ประเด็นที่ให้อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้



ประเด็นที่ 1. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรต่อการเรียนการสอนแบบ reflective thinking



หมายเลขบันทึก: 592007เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

คิดว่าหากสามารถทำให้ผู้เรียนและผู้สอนมีความเข้าใจตรงกัน ทั้งในประเด็นวัตถุประสงค์ของการเขียน วิธีการเขียน โครงสร้างของการเขียน เกณฑ์การประเมิน และมีการใช้อย่างต่อเนื่องและหมั่นวิเคราะห์หรือสะท้อนคิดผลของการใช้วิธีการเรียนการสอนแบบ Reflective thinking ทั้งในผู้เรียนและผู้สอนจะเป็นการดี และมีประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะหของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

หากนำวิธีการนี้มาใช้ในชีวิตประจำวันเป็นประจำ การฝึกสะท้อนคิดตลอดเวลา ฝึกทบทวนเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ทั้งในภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ โดยนำสถานการณ์นั้น ๆ มาคิด วิเคราะห์ มาสะท้อนโดยคำพูดหรือการเขียน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่นได้มากขึ้น การสะท้อนคิด จึงเป็นการพัฒนาผู้เรียนทั้งวิธีการคิด และทักษะทาง ปัญญา เป็นการพัฒนาการเรียนรู้ที่จะสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาสาระเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง

การสะท้อนคิดเป็นรูปแบบการคิดที่น่าจะช่วยให้คนเกิดการเรียนรู้ได้ดีอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการสะท้อนคิดเกิดจากการรับรู้ ความคาดหวัง ความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับประสบการณ์ แล้วมีการคิด วางแผนหาแนวทางแก้ไขปัญหาหรือสถานการณ์ในอนาคต โดยผ่านกระบวนการพูดหรือเขียน การสะท้อนคิดจึงเป็นทักษะที่จำเป็น เป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีการเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติได้ โดยเฉพาะสำหรับวิชาชีพพยาบาล ซึ่งเป็นวิชาชีพที่ต้องปฏิบัติงานในสถานการณ์ที่หลากหลาย และเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ซึ่งต้องปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การเรียนรู้จากประสบการณ์หรือการสะท้อนคิดจากการปฏิบัติ มีความสำคัญต่อการคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดทักษะในการแก้ปัญหา รวมทั้งช่วยให้เข้าใจเหตุผลของการปฏิบัติได้ดีขึ้น ดังนั้นการฝึกสะท้อนคิดน่าจะเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญาที่ส่งผลให้มีการปฏิบัติและการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการรับรู้ ความคาดหวัง ความรู้สึกตนเองเกี่ยวกับประสบการณ์ แล้วมีการวางแผนหาแนวทางแก้ไขในอนาคต โดยผ่านกระบวนการพูดหรือเขียน การสะท้อนคิดจึงเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพพยาบาล เป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีการเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติได้ รวมทั้งมีการตัดสินใจเชิงจริยธรรมที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานในสถานการณ์ต่างๆได้ นอกจากนี้ ยังมีผลทำให้คนได้เรียนรู้และเข้าใจตนเองมากขึ้น ส่งผลต่อการดูแลผู้รับบริการอย่างเข้าใจ

การนำวิธีการสะท้อนคิดมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน จึงน่าจะเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการเตรียมบุคลากรทางการพยาบาลเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอนที่มีการฝึกภาคปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงการให้บริการกับการเรียนรู้ได้ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและเปิดโอกาสให้วิเคราะห์ วิพากษ์ และประเมินสิ่งที่ปฏิบัติทั้งจากตนเอง เพื่อน และผู้สอนรวมทั้งได้รับข้อเสนอแนะในการปฏิบัติครั้งต่อไปด้วย

ในการเรียนการสอน reflective thinking มีผลต่อกระบวนการคิดในการทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ของนักศึกษา ซึ่งเป็นฝึกการคิดวิเคราะห์ ซึ่งถือเป็นทักษะหนึ่งในทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่นักศึกษาต้องเรียนรู้ แต่ทักษะในการเขียนสะท้อนคิด หากอาจารย์ทุกท่านทุกรายวิชาให้นักศึกษาเขียนสะท้อนคิดหมดทุกครั้งทุกรายวิชา อาจทำให้เกิดความเบื่อหน่ายแก่นักศึกษา และเป็นการเพิ่มงานจากชิ้นงานเดิมในรายวิชา ดังนั้นเพื่อให้เกิดกระบวนการของการเรียนรู้ในการเขียนสะท้อนคิด จึงอาจต้องกำหนดหรือตกลงว่าวิชาใดจะมีวิธีการเรียนการสอนวิธีนี้เป็นช่วงใดในรายวิชาที่จะให้นักศึกษาสะท้อนคิด ซึ่งในความคิดเห็นส่วนตัว คิดว่า ในวิชาปฏิบัติทางการพยาบาล สามารถใช้การเขียนสะท้อนคิด เพื่อให้นักศึกษาได้ทบทวนตัวเอง และอาจารย์ได้นำมาปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนการสอนได้ อันจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง

การสะท้อนคิด เป็นเทคนิคที่น่าสนใจ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการทบทวนสิ่งต่างๆ อย่างมีขั้นตอน ได้มีการวิเคราะห์จุดออ่อน จุดแข็ง มีวิธีการพัฒนาตนเอง โดยใช้ข้อมูลมาอ้างอิง เพราะมุมองการสะท้อนของผู้เรียนและอาจารย์จะช่วยพัฒนาการคิด การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

เป็นวิธีการสอนที่พัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นลำดับขั้นตอน ได้สะท้อนผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในตนเอง ทำให้มองเห็นจุดดี จุดที่ควรปรับปรุง สามารถแสวงหาแหล่งการศึกษาค้นคว้าได้อย่างอิสระ และสรุปเป็นองค์ความรู้ได้บรรลุวัตุประสงค์

การสะท้อนคิดเกิดจาการที่ตัวผู้เรียนเองที่เป็นคนรับรู้ข้อมูลต่างๆ ซึ่งอาจทำได้ทั้งในการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภารปฏิบัติ แล้วจึงนำสถานการณ์นั้นมาคิด วิเคราะห์ตามความคิด ความเข้าใจของตนเอง ก่อนที่จะบอกผู้อื่นโดยผ่านทั้งทางการพูดและการเขียน วิธีการสะท้อนคิดนี้จะเน้นการให้ผู้เรียนพัฒนาวิธีการคิด และทักษะทางปัญญา และวิธีการสะท้อนคิดที่จะได้ผลดีต้องมีการรับรู้ ความเข้าใจตนเองเป็นสำคัญ มีการสะท้อนที่เป็นเหตุผล เพื่อเป็นการหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม


เป็นกระบวนการที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างแท้จริง ผลข้อมูลที่ได้มาจากประสิทธิภาพของผู้เรียนทำให้สื่อออกมาสู่การวางแผนการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีการสะท้อนคิดด้วยตนเอง

การจัดการเรียนการสอนแบบสะท้อนคิด เป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาได้มีการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีการตั้งคำถามและหาคำตอบด้วยตนเอง กระตุ้นให้นักศึกษาได้กระตือรือร้น ขยันและมุ่งมั้นหาคำตอบในประเด็นที่ตนคิดและสนใจ

ดีมาก นศ.ไม่หลับใน ตืนเต้น ได้ใช้ความคิด แต่ต้องหมอบหมายล่วงหน้าให้เด็กไปคิดล่วงหน้านะค่ะ นศ.จะได้ไม่ชอ็ค แต่อาจารย์เราเก่งเข้าอบรมเรื่องนี้ก็ร่วมแสดงความคิดเห็นได้เลย

เป็นวิธีการสอนที่ดีคะ มีโอกาสแล้วจะลองใช้ดูคะ

จากการศึกษา ในประเด็นของ reflective กับการทำวิจัยในชั้นเรียนมีใกล้เคียงกัน ดังนั้นถ้าเรานำสองรูปแบบนี้มาใช้ด้วยกันจะทำให้อาจารย์มีการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่น่าเชื่อถือได้เป็นวิจัยในชั้นเรียนอีกฉบับที่ได้จากการศึกษานักศึกษาของเราเอง

การสอนแบบ Reflective thinking เป็นสิ่งทำให้เรารู้จักความคิดของผู้เรียนมากขึ้น รูช่วยเพิ่มทักษะการพูดการคิดและการกล้าแสดงออกของผู้เรียน สามารถรับรู้ได้ว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนหรือไม่ ถือเป็นการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของเราได้

การสอนแบบ reflective thinking เป็นการเปิดการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้มองเห็นตัวเอง มองสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ของตัวเองว่าได้รับความรู้สอดคล้องกับเนื้อหา วัตถุประสงค์ หรือความต้องการของผู้เรียนและผู้สอนหรือไม่ อย่างไร ซึ่งทำให้นักศึกษามีการคิดเป็นระบบมากขึ้น

เริ่มทดลองใช้ในรายวิชาปฏิบัติในนักศึกษากลุ่มสุดท้ายที่ขึ้นฝึก ทำให้อาจารย์รู้ถึงสิ่งที่นักศึกษาคิด เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีการทบทวนการปฏิบัติของตนเอง ให้วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง และวิธีการพัฒนาตนเอง ทำให้อาจารย์ได้มีการพัฒนาตนเองด้วย

อาภรณ์ ภู่พัทธยากร

การสอนแบบ reflective thinking สามารถสอดแทรกไปในการสอนวิธีอื่นหลายๆ วิธี ไม่ว่าจะเป็น การสอนภาคปฏิบัติ การเรียนแบบ PBL , SBL ฯลฯ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีการทบทวนการปฏิบัติของตนเอง ..... รวมถึงตัวผู้สอนเองก็ควรใช้เทคนิคนี้ด้วย..เพราะเป็นการทบทวนสิ่งที่ตนเองทำเช่นกัน เพื่อพัฒนาตนเอง.....เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับผู้เรียน....มีสติรู้กับการกระทำของตนเอง...ยิ่งฝึกทักษะนี้บ่อยๆ ก็จะไวต่อความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น...เมื่อรู้แล้วก็จะเข้าใจ...ไม่เต้นตามผัสสะที่มากระทบ

เป็นกระบวนการที่ช่วยให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ตามลำดับขั้นตอนเป็นระบบ มองหาจุดเด่น จุดด้อย แนวทางการพัฒนามุ่งสู่ผลสำเร็จ แต่หากใช้กระบวนการสะท้อนคิดในทุกรายวิชาหรือทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรมอาจทำให้นักศึกษาเกิดความเบื่อหน่ายในกระบวนการ ทำให้ได้ข้อมูลที่่ไม่ครบถ้วนและไม่เป็นความจริง

การสอนแบบนี้ทำให้ต้องคิดตลอด มีการเคลื่อนไหว ทำไป คิดไป และที่สำคัญมีทักษะการสื่อสารด้วยค่ะ

เป็นการให้นักศึกษาได้มีโอกาสแสดงศักยภาพของตนเองในด้านต่างๆ ทั้งทักษะความรู้ ทักษะทางปัญญา และทักษะอื่นๆ นักศึกษากล้าที่จะคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ออกมาเพื่อปฏิบัติได้ แต่ทั้งนี้การคิดวิเคราะห์ต่างๆ ของนักศึกษา ผู้สอนต้องสร้างบรรยากาศให้เกิดความปลอดภัยเพื่อให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และไม่ควรปิดกั้นความคิดของนักศึกษา ซึ่งการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ reflective thinking ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ากับนักศึกษาเป็นอย่างมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท