WDC 2015: Thai DPP ในเวที IDF BRIDGES Symposium


การนำเสนอผลงานโครงการ Thai DPP ครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ตอนที่เลิกประชุมมีคนเข้ามาแสดงความชื่นชมหลายคน

วันที่ 3 ธันวาคม 2558

วันนี้ดิฉันตื่นนอนขึ้นมาตั้งแต่ตีสามกว่าแล้วนอนต่อไม่หลับ จึงลุกขึ้นมานั่งทำงานและเตรียมการนำเสนอ พยากรณ์อากาศบอกว่าฝนจะตกทั้งวัน ฟ้ามืดครึ้มเช่นเดิม ช่วงเช้าดิฉันไปฟัง Symposium เรื่อง Dietary risk factors for diabetes ที่ห้อง Ballroom C หลังอาหารกลางวัน ไปฟัง Poster discussion ของ นพ. วรวิทย์ กิตติภูมิ จากโรงพยาบาลเทพธารินทร์ ที่ Poster terminal 6 อ่านที่นี่

ช่วงบ่ายเข้าฟัง Meet-the-Expert หัวข้อ One size fits all? Guidelines and diabetes testing and treatment for all countries รู้สึกง่วงมาก มาอยู่ที่นี่เข้านอนและตื่นไม่เป็นระบบ มักตื่นขึ้นมาตอนตีหนึ่งบ้างตีสามบ้าง แล้วจะง่วงตอนเที่ยงๆ หรือบ่าย เกือบสี่โมงเย็นจึงออกมานั่งอยู่นอกห้องประชุม เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการนำเสนอเย็นนี้และเก็บภาพบรรยากาศต่างๆ ไปด้วย


บริเวณที่นั่งพักสามารถมองเห็นทิวทัศน์ด้านนอกได้เพราะผนังเป็นกระจกทุกด้าน


เดินไป-กลับบนถนนเส้นนี้ทุกวัน ระหว่างศูนย์การประชุมและโรงแรมที่พัก (Fairmont Hotel)


ผู้เข้าประชุมเดินย้ายห้องเปลี่ยนห้องกันได้ตามสบาย


IDF BRIDGES Symposium หัวข้อ Successful IDF Translational Research worldwide: strategies and tools to improve diabetes prevention and care มีที่ห้อง 121 ระหว่างเวลา 17.15 – 19.15 ดิฉันไปถึงที่ห้องตั้งแต่เวลา 17.00 น. ถามเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคว่าวิดีโอจะใช้ได้ OK ไหม ได้คำตอบว่าไม่มีปัญหา

Symposium นี้ได้รับการออกแบบมาอย่างดี กิจกรรมเป็นไปตามลำดับดังนี้

  • Juan Jose Gagliardino, Member BRIDGES Executive Committee กล่าวต้อนรับและบอกว่าเป็น special symposium ต้องการให้มีการเรียนรู้จากงานที่ประสบความสำเร็จ BRIDGES ใช้ translational research เป็นเครื่องมือ มีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนทั้งหมด 41 โครงการ ใน 36 ประเทศ เชื่อว่าจะยังทำงานเรื่อง translational research ต่อในรูปแบบใหม่
  • Diabetes Prevention: Lessons learned from international experts โดย Peter Bennett (Da Qing Study) Jaakko Tuomilehto (Finnish DPP/DEMOJUAN) และ Linda Siminerio (DPP) มี John Grumitt, Vice President ของ IDF เป็น moderator ทุกโครงการจะบอกถึง main issues/ unexpected issues/ challenges, lessons learned และ practical messages
  • Diabetes Prevention: A real case scenario โดยดิฉัน
  • Learning from success: Replication of good practices worldwide โดย Samir Assaad Khalil และ Lei Zhang เป็นการนำเสนอโครงการ Foot care ในประเทศอียิปต์ และมีการ replication ในเมือง Qingdao ประเทศจีน
  • Key elements to sustain an intervention โดย Robert Gabbay, Chair, BRIDGES Review Committee ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ PI ของโครงการที่เป็นกรณีศึกษาของ BRIDGES ซึ่งโครงการ Thai DPP ของเราเป็นหนึ่งในกรณีศึกษานี้
  • Your tool kit to take back home โดย Ayesha Motala, Member, BRIDGES Executive Committee ที่สรุปด้วยว่า symposium ครั้งนี้ครอบคลุมทั้งเรื่อง prevention, replication, sustainability


จากซ้ายสุด John Grumitt (Moderator), Peter Bennett, Linda Siminerio, Jaako Tuomilehto


ดิฉันรู้สึกตื่นเต้นที่ได้พบเจ้าของผลงานที่เป็น landmark studies ด้าน diabetes prevention (มิน่าก่อนเริ่มการประชุมมีคนมาขอถ่ายรูปกับแต่ละท่านด้วย) คิดว่าโอ้โห!... โครงการของเราได้นำเสนอต่อจากเรื่องที่ยิ่งใหญ่และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เป็นโครงการป้องกันโรคเบาหวานที่ได้รับทุน IDF BRIDGES หนึ่งเดียวที่ได้รับเลือกให้มานำเสนอ เกิดความรู้สึกเกร็งๆ แต่ก็พยายามควบคุมความตื่นเต้นและตั้งใจจะนำเสนอให้ดีที่สุด

เมื่อขึ้นเวที ดิฉันพยายามพูดให้ช้าและชัด เมื่อนำเสนอโปรแกรมการป้องกันเบาหวาน (Intervention program) ของเราที่เริ่มด้วยการจัดกิจกรรมให้กลุ่มเสี่ยงในสองวันแรก ฉายวิดีโอที่ไม่มีภาษาอังกฤษเป็น subtitle และมีเสียงเพลงไทยประกอบ เมื่อดิฉันได้ดูวิดีโอนี้ก็รู้สึกมีกำลังใจและมั่นใจตนเองเพิ่มมากขึ้น แม้วิดีโอจะค่อนข้างยาว แต่ผู้ฟังก็นั่งชมด้วยความตั้งใจ เมื่อจบก็มีเสียงตบมือดังทีเดียว


เมื่อเริ่มการนำเสนอ


เห็นวิดีโอแล้วมีกำลังใจ


ผู้ฟัง


ดิฉันนำเสนอกิจกรรมในเดือนที่ 1 – 6 รวมทั้งกิจกรรมที่จัดขึ้นตามนัดทุก 6 เดือน ต่อจากนั้นกลุ่มเสี่ยงจะเข้ากลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันทุก 2 เดือน ส่วนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นดิฉันนำเสนอ 3 เรื่องคือ (1) อุบัติการณ์ของเบาหวานในเดือนที่ 6 และ 12 (2) จำนวน (ร้อยละ) ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่ภาวะน้ำตาลในเลือดเปลี่ยนจาก IGT เป็น NGT ในเดือนที่ 6 และ 12 (3) เปรียบเทียบลักษณะที่ baseline ของผู้ที่เปลี่ยนจาก IGT เป็น NGT ผู้ที่ยังคงมี IGT เหมือนเดิม และคนที่เปลี่ยนจาก IGT เป็นเบาหวาน

ช่วงท้ายเป็นการนำเสนอ Challenges 3 เรื่องและ solutions, Lessons learned 3 เรื่อง และ Take-home messages 2 เรื่อง

ผู้ฟังถามคำถามว่าการออกแบบกิจกรรมได้คำนึงถึงประเด็นเรื่องวัฒนธรรมหรือไม่ อย่างไร ดิฉันตอบว่าเราได้ include เรื่องของวัฒนธรรมรวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ในกิจกรรมอยู่แล้ว

การนำเสนอผลงานโครงการ Thai DPP ครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ตอนที่เลิกประชุมมีคนเข้ามาแสดงความชื่นชมหลายคน รวมทั้ง Peter Bennett (ท่านบอกว่าจะมาเยี่ยมที่เมืองไทย) และ Linda Siminerio ทุกคนบอกว่าวิดีโอน่าสนใจมาก ต่อมาดิฉันจึงได้ส่งไฟล์วิดีโอให้กับผู้ที่สนใจทาง e-mail


ขอถ่ายรูปกับ Peter Bennett


ตั้งแต่เมื่อวานที่ซ้อมการนำเสนอ ดิฉันรู้ว่า Samir Assaad Khalil ทำเรื่อง foot care จึงได้ไปคุยด้วยว่าเมืองไทยเราทำงานเรื่อง Foot care มานาน มีการประดิษฐ์เครื่องมือ/อุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นมาใช้เอง วันนี้ได้ save รูปภาพเครื่องมือ/อุปกรณ์เหล่านั้นใส่ smart phone เอามาให้ท่านดูด้วย หลังเลิกประชุมท่านบอกว่าสนใจวิดีโอที่ดิฉันเสนอ

ดิฉันจึงนัดหมายว่าจะ save ไฟล์ต่างๆ ลง handy drive ให้ พร้อมกับเอาไฟล์วิดีโอเกี่ยวกับ engaging the community 2 เรื่องที่มี subtitle เป็นภาษาอังกฤษซึ่งเคยได้รับเชิญไปนำเสนอที่ World Diabetes Congress 2011 ที่ดูไบ ใส่เพิ่มเติมให้ด้วย และจะส่งมอบ handy drive เวลา 10.00 น. วันที่ 4 ธันวาคม

จบภารกิจวันนี้ด้วยความรู้สึกมีความสุข


วัลลา ตันตโยทัย

บันทึกเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2558

หมายเลขบันทึก: 598386เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2015 18:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2015 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท