การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาสู่การเปลี่ยนแปลงยุคใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


ผมได้รับเกียรติให้มาบรรยายหัวข้อ การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาสู่การเปลี่ยนแปลงยุคใหม่ ให้กับผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ผู้สอนระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 40 ท่าน โดยมีวัตถประสงค์เพื่อพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถ ในการบริหารงานอุดมศึกษาและเป็นกำลังขับเคลื่อนในการบริหารงานบัณฑิตศึกษาและมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลต่อภาครวมในความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยในอนาคต

ผมขอใช้ Blog นี้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 598711เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2015 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ธันวาคม 2015 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ทีมงาน Chiraacademy

การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาสู่การเปลี่ยนแปลงยุคใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ผมได้รับเกียรติให้มาบรรยายหัวข้อ การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาสู่การเปลี่ยนแปลงยุคใหม่ ให้กับผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ผู้สอนระดับบัณฑิตศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 40 ท่าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถ ในการบริหารงานอุดมศึกษาและเป็นกำลังขับเคลื่อนในการบริหารงานบัณฑิตศึกษาและมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลต่อภาครวมในความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยในอนาคต

อ.จีระ : สิ่งแรกที่จะให้ทำคือ การค้นหาตัวเอง เชื่อมโยงกับบุคคลภายนอกด้วย เป็น Digital และ เครื่องมือต่างๆ ด้วย เดินต่อไปและกระเด้ง ไม่ต้องทำเยอะ แต่ขอให้ทำอย่างต่อเนื่อง เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำปรากฏการณ์ที่ มรภ.นครปฐม และทำอย่างต่อเนื่อง

วันนี้ขอให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยใช้ทฤษฎี 4L's มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี ได้วิธีการเรียนคือการกระตุ้นในการเรียน โดยการทำ Workshop และเกิดโอกาสการเรียนรู้ และนำไปสร้าง Network ทั้งหมดคือ Learning Community

ขอให้พูดถึงความคาดหวัง ของแต่ละท่าน

อ.วิศิษฎ์ : เจออาจารย์จีระ เป็นครั้งที่ 2 อยากได้ต่อยอดจากครั้งที่แล้ว จากท่านอ.

อ.สุพจน์ : เจอเป็นครั้งที่ 2 ต่อยอดจากครั้งก่อน

อ.หรรษา : สวนสุนันทา รุ่นที่ 1 สอนเรื่องการจัดการ การบริหารจัดการในชุมชน กองทุนหมู่บ้าน

อ.จีระ : ดีใจที่ได้มาพบกันอีกครับ

สอนวิชาอาเซียนศึกษา จะได้ความรู้เรื่องภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อไปปรับ

สอนวิชาวิทยาศาสตร์

อ.จีระ : ผมสอนให้คณะแพทยศาสตร์ ได้นำคณะม.อ. ไปสอนเด็กที่เทพศิรินทร์

อ.วิไลลักษณ์ : สอนภาษาอังกฤษ อยากได้ความรู้ทางการบริหาร เพิ่มขึ้น จะได้รับความรู้จากอาจารย์เพิ่มขึ้น

อ.ใกล้รุ่ง : มาเป็นครั้งที่ 2 แนะนำเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายด้านไอที แนะนำเรื่องหาเครือข่าย ให้มีความหลากหลาย และแชร์ข้อมูลร่วมกัน

แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่อง มาฟังความคิดเห็นของท่าน อย่าเก่งคนเดียว ต้องรวมพลังกันถึงจะสำเร็จ เครือข่ายของราชภัฏต้องร่วมกัน การขยายพลังจริยธรรมไปในแนวราบ

อ.จันทนา : ฟังหรือ อยากทำต่อ เรามีความรับผิดชอบในการทำงาน ขอบพระคุณที่มาในวันนี้

อ.จีระ : อยากมาเป็นแนวร่วมกับท่าน มาเพื่อฟังและร่วมกันทำต่อ อย่าหยุดเรียนรู้ ต้องกระตุ้นให้คิดร่วมกัน ค่อยๆซึมในการเปลี่ยนวัฒนธรรมแบบเดิมๆ ให้ปรับเปลี่ยนไปในสิ่งที่ดีขึ้น

อ.เบญจรัตน์ : สาขาบรรณรักษ์ มาครั้งที่ 2 เพื่อเติมความรู้ เพิ่มขึ้น

รองอธิการบดี : เราควรทำความเข้าใจ ในจุดมุ่งหมาย โอกาส ที่ท่านอ.จีระให้โอกาส เราควรหยิบยื่นให้มากที่สุด ลงมือปฏิบัติ และแสดงความคิดออกมา เป็นวิธีการที่ดีมาก

อ.จีระ : พัฒนาคน เก็บเกี่ยว เอาความเป็นเลิศออกมา เอาชนะอุปสรรคให้ได้ ข้ามเล็กๆ ไปก่อน อย่ารีบข้ามแล้วตายกลางคัน

อ.พิชญ์ภูรี : ในการสร้างผู้นำ ต้องมีอยู่ในตัวเองด้วย มีเวลาหาข้อมูลข่าวสารในการนำไปสร้างผู้นำอย่างต่อเนื่อง มีเรื่องทุนมนุษย์เพื่อสร้างภาวะผู้นำ

อ.จีระ : ไม่ว่าจะไปลิงก์กับใคร เราต้องมีการให้เกียรติกัน เห็นศักดิ์ศรีของมนุษย์

อ.พิชญ์ภูรี : ผู้ประกอบการ การมีภาวะผู้ประกอบการ ทำราชภัฏให้มีชื่อเสียง ชนะเล็กๆ ภาวะผู้นำที่ต้องมีคือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง

อ.จีระ : ชนะเล็กๆ ก่อน อย่าทำใหญ่ๆเลยจะไม่ชนะ ค่อยๆขึ้นไป ขึ้นช้าๆก่อน

Trust คืออะไร? มีหลายคำจำกัดความ..แต่ในความเห็นของผมน่าจะแปลว่าคนในองค์กร/ชุมชน/สังคมเชื่อมั่น ศรัทธาและพึ่งพาในการกระทำในช่วงวิกฤติ และช่วงปกติที่จะนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน และคนในองค์กร/ชุมชน/สังคมมีความสุข

John Kotter ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Leading Change พูดถึง กลยุทธ์ในการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง 8 ขั้นตอน โดยถือเป็นภาระของผู้นำที่จะต้องกระตุ้นองค์การให้เปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • สร้างความรู้สึกถึงตระหนักถึงความจำเป็น สร้างความรู้สึกกระตือรือร้น และเร่งด่วนที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร (Establishing a sense of urgency)
  • การรวมกลุ่มที่มีพลังมากพอที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (Forming a powerful guiding coalition)
  • สร้างวิสัยทัศน์ (Creating a vision)
  • การสื่อสารและถ่ายทอดวิสัยทัศน์ (Communicating the vision)
  • การให้อำนาจ และทำให้คนในองค์กรดำเนินการตามวิสัยทัศน์ (Empowering others to act on the vision)
  • การวางแผนเพื่อให้เกิดความสำเร็จในระยะสั้น (Planning for and creating short-term wins)
  • ประมวลการปรับปรุงเหล่านี้ให้ครบถ้วน (Consolidating Improvements and Producing Still More Change)

ปลูกฝังวิธีใหม่ในองค์การให้คงอยู่ (Institutionalizing new approaches)

กฎเกณฑ์ 7 Cs from Change

1. Complexity

2. Clarity

3. Confidence

4. Creativity

5. Commitment

6. Consolidation

7. Change

Principle 5 ข้อของ leaders กับ Change

1. แต่ละคนมีความรู้สึกเรื่อง Change แตกต่างกัน

2. ต้องศึกษาความต้องการของแต่ละคนเกี่ยวกับ Change

3. Change กับ Loss ไปด้วยกัน ศึกษาให้ดีว่าจะต้องจัดการกับ loss อย่างไร

4. การคาดหวัง Expectation ต้องบริหารให้ดี

5. ต้องบริหาร Fear หรือความกลัวให้ได้

มีการคาดหวังในการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

Rules of Leadership (Nelson Mandela)

คุณสมบัติของผู้นำตามแนวทางของ Mandela

1.กล้าหาญ

2. ต้องรุกได้ แต่ต้องตั้งรับ และไม่ประมาท

3. การนำอยู่ข้างหลัง จะต้องแน่ใจว่า คนที่เรายกย่องให้มีบทบาทอยู่ข้างหน้า ต้องให้เขามีความรู้สึกว่า เขาได้นำอย่างน่าภูมิใจ และสมศักดิ์ศรี

4. ถ้าจะจัดการบริหารศัตรู ต้องรู้จักศัตรูให้ดี

5. การจะอยู่อย่างผู้นำควรใกล้ชิดกับเพื่อน แต่กับคู่แข่ง หรือคนที่เราไม่ชอบ ต้องใกล้ชิดมากกว่า

6. มีภาพลักษณ์ที่ดี ต้องปรากฏตัวตามที่ต่าง ๆ อย่างมีเกียรติและสง่างามเสมอ

7. ไม่เน้น ถูกหรือผิด แบบ 100% หรือ ขาวหรือดำ 100% มีการประนีประนอมที่เหมาะสม แต่รักษาหลักการไว้ และหาทางตกลงกันได้แบบ Win - Win

8. รู้ว่าจังหวะไหน จะ "พอ" หรือ จะ "ถอย"

เพื่อที่จะเอาชนะอุปสรรคไปสู่ความสำเร็จลองศึกษา ตัวอย่างเรื่องภาวะผู้นำ ของ Peter Drucker & Dr.Chira Hongladarom

1. Crisis management การจัดการภาวะวิกฤต

2. Anticipate change การมีส่วนร่วมในความเปลี่ยนแปลง

3. Motivate others to be excellent การกระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยม

4. Conflict resolution การแก้ไขความขัดแย้ง

5. Explore opportunities การสร้างโอกาสแก่ผู้อื่น

6. Rhythm & Speed รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็ว

7. Edge ( Decisiveness ) กล้าตัดสินใจ

8. Teamwork ทำงานเป็นทีม

9. Managing uncertainty การบริหารความไม่แน่นอน

อ.พิชญ์ภูรี : ผู้นำที่พูดถึง ผู้นำตามผู้บังคับบัญชา และผู้นำตามธรรมชาติ มีทฤษฎี คือ ทฤษฎี 2 R's และต้องมีเครือข่ายร่วมกัน

ภาวะผู้นำของ Peter Drucker

1. Ask what needs to be done ถามตัวเองว่าเราต้องทำอะไรให้สำเร็จ

2. Ask what’s right for enterprise ถามว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องที่ต้องลงมือทำ

3. Develop action plans พัฒนาแผนปฏิบัติการ

4. Take responsibility for decision รับผิดชอบต่อการตัดสินใจ

5. Take responsibility for communicating รับผิดชอบต่อการสื่อสาร

6. Focus on opportunities not problems มุ่งที่โอกาสไม่ใช่ปัญหา

7. Run productive meetings จัดให้มีการประชุมที่สร้างให้เกิดผลผลิต

8. Think and say We not I คิดและพูดด้วยคำว่า “เรา” ไม่ใช่ “ฉัน”

ทีมงาน chiraacademy

Workshop

1. ปัจจัยท้าทายเรื่องการเปลี่ยนแปลงของ มรภ.นครปฐม 3 เรื่องคืออะไร ให้อธิบาย และภาวะผู้นำจะช่วยได้อย่างไร

2. แนวคิดเรื่อง 7 Cs ของ John Kotter และ Principle 5 ข้อของ Leaders ในการเปลี่ยนแปลงจะนำมาประยุกต์เพื่อสร้างความสำเร็จของ มรภ.นครปฐม ในยุคของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร

3. ผู้นำที่ท่านเห็นเป็นตัวอย่างที่ดี 3 ท่าน ทั้งระดับโลกและระดับประเทศ คุณลักษณะเป็นอย่างไร นำมาประยุกต์กับผู้นำใน มรภ.นครปฐมได้อย่างไร

กลุ่มที่ 2 จะเปลี่ยนแปลงอะไรอย่าให้ซับซ้อน เช่น ในมรภ.เรา เรื่องภาษาอังกฤษ มีการเปลี่ยนแปลงที่สำเร็จ คนในมหาวิทยาลัยในครั้งแรกยังไม่เข้าใจ มีการปล่อยข่าว และเคลียร์ ข้อมูล ทดสอบอาจารย์ในมหาวิทยาลัย มีคะแนนให้ ถ้าไม่ผ่านไม่จบ มีการประชุมคณาจารย์ก่อน และมีการสอบ ข้อสอบเพื่อให้รู้ว่าคุณอยู่ระดับใดบ้าง แล้วผลการสอบจะไม่ให้ใครรู้เลย ว่าอยู่ระดับใดกลายเป็นยุทธศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยด้วย ทำให้มีเหตุผลในการสอบ เพราะผลสอบไม่ได้เปิดเผยให้ใครรู้ว่าเราจะอ่อนมากน้อยแค่ไหน โดยจัดระดับคณะ ในแต่ละคณะ

ทำให้เรื่องซับซ้อนให้กลายเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น มีการเปลี่ยน แล้ว แต่ละคนมีความคิดเห็นต่างกัน ว่าทำไมต้องวัด ทำไปเพื่ออะไร มีการเขียนและเจรจากัน ศึกษาว่าแต่ละคนต้องการเปลี่ยนหรือไม่ เลยต้องใช้ในมาตรการของมหาวิทยาลัยในการเปลี่ยน ความคาดหวัง เกิดความกลัวน้อยลง และไม่กลัวมากขึ้นเพราะไม่ได้เปิดเผยคะแนน

อ.จีระ : น่าจะเป็นประโยชน์ ที่นี่ภาษาอังกฤษใช้ได้ แล้ว น่าจะกล้าให้ข้างนอกรู้ว่าเป็นอยู่ในลักษณะใด

อ.พิชญ์ภูรี : การอธิบายเรื่องยากให้ง่ายได้ เช่นยกตัวอย่าง พร้อมที่จะมีความกล้าหาญในภาวะผู้นำ เช่น ผลการสอบเป็นความลับ เป็นการก้าวข้ามความอายได้ นี่คือการชนะเล็กๆแล้ว ไม่ได้รู้สึกแตกต่าง

กลุ่มที่ 1 : แยกออกได้ 3 ประเด็น นักศึกษา อาจารย์และหลักสูตร ปัจจัยอาเซียนที่มีต่อนักศึกษา มีนักศึกษาจีนที่เรียนที่นี่ เด็กไทยไปเรียน ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่มีนักเรียน 1 แสนคน แต่มีเด็กไทยเรียน แค่ 1 คน โดยกลับกัน เด็กจีนมาเรียนที่นี่ เป็นร้อยในมหาวิทยาลัยเล็กๆ ในเมืองไทย ทำให้เห็นว่า เค้าเรียนรู้มากว่าคนไทย ต้องรู้จักการเปลี่ยนแปลง ในการอยู่ร่วมต่างวัฒนธรรม เราต้องอยู่กับคนในหลายๆชาติ

ด้านตัวของ อาจารย์ : อาจารย์คือแม่พิมพ์ของชาติ ที่อ.ควรมีในยุคปัจจุบัน แต่ไม่มีการรณรงค์อย่างจริงจัง คือ การแลกเปลี่ยนอาจารย์ระหว่างประเทศ การคิดร่วมกัน การรู้จักปรับตัวที่มีในอนาคต และ โครงการการส่งให้อาจารย์เข้าไปอยู่ในหน่วยงานธุรกิจ เพราะบางท่านไม่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจ เพราะจะมองไม่เห็นภาพ ในสาขาที่เรียนมา และส่งเสริมพัฒนาความหลากหลายในด้านอาชีพและสาขาที่จบมา เล่าอธิบายให้ผู้เรียนได้เห็นภาพอย่างแท้จริง

ด้านหลักสูตร: องค์ประกอบสำคัญคือเหมือนตัวสินค้า มีนักศึกษา และลูกค้าเข้ามา มีลูกค้าจากอาเซียนมา แต่ถ้าสินค้าไม่ดีก็คงไม่ประสบความสำเร็จ จึงต้องพัฒนาด้านหลักสูตร คือเตรียมความมาระดับหนึ่งแล้ว มีรายวิชาเรื่องอาเซียนศึกษา รู้ถึงเพื่อนบ้าน และเพิ่มเรื่องภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น เป็น 4 รายวิชา เพิ่มเรื่องหลักสูตรอินเตอร์มากขึ้น พัฒนามหาวิทยาลัย ให้ดีมากขึ้น ในภาคอินเตอร์ และเทคโนโลยีในการเปลี่ยนแปลง อีก 10 ปี ข้างหน้ารูปแบบอาจเปลี่ยนแปลงไป ตอนนี้มีเปิดให้เรียนออนไลน์แล้ว เรียนและนัดเวลาได้ อาจจะเริ่มจากตรงก่อนก็ได้

สรุป ภาวะผู้นำ ความท้าทาย ก็มองว่าเรื่องภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่สามารถทำแต่เพียงผู้เดียวด้วย ต้องมีเครือข่ายร่วมกัน และต้องมีจังหวะในการก้าวเดิน และทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง จะเกิดเป็นรูปธรรมต้องไปปูพรมทั้งมหาวิทยาลัย นักศึกษา บุคลากร ทั้งที่ครูและแรงงานในมหาวิทยาลัยด้วย

อ.จีระ : ถ้าไม่คิดเรื่องนี้ต่อไปก็ลำบาก เหมือนโรงพยาบาลก็เช่นกัน ต้องคิดให้รอบคอบ ผมมาต่อยอดแล้ววันนี้ ตรงประเด็น และจัดการเรื่องการเปลี่ยนแปลงได้ หลายแห่งยังไม่ทำเป็นกระบวนการ แม้แต่มหาวิทยาลัยใหญ่บางแห่งก็ยังไม่พร้อม หลักสูตรระดับ ป.ตรีต้องรองรับไว้ ลองทำดูอาจจะทำสัก 2 วัน ทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร มารวมตัวกัน อาจจะได้ฟังประเด็นอีกมุมมองที่ไม่เคยได้ยินมาปรับใช้ในองค์กรได้ ต้องลองหาความรู้ตลอดชีวิต ปะทะกับคนทุกๆชนิด ให้เห็นความแตกต่าง และความหลากหลาย ทำให้ปัญญาเกิดขึ้นได้

อ.พิชญ์ภูรี :เห็นความเป็นเลิศแล้ว เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย ตอนนี้ก็เป็นการชนะเล็กๆแล้ว ตอนกระเด้งไปที่การchange แล้วไปด้วยกัน

อ.จีระ: การตัดสินใจก็มีส่วนสำคัญ อย่าตัดสินใจช้า เพราะจะทำให้เกิดดินพอกหางหมู และเรื่องเครือข่ายต้องมีเทคนิค มนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักร ต้องมีอารมณ์ ในการทำงาน ทำให้เกิดการแชร์เรื่องอารมณ์ ยิงไปในความรู้สึกของเรากับเครือข่ายเกิดความรักร่วมกัน

กลุ่มที่ 3 : ผู้นำ 3 ท่าน ท่านิวสัน มีความกล้าหาญ มีความคุณธรรมจริยธรรม ผลักดันให้เกิดสันติภาพให้เท่าเทียมกัน

ท่าน พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี มีคุณธรรมจริยธรรม เกิดความศรัทธาได้ มีเสน่ห์และมีความสบายใจเมื่อพบเจอ เป็นความสุขทางใจ กล้าหาญในการที่จะออกมาพูด มีการเรียนรู้ในแต่ละแหล่ง มีวิชั่น มองไกล เหมือนอยากให้ผู้บริหารของเราควรมี

ท่านสิจิ้นผิง : เป็นทำให้จีนยอมรับของโลก ยอมรับการบริหารการเปลี่ยนแปลง เป็นบันได้แห่งการขึ้น แต่ต้องเพียงพอ

มีจริยธรรม สร้างความน่าเชื่อถือ และมีวิสัยทัศน์ ในการองค์กร ทำให้นักศึกษาให้มีความอยู่รอดได้อนาคต

ทีมงาน chiraacademy

การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา สู่.. การเปลี่ยนแปลงยุคใหม่

อ.จีระ : จะขอแนะนำหัวข้อวิทยานิพนธ์ ขอให้เลือกหัวข้อให้ดี บางทีเลือกหัวข้อทำแล้วจบ แต่ยังไม่ได้ให้ประโยชน์ทางวิชาการ น่าจะเป็นหัวข้อที่น่าสนใจ น่าจะมีที่ปรึกษาข้างนอกมาร่วมด้วย เลือกคนที่เข้าใจเรา ชื่นชมในสิ่งที่คุณมีอยู่แล้ว มนุษย์เราทุกคนมีจุดแข็งของตัวเอง

กฎ 9 ข้อ ของการเป็น Ph.D. Thesis Advisor

  1. ถ้าเรายังไม่มีประสบการณ์ควรจะหาผู้เชี่ยวชาญผู้ใหญ่ที่เคยผ่านการเป็น advisor ที่ดีมาช่วยเราเพื่อเสริมเติมในสิ่งที่ขาด
  2. การเป็น Advisor ที่ดีน่าจะดูเรื่อง Process มากกว่าแค่ปลายน้ำ เช่น แนะนำให้เขาสนใจการเรียน COURSE WORK ที่มีคุณค่ามากว่าสนใจแค่วิชา Research Method ซึ่งเป็นแค่เครื่องมือ และให้ค้นหาหัวข้อ Thesis ตั้งแต่เริ่มต้นการเรียน Ph.D อย่าให้ COURSE WORK กับ Thesis แยกออกจากกัน

ถ้าลูกศิษย์บริหารเวลาไม่ได้ก็จะล้มเหลว และได้ Ph.D ที่ไม่มีคุณภาพ

ทำอย่างไรเมื่อทำแล้วให้คิดว่า อันนี้เป็น thesis ของเรา

อ.พิชญ์ภูรี : อย่ากลัวความยาก หาตัวช่วย แต่ตัวช่วยที่ดี น่าจะเป็นเครือข่ายของเราเอง ต่อมากระบวนการ ไม่จำเป็นข้อมูลครบหมด ช่วงที่ขาดเราต้องหาเพิ่ม แต่ต้องมีการจินตนาการ ในพื้นฐานของความเป็นจริงมาใช้ และตอนจบขอให้เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ตัวเอง องค์กรและประเทศชาติด้วย นี่คือชนะเล็กๆ ที่จะนำไปทำต่อได้ เรื่อง Research นำมาเพื่อความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ เป็นเครื่องมือในการทำงานด้วย เพื่อให้งานที่ทำประสบความสำเร็จ การค้นหาคำตอบกับความจริงให้ออกมา รู้จักหาตัวช่วย คือเครือข่ายออกมา

3. การทำวิทยานิพนธ์ คือ ส่วนแรกของการทำวิจัย ซึ่งควรทำต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่ทำครั้งเดียวเสร็จ

4. Research ในความเห็นของผม..

  • เน้น Hypothesis และ Testable Hypothesis มาก ๆ คือ ฝึกวินัยในการตั้งโจทย์ หรือ Hypothesis ที่น่าสนใจ และนำไปใช้ได้ แล้วเก็บข้อมูลนำเสนอว่าตอบโจทย์ Hypothesis ที่ตั้งไว้ว่าทำได้หรือไม่?
  • และ Hypothesis ต้อง 2 R’s คือ ตรงกับความจริงและตรงประเด็น น่าสนใจ เกิด Impact ต่อตัวเราและต่องาน การสอน หรือ การแก้ปัญหาของประเทศ ไม่ใช่แค่ได้ปริญญาอีกใบหนึ่ง

5. Trends ของ Research ที่ดี ในยุคใหม่จะเน้นหัวข้อก่อนแล้วจึงจะหา Data มาตอบโจทย์ จุดอ่อนของราชภัฏ คือ หัวข้ออ่อน ตอบโจทย์เดิม ๆ แค่จบ ในอนาคตคงจะต้องมองภาพใหญ่ (Macro) เพื่อรองรับการทำงานในระดับที่เล็กลงมา (Micro) มีความรู้ลึกและกว้างและ Relevant

6. การจะได้ หัวข้อคือ ต้องอ่านมาก ๆ ฟังมาก ๆ รู้จักคนเก่งนอกมหาวิทยาลัย ก่อนจบพยายามไปประชุมทางวิชาการต่างประเทศและในประเทศ เพื่อจะได้มีความในการมองโอกาสของหัวข้อที่น่าสนใจ ใหม่ ๆ กล้าลงทุนในการหาโอกาส (Opportunities) ใหม่ ๆ Ph.D ต้อง Outside the box อย่าอยู่ในกะลาครอบ

7. กรณีศึกษาการเขียนวิทยานิพนธ์ของผม

8. ประสบการณ์ในการเป็น Advisor ตั้งแต่ที่ธรรมศาสตร์ และที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และอื่น ๆ มีทั้งที่เป็นกรณีศึกษาที่ดีและไม่ดี บทเรียนเหล่านี้จะช่วยอะไรเราได้

9. การตีพิมพ์ ต้องหารือกับ Advisor ที่มีประสบการณ์ วางแผนล่วงหน้า อย่ารอให้เสร็จแล้วจึงคิดจะตีพิมพ์ ใช้จังหวะและความรวดเร็ว(Rhythm and Speed) เป็นหลัก จัดสรรเวลาให้ถูกต้อง อย่า Waste หรือเสียเวลา

หลักเพิ่มเติม

1.ถ้าเป็นนักเรียนต้องเลือกประธานให้เหมาะสม และประธานต้องมีเครือข่าย สามารถดึงเอาศักยภาพของแต่ละคนมาได้ ใช้แนว 3V 's คือความหลากหลาย เข้ามาเป็นทีมเดียวกันได้

2.ดูคนที่จะมาช่วยเรา จะต้องไม่เป็นคนที่เด็กหรือ young แต่ต้องมีคนที่มีอุปสรรค และสามารถแก้ปัญหา มาเป็น supervisor thesis ได้ด้วย

3.supervisor thesis ต้องมีเวลาให้กับนักเรียนเหล่านั้นด้วย

4.คณะกรรมการชุดนี้ต้องเป็นคนที่แก้ปัญหา เช่น กฎระเบียบ ช่วยเรื่องบริหารการจัดการ การเรียนด้วย ไม่ใช่แค่หัวข้อเพียงอย่างเดียว

5 Co advisor ขอให้เป็นทีมเดียวกัน อย่าขัดแย้งกัน

6 ถ้า advisor ที่อยู่พื้นที่เดียวกัน จะได้มีคำแนะนำให้เราได้มากขึ้น เข้าไปช่วยเขาให้ได้มากที่สุด

7. เวลาในการพบ advisor อย่าปล่อยให้นานเกินไป

เป็นการต่อยอดจากครั้งที่แล้ว มาเสริมสิ่งเหล่านี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท