เทคนิคการเพิ่มคุณภาพปาล์มน้ำมัน


ชาวสวนปาล์มฯ ต้องยอมรับความรู้ เทคโนโลยีใหม่ ๆ เปลี่ยนพฤติกรรมเดิม ๆ บ้าง

เก็บตกจากเวทีสัมมนาในงาน Kick off โครงการส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีทดแทนสวนเก่า (AFTA) ที่จัดโดย สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 สุราษฎร์ธานีร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อ 12 มิ.ย.58 ณ สหกรณ์สุราษฎร์ธานี (โค-ออฟ)

ผู้ร่วมเวทีสัมมนาประกอบด้วย ตัวแทนจากภาครัฐ คุณมาลินี ยุวนานนท์ จากกรมส่งเสริมการเกษตร คุณสมนึก บัวอินทร์ เกษตรกรต้นแบบจาก อ.ไชยา คุณฐานันดร ชัยสงคราม ประธานสมาพันธ์ลานเทปาล์มน้ำมัน จ.สุราษฎร์ธานี ดร.กวิน บุญโญกุล จากบริษัทชุมพรปาล์ม ดำเนินการโดย คุณบรรเจิด เนตรมณี กรรมการสมาคมปาล์มน้ำมันจังหวัดสุราษฎร์ธานี และเกษตรกรจาก 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน 550 คน

เริ่มจาก นโยบายภาครัฐเกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน โดยผู้แทนจากกรมส่งเสริมการเกษตร

- การผลิตปาล์มน้ำมัน ที่จะให้ยั่งยืนและแข่งขันได้ ต้องมี Rood Map ที่ชัดเจนในการจัดการปาล์ม การขยายพื้นที่ปลูกต้องเป็นพื้นที่ ที่เหมาะสมเท่านั้น ตามคำแนะนำพื้นที่ Zoning ที่รัฐกำหนดสำหรับส่งเสริมการปลูกปาล์มฯ

- การปลูกทดแทนสวนเก่าที่หมดอายุ (มากกว่า 25 ปี) ปาล์มอายุมาก ผลผลิตไม่คุ้มทุน

- ในปี 2569 เปอร์เซ็นต์น้ำมันของผลผลิตปาล์มฯ ที่เข้าสู่โรงงานต้องไม่ต่ำกว่า 20 % เกษตรกรต้องยกระดับคุณภาพในการผลิต

คุณสมนึก บัวอินทร์ เกษตรกรรางวัลสำนึกรักบ้านเกิดกล่าวว่า การจะเพิ่มคุณภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน ต้องจัดการ 5 ดี

1. พันธุ์ดีและต้องดูแลจัดการตั้งแต่เริ่มปลูกที่ดีด้วย

2. ดินดี และต้องจัดการดินให้ดี การยกร่อง การบำรุงดิน

3. น้ำดี ต้องจัดการน้ำให้ดี แหล่งน้ำ ระบบน้ำ

4. ปุ๋ยดี การให้ปุ๋ยดี ต้องให้ปุ๋ยเน้นมีน้ำ มีความชื้น ปาล์มสามารถดูดไปใช้ได้

5. ดูแลดีจัดการดี เช่น ปุ๋ย ต้องดูต้นต่อต้น ให้ตามความต้องการของต้นปาล์มแต่ละต้น การใช้ปุ๋ยสั่งตัด ต้นต่อต้น สังเกตจากใบปาล์มฯ ผสมปุ๋ยใช้เอง สูตร 15-15-15 , 19-19-13 , 13-7-31 ,13-13-21 Mg+Bo...(ใช้ต้นละ 4 กก./ครั้ง ปีละ 3 ครั้ง) การหญ้าตัด ไม่ใช้สารเคมีกำจัดหญ้า จะได้ปุ๋ยบำรุงดินด้วย

ลานเท มีบทบาทอย่างไรต่อการคุณภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน ตัวแทนลานเทฯกล่าวว่า การจะทำปาล์มคุณภาพนั้น ต้องเป็นปาล์มฯ สุก สด ไม่รดน้ำ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้ตัดปาล์มฯ เอง เป็นการจ้างแรงงานตัดจึงมีปัญหาคุณภาพ การตัดปาล์มฯ ที่ลูกร่วง 5 -10 ลูก ตามคำแนะนำกว่าจะส่งถึงลานเทและโรงงาน จะทำให้ผลปาล์มฯ ร่วงเยอะ จึงควรตัดปาล์มฯ สุกจัด ไม่ต้องร่วงก็ได้

- ปาล์มฯดิบน้ำหนักจะน้อยกว่าปาล์มฯสุก การตัดปาล์มไม่สุกน้ำหนักจะหายไป ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่ใส่ใจ

- ปัญหาเรื่องเปอร์เซนต์น้ำมันของปาล์มฯ คือไม่มีเครื่องมือวัดที่ชัดเจน จึงทำให้เป็นที่สงสัยของเกษตรกรผู้ผลิต ผู้เกี่ยวข้องต้องหาทางแก้ไขกันต่อไป

- สำหรับปัญหาการตัดปาล์มดิบ ต้องมีการอบรมผู้ตัดปาล์ม คนคุมงานตัดปาล์ม ต้องมีใบประกาศจากหน่วยงานรัฐ (เกษตร,พานิชย์)

- ลานเทฯ ได้รวมกลุ่ม ปรับตัวแล้ว ให้เกษตรกรทำปาล์มคุณภาพ เพราะถ้าปาล์มมีคุณภาพ ผลประโยชน์ก็จะตกแก่ทุกฝ่าย

** ข้อสังเกต ถ้ามีการรวมกลุ่ม ประชุม เสวนา เรื่องการแก้ปัญหาปาล์ม ราคาผลผลิตปาล์มฯจะตกทุกครั้ง อย่างวันนี้ราคาก็ลดลง 30 สตางค์

ในมุมมองของภาคเอกชน ดร. กวิน กล่าวว่า

- การจัดการสวนปาล์ม เกษตรกรต้องรู้จักปัจจัยพื้นฐานการผลิตพืชก่อน ได้แก่ แสง อากาศ และดิน

ดิน ภาคใต้ ดินเป็นดินที่มีกรดจัด ดินเปรี้ยว ทำให้คุณภาพการดูดซับปุ๋ยต่ำ การแก้ไข โดยการใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพดินก่อน

สายพันธุ์พืช ที่มาของพันธุ์ปาล์มฯ ต้องดูจากแปลงเพาะที่มีมาตรฐาน เชื่อถือได้ มีใบอนุญาตรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ

ปุ๋ย ปุ๋ยผสม ต้นทุนถูกกว่า 10 % ต้นทุนด้านปุ๋ย ต้นละ 120-140 บาท/ปี ไม่แนะนำให้ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 เพราะจะละลายเร็ว ทำให้สูญเสียไปเยอะ ควรจะใช้สูตร 21-0-0 ซึ่งจะละลายช้ากว่า การใส่ปุ๋ยบนกองทางปาล์มฯ จะลดการสูญเสียจากการชะล้างของน้ำฝนได้

** ที่สำคัญ ชาวสวนปาล์มฯ ต้องยอมรับความรู้ เทคโนโลยีใหม่ ๆ เปลี่ยนพฤติกรรมเดิม ๆ บ้าง

คุณมาลินี กล่าวทิ้งท้ายไว้ในเวทีเสวนาว่า

- ราคาปาล์มฯ ยังขึ้นอยู่กับผู้ซื้อ หรือตลาด เกษตรกรจึงต้องปรับการผลิตให้ได้คุณภาพ

- รัฐ จะมีนโยบาย ในการพยุงราคา ในกรณีที่ น้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ต่ำกว่า กก. ละ 26.50 บาท กระทรวงพาณิชย์ จะเข้าซื้อน้ำมันดิบที่ราคา 26.50 บาท/ กก. ทะลายปาล์มฯ สดราคา 4.20 บาท/กก. ที่เปอร์เซนต์น้ำมัน 17 % ให้กับเกษตรกรรายย่อย ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร(ทบก.) ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2558 กับเกษตรอำเภอ และมีสมุดทบก./ใบรับรอง จากเกษตรอำเภอ

** การขึ้นทะเบียนเกษตรกร จะทำให้ภาครับมีข้อมูลการผลิตปาล์มที่ชัดเจน เป็นฐานข้อมูลให้ภาครัฐบริหารจัดการผลผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรได้ถูกต้อง

ดร.กวิน เน้นการปฏิบัติ 4 ถูก คือ

- ดูสวนถูกต้อง ตามคำแนะนำการปฏิบัติฯ

- ถูกสูตรปุ๋ย ใช้ปุ๋ยถูกสูตร ตามระยะ

- ถูกที่ ให้ปุ๋ยถูกที่ เช่นให้ปุ๋ยบนกองทาง

- ถูกเวลา ให้ปุ๋ยปีละ 3 ครั้งต่อแปลง

ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มคุณภาพปาล์มน้ำมันของเกษตรกรเพื่อปรับตัวให้ทันกับการแข่งขันในตลาดเสรี

สวัสดีครับ

ชัยพร นุภักดิ์

หมายเลขบันทึก: 592004เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015 13:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท