เปิด 8 มาตรการเตรียมรับภัยแล้ง กับโครงการปักผ้าถวายพระราชินี


กระทรวงเกษตรฯ เดินหน้าแนวทางบริหารจัดการน้ำรองรับวิกฤตภัยแล้ง ปี 2558/59 ชู 8 มาตรการ 25 กิจกรรม

เนื่องจากครม.ได้มีมติเห็นชอบกรอบมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจาก ปัญหาวิกฤตภัยแล้ง ปี 2558/59 ประกอบด้วย 8 มาตรการ ซึ่งมี 25 กิจกรรม ได้แก่

1) การส่งเสริมความรู้และการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน

2) การชะลอหรือขยายระยะเวลาการชำระหนี้ที่เกษตรกรมีภาระหนี้กับสถาบันการเงิน

3) การจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ทั้งการจ้างแรงงานชลประทาน หรือการจ้างงานเร่งด่วนและการพัฒนาทักษะฝีมือ

4) การเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชน เพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง

5) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยให้ทุกส่วนราชการรณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัด

6) การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ทั้งการขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ การปฏิบัติการฝนหลวง การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร

7) การเสริมสร้างสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

8) การสนับสนุนอื่นๆ อาทิ การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่า ด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 แผนสินเชื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน เป็นต้น

ทำให้เกษตรตำบลทุกคนต้องเร่งกันทำเวทีชุมชนเพื่อหาความต้องการของชุมชนตามมาตรการที่ 4 ค่ะ

เวทีชุมชนตำบลนครชุม

เวทีชุมชนตำบลทรงธรรม

พอจัดทำเวทีชุมชนมาแล้วต้องมาจัดทำโครงการ ขณะนี้กำลังมึนกับการเขียนโครงการอยู่ที่สำนักงานเกษตรอำเภอก็มีเรื่องราวน่าสนใจมาถึงที่เลยค่ะ

ที่ม้าหินอ่อนหน้าสำนักงานพี่สาวสองคนกำลังนั่งปักผ้าอยู่ค่ะ เลยเข้าไปสอบถาม พี่ถอด ธนากร แซ่เลี้ยว (เสื้อลาย) กับพี่รัตน์ สรารัตน์ วรนาถจินดา (เสื้อแดง)

วันนี้พี่ๆ พร้อมกับผู้ใหญ่บ้าน บ้านจอมแขวน หมู่ 17 ต.อ่างทอง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร มาส่งโครงการตามมาตรการที่ 4 ขอโครงการสร้างอาชีพปักผ้า เนื่องจากที่หมู่บ้านได้เข้าร่วมโครงการกับศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ 4 จังหวัดกำแพงเพชร (คลองลาน) เป็นโครงการปักผ้าถวายพระราชินี ค่ะ โดยจะต้องปักผ้าคนละ 8 ผืน ภายใน 6 เดือน ปักลายตามถนัดเลยค่ะ โดยผ้าที่จะปักเป็นของชาวบ้านเอง แต่ต้องนำไปประทับตราของศูนย์ ฯ ก่อนจึงจะนำไปถวายได้ ส่งเข้าศูนย์ศิลปาชีพค่ะ พี่ถอดบอกว่าส่วนมากจะใช้ด้าย 3 สี เพราะถ้าหลายสีเกินไปจะลายตาไม่สวย แล้วต้องเป็นสีแนวๆเดียวกัน ไม่ฉูดฉาดเกินไป


พอดูแล้วทึ่งในความสามารถของสาวๆเลยค่ะ เขาบอกว่าสาวๆในหมู่บ้านไม่ว่าสาวเล็กหรือสาวใหญ่ต้องทำเป็นทุกคน

ผืนในรูปพี่ถอดบอกว่าใช้เวลา 3 วันทำเฉพาะเวลาว่างค่ะ การปักเขาจะปักจากด้านหลัง แล้วลายสวยงามจะขึ้นมาด้านหน้า

ภาพขวาจะเป็นด้านหน้าค่ะ ด้านซ้ายเป็นด้านหลัง ผิดกับเวลาเราปักจะดูจากด้านหน้า ข้างหลังจะเละก็ช่างมัน ฮ่าๆๆ

ถ้ามีโอกาสต้องตามพี่ไก่ เชาว์ริก ครุธอินทร์ เกษตรตำบลอ่างทองไปเยี่ยมพี่ๆ ถึงบ้านซะแล้ว


เอาใจช่วยให้โครงการของพี่ๆผ่านกันด้วยนะคะ


MoTtAnOi 24/11/58

หมายเลขบันทึก: 597673เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2015 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2015 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทำยากและใช้เวลานานนะครับ

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท