ทดลองเพื่อทักษะการแปลความหมายและสรุปความ


หัวใจของวิทยาศาสตร์คือการทดลอง การทดลองจะมีคุณค่าเมื่อตั้งสมมติฐานดี ออกแบบการทดลองชัดเจน และสรุปผลการทดลองอย่างที่ทดลองได้

เมื่อนักเรียนห้องที่ครูนกคุมปลายทางต้องทดลองเรื่อง การเคลื่อนที่แบบวงกลม ซึ่งครูผู้สอน(ตัวจริง) เน้นให้นักเรียนระบุตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตลอดจนการตั้งสมมติฐานได้ เนื่องด้วยนักเรียนเป็นกลุ่มเน้นภาษาทำให้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ต้องเติมเต็ม ครูนกเลยต้องเสริมบนกระดาน

เริ่มจากสอนวิธีการตั้งสมมติฐาน (นักเรียนมักจะเขียนเป็น สมมุติฐาน) โดยเน้นให้ใช้ประโยคบอกเล่า สะท้อนถึงการทำนายตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม
ตัวอย่างเช่น " เมื่อใช้ความยาวเชือกเท่ากัน พบว่า แรงขนาด 5F จะทำให้เวลาในการหมุนครบ 1 รอบมีค่าน้อยกว่าเมื่อใช้แรงขนาด 3F"
เมื่อนักเรียนกำหนดสมมติฐานได้ก็สอนให้นักเรียนออกแบบการทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน พร้อมจัดทำตารางบันทึกผลการทดลอง
ในมุมมองของครูนกครูควรอธิบายอย่างละเอียดในครั้งแรกที่สอนปฏิบัติการทดลองให้นักเรียนได้แนวทางจากนั้นใช้การทดลองในเรื่องถัดๆ ไปเป็นแบบฝึกทักษะเหล่านี้ของนักเรียน
จากนั้นจบด้วยการทดลองครั้งแรกที่ครูนกได้ร่วมทำการทดลองกับนักเรียนปลายทางได้สังเกตว่า นักเรียนสรุปผลการทดลองในลักษณะ สรุปตามหลักการหรือทฤษฎี คราวนี้ครูนกเลยแนะนำให้เด็กๆ นำผลการทดลองมาอภิรายในย่อหน้าแรกเพื่อให้เห็นผลของตัวแปรต้น ต่อตัวแปรตาม จากนั้นย่อหน้าที่สองก็สรุปหลักการที่เราได้จากการทดลองสอนลักษณะนี้ทำให้ความเป็นครูวิทยาศาสตร์ดูมีคุณค่าทุกที่ทุกเวลาค่ะ






หมายเลขบันทึก: 592006เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015 14:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พี่ครูนก

หายไปนานมากๆ

คิดถึงๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท