สอนประวัติศาสตร์แบบทางไกลที่ผ่านการออกแบบ


วันนี้ครูนกต้องไปคุมรายวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ห้อง ๗ ซึ่งเรียกว่าห้องปลายทาง จะไม่มีครูผู้สอนตัวเป็นๆ แต่มีครูนกคอยดูแลเป็นครูปลายทาง เมื่อถึงห้องมีสาวน้อยคมขำมาแจ้งครูนกว่า "ครูขาในชั่วโมงจะมีเพื่อนออกมาเขียนคำตอบสำหรับคำถาม ๑๐ ข้อๆ ละหนึ่งคน คุณครูช่วยลงลายมือชื่อรับรองให้ได้ด้วยนะคะ"

เมื่อเริ่มคาบจอทีวีส่งสัญญาณว่าทุกคนต้องเตรียมพร้อมด้วยการขึ้นรายชื่อวิชา รหัสวิชา พร้อมครูผู้สอนเริ่มดำเนินกระบวนการสอน สิ่งที่ครูนกประทับวิธีการสอนของครูต้นทางรายวิชานี้คือ มีการประสานงานกับนักเรียนทุกห้องว่า จะมีคำถาม ๑๐ คำถาม และระบุเลขที่รับผิดชอบข้อนั้นๆ พร้อมเตรียมเอกสารสำหรับบันทึกคะแนนให้ ส่วนของนักเรียนคือเขียนหมายเลขข้อที่ ๑ ถึงข้อที่ ๑๐ เพื่อรอให้เพื่อนๆ ผู้โชคดีได้ออกมาแสดงความรู้ด้านประวัติศาสตร์

ผลคือทำให้ห้องเรียนปลายทางมีสีสัน มีการเคลื่อนไหว และมีบรรยากาศของการสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนทางไกลหากต้องการประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นคือ การออกแบบกิจกรรมสำหรับห้องเรียนปลายทางให้มีส่วนร่วมซึ่งการจะออกแบบได้ต้องใช้เวลา และการเตรียมการที่ดีหมายถึงครูต้องยอมเหนื่อยอีกเช่นเคยค่ะ
เป็นกำลังใจให้ครูต้นทางทุกท่านค่ะ


หมายเลขบันทึก: 591630เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2015 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2015 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาทักทายเยี่ยมเยียนจ้าา ครูนก



จาก...อดีตครูสอนทางไกลต้นทางจ้าา



ขอบคุณค่ะ ครู มะเดื่อ ดีใจที่ได้รู้ว่ามีรุ่นพี่ครูต้นทางค่ะ มีอะไรแนะนำส่งข้อความถึงครูนกได้เลยค่ะ ต้องปรับตัวเยอะมากเลยค่ะ แต่โครงการที่ครูนกเพียงปีเดียวค่ะ

ตามมาอ่าน

หายไปนานมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท