"สำรวจโรงเรียน" ... (วันจันทร์ที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๘)


หลังจากเสร็จภารกิจอื่น ๆ ช่วงบ่าย ขอให้ครูหัวหน้างานวิชาการ
พาเดินชมโรงเรียนสัก ๑ รอบ เพื่อทำความรู้จักสถานที่และ
ตรวจสอบปัญหาด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าอีกที


ห้องเรียนเด็กตั้งแต่ ป.๑ - ป.๖

คุณครูประจำชั้นจะมีการตกแต่งห้องด้วยการจัดบอร์ดตามพื้นที่ต่าง ๆ ของห้องเรียน
เช่น ประตู หน้าต่าง ฝาผนังด้านหลัง ด้านข้างของห้อง ฯลฯ

ห้องเรียนอากาศปลอดโปร่งดี มีโครงการที่จะติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
แต่ยังไม่ได้ดำเนินปิดช่องหน้าต่างด้านบน

โต๊ะเก้าอี้ของเด็กนักเรียนมี ประมาณ ๓๐ - ๔๐ ชุด ทุกห้องเรียน
คุณครูก็สอนกันไป มองเห็นบ้าง มองไม่เห็นบ้าง
ตามวิถีความคิดของพวกคุณครูเอง


ห้อง Construct

เขาเรียกกันแบบนี้ เป็นห้องเรียนที่พิเศษกว่าห้องเรียนปกติ
มีเครื่องคอมพิวเตอร์ LCD Project แต่ห้องเรียนปกติไม่มี

แล้วมีการสอนแบบ Constructivisim
ห้ามถามว่าเป็นยังไง คือ ผมก็ไม่ทราบ
ว่าง ๆ คงต้องเรียกครูที่เคยไปดูงานที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย
มาอธิบายให้ฟังหน่อย

ชั้น ป.๖ ถูกทดลองใช้ก่อนเป็นรุ่นแรก
แต่ชั้น ป.๕ จะเป็นการสอนแบบปกติ
แต่ผู้ปกครองบางส่วนต้องการให้มีการสอนแบบนี้กับลูกของตัวเอง
จึงยอมเสียค่าใช้จ่ายให้กับโรงเรียน

ทำให้เด็ก ป.๕ มี ๒ ห้อง คือ
ห้องที่เรียนแบบ Construct สัก ๒๐ คน
กับห้องที่เรียนแบบปกติ อีก ๔๐ กว่าคน

สำหรับความเห็นส่วนตัว
นี่คือความไม่เท่าเทียมกันของนักเรียนระดับชั้นเดียวกัน
พ่อแม่คนไหนมีเงิน ก็อยากให้ลูกได้เรียนแบบ Construct
หากพ่อแม่คนไหนไม่มีเงิน ก็ทำได้แค่ให้เรียนแบบธรรมดาไป

ถ้า ป.๕ ห้อง Construct จบไปเมื่อใด
ควรยุติเหตุการณ์แบบนี้ไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก
ถ้าชอบ Construct กัน ก็ควรสอนให้ได้ทุกห้อง
แต่ไม่ใช่การแบ่งแยกแบบนี้


ห้องคอมพิวเตอร์

ห้องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับงบเร่งด่วนมา
อยู่ในระหว่างการสร้างห้องใหม่

ส่วนห้องคอมพิวเตอร์เก่า ก็ยังใช้เรียนอยู่
มีครูคอมพิวเตอร์คนเดียว

และเครื่องคอมพิวเตอร์ชุดเก่า
ที่ย้ายออกมาจากห้องที่กำลังทำ
กลับไม่มีที่เก็บ เอาไปวางกองไว้
ตามห้องต่าง ๆ ที่พอมีที่ว่าง

ดูแล้วก็น่าเศร้าจริง ๆ


ห้อง IBM

เป็นห้องที่มีคอมฯ ที่ได้รับฟรีมาจาก IBM
แต่ไม่มีครูใช้สอน

แถมยังเอาห้องไปเป็นที่ฝึกกีฬาในร่มอีก

ไม่รู้จะพูดยังไง


ห้องน้ำ

ได้งบเร่งด่วนปรับปรุงแล้ว
แต่ก็ไม่รู้จะดำเนินการทันหรือไม่
ภายใน ๒ เดือนเท่านั้น


ห้องประกันคุณภาพ

เอาไว้เวลาโรงเรียนมีการรวบรวมเอกสาร
สำหรับการทำประกันคุณภาพ

มีชั้น มีกล่องใส่เอกสาร
วางเหมือนรอตรวจประกัน

มีครูคนหนึ่งที่เคยเป็นผู้ประเมิน
ทำหน้าที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพ


ห้องพักครู

เขาไม่พาชมเลย
ไม่ชอบมาพากล
ยังไงก็ไม่ทราบ


ลิฟท์

มีแต่ไม่ได้ใช้
ทำสายยูมาล็อกประตูทุกชั้น
เพราะมีเด็กชอบมากดเล่น
จนลิฟท์เสื่อมสภาพ


ห้องสมุด

สภาพห้องสมุดทรุดโทรม
เหมือนขาดคนมีความรู้ด้านนี้มาดูแล

ห้องมีขนาด ๔ คูณ ๕ เมตร
แยก ๓ ส่วน คือ Asean, ห้องสมุด และ
ที่พักครูผู้ดูแล

ส่วนห้องสมุด จัดแบบ Dewey
หนังสือเก่ามาก ไม่ค่อยได้งบทดแทน
มีเครื่องปรับอากาศ ๒ ตัว

ครูผู้ดูแลจบปฐมวัย โทหลักสูตรและการสอน
ไม่ตรงสายวิชาชีพห้องสมุด

อยากได้โน้นอยากได้นี่
แต่ไม่ค่อยจะแสดงอะไรให้เป็นประจักษ์

เห็นแล้วก็ เหอ เหอ
ต้องปรับปรุงอย่างหนักอีกแล้ว


ธนาคารโรงเรียน

ธ.ออมสิน เพิ่งมา MOU กับโรงเรียน
ธนาคารจะเปิดเป็นช่วง ๆ ไป
ตามที่มีเวลาว่าง

ครูคณิตเป็นคนดูแล
นักเรียนเข้ามาเป็นผู้ให้บริการ


ห้องซ้อมดนตรี

เป็นอาคารที่ไม่มีฝ้ากันความร้อน
ไม่มีเครื่องปรับอากาศ
คับแคบ เครื่องดนตรีไม่มีที่เก็บ

แถมเอาเคร่ื่องกีฬามาเก็บไว้อีก


ชมรมศิษย์เก่า

อยู่ด้านหน้าโรงเรียน
เป็นห้องเล็ก ๆ คล้าย ๆ ป้อมยาม
ภายในมีอุปกรณ์สำนักงานครบ


ห้องแนะแนว

เคยมีภาคจิตวิทยามาจัดการอยู่พักหนึ่ง
แล้วตอนนี้ก็หายไป

กลายเป็นห้องที่ผมต้องเข้าไปนั่งทำงานแทน



อันนี้เดินแบบคร่าว ๆ สัก ๑ ชั่วโมง
รู้เลยว่า ระบบการบริหารจัดการมันดูเข้าขั้นแย่มาก
คนอยู่แบบเซ็งกะตายมากกว่ามีความสุข

แต่หลังจากนี้ไปหากเขายังไม่ทำงานอีก
เขาจะอยู่ไม่ได้ เพราะองค์กรจะอยู่ไม่ได้เช่นกัน

นี่ผมมีอะไรที่ต้องทำอีกเยอะเลยหรือนี่

โอ้ ไม่นะ ;(...


บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)...


หมายเลขบันทึก: 596844เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2015 00:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ตุลาคม 2015 01:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

It seems we need more 'imaginative management' and 'inventive practice' to make 'full use' of what available in schools (before we cry out for 'more').

;-)

เมื่อก่อนนี้..เรียก (การทำงานว่า)..เช้าชามเย็นชาม..ต่อมาเช้าถึงเย็นหลายๆชาม..ปัจจุบัน..ใครหยิบชามไปไม่รู้..เลยใช้ถุงพลาสติค..ไม่มีหลักฐาน..แต่เลอะเทอะเต็มไปหมดทั้งโลก..5555

ผู้ปกครองยอมเสียเงินเพื่อให้ลูกได้เรียนแบบ 'construct' คงจะเข้าใจผิดกันใหญ่โตในแนวคิดทฤษฏี

constructivism

-สวัสดีครับ

-ข้อมูลเรื่องการแบ่งแยกห้องเรียนลักษณะห้องพิเศษกับห้องธรรมดาผมว่ามันแปลก ๆ เหมือนกันครับ

-น้องโบลิ่ง....หลานสาวเธอเรียนอยู่โรงเรียนแห่งหนึ่ง เล่าให้ฟังว่าเพื่อนของเธอที่สนิทกันเรียนอยู่ห้องพิเศษ ส่วนเธอเรียนห้องธรรมดา ผมถามเธอว่าอยากจะเรียนห้องพิเศษไหม เธอบอกว่า"หนูไม่อยากเรียนห้องพิเศษ อยากเรียนห้องธรรมดา ๆ นี่แหละ"

-เธอบอกว่าเด็กห้องพิเศษนี้ไม่ต้องเข้าแถวเคารพธงชาติ เพราะต้องเข้าเรียนตั้งแต่เช้า

-ส่วนห้องของเธอเข้าแถวและมีกิจกรรมตามปกติ....เธอก็เลยชอบใจ....

-เป็นสิ่งที่เห็นและรับรู้ ณ มุมหนึ่งของผู้ที่ไม่ได้อยู่ในวงการศึกษาน่ะครับ...จึงไม่ทราบถึงรายละเอียดสักเท่าไหร่...

-ถือว่าเป็นการบอกเล่าและขอร่วมศึกษาข้อมูล ณ โรงเรียนของครูก็แล้วกันนะครับ.....

-ขอบคุณครับ.....


ไม่อยากร้องไห้หนักมากครับ ท่าน sr 555

เลอะเทอะนอกชามเลยครับ คุณ ยายธี 555

ผมก็รู้สึกเหมือนกันว่า มันคืออะไรน่ะครับ ท่านอาจารย์ GD ;)...

บางทีก็ผมก็มานั่งคิดว่า คนเราอยากเป็นคนธรรมดา หรือเป็นคนพิเศษ

ขอบคุณมากครับ คุณเพชรฯ เพชรน้ำหนึ่ง ;)...

ผมว่าการเรียนรู้สภาพจริงของโรงเรียนน่าจะช่วยให้ผู้บริหาร ครู นักการ ผู้ปกครอง และตัวเด็กคิดที่จะปรับปรุงห้องต่างๆให้ดีขึ้นนะครับ

ตามมาให้กำลังใจครับ

พูดกับตัวเองเลยครับว่า

ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ ทำไม่ไหว ทำไม่ทัน เอี้ย บรึ้ม (คุ้นๆไหมครับ)

555

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท