นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ ศึกษาดูงาน ประสบการณ์ของผู้จัดมือใหม่


ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของสถานศึกษา ภายใน สพป.กส ๑ วันที่สอง ศึกษาดูงาน ยิ่งช่วยขยายมุมมอง การทำงาน ประสบการณ์บริหาร และ การจัดกิจกรรม ของครูมากยิ่งขึ้น โดย ส่วนตัว จากการประเมิน ก็คิดว่า ผู้ร่วมกิจกรรมน่าจะเกิดความพึงพอใจและ น่าจะได้แนวคิด ที่ดีนำไปทำงาน

เป็นครั้งแรกที่จัดไปศึกษาดูงาน ส่วนใหญ่จะเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรม วัตถุประสงค์ตามหัวข้อล้วนๆ ไม่มี การท่องเที่ยวปะปน (เกรงว่าจะบริหารจัดการไม่ได้ และ ด้วยต้องการให้บริหารงบประมาณให้ตรงกับวัตถุประสงค์ .งบน้อย ขอเลือกงานก่อน)

เริ่มจากการคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรม (มีวิธีปฏิบัติที่ดี) จำนวน 12 โรงเรียน ประกอบด้วย ครูบรรณารักษ์ และ ผอ.รร. นัดหมายกำหนดปฏิทิน แจ้ง กำหนดการ เดินทาง ๘.๐๐ น. ถึงที่พักรับประทานอาหารและเริ่ม ลปรร.กัน ๑๓.๐๐ น.

วันที่ ๒ กรกฏาคม ๒๕๕๘

พิธีเปิด และ ท่าน ผอ.สมหวัง (ผอ.กลุ่มนิเทศฯ) เห็นท่านอ่าน paper ของต่างประเทศเกี่ยวกับแนวโน้มของห้องสมุดในอนาคต ๑๔ ข้อ

ศน.นุชรัตน์ ได้ share เครื่องมือสำหรับการทำงานในการ พัฒนาห้องสมุดในโรงเรียนด้วย PLC (ก็ใช้ สไลด์ต่างประเทศเหมือนกัน ) รู้สึกว่าจะเข้าใจด้วยภาพได้ดีมาก



ผอ.โรงเรียนได้นำเสนอตามลำดับ

เสร็จสิ้น มีการทำแบบประเมิน ให้ทุกคนได้ให้คะแนน และได้มอบรางวัลกัน

สะท้อนการนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้

- ทุกโรงเรียน ได้สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างห้องสมุดที่ล้มลุกคลุกคลาน กว่าจะได้อาคาร ชั้นเรียน เพื่อมาทำห้องสมุด ( สพฐ.มักจัดสรรวัสดุให้ เพราะง่ายดีและทั่วถึง) แต่ รร.ขนาดเล็ก แต่ละแห่ง ต้องหาทุน หาวิธีการ ร่วมกับชุมชน
- การจัดกิจกรรมห้องสมุด ยังไม่หลากหลายมากนัก (อาจจะข้อจำกัดด้านเวลา)
- สิ่งที่คิดว่าเกิดประโยชน์ คือ การเทียบเคียงก้บเพื่อนข้างเคียง และ การรับฟัง แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติ ของแต่ละโรงเรียน

วันที่ ๓ กรกฏาคม ๒๕๕๘

เริ่ม ๘.๐๐ น.ออกจากที่พัก เดินทางไปยังโรงเรียน วัดทุ่งสว่าง เพื่อศึกษาดูงาน ท่าน ผอ.โรงเรียน นัยนา ตันเจริญ (วันที่ไปมี ๓ คณะดูงานพร้อมๆ กัน) ได้กล่าวต้อนรับและ สรุป ผลงาน ที่ได้รับรางวัลระดับประเทศ บอกแนวคิดวิธีการทำงาน หลังจากนั้นก็ให้คณะเราได้ไป ศึกษาตามจุด ที่เตรียมจัดไว้ให้ชม

สะท้อนการดูงาน โรงเรียนวัดทุ่งสว่าง
โรงเรียนโดดเด่น เรื่อง การจัดกิจกรรส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และการแก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ทุกชั้นเรียนต้องมีสื่อหรือนวัตกรรม ตามที่รับทราบคือ 45 กิจกรรม ที่ท่านผอ.และคณะครูจัดเตรียมไว้ให้ชม และมีเด็กๆ สาธิตวิธีการใช้สื่อ ในแต่ละฐาน แต่ ตัวเอง ขณะไปเยี่ยมห้อง ผอ.แบบไม่เป็นทางการ กลับไปสะดุดตา ชาร์ท แผ่นนึงหน้าห้องทำงาน มีลายมือ การทำงาน (แผ่นนี้ไม่ได้จัดโชว์) ท่าน ผอ.นัยนา ให้ข้อมูลว่า ท่านจะใช้วิธีการ AAR การทำงาน ในการแก้ปัญหา นัดกันเป็นประจำ สม่ำเสมอ ซึ่ง ตัวดิฉันก็คิดว่า นี่คือ สาเหตุหนึ่ง ในการประสบผลสำเร็จในการทำงาน


โรงเรียนเสนานุเคราะห์ (โรงเรียนพระราชทาน ระดับปฐมวัย ปีการศึกษา ๒๕๕๗)
นำโดยท่าน ผอ. ธนกฤต กีรติเกริกไกร ท่านกล่าวด้วยความถ่อมตัวว่า ท่านไม่เห็นจะได้ทำอะไร การบริหารจัดการเป็นปกติ แต่ ท่านได้บรรยาย ช่วงหนึ่งว่า ท่านให้ความสำคัญกับนักเรียนมากๆ นโยบาย หลักๆ ผลต้องเกิดกับผู้เรียน นักเรียนที่จะย้ายมาระหว่างปีการศึกษา ถ้าได้รับการทดสอบว่า ไม่มีความรู้เหมาะกับระดับชั้นนั้นๆ จะเน้นเรื่องการอ่านการเขียน ถ้าอ่านเขียนไม่ได้เลย ก็แก้ไขไม่ไหว ก็จะไม่รับ เพราะนักเรียนเยอะมากห้องเรียนก็ไม่พอเพียง ครูแต่ละชั้นต้องแก้ปัญหานักเรียนของตัวเองให้อ่านออกเขียนได้ ทั้งโรงเรียนมีครู ชาย ๓ คน อีก ๕๘ คน เป็นผู้หญิง โรงเรียนมีขนาดใหญ่ ๙๖๑ คน หลังจากนั้นพวกเราก็ได้เยี่ยมชม และ ศึกษาดูงาน โรงเรียน
สะท้อนจากการดูงาน
๑. โรงเรียนสะอาด มาก มีการจัดบริเวณ สัดส่วน ได้น่าอยู่
๒. นักเรียนมีระเบียบวินัย เดินผ่าน จะไหว้ และทักทาย ผู้ใหญ่
จริงๆ แล้ว โรงเรียนต้องมีวิธีปฏิบัติที่ดี แต่ว่า ด้วยข้อจำกัดด้านเวลา จึงไม่ได้ ไปถอดประสบการณ์ ของคุณครู แต่ละท่าน ว่าทำอย่างไร จึงมีนักเรียนแย่งกันเข้าเรียนมาก (เขตบริการไกลที่สุด ๓๐ กิโลเมตร) สำหรับท่าน ผอ.ถ้าฟังจากท่าน ก็คือ เป้าหมายทุกอย่างอยู่ที่ผู้เรียน

สะท้อนผลการศึกษาดูงาน

ในวันแรก ประสบการณ์มุมมอง ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของสถานศึกษา ภายใน สพป.กส ๑ วันที่สอง ศึกษาดูงาน ยิ่งช่วยขยายมุมมอง การทำงาน ประสบการณ์บริหาร และ การจัดกิจกรรม ของครูมากยิ่งขึ้น โดย ส่วนตัว จากการประเมิน ก็คิดว่า ผู้ร่วมกิจกรรมน่าจะเกิดความพึงพอใจและ น่าจะได้แนวคิด ที่ดีนำไปทำงาน

ที่พักของเรา เนื่องจากงบประมาณเราน้อยมาก จึงได้ตั้งโจทย์ว่า ไม่เกิน ๘๐๐ + เป็นรีสอร์ท ธรรมชาติ + มีอาหารเช้า + มีห้องประชุม ได้ค้นทางอินเทอร์เน็ต เราก็ได้พบ โตเกียวคันทรีอินน์ ซึ่งเจ้าของเคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.นัยนา และ สามี ซึ่งเป็นคุณหมอผิวพรรณ ได้ให้การต้อนรับ และ บริการเป็นอย่างดียิ่ง ขอขอบพระคุณในไมตรีจิต ครั้งนี้ ด้วยค่ะ










หมายเลขบันทึก: 591997เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015 08:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015 08:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท