บรรยายให้ตื่นตัว ปฏิบัติให้ตื่นใจ


แปลความรู้สู่การเปลี่ยนแปลงชั้นเรียนกิจกรรมบำบัดศึกษาหัวข้อ การให้เหตุผลทางคลินิกในการเขียน SOAP NOTE ขอขอบพระคุณอ.เดียร์ อ.โหน่ง นศ.กิจกรรมบำบัดปี 2 และจิตวิญญาณของตัวเองที่ใช้ Reoccupying ในเวลาและสถานที่ได้คุ้มค่าตามเป้าหมายให้นศ.เข้าใจให้ตระหนักการฝึกหัวใจนักปราชญ์ก่อนการสังเกตในคลินิกจริง

เมื่อวันพฤหัสที่ 21 ม.ค. 59 ผมได้ทำหน้าที่ "ครูพี่เลี้ยงของอ.เดียร์และครูฝึกสอนหรือโค้ชนศ.พร้อมอ.เดียร์กับอ.โหน่ง พร้อมๆกับวิจัยหรือคิดเชิงระบบเพื่อการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ตื่นรู้ อยู่ตัว หัวใจงาม หรือนิยามที่ผมตั้งไว้ให้กับ Active Learning การเรียนรู้เชิงรุกอันมีชีวิตชีวา แล้วต่อยอดติดตามด้วยกระบวนการประเมินผลให้เห็นการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงหรือ Transformative Learning ตามวัตถุประสงค์ของรายวิชาที่สอดคล้องกับหลักสูตรกิจกรรมบำบัด ม.มหิดล" จึงขอแปลความรู้ที่ได้รับสู่บันทึกนี้เพื่อเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ร่วมกับการอ้างอิงถอดบทเรียนมาจากเวปไซด์ที่นี่ [Acknowledgement of citation from The Starting Point project, granted by the NSF National Science Digital Library program linked with Science Education Resource Center Carleton College]

เวลา 9.00-11.00 น. (2 ชม.) กระบวนการที่ใช้คือ Think-Pair-Share & Concept Test (8-Excel one-minute write) ผมชวนอ.เดียร์ ผู้ที่ได้ทำการสอนนศ.โดยให้ศึกษาคลิปนี้ แล้วบันทึกสิ่งที่สังเกต รู้สึก รับรู้ และเรียนรู้ได้ในรูปแบบ SOAP NOTE หรือ Subjective, Objective, Assessment, & Plan/Progression แล้วทำเป็นงานส่งในชั้นเรียน (Work based Learning) มาพิจารณาผลงานของนศ.ก็พบว่า ยังมีนศ.จำนวนเกินกว่า 50% ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ ผมจึงทดลองให้อ.เดียร์เขียน SOAP NOTE ให้ผมด้วยตนเอง แล้วลองเล่าให้ฟังในสิ่งที่เขียน จากนั้นผมก็ใช้เทคนิคจิตใต้สำนึก I, You, & We หรือการจดจ่อใส่ใจในการคิดใคร่ครวญก่อนเขียน SOAP NOTE แบบรู้ตัวเอง รู้ผู้อื่น (ตัวผู้บำบัดและผู้รับบริการในคลิป) และรู้เรา (กระบวนกิจกรรมบำบัดในคลิป) ต่อด้วยการต่อยอดความคิดด้วยการวิเคราะห์สิ่งที่เขียนให้สะท้อนกระบวนการตกผลึกโดยอิงกิจกรรมการดำเนินชีวิต เราจึงได้ "ชุดสื่อการสอน SOAP NOTE ที่นับเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้กิจกรรมบำบัดศึกษาที่เป็นรูปธรรมและพร้อมต่อการสอนในเวลา 11.00 น. ดังรูป

เวลา 11.00-12.00 น. (1 ชม.) กระบวนการที่ใช้คือ Question of the Day, Skeleton Notes in Groups, & Demonstrations เราพบว่า นศ.อีกกว่า 40% ยังไม่เข้าใจถ่องแท้และดูอ่อนล้าจนทำให้อารมณ์ร่วมในห้องเรียนดูไร้ชีวิตชีวา

เวลา 13.00-15.00 น. (2 ชม.) กระบวนการที่ใช้คือ Concept Test in Groups (NLP Chucking), Role Playing in Pair (NLP Visual Access Cues & Drama Communication) เราพบว่านศ.มีความตื่นตัวตื่นใจและใส่ใจในการเรียนรู้ SOAP NOTE ได้เข้าใจมากขึ้นรวมมากกว่า 70%

เวลา 15.00-16.00 น. (1 ชม.) กระบวนการที่ใช้คือ Simulation (Drama Communication) เชื่อมโยงกับ Experiment นอกห้องเรียน โดยนศ.ได้ใช้เวลาใน 1 วันกับการเรียนรู้กิจกรรมการดำเนินชีวิตเพื่อสังเกตตนและกัลยาณมิตรในโซนมาลองทำกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจจากงานคนไทยขอมือหน่อยในวันที่ 14 ม.ค. 59 ทำให้นศ.ได้ทำความเข้าใจ 100%

และอจ.ได้แจกรายงาน SOAP จากงานการสังเกตในงานคนไทยขอมือหน่อย คืนกลับไปให้คู่นศ.ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดึงกระบวนการคิดเป็นระบบในวันนี้ไปตรวจทานแก้ไขด้วยหมึกแดงในงานของเพื่อนแล้วส่งคืนผมใน 1 อาทิตย์เพื่อตรวจสอบกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงทักษะการบันทึก SOAP NOTE ที่เป็นรูปธรรมแท้จริง

AAR - After Action Review (NLP Presuppositions) ของผมสำหรับการเรียนรู้ในบันทึกนี้คือ "You cannot not communicate."



หมายเลขบันทึก: 599863เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2016 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มกราคม 2016 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ทำให้ผมเริ่มค่อยๆเข้าใจแล้วว่า ทุกๆอย่างมีความเชื่อมโยง รอยเรียง และมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง สุดยอดอีกหนึ่งประสบการณ์ครับ...ขอบพระคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท