ห้องสมุดแห่งศตวรรษที่ 21


http://www.thairath.co.th/content/540797

โอ้แม่เจ้า! เปิดห้องสมุดวิศวะฯ จุฬาฯ สวยเว่อร์!

โดย ไทยรัฐออนไลน์ 23 พ.ย. 2558 06:05



โอ้แม่เจ้า! เปิดห้องสมุดวิศวะฯ จุฬาฯ สวยเว่อร์!คือหัวข้อช่าว ที่ทำให้ต้องเปิดอ่าน แล้วก็ต้องอึ้ง เมื่อทราบว่าห้องสมุดใหม่ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีสภาพที่ขวนเชิญเป็นอย่างยิ่งที่จะให้นักศึกษาเข้ามาศึกษา ค้นคว้า พักผ่อนนอนหลับ ในรูป จะเห็นมุมที่เป็นเสมือนเตียงสองชั้น และนิสิตหญิงสองคนคงกำลังสืบค้นข้อมูลอย่างคร่ำเคร่ง โดยใช้มือถือ นิสิตชายในรูปกำลังเล่นกับนก หรือทำอะไรดูไม่ชัด


ความรู้สึกแรกที่เห็น นึกถึงคำว่า ความเท่าเทียมกันทางการศึกษา (Equity in Education)

ความสูญเปล่าทางการศึกษา(Wastage in Education )

และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy phylosophy )


ห้องสมุดมหาวิทยาลัยใน ประเทศที่ร่ำรวย มีทองคำเป็นทุนสำรองมากอันดับหนึ่งของโลก มักจะมีเฟอร์นิเจอร์ที่แช็งแรง อบอุ่น สวยงาม คลาสสิค อบอุ่นในฤดูหนาว เย็นสบายในฤดูร้อน ก็ไม่เคยเห็นมีเตียงนอนเตรียมไว้ให้ แต่นักศึกษาสามารถฟุบหลับ เอนเอกเขนก หรือนั่งเหยียดขาบนพื้นมีหนังสือรอบตัวได้ โดยไม่มีใครรบกวน

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ถูกจัดอันดับสูงสุดของสหรัฐแทบทุกปี คือ ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois at Urbana-Champaign) จัดให้ มีห้องเล็ก ๆ สำรับให้อาจารย์และนักศึกษาจองใช้สำหรับการทำวิจัยหรือศึกษาค้นคว้า โดยสามารถยืมหนังสือ หรือ วัสดุอื่น ๆใด ที่จำเป็นไปครอบครองได้ระยะยาว มีกุญแจมอบให้ดูแล ขนาดของห้องไม่สามารถจะนอนได้ นอกจากฟุบลงพักสายตา สามารถฝังตัวอยู่ในนั้นได้ตลอดเวลาที่ห้องสมุดเปิดทำการ (ปิดเที่ยงคืน) ทรัพยากรห้องสมุดที่เป็นบ่อเกิดของปัญญามีเกินพอเพียง และปรับเปลี่ยนให้ทันยุคสมัยตลอดเวลา ซึ่งในปัจจุบันนี้ ทุกระบบใช้เทคโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เงินงบประมาณจะทุ่มไปในงานที่จำเป็น ฐานข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิจัยของทุกสาขา และสาขาเฉพาะทางของคณะต่าง ๆ บรรยากาศห้องสมุดเช่นนี้ การบริหารจัดการ การให้บริการเช่นนี้ต่างหากที่ส่งเสริมวิชาการอย่างแท้จริง

หวังว่าจะเห็นสักวันหนึ่งเมื่อบ้านเรามีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นเป็นประเทศร่ำรวย (ปัจจุบัน ปานกลางระดับสูงแล้วนะ) จุฬา ฯ สถานศึกษาที่ผู้เขียนเคยใช้ชีวิตอยู่สองปี และเป็น แหล่งเรียนมา ที่รักและภาคภูมิใจ คงเป็นแห่งแรก ๆ ที่ทำได้เพราะมีทรัพย์สินมรดกมาก และได้รับเงินงบประมาณแผ่นดินที่เป็นภาษีอากรของคนทั้งประเทศก็มากมาย อีกทั้งเงินลงทะเบียนจากนิสิตที่แสนแพงอีกจำนวนมหาศาล ในขณะที่หลายแห่งแทบไม่มีอะไรที่แปลงเป็นทุนได้เลย

ไม่อยากให้มีภาพที่แสดงถึงการใช้งบประมาณที่ฟุ่มเฟือยเน้นความสบาย หรูหรา ไร้สาระ


หมายเลขบันทึก: 597674เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2015 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2015 08:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เห็นในรูปแล้ว

สวยมาก

อยากให้พัฒนาในต่างจังหวัดบ้างจังเลยครับ

I have mentioned "modern library services' a few times. But this is not what I have in mind. I think a lot of librarians still see themselves as 'curators' of books. Todays and tomorrows we need 'data mining technicians' who can provide data accessing, processing and costing to satisfy information requests. We can browse and search for reading materials on the Net. We don't need books based on 'trees' -- anymore. We do need information and libraries that provide services as 'information shops' with customer services -- what, where, when, how and how much (this or that will cost). We will leave the why for information seekers. ;-)

ได้เห็นจากข่าวคิดว่า เป็นการออกแบบเฉยๆ ไม่คิดว่าจะมีการเอามาใช้จริง ตอนนั้นก็รู้ว่าค้านความรู้สึกอยู่

ดิฉันไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะทำห้องสมุดให้นอนได้ ทั้งสิ้นเปลืองและไม่มีบรรยากาศของการอ่านเลยค่ะ

สำหรับดิฉัน ห้องสมุด และโต๊ะมีไว้สำหรับ "อ่าน"

ถ้ามีอยู่จริงที่จุฬา นิสิตคงมีเตียงสำหรับเข้ำไปนอนพักผ่อนกันแล้วนะคะ

ขอบคุณค่ะ ดร. ขจิต คุณหมอนุ้ย คุณ Sr และ ทุกท่านที่เข้าอ่านและให้ความเห็นค่ะ

ประเทศไทย โดยเฉพาะ น่าจะเป็นหน้าที่ของ สกอ. ควรกำหนดมาตรฐานห้องสมุด และพยายามให้ทุกมหาวิทยาลัยต้องมีมาตรฐานนั้นเป็นขั้นต่ำ โดยต้องอุดหนุนมหาวิทยาลัยที่ไม่มีงบประมาณ และบุคลากรที่จะดำเนินงานนะคะ สำพังงบประมาณประจำปีปกติไม่สามารถอัพเกรดห้องสมุดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยเกิดใหม่ "modern library services' ต้องการบุคลากรที่มีทักษะใหม่ เท่าที่สังเกตจากบางแห่ง ยังมีจำนวนน้อย และไม่มีทักษะเพียงพอ ตามไม่ทันโลก ตอบคำถามไม่ค่อยได้ อย่างไรก็ตามก็มีความพยายามและนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กันแล้วทุกแห่ง สำหรับสถาบันที่มีความสามารถจะจัดให้เลอเลิศกว่านั้นได้ก็ทำไป แต่ต้องมีบรรยากาศของการเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า การออกแบบต้องไม่หลอกล่อให้เด็กเข้ามาใช้ทำอะไรด้วยความหรูหราสวยงาม

การจัดอันดับห้องสมุดภายในประเทศ (เหมือนในสหรัฐ ) น่าจะช่วยให้ทุกมหาวิทยาลัยต้องยกระดับอยู่เสมอ และรัฐบาลเองก็จะทราบว่าควรจัดสรรงบประมาณให้ที่ใดบ้างเพื่อเข้าสู่มาตรฐานที่ตั้งไว้

The UIUC library is just like what you say . I think most world- class universities have libraries with modern lybrary services. In Thailand, only a few elite universities can provide such services but not in full-scale; most need to be reformed though.

อ่านแล้วรู้สึกชอบ...แต่..อุดมศึกษาเขาน่าจะ..ทำให้ดู..เหมาะสม พอเพียง..มิใช่ฟุ้งเฟ้อ เอาแต่หรู มีหน้ามีตา สะดวกสบาย ..นึกถึงโรงเรียนประถม..ห้องเรียนยังไม่พอ ห้องหนึ่งเรียนสองชั้น โต๊ะ เก้าอี้ ก็ต้องขอความอนุเคราะห์เขตพื้นที่ ห้องสมุด ก็ต้องไปกราบไหว้เขามา แล้วชอบพูด อนาคต เด็ก อนาคต ชาติ แต่ปล่อยให้อยู่ตามยถากรรม...รากฐานของชาติจะเป็นอย่างไร ก็อยากรู้จัง นิสิต ที่ใช้ห้องสมุดหรูๆ จบไปจะติดดินหรือเปล่า และ เข้าใจปรัชญาพอเพียง แค่ไหน.. มหาลัย..บางเรื่องราว ก็ไม่ได้ซาบซึ้งในปรัชญาฯอะไรเลย..หรือ ซาบซึ้งแต่ไม่ปฏิบัตินั่นเอง..ขออภัย..ที่ต้องเขียนมาเช่นนี้ เนื่องจากเห็นว่า การศึกษาระดับสูง เขาสบายกันจัง

นานมาแล้วประมาณ 20 ปี ย้อนหลังไปฝึกอบรมศึกษาดูงานที่ British Columbia University แวนคูเวอร์ แคนาดา โปรเฟสเซอร์ที่ดูแล พาออกไปดูโรงเรียนในชนบทแห่งหนึ่ง มั่งรถไฝเรียบภูเขาและทะเลสาปสวยงามมาก หลายชั่วโมงก็ถึงโรงเรียน เป็นโรงเรียนที่มีพร้อมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด ที่มีหนังสือและทรัยากรครบครัน มีโรงยิม สำหรับออกกำลังกาย มีสนามกีฬากลางแจ้ง มีห้องวิทยาศาสตร์ที่ทำการทอลองได้เพียงพอสำหรับเด็กประถม นักเรียนน้อย เป็นเด็กท้องถิ่น และอินเดียนแดงเจ้าถิ่นเดิม ท่านบอกว่าที่พามาดูเพื่อชี้ให้เห็นว่าโรงเรียนบ้านนอก แม้จะมีเด็กน้อย ผู้ปกครองการศึกษาไม่สูง ฐานะไม่ดี แต่รัฐต้องจัดให้มีทุกอย่างสมบูรณ์ เทียบเคียงกับโรงเรียนในเมือง นั่นคือเขามีมาตรฐานโรงเรียนให้เดินตามเป็นขั้นต่ำ จะเห็นว่ามาตรฐานจำเป็นต้องมี ไม่เป็นการล้วงลูก ก้าวก่ายการตัดสินใจของโรงเรียน แต่เป็นความรับผิดชอบของรัฐที่จะสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาด้านหนึ่งค่ะ ผอ.เสนอแนวคิดนี้ไปเลยค่ะ


เห็นด้วยค่ะ ประโยชน์ของห้องสมุดอยู่ที่ความคุ้มค่าในการเป็นแหล่งเก็บความรู้จากหนังสือและอุปกรณ์สื่อที่มีคุณภาพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท