ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูPBL2_กระจกเงาโค้ง_กลุ่มที่1


เรื่อง กระจกเงาโค้ง

สวัดสดีครับ วันนี้ได้นำข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลจากการเรียนการสอนนักเรียนห้อง ม.5 ครับ สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้เรื่อง กระจกเงาโค้ง

โดยรายละเอียดมีดังนี้

"ให้นักเรียนทำอย่างไรก็ได้ ที่จะรัศมีความโค้งของกระจากเว้าโค้งซึ่งอยู่ในภาพด้านล้าง"

โดยอุปกรณ์ที่กำหนดให้เบื้องต้นมีอยู่ในภาพ

สำหรับห้องมีได้แบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่มๆละประมาณ 4-5 คน ซึ่งหลังจากทำกิจกรรมต่างๆ แล้วจะมีกระดาษบรู๊ฟเพื่อให้นักเรียนได้เตรียมตัวนำเสนอในวิธีการแก้ปัญหาและให้ครูได้ตัดสินใจเลือกกลุ่มที่คิดว่าประสบความสำเร็จมากที่สุด 2 กลุ่มในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน

สำหรับผลการประเมินความสามารถในการแก้ปัญหามีดังนี้

กลุ่มที่ 1

ตอนที่ 1 ประเมินความเข้าใจปัญหา

(1) รู้องค์ประกอบปัญหา : ได้ 3 คะแนน สิ่งที่นักเรียนแสดงออกมาคือ มีการวางแผน โดยการจดสิ่งที่ได้คิดลงในกระดาษที่สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน

และมีการกำหนดว่าจะวัดตัวใดบ้าง ก่อนเริ่มทำกิจกรรม

(2) กำหนดความรู้ที่ต้องใช้ : ได้ 3 คะแนน สิ่งที่นักเรียนแสดงออกมาคือ มีการใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหา และความรู้ที่ใช้เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์สามเหลี่ยมของพีทาโกรัสและรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายที่ต้องการรู้กับสิ่งที่ต้องการวัด

(3) ตั้งสมมติฐาน : ได้ 0 คะแนน สิ่งที่นักเรียนแสดงออกมาคือ ยังไม่มีการตั้งสมมติฐานใดๆ


ตอนที่ 2 วางแผน

(1) วางแผน : ได้ 3 คะแนน สิ่งที่นักเรียนแสดงออกมาคือ มีการระบุหน้าที่ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม และรู้หน้าที่ของอุปกรณ์แต่ละตัวว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง

(2) การรวบรวมข้อมูล : ได้ 2 คะแนน สิ่งที่นักเรียนแสดงออกมาคือ สามารถหาข้อมูลได้จากอินเทอร์เน็ต และข้อมูลเหล่านั้นมีความตรงต่อความต้องการ


ตอนที่ 3 ทำตามแผน

(1) ทำตามแผน : ได้ 2 คะแนน สิ่งที่นักเรียนแสดงออกมาคือ มีการทำตามแผนที่ได้ว่างไว้ ว่าจะสามารถวัดตัวแปรไหนบ้าง แต่ความละเอียดของการเก็บข้อมูลยังไม่ชัดเจนและทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน

(2) ผลงาน : ได้ 2 คะแนน สิ่งที่นักเรียนแสดงออกมาคือ ผลงานถือว่าออกมาดี มีค่าใกล้เคียงกับ แต่งยังขาดความละเอียดในการวัดข้อมูล เลยทำให้ค่าที่ได้คลาดเคลื่อนจากเดิมเล็กน้อย

(3) บันทึกผล : ได้ 2 คะแนน สิ่งที่นักเรียนแสดงออกมาคือ ยังบันทึกผลไม่ละเอียดเพียงพอ แต่มีการระบุหน่วย

(4) การคำนวณ : ได้ 3 คะแนน สิ่งที่นักเรียนแสดงออกมาคือ ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในการคำนวณหาคำตอบที่ต้องการ แต่ยังไม่มีการวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนของผล


ตอนที่ 4 สรุปและประเมินผล

สรุปและประเมินผล : ได้ 0 คะแนน สิ่งที่นักเรียนแสดงออกมาคือ ยังไม่มีการสรุปและวิเคราะห์หาผลความคลาดเคลื่อนสำหรับผลการประเมินความสามารถในการแก้ปัญหามีดังนี้


*ครั้งหน้าจะนำข้อมูลของกลุ่มอื่นมาเขียนลงครับ*

*ขอบคุณที่อ่านจนจบ*

คำสำคัญ (Tags): #pbl
หมายเลขบันทึก: 599276เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2016 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มกราคม 2016 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท