การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง


ที่มา: http://qlf.or.th


ดิฉันประทับใจรูปภาพนี้ค่ะ

  • มือเล็กๆ อนาคตของชาติที่ประสานกันเข้าไว้ในช่วงเวลาของการร่วมเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ด้วยกัน
  • ความกระตือรือร้นที่แสดงออกมาทางสายตาและท่าทางต่อความมหัศจรรย์ในผลงานแห่งประสบการณ์ของคนรุ่นเก่า
  • การจุดประกายการเรียนรู้ การค้นพบสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน จะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงต่อโลกทัศน์ของเยาวชนเหล่านี้

นี่คือรูปแบบหนึ่งของการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่บางครั้งแล้วครูอาจารย์อาจจะลืมไป เพราะมัวแต่เน้นการสอน การท่องจำ แล้วก็สอบ สอบ สอบ



ส่วนภาพนี้แสดงถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการเรียนรู้ ความรู้ที่มีอยู่มากมายในโลกอินเทอร์เน็ตพร้อมให้เยาวชนเข้าถึง อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีก็เป็นเพียงแค่ช่องทางในการรับและแลกเปลี่ยนความรู้ แต่ไม่สามารถมาแทนการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงได้ค่ะ

เหมือนที่สำนวนจีนกล่าวไว้ว่า

“Give a man a fish and you feed him for a day.
Teach a man to fish and you feed him for a lifetime.”

และ Benjamin Franklin ผู้ก่อตั้งห้องสมุดแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา กล่าวไว้ว่า

“Tell me and I forget.
Teach me and I remember.
Involve me and I learn.”
คำสำคัญ (Tags): #transformative learning
หมายเลขบันทึก: 598058เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2015 06:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2015 06:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โอโหอาารย์มาไวกว่าครับ

555

อาจารย์คะ พักนี้พี่โชคดีมากที่ได้อ่านหนังสือดีๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้หลายเล่ม

เล่มแรก "การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง" ที่รวบรวมจากบันทึกของ อ.หมอวิจารณ์ พานิช ใน G2K ที่เขียนถึงแนวคิดทฤษฏีอย่างครบถ้วน พี่ใช้เวลาอ่านนานมาก (พี่เข้าใจสาระสำคัญจากหนังสือได้แค่ ๑๐% จนคิดว่าจะต้องอ่านซ้ำอีกในเวลาอันใกล้นี้) เพราะพยายามทำความเข้าใจเรื่องยากๆ และพบว่ามีประโยชน์มาก ทำให้เข้าใจ "วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้" เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงภายในตัวผู้เรียน ทำให้เกิดแรงบันดาลใจเขียนบันทึกนี้ค่ะ

"ความสอดคล้องอย่างเป็นเนื้อเดียวระหว่างสาระส่วนหนึ่งในหนังสือ การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง กับการสอนเจตคติในการสอนทักษะชีวิตแบบมีส่วนร่วม"

และที่ดีไปกว่านั้นคือ หนังสือชุด Brain-Based Leaning ของ สพฐ. ที่อธิบายชัดเจนยิ่ง ถึง องค์ความรู้ว่าด้วยการทำงานของสมองเด็ก กับ วิธีการสอน สำหรับครู และพ่อแม่อ่านก็เอาไปใช้ได้จริงที่บ้าน (พี่อ่านไปแล้ว ๔ เล่มจาก ๗ เล่ม) และเขียนบันทึกชื่อ

"จากคลิปอ.จัน ถึงหนังสือ Brain-Based Learning ของ สพฐ.ฯ"

หนังสือชุดนี้ยิ่งอ่าน ยิ่งสนุก และเสียดายที่อ่านตอนลูกโตเลยวัยสร้างความเปลี่ยนแปลงหมดแล้ว

และบันทึกนี้พี่ไปได้มาจากที่ไหนสักที เพื่อยืนยันสิ่งที่เขียนในหนังสือของ สพฐ. ว่า การเรียนรู้มิได้อยู่ในห้องเรียนประการเดียวค่ะ

เชิญชวนพ่อแม่ลูกเล็กทุกท่านอ่านเรื่องนี้ค่ะ "พ่อแม่ยุคใหม่รู้ไว้ อย่าเก็บลูกไว้ในบ้านอย่างเดียว"

ทุกวันนี้เจอใครก็ชวนอ่านหนังสือชุด BBL ค่ะ (ไม่อยากให้เกิดความเสียดายที่อ่านช้าแบบพี่ค่ะ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท