีปีใหม่นะครับ

ขอบพระคุณมากครับและสวัสดีปีใหม่คุณทิมดาบครับผม

Thank you so much Khun SR, here I was invited for teaching how to do brain to project based learning in the real life situations (social labs) out of the high tech classroom. The future classrooms will be utilized in some coaching simulations prior to the social labs, but those will be modified into varies of movable tables and chairs not fixed the technological applications. However, the most important teaching and learning approaches are how to align those expected learning outcomes in relation with the alternative assessments of attitude, knowledge, and skills of life and wellness in teachers and students.

ขอบพระคุณมากครับคุณพี่โอ๋ อาจารย์ต้น และคุณ 2 เมษา

ตามมาเรียนรู้ครับ

ละเอียดมาก

ฝาก project based ด้วยครับ

http://co1la8ji.gotoknow.org/assets/media/files/00...

บทความเรื่อง โครงงานภาษาอังกฤษ ( Project Work in English):อีก ๑ ทางเลือกของการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ วารสารวิชาการปีที่ 9 ฉบับที่ 4 ธันวาคม 2549 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ISSN 1513-0096..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/user/khajitfoythong/profile

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท