ฝึกทักษะครูผู้เรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21


ขอบพระคุณคุณหมอเจี๊ยบและทีมพี่น้องคศน.ทุกท่านที่ให้โอกาสผมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันเสาร์ที่ 21 พ.ย. 2558 ด้วยความแยกคายในการถอดบทเรียนการเปลี่ยนแปลงทักษะความเป็นครูและผู้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาในช่วงภาคเรียนที่ผ่านมา...ขอบพระคุณนักศึกษาและอาจารย์ทุกท่านครับผม

ผมเคยทดลองทุกกระบวนการของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก คลิกอ่านทบทวนบทเรียนที่นี่ จนถึงการตกผลึกความคิดทดลองใช้การบรรยายเชิงปฏิสัมพันธ์ และผมก็กำลังจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกัลยาณมิตรคศน. ณ ม.กรุงเทพ คลิกอ่านถอดบทเรียนที่นี่

อ.ไพฑูรย์ย่ำว่า ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นผลผลิตตะวันตก เราจะฝึกทักษะนี้เพียง 7 ประการในเด็กไทยได้ชัดเจนมิให้กลายเป็นผู้ซื้อผลผลิตตะวันตกมากเกินพอดี

ทักษะหนึ่ง เน้นการเรียนรู้ความสัมพันธ์รอบตัวนศ.แล้วดึงประเด็นที่เชื่อมโยงกับหัวข้อสอนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการตั้งคำถามจนเกิดการตอบโจทย์ที่เป็นรูปธรรมผ่านการเขียนแผนผังความสัมพันธ์ การเขียนกระบวนการรู้คิด และการแสดงบทบาทสมมติ ที่น่าสนใจระหว่างนศ.ปี 2 ภาพบน กับ นศ.ปี 3 ภาพล่าง เมื่อตั้งโจทย์ที่เชื่อมโยงกันก็สามารถเปิดโอกาสประเมินทักษะคิดที่แยบคายขึ้นแล้วเพิ่มโอกาสการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามชั้นปีและข้ามรายวิชาที่มีการตั้งผลลัพธ์ทางการเรียนรู้เหมือนกันหรือต่อยอดได้

ทักษะสอง เน้นการเรียนรู้การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ วิเคราะห์เหตุผลของโครงการวิจัยสากล แล้วคิดให้แตกฉานว่าจะดึงความรู้อะไรที่จะต่อยอดและประยุกต์ได้ในกรณีศึกษาในชุมชนที่ต้องลงมือฝึกให้บริการทางกิจกรรมบำบัดโดยจับคู่ต่อหนึ่งรายผู้สูงอายุที่บ้านรวม 4 ครั้ง แล้วนำมาประชุมกรณีศึกษาอย่างไม่ทางการทุกครั้ง เรียนร่วมกันรายวิชาการให้เหตุผลทางคลินิก รายวิชาชุมชน รายวิชาสัมมนา และรายวิชาผู้สูงอายุ

ทักษะสาม เน้นการเรียนรู้แบบบรรยายเชิงปฏิสัมพันธ์ผ่านการลงมือทำกิจกรรมวาดแผนที่ความคิดกับโจทย์ นักกายภาพบำบัดจะเพิ่มสุขภาวะคนไทยอย่างไร แล้วระดมสมองพร้อมฟังความคิดเห็นจากอาจารย์กระบวนกรแยกกลุ่มย่อย จากนั้นทำงานให้คิดตกผลึกออกมาเป็นแผนที่ความคิดขนาดใหญ่ ตามด้วยการนำเสนอด้วยละครสื่อสารภาษากายให้เพื่อนๆเข้าใจและเรียนรู้สะท้อนความคิดเห็นให้ตรงกัน

ทักษะสี่ นศ.ปี 3 ไม่เคยลงคลินิกเห็นเคสจริง ให้อจ.ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศมาสรุปบทเรียนและความคิดเห็นสะท้อนจากการสังเกตการวิจัย (ระดมสมองคิดเหตุและผลของการตอบโจทย์) ลงมือทำงานเป็นทีมในเวลาที่จำกัดแบบวางแผนให้เกิดผลผลิตตามการจัดการโครงการตอบโจทย์ที่ว่า ทำอย่างไรจะเปลี่ยนกระดาษให้เป็นกระต่ายกับคนในรูปแบบที่หลากหลายและไม่เกิดทำมาก่อนในชีวิต

ทักษะห้า ต่อยอดจากทักษะสี่ ด้วยการตั้งคำถามที่ว่า ใครชอบพับกระดาษมาตั้งแต่เด็ก ต่อด้วยใครชอบพับและชอบสอนและอยากอาสามาสอนเพือนๆพับกระดาษในเวลา 20 นาที เมื่อหมดเวลาก็ให้เพื่อนๆสะท้อนว่าเกิดปัญหาอะไร แล้วตั้งคำถามใหม่ว่า จะแก้ไขปัญหาในการสอนให้เพื่อนๆทุกคนเข้าใจและสุขใจได้อย่างไร ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงจากอาสา 1 คน ก็เพิ่มเป็นแยก 4 กลุ่มย่อยเอง แล้วอาจารย์ก็ทำการทบทวนถอดบทเรียนหลังทำกิจกรรม

ทักษะหก การตั้งผลลัพธ์ในรายวิชาการให้เหตุผลทางคลินิกกับรายวิชาการสัมมนาเพื่อให้นศ.ปี 4 พร้อมต่อการพัฒนาทักษะสื่อสารศาสตร์และศิลป์อย่างมั่นใจให้เกิดคุณภาพเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ด้วยการประชุมกรณีศึกษา การสัมมนากับอาจารย์และเพือนๆ การเสวนาประเด็นสำคัญ การใช้ละครสื่อสารสาธารณะ และการแปลความรู้ในแบบนิทรรศการแนะแนวนักเรียน

ทักษะสุดท้าย การคิดแยบคายให้มีเนื่อหาสาระการเรียนรู้ไม่เกิน 5 ประเด็นพร้อมทำ Fact Sheet 1 หน้าหรือ Powerpoint ไม่เกิน 5 สไลด์แล้วให้นศ.ทำห้องเรียนกลับด้านให้ค้นคว้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นทีม สร้างคำถามและคำตอบในทีมพร้อมตั้งอจ.เป็นผู้สังเกตการณ์ โค้ช/ผู้ฝึกสอน (หากมีการตั้งคำถามได้ดี ถ้าตั้งคำถามไม่ดี...อจ.ก็ตั้งคำถามทวนกลับไปกลับมา) และผู้ประเมินผลการเปลี่ยนแปลงทักษะรับผิดชอบด้วยการแสดงความดีช่วยคิด-ฟัง-พูด-อ่าน-เขียน-การสอนเพื่อนผ่านละคร และการทำกิจกรรมที่ใช้จิตใต้สำนึกและการใช้สมองให้มีการขยับร่างกายให้พร้อมกับด้วย Sensing หรือใช้ความรู้สึกตามสัญชาตญาณเพื่อนมนุษย์ คือ มีสติสัมปชัญญะตืนรู้ อยู่ตัวรับรู้คิดเปิดใจ และมีหัวใจงามเรียนรู้ระหว่างภายในการทบทวนตัวเองกับภายนอกเชื่อมเพื่อนๆ การทำกิจกรรม การสื่อสารกับอจ.-เพือ่นๆ ที่ต่างเป็นผู่้เรียนด้วยกันในชั้นเรียน เกิดการหยุดพัก ทบทวนตัวเองด้วยความเงียบ ทำสมาธิ ขยับกายใช้ความคิดน้อยๆ เน้นความรู้สึกแบบนี้เป็นช่วงๆ จบด้วยการสาธิต การสะท้อนคิด และการสรุปบทเรียนแบบเชือมคุณธรรมจริยธรรมด้วยจิตวิทยาเชิงบวกและประสบการณ์ชีวิตดีงามของผู้เรียนทุกคน (ครู/อจ.ไม่ทำหน้าที่บรรยาย แต่เป็นผู้เรียน พี่เลี้ยง และเพื่อนร่วมกันกับนศ.)

หมายเลขบันทึก: 597531เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2015 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2015 09:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เยี่ยมมากเลยครับน้อง Dr. Pop

ได้ทักษะใน 21 century skills มากเลย

กำลังอบรมให้ครูทำอยู่เหมือนกันครับ


ขยันฝุดๆ นะครับน้องชายเรา อ.ดร.ป๊อบ

ขอบคุณพี่ป๊อบค่ะ เป็นหนึ่งวันที่ได้เรียนรู้เยอะมาก

ขอบพระคุณพี่ขจิต พี่ณัฐพัชร์ คุณหมอน้องเจี๊ยบ และคุณพ.แจ่มจำรัส ที่สร้างความคิดตกผลึกการเรียนรู้เพื่อสุขภาวะทางการศึกษาไทยมากขึ้นครับผม

ขอบพระคุณมากครับอาจารย์วินัย คุณเพชรน้ำหนึ่ง และพี่โอ๋

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท